เรือหลวงสุโขทัย – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 19 Sep 2024 06:22:03 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กมธ.การทหาร เรียกร้องความโปร่งใสกรณีเรือหลวงสุโขทัย หวัง รมว.กลาโหม คนใหม่แก้ปัญหา https://thestandard.co/htms-sukhothai-incident-review/ Thu, 19 Sep 2024 06:22:03 +0000 https://thestandard.co/?p=985281

วันนี้ (19 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา ชยพล สท้อนดี สส. กทม […]

The post กมธ.การทหาร เรียกร้องความโปร่งใสกรณีเรือหลวงสุโขทัย หวัง รมว.กลาโหม คนใหม่แก้ปัญหา appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา ชยพล สท้อนดี สส. กทม. พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร แถลงความคืบหน้าการติดตามกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง โดยระบุว่า ภายหลังตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องดังกล่าว กองทัพเรือย้ำมาตลอดว่าต้องกู้เรือเพื่อรวมหลักฐาน ก่อนจะเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดแก่ประชาชน 

 

อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นกองทัพเรือได้เปิดการประมูลเพื่อคัดเลือกบริษัทที่จะมากู้เรือ วงเงิน 200 ล้านบาท แต่ต่อมาถูกเปิดหลักฐานว่าการประมูลการกู้เรือนั้นทำไม่ถูกต้อง กองทัพเรือก็ได้เปลี่ยนท่าทีและล้มเลิกการประมูล ก่อนจะยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาช่วยกู้เรือ แต่กลายเป็นว่า ไม่มีการกู้เรือเลยตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่บอกว่าเป็นเรื่องสำคัญ

 

ชยพลกล่าวต่อไปว่า คณะกรรมาธิการการทหารชุดปัจจุบันติดตามและขอหลักฐานมาโดยตลอด แต่ขอไป 13 อย่าง ได้มาเพียง 1 อย่างเท่านั้น คือข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างเรือหลวงสุโขทัย ซึ่งไม่ได้มีสาระสำคัญ อีกทั้งไม่ได้รับการตอบกลับอะไรจากกองทัพเรือเลย 

 

“เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราสูญเสียเรือรบมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท ชีวิตกำลังพล 20 นาย สูญหาย 5 นาย แต่ผู้ใหญ่ในกองทัพเรือที่กำลังจะเกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคมนี้ก็ยังไม่ยอมรับผิดชอบต่อคำพูดของตัวเอง มีเพียงคำสัญญาที่ไม่เคยเป็นจริง จะสะดุ้งยืดอกรับผิดชอบอะไรหรือไม่ หรือเป็นความพยายามของกองทัพเรือที่จะยืดเวลารอให้ตัวเองลอยลำพ้นการรับผิดชอบ” ชยพลกล่าว

 

ด้าน จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส. ฉะเชิงเทรา พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ยังมีข้อสงสัยอีกหลายประเด็น ทั้งการให้เรือรบออกไปทำหน้าที่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพเรือ รวมถึงการสั่งให้เรือรบที่กำลังจะล่มกลับสัตหีบ ทั้งที่ต้องเดินทางอีกครึ่งวัน และกระบวนการสอบสวนที่ยังไม่โปร่งใส 

 

ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่น่าประหลาดมาก ว่าการสูญเสียทั้งหมดนี้ถูกปิดคดี ไม่มีใครรับผิดชอบทั้งความผิดทางวินัยและอาญา ดังนั้น จึงขอฝากไปยัง ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึง พล.อ. ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ถอดบทเรียนเพื่อปรับปรุงกองทัพเรือให้ดีขึ้น

The post กมธ.การทหาร เรียกร้องความโปร่งใสกรณีเรือหลวงสุโขทัย หวัง รมว.กลาโหม คนใหม่แก้ปัญหา appeared first on THE STANDARD.

]]>
การแถลงผลสอบเรือหลวงสุโขทัย ที่ยิ่งแถลงยิ่งเต็มไปด้วยข้อสงสัย https://thestandard.co/examination-results-of-htms-sukhothai-full-of-doubt/ Sun, 14 Apr 2024 07:33:56 +0000 https://thestandard.co/?p=922873

เชื่อว่าจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปางลง พร้อมผู้เสี […]

The post การแถลงผลสอบเรือหลวงสุโขทัย ที่ยิ่งแถลงยิ่งเต็มไปด้วยข้อสงสัย appeared first on THE STANDARD.

]]>

เชื่อว่าจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปางลง พร้อมผู้เสียชีวิต 24 นาย และสูญหาย 5 นาย สิ่งที่คนไทยอยากรู้ที่สุดก็คือ เพราะอะไรเรือถึงจม

 

ซึ่งกองทัพเรือใช้เวลากว่า 15 เดือนในการหาคำตอบนั้น และผลสรุปของกองทัพเรือก็คือความผิดพลาดหลายๆ อย่างของการตัดสินใจของผู้บังคับการเรือ ประกอบกับภาวะที่น้ำเข้าเรือมากเกินไปจากประตูเรือด้านซ้ายและฝาแฮตช์หลังป้อมปืน ทำให้ปฏิบัติการควบคุมความเสียหายในการนำน้ำออกจากเรือไม่ประสบความสำเร็จ 

 

ผลปรากฏว่ากองทัพเรือมองว่าผู้บังคับการเรือเป็นผู้ที่ควรรับผิดชอบ แม้ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับทางราชการเพราะไม่ได้จงใจ แต่ก็สั่ง ‘กัก’ เป็นเวลา 15 วัน รวมถึงรอว่าจะมีการสอบสวนทางอาญาจากสถานีตำรวจภูธรบางสะพานอย่างไร โดยในการนี้ผู้บังคับการเรือได้แสดงเจตจำนงที่จะลาออกจากราชการเพื่อแสดงความรับผิดชอบ

 

การแถลงของกองทัพเรือจริงๆ แล้วถือว่าพอรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงที่เรือออกจากท่าที่อำเภอสัตหีบไปจนถึงช่วงที่เรือจม มีการยอมรับอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกแล้วว่าเรือลำนี้มีภารกิจไปร่วมงานของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่จังหวัดชุมพร แต่ในอีกด้านหนึ่ง กองทัพเรือก็ยืนยันว่าจำนวนชูชีพที่นำไปกับเรือนั้นมีเพียงพอโดยนำไปทั้งหมด 120 ตัว เกินกว่าจำนวนของผู้ที่โดยสารไปกับเรือ เพียงแต่การประกาศให้กำลังพลที่โดยสารไปกับเรือมารับชูชีพหลายครั้งไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ทำให้เมื่อเกิดเหตุหลายๆ คนจึงไม่มีชูชีพใส่

 

กองทัพเรือยังมองว่า ความผิดพลาดที่สุดของผู้บังคับการเรือคือการตัดสินใจที่จะหันหัวเรือกลับอำเภอสัตหีบที่มีระยะทางไกลกว่า 300 กิโลเมตร ในภาวะที่เรือสูญเสียเครื่องจักรใหญ่หรือเครื่องยนต์ไปหนึ่งเครื่องเนื่องจากไม่ทำงาน และเริ่มมีน้ำเข้าเรือ นอกจากนั้นทะเลในช่วงที่มีการเดินทางยังมีความรุนแรงถึง Sea State 7 หรือคลื่น 6-7 เมตร ซึ่งเกินกว่าที่คุณสมบัติของเรือหลวงสุโขทัยจะรองรับได้ และทำให้เรือจมในที่สุด

 

ทั้งนี้ กองทัพเรือย้ำหลายครั้งอย่างน่าสังเกตว่า เรือลำนี้ไม่มีปัญหาการซ่อมบำรุง เนื่องจากเรือเพิ่งเข้ารับการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ไปเมื่อหลายปีก่อน และสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างเรียบร้อยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่เรามีข้อสังเกตกลับเช่นกันว่า สาเหตุหลักที่เรือต้องจมลงก็เพราะประตูทางกราบซ้ายของเรือนั้นเปิดออกจากคลื่นที่กระทบเข้ามาเมื่อลูกเรือพยายามไปปิด เมื่อคลื่นกระทบรุนแรงก็เปิดออกอีกครั้งจนมีน้ำเข้ามาในเรือปริมาณมาก ลูกเรือจึงต้องใช้เชือกผูกประตูเอาไว้ไม่ให้เปิด ซึ่งกรณีนี้เป็นกรณีเดียวกับฝาแฮตช์หลังป้อมปืนด้านหน้า นอกจากนั้นยังพบรอยฉีกที่ป้อมปืน 76/62 รวมถึงรอยฉีกบริเวณลำตัว ซึ่งดูแล้วก็น่าจะมีปัญหาในเรื่องความพร้อมของอุปกรณ์และความพร้อมของเรือ ทำให้เราก็ไม่แน่ใจว่าที่บอกว่าไม่มีปัญหาการซ่อมบำรุงนั้น กองทัพเรือกล่าวเพราะเชื่ออย่างนั้นจริงๆ หรือเพราะไม่ต้องการกล่าวถึงสภาพของเรือที่แท้จริงกันแน่

 

ประเด็นการควบคุมความเสียหายก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณา เพราะเครื่องสูบน้ำของเรือนั้นไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ สูบไปแล้วก็เกิดไฟช็อต จนสุดท้ายต้องใช้คนมาช่วยกันวิดน้ำ ซึ่งก็น่าจะแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ของเรือมีความไม่พร้อม นอกจากนั้นกำลังพลที่บรรจุลงเรือยังมีไม่ครบ รวมถึงกำลังพลที่นำไปในภารกิจนี้มีเพียง 75 นาย จากจำนวนกำลังพลเต็ม 100 นาย เพราะต้องเว้นที่ว่างให้กับกำลังพลนาวิกโยธิน และกำลังพลของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่จะไปร่วมงานกรมหลวงชุมพรโดยสารไปกับเรือด้วย ทำให้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินประสิทธิภาพในการควบคุมความเสียหายก็ลดลง

 

แน่นอนว่าผู้บังคับการเรือต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และในหลายการตัดสินใจของผู้บังคับการเรือนั้นก็ส่งผลให้เรือลำนี้เข้าไปสู่สภาวะที่กู้คืนไม่ได้และจมลง เช่น การไม่ใส่ใจในการกำกับดูแลให้ลูกเรือและกำลังพลที่ขึ้นมาบนเรือได้รับชูชีพครบทุกคน รวมถึงการตัดสินใจเดินทางต่อไม่ย้อนกลับอำเภอสัตหีบในช่วงแรก การตัดสินใจไม่เข้าเทียบท่าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การตัดสินใจที่จะกลับอำเภอสัตหีบในภาวะที่เรือไม่พร้อม และทะเลมีคลื่นสูงจนรับมือไม่ได้ 

 

แต่สิ่งที่หลายฝ่ายสงสัยก็คือ ผู้บังคับการเรือเป็นเพียงคนเดียวหรือที่ควรจะรับผิดชอบ ทั้งที่ในการปฏิบัติการทางเรือต้องประกอบด้วยหลายๆ ฝ่ายและหลายๆ คน จะไม่มีใครที่ผิดพลาดหรือต้องรับผิดชอบหรือ แม้แต่ไม่มีระบบ กระบวนการ หรือกฎระเบียบใดที่ต้องแก้ไขเลยหรือ เป็นผู้บังคับการเรือเพียงคนเดียวเท่านั้นหรือที่ต้องรับผิด ซึ่งฟังดูแล้วมันไม่สมเหตุสมผลเลย

 

เพราะลองคิดง่ายๆ ว่า แม้ผู้การเรือจะมีอำนาจและสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน แต่ผู้บังคับการเรือก็ต้องรายงานกลับไปที่ศูนย์ปฏิบัติการของกองทัพเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีนี้คือเรือหลวงสุโขทัยขึ้นการบังคับบัญชากับทัพเรือภาคที่ 1 จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า เจ้าหน้าที่ในศูนย์ปฏิบัติการของทัพเรือภาคที่ 1 หรือกองบัญชาการกองทัพเรือนั้นไม่มีการตรวจสอบ ให้ข้อมูลผู้บังคับการเรือเพิ่ม หรือทัดทาน หรือสั่งการอะไรเพิ่มเติมเลยหรือ ซึ่งในการแถลงในวันนั้นไม่มีการกล่าวถึงกระบวนการพวกนี้เลย เหมือนเรือหลวงสุโขทัยออกไปปฏิบัติการลำเดียว ตัดสินใจเองคนเดียว ดำเนินการทุกอย่างเองคนเดียว โดยไม่มีใครช่วยเหลือหรือสนับสนุนเลย เหมือนทั้งกองทัพเรือมีแต่เรือหลวงสุโขทัยลำเดียว ซึ่งฟังแล้วก็ไม่สมเหตุสมผลอยู่นั่นแหละ

 

และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ในการแถลงผลการสอบสวนนั้น กองทัพเรือแถลงถึงสาเหตุที่นำไปสู่การจมของเรือได้ค่อนข้างละเอียด มีหลักฐานและหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ แต่กองทัพเรือไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นว่ากองทัพเรือวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และจะแก้ไขอะไรและอย่างไร กระบวนการใดที่ต้องปรับปรุง การฝึกใดที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันปัญหานี้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้นเหตุที่แท้จริงที่นำไปสู่สาเหตุที่ทำให้เรือจมนั้นคืออะไร สิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ในการแถลงผลการสอบสวนของกองทัพเรือเลย

 

ซึ่งเทียบการแถลงข่าวของกองทัพเรือในครั้งนี้ง่ายๆ เหมือนเราปลูกต้นมะม่วงแล้วต้นมะม่วงตาย เรารู้แค่ว่าต้นมะม่วงติดเชื้อราจนตาย แต่เราอาจไม่ได้รู้หรือค้นหาไปยังต้นเหตุว่าเชื้อรานั้นมาจากไหน ทำไมต้นมะม่วงไม่มีภูมิต้านทาน มีการฉีดยาหรือใช้สารชีวภาพใดที่จะฆ่าเชื้อราก่อนหรือไม่ และจะทำอย่างไรที่ไม่ให้ต้นมะม่วงต้องติดเชื้อราอีกในอนาคต

 

ซึ่งถ้าการแถลงข่าวในครั้งนี้ของกองทัพเรือเป็นการดำเนินงานทั้งหมดแล้ว เราก็กลัวว่าในอนาคตจะมีต้นมะม่วงที่ต้องติดเชื้อราตายอีก หรือถ้าจะพูดให้ตรงกว่านั้นก็คือ เราก็กลัวว่าในอนาคตจะต้องมีเรือรบของราชนาวีไทยที่จัดหามาจากเงินภาษีของประชาชนต้องจมลงด้วยสาเหตุเดิม เพราะยังไม่มีการปรับปรุงระบบ วัฒนธรรม การฝึก การกำกับดูแล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมาตรฐานการปฏิบัติงานของกองทัพเรือ

 

ทำให้โดยรวมเราค่อนข้างผิดหวังกับการแถลงผลในครั้งนี้ เพราะการแถลงเป็นเพียงการตอบคำถามว่าทำไมเรือถึงจม ทำไมคนถึงตาย และลงโทษผู้การเรือซึ่งยืนยันแล้วยืนยันอีกว่าเขาผิดคนเดียว ไม่มีใครโดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาผิดอีก และเขาขอยอมรับผิดคนเดียว แต่ไม่มีแนวทางหรือการแสดงให้ประชาชนเห็นว่ากองทัพเรือจะนำบทเรียนในครั้งนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของกองทัพเรืออย่างไร เพื่อปกป้องไม่ให้เรือของกองทัพเรือที่ใช้งานอยู่ในตอนนี้ประสบชะตากรรมเดียวกับเรือหลวงสุโขทัยอีก

 

แต่เราก็หวังว่า กองทัพเรือจะนำข้อมูลจากการสอบสวนไปวิเคราะห์หาจุดเปลี่ยนในการปฏิบัติงานของกองทัพเรือ และออกคำแนะนำในการปรับปรุงทั้งกระบวนการ การฝึกกำลังพล การปฏิบัติงาน การกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ดี

 

เพราะเราบอกได้ว่า ถ้ากองทัพเรือทำแค่ที่แถลงมาในผลการสอบสวนนี้ เรามั่นใจว่าไม่เพียงพอ และกองทัพเรือจะแทบไม่ได้เรียนรู้อะไรจากโศกนาฏกรรมในครั้งนี้เลย เหมือนพอวัวหายแล้ว คอกก็ล้อมได้ไม่ครบ 4 ด้าน ดังนั้นก็รอเพียงเวลาที่วัวตัวต่อไปจะหายอีก และโชคร้ายที่สุดก็คือ วัวตัวนั้นเป็นวัวที่จัดหามาจากเงินภาษีของประชาชน และอาจมีคนตายไปพร้อมกับวัวที่จะหายในอนาคตต่อไปอีกด้วย

 

เราจะเอาแบบนี้จริงๆ หรือ?

 

ภาพ: Wikipedia

The post การแถลงผลสอบเรือหลวงสุโขทัย ที่ยิ่งแถลงยิ่งเต็มไปด้วยข้อสงสัย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทร. เปิดสาเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง คลื่นลมรุนแรงบวกกับเรือเก่า ผู้การเรือตัดสินใจพลาด เจ้าตัวออกราชการแสดงความรับผิดชอบ https://thestandard.co/navy-reveal-htms-sukhothai-sink/ Tue, 09 Apr 2024 13:01:44 +0000 https://thestandard.co/?p=921257 HTMS Sukhothai

วันนี้ (9 เมษายน) ที่หอประชุมกองทัพเรือ ได้จัดการแถลงผล […]

The post ทร. เปิดสาเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง คลื่นลมรุนแรงบวกกับเรือเก่า ผู้การเรือตัดสินใจพลาด เจ้าตัวออกราชการแสดงความรับผิดชอบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
HTMS Sukhothai

วันนี้ (9 เมษายน) ที่หอประชุมกองทัพเรือ ได้จัดการแถลงผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณี เรือหลวงสุโขทัย ประสบอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ทำให้กำลังพลเสียชีวิต 24 นาย สูญหาย 5 นาย โดยมีพลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) พร้อมด้วยพลเรือตรี อภิรมย์ เงินบำรุง คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและคณะกรรมการสอบสวนฯ, พลเรือเอก ชัยณรงค์ บุณยรัตกลิน คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดชอบทางละเมิด, พลเรือโท สุระศักดิ์ สิงขรวัฒน์ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทัพเรือภาคที่ 1 และนาวาโท พิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ร่วมกันแถลง

 

โดยพลเรือเอก อะดุง ระบุว่า ขอแสดงความเสียใจอีกครั้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้ง 24 ราย และผู้สูญหาย 5 ราย ทั้งนี้ กองทัพเรือได้ทุ่มเทยุทโธปกรณ์และกำลังพลทั้งหมดในการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบเหตุตั้งแต่ช่วงแรกของเหตุการณ์ และไม่ละเลยในการค้นหาผู้สูญหายเมื่อมีโอกาส ตลอดจนดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตและสูญหายให้ได้รับการชดเชยทางการเงิน ได้รับยศที่สูงขึ้น รับบุตรและญาติเข้ารับราชการ 

 

นับตั้งแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง 3 คณะ

 

  1. คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริง และสรุปบทเรียนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ

 

  1. คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทัพเรือภาคที่ 1 

 

และ 3. คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด

 

โดยนำผลการสอบสวนเบื้องต้นมาใช้อย่างละเอียดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม เมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราชการอันเนื่องมาจากการกระทำอันละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2542

 

พลเรือเอก อะดุง ย้ำว่า คณะกรรมการสอบสวนแต่ละคณะมีความเป็นอิสระต่อกันในการพิจารณาและใช้วิจารณญาณ ทั้งนี้ เพื่อให้การสอบสวนข้อเท็จจริงเป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และเป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่ทางราชการกำหนด เพื่อตรวจสอบให้ได้ครบในทุกมิติ กองทัพเรือมีความต้องการให้ได้วัตถุพยานจริง และตั้งใจที่จะกู้เรือขึ้นมาทั้งลำ แต่เนื่องจากการกู้เรือในความลึก 50 เมตร และกองทัพเรือมีความต้องการนำขึ้นมาทั้งลำโดยไม่มีความเสียหายใดๆ รวมทั้งให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของทีมกู้เรือไม่ให้มีการสูญเสียเกิดขึ้นอีกแม้แต่คนเดียว ทำให้เกิดข้อจำกัดหลายเรื่อง และไม่มีบริษัทใดผ่านเข้าเกณฑ์

 

และในช่วงเวลาเดียวกัน กองทัพเรือสหรัฐอเมริกามีหนังสือเกี่ยวกับยุทโธปกรณ์ที่ติดอยู่กับเรือ เมื่อเลือกบริษัทกู้เรือได้แล้วต้องได้รับความเห็นชอบของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้ระยะเวลา 6 เดือน เมื่อพิจารณาแล้วกองทัพเรือได้หารือกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และทางสหรัฐอเมริกายินดีจะช่วยเหลือในการตรวจสอบทุกประเด็น และค้นหาผู้เสียหายภายในเรือด้วย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

 

ดังนั้นกองทัพเรือจึงปรับเป็นการกู้เรือแบบจำกัดร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บภาพต่างๆ ใต้น้ำทั้งภายในและภายนอกตัวเรือตามจุดที่ได้จากการตรวจสอบเพื่อร่วมกันยืนยันสาเหตุการจม

 

โดยมีการสำรวจห้องที่เกี่ยวกับห้องของเรือที่มีส่วนในการจม ส่วนโทรศัพท์ไม่มีซิมการ์ดจึงไม่ปรากฏข้อมูล และกล้องบันทึกวงจรปิดได้นำส่งกองพิสูจน์หลักฐาน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับคำตอบว่าเครื่องเล่นไม่สามารถอ่านได้เนื่องจากชำรุดมาก 

 

ทั้งนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้มีหนังสือถึงกองทัพเรือและให้ความเห็นประกอบหลังจากได้ดำลงไปตรวจสอบเรือใต้น้ำแล้ว เรือหลวงสุโขทัยขณะนี้อยู่ในสถานะปลอดภัยที่พื้นท้องทะเล ทางฝ่ายสหรัฐฯ เชื่อว่าการยกเรือหรือจะย้ายจากจุดปัจจุบันจะเสี่ยงสูงต่อความไม่สำเร็จ และเสี่ยงต่อกำลังพล รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง 

 

บัดนี้ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทุกคณะได้ดำเนินการเสร็จสิ้น และรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงให้กองทัพเรือทราบแล้ว 

 

สาเหตุของเรือหลวงสุโขทัยจมเพราะน้ำเข้าเรือ แบ่งได้ 2 กรณี คือ น้ำเข้าจากทางท้องเรือ ทำให้เรือจมลงไป เรียกว่าการสูญเสียกำลังลอยทำเรือจม กรณีที่ 2 น้ำเข้าเรือด้านบนเหนือจุดศูนย์ถ่วงของเรือ จะทำให้เรือเสียการทรงตัว เอียงแบบที่เรือหลวงสุโขทัยประสบในช่วงแรก ซึ่งการสำรวจก็มุ่งประเด็นที่ว่าทำไมเรือถึงเอียงก่อนที่จะจมลง ก็พบความเสียหายที่เกิดขึ้นหลายแห่ง 

 

ตำแหน่งแรก แผ่นกันคลื่นหน้าป้อมปืน 76 มิลลิเมตรยุบตัวเพราะเจอคลื่นแรง จนดึงแผ่นเหล็กบนดาดฟ้าเปิด ทำให้เกิดเป็นช่องรูใหญ่พื้นที่ 1 ตารางนิ้ว

 

ตำแหน่งที่ 2 ความเสียหายของป้อมปืน 76 มิลลิเมตร เนื่องจากโดนวัตถุของแข็งกระแทก ซึ่งไม่พบหลักฐาน เพราะวัตถุที่ว่าไม่ติดค้างที่ป้อมปืน จึงบอกไม่ได้ว่าคืออะไร แต่เชื่อว่าโดนวัตถุขนาดใหญ่กระแทกแน่นอน เป็นช่องที่ทำให้น้ำเข้าเรือได้

 

ตำแหน่งที่ 3 รูทะลุบริเวณกงที่ 35 กราบซ้าย จำนวน 2 แห่ง สูงจากน้ำ 5 ฟุต โดนวัตถุภายนอกกระแทกเข้าไป รอยดังกล่าวไม่ได้เกิดที่ส่วนรอยเชื่อม จึงไม่ได้เกิดจากการซ่อมทำ ซึ่งรอยกระแทกดังกล่าวไม่พบวัตถุที่ตกค้างว่ากระแทกจากอะไร ทำเป็นรอยกว้างยาว 1 ฟุต กว้าง 3-4 นิ้ว มีพื้นที่ 80 ตารางนิ้ว

 

ตำแหน่งที่ 4 ประตูห้องกระชับเชือกที่อยู่ในลักษณะเปิด มีโอกาสที่น้ำจะเข้าได้เมื่อประตูเปิด

 

ตำแหน่งที่ 5 ประตูท้ายห้อง Gun Bay ด้านป้อมปืน 76 มิลลิเมตรที่ปิดไม่สนิท

 

ทั้งหมดนี้สรุปความเสียหายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เรือเสียการทรงตัวและอับปาง

 

ส่วนลำดับเวลาที่เรือวิ่งจากอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ไปหาดทรายรี จังหวัดชุมพร แล้วเครื่องขัดข้องนั้น ซึ่งกรณีที่เรือเจอคลื่นสูงก็จะพบกรณีนี้อยู่บ้าง เนื่องจากน้ำมันที่อยู่ในถังสกปรก ไปชำระเศษฝุ่น อุดตันหัวฉีด ส่งผลให้หัวฉีดบางส่วนใช้การไม่ได้ ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถรับภาระได้ อีกทั้งเรือหลวงสุโขทัยก็ใช้งานมามากกว่า 40 ปีแล้ว ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายที่จะเข้าสู่การปลดประจำการ

 

ขณะที่พลเรือโท สุระศักดิ์ ระบุว่า ได้มีการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้อง ความพร้อมของเรือหลวงสุโขทัย ภายหลังการซ่อมในปี 2564 ได้ทดลองแล้วเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมอู่ทหารเรือกำหนด และได้ออกปฏิบัติราชการตามปกติ การตรวจพบความชื้นบริเวณผนังห้อง Sonar ทางกราบซ้ายของตัวเรือเนื่องจากใช้ราชการมา 1 ปี 9 เดือน การซ่อมบำรุงของกรมอู่ทหารเรือเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามมาตรฐาน และขณะออกเรือเรือหลวงสุโขทัยก็มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน

 

ด้านความเพียงพอของเสื้อชูชีพต่อจำนวนกำลังพลในเรือรวม 120 ตัวที่นำมาใช้ในราชการในเรือหลวงสุโขทัย การออกเรือครั้งนี้มีกำลังพลขึ้นเรือ 105 นาย เสื้อชูชีพจึงเพียงพอ และมีการประกาศให้กำลังพลสมทบมารับชูชีพแล้วจำนวน 3 ครั้ง แต่กำลังพลสมทบไม่ได้ไปรับ ขณะที่กำลังพลประจำเรือบางนายไม่มีชูชีพเพราะไม่ได้สวมตั้งแต่แรก เพราะเมื่อไปผนึกน้ำแล้วจึงไม่สามารถลงไปนำเสื้อชูชีพมาใช้ได้

 

ความพร้อมของแพชูชีพ โดยหลวงสุโขทัยมีแพชูชีพจำนวน 6 แพ อยู่ทางกราบซ้าย 3 แพ และทางกราบขวา 3 แพ ขณะเกิดเหตุกำลังพลสามารถปลดแพกราบขวาได้ 2 แพ ส่วนอีก 4 แพอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตรายเข้าถึงได้ยาก แต่เมื่อเรืออับปางแพชูชีพทั้งหมดก็หลุดออกจากแท่นติดตั้ง

 

ความพร้อมของกำลังพล ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยพิจารณาว่า ภารกิจครั้งนี้ไม่ใช่ภารกิจในการรบเต็มรูปแบบ จึงจัดกำลังพลประจำเรือออกปฏิบัติราชการจำนวน 75 นาย จากจำนวน 100 นาย เพื่อจัดที่พักอาศัยบนเรือให้แก่กำลังพลจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งจำนวน 30 นายที่โดยสารไปกับเรือ เมื่อถึงภาวะที่ต้องปฏิบัติงานในสภาพอากาศคลื่นลมที่รุนแรง ทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกำลังพลลดลง ทั้งยังต้องป้องกันความเสียหายที่เกิดหลายสถานที่ในห้วงเวลาเดียวกัน จึงทำให้การป้องกันความเสียหายของเรือกระทำได้อย่างจำกัด

 

การป้องกันความเสียหายเรือหลวงสุโขทัยมีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหายครบตามอัตราที่กำหนดและพร้อมใช้งาน เมื่อพบว่ามีน้ำเข้าเรือจนมีการสั่งการแก้ปัญหาด้วยการผนึกน้ำทันที แต่ไม่สามารถออกไปตรวจสอบความเสียหายภายนอกตัวเรือได้เนื่องจากสภาวะคลื่นลมแรง ทำให้ไม่ทราบความเสียหายภายนอกตัวเรือ ซึ่งกำลังพลของเรือหลวงสุโขทัยได้ทุ่มเทสรรพกำลังในการป้องกันความเสียหายเต็มที่สุดความสามารถเพื่อแก้ไขวิกฤต

 

ผลกระทบจากสภาพอากาศคลื่นลมในวันเกิดเหตุ สภาพอากาศแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลัน จากที่มีการพยากรณ์ไว้ ซึ่งมีเรือขนาดใหญ่จำนวนหลายลำอับปางในห้วงเวลาใกล้เคียงกัน เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เรืออับปางหลายลำ และมีน้ำเข้าเรือจนเป็นเหตุให้เรือโคลงมาก และเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือกำลังพลที่ประสบภัย จึงมีการสูญเสียกำลังพล

 

ส่วนการตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพสัตหีบของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยซึ่งมีระยะทางไกล ใช้เวลาในการเดินทางมากกว่านำเรือเข้าเทียบท่าเรือบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยพิจารณาว่าคลื่นลมบริเวณหน้าท่าเรือมีความรุนแรง ซึ่งท่าเรือไม่สามารถเทียบท่า และไม่มีเรือลากจูงสนับสนุนการเทียบท่า การเข้าเทียบท่าอาจเป็นอันตรายต่อเรือ และในเวลานั้นผู้บังคับการเรือสุโขทัยยังไม่ทราบข้อมูลการฉีกขาดของแผ่นเหล็กกันคลื่นบริเวณหน้าป้อมปืน จึงเห็นว่าหากนำเรือกลับจะทุเลาความรุนแรง ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยเห็นว่าเป็นหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

 

คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุปว่า กรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปางไม่ได้เกิดจากความจงใจของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยรวมถึงกำลังพลบนเรือ แต่เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวนอย่างฉับพลัน ทำให้เรือเกิดสภาวะผิดปกติและน้ำเข้าเรือ จากรูทะลุเป็นเหตุทำให้เรือเอียงและอับปาง การตัดสินใจนำเรือกลับฐานสัตหีบของผู้การเรือหลวงสุโขทัยซึ่งมีระยะทางไกลและใช้ระยะเวลาเดินทางมากกว่า เป็นดุลพินิจโดยขาดความรอบคอบทำให้เกิดความเสียหาย เชื่อว่าการอับปางของเรือหลวงสุโขทัยมีส่วนเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ 

 

ทั้งนี้ ในการใช้ดุลพินิจโดยขาดความรอบคอบจนทำให้เกิดความเสียหายของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยเป็นความผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 โดยเห็นสมควรลงทัณฑ์ ‘กัก’ เป็นเวลา 15 วัน ซึ่งทัพเรือภาคที่ 1 ได้ประเมินให้กองทัพเรือได้ดำเนินการทางวินัยกับผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย แล้วส่งผลการพิจารณาให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่วนในความผิดทางอาญาอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางสะพานที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมต่อไป

 

ส่วนพลเรือเอก ชัยณรงค์ กล่าวถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากผลการสอบสวนว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการจงใจ เนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัยจากสภาพอากาศทั้งสิ้น และการตัดสินใจของผู้การเรือในการหันหัวเรือกลับสัตหีบสามารถดำเนินการได้ ถือเป็นดุลพินิจของผู้การเรือหลวงสุโขทัย จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะต้องรับผิดทางละเมิด ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

 

จากนั้นพลเรือเอก อะดุง ได้กล่าวปิดท้ายการแถลงข่าว พร้อมทั้งชื่นชมอดีตผู้การเรือหลวงสุโขทัยว่าเป็นลูกผู้ชาย ใครไม่เป็นทหารไม่รู้ เพราะตั้งแต่เป็นนักเรียนเตรียมทหาร มาเป็นผู้การเรือต้องมีใจรัก ซึ่งการเป็นผู้การเรือเกรด A ของกองทัพเรือ เมื่อนำทัพทหารไปสูญเสีย ได้แสดงสปิริต ถ้าเขาไม่ลาออกก็ยังสามารถอยู่ได้ แต่ขอขอบคุณที่รักษากองทัพเรือไว้

The post ทร. เปิดสาเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง คลื่นลมรุนแรงบวกกับเรือเก่า ผู้การเรือตัดสินใจพลาด เจ้าตัวออกราชการแสดงความรับผิดชอบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บทสรุป 19 วัน ปฏิบัติการปลดอาวุธ ‘เรือหลวงสุโขทัย’ แต่ไม่พบผู้สูญหายทั้ง 5 คน https://thestandard.co/operation-to-disarm-the-htms-sukhothai/ Tue, 12 Mar 2024 12:11:51 +0000 https://thestandard.co/?p=910292

ในที่สุดเมื่อวานนี้ (11 มีนาคม) ก็ปิดฉากปฏิบัติการที่กอ […]

The post บทสรุป 19 วัน ปฏิบัติการปลดอาวุธ ‘เรือหลวงสุโขทัย’ แต่ไม่พบผู้สูญหายทั้ง 5 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในที่สุดเมื่อวานนี้ (11 มีนาคม) ก็ปิดฉากปฏิบัติการที่กองทัพเรือเรียกว่า ‘ปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย’ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

THE STANDARD ชวนย้อนอ่านบทสรุปผลการปฏิบัติการตลอดระยะเวลา 19 วันของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ

 

ปฏิบัติการนี้คืออะไร 

 

เรือหลวงสุโขทัยอับปางลงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 โดยเหตุการณ์ดังกล่าวมีกำลังพลสูญหาย 5 นาย เสียชีวิต 24 นาย และรอดชีวิต 70 นาย

 

ข้อมูลจากกองทัพเรือระบุว่า ปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยกองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิกได้ส่งกำลังประกอบด้วย เรือกู้ซ่อมชื่อ Ocean Valor และทีมนักประดาน้ำของกองทัพเรือสหรัฐฯ มาร่วมปฏิบัติการภายในกรอบการฝึกร่วม-ผสมคอบร้าโกลด์ 2024 

 

ปฏิบัติการครั้งนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการกู้เรือแบบจำกัด ไม่ใช่การกู้เรือขึ้นจากทะเลทั้งลำ สาเหตุสำคัญเนื่องจากเรือลำนี้ต่อในสหรัฐอเมริกา อนาลโย กอสกุล ระบุว่า ในเรือหลวงสุโขทัยลำนี้มีเทคโนโลยีทางทหารของสหรัฐอเมริกาเต็มลำเรือ ซึ่งผู้ซื้ออาวุธจะต้องยอมรับข้อตกลงที่เรียกว่า ข้อตกลงของผู้ใช้รายสุดท้ายคือ End User Agreement 

 

ข้อตกลงนี้ไม่ได้มีเงื่อนไขจำกัดการใช้งาน แต่จะต้องรักษาความลับทางทหารของสหรัฐอเมริกา ไม่ให้บุคคลที่ 3 เข้าถึงได้ ซึ่งการละเมิด End User Agreement นั้น แม้สหรัฐอเมริกาจะไม่สามารถจับคนไทยคนไหนขึ้นศาลได้ แต่สหรัฐอเมริกาสามารถแบนการขายอาวุธหรืออะไหล่ในอนาคตต่อไทยได้ทั้งหมด เนื่องจากไทยผิดข้อตกลงนี้

 

เป้าหมายของปฏิบัติการ

 

กองทัพเรือสรุปเป้าหมายของปฏิบัติการใน 4 ภารกิจดังต่อไปนี้

 

  1. การค้นหาผู้สูญหายจำนวน 5 คนที่อาจติดอยู่ภายในเรือ
  2. การตรวจสอบวัตถุพยานที่ตัวเรือ เพื่อประกอบการสอบสวนข้อเท็จจริงถึงสาเหตุการอับปางของเรือหลวงสุโขทัย
  3. การปลดวัตถุอันตรายและการทำให้ยุทโธปกรณ์สำคัญของสหรัฐฯ หมดขีดความสามารถ (Demilitarization)
  4. การนำสิ่งของที่มีคุณค่าทางจิตใจของเรือหลวงสุโขทัยขึ้นมาทำอนุสรณ์สถาน

 

เรือหลวงสุโขทัยจมอยู่ที่ใด

 

ปัจจุบันเรือหลวงสุโขทัยจมอยู่ที่กลางทะเลความลึก 50 เมตร ทางทิศตะวันออกของท่าเรือประจวบ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 21.4 ไมล์ทะเล หรือ 38.52 กิโลเมตร 

 

โดยทัศนวิสัยใต้น้ำประมาณ 5-10 เมตร พื้นท้องทะเลเป็นโคลนปนทราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโคลน สภาพตัวเรือตั้งตรงหรือนั่งแท่น เอียงซ้ายเล็กน้อยประมาณ 7 องศา หัวเรือหันไปในทิศ 240 หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัวเรือจมโคลนประมาณ 1 เมตร บริเวณตัวเรือและอุปกรณ์ภายนอกตัวเรือทั้งหมดปกคลุมด้วยตะกอนดิน เพรียง และหอย ความหนาประมาณ 1 นิ้ว 

 

โดยตัวเรือภายในเริ่มปกคลุมด้วยตะกอนดินและเศษวัสดุต่างๆ ที่เริ่มย่อยสลาย ไม่พบการรั่วไหลของน้ำมันหรือสารเคมีต่างๆ จุดที่สูงที่สุดของเรือคือเสากระโดงเรือ อยู่ลึกจากผิวน้ำลงไป 90 ฟุต หรือ 27 เมตร ไม่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ (จากสถิติเรือที่กินน้ำลึกสูงสุด 24.5 เมตร) 

 

ไม่พบผู้สูญหายทั้ง 5 คน

 

กองทัพเรือแถลงผลการปฏิบัติการตลอดระยะเวลา 19 วันของการปฏิบัติการ โดยเฉพาะการค้นหาผู้สูญหายที่อาจติดอยู่ภายในเรือ ผลปรากฏว่า ไม่พบผู้สูญหายในทุกห้อง 

 

“ทุกสถานที่ที่เราเข้าไปได้และสถานที่ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีคนอยู่ รวมถึงค้นหาบริเวณรอบนอกตัวเรือและพื้นท้องทะเลใกล้ตัวเรือ ก็ไม่พบร่างหรือชิ้นส่วนกระดูกของคน” พล.ร.อ. ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ระบุในการแถลงผลการปฏิบัติการ

 

ปลดวัตถุอันตราย-เก็บพยานหลักฐาน

 

การปฏิบัติการครั้งนี้ได้ปลดวัตถุอันตรายและการทำให้ยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของสหรัฐฯ หมดขีดความสามารถทางทหารจำนวน 3 อย่าง คือ อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นฮาร์พูน, ตอร์ปิโด MK 309 และเครื่องมือสื่อสารที่เกี่ยวข้อง

 

และยังได้มีการนำอาวุธปืนของกองทัพเรือขึ้นมาจากน้ำ เช่น ปืนกล 20 มิลลิเมตร จำนวน 2 กระบอก, ปืนเล็กยาว M16 จำนวน 10 กระบอก รวมถึงได้หลักฐานครบถ้วนตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องนำเรือทั้งลำขึ้นมาจากน้ำ

 

กองทัพเรือยังได้นำสิ่งของในเรือหลวงสุโขทัยขึ้นมาเพื่อจัดทำเป็นอนุสรณ์สถานรวม 11 รายการ เช่น ป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย, พญาครุฑประจำเรือ, พระพุทธรูปประจำเรือ, เสากระโดงเรือ, สมอเรือ และป้ายรายนามผู้บังคับการเรือ

 

นอกจากนี้ในปฏิบัติการยังได้ตัดเสากระโดงเรือความสูง 10 เมตรออกอีก ทำให้ความสูงของเรือลดลงไปอีก ส่งผลให้มีความปลอดภัยต่อการเดินเรือเพิ่มขึ้นอีก ไม่มีวัตถุและสิ่งที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่มีวัตถุอันตรายต่อคนและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล รวมทั้งไม่มีขีดความสามารถทางทหารที่จะสามารถนำไปใช้ได้อีก

 

ขั้นตอนต่อไปหลังจบปฏิบัติการ

 

กองทัพเรือแถลงว่า หลังจากปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเสร็จสิ้นในวันนี้ สิ่งที่กองทัพเรือจะดำเนินการต่อไปคือ รวบรวมยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์ และสิ่งของของเรือหลวงสุโขทัย ที่เก็บกู้ได้นำส่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อตรวจสอบและดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบต่อไป

 

โดยคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปางจะสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากข้อมูลและพยานวัตถุที่สำรวจ ตรวจสอบ และเก็บกู้ได้จากการปฏิบัติการครั้งนี้ และกองทัพเรือจะจัดการแถลงข่าวต่อไป

 

ทั้งนี้ กองทัพเรือจะจัดสร้างอนุสรณ์สถานเรือหลวงสุโขทัย โดยใช้อุปกรณ์และชิ้นส่วนของเรือที่ถอดถอนและนำขึ้นมาได้จากการปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อรำลึกถึงเรือหลวงสุโขทัย รวมทั้งความกล้าหาญและความเสียสละของกำลังพลที่เสียชีวิตและสูญหาย 

 

อ้างอิง: 

The post บทสรุป 19 วัน ปฏิบัติการปลดอาวุธ ‘เรือหลวงสุโขทัย’ แต่ไม่พบผู้สูญหายทั้ง 5 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปิดภารกิจ 19 วัน กู้เรือหลวงสุโขทัย ไม่พบผู้สูญหาย เตรียมเก็บหลักฐานพิสูจน์ต่อ คาดอีก 1 เดือนรู้เหตุอับปาง https://thestandard.co/htms-sukhothai-19-days-mission/ Mon, 11 Mar 2024 13:24:14 +0000 https://thestandard.co/?p=909788 เรือหลวงสุโขทัย

วันนี้ (11 มีนาคม) พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาก […]

The post ปิดภารกิจ 19 วัน กู้เรือหลวงสุโขทัย ไม่พบผู้สูญหาย เตรียมเก็บหลักฐานพิสูจน์ต่อ คาดอีก 1 เดือนรู้เหตุอับปาง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เรือหลวงสุโขทัย

วันนี้ (11 มีนาคม) พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เดินทางไปยังเรือ Ocean Valor ซึ่งจอดอยู่บริเวณอ่าวไทย ใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัย อับปาง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อตรวจเยี่ยมปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัยในวันสุดท้าย หลังปฏิบัติภารกิจครบ 19 วัน ตั้งแต่ 22 กุมภาพันธ์ -11 มีนาคม 2567 ระหว่างกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นหนึ่งในภารกิจการฝึก Cobra Gold 2024



 

ผบ.ทร. กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือไทยและสหรัฐฯ ในครั้งนี้ว่า ภารกิจเสร็จสิ้นสมบูรณ์เรียบร้อย ขอขอบคุณสหรัฐฯ ซึ่งดีใจที่สุดคือไม่มีใครเกิดอุบัติเหตุและไม่มีความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น

 

ด้านเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าวขอบคุณกองทัพเรือไทย ตนได้เห็นการยกสมอเรือหลวงสุโขทัยขึ้นมา รู้สึกซาบซึ้งใจในความร่วมมือของรัฐบาลไทย ผู้บัญชาการทหารเรือ กองทัพเรือ และนักประดาน้ำทุกคน ภารกิจการกู้เรือเป็นการแสดงศักยภาพสูงสุดของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการทูตที่มีมายาวนานกว่า 190 ปี เยี่ยมมากๆ และใจของตนก็อยู่ร่วมกับครอบครัวทหารเรือที่สูญหาย และหวังว่าปฏิบัติการในครั้งนี้จะมีบทสรุปให้ครอบครัวของผู้สูญหายได้มากขึ้น

 

ขณะที่กองอำนวยการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัยแถลงข่าวปิดปฏิบัติการฯ ครบ 19 วัน นำโดย พล.ร.อ. ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ในฐานะผู้อำนวยการฯ ระบุว่า เป็นระยะเวลา 1 ปี 2 เดือน 22 วัน ที่เรือหลวงสุโขทัยอับปางใต้ทะเลในความลึก 50 เมตร ซึ่งสภาพเรือพบว่าเรือตั้งแท่นเช่นเดิม และเอียงไปทางกราบซ้าย 7.3 องศา 

 

สำหรับปฏิบัติการของนักประดาน้ำ 2 ประเทศ รวมปฏิบัติการดำน้ำ 82 เที่ยว 67 ชั่วโมง 53 นาที โดยผลการค้นหา 5 ผู้สูญหาย ไม่พบร่างทั้ง 5 คน หลังนักประดาน้ำได้เข้าสำรวจภายในห้องต่างๆ ตามที่วางแผน โดยส่วนใหญ่เป็นห้องที่อยู่ต่ำกว่าดาดฟ้าเรือ แต่ไม่ได้เข้าทุกห้อง ด้วยความเสี่ยงเพราะเรือจมอยู่ใต้น้ำลึก 50 เมตร รวมทั้งการสำรวจรอบตัวเรือและพื้นทะเลใต้ตัวเรือ



 

รวม 58 พยานวัตถุ ใช้สอบสวนต่อ

 

ทั้งนี้ นักประดาน้ำได้เก็บพยานวัตถุ 58 รายการ ทั้งที่เป็นวัตถุ-ภาพถ่าย ตามที่คณะกรรมการหาข้อเท็จจริงฯ ต้องการ เพื่อใช้ประกอบการสอบสวนหาสาเหตุ เช่น บริเวณแผ่นดันคลื่น, ประตูผนึกน้ำรอบตัวเรือ, รอยทะลุทางกราบซ้าย 2 รอย และสภาพฐานแท่นแพชูชีพ 6 แผง เป็นต้น

 

สำหรับส่วนที่เป็นวัตถุ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล DVR 1 เครื่อง, เสื้อชูชีพ 1 ตัว, คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป 1 เครื่อง และสมุดจดคำสั่งการนำเรือ 1 เล่ม

 

สำหรับเครื่องบันทึกภาพดิจิทัล DVR หรือทีวีวงจรปิด ทางกองทัพเรือได้นำส่งให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ตรวจสอบและกู้ข้อมูล โดยกองทัพเรือหวังให้ดำเนินการโดยเร็วที่สุด พร้อมย้ำว่าเรือรบไม่มีกล่องดำเหมือนกับเครื่องบิน แต่สิ่งที่บันทึกความเคลื่อนไหวภายในเรือจะมาจากกล้องวงจรปิด  

 

นอกจากนี้ ทางสหรัฐฯ ยังได้ปลดขีดความสามารถทางทหารกับยุทโธปกรณ์บนเรือ ได้แก่ อาวุธปล่อยนำวิถีสู่พื้นฮาร์พูน, ตอร์ปิโด MK309, เครื่องมือสื่อสาร, ปืนกล 20 มิลลิเมตร จำนวน 2 กระบอก, ปืนเล็กยาว M16 จำนวน 10 กระบอก ไม่ให้ใช้การได้ โดยทั้งหมดนำส่งให้กองทัพเรือไทยในฐานะเจ้าของ นำไปเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ต่อไป

 

พร้อมกันนี้ยังได้นำสิ่งของภายในเรือหลวงสุโขทัยขึ้นมาเพื่อจัดทำเป็นอนุสรณ์ เช่น ป้ายชื่อเรือ, พญาครุฑ, พระพุทธรูป, พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, ระฆังเรือ, สมอเรือ, ธงราชนาวี, เสากระโดงเรือ, สมอเรือ และป้ายขึ้นระวางประจำเรือ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ สิ่งที่กองทัพเรือจะดำเนินการต่อไป 3 ข้อ ได้แก่ 

  • รวบรวมยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์ สิ่งของจากเรือหลวงสุโขทัย ที่เก็บกู้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  • คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปางจะสรุปผลการสอบสวน
  • การสร้างอนุสรณ์สถาน เรือหลวงสุโขทัย โดยนำสิ่งของต่างๆ ที่มีคุณค่าทางจิตใจมาจัดแสดงในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพราะเป็นบ้านและที่ตั้งหน่วยของเรือหลวงสุโขทัย 

 

อีก 1 เดือนรู้ผล เหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง 

 

พล.ร.อ. ชาติชาย กล่าวย้ำว่า ด้วยการปฏิบัติภารกิจทั้งหมด ทำให้ไม่ต้องกู้เรือทั้งลำ เพราะได้พยานหลักฐานครบทุกรายการตามที่คณะกรรมการสอบสวนฯ ต้องการ และตอบโจทย์ทั้ง 4 ข้อในการปฏิบัติภารกิจ ได้แก่ การค้นหาผู้สูญหาย การตรวจสอบพยานวัตถุที่เรือ การปลดวัตถุอันตราย และการนำวัตถุที่มีคุณค่าทางจิตใจขึ้นมา

 

ส่วนเรื่องการเยียวยาครอบครัว 5 ผู้สูญหาย ได้ดำเนินการเหมือนกับ 24 รายที่เสียชีวิตและพบร่างแล้ว ขณะนี้เหลือเพียงขั้นตอนทางกฎหมายที่ต้องรอคำสั่งศาลว่าเป็นผู้สูญหาย เมื่อครบ 2 ปี สำหรับพยานวัตถุ 58 รายการ อยู่ที่กองทัพเรือพิจารณาว่าจะเกี่ยวข้องกับสำนวนสอบสวนหรือไม่ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง โดย ผบ.ทร. เร่งให้เร็วที่สุดไม่เกิน 1 เดือน รวมถึงสมุดจดคำสั่งการนำเรือ 1 เล่มที่เก็บกู้ขึ้นมาได้ส่งไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่แล้ว 

 

สำหรับงบประมาณในปฏิบัติการครั้งนี้ พล.ร.อ. ชาติชาย กล่าวว่า ทางสหรัฐฯ จะชี้แจงอีกครั้ง แต่ในส่วนของกองทัพเรือไทยได้คืนงบประมาณให้รัฐบาลไปแล้ว 90 ล้านบาท ส่วนงบที่กองทัพเรือจัดสรรเอง 110 ล้านบาท เป็นวิธีที่ดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบันและใช้งบประมาณไม่มาก โดยจะมีการชี้แจงต่อไป

The post ปิดภารกิจ 19 วัน กู้เรือหลวงสุโขทัย ไม่พบผู้สูญหาย เตรียมเก็บหลักฐานพิสูจน์ต่อ คาดอีก 1 เดือนรู้เหตุอับปาง appeared first on THE STANDARD.

]]>
กองทัพเรือปิดปฏิบัติการกู้เรือหลวงสุโขทัย 11 มี.ค. นี้ ผบ.ทร. ลุ้น กมธ.งบ 67 รับอุทธรณ์ซื้อเรือฟริเกต https://thestandard.co/navi-htms-sukhothai-salvage-op/ Tue, 05 Mar 2024 06:44:48 +0000 https://thestandard.co/?p=907385 เตรียมปิดปฏิบัติการ เรือหลวงสุโขทัย

วันนี้ (5 มีนาคม) พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชากา […]

The post กองทัพเรือปิดปฏิบัติการกู้เรือหลวงสุโขทัย 11 มี.ค. นี้ ผบ.ทร. ลุ้น กมธ.งบ 67 รับอุทธรณ์ซื้อเรือฟริเกต appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตรียมปิดปฏิบัติการ เรือหลวงสุโขทัย

วันนี้ (5 มีนาคม) พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 ณ สนามฝึกกองทัพเรือหมายเลข 15 หาดยาว แสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีกำลังพลตลอดการฝึก 4,500 นาย

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการฝึกสาธิตในพิธีเปิดครั้งนี้ได้จำลองเหตุการณ์ตึงเครียดใกล้พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล และสาธิตการช่วยเหลือ ค้นหาผู้ประสบภัยจากพื้นที่ความขัดแย้ง และการช่วยเหลือตัวประกันจากหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือซีล

 

พล.ร.อ. อะดุง กล่าวให้โอวาทว่า กองทัพเรือจัดให้มีการฝึกเป็นประจำทุกปีตามแนวทางที่กองทัพเรือกำหนดไว้อย่างต่อเนื่องที่ว่ารบอย่างไรฝึกอย่างนั้น เพื่อให้กำลังพลจากหน่วยต่างๆ ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติการร่วม และเป็นการทดสอบขีดความสามารถของหน่วยตามสาขาปฏิบัติการต่างๆ ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี ให้มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติขนาดใหญ่ด้วย จึงขอให้ผู้เข้าร่วมการฝึกทุกคนมุ่งมั่น ตั้งใจเรียนรู้ ฝึกฝนสะสมความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งนำบทเรียนที่ได้รับจากการฝึกไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน่วยของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

พล.ร.อ. อะดุง กล่าวว่า กองทัพเรือมีการฝึกเช่นนี้ทุกปี และสานต่อมาตลอด เพื่อให้กองทัพเรือเป็นกองทัพที่พร้อมในการป้องกันประเทศ ส่วนพื้นที่เกาะกูดที่มีกำลังของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ (สอ.รฝ.) มีความพร้อม 100% ในการดูแลพื้นที่

 

ผบ.ทร. ลุ้น กมธ.งบ 67 รับอุทธรณ์ซื้อเรือฟริเกต 17,000 ล้านบาท

 

ผบ.ทร. กล่าวถึงกรณีกองทัพเรือยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในโครงการจัดหาเรือฟริเกต 17,000 ล้านบาท ว่าอยู่ที่คณะกรรมาธิการฯ พิจารณา

 

ส่วนประโยคที่เคยกล่าวในคณะกรรมาธิการฯ ว่าขอทหารเรือใช้ของดี ยอมกินมาม่าแทนนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ตนอยากจะบอกให้รู้ว่าถ้าใครรู้จักกองทัพเรือ ยุทโธปกรณ์กองทัพเรือ ซึ่งมีทั้งเครื่องบิน เรือ มนุษย์กบ นาวิกโยธิน เรือใต้น้ำ และมีอะไรอีกมากมาย เราได้งบประมาณก้อนเดียว แต่เรามีของที่ต้องซื้อจำนวนมาก เพื่อให้กองทัพเรือมีความพร้อม กว่าจะวนมารอบหนึ่งได้เรือ ปีหน้าก็ต้องเป็นคิวเครื่องบิน อีกปีก็จะเป็นคิวอย่างอื่นต่อไป เราก็อยากให้เดินหน้าตามวงรอบที่เราคิดกันไว้ตามยุทธศาสตร์เท่านั้น

 

เมื่อถามว่าจำนวนเรือฟริเกตของกองทัพเรือที่ลดลงมีความจำเป็นต้องจัดหาใช่หรือไม่ ผบ.ทร. กล่าวว่า ผลการพิจารณาสมัย พล.ร.อ. เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ อดีต ผบ.ทร. ได้พิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็น ซึ่งขณะนี้เหลืออยู่เพียง 4 ลำเท่านั้น และในปี 2569 ก็จะเหลือเพียง 3 ลำ ซึ่งส่วนตัวไม่ทราบว่าความหวังของกองทัพเรือในการจัดหาเรือฟริเกตจะเป็นอย่างไร แต่กำลังให้ทางปลัดบัญชีกองทัพเรือ สำนักงบประมาณกองทัพเรือ พิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งกองทัพเรือจะแก้ปัญหาให้ดีที่สุด

 

ซื้อเพิ่มไม่ได้ ก็พร้อมใช้สิ่งที่มีอยู่ให้ดีที่สุด

 

เมื่อถามว่าได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลถึงความจำเป็นของกองทัพเรืออย่างไร ผบ.ทร. กล่าวว่า “ตามเรื่องที่เสนอขึ้นมาผ่านกรรมาธิการ สส. และ สว. ซึ่งได้อธิบายไปแล้ว ผมยอมรับหมดทุกเรื่อง รัฐบาลอาจมีความจำเป็นในด้านต่างๆ ก็สุดแต่รัฐบาล”

 

ส่วนถ้าไม่ได้เรือฟริเกตจะส่งผลต่อกองทัพเรือในการป้องกันประเทศไทยหรือไม่ ผบ.ทร. กล่าวว่า ถ้ายังไม่มีอะไรก็ไม่ว่าอะไร แต่ถ้ามีอะไรแล้วเราไม่พร้อม เราจะนำสิ่งที่มีเหลืออยู่ใช้ให้ดีที่สุด

 

เตรียมปิดปฏิบัติการกู้เรือหลวงสุโขทัย 11 มี.ค. นี้

 

พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการสำรวจ ค้นหา และปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย หลังดำเนินการมากกว่าครึ่งทางแล้วว่า วันที่ 11 มีนาคมนี้ ในช่วงบ่ายจะปิดการปฏิบัติการ ซึ่งทางผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ (ผบ.กร.) จะแถลงข่าวการปฏิบัติการทั้งหมดว่าตอบโจทย์ 4 วัตถุประสงค์ที่เราร้องขอให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาช่วยอย่างไรบ้าง โดยจะแถลงข่าวบนเรือหลวงอ่างทอง

 

ผบ.ทร. กล่าวว่า ของที่เก็บกู้ขึ้นมาแล้วมีกระบวนการอีกเยอะมาก เพื่อจะทำทุกอย่างให้สังคมสบายใจ และเคลียร์ว่าเรือล่มเกิดจากสาเหตุอะไร ขอให้รอเวลา ส่วนความเสียหายของเรือเกิดจากสาเหตุใดและเรื่องของการสละเรือช้า รวมทั้งเรื่องของผู้บังคับบัญชานั้นยังไม่ขอชี้แจง รอให้ผลออกมาก่อน

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post กองทัพเรือปิดปฏิบัติการกู้เรือหลวงสุโขทัย 11 มี.ค. นี้ ผบ.ทร. ลุ้น กมธ.งบ 67 รับอุทธรณ์ซื้อเรือฟริเกต appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุทินแนะก้าวไกลศึกษาเทคนิคการกู้เรือก่อนพูด ชี้ยกขึ้นมาทั้งลำเสี่ยงหัก-ผิดข้อตกลงสหรัฐฯ ยืนยันเรือหลวงสุโขทัยล่มต้องมีคนถูกลงโทษ https://thestandard.co/sutin-advice-move-forward-study-ship-rescue/ Tue, 27 Feb 2024 06:35:00 +0000 https://thestandard.co/?p=904675 สุทิน คลังแสง

วันนี้ (27 กุมภาพันธ์) ที่ทำเนียบรัฐบาล สุทิน คลังแสง ร […]

The post สุทินแนะก้าวไกลศึกษาเทคนิคการกู้เรือก่อนพูด ชี้ยกขึ้นมาทั้งลำเสี่ยงหัก-ผิดข้อตกลงสหรัฐฯ ยืนยันเรือหลวงสุโขทัยล่มต้องมีคนถูกลงโทษ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุทิน คลังแสง

วันนี้ (27 กุมภาพันธ์) ที่ทำเนียบรัฐบาล สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรคก้าวไกลออกมาตั้งข้อสังเกตเรื่องการกู้เรือหลวงสุโขทัยที่ไม่กู้ขึ้นมาทั้งลำ และการล้มประมูลการกู้เรือก่อนหน้านี้ว่า เรื่องการกู้เรือหลวงสุโขทัยตนเคยตอบคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร ชุดของ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ไปแล้วว่าของเดิมเราจะกู้เอง แต่ทางสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ขายเรือให้กับกองทัพเรือมีข้อตกลงว่าสหรัฐฯ ไม่อยากให้ชาติอื่นเข้าถึงเทคโนโลยีของเขา และมีข้อตกลงอยู่ว่าหากเรือมีปัญหาเขาจะเป็นฝ่ายเดินทางมาซ่อมเอง รวมถึงการกู้เรือ จึงต้องยอมรับข้อตกลงนี้

 

ส่วนวิธีการกู้เรือ คนพูดจะต้องเข้าใจเรื่องเทคนิคและกรรมวิธี นวัตกรรมในการกู้ สุทินกล่าวว่า เดิมคิดว่าจะยกขึ้นมาทั้งลำ แต่เสี่ยงที่เรือจะหัก ฉะนั้นตนอยากให้ไปศึกษาวิธีการกู้เรือแล้วค่อยออกมาพูด ทั้งนี้ ทางสหรัฐฯ ได้มีการพูดคุยเรื่องนี้กับทางวิศวกรอย่างละเอียด ซึ่งเขาดูว่าการกู้ที่ดีที่สุดคือการทยอยกู้ โดยเขาจะส่งทีมนักประดาน้ำลงไปสำรวจและถ่ายภาพขึ้นมาทั้งหมด เพื่อเป็นการเก็บหลักฐาน รวมถึงการสำรวจกำลังพลอีก 5 นายที่สูญหาย หากพบจะนำขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีของเขาเอง

 

“เขายังบอกอีกว่าการกู้เรือด้วยการยกมาทั้งลำในหลายประเทศเคยทำมาแล้วหัก ยิ่งจะทำให้เสียหลักฐาน ส่วนการล้มประมูลนั้น การกู้เรือก่อนหน้านี้เกิดเหตุจากเราไม่สามารถฝืนข้อตกลงของสหรัฐฯ ได้ รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณ และทางสหรัฐฯ ก็ออกงบประมาณบางส่วนมากู้ ส่วนเราสมทบไปจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มาก กองทัพเรือยืนยันว่าประหยัดงบของรัฐบาลและราชการ ฉะนั้นดูแล้วมีแต่ประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ” สุทินกล่าว

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าเชื่อหรือไม่ว่ากองทัพไม่ได้อำพรางซ่อนเร้น เพราะเรือจมอยู่ใต้ทะเล 1 ปี 2 เดือน หลักฐานต่างๆ อาจจะถูกทำลาย สุทินกล่าวว่า ตนเชื่อว่าไม่มีเจตนานั้น เพราะว่าเท่าที่ทราบเขาก็ดำเนินการสอบสวนกันอยู่ และจะต้องมีการลงโทษ ส่วนเรื่องหลักฐานเป็นเรื่องที่เราซีเรียส ได้กำชับไปทางสหรัฐฯ ว่าจะกู้วิธีไหนก็แล้วแต่ แต่เรื่องหลักฐานทางคดีต้องไม่ทำให้เสีย

 

เมื่อถามว่าข้อครหาอย่างหนึ่งคือคำสั่งที่มีส่วนทำให้ผู้การเรือสละเรือช้า สุทินกล่าวว่า เป็นเรื่องที่สอบสวนกันอยู่ ซึ่งไม่เกี่ยวกับซากเรือ สามารถสอบสวนโดยสถานการณ์และพยานแวดล้อมได้ ล่าสุด พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ระบุว่าเรื่องคดีไม่มีการยุติหรือปิดไปกับการกู้เรือ เพราะฉะนั้นจะต้องมีคนที่จะต้องรับผิด

 

ไม่นอยด์ ‘เศรษฐา’ ชิงลงตรวจบ้านพักทหารก่อน

 

สุทินกล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ไปตรวจบ้านพักของกำลังพลทั้งในส่วนกองทัพบกและกองทัพเรือว่า ได้มีการพูดคุยกันก่อนแล้วในวงรับประทานอาหารร่วมกับ ผบ.เหล่าทัพ ครั้งล่าสุด ซึ่ง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่าจะลงไปดูเรื่องนี้ รวมถึงสวัสดิการ ซึ่งก็เข้าใจตรงกัน ขณะที่ตนเองได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ฉะนั้นใครสะดวกก็ไป โดยนายกฯ สะดวกก่อน ท่านก็ไปก่อน ในส่วนของตนจะไปตามเก็บรายละเอียดตามหลังท่าน ยืนยันว่าไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าไม่ได้รู้สึกว่าเก้าอี้โดนสั่นคลอนใช่หรือไม่ สุทินกล่าวว่าไม่ เพราะได้คุยกันก่อนแล้ว และนายกฯ เป็นผู้บังคับบัญชา ท่านไปได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ตามที่อยากเห็น เพราะท่านมาจากนักธุรกิจก่อสร้าง ท่านสนใจและมีความรู้ในเรื่องนี้มากว่าจะทำบ้านพักอย่างไรให้ประหยัดและอยู่กันได้ จึงอยากลงพื้นที่ไปดูข้อเท็จจริงแทนที่จะนั่งสั่งการอย่างเดียว เมื่อถามว่ามีน้อยใจหรือนอยด์หรือไม่ สุทินปฏิเสธว่าไม่ นายกฯ บอกตนตลอด แม้แต่ท่านจะไปคุยกับกองทัพอากาศเรื่องสนามกอล์ฟ ท่านก็บอกว่าจะขอไปดูก่อน ส่วนรายละเอียดให้ตนไปเก็บ ไม่มีปัญหา

 

เจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาไร้วาระซ่อนเร้น ยึดประโยชน์สองประเทศ

 

สุทินยังกล่าวถึงกรณีกำหนดวันจะไปเยี่ยม ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่บ้านจันทร์ส่องหล้าว่า มี แต่ยังไม่กำหนดวัน ขอดูโอกาสที่เหมาะสม

 

ส่วนความคืบหน้าการเจรจาแบ่งผลประโยชน์พื้นทับซ้อนไทยกับกัมพูชา สุทินกล่าวว่าเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ซึ่ง กต. จบอย่างไร กระทรวงกลาโหมก็รักษาแนวเขตนั้นให้ แต่ไม่ใช่เป็นฝ่ายไปเจรจา สำหรับคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) กระทรวงกลาโหมที่อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ เนื่องจากในส่วนนั้นจะมีบางเรื่องที่เราคิดว่ามีเรื่องความมั่นคงเข้าไปด้วย อาจจะต้องนำความเห็นของกระทรวงกลาโหมไปร่วมด้วย ส่วนเรื่องเกาะกูดยังไม่มี

 

เมื่อถามว่ามีความเชื่อมั่นในตัวทักษิณว่าจะไม่ไปเจรจาเรื่องนี้จนทำให้ไทยเสียเปรียบใช่หรือไม่ สุทินกล่าวว่าตนเชื่อว่าไม่มี ทุกคนอยู่ในที่แจ้งหมด และท่านก็ระมัดระวังอยู่

 

ส่วนปัญหาเรื่องเกาะกูดมั่นใจว่าทางกัมพูชาจะยกเกาะกูดให้ไทยโดยจะไม่นำประเด็นเข้ามาในการเจรจาใช่หรือไม่ สุทินกล่าวว่าตนเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่มีวาระซ่อนเร้น และน่าจะออกมาดี ทุกคนทำด้วยสุจริตใจ เพราะสังคมดูอยู่ ส่วนจะต้องคุยกับกัมพูชาอีกรอบหรือไม่ว่าจะไม่เอาพื้นที่เกาะกูดไปเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา จะต้องถามทาง กต. อย่างไรก็ตาม สำหรับความคืบหน้าการพูดคุยในปัจจุบันนั้นยอมรับว่าหยุดไปพักหนึ่ง ตอนนี้อาจจะเริ่มคุยกัน เพราะตอนนั้นเป็นคนละรัฐบาล บรรยากาศการพูดคุยของแต่ละรัฐบาลไม่เหมือนกัน และเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จะพูดอะไรก็ต้องระมัดระวัง ไม่อยากให้กระทบบรรยากาศความร่วมมือที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ก็อยากจะเว้นไว้นิดหนึ่ง แต่วันนี้น่าจะเป็นโอกาสที่จะต้องคุยกัน

 

เมื่อถามว่าการที่สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน ประธานองคมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เดินทางมาเยี่ยมทักษิณ คิดว่าคุยกันเรื่องนี้หรือไม่ สุทินกล่าวว่าไม่พูดเรื่องนี้ และในช่วงที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเยือนไทยก็ไม่ได้ลงรายละเอียดในเรื่องนี้ เพียงแต่คุยว่าเรื่องนี้จะต้องคุยให้เกิดประโยชน์ของทั้งสองประเทศและระมัดระวังอย่าให้เป็นเรื่องที่ต้องทะเลาะกัน ก็เท่านั้น

The post สุทินแนะก้าวไกลศึกษาเทคนิคการกู้เรือก่อนพูด ชี้ยกขึ้นมาทั้งลำเสี่ยงหัก-ผิดข้อตกลงสหรัฐฯ ยืนยันเรือหลวงสุโขทัยล่มต้องมีคนถูกลงโทษ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ก้าวไกลชี้ กองทัพเรือเตะถ่วง-ตั้งใจล้มกู้เรือหลวงสุโขทัย เผยเขียนของบ 67 มาแล้ว อ้างไม่มีงบไม่ได้ https://thestandard.co/mfp-points-out-that-the-navy-is-stalling/ Mon, 26 Feb 2024 07:29:44 +0000 https://thestandard.co/?p=904374 ชยพล สท้อนดี

วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) ที่อาคารอนาคตใหม่ ชยพล สท้อนดี ส […]

The post ก้าวไกลชี้ กองทัพเรือเตะถ่วง-ตั้งใจล้มกู้เรือหลวงสุโขทัย เผยเขียนของบ 67 มาแล้ว อ้างไม่มีงบไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชยพล สท้อนดี

วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) ที่อาคารอนาคตใหม่ ชยพล สท้อนดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กทม. พรรคก้าวไกล แถลง Policy Watch หัวข้อ ‘นิราศ (เรือหลวง) สุโขทัย: จากเรือรบสู่ปะการังเทียม?’ ว่า เรือหลวงสุโขทัยที่อับปางลงตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2565 พร้อมกับกำลังพลอีก 106 นาย ซึ่งขณะนั้นกองทัพเรือได้เดินเรือออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มุ่งหน้าไปร่วมงานเทิดพระเกียรติพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันประสูติขององค์พระบิดาของกองทัพเรือไทย

 

ชยพลได้ยกการอภิปรายของ พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ อดีต สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่เคยอภิปรายถึงประเด็นการล่มของเรือหลวงสุโขทัยไว้ว่า ประกอบด้วยปัญหา 3 ประการ คือ 

 

  1. สภาพอากาศ ในวันเกิดเหตุรายงานพยากรณ์อากาศของกองทัพเรือได้รายงานไว้ว่า คลื่นลมจะสูงประมาณ 2.5 เมตร และรายงานของเอกชนระบุไว้ว่า คลื่นจะสูงถึง 6 เมตร ถึงอย่างนั้นหากเรือหลวงสุโขทัยถูกบำรุงรักษาอย่างถูกต้องตามงบประมาณที่ขอไป ก็ไม่มีทางที่จะล่มได้อย่างแน่นอน 

 

  1. สภาพความพร้อมของเรือ เช่น สมอเรือ มอเตอร์ยังมีอาการขัดข้อง มาตรวัดในเรือใช้งานไม่ได้ เครื่องจักรสั่นสะเทือนผิดปกติ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้งานได้ 3 จาก 4 เครื่อง

 

  1. ความผิดพลาดของการสั่งการ ซึ่งจุดที่เรือหลวงสุโขทัยล่มจะใกล้กับท่าเรือบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เหตุใดถึงพยายามเดินเรือกลับไปสัตหีบจนอับปางในที่สุด

 

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการซ่อมบำรุงของเรือหลวงสุโขทัย เช่น เรื่องการซ่อมบำรุงแผ่นเหล็กที่ถูกกร่อนจนบางต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งซ่อมไปเพียง 5 จุดจาก 13 จุดที่มีปัญหา แล้วไปซ่อมอีก 10 จุดที่ไม่ได้มีปัญหาอะไร และมีคิวรอการซ่อมอยู่ถึง 19 รายการ 

 

ชยพลกล่าวต่อว่า หลังเกิดเหตุการณ์ ตนอยากให้พี่น้องประชาชนลองคิดดูว่ากองทัพเรือนั้นคิดอย่างไรถึงมีท่าทีขัดแย้งกันไปมาอยู่เสมอ เช่น หลังเกิดเหตุมีการเริ่มกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริง และเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 กองทัพเรือได้เริ่มเปิดให้บริษัทได้ยื่นซองประมูลโครงการกู้เรือหลวงสุโขทัยเป็นครั้งแรก ซึ่งผ่านไปเป็นเวลา 2 เดือนหลังจากวันที่เรือล่ม 

 

กองทัพเรือได้แจ้งว่า ผลการสอบสวนมีความคืบหน้าไปกว่า 90% ซึ่งก็คือเสร็จกระบวนการในขั้นตอนของการสอบปากคำพยานทั้งหมดเกือบ 300 คน โดยเหลือเพียงแค่การกู้เรือเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบ ทางกองทัพเรือได้ให้ข่าวว่า คาดว่าจะเริ่มกู้เรือกันได้ในเดือนเมษายนปี 2566 เป็นอย่างช้า 

 

หลังจากผ่านไปกว่า 7 เดือน ในช่วงเดือนกันยายน ปี 2566 จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส. ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการการทหาร ได้ตั้งข้อสังเกตว่า มีการล็อกสเปกในการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่ ทำให้ สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องออกมาขอสอบสวนหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

 

ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2566 กองทัพเรือก็เริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่าเอกสารไม่ครบ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ค้านสายตาคนรอบข้างมาก จน กมธ.การทหาร ต้องเชิญกองทัพเรือเข้าชี้แจง โดยชยพลตั้งคำถามว่า กองทัพเรือเองก็ย้ำมาตลอดว่าการกู้เรือเป็นภารกิจด่วน แล้วเหตุใดจึงล้มกระดานเสียเอง ทำให้ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่จากการเริ่มยื่นซองกันในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ขัดกับที่กองทัพกล่าวไว้แต่แรกว่าพร้อมเริ่มกู้เรือตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 

 

ชยพลกล่าวต่อว่า กระทั่งวันที่ 19 มกราคม 2567 ตนได้เปิดเอกสารจาก JUSMAGTHAI 2 ฉบับ ซึ่งมีเนื้อหาคือ การทวงถามรายงานข้อเท็จจริงในกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง และการเตือนว่าตามสัญญาการใช้ยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกา ก่อนจะให้บุคคลที่สามมายุ่งกับยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ ได้ต้องได้รับคำยินยอมจากรัฐบาลของสหรัฐฯ ก่อน และ JUSMAG ก็ได้ส่งหนังสือมาแจ้งกองทัพเรือไทยให้ทำตามข้อตกลงการใช้อาวุธ โดยส่งหนังสือมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 แจ้งให้ส่งรายงานโดยระบุข้อมูลคือ ‘วันที่เกิดเหตุ ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การแก้ไขข้อผิดพลาดโดยกองทัพเรือ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์’

 

ทางสหรัฐฯ รอคำตอบจากกองทัพเรือไทยมาเกือบปี ซึ่งหมายความว่าตลอด 1 ปีกองทัพเรือเตะถ่วงเรื่องการกู้เรือ และล่าช้าในเรื่องการสรุปข้อเท็จจริงที่ควรต้องชี้แจงให้ประชาชนและประเทศคู่ค้าด้วย 

 

ขณะที่ในวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ผบ.ทร. ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความร่วมมือกับกองทัพเรือสหรัฐฯ ว่าจะร่วมมือกันลงไปสำรวจซากเรือหลวงสุโขทัย ลงไปถ่ายรูปสำรวจเก็บหลักฐาน พร้อมตามหาผู้สูญหายอีก 5 นาย และปลดอาวุธเรือ แต่พอพูดถึงเรื่องการกู้เรือกลับไม่มีระบุว่ากองทัพเรือสหรัฐฯ จะร่วมการกู้เรือครั้งนี้หรือจะยังคงมีการกู้เรืออยู่หรือไม่ 

 

ทั้งที่กองทัพเรือได้เข้ามาชี้แจงในสภาหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าใน กมธ.การทหาร หรือ กมธ.งบประมาณ 2567 ได้พูดถึงความตั้งใจจริงที่จะกู้เรือ โดยระบุความจำเป็นของการกู้เรือไว้ 3 ข้อ คือ 

 

  1. เพราะซากเรือขวางทางเดินเรือ 
  2. เพื่อตามหาผู้สูญหายอีก 5 นาย 
  3. เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการสรุปข้อเท็จจริง 

 

จึงจำเป็นต้องกู้อย่างเร่งด่วน เพื่อหาความจริงให้ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ และเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุการล่มของเรือหลวงสุโขทัย จึงจะสามารถเปิดรายงานข้อเท็จจริงทั้งหมดให้กับประชาชนได้ 

 

“ต้องกู้เรือเท่านั้นถึงจะเห็นความจริง ต้องกู้เรือเท่านั้นถึงจะเปิดเผยรายงานได้ เข้าใจได้ว่ากองทัพเรือไทยไม่สามารถกู้เรือได้เอง แต่ไม่เข้าใจตรงที่เมื่อมิตรประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาได้มาถึงที่แล้ว ทำไมให้ช่วยไม่สุดทาง ทำไมถึงจบแค่การปลดอาวุธ แต่ไม่กู้จิ๊กซอว์นี้ขึ้นมา หรือมันเพราะว่าสัญญาการใช้ยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ จะครอบคลุมแค่เฉพาะกับยุทโธปกรณ์ หากมีการปลดอาวุธแล้วก็จะสิ้นสถานะการเป็นยุทโธปกรณ์ในทันที ซึ่งแปลว่า จะกู้หรือไม่กู้ จะรู้หรือไม่รู้ความจริง ก็ไม่มีใครมาบังคับได้อีกแล้ว”

 

ชยพลกล่าวว่า ตนจึงต้องการย้ำว่าการกู้เรือเท่านั้นถึงจะเห็นความจริง ต้องกู้เรือเท่านั้นถึงจะเปิดเผยรายงานได้ เข้าใจได้ว่ากองทัพเรือไทยไม่สามารถกู้เรือได้เอง แต่ไม่เข้าใจตรงที่เมื่อมิตรประเทศอย่างสหรัฐฯ ได้มาถึงที่แล้ว เหตุใดไม่ให้สหรัฐฯ ช่วยอย่างสุดทาง ทำไมถึงจบแค่การปลดอาวุธ 

 

“หรือเพราะว่าสัญญาการใช้ยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ จะครอบคลุมเฉพาะเมื่อตัวเรือยังดำรงสภาพการเป็นยุทโธปกรณ์ หากมีการปลดอาวุธแล้วก็จะสิ้นสถานะการเป็นยุทโธปกรณ์ทันที ซึ่งแปลว่า จะกู้หรือไม่กู้ จะรู้หรือไม่รู้ความจริง ก็ไม่มีใครมาบังคับได้อีกแล้ว JUSMAG จะไม่ได้ดูแลเรือหลวงสุโขทัยอีกต่อไป ชะตากรรมของเรือหลวงสุโขทัยจะอยู่ในมือของกองทัพเรือไทยเท่านั้น” ชยพลกล่าว

 

ชยพลกล่าวทิ้งท้ายว่า ตอนนี้ท่าทีของกองทัพเรือเองไม่มีความชัดเจนเลยว่าจะยังกู้เรืออยู่หรือไม่ ขัดกับคำพูดตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอให้กองทัพเรือออกมายืนยันให้ชัดว่า สรุปแล้วเราจะได้รู้ความจริงเมื่อใดกันแน่

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มีโอกาสเรียกกองทัพเรือเข้ามาชี้แจงเรื่องนี้ในกรรมาธิการหรือไม่ ชยพลกล่าวว่า เรื่องนี้ยังเพิ่งเริ่ม อาจจะต้องมีการสื่อสารไปถึงกองทัพเรือให้ออกมาชี้แจงถึงความตั้งใจจริงในการกู้เรือว่าจะกู้หรือไม่ 

 

ผู้สื่อข่าวจึงถามต่อว่า มีโอกาสชงเข้ากรรมาธิการทหารในช่วงใด ชยพลกล่าวว่า อาจจะมีการยกขึ้นมาในสัปดาห์นี้ พร้อมย้ำว่า กองทัพเรือไม่สามารถอ้างได้ว่าติดขัดเรื่องงบประมาณ เพราะมีการของบประมาณในปี 2567 ไปแล้ว จะบอกว่าไม่พอก็เป็นเรื่องที่ตลก ตอนแรกจะจ้างบริษัทภายนอกร้อยเปอร์เซ็นต์ มีการประเมินแล้วว่าใช้เงินประมาณ 2 พันล้านบาท

The post ก้าวไกลชี้ กองทัพเรือเตะถ่วง-ตั้งใจล้มกู้เรือหลวงสุโขทัย เผยเขียนของบ 67 มาแล้ว อ้างไม่มีงบไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทร. เตรียมคืนเงินกู้เรือหลวงสุโขทัย 90 ล้านบาท ให้รัฐบาลแจ้งไทม์ไลน์ปฏิบัติการวันที่ 3 เข้าตรวจสอบภายในเรือ https://thestandard.co/navy-returning-htms-sukhothai-loan/ Sat, 24 Feb 2024 03:43:03 +0000 https://thestandard.co/?p=903846 เรือหลวงสุโขทัย

วานนี้ (23 กุมภาพันธ์) พล.ร.ต. วีรุดม ม่วงจีน โฆษกกองทั […]

The post ทร. เตรียมคืนเงินกู้เรือหลวงสุโขทัย 90 ล้านบาท ให้รัฐบาลแจ้งไทม์ไลน์ปฏิบัติการวันที่ 3 เข้าตรวจสอบภายในเรือ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เรือหลวงสุโขทัย

วานนี้ (23 กุมภาพันธ์) พล.ร.ต. วีรุดม ม่วงจีน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า เป็นวันที่ 2 ของปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายของเรือหลวงสุโขทัย โดยชุดปฏิบัติการของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ บนเรือ Ocean Valor ที่จอดอยู่บริเวณอ่าวไทย ใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีการดำน้ำจำนวน 4 เที่ยว ดังนี้

 

  • เที่ยวที่ 1 ได้ดำเนินการถอดป้ายเรือหลวงสุโขทัยเป็นผลสำเร็จ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นปฐมฤกษ์ที่ดี และเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลชุดดำน้ำของทั้ง 2 ประเทศ กับความสำเร็จในก้าวแรกของปฏิบัติการครั้งนี้
  • เที่ยวที่ 2 ทำการถ่ายภาพตรวจวัดตำบลที่รอยทะลุข้างตัวเรือกราบซ้าย
  • เที่ยวที่ 3 ทำการสำรวจสะพานเดินเรือ ซึ่งชุดปฏิบัติการได้ทำการถ่ายภาพ นำพระพุทธรูป และเอกสารบางส่วนบนสะพานเดินเรือกลับขึ้นมายังผิวน้ำ เพื่อนำไปเก็บรักษาและใช้ประกอบการสอบสวนต่อไป
  • เที่ยวที่ 4 เป็นการดำลงไปตรวจสอบโครงกันคลื่นบริเวณหน้าป้อมปืนซึ่งมีรอยฉีกขาด ซึ่งผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

โฆษกกองทัพเรือกล่าวอีกว่า พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) มอบหมายให้ พล.ร.ท. ประกอบ สุขสมัย ปลัดบัญชีทหารเรือ ลงนามในหนังสือกองทัพเรือ เสนอสำนักงบประมาณเพื่อนำส่งคืนงบประมาณจำนวน 90 ล้านบาทที่เหลือสำหรับการกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัย ส่งคืนเพื่อให้รัฐบาลนำไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนต่อไป

 

สำหรับการปฏิบัติการในวันนี้ (24 กุมภาพันธ์) จะทำการดำน้ำสำรวจทั้งภายนอกและภายในเรือหลวงสุโขทัย ทั้งหมด 4 เที่ยว 

 

  • เที่ยวที่ 1 สำรวจห้องผู้บังคับการเรือ
  • เที่ยวที่ 2 สำรวจห้องใต้ป้อมปืน 76/62 (OTO Melara 76 mm gun) และรอยฉีกบนเพดานใต้โครงกันคลื่น (Wave Breaker)
  • เที่ยวที่ 3 สำรวจประตูทางลงห้องเครื่องจักรใหญ่ 
  • เที่ยวที่ 4 ดำลงไปเพื่อเปิดประตูผนึกน้ำท้ายเรือห้องเครื่องจักรใหญ่ ห้องเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉิน และฝาทางเข้าช่องลำเลียงอาวุธปล่อยนำวิถีอัสปิเด (Hatch Reload Aspide)

The post ทร. เตรียมคืนเงินกู้เรือหลวงสุโขทัย 90 ล้านบาท ให้รัฐบาลแจ้งไทม์ไลน์ปฏิบัติการวันที่ 3 เข้าตรวจสอบภายในเรือ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กองทัพเรือต้องแจงละเอียดปมกู้เรือหลวงสุโขทัย หลังพบมีข่าวแค่ร่วมมือกับสหรัฐฯ ดำน้ำดูความเสียหายและปลดอาวุธ https://thestandard.co/navy-explains-htms-sukhothai/ Fri, 23 Feb 2024 10:39:11 +0000 https://thestandard.co/?p=903621 กองทัพเรือ

วันนี้ (23 กุมภาพันธ์) ชยพล สท้อนดี สส. กทม. ในฐานะโฆษก […]

The post กองทัพเรือต้องแจงละเอียดปมกู้เรือหลวงสุโขทัย หลังพบมีข่าวแค่ร่วมมือกับสหรัฐฯ ดำน้ำดูความเสียหายและปลดอาวุธ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กองทัพเรือ

วันนี้ (23 กุมภาพันธ์) ชยพล สท้อนดี สส. กทม. ในฐานะโฆษกกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีการกู้เรือหลวงสุโขทัยของกองทัพเรือว่า ที่ผ่านมากองทัพเรือชี้แจงว่า กองทัพสหรัฐฯ จะเริ่มต้นจากการดำน้ำและสำรวจร่วมกัน ซึ่งจะมีการถ่ายรูปและปลดอาวุธ 

 

แต่ในเรื่องของการกู้ ไม่ได้พูดว่าจะมีกองทัพของสหรัฐฯ เข้าร่วม ซึ่งบอกว่าเป็นการกู้อย่างจำกัด โดยเรื่องนี้ตนเห็นว่าน่าจะตั้งข้อสงสัยและเป็นกังวลว่าสรุปแล้วจะมีการกู้เรืออีกหรือไม่ เพราะทางกองทัพเรือพูดมาโดยตลอดว่าการกู้เรือเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่จะประกอบให้เห็นภาพรวมว่า สาเหตุของการล่มที่แท้จริงคืออะไร แล้วเป็นการกู้แบบจำกัดหรือไม่กู้เลย

 

ดังนั้นจึงขอให้กองทัพเรือชี้แจงถึงความร่วมมือระหว่างกองทัพสหรัฐฯ ให้ชัดเจน ว่าความร่วมมือกับกองทัพสหรัฐฯ รวมถึงการกู้เรือด้วยหรือไม่ เพราะสหรัฐฯ ก็เสนอตัวช่วยเหลือมาโดยตลอดตั้งแต่เรือล่ม แล้วอยู่ๆ จะมากู้เรือในปีนี้ทำไม ทำไมถึงไม่กู้เรือให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้เราได้เห็นหลักฐานอย่างชัดเจน ทำไมถึงให้ข่าวเพียงแค่การดำน้ำ สำรวจร่วมกัน และการปลดอาวุธ

 

ทั้งนี้ เมื่อเราปลดอาวุธเรือหลวงสุโขทัยแล้ว สัญญาเรือไม่ได้มีสถานะเป็นอาวุธแล้ว ฉะนั้นสัญญาที่ทำกับกองทัพเรือไทยก็ไม่มีผลแล้ว ดังนั้นการกู้หรือไม่กู้ก็ไม่ได้ถูกบีบบังคับด้วยเหตุผลใดๆ เป็นเรื่องที่น่ากังวลว่าสุดท้ายเราจะได้เห็นความจริงหรือไม่ และเราจะได้รับความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายหรือไม่ 

 

เมื่อถามว่า ข้อมูลเรื่องนี้เพียงพอต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่นั้น ชยพลระบุว่า ขณะนี้ข้อมูลก็มีมาเยอะ ต้องขอขอบคุณกองทัพที่ให้ความร่วมมือดีขึ้น แต่ก็ต้องขอเวลาในการย่อยข้อมูลก่อน จึงจะสรุปได้ว่าเพียงพอต่อการอภิปรายหรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับงบประมาณที่ใช้ในโครงการต่างๆ เพราะมีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีอยู่ในขณะนี้

 

สำหรับเรือหลวงสุโขทัยกู้ได้เพียงบางส่วน ไม่ได้กู้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น กรรมาธิการจะมีข้อสังเกตในเรื่องนี้อย่างไรนั้น ชยพลกล่าวว่า ตนอยากให้กู้ขึ้นมาได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมีวิธีการกู้มากมาย ซึ่งเคยตั้งข้อสังเกตไว้ใน TOR เดิมที่ต้องซ่อมตัวเรือให้สามารถลอยลำได้เอง ซึ่งตรงนี้น่าเป็นที่สังเกตที่ว่า เรือล่มแล้วจะกู้ขึ้นมา ต้องซ่อมให้ลอยลำด้วยตนเองก่อนถึงจะลากเข้าฝั่ง จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปกปิดหลักฐานในส่วนนี้ และหลักฐานไม่ตรงตามสภาพความเป็นจริง แต่ปรากฏว่าขณะนี้ไม่ได้จะกู้แล้ว แล้วจะกู้กันแบบจำกัด ดังนั้นจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนและหลักฐานในสภาพดั้งเดิมหรือไม่ 

 

ดังนั้นจึงขอฝากกองทัพเรือให้ชี้แจงหลักฐานและข้อเท็จจริงทั้งหมดถึงสาเหตุของเรือล่ม ซึ่งกองทัพเรือเคยชี้แจงมาตลอดว่าหลักฐานจะได้ก็ต่อเมื่อกู้เรือเสร็จเท่านั้นถึงจะเอารายงานทั้งหมดมาเปิดเผยได้ และย้ำตลอดว่านี่คือจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้าย รอแค่การกู้เรือเท่านั้น พอต่อมาที่จะไม่กู้เรือแล้วก็งงว่าสุดท้ายเราจะได้เห็นข้อเท็จจริงไหม ซึ่งประชาชนยังรอคำตอบจากกองทัพเรืออยู่

The post กองทัพเรือต้องแจงละเอียดปมกู้เรือหลวงสุโขทัย หลังพบมีข่าวแค่ร่วมมือกับสหรัฐฯ ดำน้ำดูความเสียหายและปลดอาวุธ appeared first on THE STANDARD.

]]>