เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 26 Jan 2022 06:32:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 จำลอง ‘นอนตายบนทางม้าลาย’ เรียกร้องรัฐทำกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ หมอไม่ใช่เคสแรก ขอผู้คนมีจิตสำนึกร่วมกัน https://thestandard.co/traffic-law-symbolic-activity/ Wed, 26 Jan 2022 06:32:13 +0000 https://thestandard.co/?p=586806 traffic law

วันนี้ (26 มกราคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 10.00 น. เครือ […]

The post จำลอง ‘นอนตายบนทางม้าลาย’ เรียกร้องรัฐทำกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ หมอไม่ใช่เคสแรก ขอผู้คนมีจิตสำนึกร่วมกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
traffic law

วันนี้ (26 มกราคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 10.00 น. เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต, เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ, เครือข่ายเหยื่ออุบัติเหตุ พร้อมเครือข่ายภาคประชาชนกว่า 30 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ (นปถ.) เพื่อเรียกร้องบังคับใช้กฎหมายกับผู้ก่อเหตุบนทางม้าลาย ทวงคืนความปลอดภัยให้คนข้ามถนน พร้อมกันนี้ทางเครือข่ายยังได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์บริเวณทางม้าลายหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยแสดงเป็นคนนอนเสียชีวิต 3 คน (จาก 3 เหตุการณ์ที่เป็นข่าวใหญ่) บนทางม้าลาย, ร่วมวางดอกไม้และยืนสงบนิ่งแสดงความอาลัยต่อความสูญเสียล่าสุด และชูป้ายเรียกร้องให้บังคับใช้กฎหมายขั้นสูงกับผู้ที่ก่ออุบัติเหตุบนทางม้าลาย ปลุกสำนึกคนใช้รถใช้ถนน ร่วมคืนความปลอดภัยให้คนข้ามทางม้าลาย

 

เครือมาศ ศรีจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต กล่าวว่า จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจขับรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ Ducati สีแดง ชน พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ หมอกระต่าย อย่างแรงระหว่างเดินข้ามทางม้าลายบริเวณหน้าสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต สร้างความสะเทือนใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ เพราะนี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นกับคนข้ามถนนตรงทางม้าลาย

 

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2557 ก็เกิดเหตุรถฝ่าไฟแดงพุ่งชนพนักงานสาวแกรมมี่ขณะข้ามทางม้าลายจนเสียชีวิต บริเวณหน้าตึกแกรมมี่ ย่านอโศก อีกกรณีหนึ่งเมื่อปี 2562 กรณีว่าที่บัณฑิตถูกรถบิ๊กไบค์ชนเสียชีวิตขณะข้ามทางม้าลายบริเวณแยกกรมโยธาและผังเมือง ถนนพระราม 9 เพื่อไปทำงานเป็นวันแรก ทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส แต่ก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา ยังไม่นับรวมกรณีที่ไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะอีกมาก

 

จากข้อมูลศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ศึกษาจากแหล่งข้อมูลอุบัติเหตุต่างๆ ประมาณการว่ามีผู้ถูกรถชนเสียชีวิตขณะข้ามถนนบนทางม้าลาย เฉลี่ย 6% ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน หรือประมาณ 500 คนต่อปี โดยกว่า 1 ใน 3 เป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่งผลให้ประเทศต้องสูญเสียทรัพยากรไปก่อนวัยอันควรจำนวนมาก จึงขอให้ทุกฝ่ายเคารพกฎหมาย ร่วมกันทำทางม้าลาย-ทางเท้าให้มีความปลอดภัย และต้องจับตาดูว่ากรณีนี้ที่ผู้บังคับใช้กฎหมายเป็นคนก่อเหตุเสียเอง จะถูกลงโทษสถานหนักหรือไม่ หรือสุดท้ายแค่รอลงอาญา  

 

ด้าน เจษฎา แย้มสบาย ประธานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ กทม. กล่าวว่า ในฐานะที่ พล.อ. ประวิตร เป็นประธาน นปถ. ที่มีอำนาจสั่งการกำกับดูแลการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับคนใช้รถใช้ถนนรวมถึงคนเดินเท้า คืนทางม้าลายที่ปลอดภัยให้กับประชาชน โดยเครือข่ายขอแสดงจุดยืนและมีข้อเสนอ ดังนี้ 

 

  1. เครือข่ายขอไว้อาลัยกับความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนทางม้าลายรายล่าสุด และขอให้กำลังใจครอบครัวครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์นี้รวมไปถึงอุบัติเหตุรายอื่นๆ ในประเทศไทย และเครือข่ายขอยืนยันว่า ‘ความปลอดภัยบนทางม้าลายคือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน’ ที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ และควรเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักต่อประชาชนร่วมกัน   

 

  1. ขอให้บังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวดจริงจัง ทำให้กฎหมายจราจรของไทยศักดิ์สิทธิ์และเป็นธรรม ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และกรณีที่ผู้บังคับใช้กฎหมายเป็นผู้ก่อเหตุเสียเอง ต้องให้มีการลงโทษขั้นสูง และให้มีการเชื่อมโยงใบสั่งค่าปรับจราจรกับการต่อภาษีรถ เพื่อทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นจริง เนื่องจากมีผู้กระทำผิดกฎจราจรและไม่ชำระค่าปรับ ซึ่งถือว่าไม่เคารพกฎหมาย 

 

  1. ขอให้ยกระดับกฎหมาย ให้การชนคนตายบนทางม้าลายและบนท้องถนนมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา เช่นเดียวกับกฎหมายในประเทศที่เจริญแล้ว  

 

  1. ขอให้มีการจัดการ ‘ทางม้าลาย-ทางข้ามที่ปลอดภัย’ และเข้มงวดกับการกำหนดความเร็วในเขตเมือง โดยเฉพาะตลาด ชุมชน โรงเรียน โดยขับขี่รถไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

 

  1. ขอให้มีการรายงานผลการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนต่อรัฐบาล และติดตามผลงานอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส และสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุในอุบัติเหตุสำคัญเพื่อวางแนวทางแก้ไข

 

  1. ขอเรียกร้องต่อประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนให้ร่วมกันเป็นอาสาตาจราจร ช่วยกันสอดส่องดูแลผู้กระทำผิดกฎหมายต่างๆ บนถนน เช่น ไม่จอดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ขับย้อนศร กลับรถในที่ห้ามกลับรถ หรือการกระทำผิดอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุต่อคนเดินเท้าหรือผู้ร่วมทาง โดยสามารถส่งคลิปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือมูลนิธิเมาไม่ขับ เพื่อกระตุ้นสังคมให้ตระหนักถึงการขับขี่ที่ปลอดภัย 

 

ขณะที่ พวงแก้ว โต้ตอบ ผู้สูญเสียลูกชายอายุ 12 ปีจากอุบัติเหตุ กล่าวว่า ช่วงเดือนตุลาคม 2564 วันนั้นรถยนต์ขับมาด้วยความเร็วชนจักรยานยนต์คันที่น้องซ้อนมา ในเขตชุมชนหน้าเคหะชุมชนคลองเก้า คลองสามวา ซึ่งเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยมากๆ ระบบเตือนต่างๆ แทบไม่มีเลย เมื่อตนเห็นข่าวหมอกระต่ายถูกรถชนเสียชีวิตขณะเดินข้ามทางม้าลายแล้วรู้สึกสะเทือนใจมาก เพราะทำให้นึกถึงภาพที่ลูกชายตนเกิดอุบัติเหตุ เห็นคลิปแล้วมันพูดไม่ถูก ยิ่งมารู้ว่าผู้ก่อเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องบังคับใช้กฎหมายด้วยยิ่งรู้สึกแย่ เข้าใจหัวอกของครอบครัวผู้สูญเสีย เพราะเราผ่านจุดนั้นมาแล้ว มันยากเกินจะทำใจได้จริงๆ ก็ขอให้กำลังใจครอบครัวคุณหมอด้วย สิ่งที่อยากจะบอกคือคนขับรถทุกคนต้องรู้และสำนึกถึงความปลอดภัยทั้งของตัวเองและคนอื่นเป็นสำคัญ โดยเฉพาะตรงทางม้าลาย ในพื้นที่ชุมชน จิตสำนึกของคนต้องมี ทุกคนรู้กฎจราจรกันอยู่แล้วว่าทางม้าลายต้องขับให้ช้าลง ต้องชะลอ เห็นคนข้ามต้องหยุด เราต้องสร้างให้เป็นจิตสำนึกร่วมของคนใช้รถใช้ถนนให้ได้ ต้องทำให้ดีกว่าวัวหายแล้วมาล้อมคอก

 

traffic law traffic law traffic law traffic law traffic law traffic law traffic law traffic law

The post จำลอง ‘นอนตายบนทางม้าลาย’ เรียกร้องรัฐทำกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ หมอไม่ใช่เคสแรก ขอผู้คนมีจิตสำนึกร่วมกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>