อ้า – สันติ ต่อวิวรรธน์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 12 Nov 2018 07:11:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 หนูนา หนึ่งธิดา ชวนชม ‘บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล’ ละครเวทีที่คนกลัวผีก็ดูได้ https://thestandard.co/buppha-ratee-2018/ https://thestandard.co/buppha-ratee-2018/#respond Mon, 08 Oct 2018 06:27:14 +0000 https://thestandard.co/?p=129676

จากภาพยนตร์ บุปผาราตรี (2546) ความทรงจำที่แสนจะสยองปนโร […]

The post หนูนา หนึ่งธิดา ชวนชม ‘บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล’ ละครเวทีที่คนกลัวผีก็ดูได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากภาพยนตร์ บุปผาราตรี (2546) ความทรงจำที่แสนจะสยองปนโรแมนติกและเรียกเสียงหัวเราะได้สุดๆ ผลงานระดับคลาสสิกโดยผู้กำกับ ต้อม-ยุทธเลิศ สิปปภาค เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เรื่องราวความรักของ บุปผา หญิงสาวผู้ตกเป็นเหยื่อของโศกนาฏกรรมจากความรักและเสียชีวิตโดยลำพังในอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่ง ภวังค์แห่งความรักและยึดมั่นในคำสัญญายังทำให้เธอเฝ้ารอ เอกพล คนรักที่เคยให้คำสัญญาว่าจะกลับมาหา แต่ด้วยความตายที่เต็มไปด้วยความเศร้า จึงเกิดเป็นเรื่องเฮี้ยนๆ ฮาๆ ระหว่างผีบุปผาและคนในอพาร์ตเมนต์ได้อย่างไม่รู้ลืม

 

ในปีนี้ บุปผาราตรี กำลังจะกลับมาเฮี้ยนอีกครั้ง และผู้ชมจะได้ร่วมขนหัวลุกในรูปแบบของละครเวทีเป็นครั้งแรก!

 

บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล นำแสดงโดย หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ รับบท บุปผา และแดน-วรเวช ดานุวงศ์ รับบท เอกพล แฟนบุปผา โดยได้ผู้กำกับฝีมือดีอย่าง อ้า-สันติ ต่อวิวรรธน์ ที่เคยผ่านการกำกับละครเวทีมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แฟนจ๋า เดอะมิวสิคัล, ลมหายใจ เดอะมิวสิคัล, วันสละโสดกับโจทย์เก่าๆ มารับหน้าที่กำกับละครเวทีในครั้งนี้

 

 

หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ นักแสดงมากความสามารถที่มีผลงานภาพยนตร์และละครเวทีมาแล้วอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น บัลลังก์เมฆ เดอะมิวสิคัล, เนื้อคู่ 11 ฉาก จากวันแรกถึงวันลา และรักจับใจ เดอะโรแมนติกมิวสิคัล ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ THE STANDARD POP เกี่ยวกับ บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล ที่กำลังจะจัดแสดงขึ้นในเดือนตุลาคมนี้

 

การตั้งชื่อละครเวที บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล ก็เหมือนเป็นการเปิดเผยดีเอ็นเอของ บุปผาราตรี ที่ไม่ได้มีแค่ความน่ากลัวอย่างเดียว แต่ยังมีทั้งโรแมนติก คอเมดี้ และความกวนในตัวออกมาอย่างชัดเจน

เรื่องราวของ บุปผาราตรี ไม่ได้เน้นไปที่ความน่ากลัวขนหัวลุกมากมายขนาดนั้นอยู่แล้ว ในเรื่องจะมีความตลกกวนๆ จากตัวละครให้เห็นอยู่ตลอด ซึ่งการที่ละครเวทีเรื่องนี้ใช้คำว่า ‘เกือบจะมิวสิคัล’ ก็เป็นเหมือนกับการล้อและทำให้เห็นว่า บุปผาราตรี เองก็มีความกวนๆ นะ ไม่ใช่เดอะมิวสิคัลนะ แค่เกือบๆ จะเป็น (หัวเราะ)

 

ถ้าอย่างนั้น ‘เกือบจะมิวสิคัล’ แตกต่างกับ ‘เดอะมิวสิคัล’ อย่างไร

ปกติอาจจะเคยเห็นคำว่า ‘เดอะ มิวสิคัล’ ที่เป็นละครเวทีซึ่งใช้เพลงเป็นตัวร้อยเรื่องราว ในขณะที่ละครเวทีเรื่อง บุปผาราตรี ใช้คำว่า ‘เกือบจะมิวสิคัล’ ที่แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้จะมีเพลงเข้ามาแทรกเสริม แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังคงเน้นไปที่บทพูดเหมือนกับละครเวทีเรื่องอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

 

แดน วรเวช ก็จะมาร่วมงานกับหนูนาในฐานะเอกพล แฟนของบุปผา

ตอนแรกรู้มาก่อนว่าเขาติดต่อให้ร่วมงานกับพี่แดน เราเองก็รู้สึกดีใจ เพราะว่าชอบเขามาตั้งแต่ตอนเด็กๆ เราเห็นพี่แดนเล่นหนังเล่นละครมาโดยตลอดจนรู้สึกว่าผู้ชายคนนี้เป็นคนที่มีจังหวะที่ธรรมชาติและน่าสนใจ มีความคิดที่ฉีกออกไปอีกทางกับที่เราคิด จนทำให้อยากลองเล่นละครกับผู้ชายคนนี้ดูสักครั้งหนึ่ง เป็นผู้ชายที่มีอะไรข้างในเยอะมาก

 

พอได้เจอเขาจริงๆ เรารู้สึกได้เลยว่าเขาเป็นคนที่น่ารักและมีเคมีสาธารณะมาก เวลาเล่นด้วยก็เข้ากันโดยที่ไม่รู้ตัว อาจเป็นเพราะว่าเขาเป็นคนที่เปิดเผยและมีมุมน่ารักๆ เยอะมาก ทำให้เรารู้สึกสนุกในการแสดงร่วมกัน

 

 

ละครเวที บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล ถือเป็นความท้าทายใหม่ของหนูนา

ส่วนมากละครเวทีอื่นๆ ที่เราเคยเล่นมาจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโรแมนติกหรือดราม่า แต่ในละครเวทีเรื่องนี้เราได้เล่นเป็นผี เป็นเรื่องที่แปลกใหม่ ตื่นเต้น แล้วก็ท้าทายที่เราไม่เคยได้ลองเลยสักครั้ง

 

ยิ่งไปกว่านั้น พี่อ้า-สันติ ต่อวิวรรธน์ ผู้กำกับละครเวทีเรื่อง บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล เขาก็อยากทำอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับบุปผาและตัวเรา ก็ยิ่งทำให้ตื่นเต้นท้าทาย ในเมื่อเราเองก็รู้จักและสนิทกันอยู่แล้ว ก็อยากลองทำงานด้วยกันดูว่าจะออกมาเป็นยังไง เราเลยสนใจที่จะรับเล่นเรื่องนี้

 

ผู้ชมจะได้เห็นอะไรแปลกใหม่จากละครเวที บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล

เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหม่อีกเรื่องเลยค่ะ ในช่วงแรกคนอาจจะคิดว่าละครเวทีเรื่องนี้เป็นรีเมกจากหนังหรือเปล่า ก็ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่แตกต่างคือบนเวทีกับในหนังมีความไม่เหมือนกันตรงที่มันจะเป็นการขมวดปมอะไรบางอย่างมาใส่อยู่ภายในระยะเวลาที่แสดงบนเวทีเท่านั้น อยากเชิญชวนให้ลองมาดูอะไรใหม่ๆ แล้วทุกคนก็น่าจะชอบ เพราะเราก็สนุกและเต็มที่ไปกับมันมาก

 

 

บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล คือละครเวทีที่ได้ทั้งผู้กำกับและทีมงานที่เป็นคนรุ่นใหม่มาร่วมกันสร้างให้เกิดขึ้นจริง

ในความรู้สึกเรานะ บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล เป็นละครเวทีของคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่ในแง่ของตัวละคร แต่ในแง่ของการตีความ อย่างพี่อ้าเขาเป็นผู้กำกับละครเวทีรุ่นใหม่ที่ตั้งใจจะทำละครเวทีแนวสมัยใหม่ออกมา ซึ่งผลงานที่ผ่านมาของเขาก็เหมือนเป็นเครื่องพิสูจน์ พอมารวมกับทีมเพลงก็ยิ่งทำให้ละครเวทีเรื่องนี้เต็มไปด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ที่อยากจะแสดงให้เห็นว่าในสายตาคนรุ่นใหม่ ศิลปะไม่มีกฎตายตัว

 

หากใครยังจำความสนุกสนานปนขนหัวลุกของ บุปผาราตรี ได้ก็ไม่ควรพลาด บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล ที่จะมาร่วมขนหัวลุกพร้อมกับขนหัวเราะพร้อมกันในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post หนูนา หนึ่งธิดา ชวนชม ‘บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล’ ละครเวทีที่คนกลัวผีก็ดูได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/buppha-ratee-2018/feed/ 0
เบื้องหลัง ‘KAAN SHOW’ ของ 4 ผู้กำกับที่เอาความบ้าและแพสชันมาฟาดใส่กันแบบไม่ยั้ง https://thestandard.co/kaanshow-directors/ https://thestandard.co/kaanshow-directors/#respond Wed, 27 Sep 2017 10:20:26 +0000 https://thestandard.co/?p=30759

     จะมีกี่คนที่กล้าเอาเรือโจรสลัด โพลแ […]

The post เบื้องหลัง ‘KAAN SHOW’ ของ 4 ผู้กำกับที่เอาความบ้าและแพสชันมาฟาดใส่กันแบบไม่ยั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

     จะมีกี่คนที่กล้าเอาเรือโจรสลัด โพลแดนซ์ สายฟ้าฟาด แม่ไม้มวยไทย ระบำผ้า คอมพิวเตอร์กราฟิกและหุ่นยักษ์ มารวมไว้ในเรื่องเดียวกัน และยังเอามาเล่าร้อยไปกับวรรณคดีไทยอย่าง พระอภัยมณี, พระสุธน-มโนราห์, เมขลากับรามสูร, สังข์ทอง, ไกรทอง และ รามเกียรติ์ ด้วยเทคนิคที่ทันสมัย และการตีความวรรณคดีใหม่จนไปไกลเกินกว่าจินตนาการแบบที่ KAAN SHOW กล้าทำ

     การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ไม่เคยเป็นเรื่องง่าย และยิ่งการสร้างสรรค์นั้นมีเงินลงทุนสูงถึง 1 พันล้านบาท ทีมงานกว่า 300 ชีวิต โรงละครที่สร้างใหม่ทั้งหมด ระบบกลไกต่างๆ ที่ควบคุมทั้งสลิง หุ่นยักษ์ และการเคลื่อนไหวทุกอย่างบนเวที ทุกคนต้องผ่านช่วงเวลายากลำบากถึงขนาดมองหาทางออกไม่ได้ แต่ด้วยเป้าหมายหนึ่งเดียวที่จะสร้างโชว์ที่ทำให้คนดูมีความสุขที่สุด ทำให้ทุกคนกัดฟันสร้างสรรค์จนโชว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยตอนนี้สำเร็จขึ้นมาได้

     วันนี้เรามีโอกาสนั่งคุยกับ กอล์ฟ-ปวีณ ภูริจิตปัญญา, อ้า-สันติ ต่อวิวรรธน์, รุ้ง-ปริญญา ต้องโพนทอง และ เด่น-ภาณุวัฒน์ อินทวัฒน์ 4 ผู้กำกับที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่เกิดขึ้น กลุ่มคนที่ทำให้เรารู้ว่า บางครั้งแค่มีเงิน มีความสามารถอย่างเดียวยังไม่พอ แต่การจะทำอะไรที่ยิ่งใหญ่แบบนี้ ‘ความบ้า’ และ ‘แพสชันที่แรงกล้า’ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

 

(จากซ้ายไปขวา เด่น-ภาณุวัฒน์ อินทวัฒน์, กอล์ฟ-ปวีณ ภูริจิตปัญญา, รุ้ง-ปริญญา ต้องโพนทอง และอ้า-สันติ ต่อวิวรรธน์)

 

จุดเริ่มต้นของความรักในวรรณคดีไทย

     เด่น: ชอบตั้งแต่เด็ก ประมาณ ม.4 อาจารย์ให้อ่านวรรณคดีแล้ววิเคราะห์ตัวละคร จากเดิมที่เคยคิดว่าวรรณคดีเป็นฟอร์มแข็งๆ จนได้เห็นมิติที่ลึกซึ้งมากขึ้น หลังจากนั้นก็ชอบอ่านมาตลอด จนกลายเป็นแกนนำกลุ่มที่เล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง เก็งข้อสอบให้เพื่อน พอได้เข้าเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องอ่านตัวบทแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์อย่างละเอียด ก็ยิ่งรู้สึกว่าวรรณคดีไทยสนุกมาก เหมือน The Lord of the Ring หรือ Harry Potter อะไรพวกนี้เลย

     รุ้ง: เราเป็นเด็กขี้เกียจ ไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่ชอบร้องรำทำเพลงตั้งแต่เด็ก ครูชอบจับมาแสดง พอได้เล่นมากขึ้นก็เริ่มอิน เริ่มสนใจเนื้อเรื่องมากขึ้น พอเรียนมหาวิทยาลัย (คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ต้องเรียนวิชาวรรณกรรมกับนาฏศิลป์ไทย มีโปรเจกต์ต้องเอาเรื่อง ปลาบู่ทอง และอีกหลายๆ เรื่องมาตีความใหม่ มันได้เห็นว่าวรรณคดีหรือพวกนิทานพื้นบ้านของเราสนุกมาก

 

 

     อ้า: สมัยเด็กอ่านหนังสือช้า จนได้มารู้จักวรรณคดีเพราะโดนบังคับ เช่น ต้องอ่านกลอนในวันสุนทรภู่ แต่ผมอ่านเฉยๆ แล้วจำไม่ได้ เลยคิดวิธีแสดงไปด้วย เหมือนเล่นละครไปด้วยพร้อมๆ กับจำ พอทำมาเรื่อยๆ แล้วกลายเป็นครูสนใจ เพื่อนเริ่มยอมรับ จากเด็กหลังห้องกลายเป็นเริ่มเชื่อตัวเอง นี่คือจุดแข็งของเรา

     กอล์ฟ: ผมชอบเรื่องแฟนตาซีอยู่แล้ว พวกละครจักรๆ วงศ์ๆ โคตรไอ้เข้ อสูรกาย 100 ปี, กิ้งก่ากายสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นวรรณกรรมอย่างเดียวแทบไม่ได้อ่านเลย อ่านแค่เวลาโดนบังคับในห้องเรียน แต่ผมจะชอบอ่านเวลาคนเถียงกันเรื่องการตีความของตัวละคร เช่น การตีความทศกัณฑ์ หรือการมองขุนแผนว่าไม่ใช่คนดีเท่าไร แล้วก็จะมีคนมาเถียงกันตามเว็บบอร์ดต่างๆ จะชอบอ่านเรื่องราวตรงนั้นมากกว่า

 

 

มุมมองที่นอกเหนือจากความสนุกของวรรณคดีไทย

     อ้า: ผมว่ามันเป็นรากอะไรบางอย่างของเรา ต่อให้ไม่ชอบ แต่สุดท้ายมันเหมือนอยู่ในจิตใต้สำนึก เลือดเนื้อเชื้อไขของเรา ถึงจะไม่อิน แต่มันมีเซนส์บางอย่างที่เข้าถึงได้ง่าย ผมว่าเราน่าจะอินวรรณคดีไทยได้มากกว่า Romeo and Juliet ด้วยซ้ำ แล้วพล็อตเรื่องบางอย่างดูแฟนตาซีมากนะ แต่ก็มีธีมบางอย่างที่น่าสนใจ ที่ยังเท่ ยังพูดกับคนในปัจจุบันได้ ทั้งๆ ที่มันเขียนมานานแล้ว อันนี้คือสิ่งที่มีคุณค่า

     เด่น: อย่างความที่เชื่อว่าสังคมสร้างวรรณกรรม วรรณกรรมจึงสะท้อนสังคมเพราะฉะนั้นวรรณกรรมของประเทศเราจะมีวัตถุประสงค์บางอย่างฝังมาด้วยเสมอ ทั้งความบันเทิง การสอน ให้แง่คิด การเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ สภาพสังคม การแบ่งชั้นวรรณะ ความรักที่ซับซ้อน เป็นเหมือนเครื่องมือในการเล่าถึงสังคมในยุคนั้นๆ ด้วย ซึ่งถ้าจะให้วิเคราะห์จริงๆ มันจะยาวมาก ต้องเปิดคอร์สเลกเชอร์กันเลย (หัวเราะ)

     กอล์ฟ: ส่วนผมชอบคิดว่าคนไทยสมัยก่อนต้องว่างมากๆ ว่างจนคิดอะไรพวกนี้ออกมาได้ (หัวเราะ) คิดได้ยังไง เอาแม่ตัวเองมาเป็นปลาบู่ ให้นางเอกเป็นหน้าม้า นางสิบสองโดนควักตาออกหมด อะไรคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักเขียนไทยในยุคนั้นมองเห็นและหยิบเรื่องพวกนี้มาทำ จนกลายเป็นความล้ำ ความมหัศจรรย์พันลึก และเป็นวัตถุดิบที่ควรนำมาเล่าต่อ ตอนทำ KAAN SHOW ก็จะสนุกมากที่ได้เอาวัตถุดิบพวกนี้มาตีความและนำเสนอในรูปแบบใหม่ เพราะแก่นเดิมมีความน่าสนใจมากๆ อยู่แล้ว

     อ้า: เอาจริงๆ คือผมอยากเข้าไปอยู่ในหัวของสุนทรภู่มากเลยนะ อยากรู้มากเลยว่าเขาคิดอะไร มันเกินมนุษย์มนาไปมากเลย (หัวเราะ)

 

 

จุดตรงกลางและขีดจำกัดของความเหมาะสม

     กอล์ฟ: เรียกว่าไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อยจริงๆ ครับ (หัวเราะ) น้องเด่นที่มาสายอักษรเต็มตัว ตอนเข้ามาแรกๆ ก็เหวอแดกเหมือนกัน (หัวเราะ) ผมเริ่มโปรเจกต์ด้วยการรู้ว่าผมต้องการทำอะไร คิดแค่ว่าถ้ามีดินแดนไหนที่ไปได้ไกลที่สุดเท่าที่ความสามารถเราไปได้ เราจะไปทั้งหมด ไม่เกรงกลัวอะไรเลย ระหว่างทำมีคิดเหมือนกันว่ากระทรวงวัฒนธรรมจะมาว่าเราหรือเปล่าวะ (หัวเราะ) แต่ผมเชื่อมั่นว่าผมไม่ได้มีเจตนาลบหลู่วรรณคดีไทยแน่ๆ

     มีคนพูดว่าศิลปะคือการต่อยอดจากสิ่งหนึ่งถึงสิ่งหนึ่ง มันคือแรงบันดาลใจที่ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผมอยากเป็นส่วนหนึ่งในนั้น อยากต่อยอดขึ้นมาด้วยความคิดแบบปัจจุบัน ใช้ความคิดและเทคนิคทันสมัยที่สุด แล้วตั้งต้นจากคนดูว่าทำแบบไหนแล้วเขาจะสนุกและอินไปกับเรา ไม่ได้สนใจว่าใครจะบอกว่าห้ามใส่นู่นนี่นั่น หรือควรใส่แบบนั้นแบบนี้ ถ้าคุณดูแฮปปี้ ก็โอเคแล้ว

 

 

     เด่น: วันแรกที่เข้ามาฟังคือเหวอจริงๆ ความคิดแรกคือเอาเงินมาจากไหนขนาดนั้นวะ (หัวเราะ) แล้วมีแต่คำว่า หืม เต็มไปหมด เดี๋ยวจะมีหุ่นทศกัณฐ์ หืม ผีเสื้อสมุทรเป็นซีจี หืม มีเรือ มีม้านิลมังกรบินผ่านหัว หืม คิดอะไรเต็มไปหมดนะ แต่ถามว่าจะทำไหม ทำค่ะ (หัวเราะ)

     เราเรียนวรรณคดีมา แต่เราไม่ได้นับถือวรรณคดีในแง่จับต้องไม่ได้ เรามองว่าวรรณคดีคือวัตถุดิบ คือแหล่งข้อมูลที่ควรเอาไปปั้นเป็นอะไรสักอย่าง ในต่างประเทศมีงานล้ำๆ เยอะมากที่ต่อยอดไปจากวรรณคดี พอได้ฟังคอนเซปต์จากพี่กอล์ฟก็รู้สึกว่าน่าสนใจ และเราน่าจะพาวรรณคดีไปในทางที่เราต้องการได้ แต่พอมาทำตรงนี้ มันต้องพับโซนวิชาการไว้ก่อน เพราะจุดประสงค์ของงานคือขายอาม่าที่นั่งเครื่องบินมา 5 ชั่วโมง แกก็ไม่ควรต้องมานั่งตีความตัวละครอะไรมาก นอกจากความสนุก

 

 

     รุ้ง: ส่วนเรื่องการโคโรกราฟ มูฟเมนต์ การแสดงบนเวทีก็ไม่ต้องมีกรอบอะไร เราคิดบนพื้นฐานเดียวคือจะต่อยอดอย่างไรให้สนุกโดยไม่ได้เหยียบรากเดิม แล้วเราเริ่มต้นจากเจตนาแบบที่กอล์ฟบอกคือเราไม่มีทางลบหลู่แน่นอน เพราะฉะนั้นข้อจำกัดอย่างเดียวคือความสามารถของมนุษย์ ตราบใดที่วิวัฒนาการทางร่างกายของมนุษย์ยังเพิ่มต่อไปได้เรื่อยๆ โชว์ก็จะพัฒนาไปได้เรื่อยๆ

 

 

สนามเด็กเล่นที่ไร้การอวดอ้างว่าใครเก่งกว่าใคร

     อ้า: สิ่งที่ผมรักใน KAAN คือมันเป็นเหมือนสนามเด็กเล่น ที่เราไม่ต้องมาอวดอ้างว่ามึงเป็นใคร เก่งแค่ไหน ทุกคนลืมเรื่องนั้นแล้วโฟกัสที่เป้าหมายกัน คือเราจะทำให้มันสนุกที่สุด แล้วเวลาทำผมไม่ได้คิดว่ามันเป็นงาน แต่คิดว่ามันคือชีวิต เวลาเราอยู่ด้วยกัน 4 คน เรียกว่าทั้งชีวิตไม่ได้ทำอะไรเลยจริงๆ (หัวเราะ) ตื่นเช้ามาอยู่กับมัน กลับบ้านก็แบกสิ่งที่ได้จากวันนั้นกลับไปคิด บางคืนหลับอยู่ก็ยังไปคิดในฝันต่อ พอตื่นก็กลับมาทำงานด้วยกันอีกแล้ว ซึ่งผมว่ามันดีมากที่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันที่ต้องการทำงานที่สนุก และส่งต่อสิ่งนั้นให้คนดูมีความสุขกลับไปด้วย

     กอล์ฟ: ทุกคนเป็นมือใหม่ที่ต้องเรียนรู้อะไรไปพร้อมๆ กันหมดเลย อย่างผมเป็นสายผู้กำกับหนังมาก่อน ก็จะไม่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับละครเวทีทั้งนั้น ช่วงแรกน้องพูดว่า จะให้นับกี่แปดดี ผมยัง หา! นับแปด อะไรวะ อยู่เลย (หัวเราะ) หรืออย่างทีมเทคนิค เขาก็ต้องมาเริ่มเขียนโปรแกรมกันใหม่ จะวางโครงสร้างแบบไหน รางสลิงต้องวิ่งอย่างไร ประตูจะเปิดใช้เวลากี่วินาที แล้วทุกอย่างมันเริ่มขึ้นมาจากภาพที่พวกผมอยากเห็น เพราะฉะนั้นมันไม่สามารถไปหาสูตรสำเร็จจากที่อื่นได้ ทุกคนก็ต้องมาเริ่มต้นไปด้วยกัน น่าจะมีอยู่ 1-2 เดือนเต็มๆ นะครับ ที่เราเริ่มทำอะไรไมได้เลย นอกจากพยายามจับตัวละครมาใส่กับเทคนิคที่คิดขึ้นมาให้ได้

 

 

ความไม่มั่นใจที่ถูกทดแทนด้วยสัญชาติ

     กอล์ฟ: ถ้าคนอ่านบทสัมภาษณ์จะคิดว่า ไอ้นี่เป็นคนใช้ไม่ได้หรือเปล่า (หัวเราะ) เพราะช่วงที่ทำงาน KAAN ผมไม่มีความมั่นใจเลยนะ ตอนทำหนังเราควบคุมได้ทุกอย่าง เราเลือกเทคที่ดีที่สุด แล้วห่อเป็นหนังหนึ่งเรื่องเอามาให้คนดูได้ แต่ละครเวทีควบคุมอะไรไม่ได้เลย สมมตินักแสดงทะเลาะกับแฟนมา เล่นยังไงก็ไม่ได้ หรือฝ่ายแสงที่เปิดไฟผิดตลอดเวลา พอเจออะไรที่ควบคุมไม่ได้ผมจะเครียดมาก พังทลาย ไม่มีความมั่นใจ

     แต่ผมใช้สัญชาตญาณที่เรียนรู้มาตลอดชีวิต คิดว่าแบบไหนน่าจะโอเค ผสมกับการเรียนรู้ที่ได้จากดิสนีย์ เวิลด์ (หัวเราะ) ผมเคยทำงานที่เป็นตัวตนสูงมากใน สี่แพร่ง (ตอน ยันต์สั่งตาย) เอาแต่ใจตัวเองไม่สนใจคนดู แต่มาค้นพบว่าสิ่งที่วอลต์ ดิสนีย์ทำ เขาคิดถึงแต่เด็กๆ ไม่ได้คิดถึงแต่ตัวเองเลย เขาคิดว่าแค่ว่าคนในดิสนีย์ เวิลด์จะได้เจออะไรแล้วมีความสุข ก็เลยเริ่มจากคิดว่าทำแบบไหนแล้วคนดูน่าจะสนุก เอาสัญชาตญาณกับรสนิยมของตัวเองเข้าไปผสม แต่ทั้งหมดก็ต้องอาศัยทีมงานทุกคนที่จะมาทำทุกอย่างมันเกิดขึ้นได้

 

 

ความบ้าที่ทุกคนยอมทุ่มเท

     เด่น: เอาง่ายๆ ที่สุด เราเป็นเด็กจบใหม่ รักเพื่อน แก๊งกะเทยของเราสำคัญที่สุดในชีวิต แต่ปีที่แล้วคือทิ้งกรุงเทพฯ แล้วไปอยู่พัทยา จากคนที่แค่โทรศัพท์เสียก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว ไม่รู้เรื่องเทคโนโลยี ต้องหอบพล็อตทั้งหมดไปรวมกับทีมเทคนิค สลิง คิดว่าม้านิลมังกรจะบินไปทางไหน เป็น 2 เดือนที่ทำแต่เทคนิคเต็มๆ แล้วช่วงนั้นโรงละครยังไม่เสร็จดี ปอดข้างหนึ่งก็จะเต็มไปด้วยทราย ส่วนอีกข้างเต็มไปด้วยดินแดงอะไรพวกนี้ (หัวเราะ)

     เราต้องเป็นทุกอย่างจริงๆ ต้องเป็นเมียช่างคอยปลอบประโลม ไปพูดดีๆ ให้เขายอมทำงานให้เรา ในขณะที่ผู้กำกับก็จะบอกว่า เฮ้ย ทำไมทำไม่ได้วะ เราต้องหาทางเชื่อม เป็นครูแนะแนว เป็นนักจิตวิทยาปลอบนักแสดง ต้องขึ้นสลิง 20 เมตรเอง ไม่น่ากลัวหรอก ให้คิดถึงภาพนู้นภาพนี้เอาไว้ คอยตะล่อมทุกชีวิตให้เขาเชื่อใจเรา เชื่อใจตัวเองให้ได้

     ความบ้าอีกอย่างคือ จากคนที่ไม่รู้เทคโนโลยีอะไรเลย ต้องมาคอยดูว่าถ้าสลิงผ่านโค้งใช้เวลา 8 วินาที ถ้าเดินทางเส้นตรงใช้เวลา 15 วินาที ประตูเปิดใช้เวลา 22 วินาที หรืออะไรทั้งหมดเราจะจำได้หมดเลย (หัวเราะ) เพราะทุกระบบมันเดินพร้อมกันตามวินาที ในห้องคอนโทรลจะเหมือนองค์กรนาซา ที่ทั้งเทคนิค ซีจี สลิง ราง ฯลฯ ต้องมารวมอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเปลี่ยนอะไรแค่ 1 วินาที มันจะกระทบทุกอย่างไปหมด เพราะฉะนั้นเวลาคนเคยทำไลฟ์โชว์มาก่อนได้มาดู เขาไม่มาชมเราหรอกว่าดูแล้วสนุก เขาจะมาบอกว่าบ้าหรือเปล่าที่ต้องทำคิวทุกอย่างให้ละเอียดขนาดนี้

 

 

     อ้า: ผมเคยทำงานกับพี่บอย (ถกลเกียรติ วีรวรรณ) คิดว่านั่นคือที่สุดของชีวิตแล้ว พอมาทำอันนี้คิดว่าสบายแน่ๆ แต่ไม่ใช่เลย ผมชอบคิดถึงพระเจ้าว่า ทำไมต้องพิสูจน์กันขนาดนี้เลยเหรอ (หัวเราะ) พิสูจน์ผมทุกงาน แล้วงานนี้ทดสอบยากเกินไปหรือเปล่า อย่างที่เด่นบอก บางฉากแค่ 10 วินาที มันหนักหนาแค่ไหนกว่าจะได้มา  

     แล้วผมเพิ่งแต่งงานใหม่ ก่อนจัดงาน คนอื่นเขาเตรียมตัวกันเป็นปี เป็นเดือน ส่วนผมขอลาแค่ 5 วัน เพื่อไปเตรียมงาน คนอื่นแต่งเสร็จไปฮันนีมูน ผมแต่งเสร็จกลับมาโรงละคร ตื่นเช้าขึ้นรถตู้ออกไปทำงาน สี่ทุ่มครึ่งกลับ ถึงบ้านตีหนึ่ง เมียหลับ ผมนอน พอผมตื่น เมียออกไปทำงาน เป็นอย่างนี้ตลอดเวลาจนบางทีเขาน้อยใจ คิดว่าผมรัก KAAN มากกว่าเขาไหม (หัวเราะ) แต่จะว่าเขาก็ไม่ได้ เพราะว่ามันหนักจริงๆ แล้วเราจะทำแบบส่งๆ ไม่ได้ เดิมพันมันสูง เราต้องรับผิดชอบกับคนดู อยากให้คนดูมีความสุข หรืออย่างพี่รุ้ง ผมแทบไม่เคยเห็นพี่รุ้งหยุดพักเลย อยู่บนเวทีตั้งแต่บ่ายโมงยาวไปถึงห้าทุ่ม พอนั่งรถตู้กลับกรุงเทพฯ ด้วยกัน แกก็เปิดวิดีโอที่ซ้อมเพื่อหาจุดแก้ไข หรือหาอะไรใหม่ๆ ที่จะเอามาพัฒนาโชว์อยู่ตลอดเวลา พวกเราเหมือนเป็นซาดิสม์ บางวันทะเลาะกันจนน้ำตาไหล เอามือกุมหัวหาทางออกไม่ได้ ชีวิตหนักหนามาก แต่ก็ต้องทำ

     รุ้ง: เพราะสิ่งที่พวกเราเหนื่อย หนักหนามาทั้งหมด เมื่อม่านปิดลงแล้วเราได้ยินเสียงปรบมือจากคนดู ทุกอย่างที่เคยลำบากมามันจะหายไปหมดเลย สิ่งที่เราเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปลูกฝังให้เรารักคนดู ต่อให้ตัวเราจะเจ็บปวดขนาดไหน ต้องโดนด่า แต่ถ้าสิ่งที่เราทำทำให้คนดูมีความสุข เสียงปรบมือแค่นิดเดียวมันเป็นกำลังใจให้เราดำเนินชีวิตต่อไปได้เลย

 

 

จากทีมงานทั้งหมด 300 กว่าชีวิตในโปรเจกต์นี้ คิดว่าอะไรคือ DNA หลักที่ทีมงาน KAAN SHOW ทุกคนมีร่วมกัน

     เด่น: ความบ้าคลั่ง สติแตก ไม่มีกรอบให้ชีวิต ทุกคนจริงๆ นะ ทีมกำกับ นักแสดง ทีมงานเบื้องหลัง เขาจะรู้ได้อย่างไรว่าไอ้โปรเจกต์ขายฝันอันนี้มันจะเวิร์ก ทุกคนไม่รู้ว่าจะทำได้หรือเปล่า แต่ทุกคนคิดแค่ว่านี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต แล้วพร้อมที่จะทำออกมาให้สำเร็จไปด้วยกัน

     อ้า: ผมว่ามันคือแพสชันล้วนๆ เลย คิดง่ายๆ พี่เล้ง (ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปัญจลักษณ์พาสุข จำกัด) ถ้าเขาไม่มีความเชื่อ ไม่มีแพสชัน กำเงินพันล้านกินดอกเบี้ยเฉยๆ ไม่ดีกว่าเหรอ ผมเจอพี่เล้งครั้งแรกตอนประชุม เขาบอกว่า “ผมได้หมดเลย ขอให้ดีและว้าวสำหรับคนดู” ระหว่างทำงาน พอผมไปบอกว่า อันนี้ต้องเพิ่มตรงนี้ ราคามันจะเพิ่มประมาณหนึ่งนะครับ เขาถามกลับมา “มันว้าวไหมล่ะ ถ้าว้าว ผมยอมจ่ายแพงขึ้น” จุดเริ่มต้นมันเป็นอย่างนั้น แล้วเอาจุดนั้นมาผสมกับคนอย่างไอ้กอล์ฟ พี่รุ้ง ไอ้เด่น โห มันไม่รู้จะพูดยังไง มันคือแพสชันจริงๆ

The post เบื้องหลัง ‘KAAN SHOW’ ของ 4 ผู้กำกับที่เอาความบ้าและแพสชันมาฟาดใส่กันแบบไม่ยั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/kaanshow-directors/feed/ 0