อูเบอร์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 09 Aug 2022 08:27:00 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 SoftBank ตัดใจเทขายหุ้น Uber กว่า 1 ใน 3 หลังแบกรับภาระขาดทุนต่อไปไม่ไหว https://thestandard.co/softbank-sold-uber/ Tue, 09 Aug 2022 07:27:41 +0000 https://thestandard.co/?p=664870 SoftBank

แม้ว่า Uber แพลตฟอร์มเรียกรถชื่อดัง จะเริ่มมีกระแสเงินส […]

The post SoftBank ตัดใจเทขายหุ้น Uber กว่า 1 ใน 3 หลังแบกรับภาระขาดทุนต่อไปไม่ไหว appeared first on THE STANDARD.

]]>
SoftBank

แม้ว่า Uber แพลตฟอร์มเรียกรถชื่อดัง จะเริ่มมีกระแสเงินสดเป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาเมื่อ 13 ปีก่อน แต่ด้วยผลดำเนินงานที่ยังคงขาดทุนในระดับสูงต่อเนื่อง ทำให้ SoftBank ยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนจากญี่ปุ่นต้องยอมตัดใจเทขายหุ้นของ Uber ออกไปในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขายที่ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 41.47 ดอลลาร์สหรัฐ 

 

SoftBank ลงทุนใน Uber ในปี 2018 และได้ขายหุ้นไปแล้วประมาณ 1 ใน 3 ของบริษัทผู้ให้บริการเรียกรถรายนี้ 

 

การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจาก Vision Fund ของ SoftBank ซึ่งเป็นเครื่องมือการลงทุนด้านเทคโนโลยีของบริษัท เผยผลประกอบการว่าประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักถึง 2.93 ล้านล้านเยน ในไตรมาสเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถิติสูงสุดของทาง SoftBank 

 

ทั้งนี้ Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ SoftBank ได้ออกมาให้คำมั่นที่จะปรับปรุงเกณฑ์การลงทุน และรักษาเงินสดไว้เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย พร้อมส่งสัญญาณปลดพนักงานที่ Vision Fund ขณะเดียวกัน ยังได้อนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านเยน (1 แสนล้านบาท) ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถค้ำประกันนักลงทุนได้

 

อ้างอิง: 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post SoftBank ตัดใจเทขายหุ้น Uber กว่า 1 ใน 3 หลังแบกรับภาระขาดทุนต่อไปไม่ไหว appeared first on THE STANDARD.

]]>
โมเดลธุรกิจเริ่มเห็นผล? Uber โชว์กระแสเงินสดเป็นบวกครั้งแรก หลังเผาเงินไป 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา https://thestandard.co/uber-earnings-report-2q2022/ Fri, 05 Aug 2022 12:41:36 +0000 https://thestandard.co/?p=663601 Uber

Uber แพลตฟอร์มเรียกรถชื่อดัง รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 […]

The post โมเดลธุรกิจเริ่มเห็นผล? Uber โชว์กระแสเงินสดเป็นบวกครั้งแรก หลังเผาเงินไป 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
Uber

Uber แพลตฟอร์มเรียกรถชื่อดัง รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2022 โดยมีกระแสเงินสดเป็นบวกครั้งแรกหลังจากที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาเมื่อ 13 ปีก่อน และเผาเงินไปราว 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อเร่งการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

 

ผลประกอบการไตรมาส 2 ของ Uber รายงานออกมาเมื่อ 2 สิงหาคม 2022 ด้วยกระแสเงินสดปลอดภาระ (Free Cash Flow) จำนวน 382 ล้านดอลลาร์ และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 439 ล้านดอลลาร์ 

 

ตัวเลขกระแสเงินสดดังกล่าวสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 109 ล้านดอลลาร์อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ Nelson Chai ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน (CFO) ของ Uber กล่าวว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นก้าวถัดไปของ Uber จากการที่บริษัทสามารถใช้เงินทุนของตัวเองเพื่อสร้างการเติบโต ด้วยการกระจายเงินลงทุนและสร้างผลกำไรสูงสุดในระยะยาวให้กับผู้ถือหุ้น” 

 

ขณะที่ราคาหุ้นของ Uber พุ่งขึ้นตอบรับกับผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าคาดตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยราคาหุ้น Uber กระโดดขึ้นจาก 24.6 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 28.49 ดอลลาร์ ก่อนจะวิ่งขึ้นมาปิดที่ 31.85 ดอลลาร์ หนุนให้ราคาหุ้น Uber ปรับตัวขึ้น 7 วันติดต่อกัน เพิ่มขึ้นถึง 41.2% 

 

ขณะที่ Youssef Squali นักวิเคราะห์ของ Truist Securities กล่าวว่า นี่คือสิ่งที่นักลงทุนต่างรอคอย วันที่บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้ในที่สุด และที่สำคัญไปกว่านั้นคือการทำได้อย่างมั่นคง 

 

ทั้งนี้ Uber เปิดเผยเป้าหมายของบริษัทก่อนหน้านี้ว่าจะควบคุมค่าใช้จ่ายในปีนี้ เพื่อทำให้กระแสเงินสดกลับมาเป็นบวก โดยสิ่งที่บริษัทดำเนินการคือการลดค่าตอบแทนให้กับผู้ขับขี่ และลดการจ้างงานลง 

 

อย่างไรก็ตาม Uber ยังคงรายงานขาดทุนสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์ โดยการขาดทุนที่เกิดขึ้นเป็นผลขาดทุนจากการลงทุนถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์ เช่น การลงทุนใน Aurora บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไร้คนขับ การลงทุนใน Grab แพลตฟอร์มเรียกรถสัญชาติสิงคโปร์ รวมถึง Zomato ธุรกิจขนส่งสัญชาติอินเดีย

 

CFO ของ Uber กล่าวต่อว่า กำไรของ Uber จะยังค่อนข้างผันผวนในแต่ละไตรมาส เนื่องจากการลงทุนต่างๆ ที่มีนัยสำคัญกับผลประกอบการโดยรวม 

 

สำหรับไตรมาสล่าสุด Uber มีรายได้รวม 8.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 105% จากปีก่อน หลังจากการกลับมาเดินทางมากขึ้นอีกหลัง ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชันของ Uber เพิ่มขึ้นเป็น 122 ล้านรายทั่วโลก เพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน 

 

สำหรับสัดส่วนรายได้ของ Uber มาจากการรับ-ส่งผู้โดยสาร 3.55 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 120%, รายได้จากการรับ-ส่งอาหาร 2.68 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 37% และรายได้จากธุรกิจใหม่ คือ รับ-ส่งพัสดุ 1.83 พันล้านดอลลาร์ 

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post โมเดลธุรกิจเริ่มเห็นผล? Uber โชว์กระแสเงินสดเป็นบวกครั้งแรก หลังเผาเงินไป 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
3 ปีไรด์แชริ่ง ไร้กฎหมายรองรับจากรัฐไทย Uber เปิดข้อเรียกร้องชวนประชาชนยื่นเรื่องปรับ พ.ร.บ. รถยนต์ https://thestandard.co/3years-ride-sharing-uber/ https://thestandard.co/3years-ride-sharing-uber/#respond Thu, 28 Sep 2017 11:16:15 +0000 https://thestandard.co/?p=31096

     เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว ที่ธุรกิจ […]

The post 3 ปีไรด์แชริ่ง ไร้กฎหมายรองรับจากรัฐไทย Uber เปิดข้อเรียกร้องชวนประชาชนยื่นเรื่องปรับ พ.ร.บ. รถยนต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว ที่ธุรกิจ Sharing Economy และบริการไรด์แชริ่ง (Ride Sharing) ‘อูเบอร์’ (Uber) เข้ามาบุกตลาดให้บริการในประเทศไทย โดยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2557

     แต่ในขณะเดียวกัน ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ไทยกลับไม่มีกฎหมายข้อใดที่รับรองและเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจบริการร่วมเดินทางประเภทนี้เลย ซ้ำร้ายยังถูกต่อต้านจากผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะอย่างแท็กซี่ โดยให้เหตุผลว่า ‘แท็กซี่ป้ายดำ’ เหล่านี้เข้ามาแย่งงานของพวกเขาและสวมรอยให้บริการผิดกฎหมาย ซึ่งถือเป็นการบ่อนทำลายอุตสาหกรรมแท็กซี่ในประเทศ จนบานปลายเกิดกรณีความขัดแย้งบนท้องถนนระหว่างผู้ให้บริการเดิมอยู่บ่อยๆ

 

 

     เมื่อไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยอย่างที่ควรจะเป็น วันนี้ (28 ก.ย.) เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรและนโยบายของบริษัท อูเบอร์ เอเชียแปซิฟิก จึงออกมาแถลงความเคลื่อนไหวและท่าทีขององค์กรในการเชิญชวนคนไทยออกมาร่วมลงชื่อปรับเปลี่ยน พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 จำนวน 3 มาตรา เพื่อให้รองรับและผลักดันให้บริการไรด์แชริ่งสามารถดำเนินการได้ถูกกฎหมาย และได้รับการยอมรับในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

     1. มาตรา 4 – เพิ่มคำนิยามของคำว่า ‘รถบริการร่วมเดินทาง (ไรด์แชริ่ง)’ ให้เป็นหนึ่งในประเภทรถยนต์ ซึ่งเมื่อปรับเปลี่ยนแล้ว มาตรา 4 เวอร์ชันใหม่จะมีใจความตามนี้

     ‘รถบริการร่วมเดินทาง ซึ่งได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์สาธารณะ รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือรถประเภทอื่นที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น’

     2. มาตรา 21 – ยกเลิกมาตรา 21 อนุมาตรา 1 เดิม เรื่องการใช้รถตามประเภทต่างๆ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

‘การใช้รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถบริการร่วมเดินทาง หรือรถจักรยานยนต์สาธารณะในกิจการส่วนตัว’

     3. มาตรา 43 – ยกเลิกมาตรา 43 วรรค 2 เดิม กับข้อกำหนดที่ผู้ให้บริการรถยนต์ต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สาธารณะ โดยให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

  • ใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 1 ใช้สำหรับรถยนต์บริการให้เช่า เฉพาะในกรณีที่ผู้ขับรถเป็นผู้เช่าได้ด้วยและสำหรับขับรถบริการร่วมเดินทางได้ด้วย
  • ใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 2 ใช้สำหรับรถยนต์บริการให้เช่า และสำหรับขับรถบริการร่วมเดินทางได้ด้วย
  • ใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 4 ใช้สำหรับขับรถยนต์บริการและใช้แทนใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 2 ได้ด้วย
  • ใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 5 ใช้แทนใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 3 ได้ด้วย
  • ใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 6 ใช้สำหรับขับรถยนต์บริการให้เช่าและสำหรับขับรถบริการร่วมเดินทางได้ด้วย
  • ใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 6/1 ใช้แทนใบอนุญาตขับรถตามอนุมาตรา 6 ได้ด้วย นอกนั้นใช้แทนกันไม่ได้

 

 

     อูเบอร์มองว่าการแก้ไขกฎหมาย 3 มาตรานี้ จะช่วยให้รัฐบาลไทยสามารถเพิ่มรถยนต์อีกหนึ่งประเภทที่มีการให้บริการผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน ซึ่งจะช่วยให้รัฐสามารถออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อควบคุมดูแลผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้บริโภค และขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจและสังคม 4.0 ที่พัฒนาบนนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล

     การเสนอให้การออกมาร่วมลงชื่อในครั้งนี้อาศัยช่องทางการเสนอกฎหมายโดยประชาชนตามสิทธิรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในการลงรายชื่อให้ครบ 10,000 รายชื่อ เพื่อผลักดันให้ไรด์แชริ่งได้รับการยอมรับในประเทศไทย โดยผู้ที่สนใจยื่นคำร้องสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ตามลิงก์นี้

 

ความล่าช้าของกระบวนการศึกษารูปแบบบริการไรด์แชริ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการต้องออกมาเคลื่อนไหว

     ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การใช้แอปพลิเคชันช่วยเรียกแท็กซี่ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ประเด็นปัญหาเกิดขึ้นจากการที่แอปพลิเคชันเหล่านี้ถูกนำไปใช้เรียกบริการรถยนต์ส่วนบุคคลที่ไม่ได้ใช้เพื่อการรับจ้างผู้โดยสาร ซึ่งผิดต่อข้อกฎหมายการใช้รถยนต์ผิดประเภทของ พ.ร.บ. รถยนต์ ฉบับ พ.ศ. 2522 ไม่มีการใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ราชการเป็นผู้กำหนด, ผู้ขับไม่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะและไม่ถูกตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ซึ่งจะเป็นผลเสียสำหรับประชาชนผู้ใช้บริการ เนื่องจากไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายกรณีเกิดอุบัติเหตุ

     ด้านนายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมแก้ปัญหารถยนต์บริการร่วมเดินทางอูเบอร์เมื่อวันที่ 20 มีนาคมว่า ที่ประชุมมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการใช้ระบบบริการร่วมเดินทางของแอปพลิเคชันอูเบอร์ในไทย เนื่องจากไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับระบบดังกล่าว เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาทำการศึกษาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี จึงจะสามารถสรุปผลได้

     “ยังตอบไม่ได้ว่าผลการศึกษามีแนวโน้มจะเป็นอย่างไร เพราะไรด์เเชริ่งเป็นบริการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในไทย แต่ถ้าผลการศึกษาสรุปว่าเหมาะสม ก็อาจจัดให้เป็นบริการรูปแบบใหม่ ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายและออกมาตรการกำกับเพื่อให้ประโยชน์ตกอยู่กับประเทศ ระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาก็ได้ขอให้อูเบอร์หยุดการบริการ เพราะถ้าหากยังให้บริการต่อไปจะทำให้การแก้ไขปัญหายุ่งยากมากขึ้น ซึ่งอูเบอร์ได้รับปากในหลักการ”

     ในเวลานั้นดูเหมือนข้อตกลงระหว่างภาครัฐและผู้ให้บริการอูเบอร์จะเสียงแตก ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าฝ่ายใดพูดความจริง เพราะต่างฝ่ายต่างก็ให้ข้อมูลไม่ตรงกัน นายสมศักดิ์บอกว่า อูเบอร์รับปากที่จะยุติให้บริการในช่วงศึกษารูปแบบบริการไรด์แชริ่ง ซึ่งจะกินระยะเวลานานกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปีนี้ไปก่อน ขณะที่ฝั่งเอมี่บอกว่า อูเบอร์ไม่ได้ตกปากรับคำที่จะยุติการให้บริการแต่อย่างใด เพราะบริการของพวกเขาไม่ได้ผิดกฎหมาย เพียงแต่ยังไม่ได้มีกฎหมายรับรอง

     จนแล้วจนรอดเมื่อผ่านมากว่า 7 เดือน กระบวนการศึกษารูปแบบบริการไรด์แชริ่งในไทยก็ยังไม่มีความคืบหน้า อูเบอร์จึงเลือกใช้รูปแบบการเคลื่อนไหวล่าสุดนี้ โดยใช้เสียงของประชาชนที่สนับสนุนบริการร่วมเดินทางเพื่อกดดันรัฐบาลทางอ้อมในการแก้ไขปัญหานี้

     เอมี่กล่าวในระหว่างแถลงการณ์วันนี้ว่า “อูเบอร์ให้บริการในไทยมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีกฎหมายรองรับในประเทศเลย ซึ่งการตอบสนองของทางกระทรวงคมนาคมก็ถือว่าเรายังมีโอกาสอยู่ (โอกาสในการทำให้ไรด์แชริ่งถูกกฎหมาย) แต่การขับเคลื่อนด้วยเสียงของประชาชนน่าจะเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของบริการรูปแบบนี้มากขึ้น”

 

3 ปีที่ผ่านมารัฐไทยไม่เอื้อประโยชน์บริการไรด์แชริ่ง ส่วนรัฐบาลประเทศอื่นๆ ในอาเซียนจับมือหนุนหลังเดินหน้าเต็มกำลัง

     ปัจจุบันอูเบอร์เปิดให้บริการในกว่า 600 เมืองใน 77 ประเทศทั่วโลก และจากการอัพเดตสถานการณ์ล่าสุดของบริการไรด์แชริ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยอูเบอร์ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยดูจะเป็นประเทศเดียวที่รัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุนรูปแบบธุรกิจและบริการประเภทนี้อย่างเต็มที่

     สิงคโปร์เป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่อูเบอร์เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2556 หรือก่อนประเทศไทย 1 ปี และเริ่มร่างกฎหมายสำหรับไรด์แชริ่งตั้งแต่ช่วงแรกของการเปิดให้บริการ ด้านมาเลเซียเริ่มร่างกฎหมายเมื่อปีที่แล้ว หลังอูเบอร์เปิดให้บริการในปี 2557

     ในปี 2557 อูเบอร์เปิดตัวที่ฟิลิปปินส์เป็นครั้งแรก และพวกเขาก็เริ่มร่างกฎหมายทันทีหลังจากที่ผ่านไปแค่ 1 ปี 3 เดือนเท่านั้น ตามมาด้วยเวียดนามและอินโดนีเซีย ส่วนประเทศที่อูเบอร์เพิ่งเปิดให้บริการไปในปีนี้ทั้งกัมพูชาและเมียนมา ก็อยู่ในกระบวนการร่างกฎหมายแล้วเช่นกัน ซึ่งเอมี่บอกว่า รัฐบาลเมียนมาจริงจังและเห็นถึงความสำคัญของธุรกิจไรด์แชริ่งมากๆ ถึงขนาดที่เป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการผลักดันให้ตัวบทกฎหมายเอื้อรูปแบบบริการประเภทนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

     “การที่บริการของเราเข้าไปยังประเทศเมียนมา รัฐบาลของพวกเขามองว่าเป็นการยกระดับมาตรฐานบริการขนส่งสาธารณะภายในประเทศ เนื่องจากเรามีการกำหนดมาตรฐานของรถยนต์ที่จะเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอูเบอร์ว่าจะต้องมอบความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้ ซึ่งก่อนหน้านี้รถยนต์สาธารณะหลายคันในเมียนมาก็มีปัญหาเรื่องเข็มขัดนิรภัย” เอมี่กล่าว

     ขณะที่หากย้อนกลับไปดูข่าวเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา องค์การคมนาคมขนส่งลอนดอน (Transport for London – TfL) เพิ่งประกาศว่าจะไม่ต่ออายุใบอนุญาตประกอบการให้บริการของ Uber ในลอนดอนที่กำลังจะหมดอายุในวันที่ 30 กันยายนนี้ โดยให้เหตุผลว่า บริษัทไม่มีความรับผิดชอบในหลายประเด็น เช่น หลักฐานรับรองทางการแพทย์ของคนขับ, การตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัย, การใช้เทคโนโลยี Greyball ปล่อยรถปลอมหลอกตำรวจที่ล่อซื้อ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชน จึง ‘ไม่เหมาะสม’ และ ‘ไม่สมควร’ ที่จะได้รับอนุญาตให้บริการรถโดยสารส่วนบุคลคล

 

 

ผลสำรวจเผย ประชาชนอยากใช้บริการไรด์เเชริ่งต่อ

     เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ หรือ AU Poll กรณีการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะของคนกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-12 กันยายนที่ผ่านมา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคนทำงานช่วงอายุ 20-55 ปี จำนวน 1,210 คนที่อาศัยในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาและพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 93.58% เห็นด้วยที่จะให้ประเทศไทยมีรถโดยสารสาธารณะแบบร่วมเดินทางต่อไป

     กลุ่มตัวอย่างจำนวน 79.59% อยากให้ภาครัฐสนับสนุนให้มีกฎหมายรองรับบริการไรด์แชริ่งให้ถูกกฎหมาย ส่วน 12.00% มองว่ารัฐบาลไม่ควรทำอะไรทั้งนั้น และอีก 8.41% บอกว่า ไม่สนับสนุนให้มีบริการร่วมเดินทางรูปแบบนี้ต่อไป

     ในหัวข้อการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะของคนกรุงเทพฯ พบว่า 70.31% ของกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับการนำรถยนต์ส่วนตัวมาเป็นรถยนต์ให้บริการสาธารณะเพื่อลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ปัญหาบริการรถโดยสารสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในเวลานี้คือเรื่องของความปลอดภัย (55.8%) ส่วนปัญหารองลงมาคือเรื่องสภาพรถ (49.4%) ปริมาณรถที่ไม่พอต่อความต้องการ (36.9%) พื้นที่ให้บริการที่ไม่ครอบคลุม (35.8%) และความสามารถในการขับขี่ของพนักงานขับ (24.5%)

     เอมี่เผยข้อมูลล่าสุดว่า ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลมากถึง 5.5 ล้านคัน ขณะที่รถโดยสารสาธารณะมีจำนวนเพียงแค่ 1 แสนคันเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และหากสามารถเปลี่ยนรถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นรถยนต์ในโครงการบริการร่วมเดินทางได้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้แน่นอน ซึ่งทุกวันนี้อูเบอร์สามารถขยายพื้นที่ให้บริการไปมากกว่า 6 จังหวัดในประเทศไทยแล้ว ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, เชียงราย, ขอนแก่น, พัทยา และชลบุรี

     “ด้วยเทคโนโลยีที่เรามี เรารู้สึกว่าอูเบอร์น่าจะช่วยแก้ปัญหาที่ผู้บริโภคเผชิญจากบริการรถโดยสารสาธารณะได้ นอกจากนี้ทีมงานอูเบอร์ในกรุงเทพฯ ยังได้รับการเรียกร้องให้ขยายไปเปิดบริการที่ต่างจังหวัดอยู่ทุกวันอีกด้วย

     “เราคาดหวังว่าภาครัฐจะร่วมผลักดันการแก้กฎหมายเพื่อพัฒนากฎระเบียบและแนวทางการรองรับบริการร่วมเดินทางให้ประชาชนไทยได้ใช้สิทธิและเสรีภาพในการเดินทางของตัวเองอย่างเต็มที่”

     ปัจจุบันปัญหาที่บริการไรด์แชริ่งในไทยไม่ว่าจะ Uber หรือ Grab ต้องเผชิญร่วมกันคือ การถูกต่อต้านจากผู้ประกอบการเดิมในตลาดและกฎระเบียบข้อบังคับในประเทศ รวมถึงการไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจากทางรัฐบาล ซึ่งฝั่งผู้ประกอบการในธุรกิจนี้เชื่อว่า หากบริการของพวกเขาได้รับการปลดล็อกให้ดำเนินการได้ถูกต้องตามกฎหมาย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์จากความสะดวกสบายเท่านั้น แต่ยังถือเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยในการมอบบริการที่เพียบพร้อมให้กับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศอีกด้วย

     อีกนัยหนึ่งเราอาจมองได้ว่า การที่รัฐบาลไทยจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษารูปแบบบริการไรด์แชริ่งยาวนานเช่นนี้ เพราะต้องการทำให้มั่นใจที่สุดว่าบริการนี้จะดำเนินได้โดยไม่สร้างผลกระทบความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ขณะเดียวกันก็ต้องหาช่องโหว่รูรั่วของบริการร่วมเดินทางประเภทนี้เพื่อกำหนดเงื่อนไขและมาตรการทางกฎหมายออกมาช่วยควบคุมและรักษาผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคพึงจะได้รับให้มากที่สุด

 

อ้างอิง:

The post 3 ปีไรด์แชริ่ง ไร้กฎหมายรองรับจากรัฐไทย Uber เปิดข้อเรียกร้องชวนประชาชนยื่นเรื่องปรับ พ.ร.บ. รถยนต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/3years-ride-sharing-uber/feed/ 0