อาชญากรรมไซเบอร์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 01 Mar 2025 03:21:15 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติกัมพูชาแถลงข่าวส่งตัว 119 คนไทยจากปอยเปต ยืนยันทั้งหมด ‘มีความผิด-เต็มใจไปทำงาน’ https://thestandard.co/cambodia-repatriates-119-thais-from-poipet/ Sat, 01 Mar 2025 03:21:15 +0000 https://thestandard.co/?p=1047347 สำนักงานตำรวจแห่งชาติกัมพูชา

วันนี้ (1 มีนาคม) สำนักงานตำรวจแห่งชาติกัมพูชาออกหนังสื […]

The post สำนักงานตำรวจแห่งชาติกัมพูชาแถลงข่าวส่งตัว 119 คนไทยจากปอยเปต ยืนยันทั้งหมด ‘มีความผิด-เต็มใจไปทำงาน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สำนักงานตำรวจแห่งชาติกัมพูชา

วันนี้ (1 มีนาคม) สำนักงานตำรวจแห่งชาติกัมพูชาออกหนังสือแถลงข่าวด่วนเกี่ยวกับประเด็นการปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ในเมืองปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2568

 

มีการลงปฏิบัติการ 2 จุด สามารถจับกุมชาวต่างชาติ 230 คน พบว่าคนต่างด้าวที่อ้างว่าเป็นคนสัญชาติไทย 123 คน มีเพียง 119 คนที่เป็นคนไทย ส่วนอีก 4 คน เป็นคนสัญชาติลาว 2 คน และคนสัญชาติเมียนมา 2 คน

 

จากการสืบสวนสอบสวนและสอบปากคำคนไทย 119 คน มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาชญากรรมทางออนไลน์ พวกเขายืนยันว่าเดินทางเข้ากัมพูชาโดยผิดกฎหมายเพื่อทำงานออนไลน์ผิดกฎหมาย เนื่องจากได้รับรายได้สูง / พวกเขาเต็มใจทำงาน / ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน / ไม่มีการกักขังหน่วงเหนี่ยวหรือทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด

 

อีกอย่างคนไทยทั้ง 119 คนไม่มีการแจ้งขอความช่วยเหลือจากฝ่ายไทยและกัมพูชา

 

เพราะฉะนั้นกัมพูชาจะเนรเทศและส่งมอบคนไทย 119 คน เป็นผู้ชาย 61 คน และผู้หญิง 58 คน ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เพื่อรับไปสืบสวนสอบสวนขยายผลและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

The post สำนักงานตำรวจแห่งชาติกัมพูชาแถลงข่าวส่งตัว 119 คนไทยจากปอยเปต ยืนยันทั้งหมด ‘มีความผิด-เต็มใจไปทำงาน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
17 ปีที่สังคมไทยยังไม่ตกตะกอน วิธีปราบปรามภัยร้าย ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ https://thestandard.co/17-years-thailand-struggles-to-combat-call-center-scams/ Thu, 19 Dec 2024 10:12:15 +0000 https://thestandard.co/?p=1021530 17-years-thailand-struggles-to-combat-call-center-scams

“สวัสดีครับ โทรมาจากสถานีตำรวจ, บริษัทขนส่ง, ฝ่ายประชาส […]

The post 17 ปีที่สังคมไทยยังไม่ตกตะกอน วิธีปราบปรามภัยร้าย ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
17-years-thailand-struggles-to-combat-call-center-scams

“สวัสดีครับ โทรมาจากสถานีตำรวจ, บริษัทขนส่ง, ฝ่ายประชาสัมพันธ์, ธนาคาร, ญาติห่างๆ, เพื่อนเก่าๆ…” 

 

บทสนทนาเหล่านี้ถูกปรับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามคู่มือหลอกคนที่เขียนไว้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน แต่ไม่ว่าบทไหนจะถูกเลือกมาใช้ สายตรงข้ามจะปลอมเป็นใคร จุดประสงค์เดียวที่คนเหล่านั้นต้องการคือ ‘เงิน’

ทีมข่าว THE STANDARD มีโอกาสพูดคุยเรื่องภัยไซเบอร์ที่มีมากมายหลายรูปแบบและความหวังที่จะต่อสู้กับอาชญากรรมรูปแบบนี้กับ พล.ต.ท. ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ ผิวพรรณ

พล.ต.ท. ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าวว่า คดีอาชญากรรมทางออนไลน์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แก๊งคอลเซ็นเตอร์มีการพัฒนารูปแบบกลโกงไปตามยุคสมัยตามกิจกรรมที่ประชาชนให้ความสนใจ ทุกครั้งจะมีการสร้างเรื่องหลอกลวงเหยื่อให้หลงเชื่อ ไม่ว่าจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐหรือองค์กรต่างๆ ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ โดยเป้าหมายคือ ‘การหลอกให้เหยื่อโอนเงินออกจากบัญชีของตนเอง’ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง 

 

ข้ออ้างที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักใช้หลอกเหยื่อที่ตำรวจรวบรวมได้มีดังนี้

 

  • หลอกว่าเหยื่อถูกอายัดบัญชีเงินฝากและเป็นหนี้บัตรเครดิต
  • หลอกว่าบัญชีเงินฝากของเหยื่อพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงิน
  • อ้างคืนเงินภาษีในช่วงที่มีการยื่นภาษี
  • อ้างการเรียกให้ชำระภาษีที่ดิน
  • อ้างการชำระหรือคืนเงินค่าไฟฟ้า
  • อ้างว่าเป็นสถาบันการเงิน หลอกขอข้อมูลส่วนตัวเพื่ออ้างว่าจะอัปเดตข้อมูล
  • หลอกว่าส่งพัสดุสิ่งของไปให้แล้วขอเก็บเงิน
  • หลอกว่ามีการโอนเงินผิดไปเข้าบัญชีของเหยื่อ ขอให้โอนเงินคืนมา 

 

“ภัยออนไลน์ต่างๆ เหล่านี้มีการหลอกลวงตั้งแต่เงินหลักร้อยไปจนถึงหลักล้านบาท สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก และนอกจากการสูญเสียทรัพย์สินแล้ว ยังมีผลเสียต่อสภาพจิตใจของเหยื่อด้วย” พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าว

 

จากข้อมูลสถิติระบบรับแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเราพบว่า ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่เลือกชนชั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภัยไซเบอร์ไม่มีพรมแดน เช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน 

 

“ไม่ว่าจะคนระดับใดของสังคมก็สามารถเป็นเหยื่อได้” พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าว

 

ผลปฏิบัติการทลายแหล่งที่ตั้งเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ผลปฏิบัติการทลายแหล่งที่ตั้งเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

 

ย้อนดูตัวเรา ย้อนดูสถิติ รู้จักภัย 14 รูปแบบ

 

จากสถิติของระบบรับแจ้งความออนไลน์ เว็บไซต์ thaipoliceonline.go.th สามารถแบ่งกลุ่มคดีอาชญากรรมออนไลน์ออกเป็น 14 ลักษณะคดี ดังนี้

 

  • หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ (ไม่เป็นขบวนการ)
  • หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ (เป็นขบวนการ)
  • หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน
  • หลอกให้กู้เงิน
  • หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์
  • ข่มขู่ทางโทรศัพท์
  • หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัล
  • หลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน
  • หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบ
  • หลอกให้ลงทุนตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงิน
  • เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
  • กระทำต่อระบบหรือคอมพิวเตอร์
  • หลอกให้รักแล้วโอนเงิน
  • เข้ารหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น

 

ตั้งแต่การเริ่มใช้ระบบรับแจ้งความออนไลน์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2567 ช่วงเวลากว่า 2 ปีนี้ชี้ให้เห็นว่า

 

  • อาชญากรรมทางออนไลน์ที่พบมากที่สุดคือ การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ คิดเป็น 46.89% ของอาชญากรรมทั้งหมด มีมูลค่าความเสียหาย 4,867,347,659 บาท
  • อาชญากรรมทางออนไลน์ที่พบได้น้อยที่สุดคือ การเข้ารหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น (Ransomware) คิดเป็น 0.07% ของอาชญากรรมทั้งหมด โดยมีมูลค่าความเสียหาย 203,865,182 บาท

 

ผู้เสียหายจำแนกตามเพศ เป็นหญิง 64% ชาย 36% ช่วงอายุที่ถูกหลอกมากที่สุดคือ 31-40 ปี คิดเป็น 28.72% ขณะที่เด็กต่ำกว่า 18 ปีคือกลุ่มที่ถูกหลอกน้อยที่สุด คิดเป็น 1.07% ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่หลายฝ่ายตั้งเป้าว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกหลอกกลับมีจำนวนเพียง 5.80%

 

ขณะที่ผลการอายัดบัญชีที่ถูกหลอกโอนเงินพบว่า มีผู้เสียหายยื่นเรื่องขออายัดบัญชี 560,412 บัญชี ยอดเงิน 44,904,971,828 บาท เจ้าหน้าที่และธนาคารสามารถอายัดได้ทัน 8,627,715,890 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.15 

 

กลุ่มผู้ต้องหาเว็บพนันนิยมแปลงเงินที่ได้จากการทำผิดเป็นของสะสม เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ

กลุ่มผู้ต้องหาเว็บพนันนิยมแปลงเงินที่ได้จากการทำผิดเป็นของสะสม เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ

 

กว่า 17 ปีของภัยคอลเซ็นเตอร์ที่อยู่คู่คนไทย

 

ข้อมูลจากโครงการ ‘การศึกษา วิเคราะห์ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในมิติกฎหมายของประเทศในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก, เหนือ-ใต้ (EWEC-NSEC-SEC)’ สะท้อนให้เห็นว่าการหลอกลวงแบบคอลเซ็นเตอร์เริ่มระบาดเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อปี 2550 

 

โดยการหลอกระลอกแรกที่ทำให้ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ การที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ปลอมเป็นสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2554 แผนครั้งนั้นคือหลอกให้เหยื่อโอนเงินเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ในท้ายที่สุดมีผู้ที่หลงเชื่อโอนเงินให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ถึง 56 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 15 ล้านบาท

 

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสถาบันการเงินภาคเอกชน ก็เห็นชอบให้จัดตั้ง ศูนย์ให้บริการประชาชนเพื่อป้องกันการถูกหลอกโอนเงินผ่านระบบออนไลน์ โดยเลือกใช้ศูนย์ของกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว เพื่อเป็นศูนย์ดำเนินการต่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

 

17 ปีต่อมา...

 

ข้อมูลระบบรับแจ้งความออนไลน์รายงานว่า สถิติการรับแจ้งคดีออนไลน์ 3 ปีมีดังนี้

 

  • ปี 2565 มี 13,591 เรื่อง ความเสียหาย 1,500 ล้านบาท 
  • ปี 2566 มี 19,775 เรื่อง ความเสียหาย 2,100 ล้านบาท 
  • ปี 2567 (นับถึงเดือนพฤศจิกายน) มี 38,886 เรื่อง ความเสียหาย 2,766 ล้านบาท

 

ของกลางที่ตรวจยึดได้จากเครือข่ายเว็บพนัน

ของกลางที่ตรวจยึดได้จากเครือข่ายเว็บพนัน

 

หากเฉลี่ยเป็นรายวัน เฉพาะในหนึ่งวันมีคดีออนไลน์เกิดขึ้น 736 เรื่อง มูลค่าความเสียหาย 77 ล้านบาท

 

‘ตำรวจ’ หนทางที่หวังพึ่ง

 

แน่นอนว่าเมื่อเกิดเหตุด่วน-เหตุร้าย สิ่งที่ประชาชนนึกถึงและหวังให้เป็นที่พึ่งในการแก้ปัญหาก็คือ ‘เจ้าหน้าที่ตำรวจ’ ซึ่งในหมวดของภัยไซเบอร์เราจำเป็นที่จะต้องใช้ตำรวจไซเบอร์เข้ามาดูแล

 

ผลการตรวจค้นเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สถานที่ใช้ฟอกเงิน

ผลการตรวจค้นเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สถานที่ใช้ฟอกเงิน

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ ได้อธิบายไว้ว่า กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือที่รู้จักในชื่อ ‘ตำรวจไซเบอร์’ มีหน้าที่ป้องกันและปราบปราม สืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน หรือเป็นอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ 

 

มีทั้งหมด 7 กองบังคับการ คือ กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1-5, กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี และกองบังคับการอำนวยการ

 

โจทย์หลักของตำรวจไซเบอร์ยุคใหม่คือ ควบคุมและลดภัยความหวาดกลัวของประชาชนจากอาชญากรรมออนไลน์, ตัดองค์ประกอบการเกิดอาชญากรรมด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความตระหนักรู้ภัยกลโกงมิจฉาชีพ, การพัฒนาเจ้าหน้าที่ในองค์กรให้มีสมรรถนะรู้เท่าทันเทคโนโลยี พร้อมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ภาคเอกชน ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ

 

การหารือประเด็นอาชญากรรมออนไลน์ข้ามชาติ ระหว่างตำรวจไซเบอร์กับสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย

การหารือประเด็นอาชญากรรมออนไลน์ข้ามชาติ ระหว่างตำรวจไซเบอร์กับสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ ยอมรับว่าการเริ่มต้นยุคใหม่ที่ว่านี้ตำรวจได้ถอดบทเรียนของบรรดามิจฉาชีพ จนทำให้เข้าใจว่ามิจฉาชีพมีการปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างรวดเร็ว และสร้างแนวทางใหม่ๆ มาใช้ในการหลอกเหยื่อ เจ้าหน้าที่ต้องพัฒนาเครื่องมือให้ทันสมัย และที่สำคัญคือต้องไม่ใช่การทำงานเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ

 

“เราเชื่อว่าความมุ่งมั่นตั้งใจของเจ้าหน้าที่ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน จะสามารถก้าวนำภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นได้” พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าว

 

ภารกิจตรวจค้นบริษัทต้องสงสัยว่าเป็นแหล่งฟอกเงินให้เว็บพนันชาวจีน

ภารกิจตรวจค้นบริษัทต้องสงสัยว่าเป็นแหล่งฟอกเงินให้เว็บพนันชาวจีน

 

วันนี้ตำรวจเองยังถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการภัยไซเบอร์?

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ มองว่าข้อความเห็นนี้ของสังคมเป็นหน้าที่ของตำรวจที่ต้องแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส สร้างกลไกการตรวจสอบภายในที่เข้มงวด มีความจริงจังในการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และต้องสื่อสารให้ชัดเจนกับประชาชน ให้รับรู้ถึงความคืบหน้าและความพยายามในการดำเนินคดี

 

‘สายตรวจไซเบอร์’ ความหวังใหม่?

 

การลงพื้นที่ภารกิจจับกุมผู้ต้องหาถ่ายคลิปอนาจารเด็กหญิงวัย 10 ขวบ

การลงพื้นที่ภารกิจจับกุมผู้ต้องหาถ่ายคลิปอนาจารเด็กหญิงวัย 10 ขวบ

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ เล่าว่า เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ระหว่างที่สายตรวจไซเบอร์ลาดตระเวนในโซเชียลมีเดียได้เจอคลิปลามกอนาจาร 1 คลิป เนื้อหาในคลิปคือการกระทำชำเราเด็กหญิงที่คาดว่าอายุไม่เกิน 10 ขวบ โดยเด็กมีสภาพอิดโรยและคล้ายกับถูกกักขัง สายตรวจไซเบอร์จึงสืบหาต้นทางจนพบว่า ชายที่อยู่ในคลิปถ่ายคลิปดังกล่าวด้วยตัวเอง และขายให้กลุ่มที่มีความชื่นชอบเฉพาะทางในกลุ่มไลน์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อขายคลิปลามกเท่านั้น สถานที่เกิดเหตุคือในเรือประมง จังหวัดระยอง

 

ใช้เวลาไม่นานหลังจากที่เจอคลิปต้นเรื่อง สายตรวจไซเบอร์ได้ประสานตำรวจในพื้นที่เข้าจับกุมผู้ก่อเหตุและเข้าให้ความช่วยเหลือเด็กหญิงคนดังกล่าว

 

ผู้ต้องหาในคดีถ่ายคลิปเด็กหญิงวัย 10 ขวบ ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

ผู้ต้องหาในคดีถ่ายคลิปเด็กหญิงวัย 10 ขวบ ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

 

“ความอันตรายของภัยไซเบอร์ไม่ได้มีแค่เรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เราต้องปราบปรามเท่านั้น ในที่นี้เราต้องดูแลชีวิตคนที่ถูกคุกคามในโลกไซเบอร์ด้วย” พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าว

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าวว่า กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีตั้งคณะทำงานสายตรวจไซเบอร์จำนวน 15 นาย คัดเลือกจากตำรวจฝ่ายประมวลผล สืบสวน สอบสวน ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบวิเคราะห์อาชญากรรมจำนวน 12 คน ระดับสารวัตร 6 คน และรองสารวัตร 6 คน เข้าเวรวันละ 2 คน เพื่อดูแลอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจำนวน 6 กลุ่มจากทั้งหมด 14 ประเภท 

 

สายตรวจชุดนี้ต้องสลับเข้าเวรทุกวัน เพื่อตรวจสอบเหตุทั้งในระบบแจ้งความออนไลน์และแหล่งข่าวเปิด (โซเชียลมีเดีย) เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ว่ามีภัยออนไลน์ใดที่สร้างความเสียหายกับประชาชน

 

“หลักการคล้ายกันกับตำรวจจราจรคือ เรายืนตามสี่แยกไฟแดง ถ้าพบใครฝ่าไฟแดงเราต้องแสดงตัวจับ” พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าว

 

การหารือความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ

การหารือความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าวย้ำว่า การปราบปรามภัยไซเบอร์ให้เด็ดขาดต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ ธนาคาร และหน่วยงานภาครัฐ อาชญากรรมนี้ไม่สามารถปิดจบได้แค่ที่หน้างานตำรวจ แต่ยืนยันว่าปัจจุบันตำรวจเองปรับตัวแล้ว เราทำงานเชิงรุก ไม่ได้รอให้ผู้เสียหายเข้ามา แต่ค้นหาสิ่งที่จะสร้างความเสียหาย

 

แต่ในขณะที่ตำรวจพยายามปรับตัว อีกฝั่งอย่างแก๊งมิจฉาชีพก็ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้ไม่ได้ใช้แค่การคุยโทรศัพท์หรือส่งข้อความหาเหยื่อเท่านั้น แต่ใช้การวิดีโอคอลในห้องที่เซ็ตเป็นฉาก อีกทั้งใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติในการโอนเงินด้วย 

 

รูปแบบการทำงานของหุ่นยนต์นี้คือ หากผู้เสียหายพลาดท่าโอนเงินให้มิจฉาชีพแล้ว ระยะเวลาเพียง 1 นาทีระบบคอมพิวเตอร์จะกระจายเงินเป็นหลายทาง ส่วนใหญ่จะแปลงเงินเป็นสกุลเงินดิจิทัลให้ยากต่อการตรวจสอบ หลังจากนั้นจึงย้ายเงินทั้งหมดออกนอกประเทศแบบออนไลน์ แน่นอนว่าทั้งกระบวนการนี้ใช้เวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น เราจึงเห็นได้ว่าการอายัดเงินจนนำมาสู่การคืนผู้เสียหายเปอร์เซ็นต์ที่ทำได้เป็นเพียงจุดทศนิยม

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขณะนี้ตำรวจไซเบอร์มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน Cyber Check เพื่อช่วยประชาชนในการคัดกรองมิจฉาชีพจากเบอร์โทรศัพท์ รวมไปถึงการตรวจสอบเลขบัญชีธนาคารก่อนจะโอนเงินได้ ซึ่งประชาชนสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Cyber Check ได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS และมีโครงการวัคซีนไซเบอร์ สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันภัยออนไลน์ให้แก่ประชาชน เช่น การจัดทำแบบทดสอบทางออนไลน์เพื่อรับของรางวัล

 

พล.ต.ท. ไตรรงค์ ร่วมตรวจสอบของกลางที่ยึดได้จาก ที่เกิดเหตุแหล่งที่ตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์

พล.ต.ท. ไตรรงค์ ร่วมตรวจสอบของกลางที่ยึดได้จากที่เกิดเหตุแหล่งที่ตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์

 

จากรูปแบบการหลอก สถิติความเสียหาย และพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้งของมิจฉาชีพ ทำให้เราแทบจะปักใจเชื่อได้เลยว่า อีก 5 ปีหรือ 10 ปี ภัยไซเบอร์นี้ก็จะยังคงคุกคามคนไทย

 

ประการที่หนึ่ง เพราะการก้าวไปข้างหน้าของเทคโนโลยีและมิจฉาชีพที่ 17 ปีที่ผ่านมาไม่เคยหยุด

 

ประการที่สอง ที่เป็นส่วนสำคัญที่เราไม่ควรอายที่จะพูดว่า เพราะคำว่า ‘ผลประโยชน์อันหอมหวาน’ มันเย้ายวนให้แม้แต่ผู้พิทักษ์รักษากฎหมายบางส่วนยังยอมเอื้อให้แก๊งเหล่านี้หลอกคนในชาติด้วยกันเองได้ 

 

และประการที่สาม คือปัจจัยด้านกฎหมายที่ล้วนมีช่องว่างและช่องโหว่ ทำให้ตัวการใหญ่ที่ส่วนมากเป็นชาวจีนที่ไม่สามารถหาประโยชน์ในประเทศตัวเองได้ เนื่องจากบ้านเมืองพวกเขามีกฎหมายที่เด็ดขาด หันมาเลือกประเทศที่อ่อนแอกว่าเป็นฐานที่ตั้งและเป็นเหยื่อ

 

สุดท้ายนี้เรายังเชื่อว่าประชาชนยังคงรอคอยยาแรงที่จะมากำจัดภัยไซเบอร์นานารูปแบบให้หมดไป แต่ในขณะเดียวกันประชาชนทุกคนเองล้วนต้องมีวัคซีนป้องกันตัวเองเบื้องต้นก่อน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของ ‘ความโลภ ความกลัว และความรัก’ ที่แก๊งเหล่านี้ใช้มาหลอกเรา

 

อ้างอิง:

  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

The post 17 ปีที่สังคมไทยยังไม่ตกตะกอน วิธีปราบปรามภัยร้าย ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนไทยรู้ทันภัยไซเบอร์มากน้อยแค่ไหน? https://thestandard.co/thai-cyber-crime/ Mon, 16 Dec 2024 10:30:27 +0000 https://thestandard.co/?p=1020058

อาชญากรรมทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ […]

The post คนไทยรู้ทันภัยไซเบอร์มากน้อยแค่ไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาชญากรรมทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เรื้อรังของประเทศไทย เพราะในเวลานี้มีคนจำนวนไม่น้อยขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเอง ถูกหลอกทางออนไลน์จนสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคล สูญเสียทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งสูญเสียชีวิต

 

ถ้าสังคมไทยต้องการสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ เราควรเริ่มจากจุดไหน แล้วมีความสำคัญมากขนาดไหนที่จะต้องรู้ Data หรือข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ 

 

หาคำตอบพร้อมกันได้ในรายการ KEY MESSAGES 

The post คนไทยรู้ทันภัยไซเบอร์มากน้อยแค่ไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซินแคลร์เปิดตัว ‘AZURITES OpenXDR’ ทางเลือกป้องกันภัยไซเบอร์ขั้นสูง https://thestandard.co/cynclair-azurites-openxdr/ Fri, 11 Oct 2024 11:10:53 +0000 https://thestandard.co/?p=994991

‘ซินแคลร์’ บริษัทสัญชาติไทย เปิดตัวแพลตฟอร์ม ‘AZURITES […]

The post ซินแคลร์เปิดตัว ‘AZURITES OpenXDR’ ทางเลือกป้องกันภัยไซเบอร์ขั้นสูง appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘ซินแคลร์’ บริษัทสัญชาติไทย เปิดตัวแพลตฟอร์ม ‘AZURITES OpenXDR’ แพลตฟอร์มความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับองค์กรต่างๆ หวังให้ทุกองค์กรรับมือการคุกคามจากภัยไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ธนจักร วัฒนกิจ ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ซินแคลร์ จำกัด กล่าวว่า ซินแคลร์เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สัญชาติไทยที่แยกตัวออกมาจากเครือบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (R V Connex Co., Ltd.) ซึ่งเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยซินแคลร์เป็นผู้ออกแบบนวัตกรรมและให้บริการระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงและมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงขอนำเสนอ ‘AZURITES OpenXDR’ ที่ผ่านการออกแบบและพัฒนาให้เป็นระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง ยกระดับความสามารถในการป้องกัน ด้วยการตรวจจับ และตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้กับองค์กรและธุรกิจแขนงต่างๆ

 

“เราก็เคยเป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยทางไซเบอร์มาก่อน จึงต้องการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคธุรกิจทุกระดับ” ธนจักรระบุ

 

ธนจักรเล่าย้อนด้วยว่า บริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของซินแคลร์ เคยต้องรับมือกับการโจมตีโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ (Nation-State Hacker) ที่มีความสามารถสูงมาก่อน บริษัทจึงนำความรู้และประสบการณ์จากทีมผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการโจมตีเหล่านี้ ที่ถือเป็นภัยคุกคามระดับสูงที่องค์กรทั่วไปอาจไม่สามารถรับมือได้

 

นอกจากนี้ซินแคลร์ยังมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรผ่านการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศให้กับทีมงานในประเทศไทย เพื่อพัฒนาโซลูชันให้เทียบเท่ากับบริษัทระดับโลก

 

ธนจักรกล่าวต่อว่า ซินแคลร์ได้รับการยอมรับในฐานะผู้บุกเบิกด้านการป้องกันภัยไซเบอร์ โดยผู้ให้บริการตรวจจับ ป้องกัน และรับมือ (Managed Detection and Response: MDR) แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการนำเสนอใน Gartner Peer Insights (แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้บริการให้คะแนนและประเมินซอฟต์แวร์ และบริการด้านเทคโนโลยี) และเป็นองค์กรแห่งแรกในประเทศไทยที่นำ NIST Cybersecurity Framework 2.0 มาใช้ในการจัดการกับความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกและระดับภูมิภาคที่มีความซับซ้อนทุกรูปแบบ

 

สำหรับ AZURITES OpenXDR มีความแตกต่างจากโซลูชัน MDR อื่นๆ 3 ประการ

  1. Explainable Cybersecurity (GenAI)
    • Krystal-Clear AI Alerts: ระบบแจ้งเตือนที่ประมวลผลด้วย AI ที่เข้าใจง่าย ทำให้มั่นใจได้อย่างเต็มที่ในมาตรการรักษาความปลอดภัยขององค์กร
    • Tailored Protection: ระบบการป้องกันที่ปรับแต่งได้ ผ่านการพัฒนาด้วยโครงสร้างเชิงสถาปัตยกรรมขั้นสูง เพื่อการตรวจจับภัยคุกคามที่แม่นยำและรวดเร็ว นำหน้าภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป
  1. Proactive Threat Hunting
    • Dynamic Threat Defense: การป้องกันภัยคุกคามแบบไม่หยุดนิ่ง นำหน้าอาชญากรไซเบอร์ด้วยการป้องกันที่ปรับเปลี่ยนได้แบบเรียลไทม์
    • Always-On Protection: การป้องกันแบบเปิดตลอดเวลา ตามติดตามภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI อัตโนมัติจะสแกนหาความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่ภัยคุกคามเหล่านั้นจะเข้าถึงระบบ
  1. Automated Incident Response (IR) Playbooks
    • Immediate Threat Response: การตอบสนองต่อภัยคุกคาม โดยการแจ้งเตือนอัตโนมัติและดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงทันทีเมื่อเกิดการรั่วไหลของข้อมูล หรือตรวจพบภัยคุกคามจากภายนอก
    • Streamlined Incident Handling: มีคู่มือที่ให้คำแนะนำทีละขั้นตอนเพื่อการตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

ด้าน Joel Wong ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ซินแคลร์ กล่าวเสริมว่า แพลตฟอร์มนวัตกรรม ‘AZURITES OpenXDR’ จะเป็นการกำหนดนิยามใหม่ในการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของธุรกิจต่างๆ ที่ไม่เพียงตรวจจับภัยคุกคามเพียงอย่างเดียว แต่ยังติดตามภัยคุกคามเชิงรุก ระบุรายละเอียดของภัยคุกคามเหล่านั้นอย่างชัดเจน และตอบสนองทันที

 

“การได้รับการยอมรับจาก Gartner และการนำมาตรฐานระดับโลกมาใช้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาโซลูชันที่มีคุณภาพสูงและเป็นไปตามมาตรฐานสากล สิ่งนี้สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของเราว่าพวกเขาจะสามารถรู้เท่าทันภัยไซเบอร์และป้องกันได้อย่างทันท่วงทีไม่ว่าแฮกเกอร์จะมาในรูปแบบไหนก็ตาม” Joel Wong ระบุ

The post ซินแคลร์เปิดตัว ‘AZURITES OpenXDR’ ทางเลือกป้องกันภัยไซเบอร์ขั้นสูง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: Deepfake ภาพตัดต่อ AI ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของผู้หญิงเกาหลีใต้ | GLOBAL FOCUS EP.94 https://thestandard.co/global-focus-ep94/ Fri, 11 Oct 2024 10:39:08 +0000 https://thestandard.co/?p=994979

ผู้หญิงในสังคมเกาหลีใต้กำลังเผชิญหน้ากับปัญหา Deepfake […]

The post ชมคลิป: Deepfake ภาพตัดต่อ AI ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของผู้หญิงเกาหลีใต้ | GLOBAL FOCUS EP.94 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ผู้หญิงในสังคมเกาหลีใต้กำลังเผชิญหน้ากับปัญหา Deepfake ภาพอนาจารที่ถูกตัดต่อด้วย AI โดยถูกส่งต่อและเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ จนกลายเป็น ‘ภัยคุกคามทางไซเบอร์’ ที่นำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม การเลือกปฏิบัติทางเพศและการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง

 

นับเป็นอีกหนึ่งมุมมืดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่าง AI ที่ไม่เพียงเฉพาะเกาหลีใต้ แต่ยังรวมถึงทุกประเทศต้องเตรียมรับมือและหาทางแก้ไข

The post ชมคลิป: Deepfake ภาพตัดต่อ AI ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของผู้หญิงเกาหลีใต้ | GLOBAL FOCUS EP.94 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภัยไซเบอร์พุ่ง! ดันตลาดโต 1.4 หมื่นล้าน MFEC แนะองค์กรใช้เทคโนโลยีร่วมกับ AI รับมือการโจมตีที่จะถี่และซับซ้อนมากขึ้น https://thestandard.co/overview-of-the-cybersecurity-market-in-thailand-2024/ Wed, 25 Sep 2024 10:38:36 +0000 https://thestandard.co/?p=987993

บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (MFEC) ผู้ให้บริการไอทีครบว […]

The post ภัยไซเบอร์พุ่ง! ดันตลาดโต 1.4 หมื่นล้าน MFEC แนะองค์กรใช้เทคโนโลยีร่วมกับ AI รับมือการโจมตีที่จะถี่และซับซ้อนมากขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (MFEC) ผู้ให้บริการไอทีครบวงจร เผยภาพรวมตลาด Cybersecurity ในประเทศไทยปี 2567 ว่า กำลังอยู่ในช่วงขยายตัวด้วยอัตราเติบโตทบต้นต่อปี (CAGR) ที่ 14.10% โดยมูลค่ารวมตลาดอยู่ที่ราว 1.4 หมื่นล้านบาท

 

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับความท้าทาย แต่ภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่สร้างความเสียหายในระดับที่รุนแรงมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

ในขณะเดียวกัน เทรนด์เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้องค์กรจำเป็นต้องหันมาใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่เริ่มซับซ้อนและทำได้แนบเนียนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยี AI ที่เปรียบเสมือน ‘ดาบสองคม’ สามารถใช้งานได้ทั้งในด้านการโจมตีและการป้องกันภัยไซเบอร์

 

“โลกยุคใหม่นี้ การเข้าใจบทบาท AI ในบริบทของ Cybersecurity เป็นหนึ่งสิ่งที่บริษัทควรพิจารณาว่าอาจจะต้องมีใน KPI โดยองค์กรจำเป็นต้องรู้จักตัวเอง เข้าใจความเสียหายที่อาจตามมา ยิ่งถ้าธุรกิจเริ่มนำองค์กรไปสู่เฟสดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน นั่นมีแนวโน้มที่จะทำให้ช่องว่างการถูกโจมตีทางไซเบอร์สูงขึ้น” ดำรงศักดิ์ รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ประจำ MFEC กล่าว

 

ข้อมูลการวิจัยของ Cybersecurity Ventures องค์กรชั้นนำด้านการวิจัยและเก็บรวบรวมสถิติด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยทางไซเบอร์โลก คาดว่า อาชญากรรมทางไซเบอร์อาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกถึง 9.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 310 ล้านล้านบาท*) ในปี 2567 และอาจสูงขึ้นถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 343 ล้านล้านบาท*) ภายในปี 2568

 

สำหรับประเทศไทย มูลค่าการลงทุนด้าน Cybersecurity จากปี 2565 คาดว่าจะเติบโตแบบทบต้นต่อปี (CAGR) 13% ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาทในปี 2568 ตามการคาดการณ์จาก Krungthai COMPASS ส่งผลให้รายได้รวมของอุตสาหกรรมระบบ Cybersecurity ในไทยเพิ่มจาก 4.4 พันล้านบาทในปี 2565 เป็น 6.3 พันล้านบาทในปี 2568 หรือมีอัตราเติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) 12.3% 

 

แม้อัตราการขยายตัวของตลาดและมูลค่าการลงทุนด้าน Cybersecurity จะขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรม แต่เทรนด์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่องค์กรต้องเจอ และความสำคัญของการลงทุนด้าน Cybersecurity ในยุคที่ ‘ข้อมูล’ เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีค่าสำหรับธุรกิจมากที่สุด

 

ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงต้องเปิดโอกาสในการหากลยุทธ์เพื่อตอบโต้เชิงรุกต่อภัยคุกคามไซเบอร์โดยมี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจจับ และจัดการภัยคุกคาม ในขณะที่ ‘คน’ ขององค์กรก็จำเป็นต้องถูกพัฒนาทักษะและความรู้ให้ก้าวนำอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น

 

“การนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรไม่ใช่เรื่องยากที่สุด แต่เรื่องที่ยากคือการทำให้พนักงานไม่รู้สึกว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะ ‘Overload’ หรือปรับตัวไม่ทัน เพราะเมื่อเทคโนโลยีใหม่เข้ามาอยู่กับองค์กร พนักงานก็ต้องปรับพฤติกรรมหลายอย่างตามด้วย” ดำรงศักดิ์กล่าว

 

นอกจากนี้ ดำรงศักดิ์มองว่า การนำเทคโนโลยีอย่าง Generative AI เข้ามาทำงานร่วมกับพนักงาน เป็นการเสริมความแข็งแกร่งของกันและกันมากกว่าการมาแทนที่ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย การตัดสินใจท้ายสุดจะขึ้นอยู่กับมนุษย์ ที่ต้องพิจารณาปัจจัยในหลายมิติ ทั้งจริยธรรม ข้อบังคับ และผลเสียหายทางธุรกิจ 

 

ในปี 2567 กลุ่มธุรกิจ MFEC ตั้งเป้ารายได้เติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี 11.4% จากปีที่ผ่านมา หรือมีรายได้ 6,734 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการเติบโตของกลุ่ม Cybersecurity ประมาณ 25%

 

หมายเหตุ: 

  • มูลค่าเงินบาทที่แปลงจากดอลลาร์สหรัฐ 1 บาท = 32.65 ดอลลาร์สหรัฐ คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนจากเว็บไซต์ Investing.com ณ วันที่ 25 กันยายน 2567

The post ภัยไซเบอร์พุ่ง! ดันตลาดโต 1.4 หมื่นล้าน MFEC แนะองค์กรใช้เทคโนโลยีร่วมกับ AI รับมือการโจมตีที่จะถี่และซับซ้อนมากขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนไทยเกินครึ่ง ‘สอบตก’ ความปลอดภัยไซเบอร์! AIS เผยผลสำรวจสุขภาวะดิจิทัลคนไทยปี 2024 พร้อมชวนเช็กฟรี! https://thestandard.co/more-than-half-of-thais-fail-cyber-security-test/ Tue, 03 Sep 2024 08:30:11 +0000 https://thestandard.co/?p=978750

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำว […]

The post คนไทยเกินครึ่ง ‘สอบตก’ ความปลอดภัยไซเบอร์! AIS เผยผลสำรวจสุขภาวะดิจิทัลคนไทยปี 2024 พร้อมชวนเช็กฟรี! appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้งานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีต่างๆ นั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน ภัยไซเบอร์ก็กำลังคืบคลานเข้ามาเป็นภัยร้ายแฝงตัวเข้ามาคุกคามชีวิตเราได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว

 

ในปี 2566 ที่ผ่านมา กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 ได้เปิดเผยข้อมูลอันน่าตกใจว่า ประเทศไทยติดอันดับที่ 6 ของโลกในด้านอาชญากรรมออนไลน์! และในปี 2567 สถิตินี้ยังคงน่าเป็นห่วง โดยมีการรับแจ้งคดีออนไลน์เฉลี่ยเดือนละกว่า 30,404 เรื่อง สร้างความเสียหายมูลค่ารวมกว่า 3,500 ล้านบาทต่อเดือน

 

ภัยไซเบอร์เหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเลข แต่เป็นเรื่องราวความสูญเสียที่เกิดขึ้นจริงกับคนไทยจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการถูกหลอกลวงซื้อขายสินค้า หลอกให้โอนเงิน หลอกให้กู้เงิน หลอกให้ลงทุน หรือแม้แต่การถูกข่มขู่คุกคามทางโทรศัพท์ ภัยเหล่านี้ล้วนสร้างความเสียหายทั้งทางด้านการเงินและจิตใจ

 

ด้วยเหตุนี้ AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย ตระหนักถึงภัยเงียบที่กำลังกัดกินสังคมไทย จึงไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางรับมือและป้องกันภัยไซเบอร์เหล่านี้ ด้วยการเปิดตัว ‘ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024’ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นเสมือนเข็มทิศนำทางให้คนไทยและหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าใจถึงสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบัน และร่วมกันหาทางป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

Thailand Cyber Wellness Index: เครื่องวัดภูมิคุ้มกันดิจิทัลของคนไทย

 

การวัด ‘สุขภาวะดิจิทัล’ จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเราแข็งแกร่งเพียงใดในการรับมือกับโลกออนไลน์ AIS จึงได้ริเริ่มพัฒนา Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) ขึ้น เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถในการใช้งานดิจิทัลของคนไทยอย่างรอบด้าน เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพของ ‘พลเมืองดิจิทัล’ ว่าเรามีภูมิคุ้มกันแข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับภัยร้ายในโลกไซเบอร์หรือไม่

 

ดัชนีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความคิดเพียงลำพัง แต่ AIS ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา ทั้งด้านเทคโนโลยี สุขภาพ สื่อสารมวลชน การศึกษา และการประเมินผล

 

ทั้งหมดเพื่อให้ได้มาซึ่งดัชนีที่น่าเชื่อถือและแม่นยำที่สุด โดยมีการออกแบบกรอบการศึกษาอย่างละเอียด ตั้งแต่การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหลากหลายทั่วประเทศ ไปจนถึงการวิเคราะห์และสรุปผล

 

“AIS มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างภูมิปัญญาหรือ Wisdom ที่จะนำไปสู่การสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ ควบคู่ไปกับการใช้ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีมาส่งมอบเครื่องมือปกป้องภัยไซเบอร์และมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งานออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ” สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการ

 

ตัวดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยประเมินความสามารถในการใช้งานดิจิทัลของคนไทยได้อย่างแม่นยำ ครอบคลุม 7 มิติ ได้แก่

 

  1. การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์: การระราน การคุกคาม หรือการทำร้ายผู้อื่นผ่านช่องทางออนไลน์
  2. การรู้เท่าทันดิจิทัล: ความสามารถในการเข้าถึง ค้นหา ประเมิน จัดการข้อมูล คิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์เนื้อหาบนโลกดิจิทัล
  3. การแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล: การสร้างปฏิสัมพันธ์ออนไลน์อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะกับคนรู้จักหรือไม่รู้จัก
  4. ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์: ความรู้และทักษะในการป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์
  5. การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล: การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสาร ทำงาน และสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ
  6. การใช้ดิจิทัล: ความสามารถในการใช้ดิจิทัลในการจัดการชีวิตประจำวันและบริหารเวลาบนโลกออนไลน์
  7. เข้าใจสิทธิทางดิจิทัล: ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของตนเองในการใช้งานดิจิทัล

 

ผลการศึกษา: สัญญาณเตือนภัยที่ต้องไม่มองข้าม

 

ผลการศึกษา Thailand Cyber Wellness Index 2024 ที่ได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 7 ภูมิภาค 77 จังหวัด รวมทั้งหมด 50,965 คน เผยให้เห็นว่า ภาพรวมสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยจะอยู่ในระดับ ‘พื้นฐาน’ โดยคะแนนเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 0.68 จากคะแนนเต็ม 1

 

ภาพรวมสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย

  • ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.01 อยู่ใน ‘ระดับพื้นฐาน’ ซึ่งเป็นระดับที่พอจะ ‘เอาตัวรอด’ ได้เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถให้คำแนะนำกับผู้อื่นได้
  • รองลงมาร้อยละ 35.52 อยู่ใน ‘ระดับสูง’ ซึ่งนอกจากจะระมัดระวังด้วยตัวเองได้แล้ว ยังนำความรู้ที่มีอยู่ไปแนะนำให้กับคนอื่นๆ ที่ยังไม่รู้ได้อีกด้วย
  • แต่ยังมีถึงร้อยละ 18.47 อยู่ใน ‘ระดับต้องพัฒนา’ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการหลอกลวงทางไซเบอร์ และต้องได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างเร่งด่วน

 

การศึกษายังชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่น่ากังวลอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่อง ‘ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์’ ที่คนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจ

 

ลองนึกภาพว่าโลกไซเบอร์คือสมรภูมิรบ ถ้าเราไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเองก็ไม่ต่างอะไรกับการเดินเข้าสู่สนามรบโดยไร้อาวุธ ซึ่งผลการศึกษาก็ชี้ให้เห็นว่าคนไทยกว่า 60% ยังขาดทักษะดิจิทัลที่จำเป็นและขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องพื้นฐาน เช่น การตั้งรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง ส่วนใหญ่มักใช้วันเดือนปีเกิดเป็นรหัสผ่าน ซึ่งง่ายต่อการคาดเดาและถูกแฮ็ก

 

การระวังภัยจาก Ransomware ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่เข้ารหัสข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ของเหยื่อ และเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อกข้อมูล, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน หรือแม้แต่การแยกแยะเว็บไซต์ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่รู้จัก HTTPS ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต

 

ที่สำคัญ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นถึงความน่าเป็นห่วงว่า กลุ่มวัย 10-18 ปี มีคะแนนเฉลี่ยด้านสุขภาวะดิจิทัลต่ำที่สุด แสดงให้เห็นว่าเยาวชนไทยยังต้องการการปลูกฝังและให้ความรู้ด้านดิจิทัลอย่างเร่งด่วน ในขณะเดียวกัน กลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เนื่องจากอาจขาดความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ง่าย

 

AIS Secure Net+ & Digital Health Check: โล่ป้องกันภัยไซเบอร์ยุคใหม่

 

จากผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่ง AIS ไม่ได้เพียงแค่ชี้ให้เห็นปัญหา แต่ยังนำเสนอ ‘ทางออก’ ผ่านการพัฒนาเครื่องมือและบริการใหม่ๆ เพื่อยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทย ได้แก่

 

  1. Digital Health Check: เครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์แบบรายบุคคล ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประเมินระดับความสามารถในการรับมือกับภัยไซเบอร์ พร้อมแนะนำหลักสูตรเพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลได้ด้วยตนเองผ่าน https://digitalhealthcheck.ais.th

 

  1. AIS Secure Net+: บริการที่ช่วยปกป้องผู้ใช้จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเพิ่มการปกป้องที่ครอบคลุมมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองเว็บไซต์อันตรายทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญคือลูกค้า AIS สามารถใช้บริการนี้ได้ฟรีเป็นเวลา 12 เดือน เพียงกด *689*6#

 

นอกจากนี้ AIS ยังได้เปิดตัวบริการ Secure Net+ Protected by MSIG ที่นอกจากจะปกป้องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์แล้ว ยังมาพร้อมกับประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคลที่ให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 50,000 บาท ในราคาเพียงเดือนละ 39 บาทเท่านั้น สมัครง่ายๆ เพียงกด *689*10# โทรออก (สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ais.th/consumers/lifestyle/apps-and-services/aunjai-cyber/securenet-plus)

 

ก้าวต่อไปของ AIS: มุ่งสู่สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

 

AIS ไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อปกป้องคนไทยจากภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ โดยมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างสังคมดิจิทัลที่ทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย และมีความสุข

 

เพราะ AIS เชื่อว่า ‘เทคโนโลยี’ ไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้าย แต่ควรเป็น ‘พลัง’ ในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม และ AIS จะเดินหน้าสร้าง ‘ภูมิคุ้มกันดิจิทัล’ ให้แข็งแกร่งไปด้วยกัน เพื่ออนาคตที่สดใสของประเทศไทยบนโลกดิจิทัล

 

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ของคนไทย เพิ่มเติมได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index

 

The post คนไทยเกินครึ่ง ‘สอบตก’ ความปลอดภัยไซเบอร์! AIS เผยผลสำรวจสุขภาวะดิจิทัลคนไทยปี 2024 พร้อมชวนเช็กฟรี! appeared first on THE STANDARD.

]]>
บีอาร์จี บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก บุกสำนักงานในไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงและป้องกันการทุจริตขององค์กร https://thestandard.co/brg-global-consulting-company-thailand/ Tue, 16 Jul 2024 07:28:27 +0000 https://thestandard.co/?p=958594

สำนักงานแห่งใหม่นี้จะเป็นศูนย์กลางในการให้บริการแก่ลูกค […]

The post บีอาร์จี บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก บุกสำนักงานในไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงและป้องกันการทุจริตขององค์กร appeared first on THE STANDARD.

]]>

สำนักงานแห่งใหม่นี้จะเป็นศูนย์กลางในการให้บริการแก่ลูกค้าของบีอาร์จีในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มเติมจากสำนักงานที่สิงคโปร์และสำนักงานอื่นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

 

บริษัท เบิร์กลีย์ รีเสิร์ช กรุ๊ป หรือ บีอาร์จี (BRG) เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาระดับโลกทางด้านการบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Accounting) การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensic) การตรวจสอบข้อเท็จจริง การสืบสวนเหตุทุจริต การประเมินมูลค่าและความเสียหาย การสนับสนุนการจัดการกรณีข้อพิพาทระหว่างบริษัท และการบริหารความเสี่ยง บีอาร์จีมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และมีเครือข่ายสาขากระจายอยู่ทั่วโลก 

 

ทั้งนี้ บีอาร์จีเล็งเห็นโอกาสและความจำเป็นในการขยายธุรกิจมาที่ไทยและภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ และได้ประกาศเปิดสำนักงานแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย พร้อมจัดตั้งทีมสืบสวนการทุจริตและนิติวิทยาศาสตร์ นำโดย วรพงษ์ สุธานนท์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการ

 

 

สำหรับ วรพงษ์ สุธานนท์ เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารความเสี่ยงระดับโลกมามากกว่า 24 ปี ทั้งในสหรัฐอเมริกาและภูมิภาคอาเซียน มีความเชี่ยวชาญในการสืบสวนเหตุทุจริตที่ซับซ้อนและมีมูลค่าสูงขององค์กร การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต การป้องกันการทุจริต การสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ การตรวจสอบข้อเท็จจริงสำหรับกรณีข้อพิพาทระหว่างบริษัท การประเมินความเสียหาย การบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแลองค์กร และการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ 

 

วรพงษ์มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาทั้งบริษัทและองค์กรในภาคเอกชนและภาครัฐ นอกจากนี้ วรพงษ์ยังเคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยงในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย และเป็นที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานในภาครัฐและสมาคมอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทย โดยวรพงษ์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการของการบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบเหตุทุจริตในประเทศไทย

 

ทั้งนี้ ทีมที่ปรึกษาในประเทศไทยได้รวบรวมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในหลายด้าน เช่น อริศรา ภานุวัฒน์วนิชย์ ผู้อำนวยการ เป็นผู้เชี่ยวชาญดูแลงานด้านการสืบสวนการทุจริตและการบัญชีนิติวิทยาศาสตร์มานานกว่า 18 ปี และ โจเอล วูดเวิร์ด ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานในประเทศไทยมากว่า10 ปี มีความเชี่ยวชาญและดูแลงานด้านการประเมินมูลค่าและการประเมินความเสียหายในอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และยังมีทีมงานอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ทางด้าน Forensic Accounting และ Computer Forensic โดยตรงมามากกว่า 10 ปี

 

ทางด้าน มุสตาฟา ฮาดิ ผู้บริหารของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของบีอาร์จี เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบีอาร์จีในการเป็นผู้นำด้านการสืบสวน การบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ การจัดการข้อพิพาท และการบริหารความเสี่ยงในภูมิภาคนี้ โดยการเปิดสำนักงานใหม่ในประเทศไทย และการเสริมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูงในด้านการสืบสวนการทุจริตและนิติวิทยาศาสตร์ จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับการบริการในไทยและในภูมิภาคใกล้เคียง และสามารถตอบสนองการเพิ่มขึ้นของลูกค้าด้วยประสิทธิภาพและบริการอันหลากหลายอีกด้วย โดยการร่วมมือกับสำนักงานบีอาร์จีที่สิงคโปร์ ฮ่องกง และสำนักงานอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และการสนับสนุนจากเครือข่ายระดับนานาชาติของบีอาร์จี จะสามารถส่งเสริมให้บีอาร์จีในประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านการสืบสวนเหตุทุจริต การบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ในภูมิภาคเอเชียได้อย่างแน่นอน

 

วรพงษ์ กรรมการผู้จัดการของบีอาร์จีประเทศไทย กล่าวว่า การยกระดับธรรมาภิบาลโดยการปราบปรามและป้องกันการทุจริตในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับองค์กรในภูมิภาคนี้ และเขาพร้อมที่จะนำความรู้เชิงลึกและประสบการณ์ที่มีในภูมิภาค ผนวกกับความสามารถและประสบการณ์ระดับสากลของบีอาร์จี เพื่อสร้างบริการที่ปรึกษาชั้นนำทางด้านการสืบสวนการทุจริตและนิติวิทยาศาสตร์ ให้บีอาร์จีเป็นที่รู้จักและเป็นผู้นำด้านนี้ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค อีกทั้งมั่นใจว่าประสบการณ์ที่สั่งสมมาจะสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการปราบปรามการทุจริต บริหารความเสี่ยงและยกระดับธรรมาภิบาลขององค์กรได้

 

ไทรด์ แม็คโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานบริษัทบีอาร์จี กล่าวว่า นอกจากที่ประเทศไทย บีอาร์จีเพิ่งเปิดสำนักงานใหม่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม และกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปีที่แล้ว และยังมีแผนที่จะเปิดสำนักงานใหม่นอกสหรัฐอเมริกาเพิ่มเติมอีกในเร็วๆ นี้ 

 

“เชื่อมั่นว่าสำนักงานและทีมงานในกรุงเทพฯ พร้อมด้วยเครือข่ายระดับสากลของบีอาร์จี จะสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพในการให้บริการที่หลากหลายด้าน การจัดการข้อพิพาท และการสืบสวนได้อย่างแน่นอน” 

 

ภาพ: Tim Grist Photography / Getty Images

The post บีอาร์จี บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก บุกสำนักงานในไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงและป้องกันการทุจริตขององค์กร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภัยไซเบอร์ไทยพุ่ง 37% ใน 6 เดือน มิจฉาชีพนิยมใช้ความกลัวและความโลภล่อลวงเหยื่อ https://thestandard.co/thai-cyber-threats-soar/ Thu, 04 Jul 2024 12:14:14 +0000 https://thestandard.co/?p=954176

เมื่อกลางเดือนเมษายน ผู้เสียหายรายหนึ่งเข้าแจ้งความคดีท […]

The post ภัยไซเบอร์ไทยพุ่ง 37% ใน 6 เดือน มิจฉาชีพนิยมใช้ความกลัวและความโลภล่อลวงเหยื่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อกลางเดือนเมษายน ผู้เสียหายรายหนึ่งเข้าแจ้งความคดีที่ตกเป็นเหยื่อการฉ้อโกงของกลุ่มโจรที่สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ กุเรื่องขึ้นมาหลอกให้กลัวว่าเหยื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน และกดดันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ จนนำมาสู่ความเสียหายราว 5 ล้านบาท

 

เรื่องนี้เป็นเพียงหนึ่งในเหตุการณ์ความเสียหายจากอีกหลายกรณี ที่ชี้ให้เห็นถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ในสังคมไทยที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และหลายคนอาจยังไม่พร้อมรับมือ

 

ตัวเลขล่าสุดของเวทีเสวนาเตือนภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ ‘อนาคตภัยไซเบอร์กับอนาคตการป้องปราบ’ จัดโดยบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เผยว่า จำนวนคดีการถูกหลอกลวงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2566 มีเคสที่ถูกรายงานประมาณ 4 แสนเคส แต่ขยับมาดูข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม หรือ 6 เดือนต่อมา มียอดรายงานพุ่งสูงขึ้นมาเกือบ 5.5 แสนราย หรือเพิ่มขึ้น 37%

 

สำหรับเหตุผลที่เป็นต้นตอทำให้เหยื่อถูกหลอกก็คือ การโดนหลอกให้ลงทุน 36% มาเป็นสาเหตุอันดับแรก ตามด้วยหลอกโอนเงิน 28% เช่น เพื่อแลกกับการซื้อของราคาถูกหรือเพื่อรับของรางวัลอะไรบางอย่าง ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ก็มีแนวโน้มเกิดขึ้นได้สูงเมื่อเหยื่อมีความโลภหรือรู้ไม่เท่าทันกลลวงของเหล่ามิจฉาชีพ

 

“ภัยไซเบอร์มีความใกล้ตัวและลุกลามเข้าถึงกลุ่มเปราะบางมากขึ้น โดยโจรจะใช้ความหวาดกลัวเพื่อล่อลวง ซึ่งรูปแบบของการล่อลวงที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบันคือ การพยายามโน้มน้าวให้เหยื่อบอกข้อมูลส่วนตัวกับโจร หรือที่ Social Engineering และอีกรูปแบบหนึ่งคือ การควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล (Remote Control) ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงระบบ iOS ได้เช่นเดียวกับ Android แล้ว และกลุ่มผู้สูงอายุมักจะเป็นกลุ่มที่มิจฉาชีพพุ่งเป้าไปหลอกโดยใช้วิธี Remote Control” ไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าว

 

ตัวอย่างของเทคนิค Social Engineering ที่พบมากที่สุดในปัจจุบันคือ

 

1. Phishing: การส่งอีเมลปลอมเพื่อหลอกให้ผู้รับกดลิงก์ ใช้เทคนิคหลอกลวงเหยื่อเพื่อขอข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน เลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลสำคัญต่างๆ ซึ่งเป้าหมายของการโจมตีด้วย Phishing ก็เพื่อให้โจรสามารถนำไปต่อยอด เช่น เข้าถึงบัญชีธนาคารและอนุมัติธุรกรรมได้

 

วิธีป้องกันเบื้องต้นคือ ตรวจสอบ URL หรือที่มาของข้อความนั้นๆ อยู่เสมอ และไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวผ่านทางอีเมลหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการตรวจสอบชื่อของแหล่งที่มาให้ดีก่อน

 

2. Vishing: หนึ่งในเทคนิคการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้เสียงในการสื่อสาร โดยมักจะติดต่อผ่านโทรศัพท์เพื่อหลอกลวงผู้ใช้ให้ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลบัญชีที่สำคัญ เช่น หมายเลขบัตรเครดิต, รหัส OTP หรือข้อมูลอื่นๆ ฯลฯ ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีคือแก๊งคอลเซนเตอร์ ซึ่งนำไปสู่การถูก Remote Access ได้

 

วิธีป้องกันตัวในกลลวงแนวนี้คือ การยังไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวที่เราโดนขอ แต่ให้ขอชื่อกับเบอร์ติดต่อกลับ แต่ให้โทรกลับไปยังเบอร์ทางการของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อเช็กความถูกต้อง

 

3. Smishing: การใช้ข้อความ SMS (Short Message Service) เพื่อหลอกลวงเหยื่อให้ข้อมูลส่วนตัวจากการคลิกลิงก์ ซึ่งอาจสร้างความเสี่ยงด้านความปลอดภัย โดยใช้เรื่องเร่งด่วนเป็นข้ออ้างเพื่อกระตุ้นเหยื่อ เช่น ข้อความสวมรอยเป็นธนาคาร อ้างว่าบัญชีถูกล็อกและให้คลิกลิงก์ยืนยันตัวตน หรืออ้างเป็นหน่วยงานราชการว่ามีภาษีคืน ให้ดำเนินการกรอกข้อมูลเพื่อรับเงิน 

 

วิธีป้องกันในขั้นแรกคือ ควรระวังไม่คลิกลิงก์ที่ดูไม่น่าเชื่อถือ ปัจจุบันธนาคารไม่มีนโยบายแนบลิงก์ผ่าน SMS หรือส่ง SMS ที่มีเนื้อหาให้กดแลกคะแนนด่วนเพื่อแลกของรางวัล 

 

ด้าน นพรัตน์ สุริยา ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายป้องกันทุจริตบัตรเครดิตและร้านค้า บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า ทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพด้วยการตั้งข้อสังเกต 4 ข้อ ดังนี้

 

  1. หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันของบริษัทหรือหน่วยงานใดๆ ให้ติดตั้งเองผ่านแหล่งที่เป็นทางการ (Official Store) เท่านั้น ห้ามกดผ่านลิงก์เด็ดขาด เพราะในปัจจุบันแอปพลิเคชันปลอมออกแบบมาได้เหมือนจริงมาก

 

  1. หากมีเจ้าหน้าที่ติดต่อมาให้กดลิงก์ดาวน์โหลดหรือติดตั้งแอปพลิเคชัน และแจ้งว่าต้องทำตามขั้นตอน หรือแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการฟอกเงินใดๆ ให้สงสัยว่าเป็นมิจฉาชีพ รวมถึงให้ติดต่อกลับไปยังหน่วยงานต้นสังกัดที่ติดต่อมาจากเบอร์โทรศัพท์หน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อตรวจสอบและยืนยัน

 

  1. หากผิดสังเกตว่าถูกรีโมตหรือมีการลงแอปที่ต้องสงสัย ให้ตัดการเชื่อมต่อ พยายามปิดแอป (Force Shutdown) และดำเนินการล้างเครื่องทันที (Factory Reset) เนื่องจากมีมัลแวร์ (Malware) แฝงอยู่ในเครื่อง ซึ่งกลุ่มโจรจะยังสามารถรีโมตต่อเมื่อไรก็ได้ แต่ทาง พล.อ.ต. จเด็ด คูหะก้องกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ให้คำแนะนำอีกทางว่า เราควรมีที่จิ้มเปลี่ยนซิมติดตัวไว้ เพราะหากโดนรีโมต เราก็สามารถเอาซิมออกเพื่อยุติการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

 

  1. การตั้งรหัสแอปพลิเคชันของธนาคารต่างๆ ควรตั้งค่าให้แตกต่างกันและแยกจากแอปประเภทอื่น โดยหลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากหรือต้องจำเยอะ แต่มันก็ให้ความปลอดภัยที่ดีกว่า

 

พล.อ.ต. จเด็ด คูหะก้องกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวกับสื่อมวลชนถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของภัยไซเบอร์สมัยนี้ และการที่ข้อมูลส่วนตัวของเราอาจจะไม่เป็นส่วนตัวอีกต่อไปและมีการรั่วไหลไปแล้ว ฉะนั้นสิ่งที่ทำได้คือ เราต้องสงสัยและตรวจสอบให้ดี ก่อนที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวของเราไปกับคนอื่นโดยที่ยังไม่ตรวจสอบให้ดี

 

อย่าให้ความโลภและความกลัวเข้ามาเป็นปัจจัยกำหนดการตัดสินใจของเรา เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นภัยไซเบอร์ก็อาจทำให้เราเสียหายได้

 

ภาพ: Jaap Arriens / NurPhoto via Getty Images

The post ภัยไซเบอร์ไทยพุ่ง 37% ใน 6 เดือน มิจฉาชีพนิยมใช้ความกลัวและความโลภล่อลวงเหยื่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐามอบนโยบาย บช.สอท. ย้ำไม่มีใครใหญ่กว่าประชาชน ขีดเส้น 30 วันจับตัวการใหญ่อาชญากรรมไซเบอร์ให้ได้ https://thestandard.co/srettha-cyber-crime-crackdown/ Mon, 01 Apr 2024 09:43:38 +0000 https://thestandard.co/?p=917895 เศรษฐา มอบนโยบาย บช.สอท.

วันนี้ (1 เมษายน) ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญาก […]

The post เศรษฐามอบนโยบาย บช.สอท. ย้ำไม่มีใครใหญ่กว่าประชาชน ขีดเส้น 30 วันจับตัวการใหญ่อาชญากรรมไซเบอร์ให้ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐา มอบนโยบาย บช.สอท.

วันนี้ (1 เมษายน) ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) จังหวัดนนทบุรี เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับข้าราชการตำรวจและเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  

 

โดยมี พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.ท. วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) มารอต้อนรับ 

 

นายกฯ กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า ตนคิดว่าถึงเวลาที่ตนจะต้องมาที่นี่ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ดีอยู่แล้วว่า บช.สอท. ถูกสังคมเพ่งเล็งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการย้ายข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) สองท่าน เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมเดินไปได้อย่างถูกต้อง จะต้องไม่มีการก้าวก่ายและก้าวล่วง และให้ความเป็นธรรมกับท่านทั้งสองด้วยเหมือนกัน 

 

ตนเชื่อว่าทุกท่านที่อยู่ในที่นี้ โดยเฉพาะรักษาการ ผบ.ตร. รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องจัดการให้หมดสิ้นไป หากอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังข่าวสารมา บอกว่าท่านผู้บัญชาการคนนั้นเป็นเด็กคนนั้นคนนี้ ตนว่ามันไม่แฟร์สำหรับท่านทั้งสองคน แต่ไม่มีอะไรตอบสังคมได้ดีกว่าการปฏิบัติของพวกท่านทุกคนและหน่วยงานต่างๆ 

 

เศรษฐากล่าวอีกว่า งานที่ดูแลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหวยออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เว็บพนัน และเฟกนิวส์ทั้งหลาย เชื่อว่ากระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ซึ่งเราทุกคนในที่นี้ต้องมีความรับผิดชอบให้พี่น้องประชาชนอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ได้รับความเป็นธรรมในการคุ้มครอง 

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีไปไกลมาก และการที่พี่น้องประชาชนถูกมอมเมา ถูกหลอกลวง ถูกต้มตุ๋น บางคนเก็บเงินมาทั้งชีวิตถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกไปหมดเลย บางคนเก็บเงินไว้รักษาพ่อแม่และเก็บเงินไว้ส่งลูกเรียนต่อ หรือส่งลูกเรียนต่อปริญญาโทที่เมืองนอก นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาของการที่เขาถูกหลอกลวง แต่เป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศด้วย 

 

นายกฯ กล่าวต่อว่า เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดเล่นๆ กัน หรือมาสร้างภาพ แต่มาเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยในระยะเวลาอันใกล้ เราไม่มีเวลาแล้ว เรื่องการโยกย้ายต่างๆ ผ่านไปแล้ว เรื่องกระบวนการยุติธรรมเราได้ทำไปแล้ว ซึ่งผู้สื่อข่าวถามตลอดเวลาว่าได้ทำอะไรต่อหรือไม่ มีการปฏิรูป มีการพัฒนาอย่างไรต่อไป ตนคิดว่าสิ่งที่ถามเป็นเรื่องวาทกรรม วันนี้ทำให้เกิดเป็นรูปธรรมดีกว่า อย่าได้สนใจใครจะเป็นใครอะไรอย่างไร เชื่อว่าไม่มีใครใหญ่กว่าพี่น้องประชาชน 

 

“ผมต้องการการทำงานโดยเร็ว และไม่ใช่รายเล็ก ผมต้องการรายใหญ่ เชื่อว่าทุกท่านที่นั่งอยู่ตรงนี้รู้อยู่แล้ว ในหน่วยงานของท่านใครที่ทำผิดกฎหมายอยู่บ้าง ใครที่พวกท่านสามารถไปตามจับสืบมาได้ ส่วนเรื่องคดีความของทั้งสองท่านที่ถูกย้าย เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมเดิมไปตามหน้าที่ เราต้องให้ความเป็นธรรมทั้งสองท่าน ต่อไปเราต้องเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ไม่เช่นนั้นจะตอบสังคมไม่ได้” เศรษฐากล่าว

 

เศรษฐากล่าวด้วยว่า จะไม่ปกป้อง จะไม่นิ่งเฉย หากไม่มีผลงานเกิดขึ้นมีปัญหาแน่นอน เราอยู่พวกเดียวกัน ฝ่ายเดียวกัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงนักการเมืองหรืออะไรก็ตามจะมาครอบงำ วันนี้เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ผลงานของเราจะเป็นที่ประจักษ์ ขอเป็นนิมิตใหม่อันดีและเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของการที่เราเข้ามาดูแลพี่น้องประชาชน ภายใน 30 วันนี้ชัดเจนว่าจะจับอะไรให้ได้ 

 

ทั้งนี้ หน่วยงานจะต้องทำงานกันอย่างชัดเจนและใกล้ชิด เพราะเทคโนโลยีไปไกลมาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมที่จะทำงานร่วมกัน ตนจะเจอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในวันที่ 2 เมษายนนี้ จะกำชับอย่างเด็ดขาดว่าต้องทำงานร่วมกัน อย่ามีการโยนความผิดซึ่งกันและกัน อย่าบอกว่าคนนี้ไม่ให้ความร่วมมือ พวกท่านเองก็ต้องให้ความสำคัญ ไม่ใช่ให้คนผิดลอยอยู่ได้ และยังทำทุกอย่างผิดๆ อยู่ 

 

เศรษฐากล่าวอีกว่า ตนอยากได้เหตุผลว่าทำไมถึงจับไม่ได้ มันต้องจับให้ได้ เพื่อพี่น้องประชาชนจะได้อยู่อย่างมีความสุข อย่าให้ประชาชนถูกซ้ำเติมโดยเฉพาะการถูกหลอกลวงเงิน ต้องขจัดปัญหานี้ออกไปให้หมดจากสังคมไทย ผมยืนยันเรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียส ยืนยัน 30 วันต้องชัดเจน

 

‘ผบช.สอท.’ ลั่น พร้อมพิจารณาตนเองหากไม่มีผลงาน

 

ด้าน พล.ต.ท. วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างสองนายตำรวจที่ผ่านมานั้นให้ถือเป็นเรื่องในอดีตที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมแล้ว ส่วนกรณีที่ตนเองถูกกล่าวหาว่าเป็นเด็กของใครนั้น นายกรัฐมนตรีก็รู้สึกสงสาร จึงอยากให้พิสูจน์ตนเองด้วยการทำงาน โดยนำประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง 

 

พล.ต.ท. วรวัฒน์ กล่าวอีกว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีได้กำชับมาแล้วก็จะต้องปฏิบัติให้เต็มที่ โดยมีผลงานเป็นรูปธรรมเต็มที่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการมาโดยตลอด ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีได้ระบุว่าต้องดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 30 วันนั้น เนื่องจากได้เห็นปัญหาความขัดแย้งในช่วงที่ผ่านมาว่าเป็นต้นเหตุ จึงได้มีการกำชับการปฏิบัติให้มีความเข้มมากขึ้น หากไม่สามารถปฏิบัติได้ก็จะต้องพิจารณาตัวเองว่าเราทำไม่ได้

The post เศรษฐามอบนโยบาย บช.สอท. ย้ำไม่มีใครใหญ่กว่าประชาชน ขีดเส้น 30 วันจับตัวการใหญ่อาชญากรรมไซเบอร์ให้ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>