อาจินต์ ปัญจพรรค์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 17 Nov 2021 13:43:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘นินทาท่านผู้นำ’ ถอดบทเรียนภาวะผู้นำจากตัวละครในโลกบันเทิง https://thestandard.co/gossip-leader/ Wed, 28 Apr 2021 13:30:33 +0000 https://thestandard.co/?p=481490 นินทาท่านผู้นำ

‘ภาวะผู้นำ’ ที่ยอดเยี่ยม คือสิ่งที่ประชาชนโหยหาเรียกร้อ […]

The post ‘นินทาท่านผู้นำ’ ถอดบทเรียนภาวะผู้นำจากตัวละครในโลกบันเทิง appeared first on THE STANDARD.

]]>
นินทาท่านผู้นำ

‘ภาวะผู้นำ’ ที่ยอดเยี่ยม คือสิ่งที่ประชาชนโหยหาเรียกร้องในทุกวิกฤตสำคัญของชีวิตและสังคม เช่นเดียวกับการระบาดของเชื้อโควิด-19 รอบล่าสุดที่ประชาชนกำลังต้องการผู้นำรัฐที่จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นและสร้างศรัทธาให้ได้ ว่าแต่ ‘ภาวะผู้นำที่ดี’ นั้นเป็นเช่นใดกันเล่า THE STANDARD POP ถือโอกาสนี้พาไปดูตัวละครในภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน ฯลฯ นินทาผู้นำของพวกเขา เพื่อที่เราจะได้ถอดบทเรียนพร้อมๆ กับสื่อสารไปถึงท่านผู้นำในชีวิตจริง เผื่อว่าท่านจะได้เรียนรู้และแก้ไขตัวเองได้บ้างในช่วงเวลาสำคัญของชาติเช่นตอนนี้ 

 

 

เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง คือสถานที่ที่อาจินต์ต้องจากบ้านมาใช้แรงกาย เผชิญกับความยากลำบาก ได้สัมผัสกับความเหงา ความว้าเหว่ การสูญเสีย และสำคัญที่สุดคือการได้เรียนรู้คุณค่าของชีวิต รวมไปถึงมิตรภาพ ที่เด็กหนุ่มวัยเริ่มต้นชีวิตอย่างเขาไม่เคยประสบมาก่อน จวบจนเมื่อใช้ชีวิตดำเนินจากปีที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย อาจินต์ได้ค้นพบว่ามันคือ 4 ปีที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ซึ่งไม่มีทางหาได้จากรั้วมหาวิทยาลัยไหน

‘เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง’ ไม่มีใบปริญญามอบให้ มีแต่เกียรติยศและความภาคภูมิใจส่วนตัวมอบไว้ให้เมื่อหันหลังจากมา… 

 

อาจินต์เรียนรู้ถึงภาวะผู้นำจาก มหา’ลัย เหมืองแร่ ภาพยนตร์แนวดราม่า-คัมมิ่งออฟเอจ จิระ มะลิกุล รับหน้าที่ทั้งเขียนบทและกำกับภาพยนตร์ ดัดแปลงจากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด เหมืองแร่ ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนระดับบรมครูของวงการวรรณกรรมไทย ที่ได้บรรยายผ่านตัวอักษรถึงนายฝรั่ง ผู้ที่เปรียบเสมือนอธิการบดีแห่ง มหา’ลัย เหมืองแร่ เอาไว้ในว่า

 

“ในมโนภาพ ข้าพเจ้าเห็นแกเสมอ…แกชื่อมิสเตอร์แซม เป็นฝรั่งเหมืองแร่คนเดียวในโลกที่นุ่งกางเกงขายาวทำงาน ล่ำใหญ่ สูง 6 ฟุต ใส่เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว กางเกงผ้าเนื้อหนักสีเทา รองเท้าโลตัสสีน้ำตาลแข็งแรงบึ้กบั้กราวกับกระดาน สวมหมวกทหารออสเตรเลียคร่ำคร่าปีกกว้างหยิบร่องตรงกลาง 

 

“แกเป็นเทพบุตรแห่งการทำงาน ครั้งหนึ่งเรือขุดของเราเสียหายอย่างหนัก นายฝรั่งอยู่คุมงานเป็นเวลาถึง 72 ชั่วโมงเต็ม ไม่หลับนอน ในมโนภาพ ข้าพเจ้ายังจำแววตาใจดีและการเป็นผู้ให้ของแกได้ นายฝรั่งของข้าพเจ้าเป็นนักให้อย่างสุรุ่ยสุร่าย ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นใครใจกว้างอย่างอินฟินิตีเช่นนี้ แกเป็นแบบฉบับชีวิตอันวิเศษที่ข้าพเจ้ายึดถือไว้ ความอดทน ความสุขุม ความเฉลียวฉลาด ความรักสนุก ความใจดี แกเป็นฮีโร่ของข้าพเจ้า แกจะตายไปพร้อมชีวิตของข้าพเจ้า แม้ว่าแกจะแก่กว่าข้าพเจ้า 30 ปี และจะตายก่อนข้าพเจ้าก็ตาม”

 

 

“กิน อย่าอาย 

ตาย อย่ากลัว 

อยาก ช่างหัว 

ตาย ปลด!” 

 

พี่จอน ผู้เปรียบเสมือน ‘คณบดี’ คณะอู่เรือขุดแห่ง มหา’ลัย เหมืองแร่ พูดพลางตบที่บ่าของอาจินต์อย่างมิตรไมตรี เพื่อต้อนรับสู่สถาบันการศึกษาแห่งชีวิตที่เขานำพาชีวิตเดินทางข้ามฟากจากเมืองหลวง ไปสิ้นสุดที่ ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มันคืออีกโลกหนึ่งที่เขาไม่คุ้นเคย เพื่อเริ่มต้นลงทะเบียนเรียนรู้ ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ มหา’ลัยแห่งชีวิตที่เขาต้องเรียนรู้ชีวิตจริงด้วยตัวเองผ่านการทำงาน


“มหา’ลัย สอนความรักชาติ เหมืองแร่สอนการรักชีวิต จากวันนั้นเหมืองแร่ได้กลายเป็นโลกที่ผมภูมิใจ” 

 

อีกหนึ่งบทเรียนถึงภาวะผู้นำจาก มหา’ลัย เหมืองแร่ ภาพยนตร์แนวดราม่า-คัมมิ่งออฟเอจ ฝีมือการเขียนบทและกำกับโดย จิระ มะลิกุล 

 

 

หนึ่งในประโยคประทับใจที่สุดของซีรีส์ Game of Thrones ซีซัน 7 เมื่อ ลอร์ดวาริสตอบข้อสงสัยในวันที่ตัดสินใจสวามิภักดิ์ แดเนริส ทาร์แกเรียน แม่มังกรผู้แสนอ่อนโยน ที่เขาเชื่อว่านี่คือราชินีที่จะทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นได้จริงๆ 

 

ลอร์ดวาริส หรือ เจ้าแห่งเสียงกระซิบ คือหนึ่งในตัวละครที่มีเล่ห์เหลี่ยมมากที่สุดในเรื่อง และถ้าดูเผินๆ ลอร์ดวาริสคือนักการเมืองที่พร้อมหักหลังและเปลี่ยนฝั่งได้ตลอดเวลา โดยไม่สนใจข้อครหาที่หลายคนมองว่าเขาคือคนทรยศจอมปลิ้นปล้อน 

 

หากแต่ลูกเล่นและไหวพริบแพรวพราวชนิดที่ต่อกรกับ ลิตเติลฟิงเกอร์ และ ทีเรียน แลนนิสเตอร์ ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ลอร์ดวาริสได้เก็บซ่อน ‘ความภักดี’ เอาไว้ชนิดที่น้อยคนจะรู้ 

 

นั่นคือความภักดีที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่ขึ้นอยู่กับกษัตริย์หรือราชินีองค์ใด หากแต่ซื่อสัตย์และภักดีกับประชาชนผู้เดือดร้อน เขายินยอมให้มือเปื้อนเลือด พร้อมทำเรื่องสกปรก เพียงเพื่อแผนการณ์ใหญ่ให้ประชาชนที่เขารับใช้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 


เขาเก็บความรู้สึกเหล่านั้นไว้เนิ่นนาน และดำเนินแผนการอย่างเงียบเชียบ กระทั่งได้เปิดใจคุยกับ ทีเรียน แลนนิสเตอร์ ในช่วงเวลาที่ทั้งคู่เริ่มตั้งคำถามกับแผนการบุกพิชิตเซอร์ซี ด้วยความเหี้ยมโหดที่อาจทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องเสียชีวิต จากแม่มังกรที่เคยอ่อนโยนใน Game of Thrones ซีซัน 8 EP.4 และย้ำแนวคิดของเขาขึ้นมาอีกครั้งว่า

 

“ท่านรู้ว่าข้าภักดีต่อผู้ใด ท่านรู้ว่าข้าไม่มีทางทรยศอาณาจักรนี้ คนนับล้านจะตายหากเลือกคนครองบัลลังก์ผิด เราไม่รู้จักชื่อเขาก็จริง แต่พวกเขาก็มีตัวตนเช่นเดียวกับข้าและท่าน พวกเขาควรจะได้มีชีวิต พวกเขาควรจะมีอาหารเลี้ยงดูลูก ข้าจะทำเพื่อประโยชน์ของพวกเขา ไม่ว่าตัวข้าเองจะต้องสละสิ่งใด”

 

นี่อาจจะเป็นคำพูดที่ ‘จริงใจ’ ที่สุดที่เคยออกจากปากคนเจ้าเล่ห์อย่างลอร์ดวาริส 

 

เขาจริงใจถึงขนาดเป็นคนเดียวที่ทำตามคำสาบานที่ว่า จะมองตาของแม่มังกรแล้วพูดความจริงหากเธอเริ่มเดินบนเส้นทางที่ผิดพลาด ถึงแม้จะรู้ว่าเขาอาจต้องรับผิดชอบต่อความซื่อสัตย์ครั้งนั้นด้วยชีวิต 

 

และเมื่อทำหน้าที่โน้มน้าวราชินีที่ถูกความแค้นครอบงำไม่สำเร็จ เขาก็ตัดสินใจทำในสิ่งที่รู้ว่าจะต้องถูกตราหน้าและต้องเอาชีวิตเข้าเสี่ยงยิ่งกว่าครั้งใด ด้วยการ ‘ทรยศ’ และหันไปสนับสนุน จอน สโนว์ หรือ เอกอน ทาร์แกเรียน ที่เขาคิดว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมในการเป็นผู้นำมากที่สุดในเวลานี้แทน 

 

ถึงแม้สุดท้าย จอน สโนว์ ผู้นำที่ลอร์ดวาริสคิดว่าเหมาะสมจะไม่ยอมรับการทรยศอันแสนภักดีที่เขามอบให้ สิ่งที่ลอร์ดวาริสทำก็มีเพียงแค่ก้มหน้ายอมรับชะตากรรมอย่างเงียบสงบ ไม่ต่างจากเสียงกระซิบที่ก่อร่างสร้างตัวเขามาจนถึงทุกวันนี้ 

 

ณ วินาทีที่ยืนจ้องตากับมัจจุราช น้ำตาที่คลอออกมาเต็มสองตา อาจไม่ได้บ่งบอกว่าเขากำลังเสียดายชีวิต หากแต่เสียใจที่ไม่อาจอยู่ถึงวันที่ความ ‘ภักดี’ ต่ออาณาจักรของเขาผลิดอกออกผล และนำชีวิตที่เป็นสุขคืนให้กับประชาชนที่เขาไม่รู้จักชื่อได้เท่านั้นเอง

 

ไม่แน่ว่าสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในเวลานี้ อาจไม่ใช่ผู้นำที่ไม่มีใครเลือกเข้ามา แถมยังชอบบอกว่าตัวเองเป็นคนดี ซื่อสัตย์ และจงรักภักดียิ่งกว่าใคร

 

แต่เป็นใครสักคนหนึ่ง (หรือหลายคน) ที่แม้จะเสี่ยงอันตรายแต่ก็กล้าที่ออกปากเตือนเมื่อเห็นความผิดปกติและไม่ยุติธรรม และทำทุกอย่างเพื่อปกป้องและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ ‘ประชาชน’ ให้ดีขึ้น ในฐานะคนที่ข้าราชการ นักการเมือง และเหล่าผู้มีอำนาจ ควรจะมอบความ ‘ภักดี’ ให้อย่างแท้จริง 

 

 

ท่ามกลางสงครามโลกนินจาครั้งที่ 4 นารูโตะ และ คิลเลอร์บี สองพลังสถิตร่างที่กำลังออกเดินทางไปร่วมสมทบกับเพื่อนๆ ได้เผชิญหน้ากับ นางาโตะ อดีตผู้นำกลุ่มแสงอุษา และ อิทาจิ ที่ถูกชุบชีวิตขึ้นมาจากวิชาสัมภเวสีคืนชีพอย่างกะทันหัน

 

หลังจากที่การต่อสู้จบลง อิทาจิยอมรับความแข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้นของนารูโตะ แต่ก็เป็นห่วงเมื่อเห็นนารูโตะพยายามใช้ความแข็งแกร่งนั้นเพื่อปกป้องหมู่บ้านเพียงลำพัง เพราะเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ต้องทำให้ได้ หากยังมีความฝันเป็นโฮคาเงะ ผู้นำแห่งหมู่บ้านนินจาโคโนฮะ


ก่อนจากกัน อิทาจิได้ฝากบทเรียนสุดท้ายเพื่อเตือนสติถึงความหมายที่แท้จริงของการเป็น ‘โฮคาเงะ’ ให้กับนินจารุ่นน้องที่ยังอ่อนเดียงสาว่า

 

“ไม่ใช่ว่าการได้เป็นโฮคาเงะจะทำให้ทุกคนในหมู่บ้านยอมรับในตัวนาย แต่คนที่ได้รับการยอมรับจากคนในหมู่บ้านต่างหากคือคนที่เป็นโฮคาเงะ ดังนั้นจงอย่าได้ลืมพวกพ้องของตัวเอง”

 

ตลอดเส้นทางสู่การเป็นโฮคาเงะที่ทุกคนยอมรับของนารูโตะ เขาหมั่นฝึกฝน พัฒนาตัวเองอย่างหนัก เสียสละเสี่ยงชีวิตออกไปต่อสู้เพื่อหวังจะได้เป็นโฮคาเงะตามที่ฝัน และคิดว่าเมื่อนั้นทุกคนในหมู่บ้านจึงจะยอมรับในตัวเขา

 

แต่นารูโตะลืมไปว่าเขาไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง เขาได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ พวกพ้อง และคนในหมู่บ้านตั้งแต่วันที่เขายังถูกมองว่าเป็น ‘ปีศาจ’ จนสามารถควบคุมพลังของจิ้งจอกเก้าหางได้สำเร็จ และกลายเป็นหนึ่งในนินจาชั้นนำที่ทุกคนยอมรับในความสามารถและ ‘ตัวตน’ ของเขาจริงๆ

 

เพราะ ‘ผู้นำ’ ที่แท้จริงหมายถึงคนที่ได้รับความเชื่อใจ ได้รับการยอมรับจากผู้คนให้ช่วยทำหน้าที่สำคัญในการเป็นแนวหน้า เป็นศูนย์กลางที่เชื่อมทุกคนเป็นหนึ่งเพื่อ ‘ปกป้อง’ ความสงบสุขของหมู่บ้านร่วมกัน

 


ในฐานะโปรดิวเซอร์ของกองถ่ายละคร โตเกียว (รับบทโดย มายด์-ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล) ต้องรับมือกับผู้กำกับขาวีนอย่าง เกี้ยว (รับบทโดย กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง) ตลอดระยะเวลาที่ทำงานร่วมกันเธอทั้งสองคนมีปากมีเสียงกันเสมอในเรื่องการทำงาน เพราะผู้กำกับเบอร์ใหญ่ที่ฮอร์โมนกำลังเปลี่ยนจากการตั้งท้อง เดี๋ยวก็ยกกอง เดี๋ยวก็ถ่ายเลต เดี๋ยวก็เปลี่ยนซีนจนงบกองบานปลาย โตเกียวเกิดทนไม่ไหวขึ้นมา เธอจึงเปิดฉากฟาดผู้กำกับคนเก่งแบบตรงไปตรงมาหลังแจกันใบละ 80,000 แตกกลางกองถ่าย!

 

ซีนนี้นับเป็นซีนหนึ่งที่น่าจดจำของละครเรื่อง อุ้มรักเกมลวง ที่ทำให้เราได้เห็นภาวะของความเป็น ‘ผู้นำ’ ในตัวเกี้ยวที่พร้อมปกป้องลูกน้องของตนเอง รับผิดชอบแทนทีมในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

แต่สิ่งที่โตเกียวกำลังสื่อสารนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะโตเกียวเองก็ไม่ได้ถูกยอมรับในฐานะคนทำงานคนหนึ่งในทีมเช่นกัน ทั้งยังต้องคอยรับผิดชอบความผิดพลาดแทนอีกด้วย บทสนทนาฟาดๆ นี้จึงเกิดขึ้นซึ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายได้กลับไปทบทวนตัวเองอย่างจริงจังในเรื่องการทำงานร่วมกัน

 

 

คำพูดอันแสนเจ็บปวดของนักรบผู้มีหัวใจรักอาณาจักรดรัมยิ่งกว่าใคร ใช้กำลังและความสามารถปกป้องประชาชนและราชวงศ์แห่งเมืองหิมะด้วยความจงรักภักดีมาตั้งแต่กษัตริย์รุ่นก่อน

 

แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนผ่าน อำนาจปกครองอาณาจักรตกเป็นของ วาโปลู กษัตริย์องค์ต่อมาที่ปกครองแบบยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง ไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งโลกใบนี้จะเป็นอย่างไร ขอแค่ตัวเองปลอดภัยก็พอ 

 

ครั้งหนึ่ง ณ วันประชุมผู้นำโลก วาโปลูถูกกษัตริย์เนเฟลตาลี คอบร้าแห่งอลาบาสตาต่อว่า เพราะไม่คิดให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาร่วมกัน แทนที่จะถกเถียงกันด้วยเหตุผล วาโปลูเลือกเอาความโกรธไปลงที่วีวี่ เจ้าหญิงวัยเพียง 10 ขวบแห่งอลาบาสตา และสร้างความโกรธเคืองให้กับเหล่าองครักษ์เป็นอย่างมาก

 

“ช่างเถอะ ฉันผิดเองแหละที่ไปชนเขาเข้า” 

 

วีวี่รู้ดีว่าในการประชุมเช่นนี้ ความขัดแย้งเพียงเล็กน้อยกลายเป็นชนวนให้เกิดสงครามได้ตลอดเวลา ถึงแม้ในใจจะโกรธแค้น เจ็บปวด แต่เธอคิดถึงความปลอดภัยของอาณาจักร และไปแอบร้องไห้อยู่ด้านหลังเพื่อไม่ให้ใครรู้ 

 

“เวลายิ่งผ่านไป ช่องว่างระหว่างประชาชนกับพวกเรานับวันมีแต่จะเลวร้ายลง ที่อลาบาสตา เด็กผู้หญิงอายุแค่ 10 ขวบก็คิดถึงประเทศชาติของตัวเองแล้ว”

 

ดอลตันพูดประโยคนี้ด้วยความผิดหวัง เพราะรู้สึกว่าเจ้าหญิงที่อายุแค่ 10 ขวบยังคิดถึงประชาชน และน่าเคารพมากกว่าผู้นำที่เขารับใช้เสียอีก 

 

รวมทั้งเหตุการณ์ต่อมาที่วาโปลูปกครองอาณาจักรด้วยการขับไล่หมอเก่งๆ ออกไปจากอาณาจักร เหลือเพียงหมอ 20 คนให้มาอยู่ในวัง ใช้เป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมือง ถ้าใครไม่เชื่อฟังหรือเห็นต่างก็จะหมดสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลไปทันที และใช้กลอุบายชั่วร้ายหลอกให้ด็อกเตอร์ฮิลรุก หมอกำมะลอแต่อยากช่วยเหลือประชาชนด้วยความบริสุทธิ์ใจขึ้นมาทำร้ายถึงในวัง ครั้งนั้นเป็นจุดสุดท้ายของความอดทน ดอลตันเลือกหยิบอาวุธที่เคยใช้ปกป้องลุกขึ้นมาสู้กับวาโปลูเป็นครั้งแรก ก่อนที่จะพ่ายแพ้และต้องใช้ชีวิตอยู่ในคุก

 

“ฉันมองเห็นเส้นทางที่อาณาจักรนี้จะไปถึงแล้ว มันคือการล่มสลายอย่างไรล่ะ ไม่ว่าหมอของที่นี่จะเก่งกาจแค่ไหน ไม่ว่าจะค้นคว้าวิจัยยาต่อไปให้ตายอย่างไร ก็ไม่มียาที่จะช่วยรักษาคนบ้าได้หรอก” 

 

ถ้าเป็นไปได้ เราอยากเอามือจับไหล่ แล้วพูดกับดอลตันว่า ไม่ใช่แค่เขาเท่านั้นที่ผิดหวัง เพราะถ้าเขาล่องเรือออกมาที่โลกแห่งความเป็นจริง เขาจะรู้ว่า ‘ผู้นำ’ และ ‘ผู้ใหญ่’ หลายคนที่อยู่แถวๆ นี้ก็ยังคิดถึงความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศชาติน้อยกว่าองค์หญิงอายุ 10 ขวบคนนี้เหมือนกัน

 

 

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

พิสูจน์อักษร: ชนเนตร ลอยครุฑ

The post ‘นินทาท่านผู้นำ’ ถอดบทเรียนภาวะผู้นำจากตัวละครในโลกบันเทิง appeared first on THE STANDARD.

]]>
11 ตุลาคม 2470 – วันเกิด อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ https://thestandard.co/onthisday11102470/ Fri, 11 Oct 2019 05:30:36 +0000 https://thestandard.co/?p=295179 อาจินต์ ปัญจพรรค์

วันนี้เมื่อ 92 ปีที่แล้ว คือวันเกิดของ อาจินต์ ปัญจพรรค […]

The post 11 ตุลาคม 2470 – วันเกิด อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาจินต์ ปัญจพรรค์

วันนี้เมื่อ 92 ปีที่แล้ว คือวันเกิดของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ เจ้าของผลงานอมตะที่อยู่ในใจใครหลายคนอย่างเรื่องสั้นชุด ‘เหมืองแร่’ ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ‘มหา’ลัย เหมืองแร่’ 

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2470 ศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งที่ใจอยากเรียนอักษรศาสตร์ แต่ขณะเรียนชั้นปีที่ 1 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมหาวิทยาลัยต้องปิดอย่างไม่มีกำหนด เมื่อสงครามสงบในปี 2488 อาจินต์กลับมาเรียนต่อ แต่จิตใจเขากลับอยู่นอกห้องเรียน และผันตัวมาทำงานใน ‘เหมืองแร่’ ที่จังหวัดพังงา ซึ่งประสบการณ์นี้เองที่ทำให้เกิดหนังสือชุด ‘เหมืองแร่’ ที่ถ่ายทอดชีวิตการทำงานในเหมืองระหว่างปี 2493-2496 ครบ 4 ปีเทียบเท่ากับหลักสูตรปริญญาตรี และนั่นทำให้คนไทยรู้จักนักเขียนที่ชื่อ อาจินต์ ปัญจพรรค์ 

 

อาจินต์ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในปี 2534 รวมถึงรางวัลนักเขียนศรีบูรพา ในปี 2535 และรางวัลนักเขียนอมตะ ในปี 2557 นอกจากผลงานหนังสือหลากหลายเล่มแล้ว เขายังมีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมอีกหลายเพลง เช่น สวัสดีบางกอก, เงินเงินเงิน, มาร์ชลูกหนี้ ฯลฯ 

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์ เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 92 ปี ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 แต่ผลงานของเขายังคงติดตรึงอยู่ในใจคนไทยจำนวนมาก 

 

อ้างอิง:

The post 11 ตุลาคม 2470 – วันเกิด อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
“เหมืองแร่คือความหลังที่ผมหวงแหน เพราะมันได้เอาอดีตส่วนหนึ่งของผมไปครอบครองไว้” อาจินต์ ปัญจพรรค์ บรมครูผู้ให้กำเนิด ‘เหมืองแร่’ https://thestandard.co/arjin-panjaphan-commemorate-2/ Fri, 11 Oct 2019 05:05:42 +0000 https://thestandard.co/?p=294705 อาจินต์ ปัญจพรรค์

“ผมเอาชีวิตไปหั่นไว้ในเหมืองแร่ถึง 4 ปีเต็ม เป็น 4 ปีที […]

The post “เหมืองแร่คือความหลังที่ผมหวงแหน เพราะมันได้เอาอดีตส่วนหนึ่งของผมไปครอบครองไว้” อาจินต์ ปัญจพรรค์ บรมครูผู้ให้กำเนิด ‘เหมืองแร่’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาจินต์ ปัญจพรรค์

“ผมเอาชีวิตไปหั่นไว้ในเหมืองแร่ถึง 4 ปีเต็ม เป็น 4 ปีที่คนธรรมดาจะเรียนจบมหาวิทยาลัยได้สบายๆ แต่ที่เหมืองแร่สำหรับผมแล้วมันไม่มีใบคู่มือรับรองใดๆ เลย นอกจากแผลคู่มือที่คนอื่นไม่มีทางรู้เลยว่ามันเกิดจากอะไร” 

 

ย้อนกลับไปในวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 วันที่ภาพยนตร์ มหา’ลัย เหมืองแร่ (The Tin Mine) ภาพยนตร์แนวดราม่ากรุ่นกลิ่น Coming of Age ผ่านฝีมือการกำกับและเขียนบทโดย เก้ง-จิระ มะลิกุล เข้าฉายเป็นวันแรก และวันนั้นเองที่เรื่องราววัยหนุ่มของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้ถูกนำมาเล่าใหม่ในฉบับภาพยนตร์ให้หนุ่มสาวรุ่นต่อๆ มาได้สัมผัสและซึมซาบถึงอดีตอันสมบุกสมบัน โดยดัดแปลงมาจากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด เหมืองแร่ ชื่อ ตะลุยเหมืองแร่ ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ซึ่งถูกยกย่องให้เป็น 1 ในหนังสือ 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน 

 

เนื้อหาว่าด้วยช่วงชีวิตสุดพลิกผันของอาจินต์ ปัญจพรรค์ หลังถูกรีไทร์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อนั้นเองที่อาจินต์ต้องนำพาชีวิตเดินทางไกลจากเมืองหลวง แล้วไปสิ้นสุดลงที่เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลกระโสม จังหวัดพังงา เหมืองแร่ดีบุกในยุคที่กิจการเหมืองแร่ในไทยยังฟื้นฟู เพื่อเริ่มต้นลงทะเบียนเรียนรู้ ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตที่อาจินต์ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการทำงาน 

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์ อาจินต์ ปัญจพรรค์

 

ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปีที่ข้ามผ่าน คือวิชาที่ไม่เคยมีตำราเล่มไหนบอกสอน แบบฝึกหัดที่ต้องใช้แรงกาย ลมหายใจ และหัวใจเข้าแลก สำคัญที่สุดคือการได้เรียนรู้คุณค่าของชีวิตและมิตรภาพจากเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิงไม่มีใบปริญญามอบให้ มีเพียงเกียรติยศและความภาคภูมิใจส่วนตัวมอบไว้ให้เมื่อหันหลังจากมา… 

 

ปี 2496 อาจินต์เดินทางกลับกรุงเทพฯ หลังจากใช้ชีวิตอยู่ที่เหมืองกระโสมนาน 3 ปี 11 เดือน ต่อมาในปี 2497 เขากลั่นประสบการณ์เกือบ 4 ปี ถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือผ่านเรื่องสั้นชุด เหมืองแร่ พิมพ์ในนิตยสาร ชาวกรุง ตลอด 30 ปี อาจินต์เขียนเรื่องสั้น เหมืองแร่ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสิ้น 142 ตอน ก่อนที่ในเวลาต่อมา เก้ง-จิระ มะลิกุล ซึ่งเป็นแฟนหนังสือ จะนำเรื่องราวชีวิตของอาจินต์มาถ่ายทอดอีกครั้งในรูปแบบภาพยนตร์

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2470 ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม หลังจากเรียนจบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อาจินต์เข้าเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะถูกรีไทร์ในปีที่ 2 ของการเรียน 

 

ซึ่งจุดจบจากรั้วสถาบันการศึกษานี้เองที่ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นแห่งชีวิต จุดเริ่มต้นซึ่งได้หล่อหลอมเด็กหนุ่มคนหนึ่งให้กลายเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ 

 

ในปีที่หนังเข้าฉาย อาจินต์ ปัญจพรรค์ ในวัย 77 ปี บอกเล่าเหตุผลที่เขายอมให้งานเขียนสุดรักซึ่งกลั่นออกมาจากความทรงจำวัยหนุ่มถูกนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ไว้อย่างน่าสนใจว่า

 

เหมืองแร่ เป็นหนังสืออีโมชัน มันเกิดจากมันสมองและความโฮมซิกของผม ไม่มีแอ็กชันทางการแสดง แต่เก้งเขาบอกว่ามี ผมถามเขาว่าแอ็กชันคืออะไร เขาบอกผมว่า ฝนตก 7 วัน 7 คืน แอ็กชันของมันคือถนนขาด สะพานพังต้องทำใหม่ และเรือขุดจมนั่นคือสุดยอดแอ็กชัน ทันทีที่ผมได้ฟังก็รู้สึกว่าเขาเล็งลึก ไอ้ผมมันเล็งแต่ตัวหนังสือ เขาเล็งการกระทำ เขามองอย่างนัยน์ตานักสร้างหนัง” 

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์ อาจินต์ ปัญจพรรค์

 

หลังจากถ่ายทำนานกว่า 3 เดือน โดยใช้งบประมาณการสร้างสูงถึง 70 ล้านบาท ที่สุดภาพยนตร์ มหา’ลัย เหมืองแร่ ก็เสร็จสมบูรณ์และออกฉายในเดือนพฤษภาคม 2548 

 

ผลงานที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์คืองานโปรดักชันที่ละเอียด ละเมียด สมจริง ผ่านทีมนักแสดงที่ถูกคัดเลือกมาอย่างดี โดยได้ พิชญะ วัชจิตพันธ์ นักแสดงหน้าใหม่เข้ามาสวมบทบาท อาจินต์ ปัญจพรรค์ และได้นักแสดงสมทบชั้นดีอย่าง สนธยา ชิตมณี, ดลยา หมัดชา, แอนโทนี, ฮาร์เวิร์ด โกล, นิรันต์ ซัตตาร์ ฯลฯ 

 

ในแง่ผลตอบรับด้านรายได้ แม้ว่า มหา’ลัย เหมืองแร่ จะเป็นหนังที่ล้มเหลว โดยเมื่อจบโปรแกรมฉายหนังทำรายได้เพียง 30 ล้านบาท แต่ถึงอย่างนั้นหนังกลับได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีเยี่ยม ในปีนั้น มหา’ลัย เหมืองแร่ กวาดรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 ไปได้ถึง 6 รางวัล โดยเฉพาะสาขาหลักอย่างภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม มากไปกว่านั้น แม้เวลาจะผ่านมาถึง 13 ปี แต่หนังยังคงถูกจดจำและยกย่องในฐานะภาพยนตร์ไทยชั้นเยี่ยมที่หยิบขึ้นมาดูกี่ครั้งก็ยังลึกซึ้ง กินใจอยู่เสมอ 

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์

 

ขณะเดียวกันชีวิตหลังจากเดินทางออกจาก ‘เหมืองแร่’ ที่ภาพยนตร์ไม่ได้เล่านั้นก็น่าสนใจ อาจินต์เดินทางกลับมากรุงเทพมหานครเพื่อเริ่มต้นชีวิตครั้งใหม่ โดยใช้ ‘ตัวอักษร’ เป็นตัวขับเคลื่อนชีวิต ผลงานอันโดดเด่นของเขาตลอดช่วงชีวิตคืองานเขียนนวนิยายทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาวมากมาย ซึ่งตีพิมพ์ทั้งในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โดยเฉพาะหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด เหมืองแร่ ชื่อ ตะลุยเหมืองแร่ พิมพ์ต่อเนื่องในนิตยสาร ชาวกรุง

 

นอกจากนี้อาจินต์ยังได้รับการยกย่องยอมรับในบทบาท ‘บรรณาธิการ’ โดยเขาเริ่มต้นเส้นทางนี้จากการก่อตั้งสำนักพิมพ์ของตนเองด้วยแนวคิดสุดก้าวหน้าคือ เขียนเอง พิมพ์เอง และขายเอง ในชื่อ ‘โอเลี้ยงห้าแก้ว’ อีกทั้งยังได้ร่วมก่อตั้งโรงพิมพ์อักษรไทย และสร้างนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย รายสัปดาห์ รวมถึงนิตยสารในเครือที่เกิดขึ้นตามมาอีกหลายฉบับทั้ง ฟ้าเมืองทอง, ฟ้านารี, ฟ้าอาชีพ และ ฟ้า 

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์

 

ซึ่งถ้าเปรียบว่าผลงานเหล่านั้นถือเป็น ‘ตำรา’ และโรงพิมพ์คือมหาวิทยาลัยก็คงไม่ผิด เพราะในเวลาต่อมาตัวอักษรเหล่านั้นได้ผลิตนักเขียนและบุคลากรในสายงานสร้างสรรค์ตามออกมาอีกจำนวนมาก 

 

และถึงแม้ปัจจุบัน อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนระดับบรมครู ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2534 และรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2535 จะได้ลาจากบรรณพิภพไปแล้ว วันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 

 

แต่เพราะเราเชื่อว่า ‘ชีวิตนั้นบอบบางและแสนสั้น’ ผลงานและการกระทำต่างหากที่ฝาก ‘ค่าแห่งชีวิต’ ให้ผู้คนได้จดจำ เช่นเดียวกับค่าของผลงานที่อาจินต์ได้ฝากไว้นั้นเป็นดั่ง ‘สายแร่’ ที่ทั้งสอนชีวิตและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนจวบจนวาระสุดท้ายว่า ‘ชีวิตนั้นล้มแล้วก็สามารถจะเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ’ 

 

น้อมคารวะบรมครู เนื่องในวันคล้ายวันเกิด อาจินต์ ปัญจพรรค์ 11 ตุลาคม 2470  

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์ อาจินต์ ปัญจพรรค์ อาจินต์ ปัญจพรรค์ อาจินต์ ปัญจพรรค์

 

อ้างถึงและเรียบเรียงขึ้นใหม่อีกครั้งจาก:

 

ขอบคุณภาพจาก: www.facebook.com/gdh559/

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post “เหมืองแร่คือความหลังที่ผมหวงแหน เพราะมันได้เอาอดีตส่วนหนึ่งของผมไปครอบครองไว้” อาจินต์ ปัญจพรรค์ บรมครูผู้ให้กำเนิด ‘เหมืองแร่’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ใครคือผู้ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งปี 2018? บทสรุปสุดยอดข่าวใหญ่ประจำปี https://thestandard.co/most-powerful-person-2018/ https://thestandard.co/most-powerful-person-2018/#respond Fri, 28 Dec 2018 06:17:39 +0000 https://thestandard.co/?p=172328

The post ใครคือผู้ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งปี 2018? บทสรุปสุดยอดข่าวใหญ่ประจำปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

The post ใครคือผู้ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งปี 2018? บทสรุปสุดยอดข่าวใหญ่ประจำปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/most-powerful-person-2018/feed/ 0
“ใช้เนื้อหนังเป็นกระดาษ เอาโลหิตเป็นหมึก” อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักประพันธ์ผู้รุ่งโรจน์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ https://thestandard.co/arjin-panjaphan-commemorate/ https://thestandard.co/arjin-panjaphan-commemorate/#respond Sun, 18 Nov 2018 06:34:35 +0000 https://thestandard.co/?p=149412

เรียนแฟนเพจทุกท่าน เรามีความเศร้าอย่างยิ่งที่จะแจ้งให้ท […]

The post “ใช้เนื้อหนังเป็นกระดาษ เอาโลหิตเป็นหมึก” อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักประพันธ์ผู้รุ่งโรจน์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เรียนแฟนเพจทุกท่าน เรามีความเศร้าอย่างยิ่งที่จะแจ้งให้ทราบว่า คุณลุงอาจินต์ ปัญจพรรค์ อันเป็นที่รักของเราทุกคน ถึงแก่มรณกรรมแล้วเมื่อเวลาประมาณ 17.44 น. ณ โรงพยาบาลบางไผ่ ของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 สิริรวมอายุ 91 ปี 1 เดือน 6 วัน

 

เพจอาจินต์ ปัญจพรรค์ ขอกราบลาคารวะด้วยความอาลัยอย่างที่สุด

 

ข้อความผ่านแฟนเพจของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ทางเฟซบุ๊ก

 ได้แจ้งข่าวสำคัญที่ไม่มีแฟนตัวอักษรคนใดอยากอ่านพบ เนื้อข่าวนั้นได้แจ้งว่านักเขียนระดับบรมครู อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2534 และรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2535 นั้นได้บอกลาบรรณพิภพไปแล้ว  

 

แต่ท่ามกลางความเศร้าอาลัยของแฟนอักษร สิ่งที่เราค้นพบเสมอเกี่ยวกับ ‘ความตาย’ คือชีวิตมนุษย์นั้นช่างแสนบอบบางและแสนสั้น แต่ผลงานและการกระทำต่างหากที่ฝาก ‘ค่าแห่งชีวิต’ ให้ผู้คนได้จดจำ เช่นเดียวกับค่าของผลงานที่อาจินต์ได้ฝากไว้นั้นเป็นดั่ง ‘สายแร่’ ที่ทั้งสอนชีวิตและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนจวบจนวาระสุดท้าย

 

อาจินต์ ปัญจพรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2470 ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม หลังจากเรียนจบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อาจินต์เข้าเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะถูกรีไทร์ในปีที่ 2 ของการเรียน

 

ซึ่งจุดจบจากรั้วสถาบันการศึกษานี่เองที่ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นแห่งชีวิต จุดเริ่มต้นซึ่งได้หล่อหลอมเด็กหนุ่มคนหนึ่งให้ได้กลายเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์

 

ในเวลานั้นอาจินต์ได้นำพาชีวิตล้มเหลวในมหาวิทยาลัยเดินทางไกลไปสิ้นสุดลงที่ ‘เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง’ (Krasom Tin Dredging) ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เหมืองแร่ดีบุกในยุคที่กิจการเหมืองแร่ในไทยยังเฟื่องฟู เขาทำงานเป็นช่างเขียนแบบและขยับสู่ตำแหน่งช่างทำแผนที่ หลังจากทำงานในเหมืองแร่ได้ 4 ปี อาจินต์เดินทางกลับมากรุงเทพมหานครเพื่อเริ่มต้นชีวิตครั้งใหม่โดยใช้ ‘ตัวอักษร’ เป็นตัวขับเคลื่อนชีวิต

 

ผลงานอันโดดเด่นของเขาตลอดช่วงชีวิตคืองานเขียนนวนิยายทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาวมากมาย ซึ่งลงตีพิมพ์ทั้งในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โดยเฉพาะหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด เหมืองแร่ ชื่อ ตะลุยเหมืองแร่ ซึ่งพิมพ์ต่อเนื่องในนิตยสาร ชาวกรุง ตลอด 30 ปี รวมทั้งสิ้น 142 ตอน และได้กลายเป็นงานยอดนิยมในระดับอมตะมาจนถึงปัจจุบัน

 

นอกจากนี้อาจินต์ยังได้รับการยกย่องยอมรับในบทบาท ‘บรรณาธิการ’ โดยเขาเริ่มต้นเส้นทางนี้จากการก่อตั้งสำนักพิมพ์ของตนเองด้วยแนวคิดสุดก้าวหน้าคือ เขียนเอง พิมพ์เอง และขายเอง ในชื่อ ‘โอเลี้ยงห้าแก้ว’

 

“5 บาทที่ท่านจะกินโอเลี้ยง 5 แก้ว ขอให้ข้าพเจ้าเถิด แล้วเอาหนังสือที่ใช้เนื้อหนังเป็นกระดาษ เอาโลหิตเป็นหมึกเล่มนี้ไปอ่าน ได้ความขมความหวานและเก็บไว้ได้ยั่งยืนกว่าโอเลี้ยงมากนัก” (จากหนังสือ คมอาจินต์ รวมคำคมคัดสรร 500 คมของอาจินต์ ปัญจพรรค์ จัดพิมพ์ในวาระ 50 ปี สำนักพิมพ์โอเลี้ยงห้าแก้ว)

 

จากนั้นได้ร่วมก่อตั้งโรงพิมพ์อักษรไทยและสร้างนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย รายสัปดาห์ โดยฉบับปฐมฤกษ์วางแผงออกมาในวันจักรี 6 เมษายน 2512 และสิ้นสุดการตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายในเดือนตุลาคม 2531

 

 

นิตยสารในเครือ ฟ้าเมืองไทย ถือเป็นนิตยสารที่โด่งดังอย่างมากในหมู่นักอ่านรุ่นใหม่ นอกจากสร้างรากฐานให้กับผู้อ่านตลอด 19 ปี แต่นิตยสาร ฟ้าเมืองไทย, ฟ้าเมืองทอง, ฟ้านารี, ฟ้าอาชีพ และ ฟ้า ยังได้ผลิตนักเขียนและบุคลากรในสายงานสร้างสรรค์ตามออกมาอีกจำนวนมาก

ตัวอักษรของอาจินต์นั้นไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่หน้ากระดาษ แต่เขายังสนใจในเรื่องการแต่งเนื้อเพลง โดยมีผลงานซึ่งเคยได้รับความนิยม อาทิ การแต่งคำร้องภาษาไทยของเพลงพระราชนิพนธ์ ไร้จันทร์ จากทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ No Moon ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

 

รวมถึงเพลงประกอบละคร สวัสดีบางกอก และ อย่าเกลียดบางกอก เพลงประกอบภาพยนตร์ เงิน เงิน เงิน กำกับโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ และอีกมากมาย

 

นอกจากผลงานผ่านตัวอักษร THE STANDARD POP มองว่าชีวิตและการทำงานของของอาจินต์นั้นสร้างทั้งแรงบันดาลใจและเป็น ‘บทเรียน’ ให้แก่ทุกคนที่ได้ผ่านเข้ามารู้จักกับเขาได้รู้ว่า ‘ชีวิตนั้นล้มแล้วก็สามารถจะเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ’

 

The post “ใช้เนื้อหนังเป็นกระดาษ เอาโลหิตเป็นหมึก” อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักประพันธ์ผู้รุ่งโรจน์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/arjin-panjaphan-commemorate/feed/ 0
อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เจ้าของผลงาน ‘เหมืองแร่’ เสียชีวิตแล้ววันนี้ (17 พ.ย.) https://thestandard.co/arjin-panjaphan-died/ https://thestandard.co/arjin-panjaphan-died/#respond Sat, 17 Nov 2018 16:38:02 +0000 https://thestandard.co/?p=149381

อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประเทศ […]

The post อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เจ้าของผลงาน ‘เหมืองแร่’ เสียชีวิตแล้ววันนี้ (17 พ.ย.) appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เจ้าของผลงาน ‘เหมืองแร่’ เสียชีวิตแล้ววันนี้ (17 พ.ย.) เมื่อเวลา 17.44 น. ที่โรงพยาบาลบางไผ่ ด้วยวัย 91 ปี 

THE STANDARD ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและแฟนๆ หนังสือของคุณอาจินต์มา ณ ที่นี้

ภาพ: Facebook อาจินต์ ปัญจพรรค์

The post อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เจ้าของผลงาน ‘เหมืองแร่’ เสียชีวิตแล้ววันนี้ (17 พ.ย.) appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/arjin-panjaphan-died/feed/ 0
14 ปี มหา’ลัย เหมืองแร่ “อาจินต์ เอาผมไปฆ่าให้ตาย ผมก็รักคุณ” https://thestandard.co/the-tin-mine-13-years/ https://thestandard.co/the-tin-mine-13-years/#respond Fri, 25 May 2018 08:29:34 +0000 https://thestandard.co/?p=93309

“ผมเอาชีวิตไปหั่นไว้ในเหมืองแร่ถึง 4 ปีเต็ม เป็น 4 ปีที […]

The post 14 ปี มหา’ลัย เหมืองแร่ “อาจินต์ เอาผมไปฆ่าให้ตาย ผมก็รักคุณ” appeared first on THE STANDARD.

]]>

“ผมเอาชีวิตไปหั่นไว้ในเหมืองแร่ถึง 4 ปีเต็ม เป็น 4 ปีที่คนธรรมดาจะเรียนจบมหาวิทยาลัยได้สบายๆ แต่ที่เหมืองแร่สำหรับผมแล้ว มันไม่มีใบคู่มือรับรองใดๆ เลย นอกจากแผลคู่มือ ที่คนอื่นไม่มีทางรู้เลยว่ามันเกิดจากอะไร”

 

ย้อนกลับไปในวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 หรือวันนี้เมื่อ 14 ปีที่แล้ว คือวันที่ภาพยนตร์มหา’ลัย เหมืองแร่ (The Tin mine) ภาพยนตร์แนวดราม่ากรุ่นกลิ่น ‘คัมมิง ออฟ เอจ’ ผ่านฝีมือการกำกับและเขียนบทโดย เก้ง-จิระ มะลิกุล เข้าฉายเป็นวันแรก

 

มหา’ลัย เหมืองแร่ ดัดแปลงมาจากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด เหมืองแร่ ชื่อ ตะลุยเหมืองแร่ ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ซึ่งถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในหนังสือ 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน

 

 

เนื้อหาว่าด้วยช่วงชีวิตสุดพลิกผันของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ หลังถูกรีไทร์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อนั้นเองที่อาจินต์ต้องนำพาชีวิตเดินทางไกลจากเมืองหลวง แล้วไปสิ้นสุดลงที่ ‘เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง’ อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลกระโสม จังหวัดพังงา เหมืองแร่ดีบุกในยุคที่กิจการเหมืองแร่ในไทยยังเฟื่องฟู เพื่อเริ่มต้นลงทะเบียนเรียนรู้ ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตที่อาจินต์ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการทำงาน

 

 

ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปีที่ข้ามผ่าน คือวิชาที่ไม่เคยมีตำราเล่มไหนบอกสอน แบบฝึกหัดที่ต้องใช้แรงกาย ลมหายใจ และหัวใจเข้าแลก สำคัญที่สุดคือการได้เรียนรู้คุณค่าของชีวิตและมิตรภาพจากเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน ‘เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง’ ไม่มีใบปริญญามอบให้ มีเพียงเกียรติยศและความภาคภูมิใจส่วนตัว มอบไว้ให้เมื่อหันหลังจากมา…

 

ปี 2496 อาจินต์เดินทางกลับกรุงเทพฯ หลังจากใช้ชีวิตอยู่ที่เหมืองกระโสมนาน 3 ปี 11 เดือน ต่อมาในปี 2497 เขากลั่นประสบการณ์เกือบ 4 ปี ถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือผ่านเรื่องสั้นชุด ‘เหมืองแร่’ พิมพ์ในนิตยสาร ‘ชาวกรุง’ ตลอด 30 ปี อาจินต์เขียนเรื่องสั้นเหมืองแร่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสิ้น 142 ตอน ก่อนที่ในเวลาต่อมา เก้ง-จิระ มะลิกุล ซึ่งเป็นแฟนหนังสือ จะนำเรื่องราวชีวิตของอาจินต์มาถ่ายทอดอีกครั้งในรูปแบบภาพยนตร์

 

ในปีที่หนังเข้าฉาย อาจินต์ ปัญจพรรค์ ในวัย 77 ปี บอกเล่าเหตุผลที่เขายอมให้งานเขียนสุดรักซึ่งกลั่นออกมาจากความทรงจำวัยหนุ่ม ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ไว้อย่างน่าสนใจว่า

 

 

: อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2534 ผู้เขียนเรื่องสั้นชุด เหมืองแร่ ชื่อ ตะลุยเหมืองแร่ ถ่ายรูปคู่กับ พิชญะ วัชจิตพันธ์ นักแสดงหน้าใหม่ผู้เข้ามารับบทบาทเป็นตัวเขาเองในภาพยนตร์

 

‘เหมืองแร่’ เป็นหนังสืออีโมชัน มันเกิดจากมันสมอง และความโฮมซิกของผม ไม่มีแอ็กชันทางการแสดง แต่นายเก้งเขาบอกว่ามี ผมถามเขาว่าแอ็กชันคืออะไร เขาบอกผมว่า ฝนตกเจ็ดวันเจ็ดคืน แอ็กชันของมันคือถนนขาด สะพานพังต้องทำใหม่ และเรือขุดจมนั่นคือสุดยอดแอ็กชัน ทันทีที่ผมได้ฟังก็รู้สึกว่าเขาเล็งลึก ไอ้ผมมันเล็งแต่ตัวหนังสือ เขาเล็งการกระทำ เขามองอย่างนัยน์ตานักสร้างหนัง”

 

“ผมเชื่อมือเขา และตั้งแต่เขาเริ่มทำงานผมไม่ไปเกี่ยวข้องกับเขา เพราะตัวหนังสือของผมเดินด้วย ก.ไก่ ข.ไข่ แต่นายเก้ง งานเขาเดินด้วยฟิล์ม มันคนละอาชีพ ผมจะไม่พูดถึงงานของเขา ผมจะคอยดูในจอเท่านั้น หน้าที่ของผมหมดแล้วตั้งแต่ตกลงขาย (ลิขสิทธิ์บทประพันธ์) ทีนี้ดีหรือไม่ดี ตัวใครตัวมัน”   

 

 

หลังจากถ่ายทำนานกว่า 3 เดือน โดยใช้งบประมาณการสร้างสูงถึง 70 ล้านบาท ในที่สุดภาพยนตร์ มหา’ลัย เหมืองแร่ ก็เสร็จสมบูรณ์และออกฉายในเดือนพฤษภาคม 2548

 

ผลงานที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ คืองานโปรดักชันที่ละเอียด ละเมียด สมจริง ผ่านทีมนักแสดงที่ถูกคัดเลือกมาอย่างดี โดยได้ พิชญะ วัชจิตพันธ์ นักแสดงหน้าใหม่เข้ามาสวมบทบาท อาจินต์ ปัญจพรรค์ และได้นักแสดงสมทบชั้นดีอย่าง สนธยา ชิตมณี, ดลยา หมัดชา, แอนโทนี โฮวาร์ด กูลด์, นิรันต์ ซัตตาร์ ฯลฯ

 

 

ในแง่ผลตอบรับด้านรายได้ แม้ว่า มหา’ลัย เหมืองแร่ จะเป็นหนังที่ล้มเหลว โดยเมื่อจบโปรแกรมฉาย หนังทำรายได้เพียง 30 ล้านบาท แต่ถึงอย่างนั้น หนังกลับได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีเยี่ยม ในปีนั้น มหา’ลัย เหมืองแร่ กวาดรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 ไปได้ถึง 6 รางวัล โดยเฉพาะสาขาหลักอย่าง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม มากไปกว่านั้นแม้เวลาจะผ่านมาถึง 14 ปี แต่หนังยังคงถูกจดจำและยกย่องในฐานะภาพยนตร์ไทยชั้นดีที่หยิบขึ้นมาดูกี่ครั้งก็ยังลึกซึ้งกินใจอยู่เสมอ

 

The post 14 ปี มหา’ลัย เหมืองแร่ “อาจินต์ เอาผมไปฆ่าให้ตาย ผมก็รักคุณ” appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/the-tin-mine-13-years/feed/ 0