อังคณา นีละไพจิตร – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 20 Jan 2025 08:06:51 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 อังคณารับหนังสือมูลนิธิศักยภาพชุมชน กังวลกรณีส่งชาวอุยกูร์ 48 คนกลับจีน เล็งเชิญหน่วยงานเข้าชี้แจง 29 ม.ค. นี้ https://thestandard.co/angkhana-letter-48-uyghurs/ Mon, 20 Jan 2025 08:06:51 +0000 https://thestandard.co/?p=1032210

วันนี้ (20 มกราคม) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สว. […]

The post อังคณารับหนังสือมูลนิธิศักยภาพชุมชน กังวลกรณีส่งชาวอุยกูร์ 48 คนกลับจีน เล็งเชิญหน่วยงานเข้าชี้แจง 29 ม.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (20 มกราคม) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา รับหนังสือจาก ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน สืบเนื่องจากกรณีของชาวอุยกูร์ 48 คน ที่ได้รับข้อมูลว่าจากโอกาสที่ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปประเทศจีนเร็ว​ๆ นี้ จึงเป็นกังวลว่าจะมีวาระการขอตัวชาวอุยกูร์ที่ตกค้างอยู่ในไทยกลับประเทศจีนด้วย จึงขอร้องเรียนดังนี้

 

1.​ ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ เข้าตรวจเยี่ยมสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สวนพลู รวมทั้งเชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง และมีความเห็นไปยังคณะรัฐมนตรี สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้เป็นที่แน่ใจว่าจะไม่มีการผลักดันบุคคลเหล่านี้ไปเผชิญภัยอันตราย และไม่ทำการอันที่เป็นการขัดแย้งกับหลักการสากล และตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565

 

2.​ ให้พิจารณาเสนอระเบียบ​ หรือนโยบายที่จำเป็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการส่งบุคคลกลับไปเผชิญภัยอันตราย

 

3.​ เสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณายุติการกักขังชาวอุยกูร์โดยไม่มีกำหนด​ และให้หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนให้กับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์กลุ่มนี้

 

4.​ เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงจุดยืนเรื่องสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยต่อประชาคมโลกในวาระที่ประเทศไทยได้รับการเลือกให้เป็นสมาชิกในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ทั้งหมดที่อยู่ในการควบคุมของรัฐบาลไทย

 

ด้านอังคณากล่าวว่า ได้รับการประสานในเรื่องนี้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งกรรมาธิการไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ทำหนังสือไปถึงสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอเยี่ยมชาวอุยกูร์ และทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประสานว่าขอเลื่อนการเข้าเยี่ยมออกไป และ 1 สัปดาห์ถัดมากรรมาธิการได้ส่งหนังสือฉบับที่สอง แจ้งว่ากรรมาธิการรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยม และจะขอเข้าเยี่ยมในวันที่ 22 มกราคม

 

“อย่างไรก็ดี สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองส่งหนังสือตอบกลับกลับมา โดยเชิญกรรมาธิการไปพบที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ถนนแจ้งวัฒนะ ตรงนี้ผิดวัตถุประสงค์ของกรรมาธิการ เพราะต้องการไปเยี่ยมชาวอุยกูร์ และรับฟังบรรยายสรุปข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง วันนี้จะส่งหนังสือถึงสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอีกครั้งหนึ่งเพื่อขอเข้าเยี่ยม” อังคณากล่าว

 

อังคณาระบุต่อไปว่า ตั้งแต่ปี 2558 มีชาวอุยกูร์ที่เข้ามาในประเทศไทยประมาณ 300 คน เนื่องจากมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในประเทศต้นทาง จากนั้นมีการส่งผู้หญิงและเด็ก 170 คนไปประเทศตุรกี ต่อมามีการส่งชาวอุยกูร์ 109 คนกลับจีน คาดว่าจะเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 โดยในช่วงนั้นมีภาพข่าวปรากฏออกมาว่าชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งกลับถูกใส่กุญแจมือ ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อความไม่ปลอดภัย

 

สำหรับปัจจุบันยังเหลือชาวอุยกูร์ในประเทศไทยจำนวน 48 คน มี 43 คนอยู่ในห้องกัก และอีก 5 คนอยู่ในเรือนจำ เนื่องจากมีความพยายามที่จะหลบหนี และที่ผ่านมากรรมาธิการได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีผู้ที่มีอาการป่วยหนัก รวมถึงมีผู้ที่อดอาหาร นอกจากนี้ยังได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวอุยกูร์ที่กังวลต่อการถูกส่งตัวกลับด้วย

 

“เขาเชื่อมั่นว่าการถูกส่งกลับประเทศจีนจะทำให้เขาได้รับอันตราย จึงเป็นที่มาของการขอเข้าเยี่ยมของกรรมาธิการฯ ดิฉันเคยเข้าเยี่ยมชาวอุยกูร์หลายครั้งเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา ตอนเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และได้รับโอกาสเข้าเยี่ยมมาตลอด แต่ในช่วงเดือนนี้ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าเยี่ยม อย่างไรก็ตามกรรมาธิการจะตรวจสอบเรื่องนี้โดยจะเชิญทุกภาคส่วนมาให้ข้อมูลในวันที่ 29 มกราคม จากนั้นจะมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” อังคณากล่าว

 

อังคณาย้ำด้วยว่า การผลักดันชาวอุยกูร์กลับประเทศต้นทางอาจจะเป็นการละเมิด พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทำร้ายและการกระทำที่ทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มาตรา 13 รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีทั้งอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และอนุสัญญาด้านการบังคับสูญหายของสหประชาชาติ ในบทที่ 16 ดังนั้นรัฐบาลจะต้องระมัดระวังในการกระทำที่อาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

The post อังคณารับหนังสือมูลนิธิศักยภาพชุมชน กังวลกรณีส่งชาวอุยกูร์ 48 คนกลับจีน เล็งเชิญหน่วยงานเข้าชี้แจง 29 ม.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: จากวันสูญเสียสู่วันหมดอายุความ ไร้คนรับโทษ-มีคนสูญหาย-ไร้คนรับผิดชอบ | THE STANDARD NOW https://thestandard.co/thestandardnow251067-3/ Sat, 26 Oct 2024 03:05:46 +0000 https://thestandard.co/?p=1000297

จากวันสูญเสียสู่วันหมดอายุความ ไร้คนรับโทษ-มีคนสูญหาย-ไ […]

The post ชมคลิป: จากวันสูญเสียสู่วันหมดอายุความ ไร้คนรับโทษ-มีคนสูญหาย-ไร้คนรับผิดชอบ | THE STANDARD NOW appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากวันสูญเสียสู่วันหมดอายุความ ไร้คนรับโทษ-มีคนสูญหาย-ไร้คนรับผิดชอบ

 

คุยกับ อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา

 

และ พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร

The post ชมคลิป: จากวันสูญเสียสู่วันหมดอายุความ ไร้คนรับโทษ-มีคนสูญหาย-ไร้คนรับผิดชอบ | THE STANDARD NOW appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ตากใบหมดอายุ ไร้ปาฏิหาริย์กระบวนการยุติธรรม สร้างวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด? | THE STANDARD NOW https://thestandard.co/thestandardnow251067/ Fri, 25 Oct 2024 11:00:46 +0000 https://thestandard.co/?p=1000140

คดีตากใบหมดอายุความ ไร้ปาฏิหาริย์กระบวนการยุติธรรม สร้า […]

The post ชมคลิป: ตากใบหมดอายุ ไร้ปาฏิหาริย์กระบวนการยุติธรรม สร้างวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด? | THE STANDARD NOW appeared first on THE STANDARD.

]]>

คดีตากใบหมดอายุความ ไร้ปาฏิหาริย์กระบวนการยุติธรรม สร้างวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด ปฏิรูปกฎหมายคือทางออก?

 

คุยกับแขกรับเชิญ 2 ท่าน

 

  • อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา
  • พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร

 

พบกันในรายการ THE STANDARD NOW กับ อ๊อฟ ชัยนนท์ วันที่ 25 ตุลาคม 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD

The post ชมคลิป: ตากใบหมดอายุ ไร้ปาฏิหาริย์กระบวนการยุติธรรม สร้างวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด? | THE STANDARD NOW appeared first on THE STANDARD.

]]>
จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย https://thestandard.co/final-resolution-of-the-tak-bai-case/ Tue, 22 Oct 2024 13:42:53 +0000 https://thestandard.co/?p=999080

วันนี้ (22 ตุลาคม) 3 วันสุดท้ายก่อนคดีตากใบจะหมดอายุควา […]

The post จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (22 ตุลาคม) 3 วันสุดท้ายก่อนคดีตากใบจะหมดอายุความโดยยังไม่มีผู้ต้องหาคนใดมาปรากฏตัวต่อหน้าศาล ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีเอาผิดใครได้อีก ทั้งนี้ เป็นคดีที่สืบเนื่องจากเหตุสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส และการขนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

 

ล่าสุดคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มี อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นประธานกรรมาธิการ พิจารณาติดตามเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอยนวลพ้นผิด กรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณหน้า สภ.ตากใบ โดยมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง คือ

 

  1. สถานีตำรวจภูธรภาค 9
  2. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า
  3. สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
  4. สำนักงานอัยการภาค 9

 

รวมถึงตัวแทนนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน และภาคประชาชน ได้แก่ สุณัย ผาสุข ผู้แทน Human Rights Watch Asia, Katia Chirizzi ผู้แทนข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน สหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, ดอน ปาทาน, อาเต็ฟ โซ๊ะโก และ รศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ ทั้งนี้มี พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร สว. และ รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เข้าร่วมชี้แจงด้วย

 

อย่างไรก็ตาม มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและกองทัพบกไทยไม่ได้ร่วมเข้าชี้แจงเนื่องจากติดภารกิจ

 

ห้องประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา วาระติดตามการดำเนินคดีตากใบ

 

อัยการแจง ส่งฟ้องไม่ได้ เหตุไม่พบตัวผู้ต้องหา

 

ชัยชาญ ยมจินดา อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า จากกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 8 คนจากคดีตากใบ มีการส่งกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และส่งกลับมาที่อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 สำนักงานอัยการภาค 9 และส่งกลับมาที่หนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตน เมื่อรับสำนวนมาแล้วต้องแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเพื่อจัดการให้ได้ตัวผู้ต้องหา 8 คนมาดำเนินคดี โดยทำคู่ขนานไปกับพนักงานสอบสวน

 

ผมไม่มีสิทธิ์ทำอะไรทั้งสิ้นแม้กระทั่งการสอบสวน นอกจากร่างสำนวนฟ้องจนกว่าจะได้ผู้ต้องหาทั้ง 8 คน และรอว่าเมื่อถึงวันที่ 25 ตุลาคม เวลา 16.00 น. ตามเวลาราชการ หากพนักงานสอบสวนสามารถนำตัวผู้ต้องหา 8 คน หรือคนใดคนหนึ่งมา ก็สามารถส่งฟ้องต่อได้เลย แต่หากเกินเวลาหรือตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคมเป็นต้นไป คดีจะถือว่าขาดอายุความ ซึ่งหากคดีขาดอายุ พนักงานอัยการต้องสั่งยุติคดีเพราะไม่สามารถส่งต่อไปที่ศาลได้ และไม่ใช่อำนาจของอัยการปัตตานี แต่ต้องส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้สั่งยุติคดีอีกครั้ง จากนั้นจึงจะต้องส่งกลับมาที่อัยการปัตตานีเพื่อส่งแก้คดีแล้วแจ้งให้ญาติผู้เสียชีวิตทราบว่าคดีนี้ขาดอายุความแล้ว ไม่สามารถส่งฟ้องศาลได้” ชัยชาญกล่าว

 

อังคณา นีละไพจิตร สว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา

 

ด้านสุณัยกล่าวว่า คดีตากใบเป็นการตอกย้ำว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนานใหญ่โดยเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะเมื่อเกิดขึ้นกลับไม่มีการรับผิดชอบจากผู้กระทำ และนี่เป็นสาเหตุว่าทำไมองค์กรต่างชาติทั้งหลายจึงให้ความสนใจและติดตามเรื่องนี้มาตลอด อย่างไรก็ตาม คดีตากใบยังเป็นความหวังว่าวงจรของการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนานใหญ่โดยเจ้าหน้าที่รัฐจะสามารถถูกยับยั้งได้

 

สุณัยบอกด้วยว่าได้ไปคุยกับครอบครัวของผู้รอดชีวิต เขาบอกว่าการนำเท้าไปเหยียบกระบวนการยุติธรรม แม้เพียงครึ่งเท้าก็ยังดี ก็มีความหวัง การให้ความจริงกับเขาถือเป็นส่วนหนึ่งของความหวัง ตนจึงมีความหวังให้ทุกคนทำหน้าที่อย่างเต็มที่

 

นอกจากนี้ในเวลาที่เหลืออีก 3 วัน ตนเองเช็กกับองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (INTERPOL) พบว่าในฐานข้อมูลของ INTERPOL ไม่มีชื่อของ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และย้ำว่าผลที่ออกมาจะเป็นการตอกย้ำบรรทัดฐานว่าอย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐได้

 

“ผมมีความกังวลว่าการใช้กำลังของรัฐจะดำเนินต่อไป และรัฐสามารถกระทำกับประชาชนได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร คำว่า ‘ตาย จ่าย จบ’ ไม่ใช่การเยียวยา ส่วนคำพูดที่บอกว่ารับเงินไปแล้วจบ ยังไงก็ไม่จบ เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งทดแทนความยุติธรรม” สุณัยกล่าว

 

ขอหมายแดง INTERPOL แล้ว แต่ไม่ปรากฏบนเว็บไซต์?

 

ตำรวจภูธรภาค 9 นำโดย พล.ต.ต. นิตินัย หลังยาหน่าย รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พร้อมด้วยคณะ ร่วมกันชี้แจงว่า ตั้งแต่มีหมายจับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและทุกหน่วยงานติดตามจับกุม โดยออกหมายแดง INTERPOL ทั้ง 14 คนเป็นที่เรียบร้อย และล่าสุดเดินทางไปพบรองผู้ว่าจังหวัดนครพนมเพื่อติดตามตัวผู้ต้องหารายหนึ่งให้มามอบตัว แต่ได้รับรายงานว่าขาดราชการ ไม่สามารถติดต่อได้ และทราบว่าหลบหนีไปยังประเทศ สปป.ลาว โดยคาดว่าใช้ช่องทางธรรมชาติ

 

ด้านรอมฎอนถามว่า ที่ตำรวจภูธรภาค 9 อ้างว่าได้ขอหมายแดง (Red Notice) ไปยัง INTERPOL ให้ตามตัวผู้ต้องหาในคดีตากใบทั้ง 14 คนแล้ว แต่จากที่ตนเองตรวจสอบในเว็บไซต์ของ INTERPOL ข้อมูลหมายแดงทั้ง 6,681 คนจากทั่วโลกพบว่า รัฐบาลไทยร้องขอหมายจับไปเพียง 3 คนเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ผู้ต้องหาในคดีตากใบแต่อย่างใด จึงไม่แน่ใจว่าคำชี้แจงต่อกรรมาธิการตกหล่นอย่างไร จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบและชี้แจงต่อกรรมาธิการอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม ขอให้เปิดเผยมาว่าตอนนี้ผู้ต้องหาทั้ง 14 คนอยู่ที่ไหน โดยไม่ต้องกลัวว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี เพราะเวลานี้ประชาชนต้องการรับทราบข้อมูลของผู้ต้องหาทั้งหมด อยู่ต่างประเทศกี่คน ประเทศใดบ้าง อยู่ในประเทศไทยกี่คน อยู่ที่ไหนบ้าง และมีจำเลยหรือผู้ต้องหาบางคนอยู่ในค่ายทหารหรือไม่ ซึ่งส่งผลต่อการทำหน้าที่ของตำรวจ

 

พร้อมกันนี้ยังขอตั้งคำถามเผื่อว่าทั้ง 14 คนนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เพราะคดีนี้มีเดิมพันที่สูงมาก เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ รวมถึงมีมาตรการคุ้มครองญาติของผู้เสียหายที่ฟ้องคดีอย่างไรหลังจากคดีหมดอายุความ และมีแนวคิดจะฟ้องร้องประชาชนที่กล้าหาญจะฟ้องร้องคดีนี้หรือไม่ อย่างไร

 

รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

พ.ต.อ. รังษี มั่นจิตร หัวหน้างานซักถาม ศูนย์พิทักษ์สันติ ชี้แจงว่า วันที่ตนเองชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ตำรวจภูธรภาค 9 ทำหนังสือถึงกองการต่างประเทศ ซึ่งขึ้นตรงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองการต่างประเทศแจ้งว่าประสานกับ INTERPOL และออกหมายแดงแล้ว 14 คน ยืนยันว่ากองการต่างประเทศออกหมายเลขแล้วเรียบร้อย โดยบุคคล 2 คนที่ออกจากต่างประเทศอย่างถูกต้องคือสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น จึงได้ทำหนังสือถึงสถานทูตแล้ว

 

ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือ กองสืบของแต่ละภูมิภาคแจ้งกลับมาว่าไม่ปรากฏพบ คาดว่ามีการหลบหนีผ่านช่องทางธรรมชาติ จึงทำหนังสือถึงกรมศุลกากร ซึ่งระเบียบปฏิบัติต้องอาศัยการประสานกับตำรวจท้องที่นั้นๆ ไม่สามารถจับกุมได้ทันที ส่วนยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตนยังไม่ทราบ ขณะที่ผู้ต้องหาที่เป็นข้าราชการทหารนั้นได้ตรวจค้นในค่ายทหารจังหวัดลำปางและแสดงหมายจับแล้ว แต่ก็ไม่พบตัว

 

สุณัยจึงร้องขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกระตุ้น INTERPOL ให้ช่วยติดตามผู้ต้องหา ซึ่งเคยกระทำมาแล้วในหลายกรณีก่อนหน้านี้ จึงหวังว่าจะดำเนินการได้ และยังมีอีกช่องทางหนึ่งคือผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยใช้ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศที่ผู้ต้องหาหลบหนีไป ส่งตัวหรือเนรเทศบุคคลเหล่านั้นกลับมาในลักษณะของการต่างตอบแทน แต่น่าเสียดายที่วันนี้ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศมาชี้แจง

 

หลังหมดอายุความประชาชนผู้ฟ้องจะปลอดภัยหรือไม่?

 

จากนั้น รศ.เอกรินทร์ สอบถามว่าจะรับมือกับการแสดงออกของประชาชนอย่างไรหากคดีหมดอายุความ ซึ่งต้องไม่ไปละเมิดประชาชน มีการประสานไปยังประเทศปลายทางที่ผู้ต้องหาไปอยู่หรือไม่ หากประสานแล้วประสานอย่างไร ต่างจากมาตรฐานเดิมหรือแตกต่างอย่างไร

 

พ.ต.อ. จารุวิทย์ วงศ์ชัยกิตติพร รองผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กอ.รมน. ชี้แจงว่า พลเมืองไทยย่อมได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างเท่าเทียมกันตามหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ กอ.รมน. ต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย ขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องเคารพกฎหมายและสิทธิของผู้อื่น เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่ง และ กอ.รมน. พยายามบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยกระดับการป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ทุกรูปแบบ

 

ส่วนขั้นตอนหลังพ้นอายุความวันที่ 25 ตุลาคม อาจมีการแสดงออกของประชาชนในรูปแบบต่างๆ หน่วยงานรัฐจะมีการดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่ พ.ต.อ. จารุวิทย์ ระบุว่า ผู้ที่แสดงออกต้องพึงระมัดระวังข้อความหรือท่าทีที่สื่อความหมายออกไปและเกิดผลกระทบ สร้างความเสียหาย ต้องว่ากันไปเป็นรายกรณี แต่โดยพื้นฐานทุกคนสามารถแสดงออกในสิ่งที่มีความถูกต้องและมีดุลพินิจที่เหมาะสม

 

นักศึกษากลุ่มเดอะปาตานี จัดกิจกรรม ‘ตากใบต้องไม่เงียบ’ ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

 

ข้อสรุปที่ไม่มีข้อสรุป ฝากถามประธานสภาให้ พล.อ. พิศาล ลา

 

อังคณากล่าวว่า ตนเองก็เคยตกเป็นเหยื่อของการสลายการชุมนุมเช่นเดียวกัน ในการชุมนุมหน้ารัฐสภาเมื่อปี 2563 ซึ่งมีการฉีดน้ำผสมสารเคมี และศาลพิพากษาให้เยียวยา แต่ตนเองยังไม่เห็นพัฒนาการของเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุมมากนัก

 

ขณะที่ สุนทร พฤกษพิพัฒน์ สว. ในฐานะกรรมาธิการ ถามว่า ผู้ที่อนุญาตให้ พล.อ. พิศาล ลาหยุด มีส่วนรู้เห็นหรือส่วนผิดด้วยหรือไม่ที่ทำให้หลบหนีไปจนขาดอายุความ

 

อังคณาจึงกล่าวว่า ผู้ที่อนุญาตให้ พล.อ. พิศาล ลาประชุม คือประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ตนเองไม่มีหน้าที่ไปก้าวก่ายสภาผู้แทนราษฎร จึงขอฝาก สส. ไปถาม ทั้งนี้ ในการประชุมวันนี้มีข้อสรุปว่ายังไม่มีข้อสรุป เพราะยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากหน่วยงานเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการสร้างทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูญเสียด้วยว่าการออกมาเรียกร้องต่างๆ ในวันนี้เพราะมีคนหนุนหลัง จึงร้องขอให้เจ้าหน้าที่รัฐแก้ไขทัศนคติเชิงลบหรืออคติต่อผู้เรียกร้อง

The post จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณาเสียดายความเชื่อใจ ขอรัฐบาลหยุดโยนความผิดให้ผู้เสียหายในคดีตากใบ https://thestandard.co/angkana-govt-trust-regret/ Tue, 22 Oct 2024 07:52:48 +0000 https://thestandard.co/?p=998813 อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (22 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สว. […]

The post อังคณาเสียดายความเชื่อใจ ขอรัฐบาลหยุดโยนความผิดให้ผู้เสียหายในคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (22 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เปิดเผยก่อนเข้าประชุมกรรมาธิการวาระความคืบหน้าของคดีตากใบที่เหลืออายุความ 3 วัน

 

อังคณายืนยันว่ารัฐบาลสามารถออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อขยายอายุความในคดีตากใบได้ แต่จากที่ฟัง ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่าอาจจะไม่ทัน แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นสิ่งที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) สามารถทำได้

 

อังคณากล่าวว่า กรณีดังกล่าวถือเป็นความหวังสุดท้ายของผู้เสียหาย หากรัฐบาลสามารถขยายหรือชะลออายุความไว้ก่อน แต่หากประตูบานนี้ถูกปิดก็ยังมองไม่ออกว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยไม่มาศาลในวันที่ 25 ตุลาคม ก็ถือว่าคดีหมดอายุความไปตามกฎหมายเช่นเดียวกับคดีมัสยิดกรือเซะที่มีผู้เสียชีวิต 31 คน ที่ได้หมดอายุความไปแล้ว

 

ส่วนหากคดีหมดอายุความไปแล้วจริงจะมีแนวทางอื่นในการดำเนินการได้หรือไม่นั้น หากกลไกภายในประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ก็ยังมีช่องทางให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายร้องต่อศาลระหว่างประเทศได้ เช่น สหภาพยุโรปในหลายประเทศก็อนุญาตให้ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนสามารถฟ้องร้องในคดีได้ และเมื่อศาลมีคำพิพากษา บุคคลนั้นจะไม่สามารถเดินทางเข้าไปในประเทศที่เกิดเหตุได้ กลับไปก็จะถูกจำคุก แต่ประเทศไทยก็ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำคดีแบบนี้มาก

 

อังคณายังมองว่าคดีอาญาแผ่นดินที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากไม่ควรเป็นหน้าที่ของญาติผู้เสียชีวิตที่จะฟ้องร้องเอง แต่ควรเป็นหน้าที่ของอัยการ และคดีนี้ทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่าหากประชาชนทำผิดต้องถูกลงโทษและจับกุม แต่เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐทำผิดแทบจะไม่เคยจับกุมผู้กระทำผิดได้เลย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถือว่าเป็นพื้นที่เปราะบาง

 

ส่วนตัวมองว่าจำเป็นต้องมีการปฏิรูปกฎหมาย ทั้งกรณีความผิดในการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงต้องไม่มีอายุความและต้องขยายนิยามของผู้เสียหายให้กว้างขึ้น ให้รวมถึงสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการทรมานและบังคับสูญหาย

 

“ทุกฝ่ายตระหนักถึงเรื่องนี้แต่เราก็ปล่อยโอกาสที่จะทำให้เกิดความจริงในศาลให้หมดไป เพราะเราไม่สามารถนำตัวจำเลยมาปรากฏตัวต่อหน้าศาลได้ คงหลีกเลี่ยงยากในการที่จะเกิดความรุนแรงตามมา จึงได้แต่พูดว่าเสียดายกับความไว้เนื้อเชื่อใจที่เคยมี ซึ่งอาจจะหมดไป” อังคณากล่าว

 

อังคณายังกล่าวถึง พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่เราได้เห็นความพยายามของท่าน แต่หน่วยงานที่อยู่ใต้กำกับของกระทรวงอื่น รวมถึงนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมการพิสูจน์ความจริง และปล่อยให้ผู้ต้องหาหายไปได้ จึงเป็นคำถามที่ท้าทายอย่างมากว่าเราจะคืนความยุติธรรมให้ประชาชนอย่างไร

 

“อยากฝากถึงรัฐบาลว่ารัฐบาลต้องหยุดสร้างวาทกรรมที่โยนความผิดให้ผู้เสียหาย เราจะเห็นบางหน่วยงานรัฐพยายามพูดว่ากรณีของตากใบเป็นการกระทำของขบวนการให้เกิดการชุมนุม แต่หลายฝ่ายกำลังตั้งคำถามว่าใครจะรับผิดชอบการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม ไม่ว่าเขาจะมาจากไหน มีความเชื่ออย่างไร บุคคลเหล่านั้นต้องไม่เสียชีวิตภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ นี่คือประเด็นสำคัญ” อังคณาทิ้งท้าย

The post อังคณาเสียดายความเชื่อใจ ขอรัฐบาลหยุดโยนความผิดให้ผู้เสียหายในคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณามองพิศาลลาออกเป็นเรื่องส่วนตัว แต่รัฐบาลยังมีหน้าที่คืนความยุติธรรมคดีตากใบ อยู่ที่จะทำหรือไม่ https://thestandard.co/angkhana-pisan-resignation-tak-bai-justice/ Tue, 15 Oct 2024 07:34:07 +0000 https://thestandard.co/?p=996036 อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (15 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สมา […]

The post อังคณามองพิศาลลาออกเป็นเรื่องส่วนตัว แต่รัฐบาลยังมีหน้าที่คืนความยุติธรรมคดีตากใบ อยู่ที่จะทำหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (15 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึง พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะจำเลยคดีตากใบของศาลจังหวัดนราธิวาส ที่ยื่นลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย และพ้นสภาพ สส. โดยระบุว่า การลาออกเป็นเรื่องส่วนตัวของเขาที่จะลาออกเพื่อหนีความผิดหรือหนีการขึ้นศาล 

 

อย่างไรก็ตาม อังคณาย้ำว่า การลาออกดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้พรรคเพื่อไทย หรือพรรคไทยรักไทยในอดีต หรือรัฐบาลใดก็ตาม หมดภาระผูกพันในการให้ความยุติธรรมต่อประชาชนในคดีตากใบ รัฐบาลมีหน้าที่ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อนำตัวจำเลยทั้งหมดมาปรากฏต่อหน้าศาลก่อนคดีจะหมดอายุความ

 

อังคณากล่าวต่อไปว่า การลาออกของ พล.อ. พิศาล จะทำเมื่อไรก็ได้ แต่ว่าหน้าที่ของรัฐบาลยังอยู่ ขอความกรุณาให้รัฐบาลใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ทั้งหมด โดยยกตัวอย่างกรณีหลักการการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนที่วันนี้ประเทศไทยส่งไปให้หลายประเทศ หรือการออกหมายแดงโดยองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ INTERPOL

 

“วันนี้ศาลยังไม่ได้บอกว่าใครผิด ใครถูก แต่เป็นการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าผลการตัดสินของศาลจะเป็นอย่างไร ทุกฝ่ายก็เคารพ แต่ในวันนี้เรายังไม่เห็นความพยายามของรัฐบาลในการดำเนินการตามหลักสากลของการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน” อังคณากล่าว

 

อังคณาระบุว่า อย่างในกรณีของ พล.อ. พิศาล ซึ่งอ้างว่าป่วย รัฐบาลก็ต้องเคารพสิทธิของผู้ป่วย แต่การนำตัวจำเลยมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รัฐบาลสามารถทำได้อยู่แล้ว ขึ้นอยู่ว่าจะทำหรือไม่ทำเท่านั้น ส่วนตัวจึงอยากให้กำลังใจรัฐบาลไทยด้วย และมองว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษและตำรวจไทยมีความสามารถมากในการติดตามบุคคลต่างๆ รวมถึงสามารถดักฟังโทรศัพท์ได้ แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลมีความจริงใจ หรือมีเจตจำนงทางการเมืองในการนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือไม่ พร้อมย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และเป็นเรื่องที่บั่นทอนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทย 

 

“หากรัฐบาลไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย แต่พูดคำเดียวว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็ถือว่าน่าละอายมาก เท่ากับว่ารัฐบาลปฏิเสธความรับผิดชอบ และปล่อยให้เกิดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด” อังคณากล่าว

 

อังคณายังกล่าวถึงกรณีที่ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งออกมาให้สัมภาษณ์บางครั้ง ส่วนตัวมองว่าบางเรื่องไม่ต้องพูดออกมาก็น่าจะดีกว่า เพราะพูดแล้วจะเป็นเหมือนการผลักภาระหรือปฏิเสธความรับผิดชอบ ทั้งที่ความจริงรัฐบาลสามารถทำได้อยู่แล้ว และหากในนโยบายของรัฐบาลพูดถึงหลักนิติธรรม เรื่องนี้ก็จะเป็นบทพิสูจน์หนึ่งว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องหลักนิติธรรมเพียงใด

The post อังคณามองพิศาลลาออกเป็นเรื่องส่วนตัว แต่รัฐบาลยังมีหน้าที่คืนความยุติธรรมคดีตากใบ อยู่ที่จะทำหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘สว. สีน้ำเงิน’ กินรวบ (ไม่) หมด เสียงข้างน้อยรุกกลับ บทสรุปศึกชิงกรรมาธิการ https://thestandard.co/summary-of-the-battle-for-the-committee/ Tue, 24 Sep 2024 12:41:20 +0000 https://thestandard.co/?p=987532

ผลการเลือกประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาทั้ง 21 ค […]

The post ‘สว. สีน้ำเงิน’ กินรวบ (ไม่) หมด เสียงข้างน้อยรุกกลับ บทสรุปศึกชิงกรรมาธิการ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ผลการเลือกประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาทั้ง 21 คณะ สิ้นสุดลงแล้ว เรียกได้ว่าองค์ประกอบต่างๆ ของวุฒิสภาชุดนี้เริ่มเข้ารูปเข้ารอย และที่สำคัญคือ เป็นไปตาม ‘โผ’ ที่ปรากฏออกมาก่อนหน้านี้แทบจะ 99%

 

โฉมหน้าของกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา นอกจากจะสะท้อนกลไกการตรวจสอบของสภาสูงชุดปัจจุบันแล้ว ยังเป็นตัวบ่งบอกประสิทธิภาพในการ ‘คุมเสียง’ ของ สว. แต่ละสายอีกด้วย ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า ‘สว. สีน้ำเงิน’ ยังคงเข้มแข็งไม่เปลี่ยนแปลง

 

THE STANDARD พามองลึกลงไปกว่าชื่อของประธานคณะกรรมาธิการทั้ง 21 คน และชวนวิเคราะห์ถึงการทำงานของ สว. ชุดนี้ ว่าจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือจะยัง ‘ผิดฝาผิดตัว’ อย่างที่โดนปรามาสไว้?

 

บรรดา สว. ทยอยเข้าร่วมประชุมกรรมาธิการนัดแรกในวันที่ 24 กันยายน 2567

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

ฐานที่มั่นหนึ่งเดียวของ ‘สว. พันธุ์ใหม่’

 

แม้ในภาพรวมจะดูเหมือนว่า สว. สีน้ำเงิน ที่เป็นเสียงข้างมากจะสามารถยึดกุมกรรมาธิการตลอดจนเก้าอี้ประธานคณะได้แทบทั้งหมด แต่ยังเหลือกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สายสีน้ำเงินยังไม่สามารถ ‘ล็อกตัว’ ประธานคณะได้

 

ตามรายงานก่อนหน้าของ THE STANDARD ที่เปิดเบื้องหลังการแย่งชิงเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ ระหว่าง สว. สีน้ำเงิน และ สว. พันธุ์ใหม่ แม้จะต้องสังเวย นันทนา นันทวโรภาส สว. ที่หลุดออกไปในรอบเลือกกันเอง แต่ก็เป็นผลให้ สว. ทั้งสองสายในกรรมาธิการนี้เหลือ 9 เสียงเท่ากัน

 

ช่วงเช้าวันนี้ (24 กันยายน) กรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ ตบเท้าเข้าห้องประชุมเพื่อวัดกำลังครั้งสุดท้ายในการเลือกประธานคณะ ระหว่าง อังคณา นีละไพจิตร จากกลุ่ม สว. เสียงข้างน้อย กับ วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ที่ สว. เสียงข้างมากเสนอชื่อขึ้นมาในนาทีสุดท้าย แทนที่จะเป็น นิฟาริด ระเด่นอาหมัด ตามที่ปรากฏชื่อก่อนหน้านี้

 

นันทนา นันทวโรภาส สว. นั่งรอฟังผลการเลือกประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ ที่หน้าห้องประชุม

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

ที่ประชุมได้ลงมติกันถึง 2 รอบ และได้คะแนน 9 ต่อ 9 เท่ากัน ตามข้อบังคับจึงต้องใช้วิธีการจับสลาก และเมื่อวีระศักดิ์จับได้สลากเสีย เป็นผลให้อังคณาได้ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการโดยทันที

 

ทั้งสองแคนดิเดตเดินเคียงข้างกันออกมาจากห้องประชุม ก่อนให้สัมภาษณ์ต่อกับสื่อมวลชน โดยขอบคุณซึ่งกันและกันพร้อมยืนยันว่า ได้พูดคุยกันก่อนหน้านี้แล้วว่า “ไม่ว่าใครจะได้เป็นประธานคณะก็จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน” และวีระศักดิ์เองก็ได้เผยว่า ตั้งใจจะ ‘ลบรอยร้าวเล็กๆ’ รวมทั้งสร้างความสมานฉันท์

 

กรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ จึงน่าจับตามองว่าต่อจากนี้จะมีบทบาทอย่างไร นอกจากเป็น ‘ฐานที่มั่นสุดท้าย’ ซึ่งมี สว. พันธุ์ใหม่ เป็นประธานคณะแล้ว ก็อาจเป็นก้าวแรกของการเชื่อม ‘รอยร้าว’ ระหว่าง สว. แต่ละฝ่าย ให้สามารถร่วมงานและแลกเปลี่ยนกันได้ในบางวาระหรือไม่

 

อังคณา นีละไพจิตร (ขวา) ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ ให้สัมภาษณ์ร่วมกับ วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี สว.

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

‘สีน้ำเงิน’ ยังแน่นแฟ้นหรือเริ่มแปรปรวน

 

สำหรับ สว. สีน้ำเงิน เองก็ยังแสดงพลังความเป็นเอกภาพเช่นเดิม ด้วยคะแนนเสียงกว่า 150 เสียง ทำให้สามารถส่ง สว. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหรือปลัดกระทรวงต่างๆ เข้ายึดกุมเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการได้ทุกคณะ แม้จะเสียเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ ก็ไม่ได้มีผลมากนัก

 

เนื่องจากแม้จะเสียเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ แต่ สว. สีน้ำเงิน ยังสามารถส่ง สว. เข้าไปเป็นตำแหน่งอื่นๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน อย่างเช่น แดง กองมา สว. ที่มีอาชีพค้าขายเนื้อหมู ได้รับเลือกเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ คนที่ 3 ขณะที่วีระศักดิ์ได้เป็นประธานคณะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ

 

อย่างไรก็ตามเมื่อมองดูก็พบว่า ร่องรอยความแปรปรวนบางประการ ทั้งการปรับเปลี่ยนบางรายชื่อ เช่น การสลับวีระศักดิ์มาชิงเก้าอี้ประธานแทนนิฟาริด หรือแม้กระทั่งกรรมาธิการแรงงานที่ผลออกมาไม่เป็นไปตาม ‘โผ’ ที่ปรากฏก่อนหน้า

 

จากที่คาดการณ์ว่า ชินโชติ แสงสังข์ อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย จะได้เป็นประธานคณะกรรมาธิการแรงงานนั้น ผลปรากฏว่า วิรัตน์ รักษ์พันธ์ อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กลับได้เป็นแทน ถึงอย่างไรก็ถือเป็น สว. สีน้ำเงิน เหมือนกัน

 

ทั้งนี้มีรายงานข่าวว่า ชินโชติได้ขอถอนตัวจากการชิงเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานเอง โดยแหล่งข่าวในกรรมาธิการแรงงานคาดว่าอาจมีปัญหาเรื่องการต่อรองในกลุ่ม สว. สีน้ำเงิน

 

ขณะเดียวกันกรรมาธิการแรงงานถือว่ามีความสำคัญ เพราะมีโอกาสเชื่อมประสานโดยตรงกับกระทรวงแรงงานที่มีรัฐมนตรีจากสัดส่วนพรรคภูมิใจไทย และสังเกตได้จาก สว. ในคณะกรรมาธิการนี้จำนวน 18 คน มี สว. สายสีน้ำเงิน มากถึง 16 คน ยกเว้น แล ดิลกวิทยรัตน์ และ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

 

แดง กองมา สว. ที่ทำอาชีพค้าขายเนื้อหมู ได้เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ คนที่ 3

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

เปิดตัวตนประธานคณะกรรมาธิการ 21 คณะ ใครเป็นใคร

 

  1. อังคณา นีละไพจิตร นักสิทธิมนุษยชน เป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ

 

  1. พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมายและการยุติธรรม

 

  1. ธวัช สุระบาล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์

 

  1. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม

 

  1. นิรัตน์ อยู่ภักดี เป็นประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ

 

  1. พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา อดีตฝ่ายอำนวยการประธานคณะผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ

 

พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา ประธานคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ และหนึ่งในผู้คุมเสียง สว. สีน้ำเงิน คนสำคัญ

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

  1. พิศูจน์ รัตนวงศ์ ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมและเรือรับนักท่องเที่ยว เป็นประธานคณะกรรมาธิการท่องเที่ยวและกีฬา

 

  1. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล เป็นประธานคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม

 

  1. พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน

 

  1. อภิชาติ งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น

 

  1. พรเพิ่ม ทองศรี อดีตหัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และพี่ชายของ ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบันจากพรรคภูมิใจไทย เป็นประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน

 

  1. วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และความหลากหลายทางสังคม

 

อลงกต วรกี ประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

  1. วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล เป็นประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม

 

  1. วิรัตน์ รักษ์พันธ์ อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน

 

  1. เอมอร ศรีกงพาน ประธานคณะสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม

 

  1. กมล รอดคล้าย อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

  1. กัมพล สุภาแพ่ง เป็นประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง 

 

  1. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข

 

  1. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต

 

  1. อลงกต วรกี อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี และอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ

 

  1. ชีวะภาพ ชีวะธรรม อดีตหัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ (พยัคฆ์ไพร) กรมป่าไม้ เป็นประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

The post ‘สว. สีน้ำเงิน’ กินรวบ (ไม่) หมด เสียงข้างน้อยรุกกลับ บทสรุปศึกชิงกรรมาธิการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณาได้เป็นประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ ด้านวีระศักดิ์พร้อมหนุน หวังสมานรอยร้าว https://thestandard.co/angkana-political-dev-committee/ Tue, 24 Sep 2024 05:25:21 +0000 https://thestandard.co/?p=987322

วันนี้ (24 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา ภายหลังการประชุมคณะก […]

The post อังคณาได้เป็นประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ ด้านวีระศักดิ์พร้อมหนุน หวังสมานรอยร้าว appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (24 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา ภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา นัดแรก เพื่อเลือกตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมาธิการฯ

 

ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ที่ประชุมลงมติเลือกตำแหน่งประธานกรรมาธิการฯ ระหว่าง วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ อังคณา นีละไพจิตร สว. โดยลงมติเลือกถึง 2 ครั้งแต่ได้คะแนนเท่ากัน ทำให้ท้ายสุดต้องจับสลากเลือกตามข้อบังคับ ก่อนผลปรากฏว่าอังคณาได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฯ

 

จากนั้นอังคณาพร้อมด้วยวีระศักดิ์เดินออกมาจากห้องประชุม โดยอังคณายกมือไหว้ขอบคุณวีระศักดิ์ พร้อมยืนยันว่าหลังจากนี้จะเป็นการทำงานร่วมกัน และวีระศักดิ์ก็ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุน ไม่ว่าใครจะได้เป็นประธานกรรมาธิการฯ ก็ไม่ต่างกัน เชื่อว่าสามารถทำงานสนับสนุนส่งเสริมกันได้ และขอบคุณคณะกรรมาธิการฯ ทุกคน

 

อังคณากล่าวต่อไปว่า สำหรับการเริ่มทำงานของกรรมาธิการฯ จะต้องดูว่า สว. ชุดที่แล้วทำอะไรไว้บ้าง มีงานค้างหรือไม่ ซึ่งกรรมาธิการฯ ชุดนี้เป็นการรวม 2 กรรมการเข้าด้วยกัน คือคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ กับคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ โดยหลังจากนี้จะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาด้วย

 

เมื่อสื่อมวลชนถามถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า กรรมาธิการฯ อาจมีความผิดฝาผิดตัว เนื่องจากอยู่ในกลุ่มอาชีพที่ไม่ตรงกับงานของกรรมาธิการฯ อังคณาระบุว่า เรื่องสิทธิพลเมืองกับสิทธิทางการเมืองไม่สามารถแยกจากกันได้ เช่นเดียวกับสิทธิมนุษยชน ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน แม้ส่วนตัวจะเห็นว่าควรจะแยกกันก็ตาม

 

ขณะที่วีระศักดิ์กล่าวถึงการทำงานร่วมกันว่า ส่วนตัวเคารพนับถืออังคณาอยู่แล้ว และมั่นใจว่าการทำงานจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาทำหน้าที่นี้จะต้องมีความสมานฉันท์กัน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจมีข้อขัดแย้งกันบ้างแต่ท้ายที่สุดก็จบลงในที่ประชุม

 

ส่วนที่มีข้อสังเกตว่าการตั้งกรรมาธิการฯ ‘สว. สายสีน้ำเงิน’ กินรวบประธานกรรมาธิการฯ เกือบทุกคณะ วีระศักดิ์หัวเราะ ก่อนระบุว่าขอไม่พูดถึง พร้อมย้ำว่าเป็นสิทธิของกรรมาธิการแต่ละคณะ

 

ส่วนกรรมาธิการฯ ที่ถูกมองว่าอาจผิดฝาผิดตัวนั้น วีระศักดิ์กล่าวว่า เห็นด้วยกับอังคณาว่าสิทธิพลเมืองต้องมาก่อน ขออย่าไปด้วยค่าเพราะทุกคนมีสิทธิตามความสนใจ อย่างเช่นตนเองก็มาอยู่ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ มองว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ สว. ทุกคนจะดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการต่างๆ

 

วีระศักดิ์ยังกล่าวเปิดใจที่ได้เข้ามานั่งในกรรมาธิการชุดนี้ว่า ได้แจ้งอังคณาไว้แล้ว ตั้งใจเข้ามาทำหน้าที่เพื่อลบรอยร้าวเล็กๆ ที่มีอยู่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดความสมานฉันท์ เป็นการเข้ามาชิงตำแหน่งประธานโดยไม่รู้ตัวมาก่อน เพราะมีคนเสนอชื่อและยินดีที่อังคณาได้รับตำแหน่ง พร้อมยืนยันว่าสามารถทำงานร่วมกันได้

 

อังคณากล่าวเสริมว่า เคยพูดคุยกันมาก่อนแล้วว่า ไม่ว่าใครก็ตามเป็นประธาน ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ และจะสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน ส่วนความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติ ซึ่งต้องเคารพในเสียงข้างมาก ไม่ละเลยเสียงข้างน้อย ทั้งนี้ พร้อมรับข้อเสนอแนะและข้อห่วงใยจากทุกฝ่าย

The post อังคณาได้เป็นประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ ด้านวีระศักดิ์พร้อมหนุน หวังสมานรอยร้าว appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณาฝ่าด่านนั่งประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ ลุ้นคณะอื่นตามโผ สว. สีน้ำเงิน หรือไม่ https://thestandard.co/angkhana-chairs-political-committee/ Tue, 24 Sep 2024 05:22:09 +0000 https://thestandard.co/?p=987299 อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (24 กันยายน) บรรยากาศการประชุมนัดแรกของคณะกรรมาธ […]

The post อังคณาฝ่าด่านนั่งประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ ลุ้นคณะอื่นตามโผ สว. สีน้ำเงิน หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (24 กันยายน) บรรยากาศการประชุมนัดแรกของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาทั้ง 21 คณะ เพื่อเลือกตำแหน่งต่างๆ ในกรรมาธิการ โดยเฉพาะตำแหน่งประธานกรรมาธิการ ที่ถูกจับตาว่า สว. สีน้ำเงิน ได้วางตัวผู้ดำรงตำแหน่งประธานไว้แล้วทั้ง 20 คณะ เว้นแต่เพียงคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีคะแนนเท่ากัน

 

ที่ประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ ลงมติเลือกประธานกรรมาธิการถึง 2 รอบ ระหว่าง อังคณา นีละไพจิตร ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สว. เสียงข้างน้อย และ วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ซึ่งผลการลงมติได้ 9 คะแนนเท่ากันทุกรอบ จนท้ายสุดต้องใช้วิธีจับสลาก ก่อนที่อังคณาจะได้รับตำแหน่งประธานในที่สุด

 

สำหรับคณะกรรมาธิการอื่นๆ ในช่วงเช้าเริ่มรับทราบผลการเลือกประธานแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามรายงานข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ เช่น พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา เป็นประธานคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ, พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย เป็นประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย และการยุติธรรม, ธวัช สุระบาล เป็นประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์

 

นอกจากนี้ แดง กองมา สว. ที่เคยประกอบอาชีพขายหมู ก็ได้รับเลือกเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ คนที่ 3 แม้จะมีข้อสังเกตจาก นันทนา นันทวโรภาส ว่าอาจเป็นการผิดฝาผิดตัวหรือไม่

 

“คนที่จะเข้ามาอยู่ในกรรมาธิการชุดนี้ควรจะมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการเมือง สิทธิมนุษยชน และการสื่อสารทางการเมือง ซึ่งคนที่มีคุณลักษณะที่แตกต่าง เราไม่ได้ด้อยค่า แต่เขาควรไปอยู่ในกรรมาธิการอื่นที่สอดคล้องกับวิชาชีพ” นันทนาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในช่วงเช้า

 

อังคณา นีละไพจิตร อังคณา นีละไพจิตร อังคณา นีละไพจิตร อังคณา นีละไพจิตร

อังคณา นีละไพจิตร อังคณา นีละไพจิตร

The post อังคณาฝ่าด่านนั่งประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ ลุ้นคณะอื่นตามโผ สว. สีน้ำเงิน หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณาเผย เจอคนล็อบบี้ให้ถอนตัวชิงประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ https://thestandard.co/angkhana-neelapaijit-24092024/ Tue, 24 Sep 2024 03:04:49 +0000 https://thestandard.co/?p=987230 อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (24 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สม […]

The post อังคณาเผย เจอคนล็อบบี้ให้ถอนตัวชิงประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (24 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงการเสนอตัวสมัครเป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ในวาระการเลือกตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วันนี้

 

อังคณาระบุว่า คณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวเป็นการควบรวมของกรรมาธิการ 2 คณะ ซึ่งส่วนตัวได้เสนอตัวเองและแสดงเจตจำนงว่ามีความสามารถที่จะทำงานได้ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ

 

ทั้งนี้หากพิจารณาตามความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ การเลือกประธานคณะกรรมาธิการไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็นการพิจารณาเพื่อให้คนที่มีความเหมาะสมเข้ามาทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก แต่ถ้าหากใช้วิธีการอื่นก็รู้สึกหนักใจ

 

“ส่วนตัวก็มีกรรมาธิการในคณะโทรมาบอกว่าให้ถอนตัว เพื่อนบางคนก็ถูกประกบให้ไปเลือกคนอื่น ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่น่าละอาย และสำหรับวุฒิสภา วุฒิสมาชิกทุกท่านไม่ควรอย่างยิ่งที่จะทำแบบนี้ ส่วนตัวอยากเห็นการพิจารณาอย่างรอบคอบ เป็นธรรม โปร่งใส โดยไม่มีวิธีการอื่นที่เป็นการกระทำที่น่าละอาย เป็นการกดดันให้ใครคนใดคนหนึ่งต้องจำยอมและถอนตัว ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่กังวล” อังคณากล่าว

 

อังคณายังกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวจะได้หรือไม่ก็ไม่ได้จะเป็นจะตาย จะอย่างไรเราก็ทำงานอยู่ ฉะนั้นถ้าได้ก็ทำงาน ไม่ได้ก็ทำงาน แต่การที่จะได้มาก็ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าควรพิจารณาตามคุณสมบัติ ความเหมาะสม และความสามารถ

 

สำหรับภาพลักษณ์ของวุฒิสภาที่มีการแย่งตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกันจนอาจดูไม่ดีนั้น อังคณากล่าวว่า สว. บางคนที่แสดงตัวว่าไม่มีพวก ไม่มีกลุ่ม ไม่มีเสียงข้างมาก-ข้างน้อย แต่ในทางปฏิบัติ ความเป็นจริง ปฏิเสธไม่ได้ สำหรับตนเองถือเป็นคนกลุ่มน้อย เป็นคนอื่น ไม่ใช่พวกเขา เราถูกมองแบบนี้มาโดยตลอด อยากให้คุยกันแบบตรงไปตรงมาดีกว่า

 

อังคณากล่าวอีกว่า ถ้าเราจะใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณา ความโปร่งใสก็ต้องตรวจสอบได้ ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต ในประมวลจริยธรรมข้อหนึ่งขององค์กรอิสระและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเขียนไว้ว่า “ผู้จะปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรอิสระ หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องทำงานด้วยความกล้าหาญ ไม่หวั่นเกรงต่ออิทธิพลใดๆ” ซึ่งส่วนตัวทำงานอย่างตรงไปตรงมา และไม่สบายใจอย่างยิ่งกับวิธีการใดๆ ที่พยายามจะกดดัน ไม่ว่าจะเป็นตัวเองหรือคนอื่นที่โดนการกระทำแบบนี้ ถึงแม้จะได้เป็นประธานก็ไม่สง่างาม

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คะแนนเสียงของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ เวลานี้มีทั้ง สว. ในกลุ่มสีน้ำเงินซึ่งเป็นเสียงข้างมาก และ สว. ที่เป็นเสียงข้างน้อย ข้างละ 9 คนเท่ากัน ทำให้การเลือกประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ เป็นแข่งขันกันระหว่างอังคณา และ วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี

The post อังคณาเผย เจอคนล็อบบี้ให้ถอนตัวชิงประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>