อมร อมรรัตนานนท์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 18 Oct 2023 00:29:58 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ราชกิจจาฯ ประกาศพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 11 แกนนำพันธมิตรฯ หลังท่าอากาศยานไทย ยื่นฟ้องล้มละลาย https://thestandard.co/receivership-11-leaders-of-pad/ Wed, 18 Oct 2023 00:29:58 +0000 https://thestandard.co/?p=855775 ราชกิจจานุเบกษา พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

วานนี้ (17 ตุลาคม) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศเจ้าพน […]

The post ราชกิจจาฯ ประกาศพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 11 แกนนำพันธมิตรฯ หลังท่าอากาศยานไทย ยื่นฟ้องล้มละลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราชกิจจานุเบกษา พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

วานนี้ (17 ตุลาคม) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คดีหมายเลขแดงที่ ล.5598/2566 กองบังคับคดีล้มละลาย 3 ศาลล้มละลายกลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

 

ประกาศดังกล่าวระบุข้อความว่า ด้วย บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลาง ขอให้ลูกหนี้ทั้ง 11 ล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งลงวันที่ 12 กันยายน 2566 ให้พิทักษ์ทรัพย์ของ พล.ต. จําลอง ศรีเมือง ลูกหนี้ที่ 1, สนธิ ลิ้มทองกุล ลูกหนี้ที่ 2, พิภพ ธงไชย ลูกหนี้ที่ 3, สุริยะใส กตะศิลา ลูกหนี้ที่ 4, สมศักดิ์ โกศัยสุข ลูกหนี้ที่ 5, ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ลูกหนี้ที่ 6, อมร หรืออิทธิ หรืออมรเทพ หรือรัชต์ชยุตม์ หรืออมรศักดิ์ อมรรัตนานนท์ หรือศิรโยธินภักดี หรืออิทธิประชา ลูกหนี้ที่ 7, สำราญ รอดเพชร ลูกหนี้ที่ 8, ศิริชัย ไม้งาม ลูกหนี้ที่ 9, มาลีรัตน์ หรือมาลีรักษ์ แก้วก่า ลูกหนี้ที่ 10 และ เทิดภูมิไท หรือเทิดภูมิ ใจดี ลูกหนี้ที่ 11 เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แล้ว

 

ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 และบุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้ หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งผู้ใดมีหน้าที่ตามมาตรา 24/1 แล้วไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท ตามมาตรา 173/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

 

ทั้งนี้ เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ จะเป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ฝ่ายคำคู่ความ สำนักงานเลขานุการกรม กรมบังคับคดี หรือสำนักงานบังคับคดี ซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่โฆษณาคำสั่งนี้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดวันลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ซึ่งตรวจได้จากเว็บไซต์ของกลุ่มงานราชกิจจานุเบกษาที่ https://ratchakitcha.soc.go.th 

 

ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566

 

อ้างอิง:

The post ราชกิจจาฯ ประกาศพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 11 แกนนำพันธมิตรฯ หลังท่าอากาศยานไทย ยื่นฟ้องล้มละลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราชทัณฑ์ เผย ‘อมร’ แกนนำกลุ่มพันธมิตร รักษาโควิดหายแล้ว รอพักฟื้นส่งกลับเข้าเรือนจำ https://thestandard.co/correction-say-amorn-healed-from-coronavirus/ Wed, 29 Sep 2021 10:03:56 +0000 https://thestandard.co/?p=542128 ราชทัณฑ์

วันนี้ (29 กันยายน) ธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณ […]

The post ราชทัณฑ์ เผย ‘อมร’ แกนนำกลุ่มพันธมิตร รักษาโควิดหายแล้ว รอพักฟื้นส่งกลับเข้าเรือนจำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราชทัณฑ์

วันนี้ (29 กันยายน) ธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และโฆษกกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงการดูแลรักษาผู้ต้องขังที่ติดโรคโควิด ที่เข้าสู่กระบวนการกักโรคตาม Protocol ของกรมราชทัณฑ์ 3 ราย คือ พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน และ ภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ โดยทั้งหมดมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรง รับประทานอาหารและนอนหลับพักผ่อนได้ สัญญาณชีพปกติ และค่าออกซิเจนในกระแสเลือดอยู่ในเกณฑ์เป็นปกติ

 

ธวัชชัยยังเปิดเผยผลการดูแล อานนท์ นำภา ในทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ว่า สุขภาพโดยรวมแข็งแรงดี ไม่มีอาการเจ็บป่วย โดยใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านหนังสือและจดหมายอยู่บริเวณที่นอนตนเอง 

 

ส่วนผู้ป่วยโควิดอีก 2 ราย ที่รักษาตัวอยู่ในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ วันนี้ได้รับรายงานว่า เวหา แสนชนชนะศึก เจ้าของบัญชีทวิตเตอร์ ‘ฟ้าฝน ver.เกรี้ยวกราด’ นอนหลับได้ดี ไม่มีไข้ ไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย รับประทานอาหารได้ ขับถ่ายปกติ อยู่ระหว่างการพักฟื้นเพื่อรอส่งกลับไปคุมขังยังเรือนจำ               

 

ด้าน อมร อมรรัตนานนท์ อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นอนหลับได้ดี รับประทานอาหารได้ ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ลิ้นรับรสได้ปกติ รวมถึงมีสัญญาณชีพและค่าออกซิเจนในกระแสเลือดอยู่ในเกณฑ์เป็นปกติ ซึ่งอมรได้รับการรักษาโควิดครบ 14 วันแล้ว อยู่ระหว่างการพักฟื้นเพื่อรอส่งกลับไปคุมขังยังเรือนจำเช่นกัน

The post ราชทัณฑ์ เผย ‘อมร’ แกนนำกลุ่มพันธมิตร รักษาโควิดหายแล้ว รอพักฟื้นส่งกลับเข้าเรือนจำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราชทัณฑ์แจ้ง ‘อมร’ แกนนำพันธมิตรติดโควิดหลังถูกคุมขังในเรือนจำ เพนกวินอายัดตัวคุมขังต่อเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ https://thestandard.co/correction-say-amorn-infect-coronavirus-in-prison/ Thu, 16 Sep 2021 06:45:00 +0000 https://thestandard.co/?p=537256 อมร

วันนี้ (16 กันยายน) ธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณ […]

The post ราชทัณฑ์แจ้ง ‘อมร’ แกนนำพันธมิตรติดโควิดหลังถูกคุมขังในเรือนจำ เพนกวินอายัดตัวคุมขังต่อเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อมร

วันนี้ (16 กันยายน) ธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์และโฆษกกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า กรมราชทัณฑ์ขอรายงานสถานการณ์และการควบคุมดูแลตัวผู้ต้องขังที่เป็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

 

​จากกรณีเมื่อวันที่ 15 กันยายน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังจำนวน 5 คน ได้แก่

  1. บอย-ชาติชาย แกดำ
  2. เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์
  3. ฟ้า-พรหมศร วีระธรรมจารี
  4. ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก
  5. ณัฐชนน ไพโรจน์

ซึ่งผู้ต้องขังลำดับที่ 1-4 ถูกคุมขังอยู่เรือนจำอำเภอธัญบุรี สำหรับผู้ต้องขังลำดับที่ 5 ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำชั่วคราวรังสิต โดยทุกคนได้รับการปล่อยตัวตามคำสั่งศาลอุทธรณ์และติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)

 

ส่วนพริษฐ์มี 2 คดี มีการอายัดตัวที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) บางเขน คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คดีอาญา 1821/2563 และ 1907/2563 แต่ได้มีหนังสือยกเลิกการอายัดตัว ซึ่งผู้ต้องหายังมีหมายขังระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาลอาญาอีก 1 คดี จึงยังไม่สามารถปล่อยตัวได้ และเรือนจำได้ทำหนังสือขออนุญาตกรมราชทัณฑ์เพื่อย้ายไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

 

ทั้งนี้ ในการปล่อยตัวผู้ต้องขังทั้งหมด ทางเรือนจำได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อโควิดตามแนวทางการปล่อยตัวผู้ต้องขังในเรือนจำที่พบการระบาด พร้อมกับได้แจ้งให้ญาติที่มารับตัวและปฏิบัติตามคำแนะนำตามแนวทางที่กรมควบคุมโรคกำหนด

 

ธวัชชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนผู้ต้องขังที่เป็นกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองติดเชื้อโควิดที่ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ 1 ราย คือ เวหา แสนชนชนะศึก โดยแพทย์ประจำทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้เข้าตรวจร่างกายพบว่า รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง สีหน้าสดชื่นดี ไม่มีไข้ ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก นอนหลับได้ดี รับประทานอาหารได้ปกติ ไม่มีอาการหอบเหนื่อย จมูกเริ่มได้รับกลิ่นได้ ลิ้นรับรสได้ปกติ

 

ส่วนกลุ่มผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมอยู่ที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง คือ อานนท์ นำภา พบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย นอนพักผ่อนได้ตามปกติ สุขภาพโดยรวมแข็งแรงดี 

 

ด้าน จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ที่อยู่ระหว่างการแยกกักตัวต่ออีก 14 วัน สำหรับสังเกตอาการผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิด สามารถนอนหลับได้ตามปกติ สุขภาพโดยรวมแข็งแรงดี ในส่วนของอาการคันตัวและปวดฟัน พยาบาลเรือนจำได้ให้ยารักษาตามอาการ 

 

นอกจากนี้ กลุ่มแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ศาลฎีกาพิพากษาจำคุกและถูกคุมขังที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์, เทิดภูมิ ใจดี ซึ่งทั้งสองคนได้ย้ายไปยังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เนื่องจากอาการเจ็บป่วยจากโรคประจำตัว 

 

สำหรับ อมร อมรรัตนานนท์ จากการตรวจหาเชื้อโควิดครั้งที่ 3 พบว่าผลเป็นบวก ติดเชื้อโควิด เจ้าหน้าที่จึงได้นำตัวส่งเข้ารักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์แล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 จากการตรวจร่างกายพบว่ามีโรคประจำตัวคือเบาหวาน และต้อกระจก 2 ข้าง ขณะนี้รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง นอนหลับพักผ่อนได้ สีหน้าวิตกกังวลเล็กน้อย รับประทานอาหารได้ ไม่มีคลื่นไส้ อาเจียน ตาซ้ายมองภาพมัว ซึ่งเป็นมาประมาณ 1 สัปดาห์ จักษุแพทย์ได้ให้น้ำตาเทียมหยอด ด้านสัญญาณชีพและค่าออกซิเจนในกระแสเลือด รวมทั้งผลการเอกซเรย์ปอด เป็นปกติ แพทย์ให้การรักษาตามอาการ

The post ราชทัณฑ์แจ้ง ‘อมร’ แกนนำพันธมิตรติดโควิดหลังถูกคุมขังในเรือนจำ เพนกวินอายัดตัวคุมขังต่อเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลฎียกฟ้อง 6 พันธมิตร ชุมนุมดาวกระจายไล่สมัคร แต่ให้จำคุก ‘ไชยวัฒน์-อมร-เทิดภูมิ’ คนละ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา https://thestandard.co/supreme-court-dismiss-6-allies-on-dao-krai-jai-rally-case/ Tue, 31 Aug 2021 12:06:01 +0000 https://thestandard.co/?p=531439 ศาลฎีกา

วันนี้ (31 สิงหาคม) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่าน […]

The post ศาลฎียกฟ้อง 6 พันธมิตร ชุมนุมดาวกระจายไล่สมัคร แต่ให้จำคุก ‘ไชยวัฒน์-อมร-เทิดภูมิ’ คนละ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลฎีกา

วันนี้ (31 สิงหาคม) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีดำ อ.3973/2558 ที่พนักงานอัยการคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 9 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) คือ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง, สนธิ ลิ้มทองกุล, พิภพ ธงไชย, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, สมศักดิ์ โกศัยสุข, สุริยะใส กตะศิลา, ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์, อมร อมรรัตนานนท์ หรือ รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี และ เทิดภูมิ ใจดี อดีตแกนนำ พธม. เป็นจำเลยที่ 1-9

 

ในความผิดฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่ประชาชนและก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการโดยผู้กระทำคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก แต่ไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 215, 216 กรณีที่มีการรวมตัวชุมนุมต่อต้านและขับไล่รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2551

 

อัยการโจทก์ฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 จำเลยทั้ง 9 คนได้จัดชุมนุมใหญ่ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง ต่อมาจำเลยทั้งหมดได้นำกลุ่ม พธม. จำนวนมากเคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล ปิดการจราจรในถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่สี่แยกมัฆวานรังสรรค์ไปจนถึงสี่แยก จปร. เป็นที่ชุมนุมประท้วง ไปจนถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2551 โดยได้มีการตั้งเวทีถาวร กางเต็นท์ มีโรงครัวปรุงอาหาร ขึงลวดหนามกั้นถนนราชดำเนินนอก มีการตั้งกองกำลังรักษาความปลอดภัยเรียกว่า ‘นักรบศรีวิชัย’ นอกจากนี้ยังมีการจัดเตรียมเครื่องมือ เช่น ไม้เบสบอล หนังสติก ท่อนเหล็ก เพื่อใช้เป็นอาวุธ ส่อไปในทางที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงถึงขนาดก่อความไม่สงบขึ้นในประเทศ ส่วนบนเวทีปราศรัย จำเลยทั้ง 9 คนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นกล่าวปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาลสมัครตลอด 24 ชั่วโมง ร่วมกันชักชวนผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนกระทำการปิดถนนสาธารณะและเคลื่อนกำลังไปในลักษณะ ‘ดาวกระจาย’ ใช้รถยนต์บรรทุกเป็นเวทีปราศรัยเคลื่อนที่ไปกดดันบริเวณสถานที่ราชการหลายแห่ง เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

 

จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และได้รับการประกันตัวในชั้นพิจารณา

 

คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1-6 เนื่องจากเป็นการฟ้องจำเลยซ้ำกับคดี พธม. บุกรุกทำเนียบรัฐบาล หมายเลขดำ อ.4925/2555 อัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 7-9 นั้น ศาลเห็นว่าการกระทำเป็นความผิดฐานมั่วสุม 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองตามมาตรา 215 วรรคหนึ่ง แต่เห็นควรให้รอการกำหนดโทษจำเลยที่ 7-9 ไว้ก่อนมีกำหนด 2 ปี

 

ต่อมาศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562 ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด โดยยกฟ้องจำเลยที่ 1-6 เนื่องจากเห็นว่าอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 7-9 นั้นไม่ได้กระทำความผิดฐานก่อความวุ่นวายตามมาตรา 215 วรรคแรก แม้โจทก์จะมีพยานเจ้าหน้าที่เบิกความกรณีผู้ชุมนุมต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติงาน จากการที่เจ้าหน้าที่ได้เข้ารื้อเวทีและเต็นท์ของกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ได้เริ่มจากกลุ่มผู้ชุมนุม และที่มีการตรวจค้นพบขวานและเหล็กแป๊บในพื้นที่ภายหลังกลุ่มผู้ชุมนุมขนย้ายเต็นท์และข้าวของออกไปหมดแล้ว จึงค่อนข้างผิดวิสัย อีกทั้งก็ไม่ได้ค้นพบจากตัวผู้ชุมนุม ทำให้มีข้อสงสัยว่าอาจจะไม่ใช่ของผู้ชุมนุมเอง เห็นว่าการชุมนุมของกลุ่ม พธม. เป็นการชุมนุมโดยสงบ ใช้สิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

 

ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลย โดยในวันนี้ จำเลยที่ 1-8 เดินทางมาศาลแล้ว ก่อนที่ เทิดภูมิ ใจดี จำเลยที่ 9 ซึ่งนั่งรถเข็นมาฟังคำพิพากษาด้วยเช่นกัน 

 

ศาลฎีกาตรวจสำนวนปรึกษากันแล้ว มีประเด็นวินิจฉัยว่า คดีที่อัยการโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1-6 เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ อ.1877/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ.1878/2558 หรือไม่ เห็นว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเป็นการกดดันให้รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ลาออก ซึ่งโจทก์ฟ้องเป็นหมายเลขแดงที่ อ.1877/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ.1878/2558 ไปแล้วกับความผิดในคดีนี้ ซึ่งเป็นความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปแล้วก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 215 ดังนั้นจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1-6 อีก ถือว่าเป็นคดีที่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์จึงนำการกระทำความผิดในคราวเดียวกันมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1-6 เป็นคดีนี้อีกไม่ได้ จึงเป็นการฟ้องซ้ำ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย 

 

ส่วนจำเลยที่ 7-9 นั้น เห็นว่าได้ขึ้นปราศรัยเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาล นอกจากนี้จำเลยที่ 7 ยังเดินทางไปชุมนุมปิดถนนมิตรภาพ จังหวัดนครราชสีมา ส่วนจำเลยที่ 8 นำผู้ชุมนุมไปปิดล้อมที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย การกระทำของจำเลยที่ 7-9 เป็นการร่วมชุมนุมที่มีการปิดกั้นการจราจร จึงพิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 7-9 เป็นการมั่วสุมก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามมาตรา 66 ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 116 อนุ 2 และอนุ 3 ซึ่งเป็นบทหนักสุด ให้จำคุกคนละ 1 ปี แต่มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1ใน 3 คงจำคุกคนละ 8 เดือนโดยไม่รอลงอาญา

The post ศาลฎียกฟ้อง 6 พันธมิตร ชุมนุมดาวกระจายไล่สมัคร แต่ให้จำคุก ‘ไชยวัฒน์-อมร-เทิดภูมิ’ คนละ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา appeared first on THE STANDARD.

]]>