หุ้น KBANK – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 21 Apr 2024 07:19:53 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 9 หุ้นแบงก์มีกำไร 5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน แบงก์ใหญ่โตสวนทางแบงก์เล็ก https://thestandard.co/9-bank-stocks-profit/ Sun, 21 Apr 2024 07:19:53 +0000 https://thestandard.co/?p=925082 หุ้นแบงก์

กำไรสุทธิของ หุ้น ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ประจำไตรมาส 1 ปี […]

The post 9 หุ้นแบงก์มีกำไร 5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน แบงก์ใหญ่โตสวนทางแบงก์เล็ก appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นแบงก์

กำไรสุทธิของ หุ้น ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ประจำไตรมาส 1 ปี 2567 ล่าสุดประกาศออกมาแล้ว 9 บริษัท โดยขาดเพียงธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ที่ยังไม่ได้ประกาศออกมา 

 

สำหรับ 9 ธนาคารที่ประกาศออกมาแล้ว ได้แก่ 

 

 

โดยหนึ่งในปัจจัยบวกที่ช่วยให้หุ้นกลุ่มแบงก์มีกำไรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้ที่ลดลงราว 16% โดยตั้งสำรองไปประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาทในไตรมาสแรกที่ผ่านมา 

 

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ภาพรวมกำไรจะค่อนข้างทรงตัว แต่จะเห็นว่าหุ้นแบงก์ขนาดใหญ่และขนาดกลางเติบโตได้ค่อนข้างโดดเด่น ทั้งในส่วนของ บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB), ธนาคารกรุงเทพ (BBL), ธนาคารกรุงไทย (KTB), และธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) ยกเว้นเพียงธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ที่กำไรหดตัว 13% ซึ่งเป็นผลจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นถึง 111%

The post 9 หุ้นแบงก์มีกำไร 5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน แบงก์ใหญ่โตสวนทางแบงก์เล็ก appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น KBANK บวกสวนตลาดหุ้นร่วงแรง รับข่าวดีกำไรงวด 9 เดือนแรกปีนี้ 3.3 หมื่นล้านบาท https://thestandard.co/kbank-shares-rise-against-falling-market/ Fri, 20 Oct 2023 04:51:49 +0000 https://thestandard.co/?p=856729 หุ้น KBANK บวก สวนทาง ตลาดหุ้นไทย

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK วันนี้ […]

The post หุ้น KBANK บวกสวนตลาดหุ้นร่วงแรง รับข่าวดีกำไรงวด 9 เดือนแรกปีนี้ 3.3 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น KBANK บวก สวนทาง ตลาดหุ้นไทย

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK วันนี้ (20 ตุลาคม) เปิดตลาดในแดนบวกและปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.98% หรือขึ้นมาซื้อ-ขายที่ระดับ 129 บาท จากนั้นยังทรงตัวในแดนบวกต่อเนื่อง และมูลค่าการซื้อ-ขายหนาแน่นเป็นอันดับ 1 ในกระดาน SET ซึ่งสวนทางกับ SET Index ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากวานนี้อีก 12 จุด โดยสาเหตุหลักน่าจะมาจากการประกาศผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกปีนี้ และงวดไตรมาส 3 ปีนี้ ที่กำไรสุทธิมีการเติบโต 

 

งวด 9 เดือนโกยกำไรสุทธิ 3.3 หมื่นล้านบาท

 

ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยรายงานผลประกอบการ 9 เดือน ปี 2566 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 33,017 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.35% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 81,298 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.90% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

 

ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงดำเนินการตามหลักความระมัดระวังรอบคอบอย่างสม่ำเสมอ ในการพิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งควบคู่ไปกับการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง คำนึงถึงสัญญาณการชะลอตัวและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ยังส่งผลให้การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศอยู่ในกรอบจำกัดตามที่กล่าวข้างต้น จึงพิจารณาตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้น 31.35% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเปรียบเทียบสำรองฯ ในไตรมาส 3 กับไตรมาสก่อนๆ สำรองฯ ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งสอดคล้องกับที่ธนาคารได้ประมาณการไว้ก่อนหน้า นอกจากนี้ ธนาคารยังมีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร

 

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 13.16% สอดคล้องกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ว่าจะมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอัตราปกติในอัตรา 0.46% และจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น ขณะที่ธนาคารยังมีการดูแลลูกค้าเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการดำเนินการเชิงรุกในการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวไม่เท่ากันผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคาร สำหรับอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net Interest Margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.62% 

 

นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 19.09% หลักๆ จากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนที่เพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด และรายได้จากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น 12.57% สอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มตามปริมาณธุรกิจ และส่วนหนึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) อยู่ที่ระดับ 42.65% ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

 

กำไรไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 2.62% จากไตรมาสก่อนหน้า

 

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 ปี 2566 เปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2566 กำไรสุทธิของธนาคารและบริษัทย่อยมีจำนวน 11,282 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.62% จากไตรมาส 2 ปี 2566 สำหรับกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 27,294 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยรายได้จากการดำเนินงานลดลง หลักๆ จากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนที่ลดลงตามภาวะตลาด ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ลดลงจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานและค่าใช้จ่ายทางการตลาด ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) อยู่ที่ 42.07% ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.37%

 

ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,266,004 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2565 จำนวน 19,635 ล้านบาท หรือ 0.46% หลักๆ เกิดจากรายการระหว่างธนาคารกับตลาดเงินสุทธิเพิ่มขึ้น ในขณะที่เงินให้สินเชื่อสุทธิลดลงจากการพิจารณาปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวัง และการจัดการคุณภาพสินทรัพย์ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL Gross) อยู่ที่ระดับ 3.11% และค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 154.90% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 19.62% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 17.65%

 

ยังจับตาความเสี่ยงทางเศรษฐกิจใกล้ชิด

 

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี 2566 แม้เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่แรงหนุนจากมาตรการของภาครัฐในปีนี้น่าจะมีจำกัด ประกอบกับยังต้องติดตามผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร รวมถึงผลกระทบจากระดับหนี้ครัวเรือนและต้นทุนทางการเงินที่อยู่ในระดับสูง ที่อาจกดดันทิศทางการใช้จ่ายภายในประเทศ 

 

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความตึงเครียดในอิสราเอลอย่างใกล้ชิด เพราะหากสถานการณ์ยืดเยื้อหรือขยายวงกว้างออกไป ก็อาจทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวนในกรอบสูงเป็นเวลานาน ซึ่งก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย และทำให้ตลาดการเงินรวมถึงค่าเงินบาทมีความผันผวนตามไปด้วย

The post หุ้น KBANK บวกสวนตลาดหุ้นร่วงแรง รับข่าวดีกำไรงวด 9 เดือนแรกปีนี้ 3.3 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทยรูดต่ออีก 20 จุดตามต่างประเทศ นักลงทุนยังหวั่นวิกฤตลุกลาม โบรกประเมินแนวรับ 1,550 จุด แนะลุยหุ้นได้อานิสงส์เลือกตั้ง https://thestandard.co/thai-stock-drop-20-points/ Tue, 14 Mar 2023 06:23:35 +0000 https://thestandard.co/?p=762643 หุ้นไทย

หุ้นไทยเช้าวันนี้ (14 มีนาคม) ดัชนีเปิดการซื้อขายในแดนล […]

The post หุ้นไทยรูดต่ออีก 20 จุดตามต่างประเทศ นักลงทุนยังหวั่นวิกฤตลุกลาม โบรกประเมินแนวรับ 1,550 จุด แนะลุยหุ้นได้อานิสงส์เลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทย

หุ้นไทยเช้าวันนี้ (14 มีนาคม) ดัชนีเปิดการซื้อขายในแดนลบ จากนั้นปรับตัวลดลงต่อเนื่องจนแตะระดับต่ำสุดที่ 1,552.05 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายช่วงเช้าที่ระดับดัชนี 1,552.70 จุด มูลค่าการซื้อขายช่วงเช้าอยู่ที่ 49,958 ล้านบาท 

 

โดยหุ้น KBANK มีการฟื้นตัวขึ้นในแดนบวก ปิดการซื้อขายที่ 129 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาท หรือ 0.78% ขณะที่หุ้น SCB ปิดที่ 98.50 บาท ลดลง 1.25 บาท หรือ 1.25% หุ้น CPALL ปิดที่ 60.25 บาท -1.75 บาท หรือ -2.82% หุ้น AOT ปิดที่ 67.25 บาท -0.50 บาท หรือ -0.74% และหุ้น ADVANC ปิดที่ 203.00 บาท +1.00 บาท หรือ +0.50% 

 

ฝ่ายวิจัย บล.กรุงศรี พัฒนสิน ระบุว่า หุ้นไทยวันนี้แกว่งตัว Sideways เช่นเดียวกับสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากจิตวิทยาการลงทุนที่เป็นลบจากต่างประเทศ กรณีปัญหาภาคธนาคารสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะมีการเข้ามาแก้ไขปัญหาจากทางการสหรัฐฯ ที่เร็วก็ตาม ขณะเดียวกัน หากอิงภาพระยะกลาง มองว่าเหตุการณ์นี้อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนให้สิ้นสุดวงจรดอกเบี้ยนโยบายเข้มงวด สะท้อนจาก Dollar Index อ่อนค่า 103.5จุด+/- และ US Bond Yield 2 ปีและ 10 ปี ที่ลดลงสู่ 4.05% และ 3.56% ซึ่งจะเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง 

 

สำหรับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวต่อหุ้นไทยนั้นมีจำกัด และเศรษฐกิจภายในไทยยังฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากภาพนักท่องเที่ยวต่างชาติเร่งขึ้นทุกสัปดาห์ จะหนุนกลุ่มอิงภายในประคองตลาดได้ ประกอบกับ SET ที่อยู่ในโซนลงทุน PER’23 เหลือ 15.3 เท่า จากค่าเฉลี่ย 17.3 เท่า และการเลือกตั้งใหญ่จะเป็นแรงหนุน SET Index เดินหน้าสู่เป้าปี 2023 ที่ 1,800 จุด ทั้งนี้ อิง ERP เฉลี่ย 3.06% โดยปัจจุบันยังให้ลงทุนหุ้นไทยน้ำหนัก 75%

 

ด้าน วิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก จำกัด ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ปรับตัวในลักษณะ Sideway Down โดยนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการลุกลามจากการสั่งปิดกิจการ Silicon Valley Bank (SVB) และคำสั่งปิดกิจการของ Signature Bank ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่ปล่อยกู้ให้กับอุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซี ประกอบกับยังจับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ เพื่อรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ย จึงคาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีไว้ที่ 1,550-1,590 จุด

 

ทั้งนี้ แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์ หากมีการประกาศยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยหุ้นที่ได้อานิสงส์จากปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ TKS, SIRI, PR9, SC, STEC และ STPI และแนะนำต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ที่ใช้สิทธิหมดอย่างรวดเร็ว ได้แก่ MINT, CENTEL, ERW, SPA, AU และ SHR

 


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

The post หุ้นไทยรูดต่ออีก 20 จุดตามต่างประเทศ นักลงทุนยังหวั่นวิกฤตลุกลาม โบรกประเมินแนวรับ 1,550 จุด แนะลุยหุ้นได้อานิสงส์เลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
KBANK – เป้าหมายปี 2566 ค่อนข้างเป็นลบมากกว่าคาด https://thestandard.co/market-focus-kbank-2566/ Mon, 30 Jan 2023 14:17:45 +0000 https://thestandard.co/?p=743857

เกิดอะไรขึ้น: บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ตั้งเป้าหมายปี […]

The post KBANK – เป้าหมายปี 2566 ค่อนข้างเป็นลบมากกว่าคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ตั้งเป้าหมายปี 2566 โดยตั้งเป้า Credit Cost ที่ 1.75-2% เทียบกับ 2.11% ในปี 2565 ซึ่งค่อนข้างเป็นลบมากกว่าตัวเลขที่ InnovestX Research คาดการณ์ไว้ที่ 1.8% ดังนั้นจึงได้ปรับประมาณการ Credit Cost ปี 2566 เพิ่มขึ้นสู่ 2% 

 

เป้าหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การล้างหนี้ด้อยคุณภาพออกจากบัญชีงบดุลเชิงรุก (ขาย NPL ให้กับ JK AMC และตัดหนี้สูญ) และแผนเจาะตลาดสินเชื่อขนาดเล็ก (Small Ticket) และสินเชื่อดิจิทัล 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


KBANK วางแผนล้างหนี้ด้อยคุณภาพออกจากบัญชีงบดุลให้แล้วเสร็จในปีนี้ ช้ากว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ 1 ปี ธนาคารตั้งเป้าอัตราส่วน NPL ที่น้อยกว่า 3.25% ภายในสิ้นปี 2566 เทียบกับ 3.2% (ตามการคำนวณของธนาคาร) ณ สิ้นปี 2565 NPL ไหลเข้าในปี 2565 20% เกิดจากสินเชื่อที่มีปัญหาอยู่แล้วก่อนเกิดสถานการณ์โควิด, 50% เกิดจากผลกระทบโควิด, 20% เกิดจากการปล่อยสินเชื่อขนาดเล็กรายใหม่ และ 10% เกิดจากธุรกิจปกติ 

 

สัดส่วนสินเชื่อที่มีการปรับโครงสร้างหนี้แบบเบ็ดเสร็จเพิ่มขึ้นจาก 6.3% ณ 3Q65 สู่ 6.9% ณ 4Q65 LINE BK (บริษัทย่อยที่ KBANK ถือหุ้น 50%) มี Credit Cost สูงมากที่ 24% ในปี 2565 และคาดว่าจะลดลงสู่ 20% สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ราว 20% อยู่ในภาคการส่งออก ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเผชิญแรงต้านจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

 

ทั้งนี้ ตั้งเป้าสินเชื่อเติบโต 5-7% ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการของ InnovestX Research ที่ 6% เทียบกับ 3% (6% ถ้าไม่รวม NPL ที่ตัดจำหน่ายออกไป) ในปี 2565 สำหรับปี 2566 KBANK ตั้งสินเชื่อบรรษัทธุรกิจเติบโต 4-6% สินเชื่อธุรกิจ SME เติบโต 1-2% และสินเชื่อลูกค้าบุคคลเติบโต 2-4% ธนาคารคาดว่าการเติบโตของสินเชื่อบรรษัทธุรกิจส่วนใหญ่จะเกิดจากธุรกิจโรงแรมและการบริการ ค้าปลีก และอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการขยายสินเชื่อในตลาดภูมิภาคไปสู่เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน

 

ด้าน NIM ปี 2566 KBANK ตั้งเป้า NIM ที่ 3.3-3.45% เทียบกับ 3.34% ในปี 2565 ซึ่งแย่กว่าที่ได้คาดการณ์ เป้าหมายดังกล่าวอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.75% ณ สิ้นปี 2566 (โดยอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน 2H66 เพื่อรับมือกับแรงต้านจากเศรษฐกิจโลก) 

 

แนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น และการหันมาปล่อยสินเชื่อบรรษัทธุรกิจเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับชะลอการปล่อยสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันที่ให้ผลตอบแทนสูง จึงปรับประมาณการ NIM ปี 2566 ลดลง 5 bps โดยคาดว่า NIM จะขยายตัว 22 bps ซึ่งดีกว่าเป้าหมายของธนาคาร

 

ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ KBANK ตั้งเป้าในระดับทรงตัวในปี 2566 ธนาคารคาดว่าค่าธรรมเนียมรับจากการทำธุรกรรมจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่จะขยายธุรกิจ Wealth Management ในปี 2566 ด้วยรูปแบบการขายและบริการใหม่ๆ ธนาคารเชื่อว่ารายได้จากการรับประกันภัยสุทธิทำจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 2565 และจะค่อยๆ ฟื้นตัวในปี 2566 ขณะที่ตั้งเป้าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ทรงตัวอยู่ที่ Low to Mid 40% ในปี 2566 

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น KBANK ปรับเพิ่มขึ้น 1.37%MoM สู่ระดับ 147.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 2.32%MoM สู่ระดับ 1,681.30 จุด 

 

กลยุทธ์การลงทุนและแนวโน้มผลประกอบการปี 2566:

ในปี 2566 InnovestX Research คาดว่ากำไรจะฟื้นตัว 20% โดยได้รับการสนับสนุนจากการคาดการณ์ว่าสินเชื่อจะเติบโต 6% NIM จะขยายตัว 22 bps รายได้ค่าธรรมเนียมจะอยู่ในระดับทรงตัว และ Credit Cost จะลดลง 11 bps

 

โดยคงเรตติ้ง NEUTRAL สำหรับ KBANK ด้วยราคาเป้าหมายที่ปรับลดลงจาก 173 บาท สู่ 163 บาทต่อหุ้น (0.72 เท่าของประมาณการ BVPS ปี 2566) เนื่องจากได้ปรับประมาณการกำไรปี 2566 และ 2567 ลงปีละ 12% ซึ่งหลักๆ เกิดจากการปรับประมาณการ Credit Cost และ NIM 

 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากเงินเฟ้อสูงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และผลกระทบจาก Fintech

The post KBANK – เป้าหมายปี 2566 ค่อนข้างเป็นลบมากกว่าคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น KBANK เผชิญแรงขายหนัก หลัง MSCI ถอดตัว Foreign ออกจากการคำนวณ สวนทางหุ้น CBG พุ่งกว่า 6% ที่เข้าไปเสียบแทน https://thestandard.co/kbank-share-heavily-sold-after-msci-take-foreign-out/ Wed, 12 May 2021 03:49:36 +0000 https://thestandard.co/?p=487812 หุ้น KBANK เผชิญแรงขายหนัก หลัง MSCI ถอดตัว Foreign ออกจากการคำนวณ สวนทางหุ้น CBG พุ่งกว่า 6% ที่เข้าไปเสียบแทน

หุ้นธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เผชิญแรงขายอย่างหนักในช่วงเช […]

The post หุ้น KBANK เผชิญแรงขายหนัก หลัง MSCI ถอดตัว Foreign ออกจากการคำนวณ สวนทางหุ้น CBG พุ่งกว่า 6% ที่เข้าไปเสียบแทน appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น KBANK เผชิญแรงขายหนัก หลัง MSCI ถอดตัว Foreign ออกจากการคำนวณ สวนทางหุ้น CBG พุ่งกว่า 6% ที่เข้าไปเสียบแทน

หุ้นธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เผชิญแรงขายอย่างหนักในช่วงเช้าวันนี้ (12 พฤษภาคม) หลัง MSCI นำหุ้นในส่วนของ Foreign หรือ KBANK-F ออกจากการคำนวณดัชนี MSCI Global Standard ส่งผลให้ราคาหุ้น KBANK เช้าวันนี้ ลดลงไปราว 4% มาอยู่ที่ระดับ 120 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขายสูงสุดเมื่อเทียบกับหุ้นอื่นๆ 

 

การเคลื่อนไหวของหุ้น KBANK ถือว่าสวนทางกับหุ้น บมจ.คาราบาวกรุ๊ป (CBG) ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นมาอยู่ที่ระดับ 118.50 บาท หรือเพิ่มขึ้นราว 6.76% หลัง MSCI ประกาศนำหุ้น CBG เข้ามาคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard

 

โดยเช้าวันนี้ MSCI ได้ปรับน้ำหนักการคำนวณหุ้นแถบเอเชียในดัชนี MSCI Global Standard ใหม่ทั้งหมด 96 บริษัท รวมทั้งได้ปรับการคำนวณในดัชนี MSCI Global Small Cap รวม 594 บริษัท 

 

โดยในเอเชียส่วนใหญ่เป็นหุ้นประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่ถูกนำเข้าคำนวณ ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ส่วนของหุ้นไทยถูกเข้าคำนวณ 10 บริษัท และถูกคัดออกรวม 2 บริษัท 

 

สำหรับ ดัชนี MSCI Global Standard มีบริษัทที่ถูกคัดออก 2 บริษัท ประกอบด้วย บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) และธนาคารกสิกรไทย ในส่วนของ Foreign (KBANK-F) 

 

ส่วนบริษัที่ถูกนำเข้าคำนวณมี 2 บริษัท ประกอบด้วย บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) และ บมจ.คาราบาวกรุ๊ป (CBG) 

 

ด้านดัชนี MSCI Global Small Cap มีหุ้นที่ถูกนำเข้าคำนวณรอบนี้ ประกอบด้วย บมจ.แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ (ACE), บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง (PSL), บมจ.อาร์ ซี แอล (RCL), บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง (SCCC), บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER), บมจ.ซินเน็ค(ประเทศไทย) (SYNEX), บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) และ บมจ.ทีโอเอ เพ้นท์(ประเทศไทย) (TOA) ส่วนหุ้นที่ถูกคัดออกจากการคำนวณในรอบนี้ไม่มี

 

ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ประเมินว่า จากสถิติในอดีตพบว่า ราคาหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณในดัชนี MSCI มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ประกาศจนถึงวันที่มีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะช่วงปีหลังๆ นักลงทุนให้น้ำหนักกับประเด็นนี้มากขึ้น 

 

ในปีล่าสุด หุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Standard ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 10.9% (ในอดีตเฉลี่ยราว 5%) และมีความน่าจะเป็นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกราว 80% 

 

ขณะที่หุ้นคัดเลือกเข้าคำนวณ ดัชนี MSCI Global Small Cap ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 7.9% (ในอดีตเฉลี่ยราว 2%) และมีความน่าจะเป็นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกราว 80% แต่ราคาจะค่อยๆ ลดลงหลังจากถูกนำเข้าคำนวณดัชนีแล้ว ขณะที่หุ้นถูกคัดออกมีโอกาสปรับตัวลดลงแรงก่อนวันเข้าคำนวณ จึงแนะนำหลีกเลี่ยงช่วงสั้น

 

อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทที่ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ไม่ได้ทำการศึกษา ขณะเดียวกันยังมีบริษัทที่ถูกเก็งว่าจะถูกคัดเข้าคำนวณมาก่อน อาทิ SCGP ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงทำการวัดผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน(YTD) เพื่อค้นหาว่ามีหุ้นอะไรที่ยังขึ้นมาไม่เยอะน่าลงทุนบ้าง ได้ผลลัพธ์ดังนี้

 

MSCI Global Standard 

 

ที่ถูกนำเข้าคำนวณ

CBG   -3.1%YTD

SCGP +35.5%YTD

 

ที่ถูกคัดออกจากการคำนวณ

DTAC -3.8%YTD

KBANK +10.6%YTD

 

MSCI Global Small Cap 

TTA +222.1%YTD

RCL +192.3%YTD

PSL +135.5%YTD

SYNEX +86.7%YTD

SINGER +54.8%YTD

SCCC +30.3%YTD

TOA -1.5%YTD

ACE ไม่เปลี่ยนแปลง

 

ดังนั้น โดยสรุปแล้ว กลยุทธ์ MSCI Play สามารถเก็งกำไรหุ้นทั้งหมดที่ถูกเข้าคำนวณได้ทั้งหมดก่อนวันบังคับใช้ (ใช้ราคาปิด 27 พฤษภาคม 2564) แต่ 3 หุ้นเด่นที่ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส  ชื่นชอบมากสุดคือ หุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งดีมีอัปไซด์ ที่ถูกคัดเข้าดัชนี MSCI Global Small Cap อย่าง SCCC, TOA พร้อมกับเก็งกำไรหุ้น Laggard ที่ถูกคัดเข้าดัชนี MSCI Global Standard อย่าง CBG

The post หุ้น KBANK เผชิญแรงขายหนัก หลัง MSCI ถอดตัว Foreign ออกจากการคำนวณ สวนทางหุ้น CBG พุ่งกว่า 6% ที่เข้าไปเสียบแทน appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น KBANK พุ่งแรง หลังเปิดเผยเป้าหมายการเงินปี 2564 ตั้ง Credit Cost น้อยกว่าที่ตลาดคาด https://thestandard.co/kbank-stocks-increase/ Mon, 01 Feb 2021 11:07:57 +0000 https://thestandard.co/?p=449588 หุ้น KBANK พุ่งแรง หลังเปิดเผยเป้าหมายการเงินปี 2564 ตั้ง Credit Cost น้อยกว่าที่ตลาดคาด

เกิดอะไรขึ้น: วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 บมจ.ธนาคารกสิก […]

The post หุ้น KBANK พุ่งแรง หลังเปิดเผยเป้าหมายการเงินปี 2564 ตั้ง Credit Cost น้อยกว่าที่ตลาดคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น KBANK พุ่งแรง หลังเปิดเผยเป้าหมายการเงินปี 2564 ตั้ง Credit Cost น้อยกว่าที่ตลาดคาด

เกิดอะไรขึ้น:

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 บมจ.ธนาคารกสิกร (KBANK) ได้เปิดเผยเป้าหมายทางการเงินปี 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

  1. กำหนด Credit Cost ไม่เกิน 160 bps ซึ่งลดลงจาก 205 bps ในปี 2563 

 

  1. ตั้งเป้าอัตราส่วนหนี้สินด้อยคุณภาพ (NPL) ที่ 4-4.5% เทียบกับ 3.93% ณ สิ้นปี 2563

 

  1. การเติบโตของสินเชื่อ 4-6%YoY เทียบกับ 12.13%YoY ในปี 2563 ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการ GDP ปี 2564 ของ KBANK ที่คาดว่าจะขยายตัว 2.6% โดย KBANK จะเน้นปล่อยสินเชื่อลูกค้าบุคคลมากขึ้น

 

  1. ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ลดลงสู่ระดับ 3.1-3.3% จาก 3.28% ในปี 2563

 

  1. รายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตตัวเลขหลักเดียว เทียบกับหดตัว 10.2%YoY ในปี 2563 โดยได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมรับจากการให้สินเชื่อ และธุรกิจจัดการกองทุน

 

  1. อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ตั้งเป้าที่ระดับ 40% กลางๆ เทียบกับ 45.2% ในปี 2563 โดย KBANK วางแผนที่จะมุ่งเน้นบริหารจัดการต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ รวมถึงการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อการเติบโตในอนาคต

 

กระทบอย่างไร: 

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 ราคาหุ้น KBANK ปรับตัวขึ้น 3.7%DoD สู่ระดับ 127.00 บาท ขณะที่วันนี้ (1 กุมภาพันธ์) ราคาหุ้น KBANK ยังปรับตัวขึ้นต่อ 3.94%DoD สู่ระดับ 132.00 บาท

 

มุมมองระยะสั้น:

การตั้ง Credit Cost ปี 2564 ของ KBANK ต่ำกว่าที่ตลาดคาด จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นต่อราคาหุ้นให้ปรับขึ้นมาในช่วง 2 วันที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี SCBS มองว่าเป็นการมองบวกจนเกินไป เนื่องจาก KBANK มีสัดส่วนสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สูงที่สุด

 

นอกจากนี้ SCBS คาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2564 ของ KBANK จะพลิกกลับมาเติบโต 17%YoY โดยหลักๆ มาจาก Credit Cost ที่ลดลงอย่างมากสู่ระดับ 1.8% ในปี 2564 รวมถึงสินเชื่อจะเติบโต 5%YoY ขณะที่ NIM จะลดลงเล็กน้อย 8 bps YoY ซึ่งเกิดจากผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อที่ลดลงจากรับการรับรู้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเต็มปี

 

ทั้งนี้ ในระยะสั้นต้องจับตาทิศทาง NPL ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่

 

มุมมองระยะยาว:

SCBS คาดว่ากำไรปี 2565 ของ KBANK จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 4%YoY โดยได้รับการสนับสนุนมาจาก Credit Cost ที่ลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 1.6% และสินเชื่อขยายตัว 5% ขณะที่ NIM จะแคบลงอีก 16 bps YoY เนื่องจากอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ จะปรับตัวขึ้น 23 bps สู่ระดับปกติ 

 

ทั้งนี้ SCBS คาดว่ากำไรของ KBANK จะฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับก่อนโควิด-19 ในปี 2566 เมื่อ Credit Cost กลับคืนสู่ระดับปกติท่ามกลางทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post หุ้น KBANK พุ่งแรง หลังเปิดเผยเป้าหมายการเงินปี 2564 ตั้ง Credit Cost น้อยกว่าที่ตลาดคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>