หุ้นเพิ่มทุน (Right Offering) – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 15 Jan 2024 07:10:00 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ก.ล.ต. สั่งให้ MORE ชี้แจงข้อมูลผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นจากแผนเพิ่มทุน RO ที่ 0.05 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคากระดาน https://thestandard.co/sec-ordered-more-explain-ro-capital-increased-effect/ Mon, 15 Jan 2024 07:10:00 +0000 https://thestandard.co/?p=887836 ก.ล.ต. MORE

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล […]

The post ก.ล.ต. สั่งให้ MORE ชี้แจงข้อมูลผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นจากแผนเพิ่มทุน RO ที่ 0.05 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคากระดาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ก.ล.ต. MORE

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุว่า สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งการให้ บมจ.มอร์ รีเทิร์น หรือ MORE ชี้แจงข้อมูลภายในวันที่ 17 มกราคม 2567 กรณีการนัดประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 19 มกราคม 2567 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

ตามที่ MORE ส่งหนังสือนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2567 ไปยังผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 โดยมีวาระการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 1,076.51 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 358.84 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ 1,435.35 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 21,530,245,323 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.05 บาท เพื่อเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering: RO) จำนวนไม่เกิน 14,353,496,882 หุ้น และเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 3 (MORE-W3) จำนวน 7,176,748,441 หุ้น

 

โดยการประชุมจะจัดขึ้นในวันที่ 19 มกราคม 2567 นั้น ก.ล.ต. ได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับ MORE กรณีการเปิดเผยข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นข้างต้น ในประเด็นการคำนวณผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นจากการออกเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนที่อาจยังมีความไม่ชัดเจน ซึ่ง ก.ล.ต. เห็นว่ากรณีดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุนของผู้ลงทุน จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 58(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้ MORE ชี้แจงข้อมูลดังต่อไปนี้

 

  1. เนื่องจาก MORE กำหนดราคาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน Right Offering เท่ากับ 0.05 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดก่อนการเสนอขาย ดังนั้นหากผู้ถือหุ้นเดิมของ MORE ไม่ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญที่เสนอขายดังกล่าว อาจได้รับผลกระทบด้านราคาตลาดของหุ้น (Price Dilution) ในสัดส่วนที่เป็นสาระสำคัญ 

 

แต่ MORE เปิดเผยข้อมูลในหนังสือนัดประชุมว่าไม่มีผลกระทบต่อราคา โดยได้นำเรื่องการใช้สิทธิแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมาร่วมคำนวณ ซึ่งอาจทำให้ผู้ถือหุ้นของ MORE เข้าใจผิดเกี่ยวกับผลกระทบด้าน Price Dilution อย่างมีนัยสำคัญและเป็นข้อมูลที่ผู้ถือหุ้นจำเป็นต้องใช้ประกอบการตัดสินใจ

 

ก.ล.ต. จึงให้ MORE ชี้แจงข้อเท็จจริงและมาตรการแก้ไขในเรื่องดังกล่าว

 

  1. ตามที่ MORE เปิดเผยวัตถุประสงค์การเพิ่มทุนและแผนการใช้เงิน โดยจะนำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุน 717.67 ล้านบาท ไปต่อยอดการดำเนินธุรกิจปัจจุบันในกลุ่มสาธารณูปโภค ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ/หรือ เพื่อรองรับการขยายไปยังธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงามในลักษณะ Original Equipment Manufacturer (OEM) และ Original Design Manufacturer (ODM) ซึ่ง MORE ระบุว่าอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลการลงทุน และ/หรือ วิเคราะห์ความเป็นไปได้นั้น 

 

เนื่องจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้มีจำนวนค่อนข้างสูง ซึ่งหากผู้ถือหุ้นไม่ได้ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น จะมีผลกระทบต่อสิทธิในการออกเสียง (Control Dilution) ประมาณร้อยละ 75 แผนการใช้เงินเพิ่มทุนจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ถือหุ้นของบริษัททุกท่านจำเป็นต้องใช้ในการประกอบการตัดสินใจ

 

ก.ล.ต. จึงให้ MORE ชี้แจงและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแผนการใช้เงินเพิ่มทุนเพิ่มเติม อย่างน้อยในเรื่องสัดส่วนของงบประมาณและระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้เงินในแต่ละโครงการ รายละเอียดของโครงการโดยสังเขป และความสัมพันธ์กันของแผนการใช้เงินเพิ่มทุนกับการใช้สิทธิแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิ MORE-W3

 

ทั้งนี้ ให้ MORE ชี้แจงข้อมูลดังกล่าวต่อ ก.ล.ต. พร้อมกับเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องภายในวันที่ 17 มกราคม 2567 และเผยแพร่คำชี้แจงดังกล่าวผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

The post ก.ล.ต. สั่งให้ MORE ชี้แจงข้อมูลผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นจากแผนเพิ่มทุน RO ที่ 0.05 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคากระดาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘โคลเวอร์ เพาเวอร์’ เดินหน้าเพิ่มทุน ระดมเงิน 3.84 พันล้านบาท ลุยลงทุน-คืนหนี้ ด้านหุ้นใหญ่ ‘เศรษฐศิริ’ ลั่นพร้อมซื้อ RO เกินสิทธิ์ https://thestandard.co/clover-power-capital-increase/ Fri, 08 Sep 2023 02:17:48 +0000 https://thestandard.co/?p=838931 Clover Power

บมจ.โคลเวอร์ เพาเวอร์ เปิดแผนใช้เพิ่มทุน RO เตรียมซื้อห […]

The post ‘โคลเวอร์ เพาเวอร์’ เดินหน้าเพิ่มทุน ระดมเงิน 3.84 พันล้านบาท ลุยลงทุน-คืนหนี้ ด้านหุ้นใหญ่ ‘เศรษฐศิริ’ ลั่นพร้อมซื้อ RO เกินสิทธิ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Clover Power

บมจ.โคลเวอร์ เพาเวอร์ เปิดแผนใช้เพิ่มทุน RO เตรียมซื้อหุ้น ‘เวสท์เทค เอ็กซ์โพเนนเชียล’ สัดส่วน 20% คิดเป็นมูลค่า 1,040 ล้านบาท เพื่อต่อยอดธุรกิจพลังงานทดแทน หวังปี 2567 ผลงานพลิกมีกำไร

 

เศรษฐศิริ ศักดิ์สิทธิเสรีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โคลเวอร์ เพาเวอร์ หรือ CV เปิดเผยว่า ความคืบหน้าแผนการทุนของบริษัทเตรียมจะเสนอให้ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 เพื่ออนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียน 1,920 ล้านบาท จาก 640 ล้านบาท เป็น 2,560 ล้านบาท โดยออกหุ้นเพิ่มทุน 3,840 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท แบ่งเป็น เสนอขายผู้ถือหุ้นเดิม (RO) จำนวน 2,560 ล้านหุ้น จัดสรร 1 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นเพิ่มทุน ที่ราคาหุ้นละ 1 บาท และยังได้รับจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 1 (CV-W1) ไม่เกิน 1,280 ล้านหุ้น อัตรา 2 หุ้นเพิ่มทุนต่อ 1 หน่วยวอร์แรนต์ โดย CV-W1 ดังกล่าวมีอายุ 5 ปี นับจากวันที่ได้ออก 

 

และหากกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์จองซื้อ RO ไม่ครบตามสิทธิ์ที่ได้รับจัดสรร บริษัทพิจารณาจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) จำนวนไม่เกิน 2,560 ล้านหุ้น ในราคาเสนอขาย PP ที่ไม่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด และจะไม่ต่ำกว่า 1 บาท

 

‘เศรษฐศิริ’ หุ้นใหญ่ CV พร้อมซื้อ RO เกินสิทธิ์

 

โดยบริษัทคาดหวังว่าผู้ถือหุ้นเดิมจะใช้สิทธิ์จองหุ้นครบตามจำนวนที่จัดสรรซึ่งจะทำให้ได้รับเงินจากการเพิ่มทุนเข้ามาจำนวน 2,560 ล้านบาท และจากการแปลงสิทธิ CV-W1 อีก 1,280 ล้านบาท รวมเป็นเงินประมาณ 3,840 ล้านบาท 

 

แผนการใช้เงินจากการเพิ่มทุนจะแบ่งใช้ซื้อหุ้น บริษัท เวสท์เทค เอ็กซ์โพเนนเชียล จำกัด (WTX) สัดส่วน 20% ของหุ้นที่ออกและจำหน่าย ในราคาหุ้นละ 28.10 บาท รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,040 ล้านบาท ซึ่งประกอบธุรกิจจัดการซากรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน (Dismantle Recycling) รวมทั้งการแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงแข็ง (Solid Recovered Fuel: SRF) และธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 

 

ส่วนเงินที่เหลือจะแบ่งนำไปใช้ชำระคืนหนี้เงินกู้ยืมอีกจำนวนไม่เกิน 500 ล้านบาท อีกส่วนจัดสรรไว้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจจำนวนไม่เกิน 500 ล้านบาท รวมทั้งใช้ลงทุนรองรับการต่อยอดธุรกิจหลัก และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในอนาคตอีกจำนวนไม่เกิน 2,056 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้สามารถสร้างฐานธุรกิจรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

“ส่วนตัวผมในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับ 1 สัดส่วน 28.09% ยืนยันว่าจะใช้สิทธิ์ซื้อ RO ให้ได้มากที่สุดซึ่งพร้อมที่สิทธิซื้อ RO เกินสิทธิ์ที่ได้รับการจัดสรร (Oversubscription) ส่วน นิลทิตา เลิศเรืองศุภกุล ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ของ CV ถือเป็นพิจารณาตัดสินใจส่วนตัวคงไม่สามารถตอบแทนได้” เศรษฐศิริกล่าว

 

อย่างไรก็ดี แผนเพิ่มทุน PP จะเป็นทางเลือกลำดับสุดท้ายที่บริษัทจะพิจารณานำมาใช้ โดยกรณีที่การเพิ่มทุน RO มีผู้ถือหุ้นเดิมมาใช้สิทธิ์รอบแรกแล้วยังมีหุ้น RO เหลือ บริษัทก็พร้อมที่จะพิจารณาการขาย RO ในครั้งที่ 2 รวมถึงให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นที่ต้องการซื้อ RO แบบ Oversubscription โดยบริษัทคาดว่ากระบวนการเพิ่มทุน RO จะดำเนินการเสร็จได้ในเดือนพฤศจิกายนปีนี้

 

คาดได้เงิน RO จำนวน 2.56 พันล้าน ไม่ทำ PP

 

โดยคาดว่าจะได้เงินจากการขาย RO รวม 2,560 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อแผนการขยายธุรกิจและแผนการนำเงินไปชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดในอนาคต ดังนั้นแผนเพิ่มทุนแบบ PP อาจไม่จำเป็นต้องใช้ อีกในขณะนี้บริษัทยืนยันว่าไม่ได้มีการเจรจาหรือหาพันธมิตรที่จะเข้ามาซื้อหุ้น PP ที่เหลือจาก RO 

 

เขากล่าวว่า ภายหลังจากการเพิ่มทุน และเข้าถือหุ้นใน WTX สัดส่วน 20% ทำให้บริษัทมีรายได้จากธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้ว โดย WTX ดำเนินธุรกิจพลังงานคล้ายกับบริษัทซึ่ง WTX มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในประเทศที่เป็นสัญญาซื้อขายไฟ PPA จำนวน 1 โรง กำลังการผลิต 27 เมกะวัตต์ และสัญญาซื้อขายไฟแบบ Private PPA จำนวน 2 โรง กำลังการผลิตรวม 3.988  เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศเวียดนามจำนวน 1 โรง กำลังการผลิต 29 เมกะวัตต์ และมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในประเทศเมียนมาอีก 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 150 เมกะวัตต์

 

อีกทั้ง WTX ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมที่จะได้รับ PPA อีกจำนวน 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 19 เมกะวัตต์ และยังอยู่ระหว่างพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กอีกจำนวน 2 โครงการ

 

นอกจากนี้ WTX ยังมีธุรกิจต้นน้ำคือ ธุรกิจจัดการรถยนต์เก่า, โรงแปรรูปเชื้อเพลิงแข็งสำหรับขยะอุตสาหกรรม และธุรกิจรีไซเคิลเหล็ก ซึ่งจะช่วยในการส่งเสริมธุรกิจซึ่งกันและกันกับธุรกิจของ CV (Business Synergy) และเกิดการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) รวมถึงยังได้ประโยชน์จาก Business Opportunity ระหว่าง CV และ WTX ในด้านวิศวกรรมการออกแบบก่อสร้างโครงการใหม่ๆ และรวมถึงงาน Operation & Maintenance (O&M) อีกทั้งเพิ่มช่องทางการได้มาซึ่งพันธมิตรทางธุรกิจ สร้างโอกาสในการขยายธุรกิจในกลุ่มของพลังงานทดแทนและธุรกิจการขายเชื้อเพลิงแปรรูป เป็นการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ในระยะยาว

 

หวังผลงานปี 67 พลิกมีกำไร

 

สำหรับในปี 2567 คาดว่ารายได้ของ บมจ.โคลเวอร์ เพาเวอร์ ซึ่งมาจากธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจะเติบโต 5-10% จากปีนี้ โดยยังคงมุ่งเน้นพัฒนาและกระจายการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีจากพลังงานหมุนเวียนหลากหลายประเภท

 

พร้อมทั้งคาดว่าผลประกอบการในปี 2567 จะสามารถพลิกกลับมามีกำไรสุทธิได้ จากช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ที่ยังมีผลขาดทุนจำนวน 89.54 ล้านบาท หลังจากการปรับโครงสร้างทุนและธุรกิจเพื่อรองรับการขยายการลงทุนโครงการใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต อีกทั้งจะรับรู้กำไรจากการลงทุนใน WTX ที่ถือหุ้นในสัดส่วน 20% 

 

นอกจากนี้ ยืนยันว่าการลงทุน WTX จากการศึกษาของบริษัทยืนยันว่าไม่ใช่การจดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor) เพราะบริษัทเข้าถือหุ้นใน WTX เพียงสัดส่วน 20% และผู้ถือหุ้นใหญ่ของ WTX ก็ยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นกัน ดังนั้นการลงทุนใน WTX ของบริษัทจึงเป็นการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

 

ขณะที่ปัจจุบัน บมจ.โคลเวอร์ เพาเวอร์ มีโครงการโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วจำนวน 4 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 23.66 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลจำนวน 2 โครงการ โรงไฟฟ้าขยะจำนวน 1 โครงการ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจำนวน 1 โครงการ และโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้างอีกหลายโครงการ

 

ด้านธุรกิจเชื้อเพลิง บริษัทได้เข้าลงทุนในธุรกิจผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) ในประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับกับการขยายงานด้านโรงไฟฟ้าชีวมวลในต่างประเทศ

The post ‘โคลเวอร์ เพาเวอร์’ เดินหน้าเพิ่มทุน ระดมเงิน 3.84 พันล้านบาท ลุยลงทุน-คืนหนี้ ด้านหุ้นใหญ่ ‘เศรษฐศิริ’ ลั่นพร้อมซื้อ RO เกินสิทธิ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
JKN เผยยอดจอง RO รับเงินกว่า 800 ล้านบาท ยันไร้แผนขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้ AO Fund เพิ่ม เหตุมีเงินสดเพียงพอแล้ว หนุนราคาหุ้นดีดกว่า 3% https://thestandard.co/jkn-reveals-the-amount-of-ro-reservations/ Mon, 24 Apr 2023 09:05:18 +0000 https://thestandard.co/?p=780548 JKN ยอดจอง RO

ซีอีโอ ‘เจเคเอ็น โกลบอลฯ’ เผยยอดจองซื้อหุ้น RO ขายได้จำ […]

The post JKN เผยยอดจอง RO รับเงินกว่า 800 ล้านบาท ยันไร้แผนขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้ AO Fund เพิ่ม เหตุมีเงินสดเพียงพอแล้ว หนุนราคาหุ้นดีดกว่า 3% appeared first on THE STANDARD.

]]>
JKN ยอดจอง RO

ซีอีโอ ‘เจเคเอ็น โกลบอลฯ’ เผยยอดจองซื้อหุ้น RO ขายได้จำนวน จำนวน 372.75 ล้านหุ้น รับเงินกว่า 800 ล้านบาท ส่วนภายในไตรมาส 3/66 จ่อรับเงินขาย PP อีก 300 ล้านบาทจากกลุ่มโทโบภายในไตรมาส 3/66 คาดปีนี้ทำรายได้เข้าเป้าที่ 1.1 พันล้านบาท

 

จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป หรือ JKN เปิดเผยว่า ภายหลังจากเปิดให้ผู้ถือหุ้นเดิมได้ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Right Offering หรือ RO) จำนวน 372.75 ล้านหุ้น ในอัตรา 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคา 3 บาท ระหว่างวันที่ 11-12 เมษายน และ 17-19 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน RO รวม 266.83 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 800.49 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังเหลือหุ้น RO ที่ยังขายไม่หมดอีก 105.92 ล้านหุ้น 

 

นอกจากนี้ ไม่นับรวมการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อขายแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement: PP) ให้แก่กลุ่มโทโบ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ยูนิสเตรทช์ จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 99.99% และเป็นส่วนหนึ่งของ GP Group อีก 66.67 ล้านหุ้น ราคาเสนอขาย 4.50 บาท คิดเป็นประมาณ 300 ล้านบาท ที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3/66 นี้

 

จักรพงษ์กล่าวว่า การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน RO ในครั้งนี้ ได้ช่วยเสริมสร้างฐานทุนที่เข้มแข็งและเพียงพอต่อการนำไปปรับโครงสร้างทางการเงินให้เหมาะสมและลดต้นทุนทางการเงินในระยะยาว ส่งผลดีต่ออัตราส่วนทางการเงินปรับตัวดีขึ้น เช่น หนี้สินต่อส่วนทุน (D/E Ratio) ปรับลดลงเหลือ 1.5 เท่า จาก ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 1.85 เท่า พร้อมสนับสนุนความสามารถทำกำไรที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนการดำเนินกิจการและรองรับการลงทุนในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานขององค์กรสู่ Global Content Commerce Company อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดีขึ้นและเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ 

 

จากสภาพคล่องดังกล่าว บริษัทจึงไม่มีแผนออกขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้กับ AO Fund เพิ่มเติม จากวงเงินที่ยังเหลือจากที่ผู้ถือหุ้นเคยอนุมัติจำนวน 880 ล้านบาท เนื่องจากธุรกิจองค์กรมิสยูนิเวิร์ส (Miss Universe Organization) หรือกลุ่มธุรกิจ MUO ที่มีโครงสร้างรายได้ 9 ด้าน โดยเริ่มมีรายได้จากการดำเนินงานแล้ว และคาดว่าจะสามารถทำรายได้ปี 2566 อยู่ที่ 1.1 พันล้านบาทได้ตามเป้าหมาย รวมถึงบริษัทมีแผนสร้างรายได้ Licensing & Merchandising Fee หรือการจำหน่ายสินค้าหรือบริการหรือให้สิทธิ์ผลิตสินค้าหรือบริการ ภายใต้แบรนด์หรือเครื่องหมายการค้าต่างๆ ของ MUO ไปสู่กลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคเพื่อทำตลาดในไทยและต่างประเทศ เพื่อสร้าง New S-Curve ให้แก่ JKN  

 

“การใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน RO ในครั้งนี้ ตนเองและครอบครัวจักราจุฑาธิบดิ์ ได้ใช้สิทธิเต็มที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และรักษาความเป็นเจ้าของ JKN และสามารถกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนบริษัทไปสู่เป้าหมายที่วางไว้” จักรพงษ์กล่าว

 

ด้านการเคลื่อนไหวราคาหุ้นวันนี้ (24 เมษายน) JKN เปิดตลาดที่ 2.58 บาท บวก 0.78% โดยระหว่างการซื้อ-ขาย ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 2.64 บาท บวก 3.13%


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post JKN เผยยอดจอง RO รับเงินกว่า 800 ล้านบาท ยันไร้แผนขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้ AO Fund เพิ่ม เหตุมีเงินสดเพียงพอแล้ว หนุนราคาหุ้นดีดกว่า 3% appeared first on THE STANDARD.

]]>