หุ้นกู้จีน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 26 Sep 2023 05:48:15 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘ไชน่า เอเวอร์แกรนด์’ เผชิญวิกฤตปรับโครงสร้างหนี้ เหตุไม่สามารถออกหุ้นกู้ได้ ‘เสี่ยงล้ม-ผิดนัดชำระหนี้’ https://thestandard.co/china-evergrande-liquidation-risk/ Tue, 26 Sep 2023 05:48:15 +0000 https://thestandard.co/?p=846324

ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป (China Evergrande Group) บริษ […]

The post ‘ไชน่า เอเวอร์แกรนด์’ เผชิญวิกฤตปรับโครงสร้างหนี้ เหตุไม่สามารถออกหุ้นกู้ได้ ‘เสี่ยงล้ม-ผิดนัดชำระหนี้’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป (China Evergrande Group) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีน กำลังหมดเวลาลงเรื่อยๆ ในการดำเนินการด้านการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ หลังจากที่ไม่สามารถออกหุ้นกู้ได้ จนเพิ่มความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้มูลค่ามหาศาลของบริษัท 

 

ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ไชน่า เอเวอร์แกรนด์มีข่าวลบที่เซอร์ไพรส์ตลาดออกมาอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงตั้งแต่การประกาศยกเลิกการประชุมเจ้าหนี้รายใหญ่ในนาทีสุดท้าย โดยอ้างว่าบริษัทต้องการพิจารณาทบทวนแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทใหม่ การควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการเงินของทางการจีน และการขาดคุณสมบัติตามกฎระเบียบในการออกหุ้นกู้ใหม่ 

 

ขณะที่แถลงการณ์ของบริษัทระบุชัดว่า เนื่องจากมีการสอบสวนอย่างต่อเนื่องในบริษัท เหิงต้า เรียล เอสเตท กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ทำให้เอเวอร์แกรนด์ขาดคุณสมบัติในการออกหุ้นกู้ใหม่ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว จนเกิดผลกระทบครั้งใหม่ต่อแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของเอเวอร์แกรนด์ โดยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เหิงต้า เรียล เอสเตทเปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของจีนได้เข้ามาตรวจสอบบริษัท เนื่องจากมีข้อสงสัยว่าอาจกระทำการละเมิดกฎระเบียบด้านการเปิดเผยข้อมูล

 

รายงานระบุว่า ปัญหาล่าสุดที่เอเวอร์แกรนด์กำลังเผชิญในขณะนี้มีขึ้นเพียง 1 สัปดาห์ หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองเซินเจิ้นได้จับกุมตัวพนักงานหลายคนในหน่วยธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของเอเวอร์แกรนด์ ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นเอเวอร์แกรนด์ร่วงลงอย่างหนักในช่วงเวลาดังกล่าว และสะท้อนให้เห็นว่า เอเวอร์แกรนด์กำลังเผชิญปัญหารุมเร้าในด้านต่างๆ นอกเหนือไปจากปัญหาหนี้สินมูลค่ามหาศาล

 

ความเคลื่อนไหวทั้งหมดส่งผลให้หุ้นของเอเวอร์แกรนด์ร่วงมากถึง 24% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (25 กันยายน) โดยขณะนี้เอเวอร์แกรนด์ถือเป็นจุดศูนย์กลางของวิกฤตอสังหาริมทรัพย์จีน และบริษัทกำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันในการสรุปพิมพ์เขียวแม่แบบสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ในต่างประเทศ เนื่องจากต้องต่อสู้กับกองหนี้สินรวมที่ใหญ่กว่า มูลค่า 2.39 ล้านล้านหยวน ซึ่งเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ใดๆ ในโลก

 

ปัจจุบันเอเวอร์แกรนด์อยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งรวมถึงการตัดขายสินทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้มูลค่า 3.40 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางความเชื่อมั่นในภาคอสังหาริมทรัพย์จีนที่ลดน้อยลงเรื่อยๆ 

 

ขณะเดียวกัน เอเวอร์แกรนด์ก็กำลังตกอยู่ในช่วงเวลานับถอยหลัง โดยบริษัทต้องเผชิญกับการพิจารณาคดีในวันที่ 30 ตุลาคม ณ ศาลฮ่องกง เกี่ยวกับคำร้องขอเพิกถอน ซึ่งอาจนำไปสู่การบีบบังคับให้เอเวอร์แกรนด์ต้องเลิกกิจการ 

 

ทั้งนี้ วิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนดูจะยังไม่จบลงง่ายๆ โดยนอกจากไชน่า เอเวอร์แกรนด์แล้ว ล่าสุดไชน่า โอเชียนไวด์ (China Oceanwide) นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สัญชาติจีน เพิ่งได้รับคำสั่งศาลประเทศเบอร์มิวดาให้เลิกกิจการกับบริษัท เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (25 กันยายน) พร้อมแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชั่วคราวร่วมกัน (JPL) ในเบอร์มิวดา 2 คน และในฮ่องกง 1 คน เพื่อมาดูแลเรื่องการจัดการทรัพย์สินและชำระบัญชี โดยการฟ้องร้องมีขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2022

 

การตัดสินใจดังกล่าวของศาลเบอร์มิวดายังส่งผลให้หุ้นของไชน่า โอเชียนไวด์ ในตลาดฮ่องกง ถูกสั่งระงับการซื้อ-ขายทันที และตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงระบุว่า หุ้นของบริษัทจะยังคงระงับการซื้อ-ขายจนกว่าจะมีความคืบหน้าใดๆ ต่อไป 

 

มรสุมของไชน่า โอเชียนไวด์ ทั้งหมด ส่งผลให้ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้บริษัทมีรายได้เป็นศูนย์ เมื่อเทียบกับรายได้ของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 28.02 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง และมีการขาดทุนสุทธิ 709.10 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 1.16 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง และมีหนี้สินอยู่ถึง 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง

 

อ้างอิง:

The post ‘ไชน่า เอเวอร์แกรนด์’ เผชิญวิกฤตปรับโครงสร้างหนี้ เหตุไม่สามารถออกหุ้นกู้ได้ ‘เสี่ยงล้ม-ผิดนัดชำระหนี้’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหุ้นกู้จีนวุ่น หุ้นกู้ไทยก็ลุ้นๆ นักลงทุนกังวลกันขนาดไหน https://thestandard.co/chinese-bond-market-fluctuate/ Tue, 12 Sep 2023 02:29:43 +0000 https://thestandard.co/?p=840523 ตลาดหุ้นกู้จีน

หากพิจารณาสถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High […]

The post ตลาดหุ้นกู้จีนวุ่น หุ้นกู้ไทยก็ลุ้นๆ นักลงทุนกังวลกันขนาดไหน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหุ้นกู้จีน

หากพิจารณาสถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High Yield) ในเอเชียเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้ของบริษัทในประเทศจีนหรือประเทศไทยก็มีความวุ่นวายไม่แพ้กัน  

 

เริ่มที่หุ้นกู้จีน จากข้อมูลใน Bloomberg Asia Ex-Japan USD Credit High Yield Breakdown ซึ่งรวบรวมข้อมูลหุ้นกู้ High Yield ในเอเชียที่ไม่นับรวมญี่ปุ่น พบว่า หุ้นกู้จีนมีสัดส่วนอยู่ในดัชนีสูงประมาณ 20% 

 

แต่สิ่งที่นักลงทุนกังวลคือ หุ้นกู้ High Yield จีน เป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่มากประมาณ 20% แม้ว่าสัดส่วนจะน้อยลงเมื่อเทียบกับในอดีตที่เคยมีสัดส่วนหุ้นกู้กลุ่มอสังหา 50% แต่เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า ภาคอสังหาของจีนมีความอ่อนแอค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น หุ้นกู้ของบริษัทคันทรีการ์เดนท์ ที่เป็นข่าวอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งครบกำหนดชำระในปีนี้ 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแม้ว่าจะจ่ายคืนหนี้สำเร็จไปแล้ว แต่ยังเป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับหุ้นกู้ที่ยังเหลืออยู่ และจะครบกำหนดไถ่ถอนใน 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 11,152 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  

 

ขณะที่เมื่อดูตลาดหุ้นกู้จีนโดยรวมจะพบว่า ช่วงปี 2567-2568 มีจำนวนหุ้นกู้ High Yield จีน ที่ครบกำหนดไถ่ถอนสูงถึง 37,808 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของหุ้นกู้ที่ออกมาแล้ว และจะครบกำหนดชำระนับตั้งแต่ปี 2566-2586 โดยเมื่อดูผลตอบแทนของหุ้นกู้ High Yield ในเอเชีย จะพบว่า ปรับตัวลดลงมา -4.94% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 2565 ขณะที่หุ้นกู้ IG ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด โดยถ้าเป็นหุ้นกู้ High Yield จีน ผลตอบแทนปรับลดลง -14.64% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 2565 สะท้อนถึงกลุ่มอสังหาว่ายังมีอะไรน่ากลัวอยู่ 

 

ดังนั้นในจังหวะที่เศรษฐกิจยังไม่ดีนัก ขณะที่ปริมาณความต้องการที่อยู่อาศัยลดลง ส่วนทิศทางดอกเบี้ยโลกก็ยังสูง ถือว่ามีความท้าทายมากพอสมควร อาจทำให้ผู้ออกหุ้นกู้จีนมีความสามารถในการชำระหนี้ โดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดลงได้ จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าไปก่อนจนกว่าสถานการณ์ความต้องการอสังหาในจีนจะดีขึ้นและดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวลดลง 

 

เมื่อกลับมาดูที่ตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนไทยพบว่า มีมูลค่าประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท โดยเป็นหุ้นกู้ที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) ประมาณ 95% เป็นหุ้นกู้ High Yield เพียง 5% หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาทเท่านั้น ซึ่งหุ้นกู้ Investment Grade ไม่ใช่กลุ่มที่น่ากังวลอยู่แล้ว เนื่องจากยังจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยได้สม่ำเสมอ มีเพียงหุ้นกู้กลุ่ม High Yield บางบริษัทที่มีปัญหามากขึ้น โดยในช่วงก่อนโควิดหุ้นกู้ที่มีปัญหามีประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่ขณะนี้เพิ่มเป็นกว่า 1 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมา 6 เท่าแล้ว 

 

อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้ที่มีปัญหายังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดรวม และส่วนใหญ่ของหุ้นกู้ที่มีปัญหาประมาณ 7 หมื่นล้านบาทมาจากการบินไทย ซึ่งขณะนี้ก็มีสัญญาณที่ดี เนื่องจากที่ผ่านมาผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทยได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคงค้าง ขณะที่ผลการดำเนินงานทั้งในด้านรายได้และกำไรก็ดีขึ้นต่อเนื่อง และคงจะออกจากแผนฟื้นฟูฯ ได้ในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปี 2567 หรืออาจเร็วกว่านั้น หากความสามารถทำกำไรยังมีต่อเนื่องหลังโควิด 

 

ในส่วนของหุ้นกู้ที่ออกในปีนี้มีกว่า 6 แสนล้านบาทแล้ว ส่วนช่วงที่เหลือของปีนี้คงจะมีการออกหุ้นกู้อีก 2-3 แสนล้านบาท ทำให้โดยรวมแล้วหุ้นกู้ที่ออกทั้งหมดในปีนี้มีประมาณ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่ม Investment Grade มีน้อยมากที่เป็น High Yield ฉะนั้นเมื่อดูจากสภาวะเช่นนี้ก็ไม่น่าเป็นกังวลเท่าไรนัก โดยหุ้นกู้ Investment Grade ยังมีความต้องการจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของหุ้นกู้ High Yield เราแนะนำให้ต้องระมัดระวังการลงทุน  

 

เรามองว่าหุ้นกู้ Investment Grade มีงบดุลที่แข็งแรงมากกว่า ทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจในอนาคตที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ดอกเบี้ยแพง เพิ่มภาระต้นทุนให้กับบริษัท ทำให้บริษัทที่อ่อนแออาจได้รับผลกระทบ แต่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ Investment Grade จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า 

 

นอกเหนือจากการเลือกลงทุนที่ควรมุ่งเน้นไปยังกลุ่มหุ้นกู้ Investment Grade ซึ่งยืนหนึ่งเรื่องความแข็งแกร่งแล้ว หากพิจารณาเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) ของแต่ละประเทศ เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในหุ้นกู้ของประเทศไหน โดยเลือกประเทศที่ Yield Curve ปรับขึ้นไปอยู่ในระดับที่น่าสนใจ ก็พบว่า ปัจจุบัน Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ สูงกว่าไทย อีกทั้งผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นก็สูงกว่าพันธบัตรระยะยาว ทำให้ช่องว่างระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนในสหรัฐฯ และไทยมากขึ้น และสูงกว่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสในการลงทุน 

 

เช่น ถ้าไปลงทุนในกลุ่มตราสารตลาดเงิน (Money Market) ที่จัดเป็นตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำ หากเป็นการลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 5% ต่อปี ขณะที่ลงทุนสกุลเงินบาทในไทย ผลตอบแทนประมาณ 1.68% ต่อปีเท่านั้น หรือหากลงทุนในหุ้นกู้ IG สกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูง 

 

อย่างเช่น ถ้านักลงทุนมีประสบการณ์ลงทุนหรือรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แล้วเลือกลงทุนผ่าน Capped Floored Floater Note ที่ออกโดยสถาบันการเงินในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำและสูงที่จะได้รับ ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนประมาณ 4.6% ต่อปี หรือกรณีลงทุนใน Callable Note ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารสามารถไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อายุการลงทุนประมาณ 1 ปี ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนประมาณ 5.25% ต่อปี 

 

ส่วนกรณีที่ต้องการลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ผ่านกองทุนรวม ก็มีหลายกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ Investment Grade เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นกู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเรามองว่าจังหวะนี้คือจังหวะที่เข้าไปลงทุนได้ ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวลดลงในปีหน้า

 

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในต่างประเทศเองด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หากกังวลเรื่องค่าเงิน สามารถทยอยแลกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือใช้ธุรกรรมประเภท Dual Currency Investment (DCI) ซึ่งเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงที่ใช้บริหารจัดการความประสงค์จะใช้สกุลเงินต่างประเทศในอนาคต ซึ่งจะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป้าหมายเอาไว้ล่วงหน้า กรณีที่ลงทุนจนครบอายุแล้ว อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามที่ตกลงไว้ ก็จะแปลงหุ้นกู้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามอัตราที่ตกลง แต่ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่า ก็จะได้รับเงินคืนเป็นเงินต้นสกุลเงินบาทพร้อมผลตอบแทน 

 

สำหรับ SCB CIO มองว่า ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หยุดขึ้นหรือขึ้นน้อยลงมากๆ อัตราแลกเปลี่ยนน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่แคบลง โดยปัจจุบันมีทั้งปัจจัยบวกและลบที่มีผลต่อค่าเงินบาทสลับกันไป เช่น มีประเด็นดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลมากขึ้นทำให้บาทแข็ง แต่ก็มีประเด็นที่เงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินหยวนมากขึ้น แล้วเศรษฐกิจจีนชะลอตัว เงินหยวนก็น่าจะอ่อนค่าลง อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าตามอยู่ ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ลงทุนบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ทยอยแลกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือใช้ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วนด้วย DCI ดังที่อธิบายไว้ข้างต้น 

 

โดยรวมแล้วท่ามกลางตลาดหุ้นกู้ที่ยังมีความว้าวุ่น ก็ยังมีส่วนเนื้อดีของตลาดที่ยังลงทุนได้อยู่ แต่ผู้ลงทุนต้องโฟกัสให้ถูกตลาด เลือกหุ้นกู้ที่มีคุณภาพสูง เพียงเท่านี้ก็สามารถสู้ต่อเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจได้แล้ว 

 

คำเตือน 

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • หุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง และ/หรือ มีความซับซ้อน เสนอขายแก่นักลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth Investors) เท่านั้น 
  • หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเป็นตราสารที่มีความซับซ้อนมากกว่าหุ้นกู้ทั่วไป เนื่องจากเป็นตราสารที่ประกอบด้วยตราสารหนี้และอนุพันธ์แฝง (Embedded Derivatives) โดยการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่น ความเสี่ยงของปัจจัยอ้างอิง หรือความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสาร เป็นต้น 
  • ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน หากหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงชุดใดไม่ได้มีการคุ้มครองเงินต้นในจำนวนร้อยละ 100% ของมูลค่าที่ตราไว้ นอกจากนั้นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงยังเป็นตราสารที่มีสภาพคล่องต่ำและมีตลาดรองที่มีขอบเขตจำกัด ดังนั้นผู้ลงทุนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • การลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนี้เป็นธุรกรรมที่ไม่ใช่เงินฝาก และธุรกรรมการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากแต่อย่างใด 
  • การลงทุนในผลิตภัณฑ์ตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน
  • ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777

The post ตลาดหุ้นกู้จีนวุ่น หุ้นกู้ไทยก็ลุ้นๆ นักลงทุนกังวลกันขนาดไหน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เสี่ยงผิดนัดชำระหุ้นกู้อีกชุด! Country Garden ขอยืดเวลาจ่ายหุ้นกู้สกุลเงินหยวนที่จ่อครบกำหนดไถ่ถอน 4 กันยายนนี้ https://thestandard.co/country-garden-maturing-yuan-bond/ Tue, 29 Aug 2023 06:33:44 +0000 https://thestandard.co/?p=835116

Country Garden เสนอขอระยะเวลาผ่อนผัน (Grace Period) ไปอ […]

The post เสี่ยงผิดนัดชำระหุ้นกู้อีกชุด! Country Garden ขอยืดเวลาจ่ายหุ้นกู้สกุลเงินหยวนที่จ่อครบกำหนดไถ่ถอน 4 กันยายนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Country Garden เสนอขอระยะเวลาผ่อนผัน (Grace Period) ไปอีก 40 วันปฏิทิน สำหรับหุ้นกู้สกุลเงินหยวนที่จะครบกำหนดวันที่ 4 กันยายนนี้ นับเป็นความพยายามล่าสุดเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรก

 

Country Garden Holdings Co. บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ของจีน ได้ยื่นข้อเสนอให้ผู้ถือหุ้นกู้ลงคะแนนเสียงในการประชุมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ (อย่างช้าที่สุด) สำหรับหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 2 กันยายน

 

ทั้งนี้ วันที่ 2 กันยายน เป็นวันเสาร์ หมายความว่าหุ้นกู้ชุดนี้จะครบกำหนดในวันที่ 4 กันยายนแทน

 

ผู้ถือหุ้นกู้ถูกกำหนดให้ลงคะแนนเสียงในข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมระหว่างวันที่ 29-31 สิงหาคมนี้ โดยหาก Country Garden ประสบความสำเร็จในการเพิ่มระยะเวลาผ่อนผันก็จะไม่ทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้

 

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อน Country Garden เพิ่งเลื่อนการประชุมกับผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อขอขยายเวลาการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นที่เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้มูลค่า 3.9 พันล้านหยวน ที่จะครบกำหนดในสัปดาห์หน้าในนาทีสุดท้ายไป สะท้อนว่าปัญหาสภาพคล่องของบริษัทยังไม่คลี่คลาย

 

อ้างอิง:

The post เสี่ยงผิดนัดชำระหุ้นกู้อีกชุด! Country Garden ขอยืดเวลาจ่ายหุ้นกู้สกุลเงินหยวนที่จ่อครบกำหนดไถ่ถอน 4 กันยายนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ปิดฉากยุคทอง ‘ตลาด หุ้นกู้จีน ’ หลังวิกฤตอสังหาทำพัง มูลค่าออกใหม่ลดลงกว่า 4 เท่า https://thestandard.co/morning-wealth-10082022-3/ Wed, 10 Aug 2022 06:13:28 +0000 https://thestandard.co/?p=665445

จากยุคทองของตลาดตราสารหนี้จีน ที่เป็นที่ต้องการของกองทุ […]

The post ชมคลิป: ปิดฉากยุคทอง ‘ตลาด หุ้นกู้จีน ’ หลังวิกฤตอสังหาทำพัง มูลค่าออกใหม่ลดลงกว่า 4 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
  • จากยุคทองของตลาดตราสารหนี้จีน ที่เป็นที่ต้องการของกองทุนขนาดใหญ่ทั่วโลก ปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นตลาดที่แทบจะเรียกได้ว่าตายไปแล้ว โดยเฉพาะหุ้นกู้ภาคอสังหาที่ปัจจุบันกลายเป็น Junk Bond จากการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มทำให้มูลค่าตลาดหายไปรวมกันกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะที่นักลงทุนต่างเผชิญกับการขาดทุนแทบทั้งสิ้น ติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ปิดฉากยุคทอง ‘ตลาด หุ้นกู้จีน ’ หลังวิกฤตอสังหาทำพัง มูลค่าออกใหม่ลดลงกว่า 4 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>