หุ้นการแพทย์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 21 Apr 2022 07:44:54 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ย้อนดูราคาหุ้น ‘RAM-EKH’ ก่อนปฏิเสธดีลซื้อขายหุ้น พบบวกเกิน 20-30% ใน 1 เดือน นักวิเคราะห์มองเป็นแรงเก็งกำไรงบไตรมาส 1 ที่จะโดดเด่นยกกลุ่ม https://thestandard.co/share-price-of-ram-ekh-before-rejecting-share-deal/ Thu, 21 Apr 2022 07:44:54 +0000 https://thestandard.co/?p=619767 RAM-EKH

ราคาหุ้น RAM และ EKH ปรับลดลงทันทีที่ทั้ง 2 บริษัทปฏิเส […]

The post ย้อนดูราคาหุ้น ‘RAM-EKH’ ก่อนปฏิเสธดีลซื้อขายหุ้น พบบวกเกิน 20-30% ใน 1 เดือน นักวิเคราะห์มองเป็นแรงเก็งกำไรงบไตรมาส 1 ที่จะโดดเด่นยกกลุ่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
RAM-EKH

ราคาหุ้น RAM และ EKH ปรับลดลงทันทีที่ทั้ง 2 บริษัทปฏิเสธดีลการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเช้าว่า ไม่มีการทำคำเสนอซื้อ (Tender Offer) หุ้น EKH แต่อย่างใด ขณะที่ผลสำรวจราคาย้อนหลัง 1 เดือน พบหุ้นของทั้ง RAM และ EKH ปรับขึ้นมากกว่า 20-30% ชนะดัชนีกลุ่มที่บวก 7.27% ด้านนักวิเคราะห์ประเมินว่าราคาหุ้นปรับขึ้นเพราะแรงเก็งกำไรผลประกอบการกลุ่มการแพทย์ ซึ่งเชื่อว่าจะมีกำไรโดดเด่นทั้งกลุ่ม

 

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น บมจ.โรงพยาบาลรามคำแหง หรือ RAM ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา (21 มีนาคม – 20 เมษายน) ปรับเพิ่มขึ้น 37.77% ขณะที่ราคาหุ้น บมจ.เอกชัยการแพทย์ หรือ EKH ปรับเพิ่มขึ้น 23.18% ซึ่งสูงกว่าดัชนีกลุ่มการแพทย์ (HELTH) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.27% ในช่วงเวลาเดียวกัน 

 

ขณะที่หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากสุดรอบ1 เดือน 10 อันดับแรก มีดังนี้

  1. RAM พิ่มขึ้น 37.77%
  2. WPH เพิ่มขึ้น 28.17%
  3. THG เพิ่มขึ้น 25.82
  4. EKH เพิ่มขึ้น 23.18%
  5. AHC เพิ่มขึ้น 19.39%
  6. RPH เพิ่มขึ้น 14.84%
  7. CMR เพิ่มขึ้น 11.97%
  8. PR9 เพิ่มขึ้น 8.80%
  9. BCH เพิ่มขึ้น 7.80%
  10. LPH เพิ่มขึ้น 6.78% 

 

อย่างไรก็ตาม เช้าวันนี้ (21 เมษายน) ราคาหุ้น RAM และ EKH ปรับตัวลดลงทันทีที่มีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์ เรื่องปฏิเสธกระแสข่าวการเข้าซื้อหุ้น โดยราคาหุ้น EKH ปิดการซื้อขายช่วงเช้าที่ 8.70 บาท ลดลง 0.60 บาท หรือ 6.45% ส่วนหุ้น RAM ปิดการซื้อขายช่วงเช้าที่ 65.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท หรือ 0.77% หลังจากที่ย่อตัวลงแตะระดับ 62.75 บาทในช่วงเปิดตลาด

 

โดย EKH แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตามที่มีกระแสข่าวลือในสื่อต่างๆ เรื่องการขายหุ้นของบริษัทให้แก่ บมจ.โรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) นั้น บริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องการนำเสนอข่าวดังกล่าว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาและยังไม่มีความแน่ชัด โดยขอยืนยันว่าไม่มีการทำคำเสนอซื้อ (Tender Offer)

 

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลมีความชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน รวมถึงเพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน บริษัทจึงขอให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนติดตามข้อมูลของบริษัทในเรื่องดังกล่าวผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ เท่านั้น

 

ขณะเดียวกัน RAM ชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ว่า บริษัทไม่ได้เป็นผู้ให้ข่าวการเข้าลงทุนใน EKH ตามที่ปรากฏในสื่อข้างต้น และไม่ได้มีแผนจะเข้าลงทุนมากถึง 25% และไม่มีแผนการเข้าทำเทนเดอร์ฯ หุ้นของ EKH และหากบริษัทมีพัฒนาการที่สำคัญอื่นใดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณและราคาการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท บริษัทจะชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์

 

นักวิเคราะห์มองเป็นแรงเก็งกำไรงบไตรมาส 1 

ถกล บรรจงรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้นกลุ่มการแพทย์ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาได้รับความสนใจค่อนข้างมาก โดยนักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 1/65 ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างโดดเด่นทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม เนื่องจากการใช้บริการยังหนาแน่นต่อเนื่องจากไตรมาส 4/64 ประกอบกับสถานการณ์โควิดยังไม่คลี่คลายมากนักในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา 

 

“เชื่อว่ากระแสเก็งกำไรหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจะคึกคักต่อเนื่องไปจนกว่าบริษัทจะประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ออกมา จึงจะมีแรงขายเพื่อทำกำไร” ถลกกล่าว 

 

เขากล่าวเพิ่มว่า มีความเป็นไปได้ที่ดีลการเข้าซื้อหุ้นของ EKH โดย RAM ครั้งนี้อาจเกิดขึ้นในอนาคต แม้ทั้ง 2 บริษัทจะปฏิเสธกระแสข่าวแล้วก็ตาม เนื่องจากธุรกิจโรงพยาบาลมักจะมีการลงทุนในโรงพยาบาลอื่นๆ อยู่แล้ว เพื่อเป็นพันธมิตรระหว่างกันในเรื่องการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงแบ่งปันความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อลดปัญหาบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์เฉพาะทางไม่เพียงพอ ขณะเดียวกัน ยังเป็นพันธมิตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง รับมือการแข่งขันที่สูงขึ้นด้วย 

 

ฝ่ายวิจัย บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า คาดการณ์กำไรไตรมาส 1/65 ของ EKH จะแข็งแกร่ง โดยคาดว่าจะเติบโต 19.7%QoQ, และ 93.2%YoY แม้รายได้จะเติบโตไม่สูงนัก QoQ แต่ได้อานิสงส์จากมาร์จิ้นที่ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยยะจากโครงสร้างรายได้ที่เปลี่ยนไปเป็นกล่มลูกค้าเงินสดมากขึ้น ขณะที่รายได้จากการรักษาโควิดจากภาครัฐลดลง 

 

ฝ่ายวิจัยจึงคงมุมมองเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปี โดยคาดการณ์กำไรปี 2565 ลดลง 45.8%YoY แต่ยังสูงกว่าปี 2562 ซึ่งยังไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกัน มอง EKH เป็นหนึ่งหุ้น Reopening ที่แข็งแรง ได้อานิสงส์จากการเปิดประเทศ รวมถึงการลงทุนต่อยอดธุรกิจโรงพยาบาลเดิม คงราคาเป้าหมาย 9.40 บาท

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post ย้อนดูราคาหุ้น ‘RAM-EKH’ ก่อนปฏิเสธดีลซื้อขายหุ้น พบบวกเกิน 20-30% ใน 1 เดือน นักวิเคราะห์มองเป็นแรงเก็งกำไรงบไตรมาส 1 ที่จะโดดเด่นยกกลุ่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘หุ้นไทย’ การฟื้นตัวยังเปราะบาง กังวลเศรษฐกิจชะลอตัวและโควิดกลับมาแพร่ระบาดในเอเชีย https://thestandard.co/thai-stocks-recovery-and-economy/ Mon, 21 Mar 2022 10:44:17 +0000 https://thestandard.co/?p=608103 หุ้นไทย

ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) เริ่มฟื้นตัว หลังหลุดต่ำกว่า 1,6 […]

The post ‘หุ้นไทย’ การฟื้นตัวยังเปราะบาง กังวลเศรษฐกิจชะลอตัวและโควิดกลับมาแพร่ระบาดในเอเชีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทย

ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) เริ่มฟื้นตัว หลังหลุดต่ำกว่า 1,600 จุดในช่วงสั้น จากข่าวสหรัฐฯ แบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นแรง ส่งผลให้เกิดความกังวลเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวและเกิดภาวะเงินเฟ้อ กดดันให้ SET ปรับลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 1,580 จุด แต่ด้วยความคาดหวังเชิงบวกต่อข่าวการเจรจากันระหว่างรัสเซียและยูเครน Fed ส่งสัญญาณเรื่องนโยบายการเงินชัดเจนขึ้น และจีนเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ดัชนีหุ้นไทยฟื้นตัวกลับขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือ 1,600 จุดได้ 

 

โดยมีแรงหนุนหลักจาก Fund Flow ไหลเข้า สะท้อนได้จากนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิรายเดียวกว่า 1.8 หมื่นล้านบาทในช่วงระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 18 มีนาคม ทั้งนี้ แรงซื้อส่วนใหญ่เข้ามาในหุ้นธนาคาร (KBANK, BBL) หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ (KCE, HANA) หุ้นการแพทย์ (BDMS, BCH) รวมทั้งหุ้นโรงไฟฟ้า (GPSC, BGRIM) ที่ได้อานิสงส์รัฐมีมติปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) อีก 23.38 สตางค์ต่อหน่วยงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมนี้ 

 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


 

ด้านแนวโน้ม SET ขึ้นมาเคลื่อนไหวใกล้บริเวณ 1,700 จุด ซึ่งมองเริ่มมี Upside จำกัด และมีโอกาสกลับมาอ่อนตัวอีกครั้ง หลังมีความกังวลภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในระยะถัดไป และยังมีผลต่อเนื่องที่ต้องติดตามจากการคว่ำบาตรรัสเซีย รวมทั้งนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากกว่า คาดอาจนำไปสู่ความเสี่ยงใหม่ได้ 

 

ขณะเดียวกันสถานการณ์การแพร่ระบาดหนักของโควิดในประเทศการผลิตอย่างจีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม ยังเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญที่อาจนำไปสู่การชะงักของห่วงโซ่อุปทานในระยะสั้นได้ ทำให้ภายใต้การฟื้นตัวของตลาดที่ยังเปราะบาง โดยมีประเด็นที่ต้องติดตามทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้นของหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม 

 

รวมทั้งในไทย ซึ่งอาจกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ Selective Buy ในหุ้นเชิงรับที่มีคุณภาพและมีปัจจัยบวกเฉพาะ ได้แก่ 

 

  1. กลุ่มหุ้นที่ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มเติบโตดี มีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายนอกอย่าง KBANK, AMATA, LH, GULF, ADVANC และ ONEE 
  2. กลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะมีการฟื้นตัวจากสถานการณ์ในยูเครนคลี่คลายอย่าง DELTA, MINT, IVL และ SCGP 
  3. กลุ่มหุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นหรือทนทานต้นทุนที่สูงขึ้นได้ และมีอำนาจกำหนดราคาสูงอย่าง BDMS, CPALL, BJC, ADVANC และ OSP  
  4. กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานชะงักระยะสั้น (Supply Disruption) อย่างหุ้นเดินเรือ RCL และ PSL ส่วนกลุ่มหุ้นที่ควรเพิ่มความระมัดระวังการลงทุนหรือลดน้ำหนักถือครอง ได้แก่ กลุ่มหุ้นที่คาดได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างกลุ่มรับเหมาฯ, กลุ่มยานยนต์, กลุ่มเกษตร และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ 

 

ทั้งนี้ ในบรรดากลุ่มหุ้นต่างๆ ที่แนะนำ ผมนำมาจัดพอร์ตหุ้นจำนวน 5 ตัว เพื่อเป็นแนวทางสำหรับท่านนักลงทุน ดังนี้ 

 

  1. IVL มีโมเมนตัมบวกจากราคาฝ้ายฟื้นตัวขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความต้องการที่มากขึ้นใน PTA และคาดว่ากำไรเติบโต 48%YoY ในปี 2565 
  2. OSP คาดว่ากำไรฟื้นตัวขึ้นในปี 2565 และมองเป็นหุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นหรือทนทานต่อต้นทุนที่สูงขึ้นได้ และมีอำนาจกำหนดราคาสูง 
  3. BDMS หุ้นทนทานต่อความผันผวนของตลาดได้ดีและมีพื้นฐานแกร่ง โดยปี 2565 คาดว่ากำไรเติบโต 21%YoY จากจำนวนผู้ป่วยทั้งไทยและต่างชาติที่เพิ่มขึ้นหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย 
  4. PSL หุ้นเดินเรือที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานชะงักงันระยะสั้น (Supply Disruption) และได้อานิสงส์จากค่าระวางเรือมีโมเมนตัมปรับขึ้น หลังการปิดน่านฟ้าของรัสเซียทำให้ค่าขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น 
  5. AMATA หุ้นที่ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มเติบโตดี โดยคาดว่ากำไรในปี 2565 เติบโตขึ้น 38%YoY และมองเป็นหุ้นที่มีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายนอก 

 

ติดตามข่าวสารศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน เพิ่มเติมได้ที่ Facebook: THE STANDARD WEALTH และ YouTube: THE STANDARD

The post ‘หุ้นไทย’ การฟื้นตัวยังเปราะบาง กังวลเศรษฐกิจชะลอตัวและโควิดกลับมาแพร่ระบาดในเอเชีย appeared first on THE STANDARD.

]]>