สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 01 Apr 2024 03:16:59 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 รัฐบาลหนุนซีรีส์วาย-ยูริ นำซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล https://thestandard.co/y-yuri-series-20032024/ Wed, 20 Mar 2024 11:06:16 +0000 https://thestandard.co/?p=913427 ทำเนียบรัฐบาล

วันนี้ (20 มีนาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ภูมิธรรม เวชยชัย รอ […]

The post รัฐบาลหนุนซีรีส์วาย-ยูริ นำซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำเนียบรัฐบาล

วันนี้ (20 มีนาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และผู้บริหาร ผู้จัดทำ และนักแสดงซีรีส์วายและยูริ คือ ปอนด์-กฤษดา วิทยาขจรเดช ผู้บริหารบริษัท Be On Cloud ผู้จัดทำซีรีส์วายเรื่อง ‘ชาย (Shine)’ และ เซ้นต์-ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา ผู้บริหารบริษัท Idol Factory ผู้จัดทำซีรีส์วายเรื่อง ‘ปิ่นภักดิ์’ เข้าพบ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและแสดงศักยภาพในการจุดประกายการนำซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล 

 

โดยมีนักแสดงนำของทั้งสองเรื่องคือ มาย-ภาคภูมิ ร่มไทรทอง, อาโป-ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์, ฟรีน-สโรชา จันทร์กิมฮะ และ เบ็คกี้-รีเบคก้า แพทรีเซีย อาร์มสตรอง เข้าร่วมด้วย

 

ในเวลาต่อมา ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

 

นายกฯ, รองนายกฯ, นพ.สุรพงษ์ พร้อมผู้บริหารซีรีส์วายและยูริ รวมทั้งนักแสดงนำทั้งสองเรื่อง ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ และแสดงศักยภาพในการใช้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และซีรีส์วาย เพื่อจุดประกายการนำซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากลได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นการแสดงทิศทางการใช้ซอฟต์พาวเวอร์สร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการนำศักยภาพที่หลากหลายในด้านที่ไทยมีอยู่มาเผยแพร่และนำเสนอผ่านซีรีส์เรื่องดังกล่าวให้ชาวไทยและต่างประเทศได้รับรู้และรู้จักมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ด้วย ซึ่งการนำเสนอผ่านซีรีส์ในลักษณะดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของไทย และสามารถดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นและฐานราก รวมถึงส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย

 

พร้อมกันนี้ นายกฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาพบกับ ปอนด์-กฤษดา วิทยาขจรเดช ผู้บริหาร Be On Cloud เจ้าของซีรีส์เรื่อง ชาย (Shine) และ เซ้นต์-ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา ผู้บริหาร Idol Factory เจ้าของซีรีส์เรื่อง ปิ่นภักดิ์ และน้องๆ นักแสดงนำอย่างมาย, อาโป, ฟรีน และเบ็คกี้ ที่มาช่วยกระทรวงพาณิชย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในมิติใหม่ด้วยซีรีส์ดังกล่าว  

 

ทั้งนี้ นายกฯ ได้ขอบคุณรองนายกรัฐมนตรี รวมถึงผู้บริหาร ผู้จัดทำ และนักแสดงซีรีส์วายและยูริทุกคน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับความร่วมมือกันในครั้งนี้กับรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการทำงานร่วมกันครั้งนี้รัฐบาลตระหนักถึงการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงและร่วมทำงานกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นรัฐบาลของประชาชนทุกคนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นคนมีชื่อเสียง หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป 

 

นายกฯ ได้ย้ำว่า นอกจากจะนำเรื่องของอาหาร ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มานำเสนอผ่านซีรีส์แล้ว ขอให้นำศักยภาพด้านขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของไทยมานำเสนอเผยแพร่ผ่านซีรีส์เรื่องดังกล่าวให้คนได้รู้จักมากขึ้นด้วย 

 

สำหรับการทำงานร่วมกันครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะมาช่วยกันทำงานเพื่อประเทศชาติ สอดคล้องกับนโยบายของนายกฯ และรัฐบาลในการเดินทางไปเยือนต่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกได้รู้ว่าเวลานี้ประเทศไทยเราเปิดแล้ว ไม่มีเวลาไหนที่จะดีไปกว่าเวลานี้ในการมาลงทุนในประเทศไทย รวมถึงการทำกิจกรรมอื่นๆ และการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยด้วย ซึ่งทุกคนถือเป็นอีกกลไกที่สำคัญที่จะช่วยกันทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้

 

 

ภาพ: สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

The post รัฐบาลหนุนซีรีส์วาย-ยูริ นำซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล appeared first on THE STANDARD.

]]>
รองบปี 67! รัฐบาลเตรียมแจกทุนคนทำหนังดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย หนุนอุตสาหกรรมซีรีส์วาย-สารคดีประกวดเวทีโลก https://thestandard.co/government-to-give-out-scholarships-to-filmmakers/ Fri, 15 Mar 2024 12:10:53 +0000 https://thestandard.co/?p=911702

วันนี้ (15 มีนาคม) ที่กระทรวงการต่างประเทศ นพ.สุรพงษ์ ส […]

The post รองบปี 67! รัฐบาลเตรียมแจกทุนคนทำหนังดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย หนุนอุตสาหกรรมซีรีส์วาย-สารคดีประกวดเวทีโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (15 มีนาคม) ที่กระทรวงการต่างประเทศ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นำประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2567 

 

โดย นพ.สุรพงษ์ แถลงหลังการประชุมว่า ที่ประชุมฯ มีการกำหนดกรอบงบประมาณในการสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ โดยเฉพาะภาพยนตร์ ซึ่งมุ่งเน้นในการสร้างผู้ผลิตหน้าใหม่จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลสนับสนุนตัวโครงสร้างของภาพยนตร์ จึงขอให้ผู้ผลิตทั้งรายใหม่และรายเก่าที่อยู่ในภาคเอกชน เตรียมนำเสนอโครงการภาพยนตร์ทั้งในแบบ Pre-pro Post หรือในแบบ Post Production 

 

หากผ่านการพิจารณาก็จะได้รับงบประมาณตัวนี้ในการพัฒนาภาพยนตร์ สำหรับงบประมาณที่ตั้งขึ้นมา ก็เพื่อสนับสนุนการผลิตซีรีส์สำหรับเด็ก รวมไปถึงซีรีส์วาย ภาพยนตร์สารคดีที่จะนำไปสู่การประกวดในระดับนานาชาติ แต่การจัดทำงบประมาณในปี 2567 มีความล่าช้า จึงทำให้ไม่สามารถทำให้ประกาศรับสมัครการคัดเลือกเพื่อรับงบประมาณในการสนับสนุนได้ จึงขอให้ผู้ผลิตภาพยนตร์ทั้งรายใหม่และรายเก่าที่อยู่ในภาคเอกชนรอและฟังการประกาศจากรัฐบาลอีกครั้ง 

 

เช่นเดียวกับการจัดงาน Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567 ติดขัดเรื่องงบประมาณปี 2567 เช่นกัน ซึ่งทางตนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำเรื่องนี้ไปถอดบทเรียน เพื่อไม่ให้การบริหารจัดการงบประมาณในปีถัดไปเกิดการติดขัด

 

นพ.สุรพงษ์ เปิดเผยอีกว่า ที่ประชุมได้พิจารณาวาระที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • การตั้งคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ประจำจังหวัดนครราชสีมา นำร่องกรณีโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย

 

  • พัฒนาต้นแบบศูนย์บริหารเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) สำหรับการขออนุมัติและอนุญาตจากราชการในการถ่ายทำภาพยนตร์และดนตรี 

 

  • นำร่องเปิดศูนย์ OSS Plus+ ในระดับพื้นที่ เช่น ชลบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี โดยยึดตามอ้างอิงลำดับสถิติการขอถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย ประจำปี 2566

 

  • เตรียมรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) THACCA ซึ่งจะเป็นหน่วยงานถาวรที่จะมารับผิดชอบสนับสนุนทั้ง 11 สาขาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ รวมถึงการ Upskill และ Reskill คนไทยสู่แรงงานทักษะสูง คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินสิ้นปี 2568

 

  • ลงทะเบียน One Family One Soft Power (OFOS) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาคนผ่านการ Upskill และ Reskill คนไทยทั้งประเทศ เฟ้นหาศักยภาพคนไทยทุกครอบครัวอย่างน้อยครอบครัวละ 1 ศักยภาพ เป็นการสร้างแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน จาก 20 ล้านครอบครัว ภายใน 4 ปี สร้างรายได้อย่างน้อยครอบครัวละ 200,000 บาทต่อปี 



 

โดยคาดว่าอุตสาหกรรมแรกที่จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนภายในปี 2567 คือ โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย ซึ่งจะมีการเปิดอบรมแบบ On-Site 10,000 คนแรกในปีนี้ ผ่านช่องทางสถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม กว่า 140 แห่ง และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณให้ผู้ที่สนใจสมัครคนละ 15,000 บาท ซึ่งหลังจากฝึกอบรมแล้วจะมีการฝึกงานในรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งได้รับมอบประกาศนียบัตร 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทยอีกด้วย

The post รองบปี 67! รัฐบาลเตรียมแจกทุนคนทำหนังดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย หนุนอุตสาหกรรมซีรีส์วาย-สารคดีประกวดเวทีโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุ๊งอิ๊ง-หมอเลี้ยบ เผยเตรียมตั้ง คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นชุดใหม่ แจงยิบ 4 เหตุผลหลังชุดเดิมลาออก https://thestandard.co/paetongtarn-suraphong-set-up-new-soft-power-board/ Fri, 02 Feb 2024 01:31:41 +0000 https://thestandard.co/?p=895079 คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

วานนี้ (1 กุมภาพันธ์) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณ […]

The post อุ๊งอิ๊ง-หมอเลี้ยบ เผยเตรียมตั้ง คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นชุดใหม่ แจงยิบ 4 เหตุผลหลังชุดเดิมลาออก appeared first on THE STANDARD.

]]>
คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

วานนี้ (1 กุมภาพันธ์) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุถึงการลาออกของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่นชุดเดิม ซึ่งนำทีมโดย กมลนาถ องค์วรรณดี พร้อมทีมงาน ที่แจ้งลาออกยกทีม และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่นชุดใหม่ โดยระบุถึงเหตุผล 4 ข้อ ดังนี้

 

  1. ผมขอขอบคุณคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่นที่ คุณกมลนาถ องค์วรรณดี เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งได้จัดทำนโยบาย แผนงาน งบประมาณ และมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอในขั้นแรกจนแล้วเสร็จ ด้วยการทุ่มเทกาย ใจ และความคิดอย่างเอาจริงเอาจัง

 

  1. ผมทราบดีว่าภารกิจหลังจากวางแผนงานและได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2567 จะเรียกร้องเวลามากมายจากคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ทุกอุตสาหกรรม ในการลงมือผลักดันผ่านหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ประสานงานภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด และติดต่อกับองค์กรต่างประเทศ ซึ่งผมเชื่อว่าคุณกมลนาถก็ตระหนักในเรื่องนี้เช่นกัน

 

  1. คุณกมลนาถเล่าเรื่องข้อจำกัดด้านเวลาของตนเองให้ผมรับรู้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 และบอกว่าจะขอส่งต่อภารกิจที่หนักหน่วงให้ท่านอื่นในอุตสาหกรรมแฟชั่นหลังจัดทำแผนงบประมาณแล้วเสร็จ ผมจึงดำเนินการติดต่อหลายท่านในวงการแฟชั่นเพื่อเตรียมรับภารกิจสำคัญนี้

 

  1. ผมจะเสนอชื่อกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติด้านแฟชั่นคนใหม่ และเสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่นชุดใหม่ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ที่กระทรวงการต่างประเทศ

 

ด้าน แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดียว่า “ดิฉันเข้าใจถึงข้อจำกัดด้านเวลาของอนุกรรมการทุกคน หากต้องปฏิบัติภารกิจจำนวนมากที่รออยู่ข้างหน้า และขอทุกคนติดตามคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่นชุดใหม่ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ค่ะ”

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประกอบด้วย 11 อุตสาหกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาคือ แฟชั่น, หนังสือ, ภาพยนตร์, เฟสติวัล, อาหาร, กีฬา, ออกแบบ, ท่องเที่ยว, ดนตรี, เกม และศิลปะ

The post อุ๊งอิ๊ง-หมอเลี้ยบ เผยเตรียมตั้ง คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นชุดใหม่ แจงยิบ 4 เหตุผลหลังชุดเดิมลาออก appeared first on THE STANDARD.

]]>
แพทองธารดันคณะซอฟต์พาวเวอร์แก้ไขกฎกระทรวง ปรับเรตห้ามฉายใหม่-ตั้งเป้ากลางปี พ.ร.บ.THACCA ต้องเข้าสภา https://thestandard.co/paetongtarn-shinawatra-04012024-2/ Thu, 04 Jan 2024 11:17:59 +0000 https://thestandard.co/?p=884349 แพทองธาร ชินวัตร

วันนี้ (4 มกราคม) แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย […]

The post แพทองธารดันคณะซอฟต์พาวเวอร์แก้ไขกฎกระทรวง ปรับเรตห้ามฉายใหม่-ตั้งเป้ากลางปี พ.ร.บ.THACCA ต้องเข้าสภา appeared first on THE STANDARD.

]]>
แพทองธาร ชินวัตร

วันนี้ (4 มกราคม) แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ พร้อมด้วย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ครั้งที่ 1/2567 ว่า ที่ประชุมได้ย้ำ 3 ประเด็นหลักคือ การแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551, การตั้ง One Stop Service และความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.บ.THACCA

 

โดยประเด็นแรกคือการจัดเรตติ้งภาพยนตร์ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากภาคเอกชนมานานหลายปีจากความไม่สมเหตุสมผลของเกณฑ์ รวมถึงความไม่ชัดเจนของการพิจารณานั้น กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาภาพยนตร์ได้เสนอการทำงาน 3 เรื่องคือ ส่วนที่ 1 การเปลี่ยนแปลง ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และเกม’ ทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการให้เอกชนมีเสียงข้างมาก และเป็นประธานคณะกรรมการทุกชุด โดยจะตั้งคณะกรรมการใหม่ 9 ชุด รวมชุดที่ 1 ที่ยังไม่หมดวาระ เป็น 10 ชุด แบ่งออกเป็นคณะพิจารณาภาพยนตร์ 8 ชุด และคณะพิจารณาด้านเกมโดยเฉพาะ 2 ชุด เพราะเกมและภาพยนตร์มีวิธีคิดและมุมมองที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องพิจารณาแยกกัน 

 

ทั้งนี้ มีจุดสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคณะกรรมการพิจารณาจะต้องมีสัดส่วนของเอกชนมากกว่าภาครัฐบาล โดยกำหนดให้ประธานคณะพิจารณาในแต่ละชุดเป็นเอกชน และมีคณะกรรมที่มาจากภาคเอกชน 3 คน และจากภาครัฐ 2 คน จากเดิมที่มีเอกชน 3 คน และภาครัฐ 4 คน 

 

“การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการพิจารณาครั้งนี้จะทำให้ภาพยนตร์ไทยได้รับการพิจารณาเรตติ้งที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมมากขึ้น การจัดเรตคนดูจะเป็นเพียงตัวบอกว่าสิ่งใดเหมาะสม แต่จะไม่ใช่การควบคุมภาพยนตร์ไทยอีกต่อไปค่ะ” แพทองธารกล่าว

 

แก้กฎกระทรวง แก้ประเภทห้ามฉายเหลือกระทบพระมหากษัตริย์

 

แพทองธารกล่าวว่า ส่วนที่ 2 คือการแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างรอการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน สำหรับการแก้ไขกฎกระทรวงที่มาของจัดประเภทเรตของภาพยนตร์จะเป็นการแก้ไขในส่วนของภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในประเทศไทย โดยภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในประเทศไทยจะเหลือเพียงข้อกำหนดเดียวคือเนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนประเด็นอื่นๆ เรื่องศาสนา เรื่องความมั่นคง รวมถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ จะถูกจัดอยู่ในเรตผู้ชมที่เหมาะสมแทนการห้ามฉาย โดยกระบวนการแก้กฎกระทรวงนี้ยังอยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และคาดว่าการแก้ไขจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางปีนี้ 

 

ส่วนที่ 3 คือการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว นั่นคือการยกร่างกฎหมายพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฯ ฉบับใหม่ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิด ‘สภาภาพยนตร์ไทย’ องค์กรใหม่ภายใต้ THACCA มาทำหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไปจนถึงการพิจารณาจัดเรตผู้ชมในอนาคต และให้เอกชนเป็นผู้จัดเรตผู้ชมด้วยตัวเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดเรตของผู้ชมทั้ง 3 ส่วนคือการเปลี่ยนวิธีคิดที่ภาครัฐเคยเน้นควบคุมภาพยนตร์เป็นการสนับสนุนเสรีภาพและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินทุกคน

 

ตั้งศูนย์ดูแลอุตสาหกรรมเพลง-ภาพยนตร์ครบวงจร

 

แพทองธารยังกล่าวว่า การตั้ง One Stop Service จะเป็นการรวมเอาการติดต่อหน่วยงานราชการหลายๆ หน่วยเข้าไว้ที่เดียว โดยสองอุตสาหกรรมแรกที่จะลงมือทำ One Stop Sevice คืออุตสาหกรรมเพลงและภาพยนตร์ เพราะการจัดคอนเสิร์ตและการถ่ายทำภาพยนตร์มีปัญหามากที่ต้องติดต่อหลายหน่วยงานราชการ และประเด็นสุดท้ายคือ กระบวนการยกร่าง พ.ร.บ.THACCA ที่จะเป็นกฎหมายหลักสำหรับหน่วยงานที่จะมาขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ ตอนนี้ตัวกฎหมายกำลังอยู่ในขั้นตอนของตรวจสอบความเรียบร้อยและเปิดรับฟังความเห็น โดยเราตั้งใจจะผลักดันให้เข้าสภาภายในกลางปีนี้ให้ได้

 

แจงของบกลางเพิ่ม 2.5 พันล้านบาท

 

เมื่อถามว่า งบประมาณการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ยังอยู่ที่ 5,164 ล้านบาทหรือไม่ นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ทั้ง 11 อุตสาหกรรมได้เสนองบประมาณที่ 5,164 ล้านบาท ซึ่งบางอุตสาหกรรมเสนอใช้งบในปี 2567 แต่บางอุตสาหกรรมเสนอใช้งบของปี 2567 และ 2568 รวมกัน เมื่อนำมากลั่นกรองแล้วพบว่า งบปี 2567 จะอยู่ที่ 3,500 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นงบของปี 2568 โดยวันนี้ที่ประชุมยังไม่ได้ลงรายละเอียด และให้ไปทำคำของบประมาณกับสำนักงบประมาณ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงบของแต่ละกระทรวงและเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า

 

ส่วนการของบ 3,500 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2567 นั้น นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า เป็นงบที่มาจากหลายกระทรวง ทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งมีข้อสังเกตจากสำนักงบประมาณว่า ตัวเลขงบประมาณ 3,500 ล้านบาท มีอยู่ในการพิจารณางบปี 2567 กว่า 1,000 ล้านบาท ดังนั้น งบที่ 11 อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เสนอมาจะอยู่นอกเหนือจากที่หน่วยงานราชการตั้งไว้ 2,500 ล้านบาท โดยจะต้องของบกลางมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งตัวเลขนี้จะเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ชุดใหญ่ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันอังคารที่ 9 มกราคมนี้

 

แพทองธาร ชินวัตร แพทองธาร ชินวัตร

The post แพทองธารดันคณะซอฟต์พาวเวอร์แก้ไขกฎกระทรวง ปรับเรตห้ามฉายใหม่-ตั้งเป้ากลางปี พ.ร.บ.THACCA ต้องเข้าสภา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ช่อ มองความสำเร็จในอดีตใช้ไม่ได้แล้ว ถามหมอเลี๊ยบ THACCA เอาไว้ทำอะไรกันแน่! | THE STANDARD NOW (HL) https://thestandard.co/thestandardnow211166-3/ Wed, 22 Nov 2023 02:02:40 +0000 https://thestandard.co/?p=868341 หมอเลี๊ยบ

ช่อ มองความสำเร็จในอดีตใช้ไม่ได้แล้ว ถามหมอเลี๊ยบ THACC […]

The post ชมคลิป: ช่อ มองความสำเร็จในอดีตใช้ไม่ได้แล้ว ถามหมอเลี๊ยบ THACCA เอาไว้ทำอะไรกันแน่! | THE STANDARD NOW (HL) appeared first on THE STANDARD.

]]>
หมอเลี๊ยบ

ช่อ มองความสำเร็จในอดีตใช้ไม่ได้แล้ว ถามหมอเลี๊ยบ THACCA เอาไว้ทำอะไรกันแน่!

The post ชมคลิป: ช่อ มองความสำเร็จในอดีตใช้ไม่ได้แล้ว ถามหมอเลี๊ยบ THACCA เอาไว้ทำอะไรกันแน่! | THE STANDARD NOW (HL) appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ประชาชนกำลังเอาตัวไม่รอด’ หมอสุรพงษ์มองเศรษฐกิจไทย หลัง 99 นักวิชาการค้านแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต https://thestandard.co/doc-surapong-on-thai-economy/ Wed, 15 Nov 2023 02:37:56 +0000 https://thestandard.co/?p=865771 โพสต์เฟซบุ๊กถึง เศรษฐกิจไทย

วานนี้ (14 พฤศจิกายน) นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือที่รู้จั […]

The post ‘ประชาชนกำลังเอาตัวไม่รอด’ หมอสุรพงษ์มองเศรษฐกิจไทย หลัง 99 นักวิชาการค้านแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>
โพสต์เฟซบุ๊กถึง เศรษฐกิจไทย

วานนี้ (14 พฤศจิกายน) นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือที่รู้จักกันในชื่อหมอเลี้ยบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และปัจจุบันเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘เศรษฐกิจไทยเหมือนคนไข้อ่อนแอที่เลือดกำลังไหลไม่หยุด’

 

นพ.สุรพงษ์ระบุว่า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา นักวิชาการ 99 คนออกมาคัดค้านนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต โดยให้เหตุผลว่า เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวและคาดว่า GDP จะขยายตัว 2.8% ในปีนี้และ 3.5% ในปีหน้า จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องกระตุ้นการบริโภคเพราะการบริโภคภายในประเทศขยายตัวถึง 7.8% สูงที่สุดในรอบ 20 ปี อีกทั้งการกระตุ้นการใช้จ่ายจะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นหลังจากลดลงมาจาก 6.1% เหลือ 2.9%

 

นักวิชาการเหล่านี้เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยบ้าง อดีตรัฐมนตรีบ้าง อาจารย์มหาวิทยาลัยบ้าง ทุกคนจึงเชื่อมั่นว่าข้อมูลที่ท่านเหล่านั้นให้มาถูกต้อง เป็นเหตุให้น่าเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตอีก

 

“คำถามที่ผุดขึ้นมาในใจของผม คือตัวเลขของนักวิชาการ 99 คน กับตัวเลขของ ดร.ชาติชัย พาราสุข นักเศรษฐศาสตร์และคอลัมนิสต์อิสระของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ที่ผมติดตามอ่านเป็นประจำนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ผมควรจะเชื่อใครดี

 

“ผมคิดว่าตัวเลขก็คือตัวเลข ตัวเลขเศรษฐกิจย่อมฟ้องในตัวเองอยู่แล้ว ยกเว้นแต่ว่ามีใครตั้งใจปกปิดหรือดัดแปลงตัวเลขเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ซึ่งคนคนนั้นต้องรับผิดชอบหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจากการปกปิดตัวเลขเหล่านั้น เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540”

 

3 ความกังวลของ นพ.สุรพงษ์ ต่อเศรษฐกิจไทย 

 

1. กังวลว่า GDP ในปี 2566 จะเติบโตต่ำกว่า 2% ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิชาการ 99 คนคาดการณ์ไว้อย่างน้อย 0.8%)

 

ปลายปีที่แล้ว สำนักงานเศรษฐกิจการคลังของกระทรวงการคลังคาดการณ์ว่า GDP ปี 2565 จะเติบโต 3.4% และ GDP ปี 2566 จะเติบโต 3.8%

 

แต่ปรากฏว่าในความเป็นจริง GDP ปี 2565 เติบโตเพียง 2.6% น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 0.8% ในขณะที่ปัจจุบัน สำนักงานเศรษฐกิจการคลังลดการคาดการณ์ GDP ปี 2566 เหลือเติบโตเพียง 2.7% (น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อปลายปีที่แล้วถึง 1.1%) ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยก็คาดการณ์ว่า ปีนี้ GDP จะเติบโต 2.8%

 

แต่เมื่อย้อนดูข้อมูลการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 พบว่าเติบโตเพียง 2.6% ในไตรมาสที่ 2 เติบโตเพียง 1.8% ส่วนไตรมาสที่ 3 ซึ่งยังไม่มีการประกาศออกมา ดร.ชาติชัย คาดการณ์ว่าจะเติบโตเพียง 1.4%

 

ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ GDP รวมทั้งปี 2566 จะสามารถเติบโตถึง 2.8% ได้

 

“ทำไม ดร.ชาติชัย ถึงคาดการณ์ว่า GDP ในไตรมาสที่ 3 จะเติบโตเพียง 1.4% และ GDP ปี 2566 จะเติบโตต่ำกว่า 2% ตัวเลขที่ ดร.ชาติชัย คาดการณ์คือ 1.8% เหตุผลอยู่ในความกังวลข้อที่ 2”

 

2. กังวลว่าปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นในระบบ (Money Supply Growth) เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลงทุกไตรมาส สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) ลดลงจนกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง

 

มิลตัน ฟรีดแมน กูรูทางเศรษฐศาสตร์เคยเสนอวิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินกับ GDP ไว้ว่า ถ้ามีการเติบโตของปริมาณเงินสูง การเติบโตของ GDP ก็จะสูงตาม แต่ถ้าการเติบโตของปริมาณเงินลดลง GDP ก็จะเติบโตน้อยลงด้วย

 

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 พบว่า ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น 3.3%GDP เติบโต 2.6%

 

ในไตรมาสที่ 2 ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น 2.0%GDP เติบโต 1.8%

 

เริ่มไตรมาสที่ 3

 

เดือนกรกฎาคม ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น 1.6%

เดือนสิงหาคม ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น 1.4%

เดือนกันยายน ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น 1.8%

 

ดังนั้น ดร.ชาติชัย จึงคาดการณ์ว่า GDP ในไตรมาสที่ 3 น่าจะเติบโตเพียง 1.4%

 

สำหรับไตรมาสที่ 4 พบว่า เพียง 3 สัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม มีปริมาณเงินไหลออกนอกประเทศอีก 7.73 หมื่นล้านบาท

 

ดังนั้น จึงน่าสงสัยว่าจะมีการเติบโตของ GDP อย่างก้าวกระโดดในไตรมาสที่ 4 จนทำให้ GDP รวมในปี 2566 เติบโตถึง 2.8% อย่างที่นักวิชาการ 99 คนบอกไว้ ได้อย่างไร

 

“ใช่หรือไม่ว่า ในท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกเช่นนี้ การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยvจะทำได้ถูกต้องต่อเมื่ออยู่ในภาวะปกติที่ไม่มีเงินไหลออกนอกประเทศอย่างผิดปกติเท่านั้น”

 

เศรษฐกิจของไทยเริ่มพบปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) ติดลบมาตั้งแต่กลางปี 2566

 

ในเดือนพฤษภาคม 2566 สภาพคล่องทางการเงินติดลบ 7.156 แสนล้านบาท จนธนาคารต้องรอการคืนเงินจากลูกหนี้เก่า กว่าจะสามารถปล่อยกู้ใหม่ได้

 

ในเดือนกรกฎาคม สภาพคล่องทางการเงินติดลบ 8.58 แสนล้านบาท, ในเดือนสิงหาคม สภาพคล่องทางการเงินติดลบเกิน 1,000,000 ล้านบาท

 

“สภาพคล่องทางการเงินติดลบเนื่องจาก 2 สาเหตุคือ สาเหตุแรก มีเงินไหลออกจากประเทศไทย สาเหตุที่สอง ธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ และสาเหตุที่สองนี้เองนำมาสู่ข้อกังวลที่ 3”

 

หนี้กำลังจะท่วมหัว ประชาชนกำลังเอาตัวไม่รอด

 

ความกังวลข้อที่ 3 ของ นพ.สุรพงษ์ ระบุว่า บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร ให้ข้อมูลว่า หนี้ครัวเรือนซึ่งมีขนาด 90.6% ของ GDP นั้น ในจำนวนนี้มีอยู่ถึง 7.4% ของหนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ไปแล้วตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566

 

และหนี้ครัวเรือนอีก 4.8 แสนล้านบาทกำลังจะกลายเป็น NPL ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า หรือหมายความว่า 11% ของหนี้ครัวเรือนจะเป็น NPL หรือหนี้เสีย

 

มีตัวเลขที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกว่า ในปี 2565 หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.39 แสนล้านบาทต่อไตรมาส แต่ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียง 8.8 หมื่นล้านบาท และมีเพียง 1.1 พันล้านบาทเท่านั้นที่เป็นหนี้ซึ่งกู้จากธนาคาร

 

ความหมายของตัวเลขข้างบนคือ เกิดการก่อหนี้ครัวเรือนลดน้อยลง เพราะผู้ต้องการเงินเริ่มไม่สามารถขอกู้หนี้ยืมสินได้อีกแล้ว และมีผู้สามารถกู้จากธนาคารได้เพียง 1.2% ของเงินกู้เท่านั้น ที่เหลือต้องกู้หนี้นอกระบบ ซึ่งตอนนี้เจ้าหนี้นอกระบบก็เริ่มไม่ปล่อยกู้แล้วเช่นกัน

 

“ผมกังวลว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนี้จะไม่สามารถเอาตัวรอด และดำรงชีวิตเป็นปกติสุขอยู่ได้ โดยการบริหารประเทศด้วยแนวทางปกติแบบเดิมๆ ที่ทำกันมา 9 ปีได้อีก”

 

ผมกังวลว่า สภาพคล่องทางการเงินที่ติดลบมากขึ้น กำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้นทุกที ถ้าไม่มีมาตรการเพิ่มปริมาณเงินด้วยการอัดฉีด ‘เงินใหม่’ ก้อนโตเข้าหมุนเวียนในระบบ (ไม่ใช่แค่การเกลี่ยวงเงินงบประมาณเดิมที่เตรียมไว้อยู่แล้ว)

 

ผมกังวลว่า GDP ปี 2566 ที่อาจเติบโตต่ำกว่า 2% เป็นสัญญาณเตือนภัยวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังรออยู่ข้างหน้า ถ้าเรายังวางเฉย ไม่กระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่

 

“ข้อกังวลทั้ง 3 ประการนี้ ผมควรกังวลต่อไปหรือไม่ วานผู้รู้ทั้งหลายช่วยบอกทีว่า ผมควรเชื่อตัวเลขของใคร ระหว่าง นักวิชาการ 99 คน หรือ ดร.ชาติชัย พาราสุขและที่สำคัญซึ่งผมอยากย้ำอีกครั้งคือ คนที่ตั้งใจปกปิดหรือบิดเบือนตัวเลขทางเศรษฐกิจต้องรับผิดชอบ หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นแล้วสร้างความเสียหายต่อประชาชนและประเทศชาติ” นพ.สุรพงษ์ ระบุทิ้งท้าย

 

นพ.สุรพงษ์ คือใคร

 

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เข้าสู่เส้นทางการเมืองในนามพรรคไทยรักไทย เป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี 2554 รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีผลงานเด่นคือการผลักดันหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคที่ใช้มาจนทุกวันนี้

 

ต่อมา นพ.สุรพงษ์ ได้เป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และในปี 2548 เขายังเคยเป็นโฆษกรัฐบาลอีกด้วย

 

หลังการรัฐประหาร 2549 นพ.สุรพงษ์ กลับมามีบทบาทการเมืองในฐานะแกนนำพรรคพลังประชาชน และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ก่อนที่พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบพรรคพร้อมตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 5 ปี นพ.สุรพงษ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชนในขณะนั้นก็ถูกตัดสิทธิเช่นเดียวกันชั่วคราว 5 ปีเช่นเดียวกัน

 

ทว่าหลังการรัฐประหาร 2557 เขาเผชิญคดีความหลายคดี และถูกศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา ในข้อกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ทำให้ต้องถูกสิทธิการดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิตโดยปริยายตามรัฐธรรมนูญ 2560 แต่ยังคงมีบทบาทในฐานะ Think Tank หรือมันสมองของพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะในช่วงการก่อตั้งกลุ่ม CARE

 

อ้างอิง:

The post ‘ประชาชนกำลังเอาตัวไม่รอด’ หมอสุรพงษ์มองเศรษฐกิจไทย หลัง 99 นักวิชาการค้านแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เจาะนโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power เครื่องจักรใหญ่เพื่อไทยเหมือนสมัยทำ OTOP? | THE STANDARD https://thestandard.co/thestandardnow220966/ Fri, 22 Sep 2023 13:52:16 +0000 https://thestandard.co/?p=844951 1 ครอบครัว 1 Soft Power

เจาะนโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power เครื่องจักรใหญ่เพื่อ […]

The post ชมคลิป: เจาะนโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power เครื่องจักรใหญ่เพื่อไทยเหมือนสมัยทำ OTOP? | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
1 ครอบครัว 1 Soft Power

เจาะนโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power เครื่องจักรใหญ่เพื่อไทยเหมือนสมัยทำ OTOP?

 

พูดคุยกับ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

 

พบกันในรายการ THE STANDARD NOW กับ อ๊อฟ ชัยนนท์ วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD

The post ชมคลิป: เจาะนโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power เครื่องจักรใหญ่เพื่อไทยเหมือนสมัยทำ OTOP? | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 2566 : เรืองไกรยื่น กกต. สอบ ‘ณัฐวุฒิ-นพ.สุรพงษ์’ ขึ้นรูปโปรไฟล์คล้ายแคนดิเดตนายกฯ ทั้งที่ไม่ใช่ผู้สมัคร เข้าข่ายผิด กม. หรือไม่ https://thestandard.co/ruangkrai-on-nattawut-surapong-profile-picture/ Wed, 10 May 2023 08:28:03 +0000 https://thestandard.co/?p=787984

วันนี้ (10 พฤษภาคม) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เ […]

The post เลือกตั้ง 2566 : เรืองไกรยื่น กกต. สอบ ‘ณัฐวุฒิ-นพ.สุรพงษ์’ ขึ้นรูปโปรไฟล์คล้ายแคนดิเดตนายกฯ ทั้งที่ไม่ใช่ผู้สมัคร เข้าข่ายผิด กม. หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (10 พฤษภาคม) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคพลังประชารัฐ ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย กระทำการเข้าข่ายฐานเป็นผู้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่นหรือบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ 

 

และการกระทำนั้นมีผลให้บัตรออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในหน่วยเลือกตั้งต่างๆ เป็นบัตรเสียหรือไม่ และ กกต. จะสามารถสั่งไม่ให้นับเป็นคะแนนในการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่  

 

และทำให้การเลือกตั้ง ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยมีเหตุอันควรสงสัยว่า มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมหรือไม่ การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายหลอกลวงเพื่อให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองหรือไม่  

 

เรืองไกรกล่าวว่า ทั้ง เศรษฐา ทวีสิน, แพทองธาร ชินวัตร และ ชัยเกษม นิติสิริ ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย พบว่ามีการขึ้นรูปโปรไฟล์ของตนเองพร้อมหมายเลขพรรค ซึ่งถือว่าถูกต้อง ตนไม่ได้ติดใจ แต่ในกรณีของ นพ.สุรพงษ์ และณัฐวุฒิ กลับมีการขึ้นรูปในลักษณะเดียวกันกับบุคคลทั้งสาม ทั้งที่ไม่ได้เป็น 100 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรค และไม่ได้เป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกฯ จึงมองว่ามีเจตนาทำให้คนเข้าใจผิดในคะแนนนิยมของพรรค เข้าข่ายขัดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 มาตรา 73 (5) ประกอบมาตรา 56 และ 132 และ 137 หรือไม่

The post เลือกตั้ง 2566 : เรืองไกรยื่น กกต. สอบ ‘ณัฐวุฒิ-นพ.สุรพงษ์’ ขึ้นรูปโปรไฟล์คล้ายแคนดิเดตนายกฯ ทั้งที่ไม่ใช่ผู้สมัคร เข้าข่ายผิด กม. หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซ้ำดาบสอง ‘เรืองไกร’ ร้อง กกต. สอบยุบเพื่อไทย ตั้ง ‘หมอเลี้ยบ’ นั่ง ผอ.พรรค ผิดกฎหมายพรรคการเมืองหรือไม่ https://thestandard.co/ruangkrai-leekitwattana-election-commission-dissolve-pheu-thai-party/ Mon, 08 Nov 2021 05:35:21 +0000 https://thestandard.co/?p=557259 เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

วันนี้ (8 พฤศจิกายน) เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลัง […]

The post ซ้ำดาบสอง ‘เรืองไกร’ ร้อง กกต. สอบยุบเพื่อไทย ตั้ง ‘หมอเลี้ยบ’ นั่ง ผอ.พรรค ผิดกฎหมายพรรคการเมืองหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

วันนี้ (8 พฤศจิกายน) เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย และไทยรักษาชาติ เดินทางมายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบกรณีที่พรรคเพื่อไทย ตั้ง นพ.สุรพงษ์​ สืบวงศ์ลี ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่ 

 

เรืองไกรเปิดเผยว่า จากกรณีเมื่อการประชุมใหญ่พรรคเพื่อไทยที่ขอนแก่นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งมี นพ.สุรพงษ์ ในตำแหน่งผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย ขึ้นเวทีปราศรัยด้วยนั้น กรณีดังกล่าวทำให้สงสัยว่าจะเป็นผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่ จึงได้ตรวจสอบพบว่า นพ.สุรพงษ์ เคยต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีความผิดเกี่ยวกับหน้าที่ราชการมาแล้ว 2 คดี คือ คดีหมายเลขแดงที่ อม. 91/2559 วันที่ 4 สิงหาคม 2559 ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้จำคุก 1 ปี แต่รอการลงโทษไว้ 1 ปี และคดีหมายเลขแดงที่ อม. 107/2559 วันที่ 25 สิงหาคม 2559 ซึ่งศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้จำคุก 1 ปี

 

ขณะที่ข้อบังคับของพรรคเพื่อไทย ข้อ 70 หัวหน้าพรรคสามารถตั้งสมาชิกเป็นผู้อำนวยการพรรคได้ ตั้งแล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการบริหารพรรคทราบ แต่หากสรุปตามข้อบังคับพรรคเพื่อไทย ข้อ 12 บุคคลที่ห้ามสมัครเป็นสมาชิก เช่น (9) บุคคลที่เคยได้รับโทษจำคุกและพ้นโทษมายังไม่ถึง 10 ปี หรือ (12) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฯลฯ ดังนั้น นพ.สุรพงษ์ จึงน่าจะมีลักษณะต้องห้ามเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย หรือผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย การปรากฏตัวและปราศรัยเกี่ยวกับนโยบายของ นพ.สุรพงษ์ บนเวทีประชุมใหญ่พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมทางการเมือง จึงน่าจะมีปัญหาตามมาว่ามีการกระทำอันฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 28 และ 29 หรือไม่

 

เรืองไกรยังกล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ในเฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทยได้ลงบทความของ นพ.สุรพงษ์ไว้ด้วย ซึ่งวันดังกล่าวก็มีการถ่ายทอดการปราศรัยบนเวทีการประชุมใหญ่ด้วย โดยเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยชุดที่มี สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ยังเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในวันที่ 28 ตุลาคม เมื่อสมพงษ์ได้ลาออกจากหัวหน้าพรรค และมีการเลือก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กิจกรรมทางการเมืองหลังจากวันที่ 28 ตุลาคม จึงควรอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริการพรรคเพื่อไทยชุดใหม่

 

แต่เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ในเฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทยยังได้นำบทความของ นพ.สุรพงษ์ ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย มาลงไว้ อันทำให้เข้าใจได้ว่า นพ.สุรพงษ์ ยังคงเป็นผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทยต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ตามข้อบังคับพรรคเพื่อไทย ข้อ 72 การที่ นพ.สุรพงษ์ ยังเป็นผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทยอยู่นั้น จึงมีปัญหาว่าเป็นได้หรือไม่ ถ้าเป็นไม่ได้ จะถือเป็นคนอื่นหรือผู้ใดที่มิใช่สมาชิก ตามความใน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 28 หรือ 29 หรือไม่

 

ซึ่งจากข้อเท็จจริงของ นพ.สุรพงษ์ ในฐานะผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย จึงมีเหตุต้องขอให้ กกต. ตรวจสอบว่า นพ.สุรพงษ์ เป็นผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย หรือสมาชิกพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ จะมีการฝ่าฝืน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 28 และ 29 หรือไม่ ถ้ามีการฝ่าฝืน จะถือเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคเพื่อไทย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งชุดเดิมและชุดใหม่ตามมาตรา 92 หรือไม่ และ กกต. ต้องดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 108 หรือไม่ 

The post ซ้ำดาบสอง ‘เรืองไกร’ ร้อง กกต. สอบยุบเพื่อไทย ตั้ง ‘หมอเลี้ยบ’ นั่ง ผอ.พรรค ผิดกฎหมายพรรคการเมืองหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
หมอเลี้ยบ-สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี คัมแบ็กเบื้องหน้า นั่ง ผอ.พรรคเพื่อไทย คนใหม่ สานเจตนารมณ์ ไทยรักไทย-พลังประชาชน https://thestandard.co/surapong-sit-as-director-of-the-pheu-thai-party/ Thu, 28 Oct 2021 03:56:16 +0000 https://thestandard.co/?p=553125 หมอเลี้ยบ-สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

วันนี้ (28 ตุลาคม) พรรคเพื่อไทย ได้จัดการประชุมใหญ่สามั […]

The post หมอเลี้ยบ-สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี คัมแบ็กเบื้องหน้า นั่ง ผอ.พรรคเพื่อไทย คนใหม่ สานเจตนารมณ์ ไทยรักไทย-พลังประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
หมอเลี้ยบ-สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

วันนี้ (28 ตุลาคม) พรรคเพื่อไทย ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 ของพรรคที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จังหวัดขอนแก่น ในหัวข้อ ‘พรุ่งนี้เพื่อไทย: เพื่อชีวิตใหม่ของประชาชน’ ซึ่งจะเป็นการปลุกความหวัง คืนความฝันให้พี่น้องประชาชนอีกครั้ง

 

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความฝันตลอดระยะเวลา 20 ปีบนเส้นทางการเมืองว่า แต่ละคนมีความฝัน ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกัน และอาจมีใน 2 แบบ หนึ่ง คือฝันเพื่ออนาคตตัวเอง และสอง คือฝันเพื่ออนาคตงดงามของเพื่อนมนุษย์ ซึ่งคนที่ฝันเพื่ออนาคตเพื่อนมนุษย์ที่รู้จักมาในชีวิตมี 2 คน คนแรก คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ที่มีความฝันจะสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้คนไทย ทุกวันนี้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ได้เปลี่ยนชีวิตคนไทยไปกว่า 40 ล้านคน และส่งต่อความฝันให้คนทั้งโลกนับพันล้านคน และคนที่สอง ดร.ทักษิณ ชินวัตร ฝันอยากหยิบยื่นโอกาสชีวิตที่ดีให้คนอื่น เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจึงไม่ใช่แค่ตาต้องดูดาว แต่เท้าต้องติดดิน กินคั่วแมงกุดจี่ และสองคนนี้แม้ฝันจะต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การฝันโดยใช้หัวใจ การใช้หัวใจสร้างความฝันย่อมเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนส่วนใหญ่ไปตลอดกาล  

 

นพ.สุรพงษ์กล่าวอีกว่า น่าเสียดายที่ความฝันที่เป็นจริงเมื่อ 20 ปีที่แล้วต้องสะดุดหยุดลงเพราะรัฐประหารปี 2549 และ 7 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยก็จมดิ่งสู่หลุมดำแห่งทุกข์ซ้ำเติมชีวิตคนไทย แต่ด้วยเพราะพรรคเพื่อไทยสืบทอดเจตนารมณ์ของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน หนึ่งปีที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยจึงปรับเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยความเชื่อว่า ถ้าพรรคไม่สามารถเปลี่ยนตัวเองได้ก็ย่อมไม่สามารถไปซ่อมหรือสร้างเพื่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาประเทศไทย จึงรวมพลังปัญญาของทุกคนที่มีอุดมการณ์เพื่อประชาชน ปรับเปลี่ยนเพื่อไทยให้กลับมาสร้างฝันที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง

 

นพ.สุรพงษ์กล่าวต่อไปว่า วันนี้ยังมีวิกฤตรออยู่ข้างหน้า แต่ทรัพยากรสำคัญที่สุดที่จะช่วยกันฝ่าวิกฤตคือ ‘คน’ ถ้าคนไทยมีปัญญา มีสุขภาพดี มีรายได้อย่างเท่าเทียม ประเทศจะก้าวข้ามวิกฤตได้ ดังนั้นประชาชนควรได้รับโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะและปัญญาตลอดชีวิต ต้องกล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่ กล้าทำไม่กลัวล้มเหลวเพราะมีหลักประกันรายได้พื้นฐาน มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ล้มป่วย ไม่ตายเพราะโรคที่ป้องกันและควบคุมได้ 

 

“ความฝันตลอด 20 ปีคือการได้ทำโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค ได้เริ่มต้นเดินหน้าสำเร็จแล้วในระดับหนึ่ง แต่เมื่อ 20 ปีผ่านไป เทคโนโลยีการแพทย์และสุขภาพได้เปลี่ยนแปลง เราสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาคุณภาพการบริการประชาชนได้ดีขึ้นอีก และจากบทเรียนโควิดทำให้เราเห็นจุดอ่อนของระบบบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร จึงมีความฝันที่จะพัฒนาระบบสาธารณสุขขึ้นไปอีกระดับ” ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทยกล่าว 

 

นพ.สุรพงษ์ชี้ว่า จะต้องเริ่มต้นที่การกระจายอำนาจและการกระจายทรัพยากรทางสาธารณสุข ที่ยังไปไม่ได้ไกลอย่างที่ควรจะเป็น โดยนำ ‘การแพทย์ทางไกลหรือเทเลเมดิซีน’ มาใช้ในการให้คำปรึกษาเพื่อดูแลผู้ป่วยด้วยโรคพื้นฐานที่ไม่ซับซ้อนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยไม่ต้องเดินทางไกลมาโรงพยาบาลอำเภอหรือโรงพยาบาลจังหวัด ใช้ระบบข้อมูลอัจฉริยะเพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคนใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งได้โดยไม่ต้องเรียกหากระดาษ ส่วนในระดับประเทศต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ เพื่อสร้างเครือข่ายระบบบริการสาธารณสุขครบวงจร เริ่มจากโรงพยาบาลตำบลใกล้บ้านต่อเชื่อมกับโรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ที่มีศักยภาพเท่าโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ ภายในรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้ามารักษาในกรุงเทพมหานครอีก

 

นพ.สุรพงษ์กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีปัญหาแตกต่างออกไป เมื่อเกิดการระบาดของโควิด กลับพบว่าผู้ป่วยโควิดเข้าไม่ถึงการบริการตรวจรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพราะไม่มีระบบการรักษาพยาบาลแบบปฐมภูมิที่สมบูรณ์ ถ้าเปรียบเทียบกับต่างจังหวัด 50 เขตของกรุงเทพมหานครคือ 50 อำเภอ และทุกเขตต้องมีโรงพยาบาลขนาด 100 เตียงเช่นเดียวกับในต่างจังหวัด ดังนั้น จึงควรเริ่มต้นกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโรงพยาบาลในรูปแบบองค์การมหาชน สำหรับการป้องกันและควบคุมโรค โดยเฉพาะโควิด นอกจากการเร่งฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องเร่งพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองด้วยเทคโนโลยีล้ำยุค เช่น DNA Nudge และระบบ AI ปัญญาประดิษฐ์ต่อยอดจากฐานข้อมูลดิจิทัล เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของนักระบาดวิทยา และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

 

“ความฝันทั้งหมดนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าเราไม่มีรัฐบาลที่มาจากประชาชน รัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ดังนั้นเราทุกคนต้องช่วยกันผลักดันความฝันของเราที่เคยร่วมฝันกันไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้วอีกครั้ง ถามตัวเองว่า ยังมีความฝันอะไรที่เรายังไม่ได้ทำ และมาเปลี่ยนความฝันให้เป็นความจริงเพื่อประชาชน” ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทยกล่าวสรุป

The post หมอเลี้ยบ-สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี คัมแบ็กเบื้องหน้า นั่ง ผอ.พรรคเพื่อไทย คนใหม่ สานเจตนารมณ์ ไทยรักไทย-พลังประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>