สิ่งแวดล้อม – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 22 Oct 2024 05:23:41 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชีวะภาพ สว. รับเรื่องตรวจสอบไร่เชิญตะวันของ ว.วชิรเมธี พ่วงกับที่ดินของ ‘กันต์’ เข้าพิจารณาใน กมธ.สิ่งแวดล้อม https://thestandard.co/cherntawan-land-investigation/ Tue, 22 Oct 2024 05:23:41 +0000 https://thestandard.co/?p=998798 ชีวะภาพ

วันนี้ (22 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา ชีวะภาพ ชีวะธรรม สมาช […]

The post ชีวะภาพ สว. รับเรื่องตรวจสอบไร่เชิญตะวันของ ว.วชิรเมธี พ่วงกับที่ดินของ ‘กันต์’ เข้าพิจารณาใน กมธ.สิ่งแวดล้อม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชีวะภาพ

วันนี้ (22 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา ชีวะภาพ ชีวะธรรม สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เปิดเผยก่อนเข้าประชุมกรรมาธิการเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริงของสถานปฏิบัติธรรม ‘ไร่เชิญตะวัน’ จังหวัดเชียงราย ของพระมหาเมธีวชิโรดม หรือ ว.วชิรเมธี โดยระบุว่า เรารับเรื่องร้องเรียนมา 2 จุดคือ ไร่เชิญตะวันและที่ดินของ กันต์ กันตถาวร ผู้ต้องหาคดีดิไอคอนกรุ๊ป ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการประกาศขาย

 

กรณีดังกล่าวผู้ร้องมีการส่งเรื่องไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมป่าไม้ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แต่ในฐานะที่เราเป็นกรรมาธิการ เป็นหน่วยงานที่ประสาน ติดตาม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดต่อสาธารณชน ยืนยันว่าเราจะทำอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเราจะทำให้กระจ่างและยุติธรรม

 

ชีวะภาพกล่าวต่อไปว่า ส่วนเรื่องไร่เชิญตะวันแม้พื้นที่จะเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่สามารถขออนุญาตเข้าไปได้ และมีวัดหลายแห่งอยู่ในเขตป่าสงวนฯ แต่เรื่องความผิดถูกอย่างไรนั้นคงต้องรอให้กรมป่าไม้และหน่วยงานที่ให้อนุญาตไปตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ในฐานะกรรมาธิการจะประสานคู่ขนานไป

 

ชีวะภาพกล่าวด้วยว่า เชื่อว่าอธิบดีกรมป่าไม้เอาจริงอยู่แล้ว หากพบว่าไร่เชิญตะวันมีการทำเกินเลยไปก็ต้องดูว่าใครเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งวันนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นใคร หากกรมป่าไม้สรุปเสร็จแล้วก็จะนำประเด็นนั้นมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ประชาชนส่งมา แต่หากกรมป่าไม้ตรวจสอบแล้วถูกต้องก็ไม่เป็นไร แล้วค่อยทำความเข้าใจกับประชาชนผู้ร้องเรียน

 

ส่วนจะพบข้อพิรุธหรือสุ่มเสี่ยงอย่างไรหรือไม่นั้น ชีวะภาพตอบว่า กรรมาธิการของเราไม่ได้มีฝ่ายเทคนิคที่จะลงรายละเอียด ผู้ตรวจสอบว่าผิดหรือถูกคือกรมป่าไม้ ซึ่งเบื้องต้นตนเองเชื่อในฝีมือของกรมป่าไม้ และคิดว่ามีความตรงไปตรงมา ทุกวันนี้ไม่มีใครกล้าบอกว่าถูกเป็นผิด ผิดเป็นถูก กรรมาธิการเองก็เช่นกัน พร้อมมองว่าประมาณ 1-2 วันน่าจะทราบผลการตรวจสอบ

 

นอกจากนี้ ไร่เชิญตะวันมีการขออนุญาต 190 ไร่ ซึ่งส่วนตัวทราบว่ามีการขอและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง แต่การครอบครองและใช้ผลประโยชน์นั้นเราต้องรอรายละเอียดในเรื่องของกฎหมาย

 

ส่วนรายละเอียดที่ดินของ กันต์ กันตถาวร ชีวะภาพระบุว่า เรื่องนี้มีผู้ร้องมาหลายหน่วยงาน แต่เบื้องต้นเท่าที่ทราบคืออยู่นอกเขตป่าสงวนฯ ซึ่งคงต้องตรวจสอบว่ามีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ ส่วนที่มีการซื้อ 2.5 ล้านบาท แต่ขายไป 40 ล้านบาทนั้น ไม่ทราบว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมไหม ซึ่งหากมีโฉนดและหมุดอยู่ตรงนี้ต้องดูว่าเขาทำเกินไปหรือไม่ และได้โฉนดมาอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยในวันนี้จะมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าไปหารือในที่ประชุมกรรมาธิการด้วย

The post ชีวะภาพ สว. รับเรื่องตรวจสอบไร่เชิญตะวันของ ว.วชิรเมธี พ่วงกับที่ดินของ ‘กันต์’ เข้าพิจารณาใน กมธ.สิ่งแวดล้อม appeared first on THE STANDARD.

]]>
“อยากเห็นประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง” นายกฯ อ้อนขอโอกาส ให้คนอายุน้อยทำงานทุกๆ ตำแหน่ง https://thestandard.co/prime-minister-begs-for-opportunities-for-young-people-to-work/ Mon, 07 Oct 2024 11:42:31 +0000 https://thestandard.co/?p=992889

นายกฯ ขอโอกาส ให้คนอายุน้อยทำงานทุกตำแหน่งไปพร้อมกับคนร […]

The post “อยากเห็นประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง” นายกฯ อ้อนขอโอกาส ให้คนอายุน้อยทำงานทุกๆ ตำแหน่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

นายกฯ ขอโอกาส ให้คนอายุน้อยทำงานทุกตำแหน่งไปพร้อมกับคนรุ่นเก่าที่ช่วยสนับสนุนเป็นที่ปรึกษา เผยอยากเห็นประเทศไทยค่อยๆ เปลี่ยนแปลง พร้อมย้ำ ศักยภาพการลงทุน ‘อาเซียน’ ขึ้นแท่นตลาดขนาดใหญ่ของโลก เตรียมรับบทบาทสำคัญ นำความสงบสุขกลับคืนสู่เมียนมา ระบุจากนี้ต้องทำการบ้านหนัก ถก 10 ประเทศเพื่อนบ้าน

 

วันนี้ (7 ตุลาคม) แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘Thailand Economic Big Move’ ในงานสัมมนา ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity ว่า ขอบคุณที่ให้เกียรติมาร่วมงาน แม้วันนี้จะเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยเพียง 38 ปี แต่หากอยู่ในวงการอื่นๆ ที่เคยทำธุรกิจมา ไม่มีใครบอกว่าอายุน้อย เมื่อเข้าสู่แวดวงการเมืองก็จะบอกว่าอายุน้อยไป แต่ไม่ว่าจะอายุเท่าไร หากเปิดโอกาสให้ทำงานในทุกตำแหน่ง ทุกๆ วงการ คิดว่าจะมีไอเดียใหม่ๆ เข้ามา 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ขณะเดียวกันก็มีคนรุ่นก่อนช่วยสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาได้ นี่เป็นเรื่องที่อยากให้ประเทศไทยค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป เพราะขณะนี้เราเห็นได้ชัดแล้วว่าทุกวงการมีคนทุกอายุเพิ่มมากขึ้น ถึงเวลาแล้วที่จะพูดถึงสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำต่อไป และประเทศไทยจะเห็นอะไรในอนาคตจากมุมของอาเซียนเอง 

 

อีกทั้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้เข้าร่วมการประชุม Asia Cooperation Dialogue (ACD) ที่ประเทศกาตาร์ เป็นเวทีสำคัญครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้พูดกับประเทศตะวันออกกลางและมีความร่วมมือหลายอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะในปีหน้า ซึ่งคาดว่าน่าจะมีโอกาสดีๆ ที่ส่งผลมาถึงภูมิภาคอาเซียน

 

ชูจุดแข็งอาเซียน เปลี่ยนจากสนามรบให้เป็นสนามการค้า 

 

หากย้อนไปในช่วงทศวรรษที่ 1990 อาเซียนที่นำโดยประเทศไทยได้พัฒนาตัวเองเป็นเขตการค้าเสรีอย่างเต็มรูปแบบ ขยายความร่วมมือในด้านการค้าและการลงทุนกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ อย่าง APEC ก็เกิดขึ้นในยุคนั้น 

 

ทั้งเป้าหมายและแนวทางที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี อยู่ตลอดเวลา ช่วงก่อตั้งราวทศวรรษที่ 1960 ปัญหาความขัดแย้งและสงครามยังเป็นปัญหาหลักในภูมิภาคของเรา อาเซียนจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกมีความมั่นคง 

 

หลังจากนั้นอาเซียนมีนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า จนสามารถสร้างเศรษฐกิจที่เป็นรากฐานมาถึงปัจจุบัน และในช่วงทศวรรษที่ 1990 อาเซียนที่นำโดยประเทศไทยได้พัฒนาตัวเองเป็นเขตการค้าเสรีอย่างเต็มรูปแบบ ขยายความร่วมมือในด้านการค้าและการลงทุนกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างเช่น APEC ก็เกิดขึ้นในยุคนั้นมาถึงวันนี้ 

 

โดยนายกรัฐมนตรีขอใช้เวทีนี้เล่าถึงเป้าหมายและอุดมการณ์ของรัฐบาลไทย ในฐานะประเทศสมาชิกต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อทศวรรษต่อไปของอาเซียนทั้งหมด 4 ประเด็น

 

ประเด็นที่ 1 GDP ของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศในวันนี้ มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 120 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มจะขยายตัวอีก 4-5% ต่อปีอย่างต่อเนื่องในอนาคต นับเป็นตลาดอันดับ 5 ของโลก และมีประชากรกว่า 670 ล้านคน อาเซียนจึงถือเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกในเวลานี้ อาเซียนจำเป็นต้องปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า โดยสมาชิกต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในด้านเศรษฐกิจ 

 

ส่งผลให้ตลาดอาเซียนมีกฎเกณฑ์การค้า การลงทุน และการเก็บภาษี สอดคล้องไปด้วยกันทั้งภูมิภาค เพื่อทำให้นักลงทุนรู้สึกว่าการลงทุนในประเทศสมาชิกหรือประเทศไทยจะเท่ากับการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน โดยดึงดูดการลงทุนให้มากขึ้น การลงทุนประชากรไทย 66 ล้านคน เปลี่ยนเป็นการลงทุนกับประชากรอาเซียนที่มีถึง 670 ล้านคน ซึ่งมีโอกาสและศักยภาพมากกว่าหลายเท่า

 

ประเด็นที่ 2 อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความสงบ ไม่มีความขัดแย้งระหว่างประเทศ เป็นจุดเด่นสำคัญที่เหมาะแก่การลงทุน จุดยืนของประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียน รัฐบาลตั้งใจส่งเสริมการลงทุนซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน โดยยึดหลัก International Law และยินดีเป็นตัวกลางเชื่อมต่อให้ทุกคนมาพูดคุยกัน อีกทั้งเป็นพื้นที่เจรจาลดความขัดแย้งของโลก 

 

โดยเฉพาะในเวลานี้ที่โลกกำลังประสบปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรง ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน ในขณะเดียวกันจีนได้กระจายการลงทุนในประเทศอาเซียนหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) หรือการผลิตโซลาร์เซลล์ ในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมถึงเข้าไปตั้งกองทุนในประเทศสิงคโปร์ 

 

นอกจากนี้นักลงทุนจากสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ต่างก็ให้ความสนใจและเพิ่มการลงทุนด้านสินค้าเทคโนโลยีทั้งในเวียดนาม, ไทย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และการลงทุน รวมทั้งการสร้าง Data Center ของ Google ในประเทศไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปจนถึงการผลิตโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ของ Apple

 

“อาเซียนยังมีบทบาทในการลดความตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจหลายครั้ง ด้วยการใช้ไทยเป็นเวทีเจรจาระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของจีนกับที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ วันนี้อาเซียนจะต้องมีบทบาทสำคัญในการนำความสงบสุขกลับมาในประเทศเมียนมาโดยเร็วที่สุด เราจะเน้นการทำงานร่วมกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ซึ่งจะดำรงตำแหน่งประธานของอาเซียนในปีหน้า รวมถึงใช้กลไกทางการทูตเพื่อแก้ปัญหานี้ให้คลี่คลายโดยเร็วที่สุด” แพทองธารย้ำ 

 

ประเด็นที่ 3 การขนส่งที่เชื่อมโยงคมนาคมประเทศต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน จะเป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับศักยภาพของอาเซียน ในอนาคตอาเซียนจะต้องเชื่อมต่อระบบการขนส่งระหว่างประเทศที่อยู่บนผืนแผ่นดินเอเชีย เชื่อมต่อให้ทั้งระบบเชื่อมโยงกัน ทำให้ส่งสินค้าและติดต่อกันได้สะดวกขึ้น ต้องพัฒนาโครงสร้างคมนาคมร่วมกันทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ 

 

ทั้งรถไฟทางคู่ การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค และแลนด์บริดจ์ ศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำที่เชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงภาพของท่าเรือขนาดใหญ่ที่เชื่อมสองมหาสมุทรอย่างอ่าวไทยและอันดามันเข้าด้วยกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตให้กับทุกธุรกิจ เป็นศูนย์กลางของการขนส่งอีกแห่งหนึ่งของโลกคือ การส่งออกอาหารและผลผลิตการเกษตรไปทั่วโลก การมีโครงสร้างคมนาคมที่ดี รวมถึงการที่ประเทศไทยจะเป็นพื้นที่เก็บคลังสินค้า (Food Security) โดยนำ AI มาใช้ และมีมาตรฐานระดับโลก เพิ่มรายได้ให้กับคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งจะพัฒนาในจุดนี้ และจะทำให้อาเซียนมั่นคงแข็งแรงทางเศรษฐกิจต่อไป 

 

ประเด็นที่ 4 อาเซียนต้องร่วมกันหาทางออกจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกเดือดให้ได้ เพราะภัยธรรมชาติจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี เห็นได้จากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภาคเหนือของประเทศไทย ถือเป็นโจทย์หนึ่งของรัฐบาลที่จะเตรียมพร้อมกับประชาชน เพื่อรับมือกับภาวะโลกเดือด และเยียวยาต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งต้องอาศัยเวลาหลายปีในการวางแผน อีกทั้งจะเร่งรัดนโยบายให้ได้ผลในเชิงปฏิบัติมากกว่าที่เป็นอยู่ และในเรื่องคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) โดยตั้งเป้าหมายว่าประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และสนับสนุนพลังงานทางเลือกอย่างจริงจัง มีนโยบายเกี่ยวกับการใช้โซลาร์เซลล์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งรัฐบาลจะเร่งรัดดำเนินนโยบายอย่างเต็มที่

 

“ทั้งหมดนี้จะนำไปหารือกับประเทศสมาชิกอาเซียน แน่นอนว่าจะพูดในภาพรวม หา Common Strategy ร่วมกัน และจะมีประชุมแยกเพื่อร่วมมือในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญในแต่ละประเทศ โดยการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44-45 ที่ สปป.ลาว จะเริ่มขึ้นในวันพรุ่งนี้”

 

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับ Master Plan ของ ASEAN Connectivity 2025 ที่มี 3 แกนวิธีคิดหลัก คือ

 

  1. การเชื่อมโยงทางกายภาพ เน้นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง 

 

  1. การเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ มุ่งหวังที่จะปรับนโยบาย กฎระเบียบ และมาตรฐาน ให้สอดคล้องกันในประเทศสมาชิก เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน

 

  1. การเชื่อมโยงระหว่างประชาชน เช่น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม, การศึกษา, การท่องเที่ยว และการเคลื่อนย้ายแรงงาน ให้มีความสะดวกเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างอนาคตอาเซียนร่วมกับประเทศสมาชิกอย่างยั่งยืน 

 

“อาเซียนที่อยู่ร่วมกันโดยสามัคคี ทำให้มีพลังมากกว่าต่างคนต่างทำ: ASEAN together is much more than the sum of its parts.” นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำ

The post “อยากเห็นประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง” นายกฯ อ้อนขอโอกาส ให้คนอายุน้อยทำงานทุกๆ ตำแหน่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ แนะแนวทาง ‘ปลูกป่า-ปลูกคน’ ทางออกช่วยไทยบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส https://thestandard.co/mae-fah-luang-sustainability-forum-2024/ Thu, 19 Sep 2024 12:15:40 +0000 https://thestandard.co/?p=985620

วันนี้ (19 กันยายน) มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ […]

The post มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ แนะแนวทาง ‘ปลูกป่า-ปลูกคน’ ทางออกช่วยไทยบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 กันยายน) มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมภาคี ร่วมจัดเสวนาชี้ทางรอดจากหายนะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเวทีเสวนา Mae Fah Luang Sustainability Forum 2024 หัวข้อ ‘ปลูกป่า ปลูกคน: ทางเลือก ทางรอด’ ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า หัวใจของความสำเร็จที่ประเทศไทยจะบรรลุตามข้อตกลงประกอบด้วยการใช้กระบวนการทางธรรมชาติ (Nature-based Solution) และการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นการสรุปบทเรียนมาจากการปลูกป่าบนดอยตุงของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ดำเนินมาครบ 36 ปี

 

“การมีป่าเพียงอย่างเดียวกำลังจะไม่เพียงพอ เพราะโลกกำลังต้องการป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และนอกจากนั้นป่ากับความหลากหลายจะยั่งยืนได้ก็ต้องมีคนคอยดูแล ซึ่งก็คือชุมชน ดังนั้นในการเดินไปสู่เป้าหมายของประเทศจะต้องมีทั้งสองปัจจัยนี้ และจะแยกจากกันไม่ได้”

 

ตลอดระยะเวลา 36 ปีที่ปลูกป่าบนดอยตุง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ฟื้นฟูป่าได้ประมาณ 90,000 ไร่ สร้างอาชีพที่ดีแก่ประชาชนกว่า 10,000 คน และได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกกว่า 419,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ภาคีต่างๆ ในระยะยาว

 

นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากกรมป่าไม้ และภาคีภาครัฐและเอกชน 25 องค์กร ที่ร่วมกับ 281 ชุมชน เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนกว่า 258,186 ไร่ โดยมีเป้าหมายขยายโครงการไปยังป่าชุมชน 1 ล้านไร่ ภายในปี 2570 จากพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมด 6.8 ล้านไร่ในปัจจุบัน

 

“ในช่วงไฟป่าที่ผ่านมา คนไทยพากันหวาดกลัว PM2.5 แต่เราพบว่าไฟป่าในป่าชุมชนที่ร่วมงานกันลดลงจากเฉลี่ย 22% เหลือเพียง 0.86% จึงพิสูจน์แล้วว่าชุมชนเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม สอดคล้องกับพระบรมราโชบาย ปลูกป่า ปลูกคน นี่จึงทำให้เห็นว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ดี ตั้งแต่แก้ปัญหาหมอกควัน เพิ่มพื้นที่ป่า สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้ชุมชน และเอกชนได้รับคาร์บอนเครดิต”

 

ในขณะที่การแสวงหาคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต ม.ล.ดิศปนัดดา ยังตั้งข้อสังเกตว่า ประชาคมโลกกำลังจัดมาตรฐานคาร์บอนเครดิตกันใหม่ โดยมีแนวโน้มการพัฒนาคาร์บอนเครดิตที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนในป่า

 

ด้าน ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘นโยบายและแนวทางการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ’ ว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญและรับมือกับปัญหาที่ตามมา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ 

 

ประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีส จะต้องดำเนินการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อนำไปสู่การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลก 

 

รวมทั้งการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ภายในปี 2065 รวมทั้งเป้าหมายการมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

นอกจากนี้ประเทศไทยได้รับรองกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: KM-GBF) เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ นำไปสู่การบรรลุพันธกิจปี 2030 (2030 Mission) และวิสัยทัศน์ปี 2050 ให้ประชาคมโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กับการมีธรรมชาติที่สมบูรณ์

 

ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ ดังนี้ 

 

  • เป้าประสงค์ A เพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทุกระบบนิเวศ 
  • เป้าประสงค์ B ดำรงรักษาหรือเพิ่มพูนประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ 
  • เป้าประสงค์ C แบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม 
  • เป้าประสงค์ D แก้ปัญหาช่องว่างทางการเงินและแนวทางดำเนินงานอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ปี 2050

 

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อวางกรอบกฎหมาย กลไก และเครื่องมือในภาคบังคับและส่งเสริมที่จำเป็นและเหมาะสมกับการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 

 

สำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 29 (COP29) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-22 พฤศจิกายน 2024 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน โดยมีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการผลักดันการยกระดับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการจัดทำเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับที่ 2 (NDC 3.0) ซึ่งมีกำหนดจัดส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 

 

ดร.พิรุณ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เพราะเราไม่ได้เป็นเจ้าของโลกใบนี้ จึงต้องช่วยกันดูแล และส่งต่อโลกที่ดีและยั่งยืนให้คนรุ่นต่อไป”

 

ทั้งนี้ ภายในงานยังพูดถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ควบคู่กับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนภายใต้โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งให้ผลพลอยได้เป็นคาร์บอนเครดิตที่สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน และการเสวนาหัวข้อ ‘ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ: จากทางเลือกสู่ทางรอด’ โดยตัวแทนภาคเอกชนมาแบ่งปันวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจน และกลยุทธ์ที่ปฏิบัติได้จริง 

 

นอกจากนี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังพร้อมนำองค์ความรู้ด้านความยั่งยืนไปเสริมทัพกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรเอกชน เพื่อนำกลยุทธ์ความยั่งยืนขององค์กรไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และการจัดงานครั้งนี้ยังได้รับตรารับรอง Net Zero Event งานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วย

The post มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ แนะแนวทาง ‘ปลูกป่า-ปลูกคน’ ทางออกช่วยไทยบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส appeared first on THE STANDARD.

]]>
เฉลิมชัยประเดิมตอบกระทู้ในฐานะ รมว.ทส. เผย สะพานข้ามแม่น้ำป่าสักผ่าน EIA แล้ว https://thestandard.co/the-bridge-over-the-pa-sak-river-has-passed-eia/ Thu, 19 Sep 2024 10:22:47 +0000 https://thestandard.co/?p=985517

วันนี้ (19 กันยายน) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 2 […]

The post เฉลิมชัยประเดิมตอบกระทู้ในฐานะ รมว.ทส. เผย สะพานข้ามแม่น้ำป่าสักผ่าน EIA แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 กันยายน) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 25 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1) วาระพิจารณากระทู้ถาม สาธิต ทวีผล สส. ลพบุรี พรรคประชาชน ตั้งกระทู้ถาม เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องติดตามความคืบหน้ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

 

เฉลิมชัยตอบกระทู้นี้ว่า เมื่อตนได้เข้ารับตำแหน่ง จึงตรวจดูกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง พร้อมกับขอข้อมูลจากส่วนงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับทำความเข้าใจและชี้แจงต่อสภา

 

ในเรื่องดังกล่าว สำนักงานนโยบายและแผนฯ นำเสนอโครงการนี้ และมีการอนุมัติไปแล้วเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 โดยมีมติให้ความเห็นชอบกับรายงาน EIA โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก จังหวัดลพบุรี โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด 

 

“ท่านสามารถไปบอกพี่น้องชาวลพบุรีได้เลยว่า ขณะนี้ EIA ผ่านเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ติดตามแล้ว และหลังจากนี้จะเป็นการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป” เฉลิมชัยกล่าว 

 

เฉลิมชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากในพื้นที่ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พบว่ายังมีเขตที่ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ดังนั้น เมื่อโครงการก่อสร้างดังกล่าวได้รับการอนุมัติ EIA ไปแล้ว

 

ทั้งนี้ ขอฝากไปยังผู้ตั้งกระทู้ให้ไปติดตามกระบวนการต่อเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ โดยขอให้ดำเนินการยื่นหนังสือต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้เพิกถอนพื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่าในพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการด้วย ซึ่งจะทำให้กรมอุทยานฯ สามารถดำเนินการให้ครบถ้วน เมื่อโครงการเริ่มดำเนินการจะได้ไม่ติดขัดข้อกฎหมาย

 

เฉลิมชัยย้ำด้วยว่า หากเห็นว่ามีสิ่งใดที่จะเป็นปัญหาในด้านธุรกรรม หรือเอกสารต่างๆ ก็สามารถประสานมาได้ตลอดเวลา เพราะโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง

The post เฉลิมชัยประเดิมตอบกระทู้ในฐานะ รมว.ทส. เผย สะพานข้ามแม่น้ำป่าสักผ่าน EIA แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ทำไมธุรกิจใหญ่ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม? | KEY MESSAGES #144 https://thestandard.co/businesses-need-to-care-about-the-environment/ Wed, 03 Jul 2024 09:00:59 +0000 https://thestandard.co/?p=953403

กลุ่ม Eco Actives หรือผู้บริโภคที่ห่วงใยและให้ความสนใจด […]

The post ชมคลิป: ทำไมธุรกิจใหญ่ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม? | KEY MESSAGES #144 appeared first on THE STANDARD.

]]>

กลุ่ม Eco Actives หรือผู้บริโภคที่ห่วงใยและให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กระทบกับทุกคน ทำให้ผู้บริโภคต้องการรู้ว่าสินค้าและบริการที่เลือกใช้มีแหล่งวัตถุดิบมาจากการตัดไม้ทำลายป่า ไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังขาดแคลน ไม่ทำลายธรรมชาติทางทะเล ไม่มีการเผาจนทำให้เกิด PM2.5 ในปริมาณมาก และไม่เอาเปรียบแรงงาน จริงหรือไม่ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2029 ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะมีแนวคิดแบบ Eco Actives

 

ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจแบรนด์ต่างๆ ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมพร้อมกับมุมมองของประชากรโลกที่เลือกซื้อสินค้าเปลี่ยนไปจากเดิม จำเป็นต้องตระหนักถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม ปกป้องและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

The post ชมคลิป: ทำไมธุรกิจใหญ่ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม? | KEY MESSAGES #144 appeared first on THE STANDARD.

]]>
4 เมกะเทรนด์ ปฏิวัติเศรษฐกิจโลก: ความท้าทายที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องจับตา https://thestandard.co/4-megatrends-revolutionizing-the-world-economy/ Tue, 25 Jun 2024 06:49:27 +0000 https://thestandard.co/?p=949522

เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้รับเชิญจากวารสารวิชาการ Economic Re […]

The post 4 เมกะเทรนด์ ปฏิวัติเศรษฐกิจโลก: ความท้าทายที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องจับตา appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้รับเชิญจากวารสารวิชาการ Economic Record ให้เขียนบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า The Future of the Factory: How Megatrends are Changing Industrialization แต่งโดย Jostein Hauge นักเศรษฐศาสตร์การเมืองของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือเล่มนี้พูดถึง 4 ความท้าทายที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญ และอธิบายถึงนัยสำคัญต่อนโยบายอุตสาหกรรมในอนาคต แน่นอนว่าอุตสาหกรรมเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทยมาหลายสิบปี หนังสือเล่มนี้จึงมอบบทเรียนและข้อคิดสำคัญให้กับรัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย ข้าราชการ นักธุรกิจ รวมถึงนักวิชาการที่ศึกษาประเด็นเกี่ยวกับพัฒนาการของเศรษฐไทย

 

4 เมกะเทรนด์ (Megatrends) ที่ว่านี้ ประกอบด้วย 1. การเข้าสู่ยุคของภาคบริการ (The Rise of Services) 2. เทคโนโลยีแบบอัตโนมัติ (Digital Automation Technologies) 3. ห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลก (Globalization of Production) และ 4. การล่มสลายของระบบนิเวศ (Ecological Breakdown) มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

 

เมกะเทรนด์แรกว่าด้วยเรื่องของภาคบริการ แน่นอนว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 18 ได้นำพาประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาให้กลายมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Countries) ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ลาตินอเมริกา รวมถึงแอฟริกา ทำตามเพื่อหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศก็คือการเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) หรือเรียกว่า Manufacturing-Led Growth อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในภาคบริการกว่า 60% ของ GDP โลกมาจากภาคบริการด้วยกันทั้งสิ้น

 

บริษัทที่มีกำไรมากที่สุดอย่าง Amazon, Google และ Walmart ล้วนเป็นบริษัทที่ให้บริการในทางใดทางหนึ่ง ขณะที่กำไรของบริษัทที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและผลิตสินค้าอย่าง Apple, Sumsung และ Toyato ก็มีสัดส่วนของกำไรที่มาจาก Research and Development การขายปลีก และการทำการตลาด หลายประเทศกำลังพัฒนา (ประเทศใน Global South) เช่น อินเดีย เคนยา และฟิลิปปินส์ จึงใช้โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจที่เรียกว่า Service-Led Growth หรือการพึ่งพาภาคบริการในการนำพาเศรษฐกิจให้เจริญรุดหน้า 

 

บทบาทที่เพิ่มขึ้นของภาคบริการเป็นผลมาจากการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) สะท้อนจากความแพร่หลายของคอมพิวเตอร์และความเสถียรของระบบอินเทอร์เน็ต ที่ลดต้นทุนของการดำเนินกิจกรรมในภาคบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการทางการเงินและการให้คำปรึกษา

 

เมกะเทรนด์ที่สองคือเรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI (Artificial Intelligence-Related Technologies) ที่ทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ (Automation) และมีผลกระทบสำคัญต่อตลาดแรงงาน ในช่วงก่อนโควิด-19 เทคโนโลยีดังกล่าวยังมีข้อจำกัดเนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวยังต้องอาศัยมนุษย์ในการบรรยายหรือกำหนดปฏิบัติการ (Operation) ซึ่งทำให้ไม่สามารถประยุกต์ใช้ในงานที่ต้องใช้ความคิดเชิงนามธรรม (Abstract Thinking) การปรับตัว (Adaptability) และการตระหนักรู้ตามสถานการณ์ (Situation Awareness) เช่น งานด้านการออกแบบที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และงานบ้าน แต่ข้อจำกัดเหล่านี้กลับน้อยลงอันเนื่องมาจากความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์และการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลว่างาน Routine ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในประเทศ Global South อาจถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ

 

เมกะเทรนด์ที่สามคือห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลก (Global Value Chains) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีความเปลี่ยนแปลงไป แทนที่ทุกอย่างจะผลิตในประเทศใดประเทศหนึ่งทั้งหมด แต่เกิดกระบวนการแยกผลิตในหลายประเทศ (Global Production Sharing) เช่น การผลิต iPhone หนึ่งเครื่อง แม้จะประกอบในจีนและประทับตรา Made in China แต่มีอีกหลายสิบประเทศที่มีส่วนร่วมในการผลิตชิ้นส่วนของ iPhone แม้เราจะมองว่า iPhone นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ของ Apple แต่แท้จริงแล้วมีอีกหลายบริษัทที่มีส่วนในการผลิต iPhone ไม่ว่าจะเป็น Toshiba, Samsung, Intel, Sony รวมถึง LG บริษัทเหล่านี้ไม่ได้ชำนาญในการผลิต iPhone ทั้งเครื่อง แต่ถนัดที่จะผลิตชิ้นส่วน (Parts and Components) ที่สำคัญ เช่น แบตเตอรี่, หน้าจอ และชิป สินค้าที่เข้าร่วมในห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลกมีตั้งแต่อาหารแปรรูป, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ยานพาหนะ รวมไปถึงเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม รูปแบบของการผลิตดังกล่าวเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศใน Global South ที่จะช่วงชิงตำแหน่งในห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลก

 

เมกะเทรนด์สุดท้ายเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม สภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการล่มสลายของระบบนิเวศซึ่งมีมนุษย์เป็นปัจจัยหลัก อีกส่วนสำคัญคือการถลุงทรัพยากร (Resources) ของโลก ไม่ว่าจะเป็นชีวมวล (Biomass), เชื้อเพลิงฟอสซิล, เหล็ก และแร่ธาตุต่างๆ แม้ว่าเราจะชะลอการเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิโลกได้ แต่ปัญหาอื่นๆ ก็ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า, ความเสื่อมโทรมของดิน, การประมงเกินขีดจำกัด, การทำเหมืองที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ รวมถึงการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แน่นอนว่า 300 ปีของการพัฒนาเศรษฐกิจและการเป็นอุตสาหกรรมนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้ทรัพยากรของโลกไปอย่างมหาศาล ข้อถกเถียงที่ผ่านมาคือเรื่องของ Trade Off ระหว่างการเป็นอุตสาหกรรมและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ว่ามีอยู่จริงไหมและบทบาทของภาครัฐเป็นอย่างไร

 

Jostein Hague ยังคงมองว่าภาคอุตสาหกรรมไม่ถูกแทนที่ด้วยภาคบริการ และจะยังคงเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจโลกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Transformation) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน (Job Creation) และงานดังกล่าวมีความสอดคล้องกับระดับของทุนมนุษย์ นอกจากนั้น แม้จะมีความเสี่ยงว่าระบบ Automation จะมาแทนที่คนในสถานประกอบการ แต่นั่นจะก่อให้เกิดการปรับโครงสร้าง (Re-Organization) ของตลาดแรงงาน แทนที่จะเป็นการว่างงานอย่างที่หลายฝ่ายกังวล

 

สิ่งที่ Jostein Hague มองว่าเป็นความท้าทายของประเทศ Global South คือผลกระทบของห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลก (เมกะเทรนด์ที่สาม) ต่ออำนาจอันไม่สมมาตร (Power Asymmetries) ที่เพิ่มอำนาจให้บริษัทขนาดใหญ่ (Transnational Corporation) ในประเทศมหาอำนาจและลดอำนาจ รวมถึงกำไรของบริษัทและแรงงานในประเทศ Global South ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำโลก (Global Inequality) สูงขึ้น และชะลอกระบวนการเข้าหากันของความกินดีอยู่ดีของโลก (Convergence) รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ Jostein Hague ระบุว่าประเทศกำลังพัฒนามีทรัพยากรน้อยกว่าที่จะรับมือกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น

 

ในภาพรวมผมเห็นด้วยกับเมกะเทรนด์ทั้ง 4 ที่ Jostein Hague ได้นำเสนอและวิเคราะห์ และมองว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายจากทั้ง 4 เมกะเทรนด์ ในเรื่องแรกนั้น จากสถิติของธนาคารโลก (2024) พบว่า กว่า 56% ของ GDP ไทยมาจากภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว, การค้าปลีกค้าส่ง, การเงิน และการขนส่ง ขณะเดียวกัน แรงงานจำนวนมากกำลังออกจากภาคเกษตรกรรมและตรงเข้าสู่ภาคบริการ สัดส่วนของแรงงานในภาคบริการเพิ่มขึ้นจาก 28% ในปี ค.ศ. 2000 มาอยู่ที่ 47% ในปี ค.ศ. 2022 ขณะที่แรงงานในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมีสัดส่วนที่ 30% และ 22% ตามลำดับ โดยสัดส่วนของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

 

หากภาคบริการสามารถดูดซับและสร้างการจ้างงานได้เฉกเช่นภาคอุตสาหกรรมในอดีต โมเดลพัฒนาประเทศแบบ Service-Led Growth ย่อมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจของไทย แต่ความท้าทายของโมเดลดังกล่าวที่อยู่ในวงสนทนาของนักวิชาการคือผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เนื่องจากภาคบริการเป็นภาคที่มีความเหลื่อมล้ำภายในภาค (Within-Sector Inequality) สูง การโยกย้ายแรงงานจากภาคเกษตรที่มีความเหลื่อมล้ำภายในภาคต่ำมายังภาคบริการย่อมทำให้ความเหลื่อมล้ำรวม (Total Inequality) สูงขึ้นในช่วงแรกของกระบวนการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ตามทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจของ Kuznets (1954) นั้น ความเหลื่อมล้ำรวมจะค่อยๆ ลดลง อันเนื่องมาจากความแตกต่างของรายได้ระหว่างภาค (Between-Sector Differences) ลดลง เรื่องนี้รัฐบาลสามารถรักษาระดับความเหลื่อมล้ำรวมภายในประเทศไม่ให้สูงเกินไปผ่านนโยบายทางการคลัง เช่น ภาษีแบบก้าวหน้า และการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย/กลุ่มเปราะบาง

 

ในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้น คนไทยและสถานประกอบการไทยมีการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความแตกต่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในแต่ละกิจกรรมทางเศรษฐกิจและขนาดของสถานประกอบการที่มีขนาดที่ต่างกัน รวมถึงความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงในประชากรที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2567) พบว่า ในปี พ.ศ. 2564 ภาคการผลิตมีการใช้คอมพิวเตอร์, อินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ ที่น้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสัดส่วนดังกล่าวยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่สำหรับสถานประกอบการขนาดเล็กและสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ 

 

สำหรับห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลกนั้น ไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่เข้าร่วมในห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลกอย่างเหนียวแน่น จากข้อมูลของ ADB (2024) พบว่า กว่า 57% ของการค้าระหว่างประเทศของไทยเป็นการค้าที่อยู่ในห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลก โดยมีสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากการเข้าร่วมในห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลกมาอย่างยาวนาน ทำให้สถานประกอบการไทยกลายมาเป็นซัพพลายเออร์ของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทย ทำให้เครือข่ายของบริษัท (Firm Network) ไปไกลกว่ารูปแบบของ Transnational Corporation กับบริษัทในเครือ (Affiliated Company) ของบริษัทข้ามชาติ และบริษัทของไทยไม่จำเป็นต้องป้อนสินค้าให้กับบริษัทขนาดใหญ่หรือเจ้าของเทคโนโลยี/ผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ผมจึงเห็นต่างกับ Jostein Hague ว่าห่วงโซ่มูลค่าการค้าโลกทำให้เสียดุลอำนาจของการต่อรองทางธุรกิจระหว่าง Global North และ Global South

 

ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมนั้น รัฐบาลปัจจุบันมีการผลักดันหลายนโยบาย เช่น การเลิกใช้ถ่านหิน, การใช้พลังงานสะอาด และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ยังเป็นโจทย์สำคัญคือฝุ่น PM2.5 ที่สร้างความเสียหายทางชีวิตและเศรษฐกิจแก่คนไทยมาระยะหนึ่ง จากข้อมูลของ UNEP (2023) พบว่า ในแต่ละปี คนไทยเผชิญกับค่า PM2.5 กว่า 27 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐานของ WHO กว่า 5.4 เท่า และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตกว่า 32,211 คน หรือ 46 คนต่อ 100,000 คน โดยส่วนใหญ่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) ปัจจุบันยังไม่มีการประเมินอย่างจริงจังว่า Action ต่างๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการปล่อยมลพิษของเครื่องยนต์ (Vehicle Emission Standards) การควบคุมคุณภาพของอากาศ (Air Quality Monitoring) และมาตรการจูงใจการผลิตที่สะอาด (Clean Production Incentive) ว่าส่งผลมากน้อยเพียงใดกับปัญหาสภาพอากาศ ดังนั้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากแม้แต่อากาศบริสุทธิ์ยังไม่สามารถจัดหาให้ประชาชนได้ 

 

แม้เมกะเทรนด์ทั้ง 4 จะไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว แต่ที่ผ่านมาองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ที่จะศึกษาเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก

The post 4 เมกะเทรนด์ ปฏิวัติเศรษฐกิจโลก: ความท้าทายที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องจับตา appeared first on THE STANDARD.

]]>
เก็บภาพเบื้องหลัง เชอรี่ เข็มอัปสร กับเรื่องราวการบาลานซ์ชีวิต สิ่งแวดล้อม และผลงานละครในรอบ 8 ปี จากรายการ Chairs to Share EP.28 https://thestandard.co/chairs-to-share-cherry-khemupsorn/ Fri, 08 Mar 2024 11:33:02 +0000 https://thestandard.co/?p=908855

เชอรี่ เข็มอัปสร เดินเข้ามาในสตูดิโอ THE STANDARD พร้อม […]

The post เก็บภาพเบื้องหลัง เชอรี่ เข็มอัปสร กับเรื่องราวการบาลานซ์ชีวิต สิ่งแวดล้อม และผลงานละครในรอบ 8 ปี จากรายการ Chairs to Share EP.28 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เชอรี่ เข็มอัปสร เดินเข้ามาในสตูดิโอ THE STANDARD พร้อมรอยยิ้ม เป็นรอยยิ้มที่หลายคนคุ้นเคยมาเสมอ ถึงแม้จะไม่ได้รับงานแสดงในบทนำมานาน 8 ปีแล้วนับตั้งแต่ละคร เลือดมังกร ตอน กระทิง ในปี 2558 

 

และแน่นอนว่าเราไม่พลาดจะเก็บภาพเบื้องหลังการถ่ายทำรายการ Chairs to Share EP.28 ที่เชอรี่ได้เปิดใจถึงเหตุผลที่ห่างหายไปจากงานแสดง ก่อนที่ละคร ‘ลมเล่นไฟ’ ที่เตรียมออนแอร์ตอนแรก 28 มีนาคมนี้ ทางช่อง 3 รวมไปถึงการแชร์ศิลปะการบาลานซ์ชีวิต ความรัก งานด้านสิ่งแวดล้อม และธุรกิจเพื่อสังคมที่ทำมาตลอดหลายปี 

 

ชมรายการ เชอรี่ เข็มอัปสร เปิดใจ แชร์จุดเปลี่ยน ละคร vs. สิ่งแวดล้อม การบาลานซ์ชีวิต | Chairs to Share EP.28 ได้ที่:

 

 

The post เก็บภาพเบื้องหลัง เชอรี่ เข็มอัปสร กับเรื่องราวการบาลานซ์ชีวิต สิ่งแวดล้อม และผลงานละครในรอบ 8 ปี จากรายการ Chairs to Share EP.28 appeared first on THE STANDARD.

]]>
พัชรวาทเข้าสภา ตอบกระทู้ สว. แจงปมจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนให้เอกชน https://thestandard.co/patcharawat-answered-senate-topic/ Mon, 04 Mar 2024 08:00:22 +0000 https://thestandard.co/?p=906937 พัชรวาท วงษ์สุวรรณ

วันนี้ (4 มีนาคม) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภาได้ตั้งกร […]

The post พัชรวาทเข้าสภา ตอบกระทู้ สว. แจงปมจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนให้เอกชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ

วันนี้ (4 มีนาคม) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภาได้ตั้งกระทู้ถามเรื่องการจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนให้เอกชนปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สว. ถึง พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง พล.ต.อ. พัชรวาท ได้เดินทางมาตอบด้วยตนเองถึงที่มาของโครงการปลูกป่าชายเลนฯ นั้นเนื่องจากประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในการประชุม COP26 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรฯ ทำโครงการปลูกป่าชายเลนฯ 

 

โดยมีหลักเกณฑ์ว่าพื้นที่ป่าชายเลนยังคงเป็นของรัฐ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นเจ้าของโครงการ ควบคุมดูแล และติดตามประเมินผลโครงการ ไม่ใช่เป็นการอนุญาตสัมปทาน โดยทางกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ดำเนินการปลูกป่าชายเลนเมื่อปี 2565 เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนและแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนและเอกชนมีส่วนร่วม

 

พล.ต.อ. พัชรวาท กล่าวอีกว่า การดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนฯ มีการประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีทั้งเอกชน องค์กร และมูลนิธิ รวม 14 ราย โดยผู้เข้าร่วมโครงการปลูกป่าชายเลนฯ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ ทั้งนี้โครงการปลูกป่าชายเลนฯ ยังคงเป็นพื้นที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลฯ และชุมชนยังสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการได้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเพียงสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตตามระเบียบที่กรมทรัพยากรทางทะเลฯ กำหนดเท่านั้น การดำเนินโครงการไม่ใช่อนุญาตให้เอกชนมาดำเนินการในลักษณะการให้สัมปทานป่าไม้ เป็นเพียงให้ร่วมดำเนินโครงการเท่านั้น ชุมชนยังสามารถใช้ประโยชน์ จับสัตว์น้ำ หาของป่า ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กิจกรรมสาธารณประโยชน์ภายในชุมชน และวิถีชีวิตได้อย่างปกติ โดยต้องเป็นไปอย่างสมดุล ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 

พล.ต.อ. พัชรวาท กล่าวต่อว่า ทางกระทรวงทรัพยากรฯ ยังมีการดำเนินโครงการนี้ต่อไปตามนโยบายรัฐบาล แต่จะติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาผลดี ผลเสีย ความคุ้มค่า และประโยชน์ของชาติและประชาชนที่จะได้รับเป็นสำคัญ หากโครงการใดไม่ดำเนินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงทรัพยากรฯ จะยกเลิกโครงการ ทั้งนี้ยังมีมาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการพัฒนาป่าชายเลน โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลฯ ลงทะเบียนกลุ่มชุมชนชายฝั่ง เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมดูแลฟื้นฟูป่าชายเลนตามกฎหมายกรมทรัพยากรทางทะเลฯ

 

นายกฯ สั่ง ครม. ต้องไปตอบกระทู้สภา

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ (3 มีนาคม) เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุม ครม. ว่าได้สั่งการในที่ประชุมให้รัฐมนตรีที่มีภารกิจในการตอบกระทู้ถามสดของรัฐสภากรุณาไปตอบตามที่ได้ประสานนัดหมายกันไว้ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนในสัปดาห์ที่แล้ว หากรัฐมนตรีติดภารกิจ ขอให้มอบหมายรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปตอบแทน เพื่อให้เกิดการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

The post พัชรวาทเข้าสภา ตอบกระทู้ สว. แจงปมจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนให้เอกชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
จากโอกาสใหม่บนเมล็ดกาแฟ สู่การสัมผัสเสน่ห์ล้านนา OR ร่วมสร้างโอกาสและอนาคตที่ยั่งยืนในจังหวัดน่าน [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/ptt-or-coffee-beans/ Sat, 02 Mar 2024 03:30:37 +0000 https://thestandard.co/?p=906130 OR coffee

โลกปัจจุบันเผชิญกับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม มลภาวะทางอากาศ […]

The post จากโอกาสใหม่บนเมล็ดกาแฟ สู่การสัมผัสเสน่ห์ล้านนา OR ร่วมสร้างโอกาสและอนาคตที่ยั่งยืนในจังหวัดน่าน [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
OR coffee

โลกปัจจุบันเผชิญกับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม มลภาวะทางอากาศ และก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โลกร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยโลกพุ่งสูงขึ้น กระทบต่อสภาพภูมิอากาศ เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรง

 

ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่า ปัญหาสุขภาพ ความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร ล้วนเป็นผลพวงจากวิกฤตการณ์นี้

 

ขณะที่คุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกทรุดโทรม การเข้าถึงอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัยยากลำบาก ส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล

 

ที่น่าสนใจและเศร้าใจไปพร้อมกันคือการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่ามลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คนกว่า 7 ล้านคนต่อปี ขณะที่ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกอาจเพิ่มสูงขึ้น 2.7 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100

 

หากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมจะยิ่งทวีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อโลกและผู้คนอย่างร้ายแรง

 

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Empowering All toward Inclusive Growth’ เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน ทั้งผู้คน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมจะเติบโตไปด้วยกัน พร้อมกับ OR ได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงมุ่งมั่นสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านแนวคิด OR SDG มุ่งสร้างสังคมสะอาด และยกระดับคุณภาพชีวิต

 

โดยเมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2567 ดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR, จินตพันธุ์ ทังสุบุตร ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน, ธวัชชัย ชีวานนท์ และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณะกรรมการ OR พร้อมด้วย โกมล บัวเกตุ และคณะผู้บริหาร OR ร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมของ OR จังหวัดน่าน

 

 

โครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน: โอกาสใหม่บนเมล็ดกาแฟ

‘กาแฟ’ เครื่องดื่มยอดนิยมที่ขับเคลื่อนทั้งเช้าวันใหม่และบทสนทนาอันอบอุ่น แต่เบื้องหลังความหอมกรุ่นนั้นยังมีเรื่องราวของเกษตรกรผู้ทุ่มเทแรงกายแรงใจผ่านความท้าทายและอุปสรรคมากมาย

 

OR มุ่งมั่นสร้างโอกาสใหม่บนเมล็ดกาแฟ ริเริ่มโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร และสร้างระบบนิเวศกาแฟที่ยั่งยืน โดยต่อยอดความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต มุ่งส่งเสริมการปลูกกาแฟ สร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดน่าน

 

ต้นแบบการปลูกกาแฟใต้ไม้ร่มเงา ถูกนำมาส่งเสริมในพื้นที่ปลูกไม้ร่มเงา ช่วยลดการเผาป่า ทำไร่เลื่อนลอย ลดการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างช่องทางจำหน่ายเมล็ดกาแฟด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

พื้นที่ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านปางยาง (มีชุมชนทั้งหมด 57 ครัวเรือน) และหมู่ 2 บ้านขุนกูล (มีชุมชนทั้งหมด 33 ครัวเรือน) โดยมีเกษตรกรนำร่อง จำนวน 49 ราย (บ้านปางยาง 29 ราย และบ้านขุนกูล 20 ราย) ปลูกกาแฟแล้ว 39 ราย ถูกเลือกเป็นพื้นที่นำร่องด้วยเหตุผลที่มีการปลูกกาแฟมาตั้งแต่ปี 2556 แม้จำนวนจะไม่มาก ประมาณการต้นกาแฟในพื้นที่ 3,500 ต้น เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดและพืชผักเป็นรายได้หลัก กาแฟเป็นเพียงรายได้รอง โดยเกษตรกรเก็บกาแฟเชอร์รีขายให้พ่อค้าคนกลาง ผลผลิตกาแฟเชอร์รี 2,000 กิโลกรัม (คิดเป็นกาแฟสาร 350 กิโลกรัม)

 

 

ที่ผ่านมาปัญหาในพื้นที่นั้นมีหลากหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการที่เกษตรกรขาดองค์ความรู้ในการปลูกกาแฟ ขาดแหล่งน้ำในการดูแลต้นกาแฟในช่วงฤดูแล้ง และไม่มีตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟที่แน่นอน ประชากรในพื้นที่มีรายได้น้อยเป็นอันดับ 1 ในอำเภอปัว จังหวัดน่าน (อ้างอิงข้อมูลจาก TPMAP)

 

การเข้ามาของ OR มาพร้อมกับแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลผลิตกาแฟในพื้นที่ปลูกดั้งเดิม ขยายพื้นที่การปลูกกาแฟในพื้นที่ปลูกดั้งเดิมและพื้นที่ปลูกใหม่ และรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งจะเริ่มในเดือนมีนาคมปีนี้

 

โรงแปรรูปและจัดเก็บเมล็ดกาแฟคาเฟ่อเมซอน อำเภอแม่วาง

 

เป้าหมายของโครงการถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเป็นการสะท้อนการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วย

  1. เกษตรกรมีกำไรจากการปลูกกาแฟอาราบิก้าต่อไร่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า (เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโพด) และเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า (เมื่อเทียบกับการปลูกฟักทอง)
  2. ขยายพื้นที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟในพื้นที่ดั้งเดิม และขยายพื้นที่ส่งเสริมใหม่ (Long Term)
  3. ฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าเสื่อมโทรม ลดการเผาป่า ลด PM2.5
  4. มีตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟจากเกษตรกรอย่างยั่งยืน

 

 

ในโอกาสนี้ OR ได้มอบโรงเพาะกล้ากาแฟจำนวน 2 โรง พร้อมกับโรงตากกาแฟจำนวน 2 โรง และระบบท่อน้ำเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟจำนวน 2 ระบบ ให้กับบ้านปางยางและบ้านขุนกูล เพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพอีกด้วย

 

 

โครงการนี้เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์แห่งโอกาส ที่จะเติบโตเป็นต้นกาแฟแห่งอนาคต สร้างรายได้ที่ยั่งยืน พัฒนาคุณภาพกาแฟไทย และสร้างสังคมสะอาด

 

และยังสะท้อนถึง OR ที่มุ่งมั่นสร้างระบบนิเวศกาแฟที่ยั่งยืน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร และสร้างอนาคตที่สดใสบนเมล็ดพันธุ์แห่งโอกาสนี้

 

รอยยิ้มแห่งการคัดแยก: โครงการแยก แลก ยิ้ม มุ่งสู่โรงเรียนดรุณวิทยา (บ้านสวนตาล)

 

 

OR ยังได้มุ่งมั่นสร้างโอกาสเพื่อคนตัวเล็กและสังคมสะอาด ผ่านโครงการ ‘แยก แลก ยิ้ม’ มุ่งสู่โรงเรียนดรุณวิทยา (บ้านสวนตาล) จังหวัดน่าน กิจกรรมครั้งนี้มุ่งหวังส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนและบุคลากร

 

โรงเรียนดรุณวิทยา ตั้งอยู่ในจังหวัดน่าน มีนักเรียน 218 คน จากการสำรวจร่วมกับคณะครู พบปัญหาการจัดการขยะของนักเรียน ทางโรงเรียนมีระบบจัดการขยะรีไซเคิล และปลูกฝังจิตสำนึกการรับผิดชอบต่อขยะ ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ OR ที่ต้องการส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการขยะ สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

โครงการ ‘แยก แลก ยิ้ม’ ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งพัฒนาครูและนักเรียนโรงเรียนดรุณวิทยา (บ้านสวนตาล) ให้เข้าใจและตระหนักถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นรากฐานและจุดเริ่มต้นในการต่อยอดโครงการไปสู่ชุมชน สังคม และประเทศต่อไป

 

โครงการนี้เปรียบเสมือนรอยยิ้มแห่งการคัดแยก ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับนักเรียน ชุมชน และสังคมไทย

 

โอกาสแห่งการเรียนรู้: กิจกรรมมอบอุปกรณ์การศึกษา สิ่งของและเครื่องใช้ให้กับโรงเรียนบ้านปางยาง 

 

 

OR มุ่งมั่นสร้างโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก จึงได้สนับสนุนการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผ่านกิจกรรมมอบสิ่งของและเครื่องใช้ให้กับโรงเรียนบ้านปางยาง จังหวัดน่าน

 

โรงเรียนบ้านปางยางตั้งอยู่ใกล้เคียงพื้นที่โครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา 59 คน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านปางยาง

 

กิจกรรมมอบอุปกรณ์การศึกษาครั้งนี้ มุ่งหวังสนับสนุนการดำเนินงานด้านการศึกษา สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา

 

OR มุ่งมั่นสร้างอนาคตที่สดใสให้กับเด็กด้อยโอกาส ผ่านการสนับสนุนด้านการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างสังคมที่ยั่งยืน

 

กิจกรรมนี้เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์แห่งโอกาส ที่จะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่แห่งอนาคต มอบการศึกษาที่มีคุณภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างรอยยิ้มให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ต่อไป

 

OR มุ่งสู่ความยั่งยืน: กลยุทธ์ผสานรวม SDGs สู่การเติบโตที่ยั่งยืน

 

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในจังหวัดน่านแสดงถึงความมุ่งมั่นของ OR ที่มุ่งสู่การดำเนินงานที่ยั่งยืน ผ่านกลยุทธ์ที่ผสานรวมแนวคิดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เข้ากับกลยุทธ์ธุรกิจอย่างลงตัว ภายใต้แนวคิด OR SDG ที่มุ่งเน้น 3 เสาหลัก ได้แก่

  • Small: มุ่งเน้นการสร้างโอกาสและสนับสนุนชุมชนขนาดเล็ก
  • Diversified: ส่งเสริมความหลากหลายและการเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกระดับ
  • Green: ดำเนินงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

ซึ่ง OR นั้นตั้งเป้าสร้างโอกาสและเปิดทางให้กับความหลากหลายและการเติบโตที่ยั่งยืนในทุกมิติ มุ่งสู่เป้าหมาย OR 2030 Goals ที่ครอบคลุมทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม และผลประกอบการที่ยั่งยืน

 

อีกทั้งโครงการต่างๆ ของ OR เช่น โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน, โครงการไทยเด็ด การส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนและ SMEs และโครงการ Café Amazon Circular Living ล้วนเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ OR ในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

 

OR มุ่งเป็นแบบอย่างในการบริหารธุรกิจสีเขียว ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และลดการปล่อยคาร์บอน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างความเข้มแข็งและการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ OR มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero Carbon ในอนาคต เดินหน้าสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืนตามแนวทาง ESG ในทุกมิติ

 

สัมผัสเสน่ห์ล้านนา คาเฟ่อเมซอน สาขาบ้านคุณหลวง (วัดภูมินทร์) และ PTT Station สาขาดู่ใต้ จังหวัดน่าน

ไม่หมดเท่านั้น OR ขอชวนทุกคนมาสัมผัสเสน่ห์ของวัฒนธรรมอันงดงาม ผ่านสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ ผสมผสานความสะดวกสบายในยุคปัจจุบัน เริ่มต้นประสบการณ์พิเศษนี้ ณ คาเฟ่อเมซอน สาขาบ้านคุณหลวง (วัดภูมินทร์) และ PTT Station สาขาดู่ใต้ จังหวัดน่าน

 

 

เริ่มด้วยการสัมผัสเสน่ห์ล้านนาที่ผสมผสานความทันสมัยได้อย่างลงตัว ณ คาเฟ่อเมซอน สาขาบ้านคุณหลวง (วัดภูมินทร์) จังหวัดน่าน กับบรรยากาศร่มรื่นของบ้านไม้โบราณอายุกว่า 100 ปี ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ให้คุณได้ดื่มด่ำกับกลิ่นอายล้านนาและเติมความสดชื่นกับเครื่องดื่มแก้วโปรดจากเมล็ดกาแฟอาราบิก้า 100%

 

สำหรับบ้านคุณหลวง เป็นอดีตบ้านของอำมาตย์ตรีหลวง ธนานุสร (ช่วง โลหะโชติ) คลังจังหวัดคนแรกของน่าน แต่ปัจจุบันได้รับการบูรณะและเปิดเป็น Community Space ให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสความงดงามของสถาปัตยกรรมล้านนา

 

ในแง่ของการเดินทาง สามารถแวะเติมพลังก่อนออกเดินทางที่ PTT Station สาขาดู่ใต้ จังหวัดน่าน สถานีบริการรูปแบบพิเศษที่ออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์ ผสมผสานความทันสมัยและกลิ่นอายล้านนาเข้าไว้ด้วยกัน

 

 

ตัวอาคารสถานีบริการได้รับแรงบันดาลใจจากเรือนไทลื้อ สะท้อนวิถีชีวิตเรียบง่าย ผ่านการใช้วัสดุสมัยใหม่ ผสมผสานกับองค์ประกอบของเรือนไทลื้ออย่างกลมกลืน

ภายในจะพบกับร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร คาเฟ่อเมซอน และห้องน้ำที่สะอาด เพื่อการเดินทางที่สะดวกสบาย ซึ่งเราขอเชิญแวะสัมผัสประสบการณ์พิเศษที่ผสมผสานเสน่ห์ล้านนาและความทันสมัยได้อย่างลงตัว

 

จากกิจกรรมมากมายที่ OR จัดขึ้นในจังหวัดน่าน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ OR ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งโอกาสที่จะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่แห่งอนาคต มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน เพราะ OR เชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จะนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน ร่วมสร้างอนาคตที่สดใสสำหรับทุกคน

The post จากโอกาสใหม่บนเมล็ดกาแฟ สู่การสัมผัสเสน่ห์ล้านนา OR ร่วมสร้างโอกาสและอนาคตที่ยั่งยืนในจังหวัดน่าน [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
แนวคิด 4 ข้อสำหรับการตกแต่งบ้านและสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว https://thestandard.co/life/4-tips-for-decorating-your-home-in-an-environmentally Fri, 16 Feb 2024 17:29:55 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=900972 การตกแต่งบ้าน

แต่งบ้านอย่างไรให้ดีต่อโลกและดีต่อเรา? ทุกวันนี้การใช้ช […]

The post แนวคิด 4 ข้อสำหรับการตกแต่งบ้านและสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
การตกแต่งบ้าน

แต่งบ้านอย่างไรให้ดีต่อโลกและดีต่อเรา? ทุกวันนี้การใช้ชีวิตในบ้านให้ ‘กรีนขึ้น’ คงไม่ใช่แค่เทรนด์เท่ๆ อีกต่อไป เพราะเราต่างตระหนักดีแล้วว่าการทำชีวิตให้ ‘ไม่เป็นพิษ’ ต่อโลกรอบตัวนั้นคือ ‘ทางเลือก’ ที่เราทุกคนทำได้ เริ่มต้นจากการเปลี่ยนวิถีความเคยชินเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การทิ้งขยะ การเปิดปิดน้ำ ไปจนถึงการพิจารณาตัวเลือกวัสดุที่ใช้การปรับปรุงหรือตกแต่งบ้าน 

 

เชื่อเถอะว่าเราทุกคนสามารถทำบ้านให้สวยงาม มีสไตล์ ไปพร้อมๆ กับการทะนุถนอมโลกใบเดียวใบนี้ไว้ให้คนรุ่นต่อไป

 

ในบทความนี้เราชวนคุณสำรวจ 4 แนวคิดการทำบ้านให้เป็นมิตรกับโลกยิ่งขึ้น เพื่อที่คุณจะสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการอัปเกรดบ้านเก่าหรือแต่งบ้านใหม่ให้ถูกใจตัวเอง

 

  1. แต่งบ้านวิถีมินิมัล คิดให้เยอะ ซื้อให้น้อย 

 

วิถีมินิมัล (Minimalism) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่สไตล์หรือเทรนด์การตกแต่งแบบ Japandi หรือ Nordic อะไรพวกนั้น แต่คือกลยุทธ์การออกแบบที่ขอให้คุณคิดก่อนทำ ก่อนซื้อ และก่อนสร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาใหม่ เพราะหัวใจข้อแรกของการทำบ้านให้กรีนขึ้นนั่นคือ คุณต้องลดสิ่งที่จะกลายเป็นขยะหรือส่งผลกระทบระยะยาวต่อโลกให้ได้มากที่สุด 

 

ฉะนั้นคำว่า ‘คุณภาพ’ จะต้องมาก่อน ‘ปริมาณ’ เสมอ ในทุกครั้งที่จะเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ชิ้นใหม่ ขอให้คุณพิจารณาถึงอรรถประโยชน์อย่างรอบด้าน คุยกับสมาชิกในครอบครัวว่าใครคิดเห็นอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าของใหม่ที่ซื้อมานั้นจะมีที่ทางในบ้านของคุณไปได้อีกนานแสนนาน 

 

  1. เลือกของกรีนๆ เพราะคุณเลือกได้เสมอ

 

ว่าด้วยการเลือกแอ็กเซสซอรีกรีนๆ เข้าบ้าน ทุกวันนี้มีข้าวของเครื่องใช้มากมายในท้องตลาดที่หน้าตาดี ราคาดี แต่เจาะไส้ในแล้วไม่ได้ดีต่อใครทั้งสิ้น ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังแต่งบ้านและมองหา Finishing Touch เพิ่มความรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็น ผ้าม่าน ปลอกหมอน ผ้าคลุม ตู้ ตั่ง ม้านั่ง หรือของตกแต่งที่เป็นตัวคุณ ลองมองหาตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดูบ้าง ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น

 

  • ใช้ผ้าออร์แกนิกและวัสดุจากธรรมชาติในงาน Soft Furnishing เช่น ผ้าฝ้าย ผ้ากัญชง และเส้นใยธรรมชาติต่างๆ ด้วยว่าในกระบวนการผลิตสิ่งทอเหล่านี้จะเกิดสารพิษน้อยกว่าและไม่ปนเปื้อนเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม
  • เลือกงานคราฟต์ท้องถิ่นและงานทำมือ ไม่ว่าจะเป็นหม้อชามรามไห ตะกร้าหวาย ถาดไม้ไผ่ หรืองานไม้แกะ เป็นต้น การช้อปงานดีไซน์ท้องถิ่นนอกจากจะช่วยลด Carbon Footprint (จากการขนส่งระยะไกล) ได้แล้ว ยังถือเป็นการสนับสนุนช่างฝีมือในชุมชนใกล้เราไปในตัว แม้ราคาอาจแพงกว่าบ้าง แต่รับรองว่าเป็นมิตรกับโลกกว่าการกดซื้อของจากโรงงานจีนหลายสิบเท่า
  • เลือกเฟอร์นิเจอร์วินเทจ ของใช้มือสอง และของจากวัสดุรีไซเคิล ลองออกไปสำรวจร้านขายของเก่า ร้านเฟอร์นิเจอร์มือสอง และร้านขายของแนวอีโคดูบ้าง คุณอาจได้พบกับของแต่งบ้านชิ้นโปรดที่ไม่เหมือนใคร เช่น โคมไฟ แจกัน เชิงเทียน หรืองานแก้วรีไซเคิลสวยๆ เป็นต้น

 

  1. ใช้อย่างรับผิดชอบ ปรับวงจรทุกสิ่งในบ้าน 

 

นอกเหนือจากการเลือกซื้อและเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว การออกแบบวิถีชีวิตในบ้านแบบยั่งยืนย่อมต้องอาศัยการเปลี่ยนทัศนคติหลายๆ ด้าน มันเป็นเรื่องของวิธีคิดแบบองค์รวม ทั้งในด้านการสร้างสรรค์และการบริโภคที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยที่เริ่มได้ง่ายๆ อย่างก็เช่น

 

  • DIY หรือ HACK ให้เป็นเรื่องปกติ: ออกกำลังความคิดสร้างสรรค์ของคุณให้บ่อยขึ้น ลองประดิษฐ์ของตกแต่งบ้านด้วยตัวคุณเองโดยใช้วัสดุรีไซเคิลหรืออัปไซเคิล หาวิธี Repurpose ของเก่าในบ้านให้มีประโยชน์ใช้สอยแบบใหม่ วิธีนี้ไม่เพียงช่วยลดขยะในชีวิต แต่ยังเพิ่มเสน่ห์และเอกลักษณ์พิเศษให้กับบ้านของคุณด้วย
  • ซ่อมแซม-ยืดอายุของใช้: เมื่อข้าวของเครื่องใช้ในบ้านเริ่มส่งสัญญาณว่าจะพังหรือหมดอายุขัย แทนที่คุณจะรีบเก็บทิ้งแล้วถอยตัวใหม่ ให้เรียนรู้วิธีการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานของสิ่งเหล่านั้นก่อน ถ้าทำเองไม่ไหว ก็ลองปรึกษาหารือกับช่างที่รับซ่อมสิ่งของพวกนั้นดูก่อน ปัจจุบันมีร้านค้าที่ให้บริการซ่อมแซมของใช้ในบ้านกันมากขึ้น ทั้งเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นกระแสการบริโภคแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างชัดเจน ลองดูอีเวนต์ของ Repair Café จะนึกภาพออก
  • บริจาคและทิ้งอย่างถูกวิธี: อย่างไรก็ดี เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องลาขาดกับเฟอร์นิเจอร์ตัวเก่าหรือของใช้ที่หมดประโยชน์กับคุณจริงๆ ขอให้เลือกบริจาคสิ่งเหล่านั้นกับองค์กรการกุศลหรือศูนย์รีไซเคิลที่จัดการขยะอย่างเหมาะสม

 

  1. รีโนเวต & อัปเกรดบ้าน เปลี่ยนใหม่ให้ยั่งยืนกว่า

 

โครงการปรับปรุงบ้านคือโอกาสอันดีในการบูรณาการความยั่งยืนให้เข้ากับที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน โดยคุณสามารถเติมรายละเอียดหลายๆ อย่าง เพื่อทำบ้านให้เป็น ‘สมาร์ทโฮม’ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นอีก ตัวอย่างเช่น

 

  • หลังคาโซลาร์: ลองคำนวณค่าไฟและการใช้ไฟฟ้าในบ้านของคุณอีกครั้งว่า ‘คุ้มไหม’ ที่จะติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน หากประเมินดีๆ แล้วหลายครอบครัวก็ประหยัดค่าไฟได้ในระยะยาว ที่สำคัญบ้านคุณจะเป็นบ้านที่ใช้พลังงานสะอาดยิ่งขึ้นทันที
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน: แม้ของบางอย่างยังไม่หมดอายุขัย แต่การเปลี่ยนเพื่อโลกที่ดีกว่าบางครั้งก็เป็นทางเลือกที่ฉลาดกว่า เมื่อคุณอัปเกรดเครื่องใช้ไฟฟ้าและระบบไฟภายในบ้านให้เป็นรุ่นประหยัดพลังงาน คุณจะลดการใช้พลังงานในบ้านลงได้อย่างเหลือเชื่อ
  • อุปกรณ์ประหยัดน้ำ: สมัยนี้มีสุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ สายชำระ และหัวฝักบัวรุ่นใหม่ๆ ที่ออกแบบมาสวยงาม พลังน้ำแรง แต่กลับประหยัดการใช้น้ำลงได้มหาศาล ถือเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการลด-ละ-เลิกการใช้น้ำแบบทิ้งขว้าง แถมช่วยลดภาระการบำบัดน้ำเสียในชุมชนไปในตัว

 

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ คุณคงเห็นแล้วว่าการออกแบบพื้นที่ชีวิตในบ้านให้เป็นมิตรกับโลกนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป ซึ่งถ้าคุณพร้อมจะเริ่มก้าวแรกแล้วก็ลุยเลย ทางเลือกที่จะ ‘รับผิดชอบ’ นั้นเป็นของเราทุกคนเสมอ 

 

ขอให้สายกรีนทุกท่านสนุกกับการแต่งบ้านค่ะ

The post แนวคิด 4 ข้อสำหรับการตกแต่งบ้านและสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว appeared first on THE STANDARD.

]]>