สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 12 Jul 2023 11:17:11 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กลุ่มทิสโก้โกยกำไรครึ่งปีแรก 3,646 ล้านบาท เผยสินเชื่อโต 5.2% จากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และจำนำทะเบียน https://thestandard.co/tisco-group-profit-first-half-2023/ Wed, 12 Jul 2023 11:17:11 +0000 https://thestandard.co/?p=816029 กลุ่มทิสโก้

กลุ่มทิสโก้แจ้งผลประกอบการครึ่งปีแรกมีกำไรสุทธิ 3,646 ล […]

The post กลุ่มทิสโก้โกยกำไรครึ่งปีแรก 3,646 ล้านบาท เผยสินเชื่อโต 5.2% จากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และจำนำทะเบียน appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลุ่มทิสโก้

กลุ่มทิสโก้แจ้งผลประกอบการครึ่งปีแรกมีกำไรสุทธิ 3,646 ล้านบาท สินเชื่อโต 5.2% จากกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ พร้อมรุกตลาดสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค และขยายสาขาสมหวัง เงินสั่งได้ ต่อในครึ่งปีหลัง

 

ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 กลุ่มทิสโก้มีกำไรสุทธิ 3,646 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกันกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 5.2% จากความต่อเนื่องของการเติบโตในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ รวมถึงสินเชื่อรถมือสองและสินเชื่อรถจักรยานยนต์ บริษัทมีรายได้รวมปรับตัวสูงขึ้น ถึงแม้ต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 

 

โดยกลุ่มทิสโก้เร่งขยายธุรกิจในกลุ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนภายใต้แบรนด์ ‘สมหวัง เงินสั่งได้’ ที่เปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 100 สาขา และยอดสินเชื่อเติบโตกว่า 12% ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยมีระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 2.2% ซึ่งบริษัทมีระดับค่าเผื่อสำรองหนี้สงสัยจะสูญพร้อมรองรับความเสี่ยงจากทุกปัจจัยรอบด้าน ในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมยังมีความอ่อนแอตามภาวะตลาดทุนโดยรวมที่ยังไม่เอื้ออำนวย

 

สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้มากกว่าครึ่งปีแรก โดยทิสโก้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ราว 3.5-4% ด้วยแรงส่งหลักจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง 

 

อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลทำให้การลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายงบประมาณทั้งงบประจำและงบลงทุนต้องล่าช้าออกไป ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ ตลอดจนการปรับเพิ่มของดอกเบี้ยอย่างเร็วแรงในตลาดโลกที่อาจก่อให้เกิด Unintended Consequences เป็นความเสี่ยงที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นยังเป็นแรงกดดันต่อค่าครองชีพและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนไทย ในภาวะที่หนี้ครัวเรือนโดยรวมอยู่ในระดับที่สูงเช่นในปัจจุบัน 

 

“กลุ่มทิสโก้จะยังมุ่งเน้นการเติบโตด้วยความมั่นคงและยั่งยืน โดยเราจะมีการเร่งขยายสาขาสมหวัง เงินสั่งได้ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบแก่ชุมชนและธุรกิจรายย่อย ตามหลัก Responsible Lending และการแก้หนี้ภาคครัวเรือนอย่างยั่งยืนเพื่อไม่ให้เป็นหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) ผ่านการรวมหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า” ศักดิ์ชัยกล่าว

 

สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มทิสโก้ในงวดไตรมาส 2 ปี 2566 บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 1,854 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.3% จากไตรมาส 2 ปี 2565 โดยรายได้จากการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้น 4.1% จากการเติบโตของธุรกิจการให้สินเชื่อ ซึ่งส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 10.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ว่าต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 91.8% ตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในตลาด ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 8.8% เนื่องมาจากความผันผวนและซบเซาของตลาดทุนเป็นหลัก 

 

นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ยังอ่อนตัวลงเล็กน้อย ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.2% ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนตามแผนการเติบโตในระยะยาวของบริษัท ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) อยู่ในระดับต่ำที่ 0.1% ของยอดสินเชื่อเฉลี่ยตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากช่วงโควิด โดยบริษัทยังคงมีเงินสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตอยู่ในระดับสูง พร้อมรองรับต่อความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยอัตราส่วนเงินสำรองหนี้สูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Loan Loss Coverage Ratio) ที่ 224.0%  

 

ขณะที่ผลประกอบการงวดครึ่งปีแรกของปี 2566 กำไรสุทธิมีจำนวน 3,646 ล้านบาท ทรงตัวจากครึ่งปีแรกของปี 2565 โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโต 8.7% ตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 3.5% จากรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจหลักทรัพย์ กำไรจากเงินลงทุน และค่าธรรมเนียมธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 10.6% จากค่าใช้จ่ายลงทุนต่างๆ ทั้งนี้ บริษัทมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROAE) สำหรับครึ่งปีแรกของปี 2566 อยู่ที่ 17.6%

 

เงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มทิสโก้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีจำนวน 230,494 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.2% จากสิ้นปี 2565 จากการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อจำนำทะเบียน สินเชื่อเช่าซื้อรถมือสอง และสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งกว่า 26.5% ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วนสินเชื่อจำนำทะเบียนผ่านช่องทาง ‘สมหวัง เงินสั่งได้’ เติบโตต่อเนื่อง 12.1% ตามการเปิดเครือข่ายสาขาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อยู่ที่ 2.2% ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปีก่อนหน้า ตามกลยุทธ์การขยายสินเชื่อไปในกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนสูง โดยบริษัทยังคงดำเนินนโยบายการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์อย่างเข้มงวด และการบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุม 

 

ธนาคารทิสโก้ยังคงรักษาระดับฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง โดยมีประมาณการอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 23.0% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำ 11.0% ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และมีอัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 19.5% และ 3.6% ตามลำดับ

 

The post กลุ่มทิสโก้โกยกำไรครึ่งปีแรก 3,646 ล้านบาท เผยสินเชื่อโต 5.2% จากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และจำนำทะเบียน appeared first on THE STANDARD.

]]>
TQM – อัตรากำไรขั้นต้นลดลงชั่วคราว https://thestandard.co/tqm-gross-margins-temporarily-declined/ Thu, 01 Jun 2023 00:00:13 +0000 https://thestandard.co/?p=797521 TQM

เกิดอะไรขึ้น: บมจ.ทีคิวเอ็ม อัลฟา (TQM) ตั้งเป้ารายได้ค […]

The post TQM – อัตรากำไรขั้นต้นลดลงชั่วคราว appeared first on THE STANDARD.

]]>
TQM

เกิดอะไรขึ้น:

บมจ.ทีคิวเอ็ม อัลฟา (TQM) ตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการปี 2566 เติบโต 5-10% (เพิ่มขึ้น 12%YoY, 1%QoQ ใน 1Q66) บริษัทคาดว่าประกันบ้าน ประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ และประกันเดินทาง จะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้นี้ บริษัทคาดว่าการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยจะช่วยกระตุ้นยอดขายเบี้ยประกันภัย เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มีค่าเบี้ยประกันสูงกว่ารถยนต์ธรรมดาอยู่ 30-40% 

 

TQM ยังคงเป้าที่จะเพิ่มยอดขายเบี้ยประกันภัยจาก 1.8 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 สู่ 2.0 หมื่นล้านบาท ในปี 2566 และ 5.0 หมื่นล้านบาท ในปี 2570 บริษัทคาดว่ายอดขายเบี้ยประกันภัยจะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลใน 2H66

 

ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นของ TQM ที่ลดลง 359 bps YoY และ 315 bps QoQ สู่ 50.4% ใน 1Q66 อ่อนแอกว่าคาด โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มพนักงานขายจำนวนมากในช่วงแรก ซึ่งคาดว่าจะทยอยสร้างยอดขายในระยะถัดมา บริษัทรับพนักงานขายใหม่เข้ามา 400 คน เพื่อขยายจุดให้บริการ (ส่วนใหญ่เป็น Affiliate Partners) จาก 100 แห่ง เป็น 500 แห่ง เพื่อรองรับการเติบโตของยอดขายในระยะ 2 ปีข้างหน้า 

 

บริษัทกล่าวว่าจะไม่มีการเพิ่มพนักงานขายจำนวนมากเกิดขึ้นอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ดังนั้นจึงคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นของ TQM จะปรับตัวดีขึ้น QoQ (แต่ลดลง YoY) ตั้งแต่ 2Q66 เป็นต้นไป และคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะลดลงจาก 52.9% ในปี 2565 สู่ 51% ในปี 2566 ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นสู่ 51.5% ในปี 2567 

 

นอกจากนี้ บริษัท อีซี่ เลนดิ้ง (บริษัทย่อยของ TQM) วางแผนเปิดตัวบริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ใน 2H66 โดยใน 4Q64 อีซี่ เลนดิ้ง ได้เริ่มให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อนำเงินไปซื้อประกัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยราว 8% ยอดปล่อยสินเชื่อของบริษัทเพิ่มขึ้นเพียง 2.7%QoQ สู่ 439 ล้านบาท แม้เทียบกับฐานที่ต่ำ และคาดว่าการให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์จะส่งผลให้ยอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 50% ในปี 2566 จากฐานต่ำ 

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น TQM ปรับเพิ่มขึ้น 17.65%MoM สู่ระดับ 30.00 บาท ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 0.37%MoM สู่ระดับ 1,534.81 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2566:

InnovestX Research คาดการณ์ในเบื้องต้นว่ากำไร 2Q66 จะเพิ่มขึ้น YoY (รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการฟื้นตัว) และ QoQ (อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น) และคาดว่ากำไรปี 2566 จะเติบโต 9% โดยอิงกับการคาดการณ์ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการจะเติบโต 10% อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง 189 bps สู่ 51% 

 

และอัตราส่วน OPEX ต่อรายได้จะลดลง 70 bps เนื่องจาก OPEX จะเติบโตในอัตราชะลอตัวลงจาก 8% ในปี 2565 สู่ 7% หลังจากอัปเกรดระบบ IT ครั้งใหญ่ในปี 2565 กลยุทธ์การลงทุน ยังคงเรตติ้ง Neutral สำหรับ TQM และคงราคาเป้าหมายไว้ที่ 29 บาทต่อหุ้น (P/BV 6.4 เท่า หรือ P/E 20 เท่า สำหรับปี 2566) 

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ 1. ยอดขายเบี้ยประกันภัยอาจจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด และ 2. อัตราค่าคอมมิชชันมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผลิตภัณฑ์และการแข่งขันที่สูงขึ้น

The post TQM – อัตรากำไรขั้นต้นลดลงชั่วคราว appeared first on THE STANDARD.

]]>
หัวเรือใหญ่ ‘เงินติดล้อ’ เผย ‘แบล็กลิสต์ของเครดิตบูโร’ ไม่มีจริง! กระตุ้นอุตสาหกรรมเปิดเผยข้อมูลเครดิต ยกคุณภาพการปล่อยกู้ https://thestandard.co/tidlor-blacklist-credit-bureaus/ Tue, 07 Mar 2023 10:54:54 +0000 https://thestandard.co/?p=759670

จากจดหมายถึงผู้ถือหุ้น 2566 ของ บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) […]

The post หัวเรือใหญ่ ‘เงินติดล้อ’ เผย ‘แบล็กลิสต์ของเครดิตบูโร’ ไม่มีจริง! กระตุ้นอุตสาหกรรมเปิดเผยข้อมูลเครดิต ยกคุณภาพการปล่อยกู้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากจดหมายถึงผู้ถือหุ้น 2566 ของ บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) ซึ่งเขียนโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทอย่าง ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล นอกจากจะเป็นการอธิบายถึงพัฒนาการของบริษัทที่ผ่านมา ยังเชื่อมโยงไปถึงการดำเนินธุรกิจของผู้ให้บริการสินเชื่อทะเบียนรถในอุตสาหกรรม ซึ่งในส่วนนี้เอง ปิยะศักดิ์มองว่าแต่ละบริษัทควรช่วยกันเปิดเผยข้อมูลเครดิตของลูกค้าให้กับเครดิตบูโร 

 

ปิยะศักดิ์ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถและผู้ให้บริการสินเชื่อในรูปแบบฟินเทค (FinTech) จำนวนมาก ใช้การโฆษณาด้วยการบอกว่า ‘สินเชื่อจะได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องตรวจสอบประวัติเครดิต’ 

 

ซึ่งหัวเรือใหญ่ของเงินติดล้อมองว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวลและค่อนข้างน่าผิดหวัง เพราะเป็นการดึงดูดผู้กู้ที่มีความเข้าใจผิด และกลัวว่ากระบวนการตรวจสอบข้อมูลจากเครดิตบูโร หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) จะทำให้เวลาในการอนุมัติสินเชื่อช้าลง และยังก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ‘แบล็กลิสต์ (Blacklist)’ จะทำให้ผู้กู้ที่มีประวัติเครดิตไม่ดีไม่สามารถขอสินเชื่อใหม่ได้อีกเลย 

 

ในความเป็นจริงแล้ว ‘แบล็กลิสต์ของเครดิตบูโร’ เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ และการตรวจสอบข้อมูลจากเครดิตบูโรไม่ได้ทำให้การอนุมัติสินเชื่อช้าลง และไม่มีผลใดๆ กับการพิจารณาอนุมัติ

 

“การอนุมัติสินเชื่อขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการสินเชื่อว่าจะให้น้ำหนักกับผลการตรวจสอบข้อมูลจากเครดิตบูโรแค่ไหน ซึ่งน้ำหนักนั้นอาจเป็นศูนย์ก็ได้” 

 

นอกจากนี้ ผู้เล่นบางรายในอุตสาหกรรมอาจพยายามหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลของผู้กู้แก่บุคคลอื่น ทำให้ลูกค้าถูกจำกัดตัวเลือกผู้ให้บริการ ซึ่งการไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครดิตบูโรและไม่เปิดเผยข้อมูลเครดิตของผู้กู้ อาจช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะสั้น แต่จะส่งผลเสียต่อผู้กู้และอุตสาหกรรมการเงินของประเทศในอนาคต 

 

“ฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่ควรถือเสมือนเป็นโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติ สามารถถูกใช้โดยหน่วยงานกำกับและผู้เล่นในตลาด เพื่อให้เกิดความสามารถในการวัดความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพิ่มความสามารถในการติดตามระดับหนี้ครัวเรือน ลดความยุ่งยากในการปล่อยสินเชื่อ” 

 

โดยพื้นฐานแล้วผู้ให้บริการสินเชื่อคือตัวกลางที่ใช้ข้อมูล และถือเป็นช่องทางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้กู้กับผู้ออม ฐานข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมที่ด้อยโอกาสที่สุดในประเทศ เมื่อรวมกับเทคโนโลยีในปัจจุบันจะทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงิน

 

นอกจากนี้ การมีข้อมูลเครดิตที่เพียงพอจะช่วยให้ผู้บริการสินเชื่อสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยคนหนุ่มสาว และผู้กู้ที่มีประวัติการกู้ยืมน้อยให้สามารถสร้างประวัติทางการเงิน และช่วยให้ผู้กู้ที่มีประวัติทางการเงินไม่สามารถปรับปรุงประวัติที่เสียหายได้ และเมื่อเวลาผ่านไปผู้คนจะเรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับประวัติทางการเงิน และมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้ 

 

สำหรับเอกสารฉบับเต็มสามารถอ่านได้จาก 20230224-tidlor-letter-to-shareholders-2023-th.pdf (tidlorinvestor.com)

 


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

The post หัวเรือใหญ่ ‘เงินติดล้อ’ เผย ‘แบล็กลิสต์ของเครดิตบูโร’ ไม่มีจริง! กระตุ้นอุตสาหกรรมเปิดเผยข้อมูลเครดิต ยกคุณภาพการปล่อยกู้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: โรงรับจำนำ vs. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ เลือกใช้อันไหนดี | เงินทองของจริง EP.92 | THE STANDARD https://thestandard.co/real-money-real-life-92/ Tue, 15 Nov 2022 02:00:46 +0000 https://thestandard.co/?p=709087

การขอสินเชื่อในระบบที่ง่ายและไวคงหนีไม่พ้นการจำนำ แต่ปั […]

The post ชมคลิป: โรงรับจำนำ vs. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ เลือกใช้อันไหนดี | เงินทองของจริง EP.92 | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>

การขอสินเชื่อในระบบที่ง่ายและไวคงหนีไม่พ้นการจำนำ แต่ปัจจุบันมีอีกประเภทที่เรียกว่าสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ ทั้งสองมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร เราควรเลือกแบบไหนถึงจะเหมาะสม

 

รายการ ‘เงินทองของจริง’ การเข้าสู่หน้าจอโทรทัศน์ครั้งแรกของ THE STANDARD ทางช่อง 7HD ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.05-09.15 น. หลังรายการสนามข่าว 7 สี ดำเนินรายการโดย โค้ชหนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ และ เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

 

ชมคลิปอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://thestandard.co/video/

The post ชมคลิป: โรงรับจำนำ vs. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ เลือกใช้อันไหนดี | เงินทองของจริง EP.92 | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>