สินค้าเกษตร – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 05 Mar 2025 01:09:05 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 นายกฯ คุย ผู้บริหาร DKSH หาแนวทาง-คลายปมปัญหา ยกระดับสินค้าเกษตรไทย https://thestandard.co/thailand-pm-dksh-agriculture/ Wed, 05 Mar 2025 01:09:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1048574

วานนี้ (4 มีนาคม) เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นนครซูริก […]

The post นายกฯ คุย ผู้บริหาร DKSH หาแนวทาง-คลายปมปัญหา ยกระดับสินค้าเกษตรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (4 มีนาคม) เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นนครซูริก ซึ่งช้ากว่าไทย 6 ชั่วโมง แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบหารือกับ Stefan P. Butz ผู้บริหารบริษัท DKSH Holding Ltd. ระหว่างเดินทางไปยังนครเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อร่วมงาน ITB Berlin 2025

 

DKSH Holding AG ขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนของบริษัทในประเทศไทยเสมอมา โดยบริษัทเชื่อมั่นและสนับสนุนวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรีที่ได้กำหนดนโยบายที่จะเป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับกระแสการพัฒนาของโลกปัจจุบัน 

 

นายกรัฐมนตรีขอบคุณที่บริษัทให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศไทย พร้อมกันนี้ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงแนวทางการทำงานของบริษัทในอนาคต โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมให้การสนับสนุนลดขั้นตอน ข้อจำกัดในการขอใบอนุญาตจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ที่มีกระบวนการและใช้เวลานาน โดยนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำการแก้ปัญหาการดำเนินงานที่ซับซ้อนของภาครัฐ พร้อมสานต่อนโยบายเอื้ออำนวยการทำธุรกิจมากขึ้น

 

นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขนส่งสินค้า และใช้ประโยชน์จากโครงการ Landbridge ของไทยยกระดับเรื่องโลจิสติกส์ พร้อมกันนี้ ทางบริษัทสนใจที่จะลงทุนในด้านชิ้นส่วนของ Semiconductor ที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญและตั้งอยู่ในไทยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่รัฐบาลต้องการสนับสนุน

 

นายกรัฐมนตรีใช้โอกาสนี้ขอให้บริษัทสนับสนุนสินค้าจากชาวนาและเกษตรกรไทยเพื่อส่งเสริมยกระดับสินค้าไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร 

 

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเพื่อเพิ่มการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึง ถือเป็นความสำคัญ เป็นความท้าทายของโลก โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมร่วมมือกับบริษัทในประเด็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป

 

โดยในช่วงเช้าก่อนการหารือนายกรัฐมนตรีใช้เวลาสำรวจตลาดนัดสินค้าเกษตรบริเวณหน้าโรงแรม ซึ่งเป็นสินค้าที่เกษตรกรนำมาจำหน่ายให้ผู้บริโภคโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

The post นายกฯ คุย ผู้บริหาร DKSH หาแนวทาง-คลายปมปัญหา ยกระดับสินค้าเกษตรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิชัยสั่งพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แจ้งมาตรการช่วยชาวนา หลังได้ข้อสรุปในที่ประชุม นบข. วันพรุ่งนี้ https://thestandard.co/pichai-on-aid-for-farmers/ Tue, 25 Feb 2025 10:36:16 +0000 https://thestandard.co/?p=1045604

วันนี้ (25 กุมภาพันธ์) พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่ากา […]

The post พิชัยสั่งพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แจ้งมาตรการช่วยชาวนา หลังได้ข้อสรุปในที่ประชุม นบข. วันพรุ่งนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (25 กุมภาพันธ์) พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมร่วมกับพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรสำคัญโดยเฉพาะข้าว พร้อมสั่งการให้พาณิชย์จังหวัดเร่งดำเนินมาตรการรองรับและช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก

 

พิชัยเปิดเผยว่า ที่ประชุมเน้นติดตามสถานการณ์พืชผลเกษตรทั้งหมด โดยให้ความสำคัญกับข้าวเป็นหลัก พร้อมสั่งให้จังหวัดที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวนาปรัง เช่น อยุธยา, พิจิตร, พิษณุโลก และสุพรรณบุรี เตรียมให้ข้อมูลและอธิบายรายละเอียดให้กับเกษตรกร หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) จะได้สรุปมาตรการที่เกี่ยวข้องในวันพรุ่งนี้ (26 กุมภาพันธ์) เพื่อให้เกษตรกรรับทราบแนวทางช่วยเหลืออย่างชัดเจน

 

นอกจากนี้ ยังได้ติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น มันสำปะหลัง ซึ่งขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ขอให้จีนซื้อล่วงหน้าไปแล้วกว่า 1 ล้านตัน รวมถึงข้าว 280,000 ตันที่อยู่ระหว่างเจรจา โดยล่าสุดได้หารือกับ หานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย แล เจียงเหว่ย อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและพาณิชย์ เพื่อขอให้จีนเร่งพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยจีนรับปากจะดำเนินการ

 

ในส่วนของปาล์มน้ำมันที่ขณะนี้มีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง พิชัยสั่งการให้ดูแลราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมทั้งเตรียมมาตรการรับมือกับผลผลิตเกษตรอื่นๆ เช่น ทุเรียน หอมใหญ่ และมะม่วง ซึ่งปีนี้ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตออกมากกว่าปกติ

 

โดยขณะนี้ราคาข้าวในตลาดโลกได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการที่อินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาว ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวเปลือกในประเทศ ซึ่งคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด เตรียมเสนอมาตรการเร่งด่วนต่อคณะกรรมการ นบข. ที่มี พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ได้แก่

 

  1. โครงการชะลอและเก็บข้าว เพื่อช่วยลดปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ราคาข้าวเปลือกทรงตัวได้ดีขึ้น

 

  1. โครงการชดเชยดอกเบี้ยสำหรับผู้ประกอบการที่เก็บสต็อก โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือดอกเบี้ยในอัตรา 6% แก่ผู้ประกอบการที่เก็บสต็อกข้าวในช่วง 2-6 เดือน

 

  1. โครงการเปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือก โดยรัฐจะสนับสนุนค่าบริหารจัดการ 500 บาทต่อตัน ใช้งบประมาณรวม 1,893 ล้านบาท เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายผลผลิตในราคาที่เหมาะสม

 

และมาตรการอื่นๆ จากที่ประชุม โดยให้พาณิชย์จังหวัดในพื้นที่แหล่งเพาะปลูกข้าวนาปรังเตรียมพร้อมดำเนินมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลโดยทันที โดยให้เร่งประสานกับสถาบันเกษตรกรในพื้นที่เพื่อเข้าร่วมโครงการชะลอการจำหน่ายข้าวเปลือก รวมถึงจัดตลาดนัดข้าวเปลือกให้ครอบคลุมและทั่วถึง โดยต้องทำงานร่วมกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความช่วยเหลือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

 

นอกจากนี้ ในการประชุมกับพาณิชย์จังหวัด พิชัยยังเน้นย้ำให้พาณิชย์จังหวัดกำกับดูแลการรับซื้อข้าวของผู้ประกอบการและโรงสีในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมต่อเกษตรกร รวมถึงการจำหน่ายปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ต้องเป็นไปตามกฎหมายและไม่ให้เกิดการเอาเปรียบเกษตรกร หากพบว่าพื้นที่ใดประสบปัญหาราคาตกต่ำให้รีบประสานกับกรมการค้าภายใน เพื่อหามาตรการกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่โดยเร็ว โดยรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการดูแลเกษตรกรทุกภาคส่วน และจะดำเนินมาตรการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยขอให้พี่น้องเกษตรกรมั่นใจว่า รัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ราคาสินค้าเกษตรเป็นธรรมและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรไทย

The post พิชัยสั่งพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แจ้งมาตรการช่วยชาวนา หลังได้ข้อสรุปในที่ประชุม นบข. วันพรุ่งนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประเสริฐมองว่าเป็นเรื่องปกติ สส. เพื่อไทย ไม่พอใจ ‘พิชัย นริพทะพันธุ์’ เดินสาย ตปท. ปล่อยสินค้าเกษตรตกต่ำ เชื่อชี้แจงได้ https://thestandard.co/prasert-responds-phichai-criticism/ Wed, 19 Feb 2025 10:10:21 +0000 https://thestandard.co/?p=1043811 ประเสริฐ จันทรรวงทอง ให้สัมภาษณ์กรณี สส.เพื่อไทยไม่พอใจการทำงานของพิชัย นริพทะพันธุ์

วันนี้ (19 กุมภาพันธ์) ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐม […]

The post ประเสริฐมองว่าเป็นเรื่องปกติ สส. เพื่อไทย ไม่พอใจ ‘พิชัย นริพทะพันธุ์’ เดินสาย ตปท. ปล่อยสินค้าเกษตรตกต่ำ เชื่อชี้แจงได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ให้สัมภาษณ์กรณี สส.เพื่อไทยไม่พอใจการทำงานของพิชัย นริพทะพันธุ์

วันนี้ (19 กุมภาพันธ์) ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า สส. พรรคเพื่อไทย หลายคน ไม่พอใจการทำงานของ พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ปล่อยให้สินค้าเกษตรในประเทศหลายชนิดราคาตกต่ำ แต่เดินสายต่างประเทศเป็นประจำ ว่าความเห็นในพรรคก็คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งต้องรับฟัง

 

ส่วนการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในพรรคออกมาให้ความเห็นแบบนี้ ประกอบกับวันนี้ที่กลุ่มชาวนาออกมาเรียกร้องเรื่องราคาข้าวตกต่ำ โดยมีอดีต สว. มาร่วมด้วย จะส่งสัญญาณถึงการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ ประเสริฐกล่าวว่า ขออย่ามองเรื่องนี้เกี่ยวกับการปรับ ครม. เพราะก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้พูดชัดเจนแล้ว ดังนั้นในการประชุมพรรคเพื่อไทยวานนี้ เป็นการแสดงความคิดเห็นของ สส. ที่เป็นการประชุมประจำสัปดาห์ และเป็นการสะท้อนปัญหาในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขหรือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา 

 

ประเสริฐระบุว่า รัฐมนตรีพิชัยคงจะมีเวลามาชี้แจงให้ สส. ของพรรครับทราบ ส่วนญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านนั้นยังไม่ทราบว่าจะอภิปรายใครบ้าง เพราะขณะนี้ฝ่ายค้านยังไม่ได้ยื่นญัตติ แต่ยืนยันว่าไม่กังวล และจะใช้คำว่าไม่พอใจคงไม่ได้ เพียงแต่มีข้อสงสัยซึ่ง สส. ซักถามได้ หากรัฐมนตรีท่านใดไม่ติดภารกิจก็จะเข้าร่วมการประชุม สส. ของพรรค

The post ประเสริฐมองว่าเป็นเรื่องปกติ สส. เพื่อไทย ไม่พอใจ ‘พิชัย นริพทะพันธุ์’ เดินสาย ตปท. ปล่อยสินค้าเกษตรตกต่ำ เชื่อชี้แจงได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นฤมลถกเครือ CP ประเทศจีน สร้างแนวทาง-ตั้งเป้าขายสินค้าเกษตรโดยตรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากมือเกษตรกรไทย https://thestandard.co/narumon-cp-group-china-discussion/ Mon, 10 Feb 2025 03:32:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1040202 CP สินค้าเกษตร

วันนี้ (10 กุมภาพันธ์) ศ. ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตร […]

The post นฤมลถกเครือ CP ประเทศจีน สร้างแนวทาง-ตั้งเป้าขายสินค้าเกษตรโดยตรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากมือเกษตรกรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
CP สินค้าเกษตร

วันนี้ (10 กุมภาพันธ์) ศ. ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ถาวร ทันใจ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, รพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร, สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ และ ชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หารือกับ ณัชชาชนก ณ ตะกั่วทุ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี เฟรช จำกัด และผู้อำนวยการธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตและมินิซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารของบริษัทซีพีสาขาปักกิ่ง เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับภาคเอกชนไทยที่ทำธุรกิจในจีน เพื่อจะแสวงหาแนวทางที่จะนำไปสู่การเชื่อมต่อตลาดจีนเข้ากับผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากเกษตรกรไทย

 

ศ. ดร.นฤมล กล่าวถึงนโยบายและภารกิจความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เดิมดูในเรื่องของการผลิต แต่ปัจจุบันด้วยนโยบายตลาดนำ จึงต้องมีความเข้าใจในด้านตลาดมากยิ่งขึ้นด้วย เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดในจีน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ มีเป้าหมายให้เกษตรกรขายสินค้าเกษตรคุณภาพให้กับผู้บริโภคโดยตรง นอกจากนี้การนำรูปแบบการจองสินค้าล่วงหน้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตล่วงหน้าได้ และขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง

 

ศ. ดร.นฤมล ยังกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ประมงที่มาจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เพิ่งจะลงนามไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยปลากะพงเป็นสินค้าแรกที่จะส่งออกไปยังจีน สำหรับรังนก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อจัดทำมาตรฐาน และโคมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา หากเปิดตลาดสำเร็จแล้ว ซีพีสามารถนำสินค้าเหล่านี้จากเกษตรกรมาจำหน่ายประเทศจีนต่อไป

 

ด้านซีพีได้แชร์ประสบการณ์การนำทุเรียนคุณภาพจากเกษตรกรไทยมาจำหน่ายให้ผู้บริโภคชาวจีน และการริเริ่มใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มาช่วยกระจายสินค้า การคัดสรรทุเรียนสายพันธุ์พิเศษเพื่อเจาะตลาดพรีเมียม การสร้างแบรนด์และสร้างเอกลักษณ์ทุเรียนไทยให้มีจุดเด่นและน่าสนใจ ซึ่งที่ผ่านมาซีพีร่วมมือกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง จัดแคมเปญโปรโมตสินค้าเกษตรร่วมกันโดยตลอด รวมถึงยินดีเป็นหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุน ผลักดัน และเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าเกษตรไทยอย่างแน่นอน

 

ทั้งนี้ บรรยากาศการหารือเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนและแนวความคิดโมเดลการค้าในการทำตลาดผลไม้สดไทยในจีน และกลยุทธ์การสร้างเรื่องราวที่เป็นกุญแจสำคัญที่สร้างความแตกต่างและดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าไทย

 

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังเยี่ยมชมร้าน CP Fresh บริเวณชั้น 1 ของอาคาร ที่มีการวางจำหน่ายผลไม้และผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสินค้าประมงแช่แข็งของไทยและของจีน ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรเกรดพรีเมียม เช่น ทุเรียน ลำไย มังคุด ส้มโอทับทิมสยาม มะพร้าว และกุ้งขาว

The post นฤมลถกเครือ CP ประเทศจีน สร้างแนวทาง-ตั้งเป้าขายสินค้าเกษตรโดยตรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากมือเกษตรกรไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิชัยถกทูตจีน จับมือแก้ปัญหาสินค้านำเข้าไม่ได้มาตรฐาน เจรจาเร่งซื้อ มันสำปะหลัง-วัว-ข้าว จากไทยต่อเนื่อง https://thestandard.co/pichai-china-ambassador-import-issues/ Mon, 09 Dec 2024 03:01:10 +0000 https://thestandard.co/?p=1017448

วานนี้ (8 ธันวาคม) พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระ […]

The post พิชัยถกทูตจีน จับมือแก้ปัญหาสินค้านำเข้าไม่ได้มาตรฐาน เจรจาเร่งซื้อ มันสำปะหลัง-วัว-ข้าว จากไทยต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (8 ธันวาคม) พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หารือกับ หานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และคณะ โดยมี วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และ อารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เข้าร่วม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้าของ 2 ประเทศในประเด็นต่างๆ ทั้งการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และการขอความร่วมมือรับซื้อสินค้าเกษตร ทั้งข้าวและมันสำปะหลังจากไทย เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรไทย

 

พิชัยกล่าวว่า นับตั้งแต่รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบปะพูดคุยกับหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างจีนและกระทรวงพาณิชย์ และเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ท่านทูตสละเวลาและยกคณะมาประชุมร่วมกันที่กระทรวงพาณิชย์ เพื่อปลดล็อกความกังวลเรื่องสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งในเรื่องนี้เราตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในทุกมิติ ไม่ทำให้กังวลหรือกระทบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ เน้นการปฏิบัติตามหลักระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งฝ่ายจีนเข้าใจเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันในหลายเรื่องจนสำเร็จ 

 

ล่าสุดตนได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Temu ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยใช้ชื่อบริษัท เวล โค เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และจีนก็ยินดีที่จะส่งเสริมการส่งออกสินค้า SME ไทยให้เข้าไปจำหน่ายในจีนทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่

 

พิชัยกล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีห่วงใยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น แต่งตั้งให้ตนเป็นประธานคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการที่จำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามสินค้าและธุรกิจจากต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ ตนเรียกประชุมคณะกรรมการกับ 16 หน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งออกมาตรการที่จะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

 

นอกจากนั้น ตลาดจีนเป็นตลาดใหญ่ ตนจึงขอความร่วมมือจากทางการจีนพิจารณารับซื้อสินค้าเกษตรจากไทย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพี่น้องเกษตรกรไทยอย่างยิ่ง และจากการหารือกันในเบื้องต้น จีนยินดีที่จะสนับสนุนเกษตรกรไทย โดยจะพิจารณาซื้อข้าวจากไทยอีก 280,000 ตัน จากสัญญา 1 ล้านตันให้ได้โดยเร็ว เพื่อจะได้ปิดดีลครบสัญญาการซื้อขายข้าว G to G ระหว่าง COFCO และกรมการค้าต่างประเทศ ที่ลงนามใน MOU กันไว้ตั้งแต่ปี 2558

 

พร้อมทั้งเร่งผลักดันผู้นำเข้าจีนให้รับซื้อมันสำปะหลังของไทยที่ผลผลิตกำลังจะออกมามากในช่วงนี้ เพื่อช่วยเกษตรกรไทยกว่า 7 แสนครัวเรือน เนื่องจากราคามันสำปะหลังตกต่ำ ทั้งยังจะผลักดันให้สำนักงานศุลกากรแห่งประเทศจีน (GACC) และกรมปศุสัตว์ไทย บูรณาการกันและเร่งขับเคลื่อนให้จีนสามารถนำเข้าโคมีชีวิตจากประเทศไทยได้

 

“ในปี 2568 จะเป็นปีเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน กระทรวงพาณิชย์จะมีกิจกรรมร่วมกับทางการจีนหลายเรื่อง เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและจีนต่อไป โดยในช่วงบ่ายวันนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม และทางการจีนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เข้ามาแก้ปัญหานี้อย่างเต็มที่ ตัวท่านทูตหานได้กล่าวในการหารือเป็นอย่างดีว่า ความสัมพันธ์ไทย-จีนเหมือนป่าไม้ใหญ่ที่ต้องเจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ต่อไปภายภาคหน้า แต่ปัญหาต่างๆ เหมือนหนอน ซึ่งตัวเล็กมาก ต้องจับออกไป เพื่อให้ป่าอุดมสมบูรณ์ต่อไป ผมคิดว่านี่เป็นแนวทางแก้ปัญหาที่เดินมาถูกทาง เราต้องส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี และการค้าของ 2 ฝ่ายให้เติบโตยิ่งขึ้นไป” พิชัยกล่าว

The post พิชัยถกทูตจีน จับมือแก้ปัญหาสินค้านำเข้าไม่ได้มาตรฐาน เจรจาเร่งซื้อ มันสำปะหลัง-วัว-ข้าว จากไทยต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่งออกไทย พ.ค. ขยายตัว 7.2% สูงสุดในรอบ 14 เดือน เหตุการผลิตของโลกฟื้น-สินค้าเกษตรขยายตัว https://thestandard.co/thai-exports-may-14-month-high/ Fri, 21 Jun 2024 08:38:53 +0000 https://thestandard.co/?p=948049

ส่งออกไทยเดือนพฤษภาคมขยายตัว 7.2% สูงสุดรอบ 14 เดือน ขณ […]

The post ส่งออกไทย พ.ค. ขยายตัว 7.2% สูงสุดในรอบ 14 เดือน เหตุการผลิตของโลกฟื้น-สินค้าเกษตรขยายตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

ส่งออกไทยเดือนพฤษภาคมขยายตัว 7.2% สูงสุดรอบ 14 เดือน ขณะที่นำเข้าลดลง เนื่องจากการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้า (EV) ลดลง ทำให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุลในรอบ 5 เดือน พร้อมคงเป้าหมาย (Working Target) ทั้งปีไว้ที่ 1-2% แต่จับตาความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาค่าระวางเรือที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น และผลการเลือกตั้งของแต่ละประเทศ

 

วันนี้ (21 มิถุนายน) พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เผย การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 26,219.5 ล้านดอลลาร์ (960,220 ล้านบาท) ขยายตัว 7.2% สูงสุดในรอบ 14 เดือน ทำให้การส่งออกไทย 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 2.6%

 

สำหรับปัจจัยหนุนการส่งออกไทยเดือนพฤษภาคมที่สำคัญมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • การส่งออกสินค้าเกษตรที่กลับมาขยายตัว 36.5% เนื่องจากเป็นเดือนที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก
  • ภาคการผลิตของโลกฟื้นตัวได้ดี สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโลก (Global PMI) ที่มีทิศทางขยายตัวเร่งขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง 

 

ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 25,563.3 ล้านดอลลาร์ หดตัว 1.7% ทำให้ดุลการค้าพลิกกลับมาเกินดุล 656.1 ล้านดอลลาร์ (13,214 ล้านบาท) อย่างไรก็ดี ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2567 ก็ยังขาดดุล 5,460.7 ล้านดอลลาร์ (243,976 ล้านบาท)

 

พูนพงษ์เปิดเผยอีกว่า เหตุผลหลักที่ทำให้ดุลการค้าไทยกลับมาเกินดุล มาจากการนำเข้า EV ที่ลดลง ทำให้มูลค่าการนำเข้าลดลงตามไปด้วย

 

เปิดแนวโน้มการส่งออกในปี 2567

 

กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังเติบโตได้ดี โดยเดือนมิถุนายนก็น่าจะยังเป็นบวกอยู่ พร้อมคงเป้าหมายทั้งปีไว้ที่ 1-2%

 

โดยมีปัจจัยหนุน ดังนี้

  • การทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ช้าแต่มั่นคง โดยการประเมินขององค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่า ปริมาณการค้าโลกจะขยายตัว 2.6% จากปีก่อนหน้า
  • ปัญหาเงินเฟ้อที่บรรเทาเบาบางลง
  • ท่าทีของธนาคารกลางแต่ละประเทศที่มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนและการผลิตโลกให้ฟื้นตัวอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงหลักๆ ได้แก่

  • ภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
  • ปัญหาค่าระวางเรือที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในบางเส้นทาง
  • ผลการเลือกตั้งของแต่ละประเทศยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลต่อนโยบายการค้าที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยด้วย

The post ส่งออกไทย พ.ค. ขยายตัว 7.2% สูงสุดในรอบ 14 เดือน เหตุการผลิตของโลกฟื้น-สินค้าเกษตรขยายตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาผ่าน 5 ร่างกฎหมายคุมเหล้าวาระแรก ‘ไอซ์ รักชนก’ วอนเลิกมองเหล้า-เบียร์เป็นของยี้ แนะดึงสินค้าเกษตรลงขวด แก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ https://thestandard.co/rukchanok-alcohol-drinks/ Thu, 28 Mar 2024 00:57:17 +0000 https://thestandard.co/?p=916385 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วานนี้ (27 มีนาคม) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพ […]

The post สภาผ่าน 5 ร่างกฎหมายคุมเหล้าวาระแรก ‘ไอซ์ รักชนก’ วอนเลิกมองเหล้า-เบียร์เป็นของยี้ แนะดึงสินค้าเกษตรลงขวด แก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วานนี้ (27 มีนาคม) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ พร้อมด้วยร่างที่มีเนื้อหาคล้ายกันอีก 4 ฉบับ โดยร่างของ ธีรภัทร์ คหะวงศ์ กับประชาชน, ร่างของ เจริญ เจริญชัย กับประชาชน, ร่างของ เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส. กทม. พรรคก้าวไกล กับคณะ ครม. รับไปพิจารณาก่อนรับหลักการ และส่งคืนมายังสภา ส่วนร่างของ ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กับคณะ นั้นมีเนื้อหาหลักการคล้ายกัน จึงให้พิจารณาไปในคราวเดียวกัน

 

โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลุกขึ้นชี้แจงเหตุผลร่าง พ.ร.บ. ของ ครม. ว่าหลักการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 253 วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ซึ่งอยากให้สมาชิกรับหลักการทุกฉบับ เพื่อส่งต่อไปสู่วาระที่ 2 มีคณะกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดถึงความเหมาะสม และมิติสุขภาพกับมิติเศรษฐกิจจะต้องมีความสมดุลกัน

 

“พ.ร.บ. ปี 2551 ใช้บังคับมาเป็นเวลาถึง 16 ปี ซึ่งมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็นและยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้อง เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้า เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายได้โดยสะดวก เข้าใจกฎหมายได้ง่าย เพื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และให้รัฐมนตรีผู้รักษาการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายทุก 5 ปีที่กฎหมายใช้บังคับ” นพ.ชลน่าน กล่าว

 

แก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตร นำบรรจุลงขวด

 

ด้าน รักชนก ศรีนอก สส. กทม. พรรคก้าวไกล อภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเท่าพิภพว่า “เราต้องมีมาตรการควบคุมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ แต่ต้องเลิกมองว่าเหล้าเบียร์เป็นสิ่งไม่ดีที่เป็นสิ่งที่ต้องต่อต้าน เลิกทำราวกับว่าสิ่งนี้เป็นตัวร้ายตัวเดียวที่สังคมต้องยี้กัน ดิฉันอยากให้มองในแง่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและขจัดทุนผูกขาด หากอยากแก้ไขปัญหาพืชผลการเกษตรอย่างยั่งยืน ลองเอาลำไย มะม่วง มังคุด ลิ้นจี่ ที่มีวันหมดอายุมาบรรจุใส่ขวดเป็นเหล้าหรือเบียร์ขาย สามารถยืดได้ทั้งอายุและเพิ่มมูลค่าของพืชผลการเกษตรได้ด้วย”

 

รักชนกกล่าวต่อว่า “เราสามารถช่วยกันระเบิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ เอา 5 แสนล้านบาทต่อปีที่อยู่ในธุรกิจเหล้าเบียร์เหล่านี้มากระจายให้เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย เวลาแก้ปัญหาพืชผลการเกษตร นักการเมืองที่มีทุนทรัพย์ควักเงินไปช่วยเป็นครั้งคราว แต่สิ่งที่ยั่งยืนคือเอามาเพิ่มมูลค่า จะมานั่งพูดว่ามันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ทำเป็นอี๋ ดิฉันว่ามันย้อนแย้ง ยิ่งมาจากพรรคการเมืองที่ส่งเสริมกัญชาเสรี ดิฉันงงว่ากัญชาส่งผลร้ายแรงกว่าสุราอีก ท่านยังไม่ด่าขนาดนี้เลย”

 

บางมาตราเปิดช่องเก็บส่วยร้านเหล้า

 

รักชนกกล่าวว่า ส่วนร่างของ ครม. มีการควบคุมโฆษณาเพิ่มมากขึ้นไปอีก โดยมาตรา 32 เขียนไว้กว้างครอบจักรวาล เช่น ห้ามโฆษณา ห้ามแสดงชื่อ ห้ามแสดงเครื่องหมายโอ้อวดสรรพคุณ ห้ามจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม ส่งผลกระทบทำให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ในวงการสุราเวลาจะเขียนรีวิวสนับสนุนก็ทำไม่ได้เลย นับเป็นการปิดกั้นโอกาสของผู้จะเติบโตเป็นรายใหม่ในตลาด

 

รักชนกกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ร่างของ ครม. ยังกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หากเป็นผู้ผลิตหรือนำเข้าจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หนักกว่าของเดิมที่ปรับ 5 หมื่นบาท อีกทั้งยังเพิ่มอำนาจให้เจ้าพนักงานสามารถเข้าตรวจค้นร้านเหล้าหลังเวลาทำการได้ การออกระเบียบแบบนี้เหมือนเปิดช่องให้เรียกเก็บส่วยเพิ่มขึ้นได้ ถือเป็นช่องโหว่อันใหญ่มาก

 

พรรคประชาชาติคัดค้าน พ.ร.บ. ทั้ง 5 ฉบับ

 

ขณะที่ ซูการ์โน มะทา สส. ยะลา พรรคประชาชาติ อภิปรายคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 5 ฉบับ โดยยืนหยัดในอุดมการณ์และจุดยืนของพรรคประชาชาติว่าวันนี้เป็นวันที่ 16 ของเดือนรอมฎอน ซึ่งถือเป็นเดือนของการทำคุณงามความดีของชาวมุสลิมทั่วโลก แต่ในสภากลับมีการรับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่พรรคประชาชาติยืนหยัดว่าเราไม่เห็นด้วย และยังมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามา 5 ฉบับ เราพยายามมองในมิติรายได้ของประเทศ แต่ไม่ได้มองผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ ว่ามีอะไรบ้าง

 

“ผมพยายามติดตามการทำงานในฐานะ สส. การออกกฎหมายต่างๆ วันนี้เรายึดโยงอยู่กับความเสรี ทุกอย่างต้องเสรี สุราต้องเสรี กัญชาต้องเสรี การพนันต้องเสรี จนกระทั่งสภาพสังคมของประเทศกำลังสู่วิกฤตมีปัญหา” ซูการ์โนกล่าว

 

ซูการ์โนกล่าวด้วยว่า สาเหตุที่ตนไม่สามารถรับหลักการได้เนื่องจากตามหลักศรัทธาและหลักการของชาวมุสลิมแล้ว ร่างทั้ง 5 ฉบับขัดกับหลักคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นธรรมนูญชีวิตที่คนมุสลิมยึดถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด และตนได้รับหนังสือคัดค้านจากกลุ่มตัวแทนเครือข่ายป้องกันและลดผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภาคใต้ตอนล่าง ที่ได้ไปเยี่ยมพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าเขาไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. เหล่านี้ และต่างมีข้อกังวลห่วงใยที่สภาจะรับหลักการไป

 

“เยาวชนมีอายุแค่ 8 ขวบ และส่วนใหญ่เป็นสตรีที่มีความเสี่ยงเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งเราไปทำการค้าเสรี สุราเสรีต่างๆ การป้องกันไม่ให้แอลกอฮอล์เข้าสู่ครอบครัวจะยากขึ้นและเกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น เมาแล้วขับ ทุกปีเรารณรงค์ถึงผู้เสียชีวิตเท่าไร ประเทศไทยสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปี 2564 ถึงแสนกว่าล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากโรคของผู้ดื่มสุรา” ซูการ์โนกล่าว

 

สภารับหลักการร่างกฎหมายคุมเหล้า

 

ด้าน นพ.ชลน่าน กล่าวสรุปว่า รัฐบาลมีมติตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดเพื่อศึกษาผลกระทบของมิติสุขภาพและมิติเศรษฐกิจ เพื่อเป็นคำตอบว่าอะไรเหมาะสมที่สุด ถ้า กมธ.วิสามัญฯ จะเอาความคิดเห็นหรือผลการศึกษามาประกอบการพิจารณา ก็จะเป็นประโยชน์ เพราะกรรมการชุดนี้จะเร่งรัดศึกษาให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน คาดว่าหลังจากปิดสมัยสภา กมธ.วิสามัญฯ ก็ทำหน้าที่ไป ก่อนที่จะสรุปร่างอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม จึงขอขอบคุณสมาชิกที่จะรับหลักการกฎหมายฉบับนี้

 

จากนั้นที่ประชุมลงมติรับหลักการทั้ง 5 ฉบับ ด้วยคะแนน 389 ต่อ 9 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 1 คะแนน พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 42 คน

The post สภาผ่าน 5 ร่างกฎหมายคุมเหล้าวาระแรก ‘ไอซ์ รักชนก’ วอนเลิกมองเหล้า-เบียร์เป็นของยี้ แนะดึงสินค้าเกษตรลงขวด แก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมรภูมิทะเลแดงป่วนค้าโลก! จับตาราคาน้ำมัน สินค้าเกษตร และอาหาร หลังต้นทุนขนส่งพุ่ง 4 เท่า https://thestandard.co/red-sea-attacks-disrupt-food-trade-and-risk-higher-grocery-prices/ Mon, 22 Jan 2024 11:11:03 +0000 https://thestandard.co/?p=890720

สถานการณ์ความขัดแย้งวุ่นวายที่เกิดขึ้นในทะเลแดง (Red Se […]

The post สมรภูมิทะเลแดงป่วนค้าโลก! จับตาราคาน้ำมัน สินค้าเกษตร และอาหาร หลังต้นทุนขนส่งพุ่ง 4 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>

สถานการณ์ความขัดแย้งวุ่นวายที่เกิดขึ้นในทะเลแดง (Red Sea) ยังคงไม่มีท่าทีจะยุติลงง่ายๆ เริ่มกระทบไปยังสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งซีอีโอ Maersk เรือยักษ์ใหญ่ ยอมรับว่า การขนส่งทางเรือทั่วโลกอาจชะงักไปอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 เดือน 

 

ล่าสุดวันนี้ (22 มกราคม) กลายเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์สำคัญสำหรับตลาดน้ำมันดิบ ถึงผลกระทบซัพพลายและราคาน้ำมันที่ต้องเตรียมความพร้อมจากฝีมือของกลุ่มกบฏฮูตีที่โจมตีเรือบรรทุกน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อตอบโต้กรณีอิสราเอลโจมตีฉนวนกาซา หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านมาบรรดาเจ้าของเรือหลายลำ โดยเฉพาะเส้นทางเอเชีย-ยุโรปที่ขนสินค้าเกษตรและอาหารเลือกที่จะเลี่ยงทะเลแดง เพราะในขณะนี้เริ่มได้รับผลกระทบวงกว้าง 

 

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาบรรดาสายเดินเรือสินค้าเกษตรและอาหารเปลี่ยนแผนไปใช้เส้นทางอ้อมทะเลแดง ซึ่งแน่นอนว่าการขนส่งที่นานขึ้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้อาหารเน่าเสียง่าย ไม่สามารถขายได้ ส่งผลให้ผู้ส่งออกอุตสาหกรรมอาหารต่างต้องประเมินความเสี่ยงอย่างเข้มงวด 

 

ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออกชาวอิตาลีที่กังวลว่ากีวี ผลไม้ และกาแฟ จะเน่าเสีย รวมไปถึงผู้ให้บริการขนส่งสัตว์ที่มุ่งหน้าไปยังตะวันออกกลางต่างเปลี่ยนเส้นทาง จึงคาดการณ์ว่า การนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเส้นทางเอเชีย-สหภาพยุโรปได้รับความเสียหายไปแล้วเกือบ 7 หมื่นล้านยูโร โดยมีไทยรวมอยู่ด้วย 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:  


 

 

คาดการณ์ผลกระทบการค้าสินค้านำเข้าและส่งออกเส้นทางเอเชีย-ยุโรปจากวิกฤตทะเลแดง

(หน่วย: พันล้านยูโร)

 

นิติน อากราวัล กรรมการผู้จัดการของ Euro Fruits ซึ่งเป็นผู้ส่งออกองุ่นรายใหญ่ของอินเดีย กล่าวว่า ปกติแล้วบริษัทจัดส่งองุ่นสดไปยังยุโรปผ่านทางทะเลแดง แต่ต้องปรับใช้เส้นทางอื่นซึ่งในเวลานาน ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 4 เท่า ใช้เวลานานขึ้น 2 เท่า

 

นอกจากนี้ผู้ส่งออกชาวอิตาลี ซึ่งส่งออกผลิตผลทางการเกษตรไปยังเอเชียมูลค่าประมาณ 4.4 พันล้านดอลลาร์ กังวลว่า การเดินทางไปทั่วแอฟริกาจะส่งผลเสียต่อความสดและเพิ่มต้นทุนสำหรับผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล กีวี และส้ม รวมถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังปลายทางยุโรป เช่น เนื้อหมู ผลิตภัณฑ์นม และไวน์ เป็นต้น ขณะเดียวกันการนำเข้าชา เครื่องเทศ และสัตว์ปีก ต่างล่าช้าออกไปและล้วนได้รับผลกระทบทั้งหมด

 

วิกฤตเริ่มขยายวงกว้าง

 

CELCAA ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ค้าอาหารเกษตร ระบุว่า เรือที่บรรทุกเมล็ดพืชประมาณ 1.6 ล้านตัน รวมไปถึง Mercanta ผู้นำเข้ากาแฟในสหราชอาณาจักร ได้ระงับการขนส่งสินค้าในแอฟริกาตะวันออก เช่น ยูกันดาและเวียดนาม เป็นประเทศหลักที่นำเข้ากาแฟยุโรป มุ่งหน้าไปยังคลองสุเอซ ต่างก็เปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยข่าวกรองเคปเลอร์ระบุว่า ส่วนใหญ่จะเป็นพืชผลที่ส่งไปยังจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ทั้งนี้ วินเซนต์ เคลิร์ก ซีอีโอของ Maersk ระบุว่า การโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดงอาจกินเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน

 

ห่วงโลกรับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

 

นอกจากนี้ผู้บริหารธนาคารหลายรายยังแสดงความกังวลว่า วิกฤตการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และอาจนำไปสู่ความล่าช้าในการลดอัตราดอกเบี้ย หรือแม้กระทั่งเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น

 

ซึ่งบริษัทขนส่งได้เพิ่มราคาเป็น 3 เท่าในการคิดค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จากเอเชียไปยังยุโรป ส่วนหนึ่งเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการเดินเรือทั่วแอฟริกาสำหรับเจ้าของเรือที่ยังคงใช้ทะเลแดง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของเรือบรรทุกน้ำมัน ต้องเผชิญกับเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้น

 

ผู้ค้าปลีกอย่าง IKEA เตือนว่า การหลีกเลี่ยงคลองสุเอซอาจทำให้สินค้าล่าช้าออกไปอีก และขณะนี้โรงงานรถยนต์บางแห่งในยุโรปต้องระงับการดำเนินงานชั่วคราวขณะรอชิ้นส่วนประกอบจากเอเชีย

 

อย่างไรก็ตาม JPMorgan ประเมินว่า หากเหตุการณ์ยืดเยื้อ ราคาสินค้าและการบริโภคทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 0.7% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้  

 

จับตาสถานการณ์ตลาดน้ำมันโลก 

 

รายงานระบุว่า วันนี้ (22 มกราคม) บรรดาผู้ขนส่งน้ำมันจำนวนมากยอมตัดใจ เมินสัญญาเช่าเรือเดิม และเร่งหาเช่าเรือบรรทุกน้ำมันเพื่อขนส่งน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงอื่นๆ สำหรับเส้นทางที่จะหลีกเลี่ยงเขตอันตรายอย่างทะเลแดง ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้น จนเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง 

 

โดยการขนส่งสินค้าทางเรือแทบทั้งหมดจะเป็นการทำสัญญาระยะยาวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน 

 

อเล็กซานเดอร์ เซเวอรีส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Euronav ซึ่งเป็นเจ้าของเรือบรรทุกน้ำมันมากกว่า 5 หมื่นล้านบาร์เรล ระบุว่า เจ้าของเรือจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ต่างก็หาทางเลี่ยงทะเลแดง หลังสถานการณ์ดังกล่าวจากที่ดูเหมือนจะสามารถยุติลงได้ภายในระยะเวลาอันสั้น กลับมีแนวโน้มลากยาวกินเวลาร่วมหลายเดือน 

 

ขณะนี้มีรายงานว่า มีการจ้างเรือบรรทุกน้ำมันเพื่อขนส่งสินค้าเชื้อเพลิงให้แล่นไปยังเอเชียแทนยุโรป ทำให้มีต้นทุนขนส่งที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการจองเรือขนส่งน้ำมันดิบของอิรักหลายลำโดยใช้เรือบรรทุกน้ำมัน ซึ่งจะเดินทางอ้อมหลายพันกิโลเมตรไปทางฝั่งแอฟริกา

 

อานิสงส์เจ้าของเรือบรรทุกน้ำมัน 

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแต่ ทอร์ม เจ้าของเรือบรรทุกน้ำมันชาว เดนมาร์ก กล่าวว่า การเดินทางไปยังเอเชียมากขึ้นเพื่อขนส่งเชื้อเพลิงกลั่น ช่วยผลักดันรายได้ของเรือบรรทุกน้ำมันจาก 35,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน เป็น 60,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ขณะที่เรือ Suezmax ซึ่งสามารถแล่นเต็มลำคลองที่เชื่อมระหว่างเอเชียและยุโรป มีราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 50% หรือเกือบ 70,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

 

นอกจากนี้แม้ว่าปริมาณน้ำมันดิบที่ไหลจากอ่าวเปอร์เซียไปยังยุโรปจะพบได้น้อยกว่าที่ไหลเข้าสู่เอเชีย แต่แนวโน้มเส้นทางการขนส่งดังกล่าวยังคงเผยให้เห็นทัศนคติของเจ้าของเรือที่มีต่อการขนส่งผ่านทะเลแดง โดยเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งตกเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มฮูตีหลายครั้ง ได้เปลี่ยนเส้นทางไปแล้วส่วนใหญ่ก่อนการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร 

 

ค่าระวางเรือเอเชีย-ยุโรปพุ่ง 4 เท่า

 

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการไทยเกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิด เพราะการขนส่งสินค้าของไทยได้รับผลกระทบแล้ว โดยเฉพาะสินค้าที่ขนส่งระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป 

  

ซึ่งเผชิญอัตราค่าระวางเรือและค่าเบี้ยประกันความเสี่ยงปรับตัวเพิ่มขึ้น 3,000-5,000 ดอลลาร์ เทียบอัตราเดิมสูงขึ้นถึง 4 เท่า และการเดินทางที่ล่าช้าออกไปอย่างน้อย 14 วัน 

 

โดยสินค้าไทยที่ส่งออกไปยุโรป ได้แก่ กลุ่มคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อัญมณี จักรยานยนต์ ไก่แปรรูป และเครื่องจักรกลเกษตร ส่วนสินค้านำเข้าจากยุโรป ได้แก่ ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ แผงวงจร รวมทั้งเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนได้รับผลกระทบจากค่าโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้น  

 

ขณะที่ SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง จากผลของนโยบายการเงินตึงตัวต่อเนื่องและตลาดแรงงานอ่อนแอลง อีกทั้งยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนรอบด้าน โดยในปีนี้จะมีการเลือกตั้งใหญ่กว่า 60 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมสูงกว่า 60% ของโลก 

 

“การค้าและห่วงโซ่อุปทานโลกเผชิญความเสี่ยงใหม่จากการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในบริเวณทะเลแดงและปัญหาน้ำแล้งในคลองปานามา ก่อให้เกิดความแออัดในการขนส่งทางเรือหรือต้องปรับเส้นทางเดินเรือ ทำให้ระยะเวลาการเดินทางและต้นทุนขนส่งสูงขึ้น” 

 

อ้างอิง: 

The post สมรภูมิทะเลแดงป่วนค้าโลก! จับตาราคาน้ำมัน สินค้าเกษตร และอาหาร หลังต้นทุนขนส่งพุ่ง 4 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปรากฏการณ์น้ำตาลแพงทั่วโลก! ภัยแล้งครั้งประวัติศาสตร์ในอินเดียดันราคาน้ำตาลพุ่ง ไม่เว้นญี่ปุ่นราคาลูกอมสูงขึ้น 11% รวมถึงไทยงัดกฎเหล็กห้ามขึ้นราคา 1 ปี https://thestandard.co/expensive-sugar-around-the-world/ Wed, 01 Nov 2023 10:58:07 +0000 https://thestandard.co/?p=861493

ประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลก ได้แก่ บราซิล ไทย และอ […]

The post ปรากฏการณ์น้ำตาลแพงทั่วโลก! ภัยแล้งครั้งประวัติศาสตร์ในอินเดียดันราคาน้ำตาลพุ่ง ไม่เว้นญี่ปุ่นราคาลูกอมสูงขึ้น 11% รวมถึงไทยงัดกฎเหล็กห้ามขึ้นราคา 1 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

ประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลก ได้แก่ บราซิล ไทย และอินเดีย เผชิญสภาพอากาศแล้งจัดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ สะเทือนสินค้าเกษตรโดยเฉพาะวงการน้ำตาลไปทั่วโลก โดยตลาดซื้อขายล่วงหน้าในนิวยอร์กพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี รวมไปถึงราคาน้ำตาลและฝ้ายในอินเดียสูงพุ่งสูงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับไทย! ไม่รอช้าออกประกาศ ‘น้ำตาลทราย’ เป็นสินค้าควบคุม สกัดขึ้นราคานาน 1 ปี หลังสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาขายปลีกหน้าโรงงานพุ่งพรวด 4 บาทต่อกิโลกรัม

 

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า สภาพอากาศที่แห้งแล้งผิดปกติในอินเดียจากภาวะเอลนีโญสะเทือนต่ออุปทานสินค้าเกษตรไปทั่วโลก โดยเฉพาะราคาน้ำตาล รวมถึงราคาฝ้ายที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และกำลังกดดันภาวะเงินเฟ้อที่จะส่งผลต่อราคาอาหารในอินเดีย โดยอินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลสัดส่วน 20% ของตลาดโลก 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ขณะเดียวกันราคาน้ำตาลดิบตลาดซื้อขายล่วงหน้าในนิวยอร์กพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี อยู่ที่ 28 เซนต์ต่อปอนด์ และตลาดซื้อขายอยู่ที่ระดับ 26 เซนต์ต่อปอนด์  

 

สำหรับอินเดียปีนี้ถือว่าเผชิญกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งรุนแรงครั้งประวัติศาสตร์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ในรอบ 5 ปี ซึ่งอินเดียมีแหล่งปลูกอ้อยในรัฐมหาราษฏระและกรณาฏกะ ส่งผลให้คาดการณ์ว่าผลผลิตตลาดอินเดียจะลดลง 3% ไปจนถึงปีหน้า 

 

อินเดียจ่อขยายเวลาควบคุมการส่งออกน้ำตาลอย่างไม่มีกำหนด 

 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางผลผลิตที่ย่ำแย่และราคาที่สูงขึ้น รัฐบาลอินเดียระบุว่า จะขยายเวลาควบคุมการส่งออกน้ำตาลอย่างไม่มีกำหนด 

 

เช่นเดียวกับไทยและผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อื่นๆ ในเอเชียก็ประสบปัญหาสภาพอากาศจากปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมไปถึงในปีนี้ผู้ซื้อแข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อนำเข้าน้ำตาลจากบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้เกิดความกังวลด้านอุปทานตลาดน้ำตาลในขณะนี้

 

ทั้งนี้ ภัยแล้งในอินเดียทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นทุกชนิด เริ่มจากราคาข้าว ที่อินเดียได้สั่งห้ามการส่งออกข้าวขาว ยกเว้นข้าวบาสมาติ เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกเกิดความกังวลว่าจะขาดแคลนอุปทาน รวมถึงไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตอันดับ 2 ของโลก จนทำให้ราคาข้าวขาวหักมาตรฐาน 5% ของไทยแพงสุดในรอบ 15 ปี หรืออยู่ที่ 648 ดอลลาร์ต่อตัน

 

นอกจากราคาน้ำตาลในอินเดียที่พุ่งสูง ยังมีสินค้าฝ้ายที่พุ่งสูงเช่นกัน โดยสัญญาซื้อขายฝ้ายล่วงหน้าทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน อยู่ที่ 90.75 เซนต์ต่อปอนด์ และราคาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ที่ 83 เซนต์ต่อปอนด์ ส่งผลให้กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาปรับลดคาดการณ์ผลผลิตฝ้ายของอินเดียลง 2% และส่งออกฝ้ายลดลง 9% 

 

ราคาเค้กในญี่ปุ่นและลูกอมพุ่ง 11.6% 

 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ราคาน้ำตาลและสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก แม้แต่ญี่ปุ่นยังพบว่าราคาเค้กและลูกอมเพิ่มขึ้น 11.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนผลผลิตฝ้ายกระทบต่อราคาเสื้อผ้าและรองเท้าที่เพิ่มขึ้น 3.4% โดยสินค้าเหล่านี้แซงหน้าดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมเพิ่มขึ้น 3%   

 

ไทยสกัดพ่อค้าฉวยโอกาสขึ้นราคา ประกาศราชกิจจา ‘น้ำตาลทราย’ เป็นสินค้าควบคุม 

 

ล่าสุดไทยประกาศราชกิจจานุเบกษา โดยประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 67 พ.ศ. 2566 พิจารณาเห็นว่า สถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้จำเป็นจะต้องเพิ่มเติมการกำหนดให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม เพื่อดูแลป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่าย หรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และกำกับดูแลน้ำตาลทรายให้เป็นสินค้าที่ราคาเป็นธรรมและปริมาณเพียงพอ

 

“โดยประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันประกาศ (31 ตุลาคม 2566) เว้นแต่จะมีการออกประกาศใหม่”

 

เล็งเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนฯ 2 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมเยียวยาชาวไร่หลังประกาศเป็นสินค้าควบคุม

 

รายงานข่าวระบุว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้หรือในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ออกประกาศขึ้นราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 2566/2567 ได้ออกประกาศปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 4 บาทต่อกิโลกรัม

 

ส่งผลให้น้ำตาลทรายขาวปรับราคามาอยู่ที่ 23 บาทต่อกิโลกรัม น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 24 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้บรรดาร้านค้าจำเป็นต้องปรับขึ้นราคา แม้กรมการค้าภายในขอความร่วมมือผู้ประกอบการไม่ให้ปรับขึ้นราคา 

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยเองก็ได้รับอานิสงส์จากการงดส่งออกน้ำตาลของอินเดีย แต่ในส่วนของโรงงานและชาวไร่อ้อยนั้น พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า ขณะนี้เตรียมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลไม่ให้กระทบเกษตรกรชาวไร่อ้อย รวมถึงแนวทางเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย 2 บาทต่อกิโลกรัม หลังประกาศเป็นสินค้าควบคุม

 

อ้างอิง: 

The post ปรากฏการณ์น้ำตาลแพงทั่วโลก! ภัยแล้งครั้งประวัติศาสตร์ในอินเดียดันราคาน้ำตาลพุ่ง ไม่เว้นญี่ปุ่นราคาลูกอมสูงขึ้น 11% รวมถึงไทยงัดกฎเหล็กห้ามขึ้นราคา 1 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตรวจเช็กสุขภาพการส่งออกไทยหลังพ้นครึ่งปีแรก บริหารพอร์ตลงทุนอย่างไร ท่ามกลางความเสี่ยงที่ต้องติดตาม https://thestandard.co/thai-exports-half-year-2023/ Thu, 20 Jul 2023 03:00:10 +0000 https://thestandard.co/?p=819347 ส่งออกไทย

การส่งออกถือเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเ […]

The post ตรวจเช็กสุขภาพการส่งออกไทยหลังพ้นครึ่งปีแรก บริหารพอร์ตลงทุนอย่างไร ท่ามกลางความเสี่ยงที่ต้องติดตาม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่งออกไทย

การส่งออกถือเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยมีน้ำหนักในการคิดคำนวณ GDP ค่อนข้างมากถึง 60% และในปีที่ผ่านมาหุ้นส่งออกไทยรับบทพระเอกที่น่าจับตามอง แต่ดูเหมือนว่าในรอบหลายเดือนที่ผ่านมาเครื่องยนต์หลักนี้จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพอย่างที่เคยเป็นมา 

 

ล่าสุดทางกระทรวงพาณิชย์ได้รายงานตัวเลขส่งออกของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปีมีมูลค่า 116,344.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 5.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การส่งออกในเดือนพฤษภาคมมีมูลค่า 24,340.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 4.6% และหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 

 

แม้ในภาพรวมการส่งออกไทยในเดือนพฤษภาคมจะหดตัวน้อยกว่าคาดการณ์ของตลาด และขยายตัวได้ 3.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งเป็นสัญญาณเชิงบวก แต่เมื่อเจาะเข้าไปดูไส้ในก็จะพบสิ่งที่น่ากังวลใจอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เช่น การส่งออกหมวดสินค้าเกษตรที่หดตัวแรงในรอบ 4 เดือนถึง -27% ส่วนหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ -0.6% ขณะที่สินค้าในหมวดอุตสาหกรรมซึ่งมีมูลค่าสูงสุดก็ขยายตัวได้เพียง 1.5% 

 

นอกจากนี้ การส่งออกไปยังตลาดจีนซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ค้าหลักของไทยในเดือนพฤษภาคมยังหดตัวลงลึกถึง -24.0% โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อการหดตัวดังกล่าวมาจากการส่งออกที่ลดลงของสินค้าเกษตรอย่างผลไม้สดและแห้ง เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไยอบแห้ง ประกอบกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลง เช่น เม็ดพลาสติก คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่ตลาดหลักอื่นๆ เช่น CLMV และญี่ปุ่นก็หดตัว -17.3% และ 1.8% ตามลำดับ 

 

นี่ยังไม่นับรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดรองที่หดตัว 4.5% โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ 25.2% และลาตินอเมริกา 7.0% สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้การที่ตัวเลขส่งออกไทยทั้งปีจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ 1-2% ตามเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ถือเป็นเรื่องท้าทาย เพราะนั่นหมายความว่าในช่วงที่เหลือของปีการส่งออกไทยจะต้องมีมูลค่าแตะ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนเป็นอย่างน้อย

 

หากมองต่อไปในช่วงครึ่งปีหลัง เรายังพบปัจจัยที่เป็นแรงกดดันและความท้าทายที่รอให้การส่งออกไทยต้องฝ่าฟันอีกอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่

 

1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ชัดเจน โดยในช่วงที่ผ่านมาเราเห็นภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่เร่งแรงขึ้นมาในช่วงไตรมาสแรกที่ 4.5% หลังมีการเปิดเมือง ทำให้คนเร่งบริโภค แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องในไตรมาสล่าสุด ทั้งภาคการส่งออกที่พลิกกลับมาติดลบ ภาคการผลิตที่เริ่มเติบโตช้าลง รวมทั้งการใช้จ่ายของคนในประเทศเองไม่ได้แข็งแรงเหมือนต้นปี จนภาครัฐเริ่มใช้มาตรการกระตุ้น เช่น การลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจ

 

นอกจากปัจจัยภายในแล้ว ปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีกับสหรัฐอเมริกาก็มีความเสี่ยงที่จะกดดันไม่ให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ดีนัก โดยเฉพาะการส่งออกและการผลิตของจีนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องมายังไทย

 

2. แรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเห็นได้จากการที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมโลกเร่งตัวขึ้นจากการผ่อนคลายปัญหาห่วงโซ่การผลิต แต่คำสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคควบคุมการใช้จ่ายมากขึ้น 

 

โดยดัชนี Flash Manufacturing PMI ในเดือนมิถุนายนของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยยังอยู่ในภาวะหดตัวจากอุปสงค์สินค้าที่อ่อนแอ เช่น US Manufacturing PMI ที่ลดลงจาก 48.4 มาอยู่ที่ 46.3, Eurozone Manufacturing PMI ที่ลดลงมาอยู่ที่ 43.6 ต่ำสุดในรอบ 37 เดือน และ Japan Manufacturing PMI ที่พลิกกลับมาหดตัวอีกครั้งที่ 48.4 

 

ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังออกมาส่งสัญญาณอีกว่ามีความเป็นไปได้ที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อลากยาว เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อมีแรงกดดันในระดับที่สูงอยู่ เงินเฟ้อที่หักจากราคาพลังงานและราคาอาหาร (Core Inflation) ยังลดลงค่อนข้างช้า ทำให้ Fed มีความจำเป็นที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 

 

3. สภาพอากาศแปรปรวนจากปัญหาภัยแล้งและเอลนีโญที่อาจส่งผลต่อปริมาณสินค้าเกษตรที่ผลิตในปีนี้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นวาระสำคัญและเร่งด่วนที่ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย เนื่องจากส่งออกไทยพึ่งพาเกษตรค่อนข้างมาก และภาคเกษตรถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ ทั้งอาหาร พืช และแอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้นการบริหารการจัดสรรน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

 

ทั้งนี้ มีการประเมินว่าปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะเกิดขึ้นในปีนี้และอาจลากยาวไปถึง 3 ปี จะส่งผลโดยตรงกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวที่เป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ ของไทย ทำให้ผลผลิตข้าวทั่วโลกจะขาดแคลนมากที่สุดในรอบ 20 ปี ขณะเดียวกันความแห้งแล้งยังมีโอกาสดันให้ราคาปุ๋ยในตลาดดีดตัวสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่งปรับลดลงมาได้ไม่นาน

 

4. ความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจมีความล่าช้า จนทำให้ไทยเสียโอกาสในการเร่งเจรจาการค้าเสรี (FTA) กับชาติยุโรปหรือชาติคู่ค้าสำคัญ จนส่งผลให้ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยพิจารณาย้ายฐานไปประเทศอื่นได้ ซึ่งเรื่องนี้จะส่งผลต่อการส่งออกทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของไทย

 

แนวทาง

 

อย่างไรก็ดี การส่งออกไทยในช่วงที่เหลือของปีก็ยังพอมีปัจจัยบวกให้พอใจชื้นได้บ้างเหมือนกัน เช่น ปัญหาอุปสรรคการขนส่งและปัญหาขาดแคลนคอนเทนเนอร์ที่บรรเทาลง เช่นเดียวกับระยะเวลาขนส่งที่ปรับเร็วขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด และค่าระวางเรือที่ลดลงใกล้เคียงค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตโควิดแล้ว 

 

ขณะเดียวกันปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายประเทศก็อาจเป็นโอกาสที่ดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องฐานในการคำนวณที่ลดลง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง ที่จะเข้ามาเป็นปัจจัยเชิงบวกสำคัญของการส่งออกไทยให้อาจกลับมาเห็นการขยายตัวได้

 

กล่าวโดยสรุป แม้ว่าภาพการส่งออกไทยในปัจจุบันจะเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นและหดตัวลดลง แต่สถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่มีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์โลกชะลอลง จะยังคงกดดันการส่งออกไทยในระยะข้างหน้า ไทยอาจไม่สามารถพึ่งพาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนได้มากเท่าที่ควร และยังมีความท้าทายอีกประการที่รออยู่ 

 

โดยหากนำปัจจัยบวกและลบมาถ่วงน้ำหนักกัน ดูเหมือนว่าโอกาสที่ภาคส่งออกไทยในปีนี้จะขยายตัวได้เป็นบวกยังมีค่อนข้างริบหรี่ ท่ามกลางภูมิทัศน์เช่นนี้ คำแนะนำนักลงทุนของ UOB คือ ควรจัดพอร์ตกระจายการลงทุนในหลายภูมิภาคและหลายสินทรัพย์ เพื่อกระจายความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากภูมิภาคหรืออุตสาหกรรมที่น่าสนใจ โดยคำแนะนำในการจัดพอร์ตสำหรับไตรมาส 3 เรายังคงให้ความสำคัญกับตราสารหนี้คุณภาพดีที่มีปัจจัยพื้นฐาน งบดุล และกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง ซึ่งอัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้ขณะนี้มีความน่าสนใจ เพื่อสร้าง Income ที่สม่ำเสมอในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง 

 

ด้านหุ้นเราปรับน้ำหนักการลงทุนจาก Underweight สู่ระดับ Neutral ด้วยมุมมองที่คาดว่า Bond Yield น่าจะผ่านพ้นระดับสูงสุดไปแล้ว ประกอบกับวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะใกล้สิ้นสุดลง และคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนจะค่อยๆ ฟื้นตัวในไตรมาส 3 ปี 2023 โดยเราให้ความสำคัญกับการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive เช่น กลุ่ม Healthcare และเน้นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพดีที่มีการเติบโต เนื่องจากจะได้ประโยชน์จากแรงซื้อในยามที่นักลงทุนมองหาหุ้นที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเรายังให้น้ำหนัก Overweight ในหุ้นญี่ปุ่น จากระดับ Valuation ที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ และปัจจัยพื้นฐานที่ดีของหุ้น ทั้งด้านกระแสเงินสด ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) และกำไรบริษัท ในขณะที่ปรับลดน้ำหนักหุ้น EM เอเชีย จาก Overweight เป็น Neutral จากมุมมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ไม่เท่ากันในแต่ละภาคส่วน และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากมีหนี้สาธารณะในระดับสูง อีกทั้งต้องการส่งเสริมการเติบโตแบบตรงเป้าหมายและเติบโตแบบยั่งยืน

 

ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือ คลิก www.uob.co.th/privilegebanking

 

The post ตรวจเช็กสุขภาพการส่งออกไทยหลังพ้นครึ่งปีแรก บริหารพอร์ตลงทุนอย่างไร ท่ามกลางความเสี่ยงที่ต้องติดตาม appeared first on THE STANDARD.

]]>