สำเริง แสงภู่วงค์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 09 Aug 2021 05:59:36 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ประวิตร สั่งเร่งรัดแผนฟื้นฟู ‘คลองแสนแสบ’ ให้กลับมาใสสะอาด กำชับ กทม. บริหารแผนรับมือฝนปี 2564 https://thestandard.co/prawit-order-quick-rehabilitation-plan-on-saen-saeb-canal/ Mon, 09 Aug 2021 05:59:36 +0000 https://thestandard.co/?p=523252 ประวิตร วงษ์สุวรรณ

วันนี้ (9 สิงหาคม) พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐม […]

The post ประวิตร สั่งเร่งรัดแผนฟื้นฟู ‘คลองแสนแสบ’ ให้กลับมาใสสะอาด กำชับ กทม. บริหารแผนรับมือฝนปี 2564 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประวิตร วงษ์สุวรรณ

วันนี้ (9 สิงหาคม) พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหาร พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองแสนแสบ ครั้งที่ 4/2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Conference) โดยมี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.), สำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการ สทนช. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เช่น กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร, กรมธนารักษ์, กรมควบคุมมลพิษ, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรมเจ้าท่า, กรมชลประทาน, กรมโยธาธิการและผังเมือง และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น

 

พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด และให้เป็นไปตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด จึงให้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในวันนี้ เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานพัฒนาและฟื้นฟูคลองแสนแสบ พร้อมทั้งรับทราบปัญหาและอุปสรรคการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ความก้าวหน้าการเสนอแผนปฏิบัติการพัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบต่อคณะรัฐมนตรีและผลการดำเนินงาน จำนวน 84 โครงการ ตามเป้าประสงค์ 5 ด้าน คือ 

 

  1. การเสริมสร้างความปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำของประชาชน 

 

  1. การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณคลองแสนแสบ 

 

  1. การแก้ไขปัญหามลภาวะและคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบ 

 

  1. การป้องกันปราบปราม การบุกรุกทำลายทรัพยากรในคลองแสนแสบ

 

  1. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในคลองแสนแสบ 

 

รวมทั้งได้ติดตามผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและกรมชลประทาน และแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้คาดการณ์ไว้ว่าในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมนี้จะมีปริมาณฝนตกมากกว่าค่าปกติ จึงขอให้กรุงเทพมหานครและกรมชลประทานดำเนินงานตามเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำร่วมกันตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 อย่างเคร่งครัด รวมทั้งเตรียมความพร้อมด้านอาคารชลศาสตร์และเครื่องจักร-เครื่องมือ สำหรับการรับมือปริมาณน้ำฝนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะสามารถเข้าช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมและคน กทม. ได้อย่างทันท่วงที 

 

ด้าน ดร.สมเกียรติกล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสลงพื้นที่ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรการรับมือน้ำหลากในช่วงฤดูฝนในพื้นที่ภาคกลางและจุดเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ที่มีความห่วงใยต่อชาวกรุงเทพมหานครต่อปัญหาน้ำท่วมขัง และปัญหาคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบ ที่ได้สั่งการให้ สนทช. จัดทำแผนฟื้นฟูคลองแสนแสบเป็นการเร่งด่วน ซึ่งกรุงเทพมหานครและกรมชลประทานได้ร่วมกันบริหารจัดการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน อาทิ ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำและขุดลอกคูคลอง เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำและเป็นการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ ในส่วนการประชุมวันนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ทุกหน่วยงานปรับรูปแบบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด สำหรับหน่วยงานที่ดำเนินการแผนปฏิบัติการพัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ ที่ยังไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.2 565 ขอให้เร่งรัดดำเนินการปรับแผนการขอรับจัดสรรงบประมาณจากแหล่งงบประมาณอื่นๆ มาดำเนินการแทน เช่น ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในคลองแสนแสบ โครงการปรับปรุงคลองบางขนาก เป็นต้น เพื่อให้สามารถเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการไปได้ ช่วยเร่งแก้ปัญหาการระบายน้ำและคุณภาพน้ำคลองแสนแสบ เพื่อให้คลองแสนแสบสามารถกลับมาใสสะอาดและเหมาะสมกับการใช้น้ำในภาคการเกษตร และการใช้น้ำในพื้นที่ชุมชนริมฝั่งคลองในกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน

The post ประวิตร สั่งเร่งรัดแผนฟื้นฟู ‘คลองแสนแสบ’ ให้กลับมาใสสะอาด กำชับ กทม. บริหารแผนรับมือฝนปี 2564 appeared first on THE STANDARD.

]]>
พายุบารีจัตสิ้นฤทธิ์ จับตาไต้ฝุ่นมังคุด จ่อฝนเพิ่มหลายพื้นทื่ เหนือ-อีสานตอนบนฝนหนักบางแห่ง https://thestandard.co/typhoon-mangkhut-heavy-rain-17-19-sep-2561/ https://thestandard.co/typhoon-mangkhut-heavy-rain-17-19-sep-2561/#respond Fri, 14 Sep 2018 04:47:58 +0000 https://thestandard.co/?p=121121

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่ […]

The post พายุบารีจัตสิ้นฤทธิ์ จับตาไต้ฝุ่นมังคุด จ่อฝนเพิ่มหลายพื้นทื่ เหนือ-อีสานตอนบนฝนหนักบางแห่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ประจำวันที่ 14 ก.ย. 61 ว่า วันนี้ประเทศไทยยังพบว่ามีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

 

ทั้งนี้ เมื่อเวลา 19.00 น. วานนี้ พายุดีเปรสชัน ‘บารีจัต’ ได้สลายตัวแล้ว ยังเหลือไต้ฝุ่น ‘มังคุด’ กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย และจะลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ และอ่อนกำลังลงตามลำดับ และจะสลายตัวบริเวณประเทศจีนตอนใต้ หรือเวียดนามตอนบนในระยะต่อไป ซึ่งผลกระทบกับประเทศไทยนั้นทางตรงคาดว่า จะมีฝนเพิ่มขึ้นในภาคเหนือและอีสานตอนบน และมีฝนหนักบางพื้นที่ได้ในวันที่ 17-18 ก.ย. 61

 

นอกจากนี้ พายุลูกนี้จะทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้แรงขึ้น ทำให้บริเวณพื้นที่รับลมมรสุมด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในช่วงวันที่ 17-19 ก.ย. 61

 

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงดินโคลนถล่ม ซึ่งศูนย์เฉพาะกิจฯ ยังต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิด

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post พายุบารีจัตสิ้นฤทธิ์ จับตาไต้ฝุ่นมังคุด จ่อฝนเพิ่มหลายพื้นทื่ เหนือ-อีสานตอนบนฝนหนักบางแห่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/typhoon-mangkhut-heavy-rain-17-19-sep-2561/feed/ 0
ฝนตกหนักทั่วประเทศ 4 วันติด ถึง 10 ก.ย. นี้ เร่งพร่องน้ำ 4 เขื่อนใหญ่รับมือฝนระลอกใหญ่ https://thestandard.co/heavy-rain-around-the-country-4-days/ https://thestandard.co/heavy-rain-around-the-country-4-days/#respond Fri, 07 Sep 2018 05:34:57 +0000 https://thestandard.co/?p=119584

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่ […]

The post ฝนตกหนักทั่วประเทศ 4 วันติด ถึง 10 ก.ย. นี้ เร่งพร่องน้ำ 4 เขื่อนใหญ่รับมือฝนระลอกใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในภาพรวมของประเทศขณะนี้ว่า จากการคาดการณ์แนวโน้มฝนในวันนี้ (7 ก.ย.) ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 10 กันยายน 2561 จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระยะแรก กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

 

ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง สำหรับปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี 55.5 มม. ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร 42 มม. ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง

 

ทั้งนี้โดยเบื้องต้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้วางแผนปรับลดการระบายน้ำในอ่างฯ ทุกขนาด ตามการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนที่มีแนวโน้มลดลงในเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2561 เพื่อเก็บกักน้ำให้พอเพียงในฤดูแล้ง โดยอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 60% ของความจุ ต้องวางแผนเก็บกักน้ำและเติมน้ำโดยประสานกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ขณะที่พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างให้ติดตามการพยากรณ์อากาศในช่วงเดือนกันยายนนี้ เพื่อวางแผนปรับการระบายน้ำในแม่น้ำสายหลัก

 

ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันตก ใน 4 เขื่อนขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ, เขื่อนแก่งกระจาน และเขื่อนปราณบุรี ยังคงต้องเร่งการพร่องน้ำ ตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และรองรับฝนตามฤดูกาลในปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2561 โดยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ หรือหากมีต้องเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด

 

สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมปัจจุบัน ได้แก่ ลำน้ำก่ำ ลำน้ำสงคราม ลำน้ำอูน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำปราจีนบุรี บริเวณอำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี แม่น้ำนครนายก จังหวัดนครนายก และแม่น้ำเข็ก จังหวัดพิษณุโลก

 

ขณะที่สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันเขื่อนเจ้าพระยาได้ลดการระบายน้ำลงให้สอดคล้องกับการลดการระบายน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์

 

ทั้งนี้กรมชลประทานจะควบคุมอัตราการระบายให้อยู่ที่ 650 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปัจจุบันอัตราการระบายอยู่ที่ 771 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้พื้นที่ท้ายน้ำได้รับผลกระทบน้อยลงด้วย

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ฝนตกหนักทั่วประเทศ 4 วันติด ถึง 10 ก.ย. นี้ เร่งพร่องน้ำ 4 เขื่อนใหญ่รับมือฝนระลอกใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/heavy-rain-around-the-country-4-days/feed/ 0
จับตาดู 5 เขื่อนใหญ่ระดับน้ำ 80-100% ของความจุ งดเพาะปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี https://thestandard.co/5-big-dam-water-level-risky/ https://thestandard.co/5-big-dam-water-level-risky/#respond Sun, 02 Sep 2018 12:47:57 +0000 https://thestandard.co/?p=118118

สำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชา […]

The post จับตาดู 5 เขื่อนใหญ่ระดับน้ำ 80-100% ของความจุ งดเพาะปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

สำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ปฏิบัติหน้าที่ ผอ. ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤตเผยว่า วันนี้ (2 ก.ย.) มีฝนตกหนัก ส่วนพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักแบ่งเป็น

 

1. ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย, พะเยา, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ตาก

 

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย, บึงกาฬ, นครพนม

 

3. ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์

 

4. ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, ตราด

สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน อัตราการระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 820 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาด้านท้ายเขื่อนจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 30-50 เซนติเมตร ซึ่งศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้ประสานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณาปรับแผนลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ เพื่อป้องกันผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำให้เกิดน้อยที่สุด รวมทั้งแจ้งจังหวัดและประชาชนให้ทราบแผนการระบายน้ำล่วงหน้า โดยขณะนี้พบว่ามีน้ำสูงกว่าตลิ่งที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้มีหนังสือแจ้ง 22 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อขอความร่วมมือชาวนาไม่ทำการเพาะปลูกข้าวต่อเนื่องหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วเนื่องจากเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก

 

ขณะที่สถานการณ์แม่น้ำโขงแนวโน้มน้ำสูงขึ้น โดยมีน้ำสูงกว่าตลิ่งที่ จังหวัดหนองคาย, นครพนม, มุกดาหาร และอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และต้องเฝ้าระวังบริเวณจังหวัดบึงกาฬ

ขณะนี้เขื่อนที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งมีความจุ 80-100% ได้แก่ เขื่อนขนาดใหญ่ 5 แห่ง เขื่อนวชิราลงกรณ (94%), เขื่อนศรีนครินทร์ (91%), เขื่อนรัชชประภา (86%) และเขื่อนขุนด่านปราการชล (86%)

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post จับตาดู 5 เขื่อนใหญ่ระดับน้ำ 80-100% ของความจุ งดเพาะปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/5-big-dam-water-level-risky/feed/ 0
เตือน 19 จังหวัดเฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมาก ภาคเหนือหนักสุด https://thestandard.co/19-provinces-torrential-rain/ https://thestandard.co/19-provinces-torrential-rain/#respond Sat, 25 Aug 2018 09:45:10 +0000 https://thestandard.co/?p=116304

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต สทนช. เฝ้าระวังฝนตกหนั […]

The post เตือน 19 จังหวัดเฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมาก ภาคเหนือหนักสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต สทนช. เฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในพื้นที่ 19 จังหวัด โดยเฉพาะภาคเหนือมีปริมาณฝนสูงสุด โดยนายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต กล่าวถึงสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญว่ายังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่

 

โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ 19 จังหวัดคือ ภาคเหนือบริเวณเชียงราย, พะเยา, น่าน, แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณเลย, หนองคาย, บึงกาฬ, นครพนม, สกลนคร, อุดรธานี, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร และอุบลราชธานี ภาคตะวันตกบริเวณกาญจนบุรี ภาคตะวันออกบริเวณจันทบุรีและตราด ภาคใต้บริเวณระนองและพังงา  

 

โดย 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกปานกลางถึงหนักมากในภาคเหนือที่ปริมาณฝนตกสูงสุดในจังหวัดน่านและแม่ฮ่องสอน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ทั้งนี้ยังคงเฝ้าระวังและติดตามปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศในการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากฝนตกหนักในช่วงฤดูฝนนี้เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องเกิดผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีอ่างเก็บน้ำที่ความจุเกินร้อยละ 100 ประกอบด้วย อ่างขนาดใหญ่ 2 แห่งคือ เขื่อนน้ำอูน ร้อยละ 108, เขื่อนแก่งกระจาน ร้อยละ 106 และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 27 แห่ง

 

ขณะที่อ่างเก็บน้ำต้องเฝ้าระวังร้อยละ 80-100 ของความจุอ่าง ประกอบด้วย ขนาดใหญ่ 5 แห่งคือ เขื่อนศรีนครินทร์ ร้อยละ 89, เขื่อนวชิราลงกรณ ร้อยละ 91, เขื่อนรัชชประภา ร้อยละ 87, เขื่อนขุนด่านปราการชล ร้อยละ 87, เขื่อนปราณบุรี ร้อยละ 82 และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 53 แห่ง ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมคือ แม่น้ำเพชรบุรี 5 อำเภอ บริเวณอำเภอแก่งกระจาน, อำเภอท่ายาง, อำเภอบ้านลาด, อำเภอเมือง และอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ลำน้ำก่ำ, ลำน้ำสงคราม, ลำน้ำอูน, แม่น้ำยม, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำแควน้อย, แม่น้ำนครนายก, แม่น้ำยัง ที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีระดับสูงกว่าระดับตลิ่งแล้ว

 

อ้างอิง: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post เตือน 19 จังหวัดเฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมาก ภาคเหนือหนักสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/19-provinces-torrential-rain/feed/ 0
สถานการณ์น้ำเพชรบุรีน่าห่วง เร่งลดผลกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดมเครื่องจักรระบายน้ำเต็มที่ https://thestandard.co/phetchaburi-flooding-crisis/ https://thestandard.co/phetchaburi-flooding-crisis/#respond Wed, 22 Aug 2018 04:14:56 +0000 https://thestandard.co/?p=115391

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่ […]

The post สถานการณ์น้ำเพชรบุรีน่าห่วง เร่งลดผลกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดมเครื่องจักรระบายน้ำเต็มที่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต เปิดเผยสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ วันที่ 22 ส.ค. 2561 ว่า ปัจจุบันเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีปริมาณน้ำ 773 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 109% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 1.37 ม. ลดลงจากเมื่อวาน 7 ซม. คิดเป็นปริมาณน้ำไหลเข้า 19.41 ล้าน ลบ.ม. ลดจากเมื่อวาน 6.2 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ปริมาณการระบายน้ำยังคงสูง แต่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ที่ 22.75 ล้าน ลบ.ม.

 

สำหรับสภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี เมื่อเวลา 5.00 น. บริเวณ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี สูงกว่าระดับตลิ่งที่สถานีวัดกรมชลประทาน 3 ซม. แนวโน้มลดลง ส่วนที่ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี สูงกว่าระดับตลิ่งที่สถานีวัดกรมชลประทาน 39 ซม. แต่ยังไม่ล้นคันกั้นน้ำชั่วคราวและถาวรของเทศบาลที่ได้เสริมจากระดับตลิ่งเดิมซึ่งมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 40-60 ซม. เพื่อป้องกันน้ำทะลักเข้าพื้นที่ชุมชนเมือง และเขตเศรษฐกิจ

 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระดับน้ำยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทุกหน่วยงานได้เร่งให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำเอ่อล้นในชุมชนหรือพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยสนับสนุนเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งเครื่องสูบน้ำ รถสูบน้ำท่วมขัง รถสูบส่งน้ำระยะไกล เรือยนต์ผลักดันน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถบรรทุกขนย้ายผู้ประสบภัย รวมถึงเรือพาย เรือท้องแบน เพื่อการสัญจรทางน้ำสนับสนุนในพื้นที่อย่างเต็มที่ด้วย

 

“ปัจจุบันยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก 14 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ภาคตะวันออก จันทบุรี ตราด ภาคใต้ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล โดย 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ ได้แก่ จ.น่าน 82.0 มม. เพชรบูรณ์ 76.6 มม. แม่ฮ่องสอน 63.2 มม. พิจิตร 41.8 มม. อุตรดิตถ์ 38.8 มม. พิษณุโลก 37.0 มม. ภาคกลาง นครสวรรค์ 57.4 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สกลนคร 57.4 มม. ภาคตะวันออก ตราด 53.0 มม. และภาคใต้ พังงา 56.5 มม.” นายสำเริง กล่าว

 

ดังนั้น จากสถานการณ์ฝนที่ยังตกในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทางศูนย์ฯ ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังนอกจากเขื่อนแก่งกระจาน โดยเน้นย้ำตามข้อสั่งการของ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในการบริหารจัดการน้ำที่ต้องเร่งพร่องน้ำให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อน โดยประสานจังหวัดและพื้นที่เตรียมการป้องกันและช่วยเหลือพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำให้มากที่สุด ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ปริมาณน้ำ 534 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำ 8,025 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 91% เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำ 194 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 87% เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปริมาณน้ำ 335 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งปัจจุบันมีแผนระบายน้ำลงแม่น้ำปราณบุรีเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 10.40 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าระดับน้ำในแม่น้ำปราณบุรีวันนี้ (22 ส.ค. 61) จะสูงขึ้นอีกไม่เกิน 20 ซม.

 

ภาพ: การบินตรวจน้ำของชลประทานเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 61

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post สถานการณ์น้ำเพชรบุรีน่าห่วง เร่งลดผลกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดมเครื่องจักรระบายน้ำเต็มที่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/phetchaburi-flooding-crisis/feed/ 0