สาเก – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 20 Mar 2025 13:36:57 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 คุยกับ Ryuji Ikoma เบื้องหลัง Sake Hundred และปรัชญา ‘เต็มร้อย’ https://thestandard.co/life/ryuji-ikoma-sake-hundred-interview Thu, 20 Mar 2025 12:34:47 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1054417 Ryuji Ikoma ผู้ก่อตั้ง Sake Hundred แบรนด์สาเกพรีเมียมจากโตเกียว ผู้นำเสนอปรัชญาความพึงพอใจ 100% และวิธีการผลิตที่ทำงานร่วมกับโรงบ่มชั้นนำทั่วญี่ปุ่น

ปีนี้เทรนด์การดื่มสาเกมาแรงในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นวงการ […]

The post คุยกับ Ryuji Ikoma เบื้องหลัง Sake Hundred และปรัชญา ‘เต็มร้อย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Ryuji Ikoma ผู้ก่อตั้ง Sake Hundred แบรนด์สาเกพรีเมียมจากโตเกียว ผู้นำเสนอปรัชญาความพึงพอใจ 100% และวิธีการผลิตที่ทำงานร่วมกับโรงบ่มชั้นนำทั่วญี่ปุ่น

ปีนี้เทรนด์การดื่มสาเกมาแรงในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นวงการ Fine Dining ที่เริ่มนำมาแพริ่งกับอาหาร หรือบาร์เครื่องดื่มที่เริ่มขายสาเกเพื่อการสังสรรค์ในโอกาสพิเศษ ท่ามกลางสาเกหลากหลายแบรนด์ที่เข้ามาทำตลาดบ้านเรา มีเจ้าหนึ่งที่ LIFE เห็นว่าน่าสนใจและมีกรรมวิธีการผลิตสาเกที่ไม่เหมือนใครนั่นคือ Sake Hundred สาเกพรีเมียมจากโตเกียวที่ดำเนินการโดยคนรุ่นใหม่ เริ่มแบรนด์เพียงไม่กี่ปี แถมยังไม่มีโรงบ่มสาเกเป็นของตัวเอง แต่สามารถครองใจนักดื่มได้ง่ายดาย จนโรงแรมและรีสอร์ตระดับอัลตราลักชัวรีเลือกเสิร์ฟให้แขกในมื้ออาหาร เมื่อเจอ Ryuji Ikoma ผู้ก่อตั้ง Sake Hundred ในอีเวนต์มื้อพิเศษที่ร่วมมือกับ Sakeseeker และ Wana Yook เราจึงชวนเขามาพูดคุยถึงราวความรักในสาเก วัฒนธรรมการกินดื่ม ไปจนถึงการสร้าง Sake Hundred ให้ถูกใจทั้งนักดื่มหน้าใหม่และนักดื่มสายดั้งเดิม

 

 

ความประทับใจของคุณกับสาเกครั้งแรกเป็นเช่นไร แล้วเมื่อไรที่คุณหันมาชอบสาเกแบบจริงจัง

 

Ryuji Ikoma: จุดเริ่มต้นของผมกับสาเกนั้นไม่ค่อยสวยงาม ผมเกิดที่โตเกียว ในครอบครัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสาเกเลย ซึ่งแตกต่างจากธรรมเนียมปฏิบัติที่เจ้าของแบรนด์สาเกมักเป็นลูกหลานสืบทอดกิจการ ผมดื่มสาเกครั้งแรกในงานเลี้ยงมหาวิทยาลัย นึกถึงวงเหล้าที่มีคนถูกทำโทษให้ดื่มสาเกเมื่อเล่นเกมแพ้หรือทำอะไรผิดพลาด ตอนนั้นผมดื่มจนแทบอาเจียน และรู้สึกไม่ดีต่อสาเกมากๆ 

 

ทว่าหลายปีต่อมา เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นทายาทร้านขายเหล้าสาเก เขาชวนผมไปทำธุรกิจด้วยกัน แต่ผมปฏิเสธเขาไปเพราะใจอคติต่อสาเกไปแล้ว แต่เขาก็ไม่ย่อท้อ เขานำสาเกขวดหนึ่งมาให้ลอง บอกว่าลองดื่มขวดนี้ก่อน สาเกขวดนั้นมีชื่อว่า ‘โคโระ’ จากคุมาโมโตะ พอผมได้จิบเข้าไปความรู้สึกที่มีต่อสาเกของผมก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากที่คิดว่าสาเกกลิ่นแรง รสชาติเฝื่อนบาดคอ แอลกอฮอล์แรง แต่โคโระกลับมีกลิ่นหอมละมุน รสชาตินุ่มนวล เป็นประสบการณ์ที่ผมไม่เคยลืมเลย หลังจากนั้นผมจึงตัดสินใจศึกษาเกี่ยวกับสาเกอย่างจริงจัง แล้วพบว่าโลกของสาเกนั้นยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เข้าไม่ถึงคนรุ่นใหม่ และกลายเป็นเรื่องของคนรุ่นเก่าเท่านั้น

 

นั่นคือเหตุผลและแรงบันดาลใจให้คุณก่อตั้ง Sake Times

 

Ryuji Ikoma: ใช่ครับ ผมก่อตั้ง Sake Times ขึ้นในปี 2014 ด้วยความเชื่อมั่นว่า สื่อจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเกให้กับผู้คนในวงกว้างทั้งผู้ที่คุ้นเคยอยู่แล้วและผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสสาเกมาก่อน ตอนทำ Sake Times ผมได้พบผู้คนมากมาย ได้เยี่ยมชมโรงบ่มสาเกนับร้อย ผมมองเห็นความทุ่มเท ความหลงใหล ความพิถีพิถันในการผลิตสาเกแต่ละหยด แต่อีกด้านหนึ่ง ผมก็ได้ทราบถึงปัญหาและความท้าทายที่ผู้ผลิตหลายรายกำลังเผชิญ ทั้งในเรื่องผลกำไรที่น้อยลง และจำนวนผู้บริโภคสาเกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง นั่นคือจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

 

Ryuji Ikoma ผู้ก่อตั้ง Sake Hundred แบรนด์สาเกพรีเมียมจากโตเกียว ผู้นำเสนอปรัชญาความพึงพอใจ 100% และวิธีการผลิตที่ทำงานร่วมกับโรงบ่มชั้นนำทั่วญี่ปุ่น

 

จาก Sake Times มาสู่ Sake Hundred และปรัชญาความพึงพอใจ 100% ได้อย่างไร

 

Ryuji Ikoma: วันหนึ่งผมเดินทางไปฮ่องกง และเห็นสาเกญี่ปุ่นขวดหนึ่งถูกจำหน่ายในราคาสูงถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผมประหลาดใจมากและตระหนักได้ว่าผู้คนยินดีจ่ายให้กับสินค้าคุณภาพและมอบประสบการณ์พิเศษ นั่นหมายความว่าสาเกที่ผลิตในญี่ปุ่นอาจถูกประเมินค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ผมเลยคิดว่าแทนที่เราจะกังวลเรื่องจำนวนผู้ดื่มลดลง ทำไมเราไม่ลองนำเสนอสาเกในตลาดระดับไฮเอนด์ที่ผู้บริโภคพร้อมจ่ายเพื่อดื่มด่ำกับประสบการณ์พิเศษ นั่นคือแนวคิดหลักที่นำไปสู่การก่อตั้ง Sake Hundred ในปี 2018 

 

ซึ่งชื่อ Sake Hundred นั่นสะท้อนถึงนโยบายหลักของบริษัทเราครับ ว่าเรามุ่งหมายทำสาเกที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ และการมีส่วนร่วมกับชุมชน เรามุ่งหวังที่จะมอบความพึงพอใจอย่างเต็มที่ 100% ในทุกประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจาก Sake Hundred

 

ประเทศญี่ปุ่นมีแบรนด์สาเกเยอะมาก แล้ว Sake Hundred แตกต่างจากสาเกแบรนด์อื่นอย่างไร

 

Ryuji Ikoma: โดยปกติแล้วผู้ผลิตสาเกในญี่ปุ่นมักมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าผู้ดื่มสาเกเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ Sake Hundred เราตั้งเป้าที่จะขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดพรีเมียม ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ มองหาสิ่งที่ดีที่สุดในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม หรือประสบการณ์ รวมถึงมีความสนใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่นเดียวกับการดื่มไวน์หรือแชมเปญ ตลาดนี้มีขนาดใหญ่ และเพื่อให้สามารถเข้าไปแข่งขันได้ ผลิตภัณฑ์ของเราจึงต้องมีคุณภาพสูงสุดและได้รับการยอมรับในฐานะสินค้าระดับสูง

 

 

คุณผลิตสาเกอย่างไร ในเมื่อไม่มีโรงบ่มสาเกเป็นของตนเอง

 

Ryuji Ikoma: เราไม่มีโรงบ่มเป็นของตัวเอง แต่ผมเลือกร่วมงานกับโรงบ่มที่มีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์กว่า 8 แห่งในปัจจุบัน เหตุผลหลักคือต้องการสนับสนุนอุตสาหกรรมสาเกในวงกว้าง หาก Sake Hundred มีโรงบ่มของตัวเอง การเติบโตก็จะจำกัดอยู่แค่เรา แต่ถ้าทำงานร่วมกับโรงบ่มท้องถิ่น เราสามารถแบ่งปันคุณค่า และผลกำไรให้กับโรงบ่มเก่าแก่เหล่านั้นได้ ซึ่งส่งผลดีต่อการจ้างงานทั้งระบบ ทั้งในส่วนของผู้ผลิตข้าว และเกษตรกรท้องถิ่น นอกจากนี้ การร่วมมือกับโรงบ่มที่ต่างกันยังช่วยให้เราสามารถนำเสนอสาเกที่มีรสชาติและเอกลักษณ์ที่หลากหลายภายใต้แบรนด์ Sake Hundred เปรียบเสมือนร้านอาหารที่มีเมนูให้เลือกมากมาย 

 

แล้วคุณมีเกณฑ์ในการเลือกโรงบ่มอย่างไร

 

Ryuji Ikoma: การผลิตสาเกของ Sake Hundred จะเริ่มต้นที่สูตรก่อน เราคิดค้นสูตรสาเกและคาแรกเตอร์ที่ต้องการ จากนั้นจึงเลือกโรงบ่มที่มีความเชี่ยวชาญและลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมกับสูตรนั้นๆ เหนือสิ่งใด สิ่งสำคัญที่สุดคือความไว้วางใจและความสัมพันธ์อันดี ซึ่งผมได้สร้างขึ้นจากการทำ Sake Times เป็นเวลาหลายปี ทำให้ผมรู้จักและพูดคุยกับผู้ผลิตหลายร้อยรายได้โดยตรง

 

ตลาดสาเกพรีเมียมในประเทศไทยยังค่อนข้างใหม่ Sake Hundred มีกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดและแนะนำสาเกให้กับผู้บริโภคชาวไทยอย่างไรบ้าง

 

Ryuji Ikoma: ผมรู้สึกประทับใจกับคนไทยมากครับ พวกเขาเปิดใจและชื่นชอบการรับประทานอาหารที่หลากหลาย และไม่กลัวที่จะลองจับคู่สาเกกับอาหารไทยรสจัดจ้าน นั่นเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเรา แทนที่จะนำเสนอสาเกในฐานะเครื่องดื่มดั้งเดิมของญี่ปุ่น เราต้องการที่จะผสาน Sake Hundred เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในโอกาสพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวันเกิด การเฉลิมฉลอง หรือแม้กระทั่งงานแต่งงาน ผมมองว่าการสร้างการรับรู้และความคุ้นเคยผ่านประสบการณ์เหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญของเราในการเติบโตในตลาดไทย

 

 

แล้วคุณคิดว่า Sake Hundred จะเข้ากันได้ดีกับร้านอาหาร Fine Dining ในประเทศไทยหรือเปล่า

 

Ryuji Ikoma: ผมเชื่อมั่นว่าคุณภาพและความหลากหลายของสาเกที่เรามีจะสามารถเข้าสู่ตลาด Fine Dining ในประเทศไทยได้อย่างแน่นอน แต่เราก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและทำความเข้าใจรสนิยมของคนไทย เราทำงานร่วมกับ Sakeseeker ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของเราในไทย เรามีสิ่งที่เหมือนกันคือการให้ความสำคัญกับเรื่องราวและปรัชญาเบื้องหลังสาเกแต่ละขวด ไม่ใช่เทคนิคการบ่มเท่านั้น และเรายังต้องการ Feedback มากมาย เพื่อไปปรับปรุงและนำเสนอสาเกที่เหมาะสมที่สุด

 

สำหรับผู้ที่ยังใหม่ต่อโลกของสาเก คุณมีคำแนะนำอย่างไรในการเริ่มต้น และแนะนำสาเกตัวไหนของ Sake Hundred เป็นพิเศษ

 

Ryuji Ikoma: สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับโลกของสาเก ผมอยากจะเชิญชวนให้ลองเปิดใจสัมผัสประสบการณ์รสชาติใหม่ๆ ที่อาจไม่เคยลิ้มลองมาก่อน สาเกเป็นเครื่องดื่มที่มีเอกลักษณ์และสามารถยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารให้พิเศษได้ ด้วยปริมาณอูมามิที่สูงกว่าไวน์ ทำให้สามารถจับคู่กับอาหารรสเลิศได้เป็นอย่างดี

 

สำหรับผู้เริ่มต้น ผมขอแนะนำ Shinsei (真星) หนึ่งในสาเกสปาร์กลิงของเรา ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลองสิ่งใหม่ๆ และด้วยสภาพอากาศที่ร้อนของประเทศไทย สาเกสปาร์กลิงที่เสิร์ฟเย็นจะมอบความสดชื่นเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ผมเชื่อว่าผู้ที่ยังไม่เคยดื่มสาเกมาก่อนอาจจะคุ้นเคยกับไวน์มากกว่า และ Shinsei ก็มีทั้งความซับซ้อนและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์คล้ายคลึงกับไวน์ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ จริงๆ แล้ว Hakko ซึ่งเป็นสาเกสปาร์กลิงอีกตัวของเราก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน แต่ Shinsei อาจจะเข้าถึงได้ง่ายกว่าสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น

 

Ryuji Ikoma ผู้ก่อตั้ง Sake Hundred แบรนด์สาเกพรีเมียมจากโตเกียว ผู้นำเสนอปรัชญาความพึงพอใจ 100% และวิธีการผลิตที่ทำงานร่วมกับโรงบ่มชั้นนำทั่วญี่ปุ่น

 

คำถามสุดท้าย คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารไทยและตลาดไทยโดยรวม

 

Ryuji Ikoma: ผมประทับใจคนไทยมากครับ อย่างแรกเลยคือพวกเขาชื่นชอบการรับประทานอาหาร และเปิดใจให้กับอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแกง ซูชิ หรืออาหารอื่นๆ พวกเขายินดีที่จะลอง และที่สำคัญคือ พวกเขาไม่กลัวที่จะจับคู่สาเกกับอาหารไทยรสจัดจ้าน การเปิดรับความหลากหลายนี้เป็นสิ่งที่น่าประทับใจมาก เพราะในญี่ปุ่นอาจจะมีความคิดที่ค่อนข้างตายตัวเกี่ยวกับการจับคู่อาหารกับสาเกมากกว่า การที่คนไทยสนุกกับการรับประทานอาหารที่หลากหลายในแต่ละวันเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมากครับ ผมรักประเทศไทยครับ

 

สำหรับใครที่สนใจ Sake Hundred สามารถหาซื้อในไทยได้ผ่าน Sakeseeker (LINE OA @sakeseeker) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://sakeseeker.com, https://jp.sake100.com 

 

ภาพ: พลอยจันทร์ สุขคง, อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

The post คุยกับ Ryuji Ikoma เบื้องหลัง Sake Hundred และปรัชญา ‘เต็มร้อย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sucette Bar สาเกและไวน์บาร์เล็กๆ ย่านหัวลำโพง ที่ซ่อนแบรนด์ผ้าซิ่นไว้ชั้นบน https://thestandard.co/life/sucette-bar-hualamphong Mon, 17 Mar 2025 00:00:42 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1052866 sucette-bar-hualamphong

นี่คือบาร์น้องใหม่ย่านหัวลำโพงที่บรรยากาศสุดชิล น่าแวะม […]

The post Sucette Bar สาเกและไวน์บาร์เล็กๆ ย่านหัวลำโพง ที่ซ่อนแบรนด์ผ้าซิ่นไว้ชั้นบน appeared first on THE STANDARD.

]]>
sucette-bar-hualamphong

นี่คือบาร์น้องใหม่ย่านหัวลำโพงที่บรรยากาศสุดชิล น่าแวะมานั่งพัก หากวันไหนใครมาเดินเล่นในย่านนี้และอยากหาพื้นที่สงบๆ ไม่วุ่นวายเพื่อปล่อยใจไปกับเครื่องดื่มดีๆ อีกทั้งชั้นบนของ Sucette Bar ยังมีแบรนด์ผ้าซิ่นฝีมือคนไทยให้ขึ้นไปชมหรือซื้อได้เลยอีกด้วย และแบรนด์ที่ว่าก็คือที่มาของบาร์แห่งนี้

 

Sucette Bar

Sucette Bar

Sucette Bar

 

Sucette เป็นแบรนด์ผ้าซิ่นสัญชาติไทยที่มาเปิดแฟลกชิปแห่งแรกอยู่ในตึกริมถนนไมตรีจิตต์ ซึ่งในอดีตตึกแห่งนี้เคยเป็นร้านขายถั่ว เมื่อแบรนด์เข้ามาเป็นผู้อยู่อาศัยใหม่จึงตั้งใจเก็บดีเทลหลายๆ อย่างของตึกเอาไว้ และแทนที่จะเปลี่ยนให้พื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นร้านเสื้อผ้า พวกเขาตัดสินใจเปิดพื้นที่ชั้นล่างให้กลายเป็นบาร์นั่งดื่มที่เน้นเสิร์ฟสาเก ไวน์ และค็อกเทล พร้อมกับเมนูของกินเล่นอีกนิดหน่อยให้พอสนุก 

สำหรับเมนูค็อกเทลซิกเนเจอร์จะใส่วัตถุดิบโลคัลลงไปผสมด้วย อย่างเช่น Sin-deralla (370 บาท) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากมะม่วงจิ้มพริกเกลือ หรือ La Sucette (450 บาท) ค็อกเทลสำหรับคนชอบดื่มจิน ซึ่งใช้จินแบรนด์ไทย ส่วนคลาสสิกค็อกเทลก็มีเช่นกัน ราคาเริ่มต้น 250-350 บาท

 

Sucette Bar

Sucette Bar

Sucette Bar

 

ช่วงกลางวันที่นี่จะเปิดเป็นคาเฟ่ให้ทุกคนแวะมานั่งจิบกาแฟเบาๆ ด้วย หรือบางเดือนอาจกลายเป็นพื้นที่สำหรับเชฟรับเชิญที่จะมา Pop-up เสิร์ฟอาหารมื้อพิเศษให้ชิมคู่กับไวน์

 

Sucette Bar เปิดให้บริการวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 11.30-01.00 น. (ปิดวันจันทร์) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.instagram.com/sucettebar/

The post Sucette Bar สาเกและไวน์บาร์เล็กๆ ย่านหัวลำโพง ที่ซ่อนแบรนด์ผ้าซิ่นไว้ชั้นบน appeared first on THE STANDARD.

]]>
CALENDAR: กิจกรรมน่าสนใจสัปดาห์นี้ (27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567) https://thestandard.co/life/calendar-27-3-december-2024 Wed, 27 Nov 2024 07:34:48 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1013418

เริ่มก้าวเข้าสู่เดือนสุดท้ายที่จะเต็มไปด้วยบรรยากาศของเ […]

The post CALENDAR: กิจกรรมน่าสนใจสัปดาห์นี้ (27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567) appeared first on THE STANDARD.

]]>

เริ่มก้าวเข้าสู่เดือนสุดท้ายที่จะเต็มไปด้วยบรรยากาศของเทศกาลส่งท้ายปี ถ้าใครอยากเริ่มหากิจกรรมสนุกๆ ทำ เผื่อว่าเดือนหน้าจะได้มีคอนเทนต์ส่งท้ายปีอัปโซเชียลอวดเพื่อนตลอดทั้งเดือน รีบมาดูกันเลยดีกว่าว่าสัปดาห์นี้จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง

 

เรารวมมาให้ตั้งแต่นิทรรศการของศิลปินคู่รักที่คนมีคู่ต้องจับมือไปกันให้ได้ อีเวนต์จิบสาเกที่ยังไม่เคยมีใครได้ชิมมาก่อน หรือมื้อเย็นสุดพิเศษที่จะเต็มไปด้วยความสนุก ทั้งเพลงจากแผ่นไวนิล ดีเจ และพิซซ่าอร่อยๆ ที่ต้องชวนเพื่อนไปด้วยกันเยอะๆ

 

เอาเป็นว่าถ้าใครพร้อมแล้ว รีบชวนเพื่อน ชวนคนใกล้ตัว ออกไปเดต ใช้เวลาเข้าสู่เดือนใหม่ด้วยกันได้เลย

 


 

 

Chill at The PARQ 2025

 

เตรียมชวนกันไปเดินเล่นในเทศกาล Chill at The PARQ 2025 เทศกาลกิน ดื่ม ช้อป ที่เต็มไปด้วยร้านค้าและกิจกรรมให้เพื่อนๆ มาสนุกกันได้จนถึงวันสุดท้ายของปี โดยในปีนี้ The PARQ มาพร้อมธีม Stars of Joy เปลี่ยนพื้นที่ให้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม ชวนสร้างโมเมนต์ดีๆ ไม่ว่าคุณจะมากับเพื่อน ครอบครัว คนรัก หรือสัตว์เลี้ยง

 

ภายในงานมีทั้งจุดถ่ายรูปกับต้นคริสต์มาส, Winter Market ที่เต็มไปด้วยอาหาร เครื่องดื่ม ขนม และของใช้สัตว์เลี้ยง, กิจกรรม Gift to Give ให้ทุกคนส่งต่อของที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำไปมอบให้ชุมชนคลองเตย, Workshop ที่สามารถเข้าร่วมได้ฟรีๆ เพียงใช้จ่ายในโซนขายสินค้า, การบรรเลงเพลง Christmas Carol โดยคณะประสานเสียง Suanplu Chorus และวง Layback จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

สุดท้ายพื้นที่นั่งชิลพร้อมดนตรีสด Music in the Park ให้ทุกคนมานั่งแฮงเอาต์ ฟังเพลงดีๆ จากศิลปินดัง

 

When: วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567

Where: เดอะ ปาร์ค (MRT ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทางออก 2)

More Info: The PARQ

 


 

 

SAKE TASTING WORKSHOP

 

คนรักสาเกต้องไม่พลาดเวิร์กช็อปนี้ กับประสบการณ์เทสสาเกฉลากใหม่จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำเข้ามาเปิดตัวครั้งแรกในงานเลย นำโดยทีมสาเกซอมเมอลิเยร์จาก Sake Seeker พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มคู่อาหารว่างจาก SIWILAI CITY CLUB

 

งานนี้แนะนำให้สำรองที่นั่งล่วงหน้า โดยบัตรเข้าร่วมงานราคา 2,500 บาทต่อคน

 

When: 30 พฤศจิกายน 2567

Where: ชั้น 5 Central Embassy​

More Info: SIWILAI CITY CLUB

 


 

 

Unboxing The Corner House

 

เตรียมพบกับกิจกรรมพิเศษที่จะเกิดขึ้นเพียง 2 วัน กับกิจกรรมเปิดตัวและฉลองวันครบรอบ 1 ปีของ The Corner House ภายในงานจึงเต็มไปด้วยกิจกรรมมากมายที่ทุกคนสามารถร่วมสนุกได้เพื่อลุ้นรับของที่ระลึก Limited Edition อาทิ การสะสมแสตมป์ภายในพื้นที่จัดงาน

 

When: วันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567

Where: อาคารชัยพัฒนสิน

More Info: The Corner House Bangkok

 


 

 

Sundae Kids: 10 Years of Lost and Found

 

นิทรรศการครบรอบสิบปีของ Sundae Kids ศิลปินคู่รักเจ้าของลายเส้นที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์อันแสนน่ารักและเรียบง่ายระหว่างคนสองคน จนสร้างความรู้สึกซึ้งกินใจให้กับผู้ชมมากมายทั่วโลก สำหรับงานจัดแสดงในครั้งนี้ ศิลปินได้เปรียบเทียบชีวิตกับถนนสายหนึ่งที่มีทางแยกมากมาย ซึ่งไม่ว่าเราจะเลือกเส้นทางไหนก็อาจไม่สมหวังไปหมดทุกอย่าง

 

งานเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 – 26 มกราคม 2568 โดยบัตรเข้าชมปกติราคา 100 บาทต่อคน, หากมาเป็นคู่ Couple Ticket ราคา 180 บาท (บัตรเข้าชม 1 ใบ สำหรับผู้เข้าชม 2 คน) และ Special Package ราคา 350 บาท (บัตรเข้าชม 1 ใบ สำหรับผู้เข้าชม 1 คน พร้อมโปสการ์ดพิเศษ 5 ใบที่ไม่มีวางจำหน่ายในนิทรรศการ)

 

สามารถซื้อบัตรได้ที่ https://linktr.ee/10yearsoflostandfound

 

When: 28 พฤศจิกายน 2567 – 26 มกราคม 2568

Where: ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก 

More Info: River City Bangkok

 


 

 

Backyard Boogie with Salon Kiku

 

วันหยุดนี้ใครอยากใช้เวลาสนุกๆ ไปกับอาหารอร่อยๆ เพลงเพราะๆ ต้องลองแวะมาที่งานนี้ ‘Backyard Boogie with Salon Kiku’ ที่จะเต็มไปด้วยบรรยากาศเสียงดนตรีไวนิล ดีเจ เครื่องดื่ม และอาหารมากมายจาก Chim Chim เช่น พิซซ่า สลัด และของหวาน

 

งานนี้ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ฟรี ภายในงานมีร้านแผ่นไวนิลมาป๊อปอัพให้ซื้อแผ่นที่รักกลับไปได้ด้วย รวมถึงมีเกมสนุกๆ ให้ทุกคนเอ็นจอยร่วมกันตลอดวัน

 

When: วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 เวลา 15.00-21.00 น.

Where: โรงแรม Siam@Siam Design Hotel Bangkok (BTS สนามกีฬาแห่งชาติ)

More Info: Chim Chim Bangkok

 


 

 

Bangkok Through Poster 2024 ‘Thailand Postlitical Fiction: Inspired by True Stories’

 

เทศกาลโปสเตอร์ภาพยนตร์ที่อิงจากเหตุการณ์ทางการเมืองไทย ‘Thailand Postlitical Fiction: Inspired by True Stories’ ในปีนี้งานชวนคนรักภาพยนตร์ไทยมาพิจารณา ตั้งคำถาม และหาคำตอบผ่านนิทรรศการโปสเตอร์ภาพยนตร์ไทยไปพร้อมๆ กัน โดยมาพร้อมธีมโปสเตอร์ภาพยนตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองในภาคประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

 

นอกจากนี้เทศกาลยังมีการฉายภาพยนตร์ ด้วยความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์อย่าง BERNG NANG CLUB และ Doc Club & Pub. อีกด้วย

 

งานจัดแสดงที่ KINJAI CONTEMPORARY ใกล้ MRT สิรินธร โดยเปิดให้เข้าชมฟรี

 

When: วันนี้ – 22 ธันวาคม 2567

Where: ถนนราชวิถี บางพลัด (MRT สิรินธร)

More Info: BANGKOK THROUGH POSTER

The post CALENDAR: กิจกรรมน่าสนใจสัปดาห์นี้ (27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567) appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sake Week Thailand 2024 เทศกาลสาเกญี่ปุ่น พร้อมแข่งสาโทไทย 6-7 ก.ค. นี้ ที่ QSNCC https://thestandard.co/life/sake-week-thailand-2024 Sun, 16 Jun 2024 08:00:59 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=945717 เทศกาลสาเกญี่ปุ่น

ครั้งแรกของเทศกาลสาเกพรีเมียม Sake Week Thailand 2024 ท […]

The post Sake Week Thailand 2024 เทศกาลสาเกญี่ปุ่น พร้อมแข่งสาโทไทย 6-7 ก.ค. นี้ ที่ QSNCC appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทศกาลสาเกญี่ปุ่น

ครั้งแรกของเทศกาลสาเกพรีเมียม Sake Week Thailand 2024 ที่จะมีสาเกให้เราทำความรู้จักกว่า 40 ชื่อ พร้อมกับการจัดการแข่งขันสาโทไทย! โดยมีผู้ตัดสินเป็นนักดื่มผู้เชี่ยวชาญจากทั้งประเทศไทยและญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นงานนี้ใครเป็นคอน้ำข้าวต้องรีบชวนเพื่อนไปแล้ว เนื่องจากงานจัดเพียง 2 วันเท่านั้น

 

Sake Week Thailand 2024 สนับสนุนโดยสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เพื่อให้ทุกคนมาเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างสาโทและสาเก ในเทศกาลนี้จึงมีสาเกญี่ปุ่นมาให้ทุกคนเทสติ้งกว่า 40 ชื่อ พร้อมมื้อพิเศษที่มาพร้อมสาเกและร้านอาหารชื่อดังที่จะมาเปิดบูธในงานนี้ อาทิ Côte by Mauro Colagreco, Den Kushi Flori, Fatboy Izakaya, Inddee, Gaa, Ginza Sushi Ichi, NUSARA, POTONG, Cross, Elements และ Guss Damn Good

 

เมื่อซื้อบัตรเข้างานทุกคนจะได้รับแก้วสำหรับดื่มสาเก 1 ใบ, สายรัดข้อมือ (NFC Wristband) และเหรียญดิจิทัล 11 เหรียญ สำหรับใช้ซื้ออาหารและเครื่องดื่มในงาน

 

ส่วนการแข่งขันสาโทจะเกิดขึ้นทั้ง 2 วัน มีรางวัลให้ 3 ประเภท คือสาโทดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Traditional Sato), สาโทสมัยใหม่ยอดเยี่ยม (Best Innovative Sato) และสาโทยอดนิยม (People Choice’s Award)

 

Sake Week Thailand 2024 จัดวันที่ 6-7 กรกฎาคมนี้ เวลา 10.00-20.00 น. บัตรราคา 990 บาท (Early Bird 899 บาท) สอบถามหรือซื้อบัตรได้ที่ Sake Week Thailand

The post Sake Week Thailand 2024 เทศกาลสาเกญี่ปุ่น พร้อมแข่งสาโทไทย 6-7 ก.ค. นี้ ที่ QSNCC appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดประสบการณ์สาเกแพริ่งที่เล่นกับอุณหภูมิ ณ ห้องอาหารญี่ปุ่น Kinu by Takagi https://thestandard.co/life/japanese-restaurant-kinu-by-takagi Sun, 28 Apr 2024 02:00:03 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=927493

เรากลับมาห้องอาหารญี่ปุ่น ‘Kinu by Takagi’ รอบนี้ก็เพื่ […]

The post เปิดประสบการณ์สาเกแพริ่งที่เล่นกับอุณหภูมิ ณ ห้องอาหารญี่ปุ่น Kinu by Takagi appeared first on THE STANDARD.

]]>

เรากลับมาห้องอาหารญี่ปุ่น ‘Kinu by Takagi’ รอบนี้ก็เพื่อต้อนรับเชฟคนใหม่ พร้อมชิมเมนูใหม่และสาเกแพริ่งที่ไม่ธรรมดา เนื่องจาก ‘เชฟฮิโรชิ ชิมาดะ’ ที่เพิ่งมารับหน้าที่นำครัวแห่งนี้เป็นเชฟชาวญี่ปุ่นผู้มีความรู้เรื่องสาเกด้วย เขาจึงอยากจับคู่กับอาหารและเสิร์ฟให้ทุกคนลองในอุณหภูมิที่ต่างกัน

 

 

เมนูที่เรามาชิมวันนี้เป็นคอร์สปลายฤดูหนาว ต้นฤดูใบไม้ผลิ จึงมีกลิ่นอายฤดูหนาวอยู่เบาๆ โดยอาหารมีทั้งหมด 10 คอร์ส เมนูที่เราชอบก็อย่างเช่นของเรียกน้ำย่อย Sakizuke เป็นซอสมันฝรั่งท็อปด้วยกุ้งหวานและคาเวียร์ รสชาติละมุนๆ หวานมัน

 

Wanmori ซุปปลาหางเหลืองที่มีกลิ่นอายฤดูหนาว เชฟทำเสมือนมีละอองหิมะลอยอยู่ในน้ำซุป หลังจากเสิร์ฟซาชิมิประจำวันก็เข้าสู่เมนู Hassun จานรวมอาหารคำเล็กๆ ที่เป็นอีกไฮไลต์ของ Kinu by Takagi โดยซีซันนี้มีไก่ราดซอสพอนสึยูซุ, ซูชิทูน่ากับผักดอง, เห็ดชิตาเกะ, เทมปุระหน่อไม้ท็อปด้วยคาเวียร์ และฮอกไกโดสแกลลอปกับไข่แดง

 

 

มาถึงไฮไลต์ของจริง Yakimono เมนูของย่าง เชฟนำเนื้อวากิวสันนอกไปย่างกับซอสโคจิและมิโซะแดง เสิร์ฟคู่กับซอสมิโซะแดงที่ชูรสเนื้อนุ่มๆ ให้ดีขึ้นไปอีก รับรองว่าสายเนื้อมาเจอจานนี้ต้องตาลุกวาว

 

ต่อด้วยเมนูข้าวตามธรรมเนียมญี่ปุ่น เชฟเสิร์ฟข้าวคลุกเห็ดไมตาเกะย่างคู่กับคาเวียร์และซุปมิโซะแดง แน่นอนว่าผักดองที่เป็นเครื่องเคียงก็ยอดเยี่ยมเช่นเคย

 

 

ส่วนของหวานเป็นเมนูพุดดิ้ง Strawberry Blancmange ราดด้วยแชมเปญ เราว่าแปลกใหม่ดี ก่อนปิดท้ายด้วยไดฟูกุโมจิทำสดกับมัทฉะชงสดเช่นเดิม

 

คอร์สเมนูปลายฤดูหนาว ต้นฤดูใบไม้ผลิ จะเสิร์ฟถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้เท่านั้น ในราคา 8,000++ บาทต่อคน โดยสาเกแพริ่งราคา 2,500++ บาทต่อคน

 

Kinu by Takagi เปิดให้บริการวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งได้ที่ Mandarin Oriental, Bangkok

The post เปิดประสบการณ์สาเกแพริ่งที่เล่นกับอุณหภูมิ ณ ห้องอาหารญี่ปุ่น Kinu by Takagi appeared first on THE STANDARD.

]]>
Muan Jazz Bar ไวน์และสาเกบาร์ม่วนๆ ในไวบ์สุดเฟรนด์ลีย่านสะพานควาย https://thestandard.co/life/muan-jazz-bar Tue, 24 Oct 2023 05:14:33 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=857795 Muan Jazz Bar

ไม่แปลกถ้าหลายคนรู้สึกคุ้นๆ เพราะนี่คือบาร์ Wongar เดิม […]

The post Muan Jazz Bar ไวน์และสาเกบาร์ม่วนๆ ในไวบ์สุดเฟรนด์ลีย่านสะพานควาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Muan Jazz Bar

ไม่แปลกถ้าหลายคนรู้สึกคุ้นๆ เพราะนี่คือบาร์ Wongar เดิมที่รีแบรนด์ตัวเองใหม่ กลายเป็นบาร์ไวน์และสาเกที่จริงจังกับเพลงแจ๊ส ทุกสุดสัปดาห์จึงมีดนตรีสดมาเล่นให้ฟังแบบอบอุ่น สนุกสนาน ส่วนแฟนคลับไวบ์เดิมก็ไม่ต้องห่วง เพราะเขายังเก็บของโปรดทุกคนเอาไว้ อย่างเช่นค็อกเทลที่ยังอยู่ครบทุกเมนู

 

Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar

 

The Vibe

 

Muan Jazz Bar อยู่บนตึกจอดรถชั้น 8 ในโครงการ The Hub พหลฯ-อารีย์ หากขึ้นมาแล้วเจอสำนักงานออฟฟิศก็ไม่ต้องตกใจว่ามาผิดชั้น เพราะเจ้าของบาร์ก็คือทีมพนักงานออฟฟิศประตูข้างๆ ที่อยากมีร้านนั่งดื่มสนุกๆ ไว้ใกล้มือ

 

และถ้าใครจำบรรยากาศเดิมได้ เราว่าตอนนี้บรรยากาศใหม่ก็ดูเฟรนด์ลีในอีกคาแรกเตอร์หนึ่ง ให้ลองนึกถึงห้องนั่งเล่นที่มีต้นไม้วางไว้มุมหนึ่ง แต่ก็มีขวดสาเกลายสวยวางไว้อีกมุม พร้อมกับเคาน์เตอร์บาร์ที่พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารให้เราทุกเมื่อ ส่วนพื้นที่ที่เหลือก็คือโต๊ะเก้าอี้สำหรับนัดเพื่อนมานั่งม่วนๆ จอยๆ จิบสาเกดื่มไวน์ ฟังเพลงแจ๊สด้วยกันหลังเลิกงาน

 

Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar

 

The Taste

 

สิ่งที่น่าสนใจทุกครั้งเมื่อแวะมาบาร์นี้ก็คือเครื่องดื่ม แม้จะเปลี่ยนคอนเซปต์ใหม่ แต่บาร์ก็มีอะไรๆ ให้น่าจิบและน่าค้นหาเช่นเดิม โดย Muan Jazz Bar จะเน้นทั้งเนเชอรัลไวน์ สาเก อูเมะชู ยูซุ และวิสกี้ที่มีทั้งสัญชาติไทยและญี่ปุ่น หรือใครเป็นสายเบียร์ก็มีเช่นกัน โดยแต่ละชนิดจะเน้นเสิร์ฟทั้งขวด ราคาเริ่มต้นประมาณ 1,000-3,000 บาท

 

แต่หากเป็นค็อกเทลที่หลายคนติดใจ ร้านยังเก็บไว้ให้ครบทุกเมนู อย่างเช่น Pandance (360 บาท) ค็อกเทลเบสจิน อูเมะชู และใบเตย หรือ Dr. Nutty (360 บาท) วิสกี้ผสมมิโซะ สาหร่าย และมีถั่วตัดมาให้กินแกล้มค็อกเทลรสเข้มๆ นุ่มๆ

 

เมนูอาหารเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ดูกินอิ่มจริงจังมากขึ้น ถ้าแวะมาหิวๆ ก็มีอะไรให้สั่งรองท้อง โดยส่วนใหญ่เป็นเมนูคอมฟอร์ตฟู้ด ไม่จำกัดขอบเขต มีทั้งอาหารไทยและต่างชาติ เน้นกินแกล้ม กินสนุก สั่งมาแชร์กันได้ อย่างเช่น Crispy Chicken (100 บาท) ของกินเล่นง่ายๆ เป็นคอไก่ทอดกรอบ Pesto Squid (280 บาท) พาสต้าเพสโต้ปลาหมึก Fish & Chips (350 บาท) เมนูยอดฮิตที่ปลากรอบสีเหลืองสวย กินแล้วติดใจไม่แพ้ร้านดังๆ

 

Muan Jazz Bar

 

Steak Jim-Jaew (380 บาท) เนื้อย่างกับน้ำจิ้มแจ่วรสเด็ด แนะนำให้สั่งมากินคู่กับไวน์แดง Spicy Glass Noodle Salad (200 บาท) ยำวุ้นเส้นกุ้งหมึกหมูสับ จานนี้ก็รสชาติดีไม่แพ้ร้านทั่วไป กินคู่กับค็อกเทลก็ได้อีกอารมณ์

 

Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar

 

Good for

 

แม้จะเปลี่ยนมาเป็น Muan Jazz Bar แต่ที่นี่ก็ยังคงเป็น Neighborhood Bar ที่ดีประจำย่านสะพานควายเหมือนเดิม เราชอบทั้งบรรยากาศ วิวตอนกลางคืน และเครื่องดื่มที่ร้านบอกว่าจะเน้นสุราท้องถิ่นมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น หากวันไหนใครแวะมาก็ลองถามดู เผื่อร้านมีของใหม่ๆ ให้ลองจิบ

 

Muan Jazz Bar Muan Jazz Bar

 

Muan Jazz Bar

Address: ชั้น 8 โครงการ The Hub พหลฯ-อารีย์

Open: วันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 18.00-00.00 น.

Contact: @muan_jazz_bar

Budget: 1,000-2,000 บาท

Map: 

 

 

The post Muan Jazz Bar ไวน์และสาเกบาร์ม่วนๆ ในไวบ์สุดเฟรนด์ลีย่านสะพานควาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
การแสดงประวัติศาสตร์การเมืองผ่านประวัติชีวิต ‘ชาญวิทย์และถ้วยสาเก’ โยงใยเส้นทางชีวิตและผู้คน https://thestandard.co/an-imperial-sake-cup-and-i-a-lecture-performance-by-charnvit-kasetsiri/ Sun, 18 Jun 2023 02:52:27 +0000 https://thestandard.co/?p=804926 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีมหา […]

The post การแสดงประวัติศาสตร์การเมืองผ่านประวัติชีวิต ‘ชาญวิทย์และถ้วยสาเก’ โยงใยเส้นทางชีวิตและผู้คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายประกอบการแสดง เรื่อง An Imperial Sake Cup and I: A Lecture Performance by Charnvit Kasetsiri เล่าประวัติชีวิตผ่านถ้วยเหล้าสาเกที่ได้รับนับตั้งแต่ปี 2507/1964 โดยได้รับมอบในโอกาสการเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการของอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมารญี่ปุ่น และมิชิโกะ พระชายา 

 

การแสดงนี้ไม่ได้เล่าถึงถ้วยสาเกกับตัวชาญวิทย์เท่านั้น แต่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ใหญ่ๆ ทั้งระดับโลก อาทิ สงครามโลกครั้งที่ 2 และการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางการเมืองในระดับประเทศของไทย เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516, เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และช่วงที่ชาญวิทย์ลี้ภัยไปทำงานวิชาการที่ญี่ปุ่นหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 

 

ผ่านวันเวลาอันยาวนาน ชาญวิทย์ได้กลับไปญี่ปุ่นอีกครั้งพร้อมถ้วยสาเกใบเดิม และการสะสมถ้วยสาเกในญี่ปุ่นใบใหม่แต่อายุเก่าแก่กว่าใบเดิม ที่มาเพิ่มเติมเป็นเพื่อนกับถ้วยใบแรก

 

การบรรยายผสมผสานกับงานวิดีโอสารคดีและกลวิธีแบบละครเวที ภายใต้การกำกับร่วมของ ธีระวัฒน์ มุลวิไล กลุ่มละครบีฟลอร์ (B-Floor) และ นนทวัฒน์ นําเบญจพล ผู้กำกับภาพยนตร์ 

 

มีการแสดงรอบแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้ชมการแสดงประกอบด้วย สื่อมวลชน, นักวิชาการ, ครอบครัวบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์คณะราษฎร ไม่ว่าจะเป็น สุดา-ดุษฎี พนมยงค์ บุตรสาวของ ปรีดี พนมยงค์, ประดาป พิบูลสงคราม หลานปู่ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม, พนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว. จากการเลือกตั้ง, ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่, ปานบัว บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน), วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีน และกรรมการประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (PBIC) และ กฤษฎางค์ นุตจรัส แกนนำนักศึกษายุค 6 ตุลา 2519 มาชมการแสดงพร้อมครอบครัว 

 

ธนาธรยอมรับ ได้รับอิทธิพลจากงานของชาญวิทย์

 

ธนาธรให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD หลังชม A Lecture Performance การแสดงเรื่องถ้วยสาเกของชาญวิทย์ ครั้งนี้ว่า ดูแล้วประทับใจมาก 

 

“จริงๆ แล้วผมเรียนในสายวิทยาศาสตร์ คือเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้นจะไม่ได้เป็นลูกศิษย์โดยตรงของอาจารย์ชาญวิทย์ แต่ความคิดและประสบการณ์ของอาจารย์ชาญวิทย์ที่ถ่ายทอดออกมาในการบรรยายต่างๆ ในรูปแบบหนังสือก็เป็นผู้ประศาสน์วิชาให้ผม ดังนั้นความเข้าใจทางการเมืองและความเข้าใจประวัติศาสตร์ประเทศไทยก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าได้รับอิทธิพลจากงานของอาจารย์ชาญวิทย์เป็นอย่างมาก 

 

“พออาจารย์จัดงานนี้จึงตั้งใจมาดู เพื่อให้เข้าใจประสบการณ์ของอาจารย์ ซึ่งวันนี้อาจารย์อายุ 80 กว่าปี ผมอยากจะเข้าใจว่าคนที่ผ่านโลกมาขนาดนี้แล้วได้เห็นอะไรบ้าง ผมคิดว่าสิ่งที่เราได้เห็นจากการแสดงในครั้งนี้คือ ความกลมกล่อมทางความคิด คือความหวังของคนที่ผ่านเหตุการณ์ ‘สองพฤษภา’ และ ‘สองตุลา’ มา คนที่เห็นประเทศมาตั้งแต่ยุคหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ๆ จนถึงปัจจุบัน ผมคิดว่าตกผลึกออกมาเป็นความกลมกล่อม ที่อาจารย์ชี้ให้เห็นถึงความหวังในอนาคตของประเทศไทย จึงขอเชิญชวนทุกคนมาชมการแสดงของอาจารย์ชาญวิทย์กัน” ธนาธรกล่าว 

 

ชาญวิทย์คุยกับผู้ชมหลังจบการแสดง

 

ชาญวิทย์กล่าวหลังจบการแสดงว่า การศึกษาประวัติชีวิตตัวเอง ชีวิตของคนธรรมดา เป็นการฝึกฝนที่ดีมากๆ จะทำให้เรารู้ว่าเราเป็นใคร มาจากไหน ถ้าเรารู้ว่าเรามาจากจังหวัดอะไร เดิมแซ่อะไร ก็จะทำให้เรามองเห็นอะไรในอดีตมากขึ้น มันทำให้เรากลับไปไกลมากเลย Long History กลับไปสัก 100 ปี คนที่สามารถกลับไปสัก 100 ปี แล้วมองมาที่ปัจจุบันจะสามารถมองเห็นอนาคตลางๆ ได้ 

 

“ผมว่าหลายคนในที่นี้ใช้วิธีการนี้กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสีส้มหรือสีแดง” ชาญวิทย์กล่าว (ผู้ชมส่งเสียงหัวเราะ) 

 

ชาญวิทย์ยังกล่าวด้วยว่า การเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566/2023 เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากของประเทศไทย ผมคิดว่าคำที่ใช้กันบ่อยๆ คำว่า ‘ความเปลี่ยนแปลง’ มันมาแล้ว ผมเข้าใจว่ามีทั้ง Long History และการเปรียบเทียบที่ฝรั่งเรียกว่า Comparative Study มั้งสองอย่างทำให้เราพอจะเดาออกว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น แล้วผมอยากจะมองว่ามีความหวัง นักประวัติศาสตร์ที่ผมนับถือและได้ไปพบกันมาคือ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า ถึงแม้ผมอาจจะไม่ได้อยู่เห็นความเปลี่ยนแปลง แต่ผมดีใจว่ามันต้องเปลี่ยน มันเปลี่ยนแน่ๆ 

 

ชาญวิทย์กล่าวว่า “ผมมีความหวังว่าจะมีความเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกันผมก็วิตกว่าความเปลี่ยนแปลงมันอาจจะไม่สามารถดำเนินไปได้ด้วยสันติวิธี เราได้ยินคำว่าปฏิรูปมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังไม่มีการปฏิรูปอย่างแท้จริง 

 

“ดังนั้นผมมักจะนึกถึง ‘เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา’ ซึ่งบางท่านในที่นี้เคยโดนคดีมาแล้ว 

 

“ถ้าอ่านทีละบรรทัดตั้งแต่ต้นจนจบ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาบอกว่ามีสิทธิพบกับความรุนแรงและความสูญเสียอย่างมาก เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากๆ แปลว่าผมมีความหวัง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความวิตกว่าเราจะเปลี่ยนผ่านไปด้วยสันติวิธีได้หรือไม่ เพราะผมว่าสิ่งที่ผมใช้คำนี้อยู่บ่อยๆ หลายคนก็ใช้คำนี้เหมือนกัน อำนาจเดิม บารมีเดิม เงินทุนเดิม มันฝังรากลึกมากๆ แล้วก็ผลประโยชน์มันมหาศาล อาจจะไม่ยอมให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงได้อย่างที่เราเจอกันอยู่ทุกวันนี้ บางครั้งมีบางคนบอกผมว่าเขาทำให้เราเบื่อแล้วก็ปกครอง ทำให้เบื่อแล้วปกครองเราได้ ดังนั้นก็อย่าเบื่อนะครับ ทนเอาหน่อยแล้วกัน และแนะนำให้อ่านเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา อ่านทีละบรรทัด” 

 

สำหรับการบรรยายประกอบการแสดง เรื่อง An Imperial Sake Cup and I เปิดแสดงครั้งแรกเมื่อปี 2020 ที่พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ ในโครงการ The Breathing of Maps และเพิ่งบินไปแสดงที่ Tokyo Festival เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

 

ผู้สนใจสามารถร่วมเดินทางไปกับเรื่องราวจากถ้วยเหล้าสาเกของชาญวิทย์ได้ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เพียง 3 รอบการแสดง ระหว่างวันที่ 16-18 มิถุนายนนี้

 

An Imperial Sake Cup and I: A Lecture Performance by Charnvit Kasetsiri กำกับการแสดงโดย ธีระวัฒน์ มุลวิไล และ นนทวัฒน์ นําเบญจพล

 

รอบการแสดง:

 

  • วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน เวลา 19.30 น.
  • วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน เวลา 15.00 น. (มีเสวนาหลังการแสดง)
  • วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 15.00 น.

 

สถานที่จัดแสดง:

สตูดิโอชั้น 4, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

ความยาว 50 นาที

 

ภาษา:

ภาษาไทย พร้อมบทบรรยายภาษาอังกฤษ

 

ราคาบัตร:

ทั่วไป 700 บาท, *นักเรียน-นักศึกษา 400 บาท

*นักเรียน-นักศึกษาจำกัดไม่เกินระดับปริญญาตรี กรุณาแสดงบัตรก่อนชมการแสดง

 

สำรองบัตรได้ที่:

Google Forms: https://bit.ly/ticketsakecup 

โทร: 08 9667 9539

ติดต่อและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: B-Floor: Facebook, Instagram, Twitter

อีเมล: [email protected]

 

ผู้จัด:

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ B-Floor Theatre, Mobile Lab

 

ขอขอบคุณผู้สนับสนุน:

 

  • The James H.W. Thompson Foundation
  • โก๋แก่
  • มูลนิธิ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์
  • มติชน
  • หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
  • โคโรลล่า อัลติส
  • คาราบาวแดง

 

ภาพ: B-Floor

The post การแสดงประวัติศาสตร์การเมืองผ่านประวัติชีวิต ‘ชาญวิทย์และถ้วยสาเก’ โยงใยเส้นทางชีวิตและผู้คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
GUIDE: ญี่ปุ่นไม่นิยมดื่มสาเกคู่กับซูชิ https://thestandard.co/life/japan-not-drink-sake-in-sushi Thu, 09 Mar 2023 10:00:37 +0000 https://thestandard.co/?p=760624

อาหารกับเครื่องดื่มมักเป็นของคู่กัน ยิ่งหากได้กินอาหารพ […]

The post GUIDE: ญี่ปุ่นไม่นิยมดื่มสาเกคู่กับซูชิ appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาหารกับเครื่องดื่มมักเป็นของคู่กัน ยิ่งหากได้กินอาหารพร้อมเครื่องดื่มที่ส่งเสริมกันแล้วก็จะยิ่งทำให้รสชาติอาหารในมื้อนั้นเป็นที่น่าจดจำ ซึ่งชาวอเมริกาบางคนมักกินซูชิคู่กับสาเก แต่คนญี่ปุ่นเองกลับไม่จับคู่แบบนั้น

 

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า สาเกทำมาจากอะไร อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า สาเกญี่ปุ่นมีส่วนประกอบหลักคือ ‘ข้าว’ ซึ่งจากข้อมูลของ VinePair ระบุว่าสาเกนั้นจะคล้ายกับเบียร์มากกว่าไวน์ เพราะกระบวนการทำที่เหมือนกันนั้นคือการต้ม 

 

แต่สาเกมักนำมาดื่มคู่กับอาหารไม่ต่างจากไวน์ เช่น เทมปุระ หรือราเมงที่มีรสชาติเข้มข้น อย่างไรก็ตาม การเข้ากันดีระหว่างสาเกกับอาหารหลายประเภท ไม่ใช่แค่อาหารญี่ปุ่นเท่านั้น ซึ่ง Josh Dorcak เจ้าของร้าน Cascadian-food กล่าวกับ Forbes ว่า เขามักชอบการจับคู่สาเกกับอาหารอื่นๆ โดยพื้นฐานแล้ว ปลาดิบ และอาหารทอด ล้วนเข้ากันได้ดีกับสาเก

 

สำหรับคนญี่ปุ่น แม้ว่าปลาดิบจะเข้ากันได้ดีกับสาเก แต่ตามประเพณีแล้ว เขาไม่นิยมกินซูชิคู่กับสาเก อีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญคือเรื่องของ ‘ส่วนผสม’ ของทั้งสาเกเอง และซูชิที่ทั้งคู่ล้วนทำจากข้าว และบางคนเชื่อว่าส่วนผสมมากเกินไป

 

ซึ่งเมื่อนึกถึงวิธีจับคู่สาเกกับอาหาร Takara Sake ได้แนะนำให้ลองนึกว่าสาเกเหมือนชามข้าว ถ้าอาหารเข้ากันได้ดีกับข้าวหนึ่งชาม ก็คงเข้ากันได้ดีกับสาเกสักแก้ว ด้วยเหตุนี้ ในญี่ปุ่นจึงมักหลีกเลี่ยงการดื่มสาเกพร้อมกับการกินข้าว 

 

Joshua Rolnick ผู้อำนวยการฝ่ายเครื่องดื่มของ Neta ในนิวยอร์ก กล่าวว่า ชาวญี่ปุ่นมักจะสั่งเบียร์ ไวน์ผลไม้ หรือชา มาดื่มกับซูชิเป็นอาหารค่ำ และอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากๆ คือ ‘รสชาติ’ ของสาเกที่ยังไม่เหมาะกับซูชิ โดยปกติแล้ว สาเกจะมีรสชาติที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากกว่าเบียร์หรือไวน์ จึงอาจขัดขวางรสชาติของปลาสดที่ละเอียดกว่าได้

 

ภาพ: Shutterstock

อ้างอิง:

The post GUIDE: ญี่ปุ่นไม่นิยมดื่มสาเกคู่กับซูชิ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘สาเก x ช็อกโกแลต’ แพริ่งพิเศษจัดโดย Kad Kokoa 29 ก.ย. นี้ วันเดียวเท่านั้น https://thestandard.co/kad-kokoa-2/ Mon, 19 Sep 2022 06:36:03 +0000 https://thestandard.co/?p=683524 Kad Kokoa

ใครรู้ตัวว่าชอบช็อกโกแลตที่สุดต้องไม่พลาดอีเวนต์พิเศษนี […]

The post ‘สาเก x ช็อกโกแลต’ แพริ่งพิเศษจัดโดย Kad Kokoa 29 ก.ย. นี้ วันเดียวเท่านั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
Kad Kokoa

ใครรู้ตัวว่าชอบช็อกโกแลตที่สุดต้องไม่พลาดอีเวนต์พิเศษนี้ ‘Sake & Chocolate Pairing’ ที่จัดโดย Kad Kokoa แบรนด์ช็อกโกแลตสัญชาติไทยสุดคราฟต์ที่อยากทำให้ทุกคนหลงใหลช็อกโกแลตไทยมากขึ้น

 

และเพื่อให้ทุกคนได้ลิ้มลองช็อกโกแลตด้วยรสชาติใหม่ๆ บ้าง Kad Kokoa จึงจัดกิจกรรมพิเศษให้ทุกคนมานั่งชิมช็อกโกแลตด้วยกัน พร้อมจิบสาเกแพริ่งจากญี่ปุ่นที่คัดสรรโดยผู้เชี่ยวชาญและทีมช็อกโกแลต Kad Kokoa Japan ที่จะมาเป็นแขกรับเชิญในอีเวนต์นี้ด้วย

 

พร้อมเปิดกิจกรรมด้วยขนม 5 เมนูจากทีมเชฟ Bocuse d’Or Thailand ผู้อยู่เบื้องหลังเมนูขนมและอาหารของร้าน 31 Degrees by Kad Kokoa ในซอยสุขุมวิท 31

 

Sake & Chocolate Pairing จัดวันเดียวเท่านั้น 29 กันยายนนี้ ราคา 1,290++ บาทต่อคน เริ่มเวลา 14.00-15.30 น. ณ ร้าน 31 Degrees by Kad Kokoa 

 

แต่ถ้าใครไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เขาก็มีอีกกิจกรรม ‘Tea & Pastries Pairing’ ให้ไปนั่งกินช็อกโกแลตจิบชาได้เช่นกัน ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายนนี้ เวลา 14.00-15.30 น. มีค่าใช้จ่าย 799++ บาทต่อคน สำรองที่นั่งทั้งสองกิจกรรมได้ที่ 31 Degrees by Kad Kokoa

The post ‘สาเก x ช็อกโกแลต’ แพริ่งพิเศษจัดโดย Kad Kokoa 29 ก.ย. นี้ วันเดียวเท่านั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
Muji วางจำหน่าย ‘เหล้าสาเก’ กลั่นโดยโรงเบียร์ในจังหวัดนีงาตะที่มีประวัติอันยาวนานกว่า 120 ปี https://thestandard.co/muji-is-selling-sake-and-itll-make-drinkers-feel-good/ Mon, 02 May 2022 06:58:49 +0000 https://thestandard.co/?p=623742 Muji สาเก

สาเกแสนอร่อยที่ให้ความช่วยเหลือแก่เมืองเล็กๆ เป็นสิ่งที […]

The post Muji วางจำหน่าย ‘เหล้าสาเก’ กลั่นโดยโรงเบียร์ในจังหวัดนีงาตะที่มีประวัติอันยาวนานกว่า 120 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
Muji สาเก

สาเกแสนอร่อยที่ให้ความช่วยเหลือแก่เมืองเล็กๆ เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การหยิบดื่ม

 

ด้วยเหตุนี้เอง Muji จึงวางขาย ‘นิฮอนชู’ (Nihonshu) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นสำหรับสิ่งที่เรียกว่า ‘สาเก’ ในภาษาอังกฤษ (ในภาษาญี่ปุ่นยุคใหม่ สาเกเป็นศัพท์ที่เรียกได้ทั้งหมดสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)

 

ระดับ Muji แล้วจะวางขายสินค้าทั่วไปได้อย่างไร เบื้องหลังของ ‘นิฮอนชู’ จึงมาพร้อมประวัติศาสตร์ เพราะกลั่นโดย ‘มัตสึโนะ ชูโซโจ’ โรงเบียร์ในจังหวัดนีงาตะ ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 120 ปี โดยนิฮอนชูนี้ใช้ข้าวโคชิฮิคาริที่ปลูกในเขตมัตสึไดของเมืองโทคามาจิ นีงาตะ

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ถนนบนภูเขาของมัตสึไดสูงชันและแคบเกินไปสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรขนาดใหญ่ที่จะข้ามผ่าน ซึ่งหมายความว่าการทำฟาร์มส่วนใหญ่ต้องทำด้วยมือ เมื่อรวมกับประชากรสูงอายุและการปลูกข้าวไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเกษตรกรของมัตสึได ดังนั้นนิฮอนชูนี้จึงเป็นสิ่งที่เข้ามาสนับสนุนสินค้าในท้องถิ่นนั่นเอง

 

ที่น่าสนใจคือนอกจากใช้ข้าวมัตสึไดแล้ว ส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตคือการนำน้ำที่ละลายจากหิมะในฤดูหนาวของนีงาตะมาเป็นส่วนผสมอีกด้วย 

 

นิฮอนชูของ Muji วางขายในญี่ปุ่นที่สาขา Ginza, Tokyo Ariake, Shin Yurigaoka Opa, Naoetsu, Grand Front Osaka, Namba, Kyoto Yamashina, Canal City Hakata และ Share Star Hakodate ในราคา 1,800 เยน หรือ 475 บาท สำหรับขวดขนาด 720 มิลลิลิตร

 

เสียดายที่นิฮอนชูของ Muji ไม่ได้วางขายในไทย ไม่อย่างนั้นจะลองซื้อมาจิบเพื่อดื่มด่ำรสชาติที่มาพร้อมกับเบื้องหลังที่ไม่ธรรมดาเสียหน่อย!

 

อ้างอิง:

The post Muji วางจำหน่าย ‘เหล้าสาเก’ กลั่นโดยโรงเบียร์ในจังหวัดนีงาตะที่มีประวัติอันยาวนานกว่า 120 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>