สายไฟฟ้า – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 03 May 2024 13:17:42 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กทม. สั่งระงับก่อสร้างบ่อพัก-ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ให้ปิดฝาบ่อทุกจุดภายใน 3 วัน หากไม่ทำจะไม่พิจารณาโครงการสร้างถัดไป https://thestandard.co/underground-electrical-conduit-projects-halted-in-bangkok/ Fri, 03 May 2024 13:17:42 +0000 https://thestandard.co/?p=929832

วันนี้ (3 พฤษภาคม) สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร มีหนังสือ […]

The post กทม. สั่งระงับก่อสร้างบ่อพัก-ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ให้ปิดฝาบ่อทุกจุดภายใน 3 วัน หากไม่ทำจะไม่พิจารณาโครงการสร้างถัดไป appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (3 พฤษภาคม) สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร มีหนังสือด่วนที่สุดที่ กท. 0902/1296 เรียนถึงผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง เรื่อง ระงับการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ร่วมกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง)

 

ระบุว่า “ตามหนังสือที่อ้างถึงสำนักการโยธา

อนุญาตให้การไฟฟ้านครหลวงต่ออายุหนังสืออนุญาตดำเนินการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ร่วมกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

 

“สำนักการโยธาได้รับการประสานจากสำนักงานเขตวังทองหลาง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 พบประชาชนพลัดตกลงไปในบ่อพักท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินเสียชีวิต บริเวณเกาะกลางถนน ปากซอยลาดพร้าว 49 พื้นที่เขตวังทองหลาง 

 

“จากการตรวจสอบพบว่า มีการนำไม้อัดที่มีสภาพชำรุดมาปิดฝาบ่อไว้ไม่เรียบร้อย และปัจจุบันบ่อพักในโครงการดังกล่าวยังไม่มีการปิดฝาบ่อให้เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐานจำนวนหลายจุด

 

“จึงขอให้การไฟฟ้านครหลวงระงับการก่อสร้าง และให้ตรวจสอบและปิดฝาบ่อในโครงการดังกล่าวให้เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐานภายใน 3 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ 

 

“พร้อมทั้งดำเนินการติดต่อประสานญาติผู้เสียชีวิตเพื่อเยียวยาค่าเสียหาย เนื่องจากการปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นไปตามคู่มือก่อสร้างงานสาธารณูปโภคและเงื่อนไขในหนังสืออนุญาต 

 

“หากไม่ดำเนินการ กรุงเทพมหานครจะขอระงับการพิจารณาอนุญาตงานรายถัดไปของการไฟฟ้านครหลวงที่ยื่นขออนุญาตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

 

“ผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้สำนักการโยธาทราบต่อไป”

The post กทม. สั่งระงับก่อสร้างบ่อพัก-ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ให้ปิดฝาบ่อทุกจุดภายใน 3 วัน หากไม่ทำจะไม่พิจารณาโครงการสร้างถัดไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรุงเทพฯ กับปัญหาเก่าที่ยังไม่พร้อมก้าวข้ามปีใหม่ https://thestandard.co/bangkok-problems-2023/ Mon, 25 Dec 2023 13:30:43 +0000 https://thestandard.co/?p=880787 bangkok traffic

กรุงเทพมหานคร เมืองสวรรค์ ติดอันดับ 4 เมืองท่องเที่ยวที […]

The post กรุงเทพฯ กับปัญหาเก่าที่ยังไม่พร้อมก้าวข้ามปีใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
bangkok traffic

กรุงเทพมหานคร เมืองสวรรค์ ติดอันดับ 4 เมืองท่องเที่ยวที่ถูกค้นหามากที่สุดในโลกปี 2566 และอันดับ 1 ของเอเชีย เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 

 

กรุงเทพมหานครถูกสถาปนาเป็นเมืองหลวงเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2325 มีผู้ว่าราชการมาแล้วทั้งสิ้น 16 คน

 

แม้ยุคสมัยและกาลเวลาจะผ่านไปถึง 240 ปี แต่เมืองใหญ่เมืองนี้ยังมีปัญหาคุณภาพชีวิตให้รอแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องสาธารณูปโภคที่เป็นปัญหาเรื้อรัง จนทำให้สโลแกน ‘ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ กลายเป็น ‘ชีวิตที่ต้องเสี่ยงทายและคอยลุ้นว่าวันนี้จะผ่านไปได้ยังไงให้ลงตัว’

 

THE STANDARD สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ก่อนก้าวข้ามปี 2023 อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาของ ‘กรุงเทพฯ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ ในอนาคต

 

กรุงเทพฯ ในชั่วโมงเร่งด่วน การเดินทางในระยะทาง 10 กิโลเมตร อาจใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง

 

ปี 2016 กรุงเทพฯ เคยถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีรถติดมากที่สุดลำดับที่ 12 ของโลก ประชาชนเสียเวลาอยู่บนท้องถนนเฉลี่ย 64.1 ชั่วโมงต่อปี ผ่านมา 7 ปี ปัญหานี้ก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ด้วยสภาพการจราจรที่ไม่เอื้ออำนวยให้ชีวิตลงตัวเลย การเดินทาง 10 กิโลเมตรในกรุงเทพฯ อาจต้องเผื่อเวลาอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงสำหรับการเดินทาง ไม่ต่างจากการใช้เวลาเดินทางข้ามจังหวัด

 

ผู้ขับขี่ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย บริเวณแยกห้วยขวาง 

 

ปัญหาความปลอดภัยและวินัยจราจรในปี 2561 กองบังคับการตำรวจจราจรยกให้กรุงเทพฯ เป็นต้นแบบสวมหมวกกันน็อก 100% ปัจจุบันการขับรถผิดกฎจราจรและการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกกันน็อกยังคงมีให้เห็นเป็นเรื่องปกติ 

 

แม้ว่ากฎหมายจราจรใหม่ปี 2565 จะมีอัตราโทษมากขึ้น ในข้อหาผู้ขับขี่ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท อัตราโทษใหม่ปรับไม่เกิน 2,000 บาท และถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน 

 

ขณะที่ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน ยอดผู้เสียชีวิตสะสมในปี 2566 (1 มกราคม – 11 เมษายน 2566) มีจำนวนสูงถึง 4,478 คน ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนร้อยละ 79 เป็นผู้ขับขี่หรือผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ตามสถิติ ทุก 1 ชั่วโมงจะมีผู้เสียชีวิต 1 คนจากการขับขี่จักรยานยนต์ ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งยังไม่สามารถสร้างวินัยจราจรหรือความตระหนักถึงความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่จักรยานยนต์บางส่วนได้

 

สายสื่อสารที่ยุ่งเหยิงย่านอโศก

 

ปัญหาสายสื่อสารสุดยุ่งเหยิง ใครจะคิดว่าย่านธุรกิจแหล่งทำเงินที่มีตึกสูงระฟ้าจะมีวิวเป็นสายสื่อสารอีนุงตุงนังไปมาจนแทบจะบังแดดได้ แถมยังบังป้ายหน้าร้านค้าเกือบมิดเหมือนต้องการจะสื่อว่าอยู่มานานแล้ว อยู่มานานกว่า แม้จะมีนโยบายนำสายสื่อสารลงดินมาตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งเริ่มทำจริงจังเมื่อปี 2560 ปัจจุบัน ผ่านมา 6 ปี ดูเหมือนความพยายามจะให้คนเมืองได้เห็นวิวท้องฟ้าไร้สายสื่อสารคงจะยังอีกยาวไกล ไกลเหมือนสายสื่อสารที่หาจุดเริ่มต้นเอาลงดินไม่เจอ

 

ป้ายรถเมล์ ทางขึ้นลงรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน พื้นที่กลุ่มผู้ขายของ หาบเร่ หรือรถเข็นต้องการพื้นที่ในการประกอบอาชีพ 

 

กรุงเทพมหานคร ปัญหาฟุตปาธ ทางเท้าที่ไม่ได้มีเฉพาะทางเดิน ร้านค้าหาบเร่แผงลอยบนพื้นที่ของคนเดินเท้า การจัดสรรพื้นที่ให้พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการตั้งร้านในจุดที่ผู้คนสัญจรไปมา ปัญหาที่ยังหาวิธีแก้ไขแบบชัดเจนไม่ได้ จนสร้างภาพจำเสมือนเนื้อคู่ หากนึกถึงเจ้าหน้าที่เทศกิจก็ต้องนึกถึงพ่อค้าแม่ค้าบนบาทวิถี 

 

ป้ายห้ามทิ้งขยะของสำนักงานเขตจตุจักรถูกล้อมด้วยกองขยะจำนวนมาก

 

อีกหนึ่งปัญหาที่เชื่อมโยงกันกับปัญหาทางเท้า เรื่องขยะ ภาพที่ใครๆ ก็สามารถพบเห็นได้หากใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ยิ่งเป็นแหล่งที่มีผู้อาศัยจำนวนมากอาจตกเป็นผู้ที่ต้องประสบปัญหาด้วยตัวเอง ถึงแม้มีป้ายห้ามทิ้งขยะ และไม่ใช่จุดทิ้งขยะ ขยะกองพะเนินสูงข้างทาง ริมฟุตปาธ หรือเสาไฟฟ้า ถูกกองรวมกันไว้เหมือนอนุสาวรีย์ ด้วยปัจจัยทางสังคม เมื่อจำนวนผู้อยู่อาศัยมากขึ้น ขยะก็มากขึ้น แต่บุคลากรและพื้นที่ในการจัดการเรื่องขยะมีเท่าเดิม

 

PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่สร้างปัญหาใหญ่ให้หลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร

 

PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ด้วยความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มขึ้น การจราจรคับคั่ง ฝุ่นผงจากการก่อสร้าง เขม่าควันจากการเผาพื้นที่ทางการเกษตรและไฟป่า อีกทั้งปัจจุบันกรุงเทพฯ ประสบปัญหาลมพัดผ่านได้ยาก อากาศหยุดนิ่ง เพราะมีตึกสูงปิดกั้นทางลม รวมถึงฝุ่นจากการก่อสร้างที่มีอยู่แทบทุกพื้นที่ มาเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้คุณภาพอากาศเลวร้ายลง เป็นภัยต่อระบบทางเดินหายใจ ปอด หัวใจ และสมอง ซึ่งยังไม่มีมาตรการในการควบคุมและแก้ไขได้ชัดเจน และเป็นปัญหาที่ผู้คนทั่วโลกต้องเผชิญร่วมกัน

 

คนไร้บ้าน มีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกปี ปัญหาที่รอคอยการแก้ไข

 

ปิดท้ายด้วยปัญหาของคนไร้บ้าน จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและโรคระบาดโควิดที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดปัญหาคนว่างงาน หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้หลังเกษียณ การขาดโอกาสในการสร้างรายได้ เป็นจุดเริ่มต้นของคนไร้บ้าน ปัญหาที่ดูเหมือนจะมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นอีกปัญหาที่รอคอยการแก้ไข

 

คนไร้บ้าน ร้านอาหารบนทางเท้า และผู้ขับขี่ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย 

The post กรุงเทพฯ กับปัญหาเก่าที่ยังไม่พร้อมก้าวข้ามปีใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กฟภ. นำสายไฟความยาว 23 กิโลเมตรลงใต้ดิน ตามโครงการ ‘เชียงใหม่ เมืองสวย ไร้สาย’ ด้วยงบ 3,978 ล้านบาท https://thestandard.co/chiang-mai-brings-electrical-cables-underground/ Thu, 07 Dec 2023 05:22:16 +0000 https://thestandard.co/?p=874311 เชียงใหม่ สายไฟฟ้า

วานนี้ (6 ธันวาคม) ทีมช่างภาพข่าว THE STANDARD สำรวจพื้ […]

The post กฟภ. นำสายไฟความยาว 23 กิโลเมตรลงใต้ดิน ตามโครงการ ‘เชียงใหม่ เมืองสวย ไร้สาย’ ด้วยงบ 3,978 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
เชียงใหม่ สายไฟฟ้า

วานนี้ (6 ธันวาคม) ทีมช่างภาพข่าว THE STANDARD สำรวจพื้นที่ถนนในเขตเมืองเก่าที่อยู่ในบริเวณคูเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเก็บภาพการดำเนินงานนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินตามโครงการ ‘เชียงใหม่ เมืองสวย ไร้สาย’ เพื่อเป็นการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมืองเก่า 

 

นอกจากนี้ยังพบว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขุดเจาะเพื่อวางระบบสายไฟแรงสูงอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ได้แก่ บริเวณถนนมูลเมือง, ถนนศรีภูมิ, ถนนมณีนพรัตน์, ถนนบุญเรืองฤทธิ์, ถนนราชมรรคา, ถนนราชดำเนิน, ถนนพระปกเกล้า 

 

จากการลงพื้นที่พบว่า จะมีการดำเนินการทั้งกลางวันและกลางคืน แต่หากในบริเวณใดมีการจราจรหนาแน่นและต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ทำการขุดเจาะ ก็จะดำเนินการในช่วงกลางคืนแทน

 

ซึ่งงานปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินได้ดำเนินการบริเวณถนนรอบคูเมือง และถนนสายหลักในพื้นที่คูเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นการปรับปรุงทัศนียภาพและยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นเส้นทางสายวัฒนธรรมและมีวัด โบราณสถาน อีกทั้งยังถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย มีระยะทางดำเนินการรวม 23 กิโลเมตร 

 

โดยแบ่งการดำเนินงาน ดังนี้ 

  1. ถนนคชสาร, ถนนมูลเมือง, ถนนชัยภูมิ 
  2. ถนนช้างหล่อ, ถนนราชเชียงแสน, ถนนมูลเมือง, ถนนบำรุงบุรี 
  3. ถนนราชภาคินัย, ถนนราชมรรคา 
  4. ถนนพระปกเกล้า, ถนนเวียงแก้ว, ถนนมูลเมือง, ถนนจ่าบ้าน, ถนนราชมรรคา
  5. ถนนราชดำเนิน, ถนนสามล้าน 
  6. ถนนอารักษ์, ถนนบำรุงบุรี, ถนนศรีภูมิ
  7. ถนนอัษฎาธร, ถนนมณีนพรัตน์, ถนนช้างเผือก, ถนนหัสดิเสวี, ถนนบุญเรืองฤทธิ์, ถนนมหิดล, ถนนทิพย์เนตร 

 

นอกจากนี้ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ บริเวณถนนทิพย์เนตร แยกประตูสวนปรุง (แสนปุง) ถึงสถานีไฟฟ้าเชียงใหม่ 6 

 

อย่างไรก็ตาม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ ระยะที่ 1 ในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ งบประมาณ 3,978 ล้านบาท

 

The post กฟภ. นำสายไฟความยาว 23 กิโลเมตรลงใต้ดิน ตามโครงการ ‘เชียงใหม่ เมืองสวย ไร้สาย’ ด้วยงบ 3,978 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฝาท่อสายไฟลงดินทรุดตัวหน้าเซ็นทรัล รามอินทรา ทำจราจรติดหนัก https://thestandard.co/putting-electric-cables-under-ground-050766/ Thu, 06 Jul 2023 00:40:22 +0000 https://thestandard.co/?p=812908 สายไฟลงดิน

วานนี้ (5 กรกฎาคม) เมื่อเวลา 21.25 น. ผู้สื่อข่าวรายงาน […]

The post ฝาท่อสายไฟลงดินทรุดตัวหน้าเซ็นทรัล รามอินทรา ทำจราจรติดหนัก appeared first on THE STANDARD.

]]>
สายไฟลงดิน

วานนี้ (5 กรกฎาคม) เมื่อเวลา 21.25 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณถนนรามอินทราขาออก หน้าเซ็นทรัล รามอินทรา ถนนเลนซ้ายทรุดตัว ท้ายสะสมถึงสะพานข้ามวงเวียนบางเขน ถ.แจ้งวัฒนะ ขาเข้า มุ่งหน้าสะพานข้ามวงเวียนบางเขน เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สน.บางเขน จึงได้ปิดการจราจรหนึ่งช่องทาง 

 

จากการตรวจสอบพบว่าจุดที่ทรุดตัวเป็นบ่อร้อยสายไฟฟ้าลงใต้ดินขนาด 4 x 5 เมตร ทางการไฟฟ้าเป็นผู้ว่าจ้างผู้รับเหมา อยู่ระหว่างรอการเทปูน แต่เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก ทำให้ทรายที่ถมไว้ก่อนหน้านี้ถูกน้ำกัดเซาะจนทำให้ชั้นปูนที่ปิดปากท่อทรุดตัว เบื้องต้นทางผู้รับเหมาเร่งดำเนินการซ่อมพื้นถนนที่ทรุดอย่างเร่งด่วน เพื่อสามารถเปิดการจราจรให้เป็นปกติแล้ว

The post ฝาท่อสายไฟลงดินทรุดตัวหน้าเซ็นทรัล รามอินทรา ทำจราจรติดหนัก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 สะท้อนบทเรียนราคาแพง ความไม่รอบคอบก่อนลงทุน https://thestandard.co/electricity-wire-problem-2566/ Wed, 11 Jan 2023 12:24:16 +0000 https://thestandard.co/?p=735945 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566

วันนี้ (11 มกราคม) ทีมช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำร […]

The post ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 สะท้อนบทเรียนราคาแพง ความไม่รอบคอบก่อนลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566

วันนี้ (11 มกราคม) ทีมช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจสายไฟ-สายสื่อสาร ที่ริมถนนดินแดงต่อเนื่องไปจนถึงแยกพระราม 9 พบว่าหลายจุดยังมีปัญหาสายไฟพันรุงรัง ระโยงระยางไปกับต้นไม้ และคล้อยต่ำใกล้ระดับที่ประชาชนเดินบนฟุตปาธ

 

สำหรับปีนี้ 2566 ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีการพูดถึงการจัดการปัญหาสายไฟ-สายสื่อสาร ไว้ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา

 

โดย วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. ระบุว่า การนำสายสื่อสารลงดิน ทาง กทม. ได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) เป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่ 14 ธันวาคม 2561 นั้น ในระยะเวลา 4 ปี KT ดำเนินการก่อสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินแล้วเสร็จเป็นระยะทาง 9.9 กิโลเมตร ประกอบด้วย 

 

  1. ถนนวิทยุ (ถนนเพชรบุรี-แยกเพลินจิต) ระยะทาง 1.337 กิโลเมตร 
  2. ถนนรัชดาภิเษก (MRT ศูนย์วัฒนธรรม ประตู 3 – ซอยรัชดาภิเษก 7) ระยะทาง 2.060 กิโลเมตร 
  3. ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนสาทรใต้-ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 10) ระยะทาง 1.670 กิโลเมตร 
  4. ถนนวิทยุ (แยกเพลินจิต-แยกสารสิน) ระยะทาง 2.185 กิโลเมตร 
  5. ถนนพระรามที่ 1 (แยกปทุมวัน-แยกราชประสงค์) ระยะทาง 2.150 กิโลเมตร 
  6. ถนนเจริญนคร (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน) ระยะทาง 0.500 กิโลเมตร 

 

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายและไม่มีรายได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ปัญหาในการดำเนินการที่พบ คือ 

 

  1. รูปแบบการก่อสร้างใช้เงินลงทุนสูง 
  2. ไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนมาดำเนินโครงการได้ เนื่องจากทุนจดทะเบียนของบริษัทเพียง 50 ล้านบาท ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และสถาบันการเงินต้องการเห็น MOU หรือสัญญาเช่าจากโอเปอเรเตอร์ 
  3. ไม่มีสภาพบังคับหรือกฎระเบียบที่ชัดเจนซึ่งกำหนดให้โอเปอเรเตอร์ต้องใช้ท่อร้อยสายใต้ดิน (ยังไม่มีผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ต้องการเช่าท่อร้อยสายสื่อสารของ KT ที่แน่นอน) 

 

ซึ่ง KT ได้ลงทุนค่าก่อสร้างไปแล้ว 118,062,563.29 บาท ชำระแล้ว 11,041,196.00 บาท คงเหลือ 107,021,367.29 บาท 

 

กทม. จึงต้องมีการทบทวนการดำเนินการของ KT เนื่องจากรูปแบบธุรกิจไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้ ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ได้มีข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต และข้อทักท้วงหลายประเด็นถึงโครงการนำสายสื่อสารลงดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครเมื่อกลางปี 2563 

 

วิศณุกล่าวต่ออีกว่า การดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 

 

ส่วนที่ 1 การนำสายสื่อสารลงใต้ดิน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยการนำสายสื่อสารลงใต้ดินจะดำเนินการคู่ขนานไปกับการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินของ กฟน. ซึ่งปัจจุบัน กฟน. ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 62 กิโลเมตร จากเป้าหมาย 236.1 กิโลเมตร ที่จะแล้วเสร็จในปี 2570  

 

ส่วนที่ 2 การจัดระเบียบสายสื่อสาร มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กฟน. และ กสทช. ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 161.56 กิโลเมตร (37 เส้นทาง) และในปี 2566 จะดำเนินการอีก 442.62 กิโลเมตร โดยมีเป้าหมายการจัดระเบียบสายสื่อสารที่ 1,000 กิโลเมตร

 

วิศณุกล่าวด้วยว่า ในส่วนของท่อร้อยสายใต้ดินของ KT ที่ดำเนินการไปแล้ว กทม. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้โอเปอเรเตอร์มาเช่าท่อร้อยสายใต้ดินของ KT เพื่อบรรเทาปัญหา แต่โอเปอเรเตอร์เหล่านั้นมีท่ออยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องมาเดินสายซ้ำอีกที  

 

“นี่จึงเป็นบทเรียนราคาแพงที่หน่วยงานภาครัฐต้องศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบก่อนลงทุน การที่ลงทุนไปแล้วแต่ไม่ได้รายได้ตามเป้าหมายที่คาดไว้ ก็จะเกิดปัญหาตามมา เนื่องจากสิ่งที่ก่อสร้างไปแล้วไม่สามารถแก้ไขหรือรื้อถอนได้” วิศณุกล่าวในที่สุด

 

ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566

The post ปัญหาสายไฟ-สายสื่อสารในปี 2566 สะท้อนบทเรียนราคาแพง ความไม่รอบคอบก่อนลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เชียงใหม่เร่งจัดระเบียบสายไฟ-สายสื่อสารกว่า 30 แห่ง เริ่มใน 4 จุดเร่งด่วน https://thestandard.co/chiangmai-managed-wires-more-than-30-spots/ Wed, 20 Jul 2022 07:02:24 +0000 https://thestandard.co/?p=656340 เชียงใหม่

วันนี้ (20 กรกฎาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าข […]

The post เชียงใหม่เร่งจัดระเบียบสายไฟ-สายสื่อสารกว่า 30 แห่ง เริ่มใน 4 จุดเร่งด่วน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เชียงใหม่

วันนี้ (20 กรกฎาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าของวันนี้บริเวณถนนวังสิงห์คำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณด้านหน้าร้านตะวันสูท พบ 15 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, กสทช., บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT, เทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมกันดำเนินการรื้อ-จัดระเบียบสายไฟและสายสื่อสาร หลังจากมีการประชุมการแก้ไขปัญหาสายไฟและสายสื่อสารที่รกรุงรังในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเวลา 1 เดือน ซึ่งการดำเนินการในวันนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ วรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประชุมหารือแนวทางการจัดระเบียบสายไฟและสายสื่อสารเมื่อวานนี้ (19 กรกฎาคม) กับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาสายสื่อสารที่รกรุงรังในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

 

โดยวรญาณเปิดเผยว่า จากกรณีสายไฟฟ้า-สายสื่อสารเกิดการลัดวงจรจนทำให้เกิดอัคคีภัย สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหลายพื้นที่ ทางรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยห่วงเรื่องความปลอดภัยของประชาชน จึงสั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินการจัดระเบียบสายไฟและสายสื่อสารให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น แต่มีสายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานแล้วถูกปล่อยทิ้งให้รกรุงรัง

 

หากรื้อถอนสายที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว จะช่วยให้เกิดความมีระเบียบกับสายไฟฟ้าและสายสื่อสารที่ยังใช้งานอยู่ทำให้เกิดความสวยงาม จึงมอบหมายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจัดทำแผนปฏิบัติการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสาร ให้ครอบคลุมพื้นที่เมืองเชียงใหม่ โดยเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 เส้นทาง

 

ด้าน สุรศักดิ์ จินดาสมบูรณ์ ผู้ช่วยโทรศัพท์จังหวัดเชียงใหม่ ด้านเทคนิคบริการ ส่วนบริการลูกค้าจังหวัดเชียงใหม่ ของ NT กล่าวว่า วันนี้จะทำการรื้อสายที่ไม่ได้ใช้งานออก ส่วนสายที่รกรุงรังแต่ใช้งานอยู่ก็จะจัดระเบียบให้เรียบร้อย โดยมี 15 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ จากนั้นจะดำเนินการในอีก 30 จุด โดยจะเริ่มในพื้นที่เร่งด่วน 4 จุด ได้แก่

 

  1. ถนนทางเข้าวัดอุโมงค์
  2. ถนนเฉลิมพระเกียรติ
  3. ถนนนิมมานเหมินทร์ และ
  4. ถนนอารักษ์

 

อย่างไรก็ตาม ในย่านชุมชนภายในพื้นที่คูเมืองทั้งด้านนอก-ด้านใน ก็ยังได้ดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดินไปพร้อมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ดำเนินการนำสายไฟลงใต้ดิน ทั้งนี้คาดว่าทั้ง 2 โครงการจะแล้วเสร็จ ทำให้เชียงใหม่เกิดความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอีกด้วย

 

 

เรื่องและภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ

The post เชียงใหม่เร่งจัดระเบียบสายไฟ-สายสื่อสารกว่า 30 แห่ง เริ่มใน 4 จุดเร่งด่วน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัยวุฒิเตรียมหารือชัชชาตินำสายไฟลงดิน บอกรัฐบาลทำมาตลอด แค่ประชาสัมพันธ์ไม่เก่งเท่าชัชชาติ https://thestandard.co/organization-of-grounding-wires/ Sun, 03 Jul 2022 07:28:24 +0000 https://thestandard.co/?p=649470 สายไฟลงดิน

วันนี้ (3 กรกฎาคม) ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการก […]

The post ชัยวุฒิเตรียมหารือชัชชาตินำสายไฟลงดิน บอกรัฐบาลทำมาตลอด แค่ประชาสัมพันธ์ไม่เก่งเท่าชัชชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สายไฟลงดิน

วันนี้ (3 กรกฎาคม) ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยถึงการหารือร่วมกับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เรื่องการจัดระเบียบสายสื่อสารว่า สารสื่อสารแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ร่วมกับการไฟฟ้า และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่จัดระเบียบสายตายหรือสายที่ไม่ใช้ 

 

อีกส่วนจะต้องประสานงานกันกับผู้ว่าฯ กทม. ในการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพราะเวลานำลงใต้ดินต้องขออนุญาตใช้ทางเท้าซึ่งเป็นพื้นที่ของ กทม. ดังนั้น หากจะสร้างท่อใต้ดินก็ต้องดูว่าใครจะรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร รวมถึงคนที่จะมาใช้ต้องจ่ายค่าเช่าและค่าให้บริการท่อด้วย จึงต้องมาหารือร่วมกันระหว่าง กทม. กับผู้ให้บริการ ซึ่งจะกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งตนเองเป็นตัวแทนรัฐบาลในการมาประสานงานนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพื่อให้บ้านเมืองสวยงามได้มากที่สุด

 

โดยวันพรุ่งนี้ (4 กรกฎาคม) จะมีหน่วยงานที่ร่วมหารือคือ กสทช. การไฟฟ้านครหลวง และดีอีเอส เพื่อร่วมหารือกับ กทม. ประเด็นหลักๆ จะเป็นการหารือถึงแนวทางการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพราะผู้ว่าฯ กทม. คนเก่าก็เคยมีแนวทางอยู่แล้ว จึงจะต้องถามความต่อเนื่องว่าจะทำอย่างไร มีนโยบายอย่างไร หลังมีการเปลี่ยนผู้ว่าฯ กทม. เพราะที่ผ่านมาก็หารือกับผู้ว่าฯ คนเก่ามาตลอด และมองว่าไม่ได้เป็นประเด็นอะไรเพราะทำมาอยู่แล้ว ทำมาตลอด 

 

ทั้งนี้ก็อยากให้ประสบความสำเร็จ เพราะสายสื่อสารเยอะมาก ทุกบ้านก็ติดอินเทอร์เน็ตกัน ทำให้ไม่สวยงาม ประกอบกับภาครัฐที่มีเทคโนโลยีดีขึ้นและมีรายได้ที่ดีขึ้น ภาครัฐก็ควรลงทุนในเรื่องนี้ได้ สมัยก่อนอาจจะทำยากเพราะค่าใช้จ่ายสูง ก็ไม่อยากให้เป็นภาระกับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ แต่วันนี้มีความพร้อมแล้วก็น่าจะเอาลงใต้ดินได้ ซึ่งภาครัฐที่ต้องมาร่วมมือกันก็มีทั้ง กทม. และรัฐบาล หรือ กสทช. ด้วย พร้อมบอกว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงเรื่องนี้มาก และอยากให้แก้ไขได้ในรัฐบาลนี้

 

เมื่อถามว่ากระแสชัชชาติฟีเวอร์ทำให้การเมืองใหญ่ต้องขยับตามนั้น ชัยวุฒิระบุว่า ตนเองมองว่าไม่เกี่ยว เพราะเราก็ทำงานของเราอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า นายกฯ คณะรัฐมนตรี และส่วนราชการต่างๆ ที่ทำงาน อาจจะประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารไม่ได้เก่งเท่าชัชชาติ เพราะชัชชาติจะมีความชำนาญเรื่องการสื่อสาร ซึ่งเราก็จะมาปรับปรุงการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารให้ดีขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ว่ารัฐบาลได้ทำอะไรไปบ้าง 

 

อย่างเรื่องการจัดระเบียบสาย ก็ขอขอบคุณสื่อมวลชนที่ช่วยประชาสัมพันธ์ เพราะจริงๆ เป็นเรื่องของรัฐบาล อย่างสายที่นำลงใต้ดินก็ทำมาเยอะแล้ว อย่างบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ที่ต้องการให้เกิดความสวยงาม ก็ทำมานานและเสร็จแล้ว รวมถึงสุขุมวิทตั้งแต่ซอย 1-71 ก็นำสายสื่อสารลงใต้ดินหมดแล้ว แต่ไม่สามารถทำแบบ 100% ได้ เพราะต้องใช้งบประมาณมหาศาล ซึ่งได้ทำมาตลอด และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ ทั้งนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนก็สามารถแจ้งมาเพื่อให้รัฐบาลลงไปดูแลแก้ไขปัญหาให้

The post ชัยวุฒิเตรียมหารือชัชชาตินำสายไฟลงดิน บอกรัฐบาลทำมาตลอด แค่ประชาสัมพันธ์ไม่เก่งเท่าชัชชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัยวุฒิแจง ปมกิจกรรมตัดสายไฟวานนี้ แค่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ เผยรัฐบาลผลักดันเรื่องสายไฟลงดินมาตลอด https://thestandard.co/chaiwut-des-explanation-of-cable-cutting-activities/ Tue, 28 Jun 2022 09:06:12 +0000 https://thestandard.co/?p=647457 ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

วันนี้ (28 มิถุนายน) ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่ากา […]

The post ชัยวุฒิแจง ปมกิจกรรมตัดสายไฟวานนี้ แค่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ เผยรัฐบาลผลักดันเรื่องสายไฟลงดินมาตลอด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

วันนี้ (28 มิถุนายน) ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมตัดสายไฟเมื่อวานนี้ (27 มิถุนายน) ว่าตนไม่รู้รายละเอียด แต่โครงการดังกล่าวก็เป็นของรัฐบาลที่ได้ผลักดันมาตลอดอยู่แล้ว โดยล่าสุดก็เป็นไปตามที่มอบให้ กสทช. เป็นเจ้าภาพหลักในการตัดสายสื่อสาร โดยมีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งมาจาก กสทช. ซึ่งตนได้ไปติดตามเร่งรัดและอยากให้ประชาชนทราบว่ามีโครงการแบบนี้

 

ชัยวุฒิยังระบุอีกว่า อยากให้ประชาชนรู้ว่ามีการประชาสัมพันธ์ โดยจุดไหนที่เป็นจุดเสี่ยงก็สามารถแจ้งมาได้ เพราะว่ามีสายสื่อสารจำนวนมากในแต่ละพื้นที่ แต่ยืนยันว่าจะทำให้เร็วที่สุด นอกจากนี้สิ่งที่ตนกำลังทำอยู่คือการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินในถนนสายหลัก เช่น ถนนสุขุมวิท หรือในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการดำเนินงานไปแล้ว แต่ก็จะทำไปเรื่อยๆ ซึ่งมีการประเมินว่าถ้าจะทำทั้งกรุงเทพฯ คงต้องใช้งบประมาณประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมาก 

 

ส่วนการจัดการสื่อสาร มองว่าอาจเป็นภาระของเอกชนที่อาจจะจ่ายไม่ไหว ทำให้โครงการยังไม่เดินหน้าเท่าที่ควร ตนจึงประสานงานหางบประมาณมาช่วย และทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่เป็นเจ้าของพื้นที่

 

ชัยวุฒิระบุว่า หน่วยงานที่กำกับดูแลทั้งหมดคือ กสทช. ตามรัฐธรรมนูญ ตนได้พูดคุยอยู่ตลอด ตอนนี้ได้มีการดำเนินการไปแล้ว ซึ่ง กสทช. ได้ให้งบมาบางส่วนมาจัดระเบียบสาย โดยรื้อสายเก่า แล้วสายใหม่ก็มีจำนวนน้อยลง และจะไม่เป็นอันตรายแบบที่เราเห็น ยืนยันว่าจะพยายามทำให้เต็มที่ที่สุด พร้อมกับขอฝากสื่อมวลชนไปถึงพี่น้องประชาชนว่า หากมีสายสื่อสารที่ดูแล้วคิดว่าเป็นอันตรายหรือรกรุงรังมาก สามารถแจ้งมาได้ที่ กสทช. หรือ กทม. ซึ่งจะมีการประสานงานให้เร็วที่สุด

 

“มันเป็นเรื่องของเอกชนด้วย เราไปตัดสายเขานี่คนเดือดร้อนคือใคร ประชาชนที่อินเทอร์เน็ตใช้ไม่ได้ ต้องคุยกันก่อน ต้องวางแผนดีๆ ต้องไปดูด้วยว่าสายไหนใช้ สายไหนไม่ใช้ เรื่องนี้ต้องวางแผนให้ดี” ชัยวุฒิกล่าว

The post ชัยวุฒิแจง ปมกิจกรรมตัดสายไฟวานนี้ แค่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ เผยรัฐบาลผลักดันเรื่องสายไฟลงดินมาตลอด appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. หารือ กฟน. เดินหน้าจัดระเบียบสายไฟ-สื่อสารลงดินรวม 236 กม. พร้อมเชื่อมระบบร้องเรียนกับ Traffy Fondue เอื้อประชาชน https://thestandard.co/organize-wires-communication-cables/ Wed, 22 Jun 2022 08:24:49 +0000 https://thestandard.co/?p=645000 จัดระเบียบสายไฟ-สื่อสารลงดิน

วันนี้ (22 มิถุนายน) ที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) สำนักงาน […]

The post กทม. หารือ กฟน. เดินหน้าจัดระเบียบสายไฟ-สื่อสารลงดินรวม 236 กม. พร้อมเชื่อมระบบร้องเรียนกับ Traffy Fondue เอื้อประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
จัดระเบียบสายไฟ-สื่อสารลงดิน

วันนี้ (22 มิถุนายน) ที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) สำนักงานใหญ่ เขตคลองเตย วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองผู้ว่าฯ กทม.) กล่าวภายหลังประชุมหารือเรื่องแผนการนำสายไฟลงดิน ร่วมกับ รงค์เพชร เขาเรียง รองผู้ว่าการปฏิบัติการระบบส่ง กฟน. โดยมี ไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. ร่วมประชุม ว่าการประชุมวันนี้เพื่อหารือการจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่ที่ยังมีเสาไฟฟ้าอยู่ กรณีการระงับการก่อสร้างโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายอากาศใต้ดินของ กฟน. หลักการทำงานคือการเตือนก่อน หากผู้รับจ้างมีแนวทางที่จะปรับปรุงก็จะปล่อยให้ทำงาน แต่หากเตือนไปแล้วแต่ไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขก็จะสั่งให้หยุด 

 

ทั้งนี้ กทม. จะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็วทุกจุด โดย กฟน. จะดูแลควบคุมในเรื่องของคุณภาพการก่อสร้าง และปรับรูปแบบฝาบ่อพักให้เป็นรูปแบบใหม่ ลดความขรุขระของขอบฝาบ่อ เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

สำหรับการจัดระเบียบสายสื่อสาร จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ กฟน. มีแผนเอาสายไฟฟ้าลงดินก็จะนำสายสื่อสารลงดินด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 คือการจัดระเบียบสายสื่อสารตามนโยบายของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งจะมีการนัดหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่ที่ยังมีเสาไฟฟ้าอยู่ ทั้งนี้จะตั้งคณะทำงาน เพื่อประสานการทำงานร่วมกับหน่วยการสื่อสารหลักๆ อย่างใกล้ชิด 

 

ทั้งนี้วิศณุได้หารือกับผู้บริหาร กฟน. ถึงแนวทางการเชื่อมต่อระบบร้องเรียน Traffy Fondue ในส่วนภารกิจซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ กฟน. เพื่อลดขั้นตอนของเอกสารและให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา ซึ่ง กฟน. ยินดีที่จะเชื่อมต่อระบบ Traffy Fondue กับระบบการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

วิศณุกล่าวว่า การยกระดับเมืองให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองระดับโลกได้ กฟน. ถือว่ามีส่วนสำคัญ เนื่องจากการขับเคลื่อนความเป็นเมืองที่ดีพลังงานต้องมีความเสถียร และการปรับปรุงต้องมีผลกระทบแน่นอน ที่ผ่านมาได้ร่วมมือช่วยเหลือกันมาอย่างต่อเนื่อง ได้เห็นถึงความพยายามของทั้งสองหน่วยงานที่จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองของโลก 

 

วิศณุกล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้ กฟน. ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ระยะทาง 236.1 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จ 62 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 174.1 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า รองรับความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต เสริมสร้างภูมิทัศน์ให้สวยงาม และเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน 

 

โดยมีหลักเกณฑ์การเลือกพื้นที่โครงการ ประกอบด้วย แนวถนนสายหลัก แนวรถไฟฟ้า ย่านธุรกิจและสถานที่สำคัญ และตามนโยบายของหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ รูปแบบการก่อสร้าง ประกอบด้วย วิธีการดันท่อ ใช้สำหรับการก่อสร้างสำหรับวางบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าบนถนนจราจร วิธีการดึงท่อใช้สำหรับการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าจากบ่อพักไปยังจุดจ่ายไฟต่างๆ วิธีการขุดเปิดใช้สำหรับการก่อสร้างบ่อพักและวางท่อร้อยสายไฟฟ้าบนทางเท้า 

 

ทั้งนี้ กฟน. ได้ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในการดำเนินโครงการ ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายใต้ดิน ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจและให้เกิดความร่วมมือ เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

 

วิศณุกล่าวต่อไปว่า การหารือในครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายสำคัญของผู้ว่าฯ กทม. 9 ด้าน 9 ดี 216 นโยบาย ประกอบด้วย นโยบายการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ นโยบายการรายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม. ผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนาเมือง และนโยบายกำกับดูแลและเร่งคืนผิวจราจรการก่อสร้างอย่างใกล้ชิดเพื่อการจราจรที่คล่องตัว

The post กทม. หารือ กฟน. เดินหน้าจัดระเบียบสายไฟ-สื่อสารลงดินรวม 236 กม. พร้อมเชื่อมระบบร้องเรียนกับ Traffy Fondue เอื้อประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดที่มาคำสั่ง กทม. ระงับเอกชนนำสายไฟลงดินถนน 3 เส้น หลังเตือนแล้วไม่แก้ ต้องจี้หาทางปรับปรุงถึงทำต่อได้ https://thestandard.co/bma-orders-to-suspend-private-sectors-from-bringing-power-lines-onto-roads/ Tue, 21 Jun 2022 08:05:45 +0000 https://thestandard.co/?p=644501 คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน

จากกรณีที่วานนี้ (20 มิถุนายน) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ […]

The post เปิดที่มาคำสั่ง กทม. ระงับเอกชนนำสายไฟลงดินถนน 3 เส้น หลังเตือนแล้วไม่แก้ ต้องจี้หาทางปรับปรุงถึงทำต่อได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน

จากกรณีที่วานนี้ (20 มิถุนายน) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกคำสั่งระงับการก่อสร้างโครงการนำสายสื่อสารลงดิน ในช่วงถนน 3 เส้น คือ วิทยุ สารสิน และหลังสวน หลังพบว่ามีปัญหาการฝังกลบฝาบนถนนหรือทางเท้าไม่เรียบร้อยและเป็นลูกคลื่น เป็นเวลา 3 วัน

 

คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน

 

ต่อมาผู้สื่อข่าวได้สอบถาม วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับการเปิดเผยว่า กทม. เคยผ่านขั้นตอนการเรียกผู้ดูแลโครงการดังกล่าวมาพูดคุย และชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ผลสุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไปยังไม่เห็นการดำเนินการแก้ไขใดๆ เกิดขึ้น

 

ซึ่งสาเหตุในการออกคำสั่งครั้งนี้เกิดจากข้อร้องเรียนของประชาชนที่แจ้งว่า โครงการดังกล่าวดำเนินงานในช่วงเวลากลางคืน แต่หลังเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแต่ละวัน พบว่าไม่มีการปิดฝาหรือปิดฝาไม่เรียบร้อย รวมทั้งส่วนที่ปิดฝาท่อแล้ว ฝาไม่เรียบสนิทไปกับพื้น ทำให้ประชาชนที่ต้องสัญจรไปมาเสี่ยงอันตราย

 

คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน

 

จึงเป็นที่มาของการออกคำสั่งระงับการก่อสร้างจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยวิศณุกล่าวย้ำว่า ก่อนที่ กทม. จะออกคำสั่งครั้งนี้เคยตักเตือนแล้ว ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะมีคำสั่งเกิดขึ้น จากนี้ผู้รับผิดชอบจะต้องใช้ช่วงที่หยุดก่อสร้าง หาแผนการปรับปรุงแก้ไขมาเสนอทาง กทม. เพื่อที่จะได้กลับไปดำเนินงานต่อ แต่หากยังไม่มีแผนที่เป็นรูปธรรม กทม. อาจจะขยายเวลาต่อไปอีก

 

วิศณุกล่าวว่า หลังจากนี้พื้นที่อื่นๆ ก็จะมีการปฏิบัติมาตรการนี้เช่นกัน คือจะต้องตรวจดูความเรียบร้อย อย่าให้เกิดข้อร้องเรียน และต้องหาทางแก้ปัญหา ซึ่งทางการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ช่วยย้ำเตือนให้ผู้รับผิดชอบตรวจความเรียบร้อยในโครงการหลังจากนี้ร่วมด้วย

 

คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน

 

อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่ทำให้เห็นว่าการก่อสร้างทั้ง 3 จุดมีปัญหาที่เห็นได้ชัดเจน คือรอยต่อบนพื้นจากฝาท่อที่ปิดบ่อเก็บสายสื่อสารเรียงต่อกันจำนวนมาก โดยทางแก้ที่ กทม. เคยเสนอให้คือโมเดลจากถนนพระราม 3 ที่ได้ทดลองใช้วิธีการลดจำนวนบ่อให้น้อยลงและทำให้ใหญ่ขึ้น นำสายต่างๆ ใส่รวมกันในบ่อเดียว ต่อมาคือการปิดรอยต่อโดยเทคอนกรีตให้เรียบเสมอกับพื้น แต่จะต้องมีฐานเพื่อรองรับน้ำหนักทั้งส่วนข้างบนและในบ่อด้วย

 

อย่างไรก็ตาม วิธีการแก้ปัญหาลักษณะนี้อาจทำให้ต้นทุนของผู้รับผิดชอบงานสูงขึ้น แต่ผลกระทบต่อประชาชนจะน้อยลง ซึ่งในเรื่องนี้จำเป็นต้องทำ

 

คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน คำสั่งระงับเอกชนนำสายไฟลงดิน

The post เปิดที่มาคำสั่ง กทม. ระงับเอกชนนำสายไฟลงดินถนน 3 เส้น หลังเตือนแล้วไม่แก้ ต้องจี้หาทางปรับปรุงถึงทำต่อได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>