สายวิชาชีพ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 01 Jul 2023 08:43:00 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สุดารัตน์ประกาศหนุนสปาแอนด์เวลเนสไทย สู่บริการระดับโลก ประสานสถานศึกษาสู่วิชาชีพที่มั่นคง https://thestandard.co/sudarat-support-spa-and-wellness/ Sat, 01 Jul 2023 08:43:00 +0000 https://thestandard.co/?p=810390 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

วันนี้ (1 กรกฎาคม) ที่พรรคไทยสร้างไทย สมาพันธ์สมาคมสปาแ […]

The post สุดารัตน์ประกาศหนุนสปาแอนด์เวลเนสไทย สู่บริการระดับโลก ประสานสถานศึกษาสู่วิชาชีพที่มั่นคง appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

วันนี้ (1 กรกฎาคม) ที่พรรคไทยสร้างไทย สมาพันธ์สมาคมสปาแอนด์เวลเนสไทย นำโดย ชวนัสถ์ สินธุเขียว พร้อมคณะกรรมการและสมาคมในสังกัดสมาพันธ์ฯ เข้าพบหารือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย และ สรเทพ โรจน์พจนารัช รองโฆษกพรรคไทยสร้างไทย และคณะทำงานด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย สนับสนุนและแนะแนวมาตรฐานการบริการของธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ เครือข่ายสนับสนุนในเชิงสุขภาพ ผนวกเครือข่ายด้านการศึกษา วัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ สินค้าแปรรูป และให้ความร่วมมือต่อทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

 

โดยทางสมาพันธ์ฯ เห็นว่าคุณหญิงสุดารัตน์คือผู้ที่ทำให้สปาไทยโด่งดังไปทั่วโลก เพราะในยุคที่คุณหญิงสุดารัตน์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้มองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ยอดเยี่ยม จนทำให้อุตสาหกรรมสปาและนวดเพื่อสุขภาพสร้างชื่อไปทั่วโลก เป็นที่จดจำของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาจนถึงทุกวันนี้ และที่สำคัญยังเป็นรากฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้เศรษฐกิจฐานรากและในครัวเรือนที่เพาะปลูกสมุนไพร นำมาแปรรูปใช้ในสถานประกอบการสปาและนวดเพื่อสุขภาพ สร้างรายได้ มูลค่ามหาศาล และขยายการเปิดสถานประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างมาตรฐานการบริการไว้ทั้งในและต่างประเทศ

 

โดยคุณหญิงสุดารัตน์รับปากว่าจะช่วยกำหนดเป้าหมายในการยกระดับการบริการ การนวดนอกสถานพยาบาล โดยผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงพยาบาลของรัฐมีส่วนในการสนับสนุน รวมถึงการปรับภาพลักษณ์ของอาชีพผู้ให้บริการนวด สู่การยกระดับเป็นวิชาชีพ ซึ่งจะต้องประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษามีความมั่นใจ ทั้งในแง่ของการประกอบอาชีพ ความยั่งยืนของอาชีพ และรายได้ที่จะสร้างความมั่นคงให้กับผู้ที่อยู่ในอาชีพบริการดังกล่าว 

 

หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทยกล่าวด้วยว่า จะช่วยต่อยอดยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยส่งเสริมและยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ ต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ เชื่อมโยงและผสมผสานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สร้างขึ้นใหม่ มาปรับใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการให้มีความเหมาะสม และเป็นที่ยอมรับมากขึ้นจากทั่วโลก

The post สุดารัตน์ประกาศหนุนสปาแอนด์เวลเนสไทย สู่บริการระดับโลก ประสานสถานศึกษาสู่วิชาชีพที่มั่นคง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ว่าด้วยประสบการณ์ฝึกงานของผู้สอบบัญชี: มองสหรัฐฯ แล้วหันกลับมามองไทย https://thestandard.co/auditor-internship-experience-us-thai/ Wed, 15 Mar 2023 12:38:44 +0000 https://thestandard.co/?p=763497

หากย้อนเวลากลับไปในพุทธศตวรรษที่แล้ว หรือราวเกือบหนึ่งร […]

The post ว่าด้วยประสบการณ์ฝึกงานของผู้สอบบัญชี: มองสหรัฐฯ แล้วหันกลับมามองไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

หากย้อนเวลากลับไปในพุทธศตวรรษที่แล้ว หรือราวเกือบหนึ่งร้อยปี กฎหมายหลักของสยาม หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการถือกำเนิดของหน้าที่และความรับผิดชอบของ ‘ผู้สอบบัญชี’ ไว้เป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ดังตัวอย่างตามบทบัญญัติต่อไปนี้ เช่น

 

  • มาตรา 1108 (6) เลือกตั้งกรรมการและพนักงานสอบบัญชีอันเป็นชุดแรกของบริษัทและวางกำหนดอำนาจของคนเหล่านี้ด้วย หรือ

 

  • มาตรา 1197 งบดุลนั้นต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือหลายคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายในสี่เดือน นับแต่วันที่ลงในงบดุลนั้น อนึ่งให้ส่งสำเนางบดุลไปยังบุคคลทุกคนบรรดามีชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทแต่ก่อนวันนัดประชุมใหญ่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน นอกจากนั้นให้มีสำเนางบดุลเปิดเผยไว้ในสำนักงานของบริษัทในระหว่างเวลาเช่นว่านั้น เพื่อให้ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือนั้นตรวจดูได้ด้วย หรือ

 

  • มาตรา 1208 ผู้สอบบัญชีนั้นจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ได้ แต่บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการงานที่บริษัททำโดยสถานอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดนอกจากเป็นแต่ผู้ถือหุ้นในบริษัทเท่านั้นแล้ว ท่านว่าจะเลือกเอามาเป็นตำแหน่งผู้สอบบัญชีหาได้ไม่ กรรมการก็ดี หรือผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของบริษัทก็ดี เวลาอยู่ในตำแหน่งนั้นๆ ก็จะเลือกเอามาเป็นตำแหน่งผู้สอบบัญชีของบริษัทหาได้ไม่

 

มิเพียงแต่บทบัญญัติที่ยกมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น กฎหมายยังให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้สอบบัญชีอย่างมาก โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นกลไกบังคับสัญญาระหว่างคู่สัญญาฝ่ายต่างๆ เช่น ผู้ถือหุ้นกับผู้บริหารกิจการ หรือนิติบุคคลกับรัฐบาล เป็นต้น ซึ่งผู้สอบบัญชีจะช่วยให้ข้อมูลที่ผู้บริหารจัดทำและเผยแพร่เป็นไปอย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น วิชาชีพ ‘ผู้สอบบัญชี’ จึงถือกำเนิดขึ้นมาในประเทศไทยจากนิตินโยบายอย่างเป็นรูปธรรม

 

ในปัจจุบันผู้สอบบัญชีหรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า ‘ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต’ ได้รับการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพโดยสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีมีเป็นจำนวนมาก แต่ฉบับที่น่าสนใจไม่น้อย คือข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้สภาวิชาชีพบัญชีใช้อำนาจรัฐเข้าแทรกแซงการทำงานของตลาด ตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อจัดระเบียบการประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จำเป็น อันเป็นข้อยกเว้นของหลักเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐไทย ทั้งนี้ ข้อบังคับฉบับดังกล่าวกำหนดคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีตามหลักการวัยวุฒิ คุณวุฒิหรือการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ความรู้ทางวิชาการที่เป็นปัจจุบัน และการเป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพ

 

หากแต่หัวข้อที่จะนำมาวิเคราะห์ให้เห็นในแง่มุมต่างๆ เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงาน ซึ่งข้อบังคับของสภาวิชาชีพกำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้นั้นจะต้องผ่านการฝึกหัดงานสอบบัญชีกับผู้ให้การฝึกหัดงานที่ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี นับจากวันยื่นคำขอแจ้งการฝึกงานและมีเวลาฝึกหัดงานรวมกันไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ และหากจำเป็นต้องแก้ไขควรแก้เพียงไรและอย่างไร

 

งานวิจัยเรื่อง Do Individual Auditors Affect Audit Quality? Evidence from Archival Data ของ Gul, Wu และ Yang ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Accounting Review ปี 2013 พบว่า คุณลักษณะเชิงปัจเจกของผู้สอบบัญชีสามารถอธิบายคุณภาพของการสอบบัญชีได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวประกอบด้วยพื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์การทำงานในสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ ลำดับของตำแหน่งในสำนักงานสอบบัญชี และความเกี่ยวข้องทางการเมือง

 

หรืองานวิจัยของ Nelson และ Tan ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Auditing: A Journal of Practice & Theory ในปี 2005 ก็ให้ความเห็นว่า ผู้สอบบัญชีจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานที่หลากหลายเพื่อให้ความมั่นใจและความเห็นจากการสอบบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามนั้น คุณลักษณะส่วนบุคคลต่างๆ ของผู้สอบบัญชี เช่น ทักษะหรือบุคลิกภาพ เป็นต้น จึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานสอบบัญชี

 

ขณะที่ DeFond และ Francis ผู้ตีพิมพ์บทความในวารสาร Auditing: A Journal of Practice & Theory ในปี 2005 เช่นเดียวกัน ก็เสนอความเห็นสำทับว่า การวิเคราะห์และประเมินผลของคุณภาพการสอบบัญชีควรคำนึงตั้งแต่ปัจจัยของสำนักงานสอบบัญชีไปจนถึงระดับผู้สอบบัญชีแต่ละคน เพราะฉะนั้นหากผู้กำหนดนโยบายต้องการสร้างคุณภาพการสอบบัญชีให้สูงขึ้นจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี การกำหนดประสบการณ์ของผู้สอบบัญชีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ยากยิ่งจะปฏิเสธได้

 

ตามข้อเท็จจริงแล้วคงต้องยอมรับว่า สาระสำคัญของวิชาชีพบัญชีส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นต้นตำรับระบบทุนนิยมที่ผู้สอบบัญชีมีบทบาทที่สำคัญยิ่งไม่น้อยกว่าบุคคลอื่น อีกทั้งระบบการศึกษาและงานวิจัยที่สำคัญทางด้านการบัญชี โดยเฉพาะการวิจัยเชิงประจักษ์ก็ล้วนแล้วแต่ปรากฏขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาแทบทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การก้าวข้ามไปสังเกตการณ์การกำกับดูแลคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเป็นเรื่องฟังขึ้นด้วยหลักตรรกะ

 

การกำกับดูแลผู้สอบบัญชีมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปในแต่ละมลรัฐ อันเป็นลักษณะพิเศษของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนจึงคิดถี่ถ้วนแล้วว่าการเลือกมาเพียงห้ารัฐและหนึ่งเมืองหลวงที่มีความน่าสนใจและมีอิทธิพลในระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและโลกน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ ตารางที่ 1 แสดงถึงหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของใบอนุญาตผู้สอบบัญชีจำแนกตามรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

 

หากเปรียบเทียบกันโดยตรงแล้ว สภาวิชาชีพบัญชีของประเทศไทยกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกากลับกำหนดเพียงแค่ 1 ปี ความแตกต่างจำนวน 2 ปี กลายเป็นระยะเวลาที่มีนัยสำคัญสำหรับผู้ฝึกงานอย่างมาก

 

เหตุที่แตกต่างกันจะเป็นเพราะหลักสูตรบัญชีบัณฑิตของไทยด้อยกว่าของสหรัฐอเมริกาหรือ? เพราะการฝึกงานของสหรัฐอเมริกามีประสิทธิภาพมากกว่าไทยหรือ? เพราะสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานทางวิชาชีพบัญชีมีสัมฤทธิ์ผลที่รวดเร็วกว่าหรือ? หรือเป็นเพราะเงื่อนงำที่ซ่อนอยู่จากการกำกับดูแล…น่าสนใจจริงๆ

 


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

The post ว่าด้วยประสบการณ์ฝึกงานของผู้สอบบัญชี: มองสหรัฐฯ แล้วหันกลับมามองไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสศ. หนุนผลิตกำลังคนสายอาชีพ ด้วยทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง หวังให้หลุดพ้นกับดักความยากจนข้ามรุ่น https://thestandard.co/eef-support-professional-career/ Sat, 17 Dec 2022 12:37:45 +0000 https://thestandard.co/?p=725133 กสศ.

วานนี้ (16 ธันวาคม) ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ […]

The post กสศ. หนุนผลิตกำลังคนสายอาชีพ ด้วยทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง หวังให้หลุดพ้นกับดักความยากจนข้ามรุ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสศ.

วานนี้ (16 ธันวาคม) ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ มูลนิธิเครือข่ายพยาบาลชุมชน และสถาบัน ORYGEN ประเทศออสเตรเลีย 

 

ร่วมจัดประชุมวิชาการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2565 สร้างคน สร้างโอกาส สร้างงาน ด้วยการศึกษาสายอาชีพ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนสายอาชีพเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนด้อยโอกาสได้เรียนต่อสายอาชีพชั้นสูง

 

ร.อ.ท. สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง คือแรงกระเพื่อมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การขยายทุนหลายวิทยาลัย ผลิตกำลังคน 2,500 คนต่อปี เป็นช่องทางสำคัญ เข้าถึงทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ กสศ. ยังช่วยยกระดับทำให้เกิดระบบการแนะแนว สร้างการรับรู้การศึกษาสายอาชีพ เชื่อมต่อกับโรงเรียนมัธยมศึกษา รวมถึงการนำพาเด็กหลุดจากระบบเข้ามาสู่รั้วอาชีวศึกษา ถือเป็นกระบวนการสอดคล้องเป้าหมายรัฐบาล อาชีวะแข็งแกร่งภายใต้การทำงานร่วมกับ กสศ. ประเทศและเศรษฐกิจก็จะขับเคลื่อนไปด้วย 

 

ร.อ.ท. สมพร ยังได้กล่าวขอบคุณ กสศ. ที่เห็นความสำคัญของเยาวชนที่ขาดแคลน ด้อยโอกาส หยิบยื่นโอกาสทางการศึกษา ชาวอาชีวศึกษาถือเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะเดินหน้าตามแผนที่กำหนดไว้ร่วมกับ กสศ. เป็นพลังขับเคลื่อนตอบโจทย์ความต้องการของประเทศส่งเสริมสร้างโอกาสทางอาชีพให้ดีที่สุด ไม่เพียงเท่านั้นนอกจากเรียนต่อ มีงานทำแล้ว เด็กอาชีวะต้องพัฒนาสู่ผู้ประกอบการให้ได้เพื่อหลุดพ้นจากความยากจน

 

“สถาบันการศึกษาหลายๆ แห่งต้องการร่วมเป็นเครือข่ายเหมือนเรา แต่ยังทำไม่ได้ วันนี้พ่อไก่แม่ไก่ที่มีความสำคัญจะนำพา ยกระดับขยายผลแนวทางลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไปทั่วประเทศ ถ้าอาชีวะแข็งแกร่ง ประเทศจะได้รับอานิสงส์จากการขับเคลื่อนของ กสศ. ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ดี” ร.อ.ท. สมพรกล่าว 

 

ร.อ.ท. สมพรกล่าวต่อไปว่า สอศ. ทำงานเป็นพันธมิตรร่วมกับสถานศึกษาอาชีวศึกษา และสายอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนจากทุกสังกัด การขับเคลื่อนนโยบายร่วมกับ กสศ. และภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดภาพปลายทางใน 2 ด้านสำคัญ คือ 

 

  1. การขยายทุนการศึกษาแก่เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่กว้างขวางขึ้น เพิ่มเติมจากที่ กสศ. สนับสนุนตัวแบบได้เพียง 1% ต่อรุ่น หรือจำนวน 2,500 ทุนต่อปี ผ่านความร่วมมือหลายภาคส่วนที่มีทรัพยากร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 

 

  1. การส่งเสริมผู้บริหาร ครู และสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการดูแลเยาวชนครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ การศึกษา สุขภาพจิตใจ อาชีพ และโอกาสการมีงานทำ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงนี้ เป็นอีกช่องทางสำคัญในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ยากจนและด้อยโอกาส ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางรายได้และในมิติต่างๆ 

 

ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ของ กสศ. ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ที่คัดเลือกโดยสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วม มีจำนวนนักศึกษาทุนสะสมทั้งหมด 9,614 คน เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 300 กว่าคน สำเร็จการศึกษาแล้ว 3,056 คน 

 

ปัจจุบัน กสศ. เปิดรับสมัครผู้รับทุนการศึกษา ปีการศึกษา 2566 เข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และอื่นๆ ที่เปิดสอนระดับ ปวช. ปวส. อนุปริญญา และ ประกาศนียบัตร 116 แห่ง ใน 44 จังหวัด รวมกว่า 30 สาขา สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานระดับประเทศและท้องถิ่น เช่น สาขาเครื่องกล สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาเทคนิคการผลิต สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก สาขาอุตสาหกรรมเกษตรศาสตร์ และมีงานทำทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา

        

“โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เป็นแฟลกชิปของ กสศ. ที่เป็นส่วนหนึ่งโอกาสทางการศึกษาสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 9 ที่ต้องการให้เด็กเยาวชนไทยหลุดจากกับดักความยากจน และกับดักรายได้ปานกลาง เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะเยาวชนไทยไม่แพ้ใครในโลก หากเราพัฒนา มุ่งมั่น สนับสนุน ผลักดัน เยาวชนที่ขาดโอกาสไปสู่ทางสายอาชีพ จะช่วยให้เขาหลุดจากกับดักความยากจน ไม่เพียงมีรายได้ปานกลาง แต่สามารถไปสู่รายได้สูงในอนาคต” ดร.ไกรยสกล่าว 

 

นอกจากนี้ กสศ. ยังดำเนินการพัฒนาตัวแบบสถานศึกษานวัตกรรมจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) วิทยาลัยเทคนิคพังงา ใน 7 สาขาพัฒนาสถานศึกษานวัตกรรม ได้แก่ เทคโนโลยีการบริการฐานวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรฐานวิทยาศาสตร์, เทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง, อิเล็กทรอนิกส์, เมคคาทรอนิกส์, เตรียมวิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์กราฟิก 

 

กระจายในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, ตาก, สิงห์บุรี, พระนครศรีอยุธยา และพังงา โดยเป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อพัฒนาสถานศึกษาตัวแบบที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ผ่านการร่วมมือร่วมทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐในการพัฒนาสถานศึกษาตัวแบบ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และบริษัท สมบูรณ์แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เป็นต้น 

 

ขณะที่ พรเทพ เจริญผลจันทร์ ผู้จัดการชุมชนสัมพันธ์ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หัวใจสำคัญในการพัฒนาการศึกษาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการแรงงานของประเทศ ต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกชนและสถานศึกษาเป็นเนื้อเดียวกันในอนาคต โดยพัฒนาความร่วมมือในรูปแบบโครงการทวิภาคี ให้มีความเข้มข้นในระดับปฏิบัติร่วมกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามรูปแบบการให้ทุนของ กสศ. คือโอกาสในการสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านระหว่างสถานประกอบการ และสถานศึกษา เนื่องจาก กสศ. ไม่เพียงให้ทุนกับนักศึกษา แต่ยังให้ทุนกับสถานศึกษาพัฒนาหลักสูตร ร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อผลิตนักศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการได้

 

“บริษัทเบทาโกร อยากได้คนแบบไหนมาทำงานก็หารือกับชุมชนว่าเราต้องการทักษะความต้องการแรงงานแบบไหน แลกเปลี่ยนพูดคุย พัฒนาหลักสูตรร่วมกัน เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาให้น้องๆ ในชุมชนมีโอกาสมีงานทำ” พรเทพกล่าว

 

กานต์รวี ทองพูล หัวหน้าสำนักงานศูนย์ฝึกอบรมการรถไฟ รฟท. กล่าวว่า โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ เน้นภาคปฏิบัติจริงจากการเรียนรู้ระบบราง และอาจารย์ผู้สอนก็เป็นเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการของ รฟท.  

 

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมรางในไทยถือว่ามีความเติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเรียนรู้อย่างหลากหลาย และสามารถเลือกทำงานในภาคเอกชนอื่นๆ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและเครือข่ายสถานศึกษาในการจัดทำหลักสูตรที่มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้จริง และเสริมการเรียนรู้ทักษะชีวิต เพื่อให้นักเรียนสามารถปรับตัวในการไปทำงานภายนอกได้ ตอบสนองความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศที่มีมากขึ้น 

The post กสศ. หนุนผลิตกำลังคนสายอาชีพ ด้วยทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง หวังให้หลุดพ้นกับดักความยากจนข้ามรุ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: มาตรฐานอาชีพสู่บริการที่มีคุณภาพ https://thestandard.co/career-standard-to-qualified-service/ Sun, 15 Aug 2021 03:00:50 +0000 https://thestandard.co/?p=525173

อาชีพของคนไทยในปัจจุบันมีมากกว่า 800 อาชีพ แต่อาชีพส่วน […]

The post ชมคลิป: มาตรฐานอาชีพสู่บริการที่มีคุณภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาชีพของคนไทยในปัจจุบันมีมากกว่า 800 อาชีพ แต่อาชีพส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่ไม่ได้รับการรับรองหรือมีการบ่งบอกมาตรฐานของอาชีพนั้น

 

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เล็งเห็นถึงความสำคัญในทุกอาชีพของคนไทย ที่สร้างคุณค่าและสร้างรายได้ให้กับประเทศแม้เป็นอาชีพเล็กๆ จึงจัดทำมาตรฐานของวิชาชีพขึ้นมา เพื่อสนับสนุนให้อาชีพเล็กๆ มีมาตรฐานรองรับ และมีรายได้อย่างยั่งยืน

The post ชมคลิป: มาตรฐานอาชีพสู่บริการที่มีคุณภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าชายแฮร์รีรับตำแหน่งผู้บริหารของ BetterUp บริษัทให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาวิชาชีพผ่านช่องทางออนไลน์ https://thestandard.co/prince-harry-got-executive-position-at-betterup/ Wed, 24 Mar 2021 10:52:36 +0000 https://thestandard.co/?p=468489 เจ้าชายแฮร์รีรับตำแหน่งผู้บริหารของ BetterUp บริษัทให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาวิชาชีพผ่านช่องทางออนไลน์

หลังประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ และตัดสินใ […]

The post เจ้าชายแฮร์รีรับตำแหน่งผู้บริหารของ BetterUp บริษัทให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาวิชาชีพผ่านช่องทางออนไลน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าชายแฮร์รีรับตำแหน่งผู้บริหารของ BetterUp บริษัทให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาวิชาชีพผ่านช่องทางออนไลน์

หลังประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ และตัดสินใจบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ดูเหมือนว่าตอนนี้ชีวิตของเจ้าชายแฮร์รีน่าจะกำลังยุ่งพอสมควร เพราะนอกจากหลากหลายโปรเจกต์บันเทิงที่มีอยู่ในมือแล้ว ล่าสุดเขาเพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบริหารระดับสูงในตำแหน่ง Chief Impact Officer ของ BetterUp บริษัทให้บริการคำปรึกษาด้านการพัฒนาวิชาชีพผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย

 

เจ้าชายแฮร์รีกล่าวถึงเป้าหมายในการเข้ามารับตำแหน่งนี้ว่า เขาต้องการยกระดับการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิต พร้อมสร้างชุมชนที่เต็มไปด้วยการสนับสนุน ความเห็นอกเห็นใจกัน และต้องการประคับประคองสภาพแวดล้อมของบทสนทนาที่จริงใจและค่อนข้างเปราะบางด้วย ทั้งนี้ดยุกแห่งซัสเซ็กซ์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าก่อนจะตัดสินใจรับตำแหน่ง เขาได้ทำงานร่วมกับผู้ให้คำปรึกษาคนหนึ่งของทีม BetterUp และพบว่าตัวเขาได้รับประสบการณ์ที่ล้ำค่ามากๆ 

 

“เจ้าชายแฮร์รีจะขยายขอบเขตงานที่เขาทำมาตลอดหลายปีในฐานะที่เขาเป็นผู้ให้ความรู้ ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชุมชน ผู้ให้การสนับสนุน และเห็นความสำคัญของการมุ่งเน้นป้องกันปัญหาด้านจิตใจ รวมถึงเรื่องศักยภาพของมนุษย์ทั่วโลก” อเล็กซี โรบิชู ซีอีโอของ BetterUp กล่าว

 

สำหรับ BetterUp เป็นอีกหนึ่งบริษัทใหญ่ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 มีโค้ชหรือผู้ให้คำปรึกษาทำงานอยู่ถึง 2,000 คน ส่วนรูปแบบของบริการก็จะเป็นการพูดคุยให้คำปรึกษา เสนอเนื้อหาด้านการพัฒนาวิชาชีพและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ผ่านการวิดีโอคอลแบบตัวต่อตัวให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นเหล่าพนักงานจากบริษัทอื่นๆ เพื่อติดตามพัฒนาการความสามารถ และช่วยให้พวกเขาเติบโตในหน้าที่การงาน โดยมีรายงานว่ามีบริษัทกว่า 300 แห่งรวมทั้ง Warner Bros., Lyft และ Google ก็เข้ามาใช้บริการของ BetterUp 

 

ทั้งนี้ เจ้าชายแฮร์รียังมีโปรเจกต์อีกมากมายที่เขาทำร่วมกับภรรยา เมแกน มาร์เคิล ไม่ว่าจะเป็น Archewell มูลนิธิการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ให้การสนับสนุนองค์กรที่ดูแลปัญหาด้านสุขภาพจิต ความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ และอื่นๆ, Archewell Productions โปรดักชันเฮาส์ผลิตภาพยนตร์ ซีรีส์ สารคดี และรายการทีวี ที่เพิ่งเซ็นสัญญาร่วมงานกับสตรีมมิงอันดับหนึ่งอย่าง Netflix ไป 5 ปี และ Archewell Audio ที่พวกเขาเซ็นสัญญาร่วมงานกับ Spotify หลายปีเพื่อผลิตรายการพอดแคสต์ ซึ่งอีพีแรกถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2020

 

ภาพ: Jeremy Selwyn – WPA Pool / Getty Images 

อ้างอิง:

The post เจ้าชายแฮร์รีรับตำแหน่งผู้บริหารของ BetterUp บริษัทให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาวิชาชีพผ่านช่องทางออนไลน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บอกให้โลกรู้ว่าคุณคือ ‘มืออาชีพ’ ด้วย ‘คุณวุฒิวิชาชีพ’ เครื่องมือประเมินความสามารถตามมาตรฐานอาชีพที่จะพาคุณไปทำงานที่ไหนในโลกก็ได้ https://thestandard.co/tpqi-put-the-right-man-on-the-right-job/ Mon, 04 Feb 2019 09:30:52 +0000 https://thestandard.co/?p=326345

‘Put the right man on the right job’ คำกล่าวนี้จะเกิดขึ […]

The post บอกให้โลกรู้ว่าคุณคือ ‘มืออาชีพ’ ด้วย ‘คุณวุฒิวิชาชีพ’ เครื่องมือประเมินความสามารถตามมาตรฐานอาชีพที่จะพาคุณไปทำงานที่ไหนในโลกก็ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘Put the right man on the right job’ คำกล่าวนี้จะเกิดขึ้นจริงในสังคมการทำงานไม่ได้เลย หากไม่มีหลักเกณฑ์ในการวัดระดับความสามารถของทักษะวิชาชีพ ประเด็นสำคัญก็คือ เมื่อผู้ประกอบการเองก็ไม่มีทางรู้ว่าคนในองค์กรมีทักษะตรงกับงานที่มอบหมายให้หรือไม่จนกว่าจะได้ลงมือทำงานจริง ก็อาจเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาในกระบวนการคัดเลือกและทดลองงาน คนทำงานเองหากมีทักษะเกินกว่าตำแหน่งงานที่ทำอยู่ แต่ยังต้องทำงานในตำแหน่งเดิม เพราะขาดเครื่องมือที่จะใช้วัดระดับความสามารถให้เป็นที่ยอมรับ แย่ไปกว่านั้นคืออาจต้องหลีกทางให้กับเด็กจบใหม่ประสบการณ์น้อยแต่มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่สูงกว่าคว้าตำแหน่งนั้นไป

ความจริงก็คือคุณวุฒิทางการศึกษายังจำเป็น แต่ไม่ทรงพลังมากพอเมื่อสาขาวิชาที่เรียนมาอาจไร้ค่าทันทีในยุคที่บางอาชีพกำลังจะหายไป และตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นนั้นแล้วเครื่องมือที่จะช่วยการันตีว่าทักษะและความสามารถของคุณยังมีคุณค่า และพิสูจน์ได้ว่าคุณคือมืออาชีพตัวจริงในสายอาชีพ นั่นก็คือ คุณวุฒิวิชาชีพ 

 

ประเมินมาตรฐานวิชาชีพเบื้องต้นได้ที่ www.tpqi.go.th

 

 

แอปฯ ปักหมุดมืออาชีพ ค้นหามืออาชีพแค่คลิก 

เครื่องมือในการค้นหามืออาชีพในอนาคตจะอยู่ในมือของทุกคน และจะมาในรูปแบบของแอปฯ ที่รวบรวมมืออาชีพจากทุกสายอาชีพที่ผ่านการประเมิน ได้ตรา ‘มอช. มืออาชีพ’ จาก สคช. จะถูกรวมไว้ในแอปฯ เดียว

 

องค์กรจะหาคนก็มาคัดเลือกจากแอปฯ นี้ ผู้ประกอบอาชีพที่อยากยกระดับตัวเองก็ต้องเร่งพัฒนาฝีมือ หมั่นประเมินศักยภาพตัวเองอยู่เสมอ และเมื่อได้ตรา ‘มอช. มืออาชีพ’ ก็จะได้เป็นหนึ่งในมืออาชีพของแอปฯ นี้

 

แต่การจะเป็นคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานของ สคช. และมีรายชื่ออยู่ในแอปฯ ปักหมุดมืออาชีพก็ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของแต่ละบุคคล แต่ละอาชีพ เพราะมีมาตรฐานที่ประเมินศักยภาพของบุคคลในแต่ละสาขาวิชาชีพอยู่แล้ว ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้กัน

ที่แคนาดามีการกำหนดมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มอาชีพนักทรัพยากรมนุษย์ของประเทศแคนาดา ดำเนินการโดย สภาความร่วมมือด้านทรัพยากรมนุษย์แห่งแคนาดา (Canadian Council of Human Resources Associations: CCHRA) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1994 โดยความร่วมมือจากองค์การด้านทรัพยากรมนุษย์ทั่วทั้งแคนาดา การดำเนินการเพื่อประเมินและรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพด้านทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการผ่านหน่วยงาน The Certified Human Resources Professional (CHRP) ซึ่งการรับรองมาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ สะท้อนความเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพของผู้ปฏิบัติงาน จากการติดตามพบว่า ร้อยละ 45 ที่ผ่านการรับรองจากนักทรัพยากรมนุษย์ระดับทั่วไป (HR generalists) ที่ CHRP สามารถขึ้นสู่ตำแหน่งผู้จัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR Managers) ได้ภายใน 5 ปี

หรือประเทศจีนเองล่าสุดก็เพิ่งออกมาตรฐานวิชาชีพชุดใหม่สำหรับ ‘ผู้ดูแลผู้สูงอายุ’ ผลักดันให้ประชาชนประกอบอาชีพที่กำลังขาดแคลนเพิ่มขึ้น ปรับเปลี่ยนทักษะที่จำเป็นให้สอดคล้องกับความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุ

หน่วยงานภาครัฐของไทยอย่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ TPQI ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ก็เดินหน้าเรื่องนี้จริงจัง เพื่อต้องการพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ สนับสนุนกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มวิชาชีพในการจัดทำมาตรฐานอาชีพไปสู่การพัฒนากำลังคน

เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดขึ้น ระบบคุณวุฒิวิชาชีพเป็นเครื่องมือใช้วัดความเก่งของคนอีกรูปแบบ แต่เป็นการวัดความเก่งในการทำงานตามอาชีพ โดยมีมาตรฐานเป็นตัวกำหนดตามระดับชั้น ใครที่ได้ชั้นสูงแปลว่ามีทักษะและความสามารถการทำงานในอาชีพนั้นเก่งกว่า

  

 

มาตรฐานอาชีพวัดอย่างไรและวัดจากอะไร 

การจะได้คุณวุฒิทางการศึกษามาก็ต้องเรียนตามหลักสูตรและวัดผลตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด การเข้ารับการประเมินและรับรองมาตรฐานอาชีพเพื่อให้ได้คุณวุฒิวิชาชีพก็คล้ายกัน แต่จะถูกกำหนดเกณฑ์ในการประเมินมาตรฐานอาชีพโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพนั้นๆ ภายใต้กรอบคุณวุฒิวิชาชีพที่สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ NQF และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน AQRF โดยสถาบันฯ ได้ร่วมกับผู้ประกอบการในสาขาอาชีพต่างๆ ในการพิจารณา และกำหนดระดับของคุณวุฒิวิชาชีพไว้ 8 ระดับชั้น ซึ่งเป็นกรอบที่ทุกประเทศยอมรับ

จะประเมิน 3 ส่วนคือ องค์ความรู้ด้วยข้อเขียน ประเมินทัศนคติด้วยการสัมภาษณ์ และประเมินทักษะที่ต้องปฏิบัติจริงกับเครื่องไม้เครื่องมือจริงๆ เช่น เชฟก็ต้องประเมินการทำอาหาร แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละอาชีพว่าจะประเมินทักษะครบทั้ง 3 ด้านหรือไม่ เพราะบางอาชีพอาจไม่ต้องสอบปฏิบัติ เช่น ฝ่ายบุคคล จะใช้การสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์เป็นหลัก

สคช. จัดทำมาตรฐานอาชีพไปแล้วกว่า 700 อาชีพ มีผู้เข้ารับการประเมินและรับรองกว่าแสนคน ทั้งผู้ประกอบอาชีพและองค์กรที่ส่งพนักงานมาร่วมประเมิน ตัวอย่างองค์กรใหญ่ๆ ก็เช่น Chalachol Hair Studio ร้านเสริมสวยระดับไฮเอนด์ เป็นต้น จนถึงตอนนี้มีผู้ผ่านการประเมินและรับรองความเป็นมืออาชีพแล้วกว่า 89,000 คน ส่วนคนที่ไม่ผ่านการประเมินจะรู้ทันทีว่าตัวเองยังขาดทักษะอะไรในสายอาชีพนั้นๆ เปรียบได้กับการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องก็รักษาได้ตรงจุด จึงมุ่งพัฒนาตัวเองได้อย่างตรงจุด 

 

                                  

อาชีพส่วนหนึ่งที่ สคช. จัดทำมาตรฐานอาชีพไปแล้ว  

 

 

ค้นหา ‘ความเป็นมืออาชีพ’ ในตัวเอง ค้นให้พบ ‘มืออาชีพ’ ในองค์กร
ปัจจุบัน สคช. มีหน่วยงานรับประเมินกระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 200 แห่ง ส่วนคณะกรรมการในการให้ใบรับรองมาจากคนที่ประกอบอาชีพนั้นๆ เจ้าหน้าที่ที่ทำการประเมินก็เป็นคนในอาชีพที่ต้องผ่านการอบรมและประเมินเช่นกัน โดยใช้มาตรฐานสากลคือ ISO 17024 ที่ใช้กันทั่วโลกเกี่ยวกับหน่วยงานที่จะประเมินทักษะความสามารถของคน

หากผ่านการประเมินก็จะได้หนังสือรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ถือเป็นใบเบิกทางให้กับอีกหลายอาชีพที่ไม่มีวุฒิการศึกษารองรับ เช่น คนขับแท็กซี่ พ่อค้าแม่ค้าสตรีทฟู้ด ช่างทำผม คนดูแลผู้สูงอายุ ช่างซ่อมรถยนต์ ฯลฯ ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวจะมีอายุ 3 ปีหลังจากประเมินและรับรอง เมื่อครบกำหนดก็ต้องมาประเมินใหม่ หรือจะทำการประเมินเพื่อยกระดับชั้นตัวเองก็ได้ และนอกจากหนังสือรับรอง ยังมีการติดสัญลักษณ์มืออาชีพให้ด้วย

 

 

ใครได้ประโยชน์จากเครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

หากมาตรฐานวิชาชีพกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการสร้างมาตรฐานอาชีพใหม่ในสังคมไทย ทุกคนและทุกฝ่ายล้วนได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ หน่วยเล็กสุดอย่างผู้ประกอบอาชีพ เมื่อมีระบบที่รับรองความสามารถตามมาตรฐานอาชีพของตนเอง ก็นำคุณวุฒิวิชาชีพนี้เป็นบันไดสู่ความก้าวหน้าในอาชีพ เพราะตอนนี้ทาง สคช. กำลังดำเนินการเรื่องการเทียบโอนคุณวุฒิวิชาชีพกับคุณวุฒิการศึกษา เช่น เด็กที่จบอาชีวะ ทำงานซ่อมเครื่องยนต์มาหลายปี เมื่อเข้าสู่การประเมิน ตามมาตรฐานอาชีพพบว่า เทียบเคียงทักษะความรู้ความสามารถเท่ากับปริญญาตรี อาจเรียนเสริมแค่บางวิชาก็ทำเรื่องเทียบและได้วุฒิปริญญาตรีได้เลย และยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนตามระดับคุณวุฒิ

โอกาสทางอาชีพยังหมายถึงการไปทำงานต่างประเทศโดยใช้คุณวุฒิวิชาชีพเป็นใบรับรอง เนื่องจาก สคช. จัดทำมาตรฐานอาชีพที่สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรฐานของกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนและในระดับสากล เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในกรณีที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศ

กรณีตัวอย่าง เช่น ช่างทำผมที่ผ่านประเมินและรับรองตามมาตรฐานอาชีพ และได้ไปทำงานเป็นช่างทำผมที่ฟินแลนด์ หรือเจ้าของร้าน Food Truck ได้รับใบอนุญาตประกอบร้านอาหารที่นิวยอร์ก จากการมีคุณวุฒิวิชาชีพ ทาง สคช. ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างผู้ว่าจ้างกับนายจ้างเท่านั้น แต่คุณวุฒิวิชาชีพต่างหากที่การันตีว่าเขาคือมืออาชีพตัวจริงจนทำให้สถานทูตมั่นใจ

สคช. ยังร่วมมือกับธนาคารออมสิน และ SME Bank ผลักดันให้ผู้ประกอบการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคารนำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ ส่งผลการมีรายได้ให้กับตนเองและระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ทำธุรกิจร้านอาหารสตรีทฟู้ด ร้านทำผม คุณวุฒิวิชาชีพจะเป็นใบรับรองความเป็นมืออาชีพ และเป็นอีกสิ่งที่แบงก์นำมาพิจารณาเพื่อให้เงินกู้

ในมุมของผู้ประกอบการที่มองหาบุคลากร ก็ได้ประโยชน์จากระบบนี้ได้เต็มๆ การคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานโดยพิจารณาจากคนที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ นอกจากจะได้บุคลากรที่มีทักษะความสามารถตรงตามความต้องการ ยังลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการสรรหาคนและบริหารบุคคล อาจจะไม่จำเป็นต้องมีการทดลองงาน ไม่ต้องลุ้นว่าจะผ่านโปรฯ ไหม และต้องเสียเวลาหาคนใหม่หรือเปล่า เพราะถือเป็นการกรองคนมาให้ระดับหนึ่งแล้ว ไม่เพียงเท่านั้น หากองค์กรไหนที่ให้พนักงานในองค์กรทุกคนประเมินมาตรฐานอาชีพ ยังช่วยวิเคราะห์ภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานได้ เช่น พนักงานขาดทักษะด้านนี้ ก็แค่ส่งไปอบรมเฉพาะด้านเพิ่มเติม หรือการโปรโมตพนักงาน ก็พิจารณาจากความสามารถจริงๆ

 

ตอนนี้ยังเปิดให้ผู้ประกอบอาชีพแค่เข้าไปสมัครสมาชิกในเว็บไซต์ www.tpqi.go.th เสิร์ชหาอาชีพที่ต้องการประเมิน แต่ละอาชีพมีทักษะที่ใช้วัดระดับต่างกัน บางอาชีพอาจกำหนดประสบการณ์การทำงานไว้ด้วย หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ-องค์การมหาชน-343573219057236/

 

อย่าลืมว่ายุคนี้แข่งกันแค่ผลงานอย่างเดียวไม่ได้ แนะนำคนทำงานกันแบบปากต่อปากบางครั้งก็ใช่ว่าจะตรงกับที่เราต้องการเสียทีเดียว สิ่งที่จะทำให้ผู้ประกอบการค้นพบมืออาชีพ และผู้ประกอบอาชีพยกระดับตัวเองให้เป็นมืออาชีพตัวจริงที่โดดเด่นกว่าใครในสายอาชีพ ก็ต้องพึ่งเครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพที่ได้มาตรฐานอย่างที่กล่าวมา

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า 

 

อ้างอิง: 

The post บอกให้โลกรู้ว่าคุณคือ ‘มืออาชีพ’ ด้วย ‘คุณวุฒิวิชาชีพ’ เครื่องมือประเมินความสามารถตามมาตรฐานอาชีพที่จะพาคุณไปทำงานที่ไหนในโลกก็ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อันดับทรัพยากรบุคคลไทยดีขึ้น Adecco ชี้ต้องเปลี่ยนค่านิยม หนุนเรียนอาชีวะ https://thestandard.co/global-talent-competitiveness-index-adecco/ https://thestandard.co/global-talent-competitiveness-index-adecco/#respond Fri, 02 Feb 2018 04:02:15 +0000 https://thestandard.co/?p=66943

อเด็คโก้ (Adecco) เผยผลการจัดอันดับศักยภาพการแข่งขันด้า […]

The post อันดับทรัพยากรบุคคลไทยดีขึ้น Adecco ชี้ต้องเปลี่ยนค่านิยม หนุนเรียนอาชีวะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

อเด็คโก้ (Adecco) เผยผลการจัดอันดับศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลของโลก สวิตเซอร์แลนด์ครองแชมป์ ส่วนไทยขยับขึ้นดีกว่าเดิมที่อันดับ 70 ย้ำต้องเพิ่มคนเรียนสายอาชีพ

 

ผลการจัดอันดับศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลของโลก (Global Talent Competitiveness Index) ปีล่าสุด โดยวัดจากทุกมิติทั้งด้านการผลิต ดึงดูด พัฒนา และรักษาทรัพยากรบุคคล จากการสำรวจใน 119 ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ติดอันดับที่ 1 ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้อันดับที่ 3 สำหรับภูมิภาคอาเซียนพบว่าไทยขยับจากอันดับ 73 ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 70 ขณะที่สิงคโปร์ติดอันดับ 2 ของโลก มาเลเซียได้อันดับที่ 27 และฟิลิปปินส์อันดับที่ 54

 

แม้ผลการจัดอันดับดังกล่าวประเทศไทยอยู่เหนือเพียงอินโดนีเซีย, สปป.ลาว, เวียดนาม และกัมพูชาเท่านั้น แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อพิจารณาศักยภาพการแข่งขันด้านความเสมอภาคทางเพศ ประเทศไทยติดอันดับที่ 21 ซึ่งสูงกว่าสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และฝรั่งเศส สอดคล้องกับจำนวนผู้บริหารหญิงของไทยที่มีสัดส่วนสูงติดระดับโลก

 

ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาคอเด็คโก้ประเทศไทย-เวียดนาม ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานสายวิชาชีพ ซึ่งไม่สมดุลกับตลาดแรงงานที่ต้องการคนจบสายวิชาชีพและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังเติบโต

 

สิ่งที่สำคัญคือการสร้างค่านิยมให้คนไทยหันมาเรียนสายวิชาชีพให้มากขึ้น และต้องเร่งพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น เน้นความรู้ความสามารถเชิงเทคนิค โดยเฉพาะทักษะภาษาอังกฤษเพื่อให้แรงงานไทยมีโอกาสในการแข่งขันในภูมิภาค

The post อันดับทรัพยากรบุคคลไทยดีขึ้น Adecco ชี้ต้องเปลี่ยนค่านิยม หนุนเรียนอาชีวะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/global-talent-competitiveness-index-adecco/feed/ 0