สังคมไร้เงินสด – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 07 Feb 2025 04:37:47 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘พร้อมเพย์’ 8 ปีแห่งการพลิกโฉมระบบการเงินไทย หนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสดเต็มตัว https://thestandard.co/8-years-promptpay/ Fri, 07 Feb 2025 04:37:47 +0000 https://thestandard.co/?p=1039149

ย้อนกลับไปในปี 2559 ‘พร้อมเพย์’ ถือกำเนิดขึ้นในฐานะโครง […]

The post ‘พร้อมเพย์’ 8 ปีแห่งการพลิกโฉมระบบการเงินไทย หนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสดเต็มตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

ย้อนกลับไปในปี 2559 ‘พร้อมเพย์’ ถือกำเนิดขึ้นในฐานะโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในยุคดิจิทัลของไทย เปลี่ยนวิถีชีวิตคนไทยจากการใช้เงินสดสู่การทำธุรกรรมที่สะดวก ปลอดภัย และเข้าถึงได้ง่าย จุดมุ่งหมายของพร้อมเพย์ไม่ใช่เพียงแค่การอำนวยความสะดวก แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’ อย่างเต็มตัว 

 

บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ NITMX เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการบริหารจัดการระบบพร้อมเพย์อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินที่มีเสถียรภาพสูง พร้อมกับความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในทุกปี  

 

NITMX มุ่งมั่นสร้างนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ โดยเน้นทั้งความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้และการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา พร้อมเพย์ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือทางการเงิน แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทย การทำธุรกรรมผ่านพร้อมเพย์ช่วยลดความซับซ้อนของการโอนเงิน นอกจากจะสามารถโอนเงินด้วยหมายเลขบัญชีแล้ว ยังสามารถโอนเงินผ่านหมายเลขโทรศัพท์หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนได้ด้วย ทำให้เกิดสถิติที่สะท้อนให้เห็นการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว เช่น

 

  • ผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์กว่า 80 ล้านบัญชี สะท้อนถึงความเชื่อมั่นและการใช้งานที่แพร่หลาย
  • มูลค่าธุรกรรมสะสมกว่า 200 ล้านล้านบาท ตอกย้ำความสำคัญในเศรษฐกิจระดับประเทศ
  • ลดต้นทุนค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ใช้ สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับทุกคน 

 

ระบบพร้อมเพย์ยังสามารถต่อยอดพัฒนาบริการเสริมต่างๆ เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้ผู้ใช้งานทุกกลุ่ม เช่น การจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐ การคืนภาษี การโอนเงินรายย่อย พร้อมเพย์นิติบุคคล และการชำระบิลข้ามธนาคาร นอกจากนี้ยังมีบริการที่ตอบสนองยุคดิจิทัล เช่น Thai QR Payment, e-Donation, MyPromptQR และ Cross-Border QR Payment ที่รองรับธุรกรรมระหว่างประเทศ รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่าง e-Wallet ของ Non-Bank กับพร้อมเพย์ ช่วยเพิ่มความสะดวกและลดต้นทุนสำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีบริการแจ้งเตือนเพื่อชำระเงิน Pay Alert และ Bill Alert ที่ทำให้การทำธุรกรรมสะดวกมากยิ่งขึ้น 

 

นอกจากนี้ พร้อมเพย์พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น การเชื่อมต่อกับระบบการเงินระดับนานาชาติ หนึ่งในก้าวสำคัญของพร้อมเพย์คือ การพัฒนา PromptPay เชื่อมโยงกับ PayNow ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการโอนเงินแบบเรียลไทม์ ผู้รับเงินปลายทางได้รับเงินทันที การพัฒนาบริการชำระเงินข้ามพรมแดน (Cross-Border QR Payment) ซึ่งช่วยให้คนไทยสามารถทำธุรกรรมชำระเงินระหว่างประเทศได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง 

 

ปัจจุบันพร้อมเพย์เชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฮ่องกง, สปป.ลาว, ญี่ปุ่น, กัมพูชา, เวียดนาม และอยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อขยายการเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆ เพิ่มเติม เช่น จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ เพื่อรองรับการโอนเงินและการชำระเงินข้ามประเทศด้วยต้นทุนต่ำ ตอบสนองความต้องการของแรงงานต่างชาติ นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวในยุคดิจิทัล การเพิ่มระบบความปลอดภัยขั้นสูง และการสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พร้อมเพย์พัฒนาขึ้นจนเป็นระบบที่สร้างความสะดวกสบายให้กับคนไทยทั่วภูมิภาคและทั่วโลก

 

พร้อมเพย์ก้าวสู่ปีที่ 8 ด้วยความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ นับเป็นก้าวสำคัญของระบบชำระเงินที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนไทย โดยได้รับการสนับสนุนและความเชื่อมั่นจากประชาชนทั่วประเทศ ความร่วมมือจากธนาคาร สถาบันการเงิน และพันธมิตรทุกภาคส่วน ที่ช่วยผลักดันพร้อมเพย์ให้กลายเป็นหนึ่งในรากฐานที่มั่นคงของเศรษฐกิจดิจิทัล ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้เพียงสะท้อนถึงความสะดวก แต่ยังบ่งบอกถึงความไว้วางใจที่ผู้ใช้งานมีต่อระบบนี้ในทุกช่วงเวลา

 

ในอนาคต พร้อมเพย์จะยังคงเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบการเงินดิจิทัล ด้วยการเพิ่มนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ยุคสมัย สร้างโอกาสทางการเงินที่ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้งาน และมุ่งเน้นการยกระดับความปลอดภัย พร้อมสร้างระบบที่สะดวกและยั่งยืน และมุ่งมั่นในการก้าวสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกับคนไทยทุกคน

The post ‘พร้อมเพย์’ 8 ปีแห่งการพลิกโฉมระบบการเงินไทย หนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสดเต็มตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
Alipay+ รุกดิจิทัลวอลเล็ตผ่าน TrueMoney คนไทยชำระเงินในญี่ปุ่นกับร้านค้ากว่า 2 ล้านแห่งได้แล้ว https://thestandard.co/alipay-plus-truemoney-japan/ Tue, 02 Apr 2024 03:13:42 +0000 https://thestandard.co/?p=918235

‘Cash is King’ ประโยคนี้เป็นที่ถูกพูดถึงกันมานานในสังคม […]

The post Alipay+ รุกดิจิทัลวอลเล็ตผ่าน TrueMoney คนไทยชำระเงินในญี่ปุ่นกับร้านค้ากว่า 2 ล้านแห่งได้แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘Cash is King’ ประโยคนี้เป็นที่ถูกพูดถึงกันมานานในสังคมที่ญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหนึ่งประเทศที่แม้เทคโนโลยีหลายอย่างจะล้ำหน้าไปไกล แต่ประชากรชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยก็ยังคงใช้เงินสดเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่แล้วในช่วงการระบาดของโรคโควิด พฤติกรรมการใช้จ่ายของพวกเขาก็กำลังค่อยๆ เปลี่ยนสู่ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น

 

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ออกรายงานไว้เมื่อช่วงเดือนเมษายน ปี 2023 ว่า “ยอดการทำธุรกรรมไร้เงินสดของปี 2022 เพิ่มสูงขึ้นถึง 36% ถือเป็นครั้งแรกที่มูลค่าของธุรกรรมประเภทนี้ทะลุ 100 ล้านล้านเยน” โดยการพุ่งขึ้นของการชำระเงินในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด เนื่องจากประมาณ 10 ปีย้อนหลังสัดส่วนดังกล่าวมีเพียงแค่ 15%

 

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Ant International) หน่วยงานฟินเทค (Fintech) ระหว่างประเทศของแอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ภายใต้ร่มอาลีบาบา กรุ๊ป (Alibaba Group) กำลังเดินหน้าขยายเครือข่ายการชำระเงินข้ามพรมแดนอย่างต่อเนื่องด้วยระบบ Alipay+ เพื่อคว้าโอกาสเทรนด์การใช้จ่ายของผู้คนที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าญี่ปุ่น 

 

ดักลาส ฟีกิน หัวหน้าฝ่ายบริการการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศ แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ปริมาณการทำธุรกรรมผ่าน e-Wallet และแอปพลิเคชันของธนาคาร ซึ่งขับเคลื่อนโดย Alipay+ ในญี่ปุ่น เติบโตกว่า 200% ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยคาดว่ามูลค่าธุรกรรมจะคิดเป็นประมาณ 10% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมดในกลุ่มผู้ที่ใช้งานระหว่างที่อยู่ในญี่ปุ่น”

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ณ ปัจจุบัน Alipay+ ขยายเครือข่าย e-Wallet และแอปธนาคารในเอเชียแล้ว 16 ราย ให้เชื่อมโยงกับร้านค้าในญี่ปุ่น 2 ล้านร้านค้า ทำให้นักท่องเที่ยวในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมทั้งไทย สามารถใช้งานแอปพลิเคชันท้องถิ่นของตนเองได้โดยไม่ต้องโหลดแอปเพิ่มเติม ซึ่งในกรณีของประเทศไทยก็คือ ทรูมันนี่ (TrueMoney) ที่มีผู้ใช้งานอยู่ในหลักสิบล้านคนทั่วประเทศแล้ว

 

แล้วคนไทยที่เดินทางไปญี่ปุ่นสามารถใช้บริการตรงไหนได้บ้าง? หลังจากที่ THE STANDARD WEALTH ได้เดินทางร่วมทริปไปทดลองใช้งาน เราจะมาชี้เป้าแหล่งที่เราใช้ e-Wallet ของ TrueMoney ซื้อของได้กัน

 

เชื่อว่าหนึ่งในย่านที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมไปกันในโตเกียวก็คือย่านอาซากุสะ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีร้านขายของที่ระลึกและแผงขนมเล็กๆ โดยร้านค้าจำนวนหนึ่งในละแวกนั้นเปิดรับการชำระ QR Code แล้ว โดยมี PayPay บริการชำระเงินแบบไร้เงินสดที่เป็นพันธมิตรของ Alipay+ ในญี่ปุ่น เป็นส่วนที่สนับสนุนบรรดาร้านค้าในการทำธุรกรรมสำหรับทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว 

 

โดยย่านอาซากุสะมีปริมาณธุรกรรมข้ามพรมแดนผ่านมือถือต่อเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 5 เท่า สะท้อนถึงแนวโน้มการชำระเงินแบบไร้เงินสดที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่

 

นอกจากนี้เรายังสามารถใช้งาน TrueMoney ได้ในห้างสรรพสินค้าไดมารู มัตสึซาคายะ เครือห้างสรรพสินค้าชั้นนำในญี่ปุ่นที่มีปริมาณธุรกรรมบน e-Wallet เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว 

 

สองสถานที่นี้เป็นเพียงย่านที่เราได้ทดลองใช้งาน แต่สำหรับผู้ใช้งานมีแอป TrueMoney อยู่แล้ว สามารถนำแอปพลิเคชันไปใช้ได้โดยไม่ต้องแลกเงิน แต่ใช้เงินบาทที่มีในวอลเล็ตในการชำระได้เลยกับร้านค้าที่มีป้าย Alipay+ ซึ่งกระจายอยู่กว่า 2 ล้านแห่งทั่วญี่ปุ่น 

 

ในส่วนของวิธีการชำระ ผู้ใช้งานสามารถเปิดแอป TrueMoney และเลือกเมนูจ่ายเงินร้านค้า จากนั้นตรงมุมขวาล่างของจอจะขึ้นปุ่ม Alipay+ จ่ายต่างประเทศ ซึ่งจะปรากฏทั้งบาร์โค้ดและ QR Code ที่ร้านค้าจะเป็นผู้สแกนเพื่อทำธุรกรรม เพียงเท่านี้ถือเป็นอันเสร็จสมบูรณ์

 

มนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) แอสเซนด์ มันนี่ (Ascend Money) ผู้ให้บริการ TrueMoney กล่าวว่า “ประเทศญี่ปุ่นติดอันดับหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่มีนักท่องเที่ยวชาวไทยประมาณ 1 ล้านคนในแต่ละปี เรายินดีที่ได้ร่วมงานกับ Alipay+ เพื่อช่วยให้ชาวไทยชำระเงินได้อย่างปลอดภัย เรียลไทม์ และคุ้มต้นทุน ด้วย TrueMoney ซึ่งเป็นวอลเล็ตที่ชาวไทยคุ้นเคย”

 

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายของ Alipay+ ยังอยู่ในช่วงขยายขอบเขตการให้บริการ ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการรองรับของร้านค้าบางแห่งในญี่ปุ่นอยู่ อีกทั้งยังมีประกาศออกมาจากรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อกลางเดือนมีนาคมของปีนี้ว่า พวกเขาก็มีแผนที่จะทำ JPQR หรือระบบรับชำระเงินสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาญี่ปุ่นเช่นเดียวกันภายในเดือนเมษายน ปี 2025 แต่ทางบริษัทไม่ได้มองการเข้ามาเสนอบริการใหม่จากภาครัฐเป็นการแข่งขัน แต่มองเป็นโอกาสทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ เพื่อให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้น

 

“ระบบนิเวศของเราเปิดกว้าง และแน่นอนว่า Alipay+ อยากจะร่วมมือกับทุกฝ่าย โดยที่ผ่านมาเราเองได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐในโครงการ QR ระดับชาติ เช่น SGQR ของสิงคโปร์, PayNet ของมาเลเซีย และ ZeroPay ของเกาหลีใต้ ดังนั้นเราพร้อมเปิดรับโอกาสที่จะร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อทำให้ประสบการณ์การใช้จ่ายไร้เงินสดสะดวกและทั่วถึงยิ่งขึ้น” ดักลาสกล่าว

The post Alipay+ รุกดิจิทัลวอลเล็ตผ่าน TrueMoney คนไทยชำระเงินในญี่ปุ่นกับร้านค้ากว่า 2 ล้านแห่งได้แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไม่มีแล้ว 24 ชั่วโมง! ธนาคาร MUFG ของญี่ปุ่น เตรียมลดชั่วโมงการให้บริการตู้ ATM หลังเทรนด์ไม่ใช้เงินสดเติบโต และเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วย https://thestandard.co/no-more-mufg-atm-24-hours/ Wed, 03 May 2023 05:50:21 +0000 https://thestandard.co/?p=784552 MUFG ATM

MUFG Bank หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ตัดสินใจจ […]

The post ไม่มีแล้ว 24 ชั่วโมง! ธนาคาร MUFG ของญี่ปุ่น เตรียมลดชั่วโมงการให้บริการตู้ ATM หลังเทรนด์ไม่ใช้เงินสดเติบโต และเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วย appeared first on THE STANDARD.

]]>
MUFG ATM

MUFG Bank หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ตัดสินใจจำกัดเวลาทำการของตู้ ATM ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2023 

 

ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ตู้ที่ลดลง อันเป็นผลมาจากเทรนด์ไม่ใช้เงินสดที่เติบโตขึ้น

 

ปัจจุบัน MUFG Bank มี ATM จำนวน 98 เครื่องที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยทั่วไปแล้วตู้เหล่านี้จะพบได้ในและรอบๆ สถานีรถไฟ สนามบิน และพื้นที่ที่พลุกพล่านอื่นๆ

 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความนิยมในการทำธุรกรรมแบบไม่ใช้เงินสดเพิ่มขึ้น ธนาคารสังเกตเห็นว่า การใช้ ATM ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเช้าตรู่ของวัน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้า ธนาคาร MUFG จะปรับเวลาทำการของตู้ ATM ภายในเดือนกันยายนนี้ โดยจำนวน 91 เครื่อง จะลดเวลาให้บริการเหลือ 18 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00-00.00 น. ATM ที่เหลืออีก 7 เครื่องจะเห็นการลดชั่วโมงการทำงานภายในสิ้นปีบัญชี แม้ว่าจะไม่ได้ระบุกำหนดการที่แน่นอนก็ตาม

 

ยักษ์ธนาคารของแดนซามูไรสังเกตว่า การใช้ตู้ ATM ลดลง 50% ระหว่าง 00.00-06.00 น. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กรอบเวลานี้คิดเป็นเพียง 0.1% ของการใช้ ATM ทั้งหมด เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นของการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสดและการมีตู้ ATM ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงในร้านสะดวกซื้อ ธนาคารเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเวลาทำการนี้จะส่งผลกระทบต่อลูกค้าในวงจำกัด

 

เป็นที่น่าสังเกตว่า ธนาคารรายใหญ่อีก 2 แห่งของญี่ปุ่น ไม่ได้ประกาศแผนการเปลี่ยนแปลงเวลาทำการของตู้ ATM และจะยังคงให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงต่อไป

 

ธนาคารในญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความสามารถในการทำกำไร ขณะที่ดำเนินการเปิดสาขาและให้บริการตู้ ATM โดยค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้เงินสดในประเทศอยู่ที่ประมาณ 2.8 ล้านล้านเยนต่อปี

 

เพื่อต่อสู้กับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ธนาคารในภูมิภาคบางแห่ง เช่น Hokkoku Bank ได้ประกาศแผนการที่จะเลิกใช้ตู้ ATM ที่ตั้งอยู่นอกสาขาของตนภายในเดือนกันยายน 2024 กลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงการดำเนินการของธนาคาร เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำธุรกรรมแบบไม่ใช้เงินสด

 

อ้างอิง:

The post ไม่มีแล้ว 24 ชั่วโมง! ธนาคาร MUFG ของญี่ปุ่น เตรียมลดชั่วโมงการให้บริการตู้ ATM หลังเทรนด์ไม่ใช้เงินสดเติบโต และเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วย appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘6 เมกะเทรนด์’ เปลี่ยนระบบการชำระเงินโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า https://thestandard.co/6-mega-trend-of-payment-system/ Fri, 23 Jul 2021 11:15:58 +0000 https://thestandard.co/?p=516582 payment system

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดส่งผลให้อุตสาหกรรมธุรกิจบ […]

The post ‘6 เมกะเทรนด์’ เปลี่ยนระบบการชำระเงินโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
payment system

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดส่งผลให้อุตสาหกรรมธุรกิจบริการทางการเงินยิ่งต้องเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัลให้เร็วขึ้น เพราะในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ใช้บริการทั่วโลกต่างหันมาใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) แทบจะเต็มรูปแบบจนปริมาณธุรกรรมเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้หลายประเทศก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) หรือใช้ Less Cash กันมากขึ้นในเวลานี้ 

 

ทั้งนี้รายงาน Payment 2025 & Beyond ของ PwC ได้คาดการณ์ 6 เมกะเทรนด์ที่จะเข้ามาพลิกโฉมระบบการชำระเงินโลกในอีก 5 ปีข้างหน้าไว้อย่างน่าสนใจ ดังต่อไปนี้ 

 

  1. การเข้าถึงบริการทางการเงินและความไว้วางใจ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราเห็นความพยายามของผู้นำประเทศหลายแห่งในการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชนที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงระบบการเงิน หรือไม่มีบัญชีธนาคาร ยกตัวอย่างในประเทศไทยของเราเองมีระบบพร้อมเพย์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถบริหารจัดการธุรกรรมทางการเงินของตัวเองได้ ผ่านบัญชีหรือกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรืออีเมล เป็นต้น

 

นอกจากนี้การขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมระบบการชำระเงินให้ไปไกลกว่าเดิม เพราะปัจจุบันคนจำนวนมากสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟน ทำให้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือมีฐานะยากจน สามารถมีโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินได้ โดยภายในปี 2566 การเข้าถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจะมากถึง 80% นำโดยตลาดเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซีย ปากีสถาน และเม็กซิโก

 

อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางยังคงต้องมีบทบาทในการกำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และสร้างเสถียรภาพของระบบการชำระเงินเพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากผู้ใช้บริการโดยรวม

 

  1. สกุลเงินดิจิทัลกำลังมา

กระแสของสกุลเงินดิจิทัลทั้งที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies: CBDCs) และคริปโตเคอร์เรนซีของภาคเอกชนจะยิ่งเข้ามามีบทบาทต่อระบบสถาบันการเงินและการชำระเงินในระยะข้างหน้า โดยรายงาน PwC Global CBDC Index 2021 ระบุว่า 60% ของธนาคารกลางทั่วโลกในปัจจุบันกำลังศึกษาการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลทั้งในรูปแบบการใช้งานธุรกรรมระหว่างธนาคาร (Wholesale CBDCs) และการใช้งานสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน (Retail CBDCs) หรือโครงการสกุลเงินดิเอม (หรือเดิมเรียกว่า ลิบรา) ของ Facebook ที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนอาจจะมีการใช้สกุลเงินหยวนดิจิทัล (Digital Renminbi) หรืออีหยวน เป็นครั้งแรก ณ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในปีหน้า

 

  1. จับตากระเป๋าเงินดิจิทัล 

รายงานของกลุ่มเทคโนโลยีบริการทางการเงิน FIS ระบุว่า ธุรกรรมผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลทั่วโลกนั้นเติบโตถึง 7% ในปีที่ผ่านมา และคาดภายในปี 2567 การชำระค่าสินค้าและบริการผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลจะคิดเป็นมากกว่าครึ่งของการชำระเงินแบบ E-Payment ทั่วโลก ตามการใช้งานของผู้บริโภคที่จะยิ่งหันมาใช้ QR Code แทนการใช้เงินสดหรือบัตรในการชำระค่าสินค้าและบริการ และเพื่อตอบรับเทรนด์ดังกล่าว ธนาคารและบริษัทบัตรเครดิตจะต้องร่วมมือกันเพื่อลงทุนในธุรกิจกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มในการชำระเงินที่อาจเข้ามาแทนที่รูปแบบการชำระเงินแบบเดิมด้วย ในระยะถัดไป การลงทุนในเทคโนโลยีบนมือถือจะขยายรูปแบบจากการชำระเงินรายย่อยไปสู่การชำระเงินแบบธุรกิจสู่ธุรกิจมากขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของระบบซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้อง

 

  1. สนามรบการชำระเงินที่เปลี่ยนไป

กระแสของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการชำระเงินด้วยบัตรไปสู่กระเป๋าเงินดิจิทัลที่ว่านี้ จะส่งผลให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการบัตรเครดิตต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกันมากขึ้น เช่น ต้องพัฒนาไปสู่ Open Banking หรือการที่ผู้ให้บริการทางการเงินเปิดเผยข้อมูลการเงินของลูกค้าของตนให้กับบุคคลที่สาม (Third-party providers: TPPs) ซึ่งต้องผ่านการยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของบัญชีก่อน และในขณะเดียวกันต้องทำการจัดจ้างระบบคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานด้านแพลตฟอร์มจากภายนอกเข้ามาช่วยหนุนโครงสร้างพื้นฐานของการชำระเงินภายในองค์กร เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในการนำเสนอสินค้าและบริการที่แตกต่าง อีกทั้งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ปรับสู่ดิจิทัลมากขึ้น

 

  1. ก้าวสู่การชำระเงินข้ามพรมแดน 

ในโลกดิจิทัลที่ธุรกรรมทางการเงินสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำลง ทำให้นวัตกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศพัฒนาขึ้นไปด้วย โดยล่าสุด ประเทศสิงคโปร์ได้จับมือกับประเทศไทยเพื่อทำเชื่อมโยงระบบการชำระเงินของประเทศร่วมกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโอนเงินระหว่างประเทศได้แบบเรียลไทม์ผ่านการใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือ ในระยะต่อไปเราคงจะได้เห็นการผลักดันนวัตกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยยกระดับการบูรณาการทางการเงินขึ้นไปอีกขั้นอย่างแน่นอน

 

  1. อาชญากรรมทางการเงินจะผุดเป็นดอกเห็ด 

ความเสี่ยงของการเกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์ อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยผลสำรวจของเราพบว่า ความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นความกังวลเป็นอันดับต้นๆ ที่สถาบันการเงิน ฟินเทค และธุรกิจด้านสินทรัพย์ทั่วโลกคำนึงถึงเมื่อต้องกำหนดกลยุทธ์ทางเทคโนโลยี ดังนั้นธนาคารผู้ให้บริการระบบการชำระเงินและหน่วยงานกำกับดูแล จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันการฉ้อโกงและการฟอกเงิน โดยจะต้องเข้าใจความเสี่ยงและกำหนดมาตรการในการรักษาความปลอดภัยของระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความรัดกุม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้รับประโยชน์ ซึ่งนี่ถือเป็นความท้าทายของทุกฝ่ายในการสร้างสมดุลระหว่างการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า

 

สุดท้ายเมกะเทรนด์เหล่านี้ถือเป็นความท้าทายใหม่ๆ ที่ผู้เล่นในอุตสาหกรรมธุรกิจบริการทางการเงินจะต้องเผชิญและต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการรายใดที่สามารถกำหนดกลยุทธ์ได้เฉียบคมและเห็นโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและพัฒนาธุรกิจของตัวเองอย่างสร้างสรรค์ ก็จะไม่พลาดโอกาสในการดึงพันธมิตรใหม่ๆ เข้ามาเสริมศักยภาพการแข่งขันท่ามกลางสภาวะตลาดที่นับวันจะยิ่งทวีความร้อนแรงมากขึ้น 

 

 

อ้างอิง:

The post ‘6 เมกะเทรนด์’ เปลี่ยนระบบการชำระเงินโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสิกรก้าวสู่ความเป็นผู้นำกระแสอีคอมเมิร์ซ เอาใจกลุ่มธุรกิจการค้าออนไลน์ งัดยุทธศาสตร์ ‘เปลี่ยนให้รู้ใจ Online Seller’ [Advertorial] https://thestandard.co/k-onlineshop-space/ https://thestandard.co/k-onlineshop-space/#respond Fri, 26 Oct 2018 05:10:50 +0000 https://thestandard.co/?p=136658

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในชีวิตประ […]

The post กสิกรก้าวสู่ความเป็นผู้นำกระแสอีคอมเมิร์ซ เอาใจกลุ่มธุรกิจการค้าออนไลน์ งัดยุทธศาสตร์ ‘เปลี่ยนให้รู้ใจ Online Seller’ [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวัน ทำให้การพัฒนาด้านต่างๆ มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ไม่นานมานี้เราได้เห็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของกลุ่มธนาคารภายในประเทศกับการมุ่งสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวด้วยรูปแบบที่เรียกว่า สังคมไร้เงินสด เพียงมีโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่องเราก็ทั้งโอน และจ่ายเงินกันได้ง่ายสบายมาก

 

มาวันนี้วงการธุรกิจยังคงเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง หนึ่งในธนาคารรายใหญ่อย่าง กสิกรไทย ก็เสริมกลยุทธ์ข้ามไปอีกขั้นด้วยการตอบโจทย์กลุ่มผู้ค้าขายออนไลน์ ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

 

 

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBank) กล่าวว่า หากวัดจากสถิติข้อมูลการซื้อขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซปี 2560 จะมีมูลค่ากว่า 2,812,592 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนของการขายสินค้าให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค (B2C) ราว 812,613 ล้านบาท และในปี 2561 มีการคาดการณ์ถึงการเติบโตราว 17% มูลค่าซื้อขายเพิ่มเป็น 949,122 ล้านบาท แบ่งเป็นการซื้อขายผ่านออนไลน์สูงถึง 40% ซื้อขายผ่านบริการแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-มาร์เก็ตเพลส 35% และการซื้อขายผ่านออนไลน์ของโมเดิร์นเทรดอีก 25%

 

ซึ่งในส่วนของการชำระเงิน วิธีการโอนเงินผ่านธนาคารนั้นได้รับความนิยมสูงสูด รองลงมาคือการชำระด้วยบัตรเครดิต ซึ่งบัญชีของธนาคารกสิกรไทยเป็นอันดับหนึ่งที่ลูกค้าเลือกใช้ในการโอนเงินชำระค่าสินค้า ปัจจุบันกสิกรไทยมีลูกค้าที่คาดว่าประกอบธุรกิจออนไลน์ถึง 300,000 ราย ทำให้เห็นได้ว่าธุรกิจออนไลน์นั้นเติบโตขึ้นมาก ปัญหาของผู้ค้าก็มากตามมาด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น เจ้าของธุรกิจไม่มีความรู้ในการทำตลาดออนไลน์ ข้อจำกัดของการบริหารจัดการ ขาดเงินหมุนเวียน การตอบแชตลูกค้าจากหลายช่องทางไม่ทัน เป็นต้น

 

 

จากปัญหาดังกล่าว ธนาคารกสิกรไทยจึงจัด 5 ตัวช่วยจัดการธุรกิจอย่างครบวงจร เพื่อช่วยให้การค้าออนไลน์ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ดังนี้

 

ตอบโจทย์การขายออนไลน์ให้ง่ายขึ้นด้วย K PLUS shop แอปพลิเคชันสำหรับร้านค้าสมัยใหม่ให้รับเงินง่ายขึ้น เหมาะกับการทำธุรกิจออนไลน์ยุคใหม่ ที่ในปัจจุบันจะเห็นว่าผู้ค้าออนไลน์มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มหลักอย่าง SMEs ที่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง และกลุ่มนักศึกษา พนักงานออฟฟิศ เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่เป็นแม่ค้าออนไลน์จำนวนมากพอสมควร ซึ่งไม่ว่าจะพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่หรือหน้าเก่า เพียงแค่ใช้ K PLUS shop แอปฯ เดียวก็สามารถจัดการร้านค้าของตนได้เลย ไม่ว่าจะเป็น การเปรียบเทียบราคาค่าขนส่ง ติดตามสถานะและชำระค่าขนส่งสินค้า รายงานยอดขาย และยังสามารถจบการขายออนไลน์ง่ายๆ ด้วย บิลแมวเขียวส่ง QR เรียกเก็บเงินผ่านทางโซเชียล และแม่ค้าออนไลน์ที่ขายผ่าน Facebook Shop ยังมีบริการ Pay with K+ บริการชำระเงินที่ช่วยให้ปิดการขายบนเฟซบุ๊กได้ง่ายขึ้น

 

 

หมุนเวียนธุรกิจได้สะดวกคล่องตัวขึ้นจากบริการสินเชื่อ SMEs บน K PLUS กสิกรไทยส่งต่อสินเชื่อให้ลูกค้าแบบปราศจากหลักประกัน ไม่ต้องยื่นเอกสารใดๆ เพียงแค่ 1 นาทีก็ได้รับวงเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาท และยังมีบริการสินเชื่อระยะสั้น ระยะยาว สำหรับธุรกิจออนไลน์โดยเฉพาะ ที่ตั้งเป้าสินเชื่อไว้ถึง 2,000 ล้านบาท

 

เพิ่มช่องทางการขายผ่าน K PLUS Market ที่มีฐานลูกค้ามากถึง 9.4 ล้านราย และช่วยพัฒนาทักษะการขายบน e-Marketplace Platform อื่นๆ เพื่อให้ทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

 

 

เปิด K ONLINESHOP SPACE (KOS) ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ฝั่งอิเซตัน ให้เป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจประเภทออนไลน์ เปิดพื้นที่ให้ได้ร่วมพูดคุยกับพาร์ตเนอร์และผู้เชี่ยวชาญแบบตัวต่อตัว ที่จะเข้ามาสลับหมุนเวียนให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาต่างๆ กับกลุ่มลูกค้าที่ทำธุรกิจค้าขายออนไลน์ โดยในแต่ละเดือนจะมีการสัมมนาและเวิร์กช็อปจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญธุรกิจด้านนี้โดยตรง เพื่อช่วยเพิ่มเติมเสริมทักษะด้านออนไลน์ให้แข็งแกร่ง

 

 

K DIGIBIZ เว็บไซต์น้องใหม่จากกสิกรที่กำลังจะเปิดทำการต้นเดือนพฤศจิกายน 2561 เพื่อใช้เป็นฐานรองรับให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มแม่ค้าออนไลน์ ด้วยเครื่องมือจัดการการขาย เก็บ-แพ็ก-ส่ง ขนส่งสินค้า รับจ่ายเงินและจัดการบัญชี ส่งเสริมการทำธุรกิจให้เป็นระบบระเบียบและช่วยเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ผู้สนใจสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่ digibiz.kasikornbank.com  

 

 

 

ทั้งหมดนี้คือตัวช่วยที่กสิกรไทยนำเสนอขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจการค้าออนไลน์โดยเฉพาะ นอกจากนี้ พัชร สมะลาภา ยังเผยนโยบายด้านการบริหารจัดการสาขาของธนาคาร ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการปรับรูปแบบสาขา และการเปิดเพิ่มสาขารูปแบบใหม่ โดยจะมีรูปแบบสาขาของธนาคารแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. สาขาแบบเดิมที่ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินได้ตามปกติ
  2. สาขาในรูปแบบ K PARK ที่รองรับรูปแบบไลฟ์สไตล์ต่างๆ ของลูกค้าได้มากขึ้น
  3. สาขาในรูปแบบ K-Lobby เป็นสาขาในรูปแบบดิจิทัล ให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้อย่างสะดวก
  4. สาขาในรูปแบบ K ONLINESHOP SPACE 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post กสิกรก้าวสู่ความเป็นผู้นำกระแสอีคอมเมิร์ซ เอาใจกลุ่มธุรกิจการค้าออนไลน์ งัดยุทธศาสตร์ ‘เปลี่ยนให้รู้ใจ Online Seller’ [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/k-onlineshop-space/feed/ 0
Cashless Society เมื่อการใช้เงิน(สด)ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป [Advertorial] https://thestandard.co/cashless-society/ https://thestandard.co/cashless-society/#respond Tue, 15 May 2018 03:25:44 +0000 https://thestandard.co/?p=88994

Cashless Society ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หลายคนอาจจะยังสงสัย […]

The post Cashless Society เมื่อการใช้เงิน(สด)ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>

Cashless Society ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

หลายคนอาจจะยังสงสัยกับคำว่า Cashless Society หรือ Cashless Economy (สังคมไร้เงินสด) คืออะไร หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือสังคมเศรษฐกิจที่มองว่าเงินสดที่จับต้องได้ในรูปแบบธนบัตรหรือเหรียญนั้นจะมีความสำคัญน้อยลง ซึ่งในปัจจุบันการใช้เงินในรูปแบบดังกล่าวนับเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานภายใต้นโยบาย National e-Payment ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับการใช้งานเทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือที่ขยายตัวมากขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งการที่เราโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารต่างๆ โอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) หรือการจองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วหนังผ่านระบบออนไลน์แล้วชำระผ่านบัตรเดบิตหรือเครดิตก็คือส่วนหนึ่งของ Cashless Society นั่นเอง ยังไม่นับไปถึงการจ่ายเงินผ่าน QR Code หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ รวมไปถึง e-Wallet ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

 

สังคมไร้เงิน(สด)ดีอย่างไร

แน่นอนว่าทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เพราะการทำธุรกรรมของเรานั้นไร้ข้อจำกัด เรียกว่าทำธุรกรรมได้แบบ Anywhere, Anytime and Anybody เพราะไม่ว่าใครก็สามารถโอน จ่าย เติม ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านการทำธุรกรรมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือหรือเว็บไซต์ ไม่ต้องกังวลเรื่องการถือเงินสดเป็นจำนวนมากๆ ไว้กับตัว ไม่ต้องรอเงินทอน รวมถึงตัดปัญหาเรื่องธนบัตรปลอมที่มีข่าวออกมาเป็นระยะๆ ยิ่งในปัจจุบันการทำธุรกรรมออนไลน์นั้นง่ายขึ้นไปอีกขั้น เพราะธนาคารหลายแห่งได้พร้อมใจกันประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมในการโอน จ่าย เติม เมื่อทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านระบบของธนาคารต่างๆ และเมื่อความนิยมในการใช้ e-Payment สูงขึ้น จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตและเพิ่มช่องทางการทำธุรกิจต่างๆ ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศในอนาคตอีกด้วย

 

ประเทศพี่ใหญ่อย่างจีนนั้น ประชากรแทบทุกคนในประเทศแทบจะไม่แตะเงินสดกันแล้ว ทุกคนมีสมาร์ทโฟนเพื่อใช้จ่ายผ่านระบบ Mobile Payments ยอดฮิตอย่าง WeChat หรือ Alipay เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีแอปพลิเคชันชำระเงินก็สามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการตามร้านค้าปลีกเล็กๆ ริมถนนไปจนถึงห้างสรรพสินค้า รวมทั้งการจ่ายค่าตั๋วรถโดยสาร รถไฟระหว่างเมือง และขนส่งมวลชนรูปแบบต่างๆ ผ่าน QR Code ของร้านค้าที่มีไว้รับชำระเงินโดยเฉพาะ หากใครเดินทางไปประเทศจีน คุณจะรู้ทันทีว่าการใช้เงินสดนั้นลำบากกว่าการใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันชำระเงินหลายเท่าตัว

 

การรองรับ Cashless Society ของสถาบันการเงินและหน่วยงานต่างๆ

สถาบันการเงินต่างๆ ก็เร่งปรับรูปแบบเพื่อรองรับ Cashless Society กันหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าเป็นการให้บริการในรูปแบบธุรกรรมออนไลน์ของ Internet Banking หรือ Mobile Application ต่างๆ ซึ่งเข้ามามีบทบาทในธุรกิจของ e-Commerce เป็นอย่างมาก ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกจำกัดไว้เฉพาะในภาคเอกชนเท่านั้น เพราะในปีนี้ส่วนราชการต่างๆ ก็มีการเริ่มปรับรูปแบบของการรับชำระเงินต่างๆ มาเพื่อรองรับ Cashless Society เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระค่าภาษีต่างๆ การชำระค่าธรรมเนียมการต่อใบขับขี่ ชำระภาษีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ชำระค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดิน การทำหนังสือเดินทาง (Passport) หรืออื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดไป เพราะสามารถใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือใช้ Mobile Application ของธนาคารผ่านการสแกน QR Code เพื่อชำระค่าบริการต่างๆ ได้ทันที

 

บัตร ‘พร้อมจ่าย’ แม้ไม่มีบัญชีธนาคารก็พร้อมจ่ายได้ทันที

หลายคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือกังวลเรื่องความยุ่งยากในการไปเปิดบัญชีที่ธนาคารก็สามารถใช้งานบัตรอิเล็กทรอนิกส์แบบเติมเงินที่ชื่อว่า ‘บัตรพร้อมจ่าย’ ของธนาคารกรุงไทย ถือบัตรใบเดียวก็สามารถรูดใช้จ่ายกับหน่วยงานภาครัฐหรือราชการต่างๆ ได้แล้ว ซึ่งข้อดีของบัตรพร้อมจ่ายใบนี้ ได้แก่

 

 

 

เมื่อโลกเปลี่ยน เทรนด์ของรูปแบบการใช้เงินก็เปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งการก้าวเข้าสู่ Cashless Society อย่างสมบูรณ์แบบได้นั้นต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงธุรกิจรายใหญ่และรายย่อย ข้อดีของ Cashless Society มีมากมายขนาดนี้แล้ว คุณล่ะเตรียมพร้อมกับสังคมไร้เงิน(สด)แล้วหรือยัง

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ktb.co.th/th/personal/cards/ktb-debit-card-privileges/308

The post Cashless Society เมื่อการใช้เงิน(สด)ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/cashless-society/feed/ 0
27 มีนาคมนี้ หน่วยงานราชการพร้อมรับชำระเงินด้วย QR Code และบัตรเครดิต รองรับสังคมไร้เงินสด https://thestandard.co/government-support-cashless-society-by-qr-code-and-credit-card/ https://thestandard.co/government-support-cashless-society-by-qr-code-and-credit-card/#respond Tue, 20 Mar 2018 06:28:44 +0000 https://thestandard.co/?p=78529

กรมบัญชีกลาง เร่งติดตั้งเครื่อง EDC (เครื่องรูดบัตรเครด […]

The post 27 มีนาคมนี้ หน่วยงานราชการพร้อมรับชำระเงินด้วย QR Code และบัตรเครดิต รองรับสังคมไร้เงินสด appeared first on THE STANDARD.

]]>

กรมบัญชีกลาง เร่งติดตั้งเครื่อง EDC (เครื่องรูดบัตรเครดิต) และ QR Code ให้กับหน่วยงานราชการ เพื่อสนับสนุนให้ราชการไทยเป็นสังคมไร้เงินสด เพิ่มความสะดวก ปลอดภัย พร้อมให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศ 27 มีนาคมนี้

 

นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ประสานธนาคารให้เร่งติดตั้งเครื่อง EDC และ QR Code ให้หน่วยงานราชการ เพื่อให้พร้อมรับชำระเงินค่าบริการต่างๆ ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์จากประชาชน ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2561

 

สำหรับหน่วยงานใดที่ได้แจ้งความประสงค์ว่าจะขอติดตั้งเครื่อง EDC เพิ่มเติมจากเดิม เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างสะดวกและทั่วถึงยิ่งขึ้น กรมบัญชีกลางจะแจ้งข้อมูลให้ธนาคารทราบเพื่อทยอยติดตั้งเครื่อง EDC และ QR Code ให้ครบและพร้อมใช้งานได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2561 ต่อไป

 

นอกจากนี้กรมบัญชีกลางยังได้จับมือกับสมาคมธนาคารไทย ร่วมกันประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับช่องทางการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ การใช้บัตรเดบิต บัตรเครดิต

 

การชำระเงินผ่าน QR Code Bill Payment อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง รวมถึงการใช้บัตรชำระเงินแบบ e-Money เพื่อให้ประชาชนเลือกใช้ในการชำระค่าบริการต่างๆ ของส่วนราชการได้

 

อ้างอิง:

The post 27 มีนาคมนี้ หน่วยงานราชการพร้อมรับชำระเงินด้วย QR Code และบัตรเครดิต รองรับสังคมไร้เงินสด appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/government-support-cashless-society-by-qr-code-and-credit-card/feed/ 0
ศึกแบงก์ชนแบงก์ ไทยพาณิชย์-กสิกรไทย ใครก้าวได้ไกลกว่า? https://thestandard.co/scb-vs-kbank/ https://thestandard.co/scb-vs-kbank/#respond Tue, 23 Jan 2018 08:20:52 +0000 https://thestandard.co/?p=64333

ถ้า ‘โค้ก-เป๊ปซี่’ คือคู่แข่งตลอดกาลของวงการน้ำดำเช่นเด […]

The post ศึกแบงก์ชนแบงก์ ไทยพาณิชย์-กสิกรไทย ใครก้าวได้ไกลกว่า? appeared first on THE STANDARD.

]]>

ถ้า ‘โค้ก-เป๊ปซี่’ คือคู่แข่งตลอดกาลของวงการน้ำดำเช่นเดียวกับ ‘อาร์เอส-แกรมมี่’ ของวงการเพลงแล้ว สำหรับธุรกิจการเงินการธนาคารก็ต้องนึกถึงสองแบงก์ยักษ์ใหญ่ ‘ไทยพาณิชย์-กสิกรไทย’ ที่ทำการตลาดอย่างเข้มข้นชนิดที่ไม่เคยมีใครยอมใครเป็นแน่

 

ผลการดำเนินการปี 2560 ที่ผ่านมา ทั้งสองธนาคารต่างกำไรลดลงด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ธุรกิจบริการด้านการเงินถูก Disrupt หนักมากขึ้นเรื่อยๆ  

 

อาจจะเร็วไปหน่อยถ้าจะเปรียบเทียบเพียงตัวเลขแล้วสรุปว่าใครเก่งกว่าใคร สำนักข่าว THE STANDARD จึงลองเปรียบเทียบงบการเงิน กิจกรรมทางการตลาดในมุมที่เข้าใจง่าย และที่สำคัญคือวิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้าเพื่อสะท้อนว่าใครคิดอะไรและใครมองไปทางไหน

 

สองแบงก์ใหญ่กำไรหด หนี้สูญเพิ่ม

เมื่อพิจารณาผลการดำเนินการของธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกสิกรไทยในปี 2560 ที่ผ่านมา รายได้ทั้งสองแบงก์เติบโตใกล้เคียงกันคือกว่า 2% แต่เมื่อพิจารณากำไรสุทธิกลับพบว่าลดลงจนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น

ธนาคารไทยพาณิชย์มีกำไร 43,152 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 4,460 ล้านบาท ซึ่งธนาคารชี้แจงว่าเป็นเพราะตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับเกณฑ์ทางบัญชีใหม่ที่จะบังคับใช้ในปี 2562 ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นถึง 11.6% ซึ่งปีที่ผ่านมาเน้นลงทุนด้านเทคโนโลยีและการตลาดดิจิทัล ซึ่งรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีกว่า 4 พันล้านบาทในปีที่ผ่านมา

 

ตัวเลขของสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็น 2.83% ของสินเชื่อทั้งหมด หรือคิดเป็น 65,560 ล้านบาท หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเป็น 25,067 ล้านบาท และธนาคารตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 16.83% เป็น 85,699 ล้านบาท

 

ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยมีกำไร 34,338 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 5,836 ล้านบาท หรือ 14.53% ซึ่งแบงก์ให้เหตุผลเดียวกันว่าเป็นเพราะตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 2,518 ล้านบาท หรือ 3.94%

อัตราสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารกสิกรไทยอยู่ที่ 69,674 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.3% ของสินเชื่อทั้งหมด ซึ่งเพิ่มจากปีก่อนถึง 4,587 ล้านบาท ขณะที่หนี้สูญอยู่ที่ 41,810 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,057 ล้านบาท หรือ 23.87% ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็น 103,435 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,223 ล้านบาท หรือ 21.39%

 

สิ่งที่น่าสังเกตคือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) ของทั้งสองแบรนด์จะอยู่ในระดับเดียวกันที่ 42.3% หนี้สูญของทั้งสองธนาคารเพิ่มขึ้น โดยหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการด้อยค่าของกสิกรไทย (23.87%) มีสัดส่วนที่สูงกว่าไทยพาณิชย์ (11.27%) อย่างชัดเจน ซึ่งจะต้องตั้งสำรองในระดับที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับกำไรสุทธิที่ยักษ์ใหญ่แห่งราษฎร์บูรณะติดลบในระดับสองหลัก แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานจะยังเป็นบวกที่ 1.04% และคู่แข่งจากรัชโยธินติดลบที่ 3.83% ก็ตามที

 

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ในช่วงที่ธนาคารปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ อย่างน้อยธนาคารไทยพาณิชย์ก็คงพอพูดได้ว่าผลการดำเนินงานนั้น ‘เหลื่อม’ กว่าคู่แข่งในปีที่ผ่านมา

 

Score: 1-0

 

ระเบิดศึกรายย่อย ปะทะทั้งออนไลน์และออฟไลน์

สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในปี 2560 สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์คือการผลักดันเรื่องสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยก็สนับสนุนการทำธุรกรรมผ่านระบบพร้อมเพย์และการชำระเงินด้วย QR Code ทำให้แต่ละแบรนด์ต่างโปรโมตกันคึกคัก

 

 

ธนาคารกสิกรไทยออกตัวเร็วในเดือนสิงหาคมด้วยการเปิดตัวแคมเปญ ‘ยิงปิ๊บจ่ายปั๊บ’ เพื่อส่งเสริมให้บรรดาร้านค้ารับชำระเงินด้วย QR Code เริ่มต้นจากร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสินค้าแฟชั่น และการเดินทางในชีวิตประจำวัน มีแมวกวัก ‘ปิ๊บจัง’ เป็นสัญลักษณ์ นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรม ‘ปิ๊บติวัล’ ลงพื้นที่ให้ลูกค้าได้ทดลองประสบการณ์ชำระเงินรูปแบบใหม่แบบถึงตัว

 

เมื่อกสิกรไทยมีแมวกวักสไตล์ญี่ปุ่น ไทยพาณิชย์จึงเล่นใหญ่ในเดือนพฤศจิกายนด้วยการใช้นางกวักของไทยมาเป็นจุดขายกับ ‘SCB Easy Pay – แม่มณี Money Solution’ โดยกระตุ้นการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงกับทั้ง Alipay, WeChat Pay, Samsung Pay, Apple Pay และไปถึงบัตรแมงมุมที่รัฐบาลพยายามผลักดัน

 

ช่วงที่ผ่านมาจะได้ยินข่าวของทั้งสองธนาคารประกาศจับมือกับแบรนด์ค้าปลีกและธุรกิจบริการต่างๆ เพื่อขยายฐานการชำระเงินด้วย QR Code อย่างต่อเนื่อง ศึกแมวกวักปะทะนางกวักจึงยังดุเดือดเลือดพล่าน ใครเพื่อนเยอะกว่าก็จะได้เปรียบ

ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวบัตรเครดิต The Passion โดยใช้จุดขายของ Visa Signature เป้าหมายคือลูกค้าที่มีรายได้ 7 หมื่นบาทขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มรายได้ที่อยู่ระหว่างบัตรเครดิต Platinum และบัตร The Premier ซึ่งเป็นการอุดช่องว่างทางการตลาดโดยใช้แต้มสะสมคูณสองทุกการใช้จ่ายเป็นตัวชูโรง นอกจากนี้ก็รุกหนักตลาด Mobile Banking ด้วยการโปรโมต K PLUS ให้เข้าถึงทุกกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ส่ิงที่ถือเป็นไฮไลต์สำคัญของกสิกรไทยคือการเปิดตัวเป็นธนาคารท้องถิ่นที่ประเทศจีนโดยมีสำนักงานใหญ่ที่เซินเจิ้น ถือเป็นฝันที่เป็นจริงหลังจากที่ริเริ่มเส้นทางสู่แดนมังกรนับสิบปี ซึ่งจะครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้งไทยและจีน สอดรับกับยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ของจีนที่จะแผ่ขยายอำนาจทางการเงินในภูมิภาคนี้

 

ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ถือว่าโดดเด่นสำหรับการปรับกระบวนยุทธทางธุรกิจจากภาพลักษณ์ของธนาคารอนุรักษนิยมเป็นสถาบันการเงินยุคใหม่ ทั้งการเปิดตัว SCB Abacus ซึ่งเป็นทีมของคนระดับหัวกะทิเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยเฉพาะ การเปิดตัว SCB Easy แอปพลิเคชันที่เป็นไม้ตายสำคัญมากกว่าการทำธุรกรรมทางการเงิน เพิ่มลูกเล่น ‘My Deals โปรเพื่อคุณ’ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เฉพาะตัวขึ้น โดยมีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นกลจักรสำคัญในการจัดการข้อมูล และเชื่อว่าจะพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ให้บริการอัตโนมัติ (Robo Advisor) ในอนาคต สิ่งที่ถือว่าล้ำหน้าธนาคารอื่นคือแนวคิดการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านระบบ Blockchain ซึ่งเป็นการเปิดไพ่ของโลกการเงินใหม่แบบเต็มตัว

 

ทั้งสองธนาคารพยายามอย่างหนักสำหรับตลาดลูกค้ารายย่อย ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วสู่โลกดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆ ที่ลดบทบาทของตัวกลางอย่างธนาคารลง จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ธนาคารต้องปรับตัวอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา และธนาคารไทยพาณิชย์ออกตัวก่อนอย่างมีนัยสำคัญในเกมนี้

 

Score: 2-0

 

เปิดวิสัยทัศน์สองแบงก์ใหญ่ ใครมองไกลกว่า?

วันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศวิสัยทัศน์ SCB Vision 2020 โดยตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมากับภารกิจ SCB Transformation โดยวางแผนการลงทุนในเทคโนโลยีและพัฒนาองค์กรด้วยงบประมาณถึง 4 หมื่นล้านบาท ในกรอบเวลาปี 2559 ถึง 2563 เฉพาะปี 2560 ที่ผ่านมาใช้เงินถึงกว่า 1 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

 

สิ่งที่ถือว่าใจกล้าอย่างมากคือการประกาศเป้าหมายลดการเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้าลงในระยะยาว ทั้งที่รายได้ส่วนนี้เป็นรายได้สำคัญของธนาคารทั้งหลายมาโดยตลอด เมื่อพิจารณาสัดส่วนของโครงสร้างรายได้ปี 2560 ที่ผ่านมา รายได้จากดอกเบี้ยอยู่ที่ 9.23 หมื่นล้านบาท ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.4 หมื่นล้านบาท เมื่อพิจารณาสัดส่วนแล้ว รายได้จากค่าธรรมเนียมคิดเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด การปรับเกมครั้งนี้ถือว่าธนาคารไทยพาณิชย์คิดการใหญ่ที่จะใช้เทคโนโลยีแทนที่การบริการด้วยคนเพื่อลดต้นทุนในการให้บริการลง

 

“ก็คงปิดบังไม่ได้ว่าเราอยู่ในภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อและท้าทายที่สุด เราคิดว่าเราเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการธนาคาร แต่เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรใหม่ๆ ที่เป็นยักษ์ใหญ่ ไทยพาณิชย์ถือว่าเชื่องช้า ต้นทุนในการให้บริการสูง เคลื่อนไหวช้า และพลังของการริเริ่มสร้างสรรค์น้อย”

 

 

อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ พูดถึงอดีตที่ผ่านมาของธนาคารที่ดำเนินการในกรอบองค์กรใหญ่ ต้นทุนสูง และถึงเวลาแล้วสำหรับจุดเปลี่ยน โดยตั้งเป้าไว้ว่าจากนี้ถึงปี 2563 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า พนักงานไทยพาณิชย์จากเดิมกว่า 2.7 หมื่นคนจะลดเหลือ 1.5 หมื่นคน โดยที่จะไม่มีการปลดพนักงานออกแต่อย่างใด เพราะปกติจะมีพนักงานลาออกหรือเกษียณอายุปีละกว่า 3 พันคนทุกปีอยู่แล้ว ขณะที่สาขาธนาคารที่มีอยู่เกือบ 1.2 พันส่วนก็จะลดลงเหลือสาขารูปแบบเดิมเพียง 400 สาขาเท่านั้น และจะเปิดเป็น Business Center แทนในบางจุด เป้าหมายชัดเจนคือการลดต้นทุนโดยรวมลงให้ได้ 30%

 

นี่จึงเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนจากไทยพาณิชย์ว่าจะไม่ขยายกำลังคนอีก และหันไปลงทุนกับเทคโนโลยีแทน

 

ปี 2561 นี้จะใช้กลยุทธ์ ‘ตีลังกากลับหัว’ (Upside Down) โดยจะปรับธุรกิจชนิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้เป็นธนาคารที่กระฉับกระเฉง มีเทคโนโลยีและฐานข้อมูลที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถ รายได้จะมาจาก 3 ส่วนสำคัญคือ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อการบริโภค และการบริหารความมั่งคั่ง

 

โดยสินเชื่อธุรกิจที่ปัจจุบันมีขนาดใหญ่อยู่แล้วจะยังคงรักษาไว้ แต่ไม่ได้ขยายอย่างดุดันแบบแต่ก่อน จะไปเน้นตลาดของรายย่อยให้หนัก ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นการปรับเปลี่ยนรูปโฉมธนาคาร การบริการใหม่ๆ เช่น การกดเงินโดยไม่ใช้บัตรเอทีเอ็ม การเปิด SCB Express ให้บริการธุรกรรมพื้นฐานเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้ลึกขึ้น ขณะเดียวกัน ตลาดของลูกค้าที่มีสินทรัพย์มาก (High Net Worth) คือเป้าหมายสำคัญในการขยายฐานเช่นเดียวกัน

 

ต้องรอดูว่ากลยุทธ์ ‘คนไป เทคโนโลยีมา ตีลังกากลับหัว’ ของไทยพาณิชย์จะพาองค์กรไปถึงจุดที่เป็น ‘ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด’ (The Most Admired Bank) ได้จริงอย่างที่ฝันหรือไม่

ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยแถลงทิศทางธุรกิจ ปี 2561 ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ Customers’ Life Platform of Choice แพลตฟอร์มหนึ่งเดียวที่ลูกค้าเลือกเพื่อตอบโจทย์ทุกด้านของชีวิต โดยชูจุดเด่นเรื่อง Digital Banking และใช้ K PLUS เป็นอาวุธสำคัญ

 

 

พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ยอมรับว่าธนาคารพาณิชย์กำลังเผชิญกับความท้าทายในการทำธุรกิจเช่นกัน พฤติกรรมการทำธุรกรรมเปลี่ยนไปมาก สัดส่วนผู้ใช้ Mobile Banking เพิ่มเป็น 35% ในปัจจุบัน สอดคล้องกับธุรกรรมออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

ธนาคารกสิกรไทยจึงกำหนดกลยุทธ์การให้บริการเพื่อยกระดับเป็นแพลตฟอร์มสำหรับลูกค้าซึ่งจะเข้าไปในชีวิตประจำวัน เพื่อเสนอบริการได้ตรงความต้องการของแต่ละคนผ่านแอปพลิเคชันสำคัญ ได้แก่

  1. K PLUS ธนาคารบนมือถือ ตั้งเป้าเพิ่มผู้ใช้งานเป็น 10.8 ล้านราย
  2. K PLUS SHOP ร้านค้าออนไลน์บน Mobile Banking ที่เชื่อมโยงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งตั้งใจจะสร้างเป็น Market Place แห่งใหม่
  3. K PLUS SME ธนาคารบนมือถือเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี โดยตั้งเป้าเพิ่มเป็น 500,000 ราย

 

สำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่จะเป็นหน้าที่ของ ‘กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป’ หรือ KBTG โดยใช้งบประมาณพัฒนาด้านไอทีปีละประมาณ 4-5 พันล้านบาท สำหรับการพัฒนาที่สำคัญในปี 2561 นี้คือการผลักดันแอปพลิเคชัน K PLUS สู่การเป็น Lifestyle Platform Banking ซึ่งจะใช้กระบวนการเรียนรู้ของระบบ Machine Learning มาวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการนำเสนอบริการให้ตรงกับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย นอกจากนี้จะมรบริการให้สินเชื่อด้วย Machine Lending ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการประเมินความเสี่ยงและนำเสนอให้แก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ

 

แม้จะออกตัวช้ากว่า แต่กสิกรไทยก็ไม่พลาดกับเทคโนโลยี Blockchain โดยจะมีบริการวางหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บน Blockchain ซึ่งธนาคารกสิกรไทยประกาศว่านี่เป็นครั้งแรกของโลก โดยตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าผู้ใช้งานเพิ่มอีก 7-10 บริษัท และคาดว่าจะมีสถาบันการเงินเข้ามาเชื่อมต่อระบบอีก 4-5 แห่ง นอกจากนี้ยังมีบริการหักบัญชีและชำระดุลระบบสากล (Clearing and Settlement) ผ่าน Blockchain โดยร่วมกับ IBM ในการพัฒนาระบบเพื่อให้ธุรกิจทั่วโลกสามารถทำสัญญาและโอนเงินระหว่างประเทศได้รวดเร็วเกือบเรียลไทม์ และชำระดุลจากการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางได้ แผนธุรกิจปี 2561 นี้จึงถือว่าธนาคารกสิกรไทยเตรียมไม้เด็ดที่ต้องปรบมือให้ทีเดียว

 

Score: 2-1

 

แต่เกมยังไม่จบ

 

 

แม้ช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์จะพูด ‘เสียงดัง’ และสร้างการรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้โดดเด่นกว่า แต่ก็ใช่ว่าเกมธุรกิจจากนี้ต่อไปจะได้เปรียบเหนือธนาคารกสิกรไทยซึ่งจับตลาด Consumer ได้ดีมาโดยตลอด ขณะที่ไทยพาณิชย์ตอนนี้เป็น ‘ยักษ์ตื่น’ ที่เริ่มเปิดเกมรุก แนวทางของทั้งสองแบรนด์คือการลงทุนในเทคโนโลยีด้วยเงินมหาศาลปีละหลายพันล้านบาทเพื่อชิงเค้กตลาดรายย่อยที่ดุเดือดที่สุดทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์

 

นอกจากนี้ยังเดินหน้าร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในลักษณะร่วมลงทุน (Joint Venture) เพื่อผนึกกำลังชิงความได้เปรียบต่อเนื่อง มองจากวันนี้ไปข้างหน้า ทั้งสองธนาคารก็จะยังเป็นคู่แข่งที่สำคัญของกันและกันต่อไป ในวันที่ภาคการเงินเห็นตรงกันหมดว่า ‘อยู่เฉยไม่ได้อีกต่อไปแล้ว’

 

ในกระแสของ Digital Disruption นี้ เราเห็นการปรับตัวของสองอุตสาหกรรมที่เจอผลกระทบอย่างธุรกิจสื่อและธุรกิจการเงินการธนาคารที่เร็วไม่เท่ากัน ธนาคารยักษ์ใหญ่วันนี้ยังลุกขึ้นและออกวิ่ง เพราะรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงมาถึงตัวแล้ว

 

ไม่แข่งยิ่งแพ้ และคนที่แพ้ต้องดูแลตัวเอง

 

ภาพประกอบ: Karin Foxx

อ้างอิง:

The post ศึกแบงก์ชนแบงก์ ไทยพาณิชย์-กสิกรไทย ใครก้าวได้ไกลกว่า? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/scb-vs-kbank/feed/ 0
ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีหรือไม่? กรมสรรพากรแจงออฟไลน์-ออนไลน์ต้องเท่าเทียมกัน https://thestandard.co/online-taxes/ https://thestandard.co/online-taxes/#respond Mon, 27 Nov 2017 11:06:17 +0000 https://thestandard.co/?p=50858

  หนึ่งในประเด็นคำถามที่คาใจพ่อค้าแม่ค้าไทยบนโลกโซ […]

The post ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีหรือไม่? กรมสรรพากรแจงออฟไลน์-ออนไลน์ต้องเท่าเทียมกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

หนึ่งในประเด็นคำถามที่คาใจพ่อค้าแม่ค้าไทยบนโลกโซเชียลมากที่สุดในระยะหลังๆ มานี้คือ การขายของออนไลน์ยังต้องเสียภาษีอยู่หรือไม่? เพราะฝั่งกรมสรรพากรโดยอธิบดี ‘ประสงค์ พูนธเนศ’ ก็มีความชัดเจนถึงการออกนโยบายการจัดเก็บภาษีกับผู้ค้าออนไลน์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้

 

แต่ที่สุดแล้วนโยบายที่ชัดเจนและเป็นทางการจากทางภาครัฐก็ยังไม่ได้ข้อสรุปเสียที สร้างความกังวลใจต่อผู้ค้าอีคอมเมิร์ซรายย่อยหลายๆ เจ้าอย่างต่อเนื่องทุกวี่วัน

 

กลางปีที่ผ่านมา THE STANDARD มีโอกาสสัมภาษณ์ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thai e-Commerce Association) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TARAD.com โดยภาวุธบอกว่าตนเห็นด้วยกับนโยบายจัดเก็บภาษีออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศอย่างเฟซบุ๊ก กูเกิล ที่ทำให้เกิดเงินรั่วไหลออกนอกประเทศมากกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท แต่สำหรับผู้ค้ารายเล็กๆ รัฐควรจะมีนโยบายที่ส่งเสริมมากว่าการ Disrupt (คลิกอ่านได้ที่นี่)

 

ขณะที่เมื่อติดต่อไปยัง ประสงค์ พูนธเนศ เพื่อขอทราบความชัดเจน รายละเอียด นโยบายจัดเก็บภาษีออนไลน์ที่จะเกิดขึ้น กลับได้รับคำตอบว่ายังไม่สะดวกเพราะมาตรการต่างๆ ยังอยู่ในวาระขั้นตอนการหารืออยู่

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เราได้เข้าร่วมงาน ‘มหกรรมอีคอมเมิร์ซแห่งชาติ Thailand e-Commerce Week 2017’ ที่ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. (ETDA) เป็นผู้จัดขึ้น ซึ่งช่วงไฮไลต์ของงานอยู่ที่หัวข้อเสวนาเรื่องการจัดเก็บภาษีสำหรับผู้ค้าอีคอมเมิร์ซ

 

 

รองอธิบดีกรมสรรพากรชี้ขายของออนไลน์-ออฟไลน์ การจัดเก็บภาษีไม่ต่างกัน เพื่อความเสมอภาค

แพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวกลางวงเสวนาว่าการขายของออนไลน์และออฟไลน์จะต่างกันก็แค่ปัจจัยเรื่องช่องทางเท่านั้น เพราะฉะนั้นแนวทางในการจัดเก็บภาษีของผู้ค้าทั้ง 2 ประเภทนี้ก็คงไม่แตกต่างจากกันสักเท่าไร เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและความยุติธรรมในการทำการค้า

 

“ไม่ว่าจะเป็นการค้าแบบออฟไลน์หรือออนไลน์สิ่งที่ต่างกันคือช่องทาง เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีความยุติธรรมเพื่อให้เกิด Fair game และการเก็บภาษีก็คงไม่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ค้า SME รายเล็กๆ บางรายหลังนำค่าใช้จ่ายมาหักลบแล้วอาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยด้วยซ้ำ

 

“การที่ผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในระบบภาษีในอนาคตจะโตยาก ไม่ว่าจะการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือขอสินเชื่อก็จะเหนื่อยไปหมด กรมสรรพากรจึงอยากสนับสนุนให้ผู้ค้าทุกรายเข้าสู่ระบบการเสียภาษีอย่างถูกต้องเพื่อความสะดวกของตัวท่านเอง และเราก็ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือท่านเต็มที่อยู่แล้ว ที่สำคัญคือมั่นใจได้ว่าเมื่อท่านเข้าสู่ระบบการเสียภาษีแล้วนอกจากจะขยายธุรกิจได้อย่างไร้ปัญหาก็จะนอนหลับสบายแน่นอน”

 

ขณะที่เมื่อ สุรางคณา วายุภาพ ผอ. สพธอ. ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาในครั้งนี้ยกประเด็นเรื่องทิศทางการเติบโตของอีคอมเมิร์ซประเทศไทยที่คาดการณ์ว่าจบปี 2560 นี้ มูลค่าการค้าออนไลน์จะมีมากถึง 2.8 พันล้าน เช่นนั้นแล้วสรรพากรจะมีนโยบายพิเศษ หรือพอจะเป็นไปได้ไหมกับการจำกัดเพดานภาษีแบบเฉพาะเจาะจงกับผู้ค้าออนไลน์?

 

“ในความเป็นจริงเรา (กรมสรรพากร) ไม่สามารถออกภาษีให้เฉพาะเคสได้ ไม่สามารถเลือกได้ว่าผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซจะต้องเสียภาษีอีกแบบต่างจากการเสียภาษีของผู้ประกอบการทั่วๆ ไป แต่สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งบริษัทอาจจะได้รับประโยชน์มากกว่า

 

“ถ้าดูย้อนหลังไปสองปีก็จะพบว่าสรรพากรช่วยผู้ประกอบการเยอะมาก เราไม่เคยย้อนไปดูประวัติเก่าๆ เลย เพราะมีกฎหมายบังคับอยู่ และก็ไม่ได้เรียกเก็บภาษีย้อนหลังด้วย แต่สิ่งที่ท่านต้องทำตามต่อไปคือ ‘ต้อง’ แสดงรายรับและรายจ่ายที่ถูกต้อง สรรพากรสนับสนุนให้ผู้ค้าทุกท่านเข้าสู่ระบบภาษีอยู่แล้วเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเพื่อการเติบโตขององค์กรในขนาดที่ใหญ่ขึ้น”

 

เมื่อถามถึงแนวทางที่กรมสรรพากรจะใช้จัดการกับผู้ประกอบการสื่อรายใหญ่ๆ จากต่างประเทศอย่างเช่น เฟซบุ๊ก หรือกูเกิลที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยโดยไม่ได้เข้าสู่ระบบการเสียภาษีอย่างถูกต้อง แพตริเซีย มองว่า

 

“ผู้ประกอบการรายยักษ์ขนาดนั้นพวกเขาไม่ได้ไม่เข้าสู่ระบบการเสียภาษี แต่พยายามใช้โครงสร้างบางอย่างในการออกจากระบบมากกว่า เพราะในหลายๆ ประเทศก็มีกฎหมายบังคับการดำเนินธุรกิจของพวกเขาอยู่ แต่ปัญหาของเราคือไม่ได้มีกฎหมายเหล่านั้น สิ่งที่เราทำคือพยายามจะแก้ไขกฎหมายเพื่อดำเนินการจัดเก็บภาษีกับผู้ค้าต่างประเทศที่เข้ามาให้บริการในประเทศไทย อย่าเข้าใจผิดว่าเราพยายามจะออกกฎหมายอีคอมเมิร์ซ เพราะเราไม่ได้ทำแบบนั้น เราแค่พยายามจะทำให้ผู้ค้าออนไลน์และออฟไลน์ปฏิบัติเหมือนกันในการเสียภาษี เพราะเราอยากเห็นการดำเนินธุรกิจที่ยุติธรรม ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยไม่ถูกบีบตายจากช่องว่างทางกฎหมายเรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการต่างประเทศใช้ประโยชน์”

 

นอกจากนี้ แพตริเซีย ยังได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนถึงประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ทุกประเทศก็เจอปัญหาการเรียกเก็บภาษีจากผู้ค้ารายใหญ่จากต่างประเทศเหมือนกันหมด (เฟซบุ๊ก, กูเกิล) และพวกเขาก็พยายามจะหาทางออกจากปัญหานี้อยู่เหมือนกัน ซึ่งกฎหมายที่ทางสรรพากรไทยกำลังร่างอยู่ในขณะนี้ก็อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอตามขั้นตอนอยู่ แต่ประชาพิจารณ์น่าจะเห็นชัดขึ้นในช่วงต้นปีหน้า ส่วนผู้ประกอบการจากต่างประเทศก็ให้ความเห็นถึงความกังวลที่พวกเขามีต่อประชาพิจารณ์นี้เช่นกัน”

 

 

นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซไทย เชื่อศึกอีคอมเมิร์ซไทยดุเดือดดีต่อประเทศ แต่ระยะยาวอาจไม่แน่ ด้านตัวแทน ธปท. แจง ‘พร้อมเพย์’ ปลอดภัย 100%

ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าวงการอีคอมเมิร์ซไทยดูจะคึกคักเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ประกอบการรายยักษ์จากจีนกระโจนเข้ามาบุกตลาดไทยมากขึ้น อย่างเช่น JD.com ที่จับมือกับกลุ่มเซ็นทรัล ในการทำตลาดในประเทศไทย

 

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ในฐานะของนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ให้ความเห็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปัจจุบันว่า การมีผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่เข้ามา ถ้ามองในระยะสั้นและกลางถือว่าดีมาก เพราะเขาเทงบลงทุนด้านอีคอมเมิร์ซเป็นจำนวนมหาศาลซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ถ้ามองในระยะยาวก็ต้องมาดูกันอีกทีว่าสุดท้ายแล้วผู้ประกอบการท้องถิ่นจะได้รับผลกระทบเดือดร้อนไหม?

 

“การแข่งขันตอนน้ีต้องยอมรับว่า Local Market Place จะสู้ได้ท้าทายมากขึ้น แต่พวกเขาก็จะต้องแตกต่างและมีลักษณะจำเพาะไม่เหมือนกับผู้ค้ารายใหญ่ๆ เหมือนกัน

 

“รัฐจะต้องดูให้ดีว่าจะเกิดการผูกขาดจากผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่หรือเปล่า เพราะเมื่อระบบนิเวศ (Ecosystem) มันผูกด้วยกันทั้งหมด มันก็จะเกิดผลกระทบต่อทั้งภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่แค่ฝั่งการค้าปลีกหรือฝั่งใดฝั่งหนึ่งเท่านั้น คงต้องดูว่ากฎหมายเรื่องการผูกขาดการค้าในไทยจะนำมาใช้ได้ไหม?”

 

ในงานเสวนายังมีการยกประเด็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ขึ้นมาขยายความด้วย จากการเปลี่ยนผ่านของการใช้เงินสด ธนบัตรเงินตรา ไปสู่การใช้ QR Code พร้อมเพย์ หรือที่เรียกรวมๆ ว่า ‘สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)’ อีกด้วย

 

Photo: BOT

 

สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงินกล่าวว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็มองเห็นทิศทางการเติบโตของอีคอมเมิร์ซเช่นกัน ซึ่งปัจจัยสนับสนุนด้านการชำระเงินก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการมีระบบชำระเงินที่สะดวกจะช่วยให้การค้าขายคล่องตัวมากขึ้น ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับสมาคมธนาคารพัฒนาระบบการชำระเงินที่ง่ายและดีมากขึ้น

“อย่างต้นปีเราก็ทำเรื่องพร้อมเพย์ที่ทำให้ประชาชนและนิติบุคคลสามารถชำระเงินและโอนเงินผ่านหมายเลขโทรศัพท์ได้ หลังจากนั้นเราก็พัฒนาให้ E-wallet สามารถโอนเงินเข้าสู่ธนาคารได้อีก

 

“ในเรื่องความปลอดภัยเรามีบริษัทดูแลที่เป็นมาตรฐานสากล และเราก็ยังตรวจเช็กมาตรฐานอยู่แล้วทุกปี จึงมั่นใจได้เรื่องความปลอดภัย และตั้งแต่ที่เราทำพร้อมเพย์มาก็ต้องเรียนย้ำอีกครั้งว่าสรรพกรไม่เคยขอเรียกดูข้อมูลผู้ใช้งานเลยสักครั้ง และก็ไม่สามารถทำได้ด้วย เนื่องจากพร้อมเพย์เป็นแค่ระบบการชำระเงิน

 

Photo: Pixabay

 

ส่วนการชำระเงินผ่านการสแกน QR Code ที่ธนาคารในประเทศไทยหลายแห่งตกลงปลงใจที่จะใช้ระบบนี้ร่วมกันเป็นมาตรฐานนั้น ทางสิริธิดาเล่าถึงที่มาว่าเกิดจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเล็งเห็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้จากโมเดลของธนาคารต่างประเทศหลายๆ แห่ง ซึ่งช่วยให้เกิดความสะดวกต่อทั้งตัวผู้ค้าและผู้ขายนั่นเอง

 

ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan

The post ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีหรือไม่? กรมสรรพากรแจงออฟไลน์-ออนไลน์ต้องเท่าเทียมกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/online-taxes/feed/ 0
เทรนด์ E-Commerce 2018 ข้อมูลคือพระเจ้า สังคมไร้เงินสดมาแน่! https://thestandard.co/e-commerce-trends-2018/ https://thestandard.co/e-commerce-trends-2018/#respond Thu, 23 Nov 2017 12:13:23 +0000 https://thestandard.co/?p=50038

  ทุกวันนี้การช้อปสินค้าออนไลน์ หรือติดต่อซื้อขายส […]

The post เทรนด์ E-Commerce 2018 ข้อมูลคือพระเจ้า สังคมไร้เงินสดมาแน่! appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

ทุกวันนี้การช้อปสินค้าออนไลน์ หรือติดต่อซื้อขายสินค้าบริการผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce: ซื้อสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย) กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ สะท้อนให้เห็นว่าภาคผู้บริโภคในปัจจุบันมีพฤติกรรมความเชื่อมั่นและมุมมองการบริโภคที่เปลี่ยนไปพอสมควร

 

ปี 2017 นี้ ETDA คาดการณ์ว่า อีคอมเมิร์ซไทยน่าจะจบปีโดยมีมูลค่าอยู่ที่ 2,812,592.03 ล้านบาท และเทียบเป็นอัตราส่วนการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 9.86% (ปี 2016-2017) ตอกย้ำความเชื่อที่ว่าอีคอมเมิร์ซไทยจะเติบโตต่อไปเรื่อยๆ

 

แต่คำถามก็คือ ในปี 2018 นี้มีข้อมูลอะไรบ้างที่ผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ควรรู้ และมีกลยุทธ์ใดที่ควรยึดถือปฏิบัติตามเป็นพิเศษหรือไม่?

 

วันที่ 22 พฤศจิกายน Priceza ผู้ให้บริการเว็บไซต์และแอปพลิเคชันค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา ได้จัดงานประกาศรางวัล Priceza E-Commerce Awards 2017 ขึ้น โดยความพิเศษอยู่ที่เวทีเสวนา 3 หัวข้อสำคัญ ได้แก่ 1. ทิศทางอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย 2. แนวโน้มระบบอีโลจิสติกส์ในอนาคต และ 3. สถานการณ์ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการด้านอีคอมเมิร์ซไทยปี 2018

 

 

ผู้เชี่ยวชาญชี้ปีหน้าอีคอมเมิร์ซไทยแข่งกันดุเดือด ใครเก็บ ‘ข้อมูล’ เยอะได้เปรียบ  คาด C2C มาแรงสุด

เวทีเสวนาในหัวข้อทิศทางอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ปี 2018 มีคนในวงการอีคอมเมิร์ซไทยอย่าง ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย), ผรินทร์ สงฆ์ประชา ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร บริษัท นาสเกต รีเทล จำกัด, ศิวกร สิริวงศ์ภาณุพงศ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด และ ยุทธนา จิตจรุงพร รองประธานบริหารฝ่ายธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เทสโก้ โลตัส เข้าร่วมเป็นวิทยากร โดยมี ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนา

 

สำหรับ ศิวัตร ที่แม้จะไม่ได้เป็นผู้เล่นในตลาดอีคอมเมิร์ซโดยตรง แต่กรุ๊ปเอ็มซึ่งดำเนินธุรกิจด้านมีเดียเอเจนซีก็ถือว่ามีข้อมูลและได้สัมผัสพื้นโลกโซเชียลมีเดียอยู่บ้าง จึงพอจะทำให้เขาเห็นว่าอีคอมเมิร์ซไทยยุคนี้เฟื่องฟูเอามากๆ ทั้งในด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซ หรือแม้แต่บริการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาและได้รับความนิยม เช่น GrabBike (Delivery) หรือ UberEATS

 

นอกจากนี้ศิวัตรยังบอกอีกด้วยว่า สาเหตุที่แบรนด์และผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เริ่มหันมาจับตลาดอีคอมเมิร์ซทำการตลาดบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้อาจจะไม่เคยทำมาก่อนเป็นเพราะพวกเขามองข้ามช็อตไปถึงการเก็บข้อมูลผู้บริโภค ซึ่งจะมีประโยชน์มากๆ กับการทำธุรกิจในภายภาคหน้า

 

“จริงๆ แบรนด์ใหญ่ก็หันมาศึกษาอีคอมเมิร์ซกันนานแล้วเพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ ถึงแม้ยอดขายออนไลน์จะยังเทียบกับยอดขายออฟไลน์ไม่ได้ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ ‘ข้อมูล’ ที่เก็บจากผู้บริโภค ซึ่งจะมีประโยชน์กับการทำธุรกิจในอนาคต

 

“การทำความรู้จักลูกค้าจะทำให้แบรนด์ต่างๆ ดำเนินธุรกิจและทำอีคอมเมิร์ซได้ยั่งยืน แบรนด์ใหญ่ๆ จะต้องเก็บลูกค้าด้วยวิธีใดๆ ก็ได้ เพราะยังไงก็จะต้องได้ใช้แน่นอน ไม่ว่าจะทำโปรโมชันหรือกิจกรรมส่งเสริมการขายใดๆ ก็ตาม สุดท้ายแล้วมันก็วนกลับมาอยู่ที่การรู้ข้อมูลอยู่ดี

 

ยุทธนา ตัวแทนจากห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ โดยเทคนิค 2 ประการที่จะทำให้แบรนด์จับลูกค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซได้อยู่หมัด คือ ต้องรู้จักลูกค้าว่าเป็นคนอย่างไร และรู้จุดแข็งของตัวเองเพื่อที่จะนำไปตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้

 

“ต้องถือว่าเราโชคดีที่เทสโก้ โลตัส เป็น Big Player ที่มีการเก็บฐานข้อมูลของลูกค้าค่อนข้างเยอะ ที่ผ่านมาเราเห็นการเติบโตของอีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง และพบว่าสินค้าบางอย่างก็เหมาะที่จะขายออนไลน์ได้ เช่น สินค้าจำพวกอุปกรณ์เทคโนโลยี แต่บางอย่างก็ทำไม่ได้ สุดท้ายแล้วถ้าเราสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทั้งเรื่องราคาและความพอใจ ประสบการณ์มันก็จะชนะทุกอย่าง

 

“ส่วนเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่ผมมองว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้าแน่นอน คือ การเติบโตของผู้เล่นระดับโลก (Global Player) ที่หลังจากนี้ก็จะสาดดีลและโปรโมชันกันกระจายแน่นอน ในทางกลับกันมันอาจจะเป็นผลเสียที่ผู้บริโภคจะยึดติดกับโปรโมชันส่วนลด และทำให้ผู้ประกอบการเจ้าเก่าๆ จะต้องลำบากมากขึ้นในการปรับตัวสู้กับผู้เล่นใหม่ๆ ที่มีทุนทำการตลาดหนากว่าในช่วงแรกๆ”

 

 

ด้าน ศิวกร จากช้อปปี้ เชื่อว่า ยิ่งมีผู้เล่นและผู้ประกอบการระดับโลกกระโจนเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในจำนวนที่เพิ่มขึ้นพร้อมๆ กับการแข่งขันที่ดุเดือด ไทยก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นตามไปด้วย

 

“ผมมองว่าเป็นผลดีต่อประเทศไทยนะ เพราะจะทำให้เกิดการแชร์ความรู้และประสบการณ์ของการช้อปออนไลน์ ซึ่งที่สุดแล้วจะนำไปสู่การพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งการขนส่ง (Logistic) การทำธุรกรรม (Payment) รวมถึงการจ้างงานบุคลากรเพิ่มขึ้น และทั้งหมดก็จะช่วยให้ผู้คนมีความรู้ในการทำอีคอมเมิร์ซมากขึ้น”

 

อย่างไรก็ดี ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้นนี่เองที่ทำให้ ผรินทร์ จาก นาสเกต รีเทล เชื่อว่าผู้ที่จะได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวมากที่สุดไม่ใช่ผู้ประกอบการรายใหญ่หรือรายเล็กอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางมากกว่าที่จะได้รับผลกระทบจากศึกที่กำลังจะเกิดขึ้น

 

“ผมเชื่อว่าผู้ประกอบการและแบรนด์เล็กๆ จะมีวิธีการทำตลาดที่สร้างสรรค์มากขึ้น เพราะฉะนั้นพวกเขาไม่จำเป็นต้องไปทำการตลาดแข่งกับแบรนด์ใหญ่ ที่ส่วนใหญ่จะทุ่มทำการตลาดโฆณากับสื่อออนไลน์อยู่แล้ว แต่ถ้าแบรนด์ระดับกลางๆ อาจจะต้องระวังให้ดี เพราะการแข่งขันจะสูงมากขึ้น”

 

ย้อนกลับไปที่ศิวัตรอีกครั้ง ในมุมมองของผู้ประกอบการด้านมีเดียเอเจนซี เขาเชื่อว่าในปี 2018 ที่จะถึงนี้ เทรนด์อีคอมเมิร์ซที่จะมาแรงแน่นอนคือกลยุทธ์การค้าแบบ C2C (Consumer to Consumer) หรือการซื้อขายระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค

 

“ผมรู้สึกว่า C2C หรือการซื้อขายกันเองระหว่างผู้บริโภค (ผู้ค้ารายย่อย) น่าจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดในปีหน้า เพราะปัจจุบันการทำธุรกรรมผ่านธนาคารและโทรศัพท์มือถือก็เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แล้ว เทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในปัจจุบันจึงส่งเสริมให้คนประกอบอาชีพได้มากกว่าหนึ่งอาชีพ เช่น การขายของ แล้วพอ C2C มันคึกคัก เดี๋ยว B2C (Business to Consumer: การขายสินค้าไปยังผู้บริโภค) ก็จะตามไป”

 

 

‘โดรนและรถส่งสินค้าอัตโนมัติ’ เป็นไปได้กับเทรนด์อีโลจิสติกส์ปี 2018

ในยุคที่อีคอมเมิร์ซไทยเฟื่องฟูเช่นนี้ ก็ยิ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซเจ้าใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับดีมานด์ที่มีอยู่อย่างล้นหลามในตลาดตามไปด้วย

 

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ เมื่อดีมานด์ของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น ลูกค้าส่วนใหญ่ต่างก็อยากได้รับสินค้าในวันเดียวกันกับวันที่ชำระสินค้า และกดออร์เดอร์แทบจะทั้งนั้น บ่อยครั้งผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการแบบ Same day delivery ให้กับลูกค้าทุกๆ คนได้พร้อมกันเพราะมีบุคลากรในจำนวนที่จำกัด (ต้องรอออร์เดอร์มาเป็นจำนวนมากเพื่อที่จะจัดเส้นทางการจัดส่งสินค้าให้คุ้มทุนที่สุดในคราวเดียว) นี่จึงเป็นหัวข้อและความท้าทายครั้งใหญ่ที่ภาคผู้ให้บริการจะต้องบรรลุผลให้ได้

 

สุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิปป๊อป จำกัด ให้ความเห็นว่า “ปัจจุบันร้านค้าไหนที่มีฟีเจอร์ส่งสินค้าแบบ Same day delivery ก็จะทำให้พวกเขาขายของได้ง่ายมากขึ้น มันจึงเป็นส่ิงที่ท้าทายเหมือนกัน เพราะนั่นเท่ากับว่ายิ่งมีดีมานด์เพิ่มขึ้นเท่าไร เราก็ต้องมีกำลังบุคลากร (ในการกระจายส่งสินค้า) เพิ่มมากขึ้นไปด้วย”

 

 

ส่วน โยจิ ฮามานิชิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ยามาโตะ เอ็กซ์เพรส บอกว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการขนส่งสินค้าเป็นทางออกที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด เพราะบริษัทหลายๆ แห่งก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนบุคลากรได้ในระยะเวลาสั้นๆ

 

“เทคโนโลยีจำพวกโดรนหรือระบบส่งสินค้าอัตโนมัติ (รถยนต์ไร้คนขับ) น่าจะเข้ามามีบทบาทในอีคอมเมิร์ซมากขึ้น แต่อาจจะไม่ได้มาแทนที่แรงงานแบบเดิมไปหมดเลยซะทีเดียว มันมาแน่นอน แต่จะมาเมื่อไรและมาด้วยวิธีการไหนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น”

 

ต่อประเด็นเรื่องโดรนส่งสินค้านี้ สุทธิเกียรติ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า น่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อยู่แล้ว เพราะปีที่ผ่านมาก็มีผู้ประกอบธุรกิจโดรนส่งสินค้าเข้ามาคุยกับเขาอยู่เหมือนกัน แต่ติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย แต่หากสามารถดำเนินการให้เกิดขึ้นจริงได้ก็จะช่วยแก้ปัญหาการส่งสินค้าล่าช้าได้แน่นอน

 

ด้าน สันทิต จีรวงศ์ไกรสร ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค ฝ่ายดำเนินงาน บริษัท ลาลาล่ามูฟ ประเทศไทย ทิ้งท้ายว่า ภาครัฐและเอกชนควรจะร่วมมือกันเพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาสร้างประโยชน์ขับเคลื่อนวงการโลจิสติกส์ไทยให้รุดหน้าให้ได้มากที่สุด

 

“การใช้โดรนยังติดเรื่องข้อกฎหมายอยู่ เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีภาครัฐมาช่วยกำกับด้วย เช่นเดียวกับกรณีของรถยนต์ไร้ขนขับส่งสินค้า ผมคิดว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จริงนั้นก็ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับรัฐและเอกชนในการพัฒนาร่วมกัน”

 

 

Cashless Society และพร้อมเพย์ สองเทรนด์สำคัญลดภาระต้นทุนการหมุนเวียนเงินสด

ขณะที่บนเวทีเสวนาเรื่องการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประเด็นเรื่องสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) และพร้อมเพย์ดูจะเป็น 2 หัวข้อใหญ่ที่ได้รับความสนอกสนใจมากที่สุด

 

เพราะในปัจจุบันผู้ให้บริการทางการเงินและธนาคารหลายแห่งต่างก็พัฒนาวิธีการเพื่อให้ผู้ประกอบการหลายๆ ขนาดพึ่งพาการใช้เงินสดน้อยที่สุด เราจึงได้เห็นพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวแกงและพี่วินมอเตอร์ไซค์เพิ่มช่องทางการจ่ายเงินด้วย QR Code อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับเทรนด์ความนิยมของกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Wallet ที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

 

 

สมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธานบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า หนึ่งในเหตุผลที่ภาครัฐและทางธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับเทรนด์สังคมไร้เงินสดนั้น เพราะเป็นการช่วยลดต้นทุนเสียเปล่าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมุนเวียนเงินสดอย่างฟุ่มเฟือย

 

“ในแต่ละวันมีเงินสดหมุนเวียนในประเทศมากกว่าหลักแสนล้านบาท ซึ่งต้นทุนการหมุนเวียนเงินจำนวนนี้ถือว่าสูงมากๆ และน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าหากเอาต้นทุนที่ใช้ในการหมุนเวียนเหล่านั้นไปใช้พัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ แทน”

 

ฝั่ง สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจข้อมูลที่น่าสนใจและพบว่า 57% ของผู้ทำธุรกรรมส่วนใหญ่ในเอเชียยังยึดติดกับการใช้เงินสดอยู่ อย่างไรก็ดี จีนดูจะเป็นประเทศที่ทันสมัยและก้าวหน้ามากที่สุด เพราะมีจำนวนผู้ใช้เงินสดทำธุรกรรมเพียง 25% เท่านั้น ส่วนอีก 75% ที่เหลือหันไปใช้รูปแบบการชำระเงินแบบใหม่ๆ รวมถึง Alipay และ WeChat Pay

 

 

ส่วนประเทศไทยยังมีอัตราการใช้เงินสดทำธุรกรรมอยู่ที่ 70% แต่จำนวนดังกล่าวก็มีแนวโน้มจะลดลงได้ไม่ยาก โดย PayPal เชื่อว่าเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ทันสมัยจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคได้ทดลองการทำธุรกรรมรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น

 

ด้านวิธีการทำธุรกรรมรูปแบบใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคชาวเอเชียรู้สึกคุ้นเคยมากที่สุด สามารถจำแนกตามลำดับได้ดังนี้

  1. 49% คุ้นเคยกับ E-Wallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
  2. 23% คุ้นเคยกับ Contactless Payment Via Cards หรือการทำธุรกรรมผ่านการแตะบัตรเข้ากับเครื่องแสกน
  3. 23% คุ้นเคยกับ Contactless Payment Via Mobiles หรือการทำธุรกรรมผ่านการแตะโทรศัพท์มือถือกับเครื่องสแกน
  4. 14% คุ้นเคยกับ In-App Payment System หรือการทำธุรกรรมผ่านแอปฯ มือถือ
  5. 11% คุ้นเคยกับ Digital Currency หรือการใช้สกุลเงินดิจิทัล
  6. 4% คุ้นเคยกับ Recharge Phone

 

สมหวังบอกว่า “ณ ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปมาก ผู้ให้บริการด้านการเงินเองก็เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงบริการของตนเพื่อให้ผู้บริโภคทำธุรกรรมได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มวิธีการชำระเงินของผู้บริโภคไทยก็จะเปลี่ยนไปมากขึ้นเช่นกัน อย่างที่พลเมืองจีนนิยมใช้ Alipay WeChat ในปัจจุบันกัน เราเองก็อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปคล้ายๆ กับเขาได้ในอนาคต ซึ่งพร้อมเพย์ในบ้านเราก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมให้ทำธุรกรรมออนไลน์ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน”

 

ทุกวันน้ีประเด็นเรื่องการใช้พร้อมเพย์ยังกลายเป็นข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา และดูเหมือนว่าคุยกี่ครั้งก็หาข้อสรุปไม่ได้เสียที แต่สำหรับสมคิดตัวแทนจากธนาคารกสิกรไทย เขาเชื่อว่า พร้อมเพย์จะทำให้ไลฟ์สไตล์ความเป็นอยู่ของผู้คนสะดวกและปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ

 

“พร้อมเพย์ จะทำให้การใช้จ่ายข้ามธนาคารได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้พร้อมเพย์ยังทำได้มากกว่าในแง่การทวงเงิน ซึ่งจะเป็นฟีเจอร์ที่เปิดตัวในปีหน้าและถือเป็นการเพิ่มความสะดวกให้ผู้บริโภค

 

“คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าพร้อมเพย์ไม่ปลอดภัยทำให้ไม่กล้าลงทะเบียน แต่ความจริงผมมองว่าคนที่ลงทะเบียนจะปลอดภัยกว่าด้วยซ้ำไป เพราะเป็นการยึดเลขโทรศัพท์กับเลขที่บัญชีเข้าด้วยกัน ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีใครมาทำธุรกรรมแทนตัวคุณได้เลย”

 

ด้าน กิติพงศ์ มุตตามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เชื่อว่า เทรนด์การใช้งานของ E-Wallet อาจจะเบียดคะแนนความนิยมจากการใช้เงินสดได้อย่างพอฟัดพอเหวี่ยง แต่การแข่งกับบัตรเครดิตยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอยู่ เนื่องจากมีฟังก์ชันการใช้งานที่ต่างกัน

 

“E-Wallet แข่งกับเงินสดได้ แต่อาจะแข่งกับเครดิตการ์ดได้ยาก เพราะในเชิงกระบวนการ E-Wallet ต้องอาศัยการเติมเงินออนไลน์ลงไปก่อน ต่างจากเครดิตที่เป็นการใช้เงินก่อนแล้วค่อยจ่ายที่หลัง ที่สำคัญเขายังมีโปรโมชันส่งเสริมการขายของตัวเองด้วย ซึ่งต่างจากการทำการตลาดของ E-Wallet ในขณะนี้”

 

ขณะที่ ศุภวิทย์ หงส์อมรสิน ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ประจำประเทศไทย บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด อีกหนึ่งผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังทำตลาดในไทยอย่างต่อเนื่อง ให้ความเห็นถึงประเด็นการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้เงินสดว่า

 

“ถ้าทางธนาคารแห่งประเทศไทยผลักดันเรื่อง E-Wallet มากขึ้น ประชาชนก็จะหันมาใช้งานเทคโนโลยีแบบนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดีมันจะเติบโตได้ก็ต้องมีการพัฒนาโครงสร้างการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตภายในประเทศให้ดีควบคู่ไปด้วยเพื่อให้สังคมไร้เงินสดพัฒนาไปได้อย่างมีเสถียรภาพ”

 

ที่สุดแล้วไม่ว่าสังคมไทยจะผลัดใบจากเงินสดไปซบอกเงินดิจิทัลและเงินในโลกออนไลน์ได้จริงหรือไม่? กรุงเทพฯ จะมีโดรนส่งสินค้าบินว่อนกลางสยามไปยังพาหุรัดได้หรือเปล่า? และอีคอมเมิร์ซไทยจะเติบโตได้แค่ไหน? ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าการร่วมกันทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชนมีผลเป็นอย่างมาก สิ่งที่ควรคาดหวังในตอนนี้คือการจับมือและหารือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างฟันเฟืองสำคัญทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมแน่นอน

 

อ้างอิง:

  • รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2560 (Value of e-Commerce Survey in Thailand 2017) โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

The post เทรนด์ E-Commerce 2018 ข้อมูลคือพระเจ้า สังคมไร้เงินสดมาแน่! appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/e-commerce-trends-2018/feed/ 0