สวนทุเรียน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 19 Oct 2024 09:45:14 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 จีนเหมาทุเรียนทั่วโลก แต่ไม่พอกิน! จนนักลงทุนจีนแห่ปลูกทุเรียนใน สปป.ลาว ชี้ ค่าแรงถูก แถมส่งผ่านรถไฟเร็ว 48 ชม. https://thestandard.co/chinese-invest-laos-durian-farms/ Sat, 19 Oct 2024 09:45:14 +0000 https://thestandard.co/?p=998030

จีนรับซื้อทุเรียนทั่วโลก แต่ไม่พอกับความต้องการตลาด นัก […]

The post จีนเหมาทุเรียนทั่วโลก แต่ไม่พอกิน! จนนักลงทุนจีนแห่ปลูกทุเรียนใน สปป.ลาว ชี้ ค่าแรงถูก แถมส่งผ่านรถไฟเร็ว 48 ชม. appeared first on THE STANDARD.

]]>

จีนรับซื้อทุเรียนทั่วโลก แต่ไม่พอกับความต้องการตลาด นักลงทุนจีนแห่ปลูกทุเรียนใน สปป.ลาว ชี้ ค่าแรงถูก แถมส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงได้ 48 ชั่วโมง รออนุญาตนำเข้าก็จะส่งผลผลิตกลับบ้านเกิดทันที ย้ำ อนาคต สปป.ลาว จะขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากไทยและเวียดนาม

 

Nikkei Asia รายงานว่า หลายคนทราบดีว่าทุเรียนมีกลิ่นฉุนมากจนถูกห้ามนำขึ้นขนส่งสาธารณะในบางสถานที่ เช่น ฮ่องกงและไทย แต่ด้วยจุดเด่นของกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และมีรสชาติหวาน ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากในจีน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

สะท้อนจากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ระบุว่า จีนรับซื้อทุเรียนจากทั่วโลกถึง 95% โดยปี 2023 จีนซื้อทุเรียนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากถึง 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าปี 2017 ถึง 12 เท่า

 

ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้อุตสาหกรรมทุเรียนเติบโตอย่างรวดเร็ว และหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรับตัวหันมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น โดยเฉพาะไทย ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตทุเรียนในไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ไม่เว้นแม้แต่ชาวเวียดนามที่เลิกปลูกกาแฟแล้วหันมาปลูกทุเรียนแทน รวมถึงมาเลเซียถางป่าดิบชื้นมาสร้างสวนทุเรียน แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดจีนอยู่ดี

 

ทำให้ในช่วง 2-3 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้าไปทำสวนทุเรียนใน สปป.ลาว มากขึ้น เพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสม แรงงานราคาถูก และมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ที่สำคัญยังสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมระหว่าง สปป.ลาว และจีน

 

เทาเจี้ยน นักธุรกิจชาวจีน เล่าว่า ได้ตั้งบริษัท จินกั๋ว ซึ่งในภาษาจีนแปลว่า ผลไม้ทองคำ ในชีวิตประจำวันตัวเขาจะใช้เวลาทั้งวัน เพื่อขับรถบนถนนทางตอนใต้ของ สปป.ลาว เพื่อตรวจสอบสวนทุเรียนที่ปลูกไว้กว่า 50,000 ต้น โดยการลงทุนสวนทุเรียนใช้งบสูงมากและต้องดูแลอย่างใส่ใจ กว่าจะเก็บเกี่ยวได้ต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี

 

ทั้งนี้ราคาทุเรียนมีตั้งแต่ประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐไปจนถึงหลายร้อยดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยต้นทุเรียนที่แข็งแรงและเติบโตเต็มที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าเป็นเวลาหลายสิบปี และเตรียมจัดส่งผลผลิตทั้งหมดไปยังตลาดจีน

 

จากเดิมพื้นที่ สปป.ลาวใต้ ได้รับขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงกาแฟของ สปป.ลาว แต่ในอนาคตอาจเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งผลิตทุเรียนในไม่ช้า เมื่อนักลงทุนเริ่มหลั่งไหลเข้าไป โดยคาดการณ์ว่า สปป.ลาว จะกลายเป็นประเทศผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากไทย, เวียดนาม และมาเลเซีย

 

“แต่ยังมีอีกประเด็นที่ยังเป็นอุปสรรค คือ ขณะนี้จีนยังไม่อนุญาตให้นำเข้าทุเรียนจาก สปป.ลาว ซึ่งทั้งสองประเทศอยู่ระหว่างการเจรจาในเรื่องนี้ ทั้งนี้นักลงทุนเชื่อว่าติดขัดแค่เรื่องของเวลาเท่านั้น” เทาเจี้ยนย้ำ

 

สอดคล้องกับ บุนจัน คำบุญยาสิทธิ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรของ สปป.ลาว ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์จีนเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมาว่า ผลผลิตทุเรียนจาก สปป.ลาว จะถูกส่งออกไปยังจีนในเร็วๆ นี้ เพราะทั้งสองประเทศกำลังเตรียมเอกสาร เพื่ออนุญาตให้ทุเรียน สปป.ลาว ส่งออกไปตลาดจีนได้

 

เช่นเดียวกับ เหอรุ่ยจวิ้น รองผู้จัดการ บริษัท เจียรุ่น กล่าวว่า ตอนนี้พื้นที่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนแห่งโอกาส ไม่เหมือนกับในจีนที่โอกาสเติบโตเริ่มจำกัดแล้ว บริษัทจึงเข้าร่วมกระแสการลงทุนทุเรียนใน สปป.ลาว เมื่อปี 2022 โดยทำสัญญาเช่าที่ดินจากรัฐบาล สปป.ลาว เป็นเวลา 50 ปี เพื่อปลูกต้นทุเรียน ซึ่งจะผสานโมเดลการเกษตรของจีนให้เข้ากับทรัพยากรของ สปป.ลาว

 

อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปตั้งแต่ปี 2016 จีนถือเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดใน สปป.ลาว หลังจากก่อสร้างรถไฟ สปป.ลาว-จีน ช่วยเพิ่มแรงผลักดันให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ด้วยความสะดวกและช่วยลดต้นทุนและเวลาในการขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งทุเรียน เป็นการแข่งขันกับเวลา เนื่องจากเป็นผลไม้ที่สุก, สด, ใหม่, เน่าเสียเร็ว ดังนั้นการขนส่งผ่านรถไฟเป็นวิธีการขนส่งที่คุ้มค่า ใช้เวลาไม่ถึง 48 ชั่วโมง

 

อ้างอิง:

The post จีนเหมาทุเรียนทั่วโลก แต่ไม่พอกิน! จนนักลงทุนจีนแห่ปลูกทุเรียนใน สปป.ลาว ชี้ ค่าแรงถูก แถมส่งผ่านรถไฟเร็ว 48 ชม. appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐาลุยสวนทุเรียน​ สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาแหล่งน้ำ หยุดซ่อมถนนสุขุมวิท ​หวังส่งเสริมท่องเที่ยว​-ขนส่ง https://thestandard.co/srettha-thavisin-27042024/ Sat, 27 Apr 2024 07:14:46 +0000 https://thestandard.co/?p=927408

วันนี้ (27 เมษายน) เศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกรัฐมนตรี และรัฐม […]

The post เศรษฐาลุยสวนทุเรียน​ สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาแหล่งน้ำ หยุดซ่อมถนนสุขุมวิท ​หวังส่งเสริมท่องเที่ยว​-ขนส่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (27 เมษายน) เศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง​ พร้อมคณะ เดินทางไปยัง​สวนนวลทองจันท์ ตำบลมาบไพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี​ เพื่อตรวจติดตามการผลิตทุเรียน และรับฟังปัญหาจากเกษตรกร

 

โดยเกษตรกรเจ้าของสวนนวลทองจันท์ได้สะท้อนปัญหาว่า​ปีนี้ร้อนและแล้งมาก ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยหลักในการทำการเกษตรนั้นขาดแคลน​ รวมไปถึงปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าว​ที่ต้องใช้จำนวนมากในภาคการเกษตร ทั้งการดูแล​และภาคการขนส่งที่ยังคงพบปัญหาอยู่​ รวมถึงปัญหาศัตรูพืชระบาด

 

ด้านนายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับผลไม้เพื่อการส่งออก​ และพร้อมรับฟังแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร​ จากการรายงานปีนี้น่าจะส่งออกทุเรียนมากกว่า​ปีที่ผ่านมา ซึ่งทุเรียนเป็นผลไม้หลักที่ส่งออกไปยังประเทศจีน​ โดยคนจีนมีการบริโภคเฉลี่ย​ 0.7 กิโล​กรัมต่อคน​ คนไทย​ 5 กิโล​กรัมต่อคน และคนมาเล​เซีย 11 กิโลกรัมต่อคน​ จึงต้องส่งเสริมปลูกทุเรียนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง​ เนื่องจากคู่แข่งสำคัญของไทยคือเวียดนาม​ จึงต้องพัฒนาทั้งระบบเพื่อแข่งขันกับเวียดนามให้ได้ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องมีมาตรการที่จะพัฒนาสายพันธุ์​ การแปรรูป รวมไปถึงใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในการดูแลรักษาทุเรียนให้ได้คุณภาพ

 

นอกจากนี้นายกฯ ยังได้สั่งการให้ตรวจเข้มเรื่องทุเรียนอ่อน ขอให้ทางกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ รักษาคุณภาพทุเรียนส่งออก ส่วนปัญหาน้ำเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งหลายพื้นที่ก็เจอปัญหาเดียวกัน ขอให้กระทรวงเกษตรฯ​ บริหารจัดการแหล่งน้ำให้เพียงพอในการรองรับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน

 

ส่วนปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้าไม่เพียงพอ ต้องหาที่เก็บให้เพียงพอ พร้อมสั่งให้กระทรวงการคลังบูรณาการในการทำศูนย์ One Stop Service บริเวณแนวชายแดนไม่ให้ผลไม้ไปค้างอยู่ พร้อมสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยว ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โปรโมตให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังจังหวัดจันทบุรี​ โดยเฉพาะในเดือนเมษายน-กรกฎาคม เป็นเดือนที่มีผลผลิตทุเรียนจำนวนมาก​ รวมถึงแก้ไขปัญหาจราจร สั่งกรมทางหลวงงดซ่อมแซมถนนสุขุมวิท เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทาง และสั่งเร่งจัดหาแรงงานเกษตรกรให้เพียงพอต่อภาคเกษตรกรรม​

 

จากนั้นนายกฯ ได้ชมการสาธิต​การตัดและเก็บทุเรียน ก่อนที่จะชิมทุเรียนนวลทองจันท์​ (พวงมณี​ผสมกับหมอนทอง​)​ พันธุ์ก้านยาว พร้อมกล่าวชมว่า อร่อย หวานมัน ส่วนตัวชอบทุเรียนพันธุ์ก้านยาว โดยเฉพาะเนื้อกรอบนอกนุ่มใน

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการลงพื้นที่ของนายกฯ และคณะ มี สส. พรรคก้าวไกล นำโดย ปรัชญาวรรณ ไชยสืบ สส. เขต​ 2 และ ญาณธิชา บัวเผื่อน​ สส. เขต​ 3​ เข้าร่วมด้วย

 

The post เศรษฐาลุยสวนทุเรียน​ สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาแหล่งน้ำ หยุดซ่อมถนนสุขุมวิท ​หวังส่งเสริมท่องเที่ยว​-ขนส่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักลงทุนจีนไม่ได้ซื้อแค่คอนโด-พูลวิลล่าในภูเก็ต แต่ยังทุ่มเงินซื้อ ‘สวนทุเรียน’ ราคา 3-5 ล้านบาทต่อไร่ เพื่อทำการท่องเที่ยวแบบครบวงจร https://thestandard.co/chinese-buy-durian-orchards/ Mon, 27 Mar 2023 11:13:27 +0000 https://thestandard.co/?p=769335 นักลงทุนจีนซื้อสวนทุเรียน

หนึ่งในกระแสที่มาแรงของแวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทยคือการที่ […]

The post นักลงทุนจีนไม่ได้ซื้อแค่คอนโด-พูลวิลล่าในภูเก็ต แต่ยังทุ่มเงินซื้อ ‘สวนทุเรียน’ ราคา 3-5 ล้านบาทต่อไร่ เพื่อทำการท่องเที่ยวแบบครบวงจร appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักลงทุนจีนซื้อสวนทุเรียน

หนึ่งในกระแสที่มาแรงของแวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทยคือการที่ ‘ชาวจีน’ กำลังเข้าซื้อคอนโดมิเนียมและพูลวิลล่า ที่มีเป้าหมายทั้งลงทุนและเกษียณ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือการทุ่มเงินซื้อ ‘สวนทุเรียน’ เพื่อทำการท่องเที่ยวแบบครบวงจร

 

ณัฏฐา คหาปนะ กรรมการผู้จัดการ ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า กระแสการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ตของชาวจีนครอบคลุมเกือบทุกประเภท ทั้งคอนโด วิลล่า ตึกแถว และล่าสุด ‘สวนทุเรียน’

 

“ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ชาวจีนจะเริ่มจากการมาเที่ยวก่อน จึงค่อยเริ่มมีนักลงทุนเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยซื้อตึกแถวเพื่อทำธุรกิจค้าขายให้กับนักท่องเที่ยวจีน ซื้อคอนโดและวิลล่าเพื่อปล่อยเช่าให้นักท่องเที่ยวจีน ตอนนี้เริ่มมองหาสวนทุเรียน เพื่อพานักท่องเที่ยวจีนไปเที่ยวและจับจ่ายซื้อทุเรียนชิม”

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

เทรนด์เข้าซื้อสวนทุเรียนดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นแต่เป็นมาก่อนโควิดแล้ว และกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งหลังจากที่จีนเปิดประเทศให้ผู้คนสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประเมินว่า ปีนี้นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาไทยจะอยู่ที่ราว 7-8 ล้านคน

 

ที่ผ่านมานักลงทุนชาวจีนมักจะซื้อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งการให้เช่ารถ เช่าเรือ ร้านอาหาร ส่วนสวนทุเรียนนั้นประเมินคร่าวๆ ว่าเข้าซื้อในราคา 3-5 ล้านบาทต่อไร่ โดยจะซื้อทำเลที่ไม่ห่างจากภูเก็ตมากนัก

 

“ราคาดังกล่าวถือว่าไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับการปลูกที่ต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปี โดยนักลงทุนจีนจะซื้อสวนที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ไม่ลงทุนตั้งแต่เริ่มปลูก”

 

ตามข้อมูลจากหอการค้าจีน ทุเรียนเป็นผลไม้นำเข้าอันดับ 1 ของจีน โดยมีมูลค่าถึง 4.03 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว มีปริมาณนำเข้ารวม 8.25 แสนตัน ขณะที่ประเทศไทยคิดเป็น 96% ของมูลค่าการนำเข้าทุเรียนของจีน และคิดเป็น 95% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมดในปีที่ผ่านมา

 

สิ่งที่ต้องจับตาคือจีนกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนในประเทศเป็นครั้งแรกในฤดูร้อนนี้ หลังจากเพาะปลูกมากว่า 4 ปี บนเกาะไหหลำ เขตร้อนทางตอนใต้ของจีน

 

แม้ช่วงแรกจะมีผลผลิตไม่มากนัก แต่คาดว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้าจะขยายพื้นที่ปลูก ซึ่งคาดว่าจะสร้างมูลค่าผลผลิตได้ 5 พันล้านหยวน หรือราว 2.5 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2028

The post นักลงทุนจีนไม่ได้ซื้อแค่คอนโด-พูลวิลล่าในภูเก็ต แต่ยังทุ่มเงินซื้อ ‘สวนทุเรียน’ ราคา 3-5 ล้านบาทต่อไร่ เพื่อทำการท่องเที่ยวแบบครบวงจร appeared first on THE STANDARD.

]]>
หลงเสน่ห์ ‘จันทบุรี’ จุดบรรจบของป่า ทะเล และของดีที่มากกว่าทุเรียน https://thestandard.co/travel-chanthaburi/ https://thestandard.co/travel-chanthaburi/#respond Sat, 16 Jun 2018 17:01:47 +0000 https://thestandard.co/?p=97218

จันทบุรีคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดีในฐานะราชินีแ […]

The post หลงเสน่ห์ ‘จันทบุรี’ จุดบรรจบของป่า ทะเล และของดีที่มากกว่าทุเรียน appeared first on THE STANDARD.

]]>

จันทบุรีคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดีในฐานะราชินีแห่งผลไม้เมืองร้อนประเภท Exotic Fruit ที่ครบทั้งมังคุด เงาะ ลองกอง สละ ระกำ มะไฟ และทุเรียน แน่นอนว่าความครบเครื่องเป็นเรื่องดี ทว่าก็ทำให้หลายต่อหลายคนคิดถึงจันทบุรีเฉพาะฤดูร้อนไปกระทั่งต้นฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้ทุกไร่ให้ผลผลิตเต็มร้อย พอหมดฤดูผลไม้ก็กลายเป็นฤดูแห่งความเหงาที่เข้ามาปกคลุมเมืองชายฝั่งอ่าวไทยแห่งนี้ ทั้งที่จริงแล้วจันทบุรีอัดแน่นทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์ งานดีไซน์ ไปจนถึงสำรับคาวหวานที่มีให้ชิมเฉพาะที่เมืองจันท์เท่านั้น

 

ตะลุยชิมสำรับหวานตำรับจันทบุรี

ด้วยความเป็นเมืองแห่งผลไม้ สำรับอาหารเมืองจันทบุรีจึงมีความแปลกกว่าเมืองตะวันออกทั่วไปตรงที่ไม่ได้มีแต่วัตถุดิบจากทะเลหรือเส้นจันทน์ผัดปูอันเป็นของขึ้นชื่อ ตรงกันข้าม จันทบุรีมีเสน่ห์ปลายจวักอยู่ที่การนำรสผลไม้มาปรุงอยู่ในจานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกระกำ ต้มยำน้ำใสใส่ความเปรี้ยวของกระวาน หรือทุเรียนดิบเชื่อม และที่หลายคนมองข้ามคือขนมหวานท้องถิ่นที่มีให้เลือกกินไม่อั้นตลอดเช้ายันเย็น

 

เส้นจันทน์ผัดปู เมนูลือชื่อที่ใครมาต้องกิน

 

ยามเช้าตรู่ ตลาด 100 ปีที่ตั้งอยู่หน้าแลนด์มาร์กโบสถ์วัดแม่พระปฏิสนธินิรมลคือพิกัดแรกที่ขอแนะนำให้ปักหมุด แม้จะเป็นตลาดขนาดเล็ก ทว่าพ่อค้าแม่ค้ารวมทั้งคนที่มาจับจ่ายต่างก็น่ารัก ช่วยกันแนะนำอาหารเช้าตำรับเมืองจันทบุรีที่ราคาแสนจะถูก แถมอร่อยสมคำโฆษณา ไม่ว่าจะเป็น ข้าวเกรียบอ่อน ใส่สารพัดไส้ โรยมะกรูดฝอย กลิ่นหอมในปาก, ขนมโบ๋ กินคู่พริกไทย กระเทียมเจียว และน้ำตาลอ้อย, ขนมเบื้องญวณเตาถ่าน ที่ให้เครื่องแบบไม่อั้น

 

ข้าวเกรียบอ่อนสารพัดไส้ กินเท่าไรก็ไม่พอ  

 

ขนมเบื้องญวณเตาถ่านสูตรพิเศษของเมืองจันท์  

 

และเมื่อมาถึงริมฝั่งแม่น้ำจันทบูรแล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะเดินข้ามแม่น้ำจันทบูรสู่ชุมชนริมน้ำด้านหลังโบสถ์ ซึ่งมี ขนมไข่สูตรโบราณ ไม่ใส่สารเคมีใดๆ เป็นไฮไลต์ ขนมไข่เจ้าเด็ดที่ว่าคือ ร้านป้าไต๊ ที่ตกทอดสูตรความหอมกรอบมาสู่รุ่น 2 ต่อคิวรอซื้อร้อนๆ ตอนออกจากเตา กินคู่กาแฟโบราณตอนเช้า ชนะเลิศมาก


ความจริงตลาดเช้าเป็นเพียงแค่เมนูเรียกน้ำย่อย ถ้าใครอยากลิ้มรสตำรับจันทบุรีแบบเต็มๆ ให้ตรงมายัง ‘ชุมชนขนมแปลก’ หรือ ‘ชุมชนบ้านหนองบัว’ ซึ่งเป็นตลาดในห้องไม้เก่าที่รวบรวมขนมโบราณและของอร่อยเฉพาะถิ่นจันทบุรีไว้อย่างครบถ้วน ด้วยความที่ย่านนี้เป็นโรงงานน้ำตาลย่านหีบอ้อยมาก่อน ความหวานหอมของขนมที่นี่จึงล้วนมาจากน้ำตาลอ้อย

 

ขนมไข่เจ้าเด็ดที่ต้องกินร้อนๆ หลังออกจากเตา

 

ไฮไลต์ที่ใครๆ ต่างก็ต้องถามถึงคือ ‘ควยลิง’ ซึ่งได้ชื่อมาจากความบังเอิญที่หน้าตาของขนมไปคลับคล้ายกับอวัยวะเพศของลิงตัวผู้อย่างพอเหมาะพอเจาะ นอกจากนี้ชุมชนขนมแปลกยังมี ขนมตังก๊วยแม่เจริญ ซึ่งเมื่อก่อนนี้หากินได้เฉพาะงานเทศกาลเท่านั้น ส่วนปัจจุบันแม้จะทำขายตลาดทั้งปี แต่ก็เหลือร้านนี้ร้านเดียวที่ทำ และน่าเสียดายที่ขนมตังก๊วยกำลังจะกลายเป็นเพียงขนมในตำนานที่ตกทอดมาสู่ทายาทรุ่นสุดท้าย

 

ขนมตังก๊วยที่กำลังกลายเป็นตำนานของเมืองจันท์  

 

ควยลิง ขนมหนึ่งเดียวในโลก  

 

ล่าสมบัติในเหมืองพลอยโบราณ

นอกจากเมนูเฉพาะถิ่นอันเลื่องชื่อแล้ว จันทบุรียังมีตลาดพลอยริมแม่น้ำจันทบูรที่คึกคักไม่แพ้ตลาดพลอยริมชายแดนแม่สอด และแม้ปัจจุบันพลอยส่วนใหญ่จะเดินทางมาจากทั่วโลก มีพลอยเมืองจันทบุรีเป็นส่วนน้อย และเป็นพลอยสตาร์เสียส่วนใหญ่ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ตลาดพลอยเมืองจันทบุรียังคึกคักคือเทคนิคด้านการเจียระไนและการเผาพลอยให้มีสีสดใส ซึ่งเป็นสูตรลับของแต่ละบ้าน แต่ละตระกูลก็จะมีความชำนาญในการเผาพลอยแต่ละสีที่แตกต่างกันไป บ้านหนึ่งอาจเผาพลอยสีเหลืองได้ดี อีกบ้านอาจเผาได้ดีแค่พลอยแดง โดยสูตรการเผาเหล่านี้จะถูกเก็บไว้เป็นความลับของแต่ละบ้านเท่านั้น

 

พลอยหลากสีมีวางขายเรียงราย

 

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าการค้าพลอยตื่นเต้นสนุกสนานขนาดไหน สามารถมาสำรวจได้ในตลาดค้าพลอยใจกลางชุมชนริมน้ำจันทบูรซึ่งเรียงรายไปด้วยโต๊ะเล็กๆ ของพ่อค้ารับซื้อพลอยตลอดสองข้างถนน


ในช่วงกลางวัน ถนนการค้าแห่งนี้จะแออัดไปด้วยเด็กเดินพลอยซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับพนักงานขายของบริษัท นำพลอยใส่ถุงเล็กๆ ตระเวนต่อรองราคากับพ่อค้าแม่ค้าโต๊ะต่างๆ ซึ่งเกินครึ่งมาจากตะวันออกกลางและจีน

 

บรรยากาศภายในตลาดพลอยที่คึกคักตลอดวัน

               

สำรวจแหล่งค้าพลอยแล้วก็ต้องไม่ลืมตามไปดูต้นกำเนิดการทำเหมืองพลอยแบบโบราณที่ ‘บ่อพลอยเหล็กเพชร’ ซึ่งยังใช้วิธีการขุดพลอย ร่อนพลอย และฉีดพลอยแบบโบราณโดยไม่ได้ใช้เครื่องจักรสมัยใหม่ ซึ่งทางบ่อพลอยเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เปลี่ยนชุดปีนลงไปในบ่อดินของจริง ลองซ้อมมือขุดดินและร่อนพลอยด้วยตัวเอง

 

ใครอยากร่อนพลอย มาลองได้ที่นี่  

 

 

ใครโชคดีร่อนเจอพลอยก็เก็บกลับบ้านเป็นที่ระลึกได้เลย หรือถ้ามาเที่ยวตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ใกล้บ่อพลอยยังมี ‘ตลาดทุบหม้อ’ ที่เที่ยวใหม่ที่นอกจากมีอาหารถิ่นอย่างข้าวคลุกพริกเกลือแล้ว ที่นี่ยังพาย้อนอดีตไปสู่ครั้งที่พระเจ้าตากสินได้ใช้เมืองจันทบุรีเป็นสถานที่รวบรวมผู้คนก่อนที่จะกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืน

           

เปิดสวนทุเรียนไร้สารเคมี

มาถึงจันทบุรีแล้วจะไม่แวะเข้าสวนทุเรียนก็ดูจะผิดกติกาไปสักนิด แต่แทนที่จะจ่ายเงินราว 500 บาท (ขึ้นอยู่กับราคาตลาดในแต่ละปี) เข้าไปกินทุเรียนในสวนให้ร้อนในกันอย่างไม่อั้น เราขอปรับโปรแกรมไปนั่งรถซาเล้งชมสวนทุเรียนแบบอินทรีย์ที่ ‘ปัถวีโมเดล’

 

ใครอยากนั่งซาเล้ง จ่ายเพิ่มคนละ 50 บาท

 

รับทุเรียนออร์แกนิกสักพูไหม

 

ความเจ๋งของปัถวีโมเดลคือจุดเริ่มต้นที่ลุกขึ้นมาทำสวนทุเรียนแบบอินทรีย์ก็ด้วยเหตุเพราะสุขภาพของคนในครอบครัวเป็นหลักชนิดที่ไม่สนว่าจะกำไรหรือขาดทุน จากนั้นจึงค่อยๆ ขยายไปสู่ระดับชุมชนที่ไม่มีคำว่าง่าย เพราะการทำอินทรีย์หมายถึงการอิงกับธรรมชาติ ใช้ตัวชันโรงที่เลี้ยงไว้ใต้ต้นเป็นตัวผสมเกสรแทนการฉีดฮอร์โมน อีกทั้งยังต้องลดปริมาณผลผลิตเพื่อให้ต้นทุเรียนไม่โทรม สามารถเก็บผลได้ในปีต่อๆ ไป และแม้ลูกทุเรียนที่ได้อาจจะไม่สวยผลใหญ่อย่างทุเรียนที่ให้ปุ๋ยเคมีเต็มที่ ทว่าอุ่นใจได้ว่ากินผลไม้ปลอดสารพิษร้อยเปอร์เซ็นต์ สำหรับนักท่องเที่ยวที่มายังสวนอินทรีย์ของชุมชนปัถวีโมเดลสามารถเพิ่มโปรแกรมนั่งรถซาเล้ง (คนละ 50 บาท) ชมสวนอินทรีย์และเด็ดผลไม้ไร้สารพิษชิมกันได้ใต้ต้น ซึ่งมีครบทั้งเงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน เป็นอันครบเครื่องเรื่องเที่ยวเมืองจันทบุรีที่มากี่ทีก็ต้องหลงรัก

The post หลงเสน่ห์ ‘จันทบุรี’ จุดบรรจบของป่า ทะเล และของดีที่มากกว่าทุเรียน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/travel-chanthaburi/feed/ 0