สยมภู มุกดีพร้อม – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 27 May 2019 09:49:02 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ร่วมยินดี วรพจน์ พันธุ์พงศ์, สยมภู มุกดีพร้อม และศิลปินอีก 5 ชีวิต 5 สาขา ‘ศิลปินศิลปาธร’ ประจำปี 2562 https://thestandard.co/silapatorn-2562/ Mon, 27 May 2019 09:48:57 +0000 https://thestandard.co/?p=254154

ช่วงเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสม […]

The post ร่วมยินดี วรพจน์ พันธุ์พงศ์, สยมภู มุกดีพร้อม และศิลปินอีก 5 ชีวิต 5 สาขา ‘ศิลปินศิลปาธร’ ประจำปี 2562 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ช่วงเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ได้ประกาศรายชื่อ 7 ศิลปิน จาก 7 สาขาที่ได้รับการส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัล ‘ศิลปาธร’ ประจำปี 2562 ที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 11 ปี

 

โดยในสาขาวรรณศิลป์ ตกเป็นของ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียนและนักสัมภาษณ์เจ้าของผลงาน เราต่างมีแสงสว่างในตัวเอง, เศษทรายในกระเป๋า, Open Diary, วัยหนุ่ม และล่าสุดคือผลงานหนังสือที่นำพามาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่าง Portrait ธนาธร ที่รวบรวมบทสัมภาษณ์ เจาะลึกวิธีคิดและชีวิตของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

 

และในสาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว ผู้ที่ได้รับรางวัลคือ สยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพคู่ใจของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่มีโอกาสไปร่วมงานในระดับฮอลลีวูดจากเรื่อง Call Me by Your Name ส่วนอีก 5 สาขา ประกอบด้วย

 

  • สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นที อุตฤทธิ์ จิตรกรชาวไทยที่ได้แสดงผลงานในแกลเลอรีระดับโลก
  • สาขาสถาปัตยกรรม ได้แก่ ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา ผู้ออกแบบ The Wine Ayutthaya
  • สาขาดนตรี ได้แก่ อานันท์ นาคคง ผู้ก่อตั้งวงกอไผ่ และอาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ ผู้กำกับละครเวที ที่ปรึกษาด้านบทละครและภาพยนตร์ และผู้เขียนบทละครโทรทัศน์เรื่อง เจ้ากรรมนายเวร, ปลายเทียน, สายโลหิต ฯลฯ
  • สาขาศิลปะการออกแบบ ได้แก่ รศ.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (MQDC)

 

รางวัลศิลปาธร คือรางวัลที่มอบให้แก่ศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทย ผู้มีผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เริ่มมอบรางวัลครั้งแรกเมื่อปี 2547 ในครั้งแรกมีการมอบรางวัลให้กับศิลปิน 5 สาขา โดยมี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ชาติ กอบจิตติ, ดนู ฮันตระกูล, เป็นเอก รัตนเรือง และประดิษฐ ประสาททอง เป็นผู้ได้รับรางวัล

 

เพิ่มรางวัลสาขาออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ในปี 2552 ก่อนจะปรับเปลี่ยนจำนวนรางวัลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของศิลปินที่โดดเด่นในช่วงปีนั้น โดยในปี 2553 ได้มีรางวัลสาขาสถาปัตยกรรม, มัณฑนศิลป์ และเรขศิลป์ เพิ่มขึ้นมาเป็น 9 รางวัล

 

ตลอดระยะเวลา 11 ปี มีศิลปินที่โดดเด่นในสาขาต่างๆ เช่น อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, พิเชษฐ์ กลั่นชื่น, อุทิศ เหมะมูล, คามิน เลิศชัยประเสริฐ, นรอรรถ จันทร์กล่ำ ฯลฯ ได้รับรางวัลศิลปาธรไปแล้วทั้งหมด 74 คน

 

ภาพ: พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล และวงศกร ยี่ดวง

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

The post ร่วมยินดี วรพจน์ พันธุ์พงศ์, สยมภู มุกดีพร้อม และศิลปินอีก 5 ชีวิต 5 สาขา ‘ศิลปินศิลปาธร’ ประจำปี 2562 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สอง สยมภู ผู้กำกับภาพที่มองภาพยนตร์เป็นการสะท้อนชีวิตมนุษย์ https://thestandard.co/sayombhu-mukdeeprom-2/ https://thestandard.co/sayombhu-mukdeeprom-2/#respond Wed, 21 Nov 2018 11:59:14 +0000 https://thestandard.co/?p=151285

สอง-สยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพระดับฮอลลีวูดที่เลือกทำ […]

The post สอง สยมภู ผู้กำกับภาพที่มองภาพยนตร์เป็นการสะท้อนชีวิตมนุษย์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

สอง-สยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพระดับฮอลลีวูดที่เลือกทำภาพยนตร์จากความสนใจของตัวเองเป็นหลัก จนทำให้ผลงานของเขาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอย่าง Call Me By Your Name และ Suspiria

The post สอง สยมภู ผู้กำกับภาพที่มองภาพยนตร์เป็นการสะท้อนชีวิตมนุษย์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/sayombhu-mukdeeprom-2/feed/ 0
2017 ปีแห่งการต่อสู้ที่ดุเดือดและเจ็บปวดของวงการภาพยนตร์ https://thestandard.co/film2017/ https://thestandard.co/film2017/#respond Tue, 26 Dec 2017 08:52:19 +0000 https://thestandard.co/?p=58212

ในช่วงครึ่งปีแรกอาจจะดูเป็นช่วงที่เงียบไปสักหน่อยถ้าพูด […]

The post 2017 ปีแห่งการต่อสู้ที่ดุเดือดและเจ็บปวดของวงการภาพยนตร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในช่วงครึ่งปีแรกอาจจะดูเป็นช่วงที่เงียบไปสักหน่อยถ้าพูดถึงภาพรวมของวงการภาพยนตร์ ราวกับว่าทั้งข่าว ปรากฏการณ์ และภาพยนตร์หลายอย่างรอไปปรากฏขึ้นพร้อมกันในช่วงครึ่งปีหลังแทบทั้งหมด

 

เริ่มตั้งแต่การประกาศสงครามคอนเทนต์ของ Netflix กับระบบฉายในโรงภาพยนตร์ การล่วงละเมิดทางเพศของโปรดิวเซอร์รุ่นใหญ่อย่างฮาร์วีย์ ไวสน์สตีน ที่ทำให้ประเด็นที่ถูกซ่อนเอาไว้ในเงามืดของวงการฮอลลีวูดถูกเปิดเผยขึ้นมา การที่ดิสนีย์ซื้อกิจการของ 21st Century Fox เพื่อขยายอาณาจักรของตัวเองให้กว้างไกลไม่มีสิ้นสุด รวมถึงเสียงวิจารณ์จากหนังฟอร์มยักษ์ที่ทยอยแตกออกเป็น 2 เสียงกันอย่างพร้อมเพรียงในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน

 

ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของวงการภาพยนตร์ในปีนี้เลยไม่ได้ถูกโฟกัสไปที่ตัวหนังหรือการทำลายสถิติ Box Office ที่น่าตื่นเต้น แต่เป็นการกำหนดทิศทางหลายๆ อย่างด้านคอนเทนต์ พฤติกรรมของคนทั้งในและนอกวงการในอนาคตต่อไป

 

สมรภูมิเดือด! Netflix ท้ารบ ผลิตออริจินัลคอนเทนต์สู้โรงภาพยนตร์

 

 

จุดเริ่มต้นมาจากการที่ Netflix ตัดสินใจอัพเลเวลตัวเองจากผู้ให้บริการทีวีสตรีมมิง นำเข้าหนังซีรีส์มาให้คนดูอย่างเดียว กลายเป็นเริ่มสร้างออริจินัลคอนเทนต์ของตัวเองขึ้นมา

 

จากเดิมที่เคยผลิตซีรีส์ของตัวเองออกมาบ้าง แต่คราวนี้ Netflix เล่นใหญ่ ตัดสินใจทำ ‘หนัง’ เริ่มจากโปรเจกต์ Okja ที่ทุ่มงบ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้ผู้กำกับชาวเกาหลีอย่าง บงจุนโฮ ออกมาชิมลาง และความเดือดก็เริ่มขึ้นตั้งแต่หนังยังไม่ทันปล่อยให้ผู้ชมทั่วไปดูด้วยซ้ำ เพราะทันทีที่ Okja (รวมทั้ง The Meyerowitz Stories ของผู้กำกับ โนอาห์ บอมบาช) เดินทางไปถึงเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ก็เปิดประเด็นถกเถียงใหญ่โตแบ่งเป็น 2 ฝั่งขึ้นมาทันที

 

ฝั่งแรกนำโดยผู้กำกับรุ่นใหญ่อย่าง เปโดร อัลโมโดวาร์ ที่ออกมาตั้งคำถามถึงเกณฑ์ความเหมาะสมสำหรับหนังที่จะเข้าชิงรางวัลได้จะต้องเป็นหนังที่ผ่านการฉายในระบบโรงภาพยนตร์ปกติเท่านั้น เพราะการดูหนังในโรงภาพยนตร์คือรูปแบบที่จะทำให้ศาสตร์และศิลป์ของหนังแต่ละเรื่องทำหน้าที่ของตัวเองได้ที่สุด

 

 

ในขณะที่อีกฝั่ง นำโดยนักแสดงชื่อดังอย่าง วิลล์ สมิธ ออกมาสนับสนุน Netflix โดยให้เหตุผลว่า Netflix ไม่ได้เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมการดูหนัง ทั้ง 2 แพลตฟอร์มคือช่องทางเข้าถึงศิลปะของหนังที่แตกต่างกันออกไป และสุดท้ายหนังที่ดีก็คือหนังที่ดี ไม่ว่าจะถูกฉายบนแพลตฟอร์มไหนก็ตาม

 

 

บทสรุปจากเทศกาลยังถกเถียงกันไม่จบ ทางฝั่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์จอใหญ่ ก็เริ่มแก้เกมด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายทำให้ดีที่สุด โดยภาพที่เห็นชัดในปีนี้คือ โปรเจกต์ Dunkirk ของคริสโตเฟอร์ โนแลน ที่ถ่ายทำด้วยระบบฟิล์ม 65 มม. (ถ่ายด้วยฟิล์ม 65 มม. แต่นำมาฉายในระบบฟิล์ม 70 มม.) และฉายในโรง IMAX 2D (หลังจากที่ระบบ 3D 4D ยังไม่ค่อยเวิร์กเท่าไร) ที่จะได้เห็นภาพการรบบนท้องฟ้าในมุมกว้างชนิดที่ถ้าดูจากหน้าจอโทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือไม่มีทางมอบให้ได้ รวมทั้งการออกมายืนยันของโนแลนที่บอกว่าจะยังคงทำหนังฉายโรงภาพยนตร์ต่อไป ยังไม่มีความคิดที่จะทำหนังเพื่อฉายในระบบสตรีมมิงในเวลานี้อย่างแน่นอน

 

ในขณะที่ค่ายหนังต่างๆ ก็ไม่อยู่เฉย โดยเฉพาะดิสนีย์ ตัดสินใจถอนหนังออกจาก Netflix เพื่อเตรียมตัวนำไปฉายในระบบสตรีมมิงของตัวเองในอนาคต ตรงนี้อาจเป็นข้อย้อนแย้งเล็กน้อย แต่ก็ทำให้เห็นว่ากระทั่งสตูดิโอใหญ่อย่างดิสนีย์เองก็เห็นความสำคัญของระบบสตรีมมิงอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

 

ส่วน Netflix ที่มาทีหลังแต่ไม่ยี่หระกับศึกที่เข้ามารอบด้าน ยังมีโปรเจกต์สร้างออริจินัลคอนเทนต์ของตัวเองต่อไป ล่าสุดก็เพิ่งปล่อยเรื่อง Bright ที่ลงทุนสร้างไปกว่า 90 ล้านเหรียญสหรัฐออกมา และยังสามารถดึงผู้กำกับอย่างมาร์ติน สกอร์เซซี ทำหนังใหญ่และยืนยันมาตลอดว่า ‘ความใหญ่’ ของหนังจำเป็นต้องอยู่ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น ให้มากำกับโปรเจกต์ The Irishman ที่ทุ่มทุนสร้างไปอีก 100 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับโปรเจกต์หนังที่ต่อคิวรอสร้างในปีหน้าอยู่อีก 80 เรื่อง

 

ยิ่งการต่อสู้ของทั้ง 2 ฝั่งรุนแรงยิ่งขึ้นเท่าไร คอนเทนต์ยิ่งหลากหลาย และไม่ว่าใครจะชนะหรือแพ้ และทิศทางต่อไปจะเป็นอย่างไร ก็ยิ่งเป็นผลดีกับคนดูอย่างพวกเรามากขึ้นเท่านั้น

 

Disney ขยายอาณาจักร ซื้อ 21st Century Fox

อภิมหากาพย์การซื้อขายแห่งโลกภาพยนตร์ เมื่อดิสนีย์ทุ่มเงินจำนวน 52,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท) ซื้อ 21st Century Fox มาอยู่ใต้อาณาจักรของตัวเอง

 

ผลทางธุรกิจที่เกิดขึ้นคือ ดิสนีย์จะเป็นผู้ครอบครองช่องโทรทัศน์คุณภาพอย่าง National Geographic, FX และสตูดิโอทั้งหมดของ 21st Century Fox รวมทั้งหุ้นอีก 39% ใน Sky เคเบิลยักษ์ใหญ่ในอังกฤษ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการขยายอาณาจักรของตัวเองต่อไป ในขณะ 21st Century Fox จะเหลือธุรกิจในครอบครองเพียงแค่ Fox Sports, Fox Business, Fox News และเครือข่ายโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

 

 

แต่ผลที่น่าตื่นเต้นสำหรับคอหนั่งทั่วโลกคือ ทิศทางต่อไปของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่เคยเป็นผลผลิตของ 21st Century Fox อย่าง Fantastic Four, Avatar, The Simpsons, X-Men และ Deadpool ฯลฯ ที่จะต้องย้ายบ้านมาอยู่ร่วมกับทีมซูเปอร์ฮีโร่จากมาร์เวล นั่นเท่ากับว่าเปิดโอกาสให้แฟนๆ ที่หวังจะได้เห็นเหล่ามิวแทนต์จาก X-Men มา ปฏิบัติภารกิจร่วมกับเหล่า The Avengers นั้นใกล้เป็นจริงเข้ามาทุกที

 

รวมทั้งจุดแข็งด้านสวนสนุกที่ดิสนีย์ครอบครองอยู่นั้น ในอนาคตเราน่าจะได้เห็นโลกของ X-Men, Avatar, ครอบครัวซิมป์สัน และอีกหลายๆ ตัวละคร มาโลดแล่นในรูปแบบสวนสนุกธีมพาร์กเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน

 

#MeToo ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน กับการล่วงละเมิดทางเพศครั้งใหญ่ในวงการฮอลลีวูด

 

Photo: Wenner Media

 

อีกหนึ่งข่าวใหญ่สะเทือนวงการฮอลลีวูดแห่งปี เมื่อ The New York Times นำเสนอข่าวตีแผ่เรื่องราวสุดฉาวที่ถูกซุกอยู่ใต้พรมนานถึง 30 ปี ว่าโปรดิวเซอร์รุ่นใหญ่แห่งวงการอย่าง ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน ได้แอบล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Harassment) หญิงสาวทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังหลายสิบคนมาตลอด โดยที่มีน้อยคนที่จะได้ล่วงรู้ความจริง

 

Photo: static.com, www.usmagazine.com

 

2 ในหญิงสาวผู้โชคร้ายคือซูเปอร์สตาร์แห่งวงการอย่าง แอนเจลินา โจลี และกวินเน็ธ พัลโทรว์ ที่เปิดเผยว่าถูกฮาร์วีย์ล่วงละเมิดทางเพศด้วยการจับเนื้อต้องตัวตั้งแต่พวกเธอเริ่มเข้าวงการใหม่ๆ และตัดสินใจที่จะไม่ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์คนนี้อีก แต่เพราะเหตุผลหลายอย่างที่อาจกระทบกับเส้นทางในวงการ ทำให้พวกเธอไม่สามารถนำเรื่องนี้ออกมาตีแผ่ได้ในเวลานั้น

 

 

นอกจากนี้ยังมีรายชื่อนักแสดงและทีมงานหญิงอีกยาวเป็นหางว่าว เช่น คารา เดเลวีน, เอมิลี เนสเตอร์, ลอรา แมดเดน, โรส แม็กโกแวน, เอ็มมา เดอ คอนส์, อาเซีย อาร์เจนโต และลูเซีย อีแวนส์ ที่ตกเป็นเหยื่อและอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นเดียวกัน

 

ผลจากการตีแผ่เรื่องนี้คือ ไม่กี่วันหลังจากนั้น กรรมการบริษัท The Weinstein Company (บริษัทที่ฮาร์วีย์เป็นคนตั้งขึ้นมา) ได้สั่งปลดฮาร์วีย์ออกจากบริษัท ถูกภรรยา จอร์จินา แชปแมน บอกเลิก และมีมติจาก The Academy of Motion Picture Arts and Sciences ให้ปลดเขาพ้นจากการเป็นสมาชิกสถาบันออสการ์ ในขณะที่ทุกอย่างเริ่มชัดเจน แต่ฮาร์วีย์ก็ยังยืนยันที่จะปฏิเสธทุกข้อหาต่อไป

 

นอกจากนี้ นักแสดงรุ่นใหญ่อย่างเควิน สเปซีย์ ก็กลายเป็นข่าวฉาวของวงการขึ้นมาอีก เมื่อถูกนักแสดงรุ่นน้องอย่าง แอนโธนี แรปป์ ออกมาเปิดเผยว่าเคยถูกเขาพยายามล่วงละเมิดทางเพศในขณะที่ตอนนั้นแอนโธนีมีอายุแค่ 14 ปีเท่านั้น ส่งผลให้ Netflix ตัดสินใจปลดเควิน สเปซีย์ออกจากการเป็นนักแสดงนำในซีรีส์ House of Cards ที่กำลังได้รับความนิยม รวมทั้งโปรเจกต์ใหม่ที่มีชื่อเควินเป็นผู้อำนวยการสร้างทันที

 

Photo: www.bento.de

 

ในขณะที่ปัญหาดูน่าเป็นห่วง แต่ดูเหมือนว่าความคืบหน้าในเรื่องบทลงโทษของฮาร์วีย์ยังไปไม่ถึงไหน ได้ก่อให้เกิดจุดเริ่มต้นแคมเปญ #MeToo ที่เริ่มต้นจากอลิสสา มิลาโน นักแสดงสาวชาวอเมริกัน ที่ออกมาทวีตเชิญชวนให้ทุกคนที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศออกมาแสดงตัวผ่านแฮชแท็ก #MeToo เพื่อบอกให้ทุกคนเข้าใจว่าการล่วงละเมิดทางเพศเป็นปัญหาที่ใหญ่แค่ไหน

 

ผลลัพธ์ที่ได้คือมีคนเข้ามาตอบสนอง แชร์ ทวีต เล่าเรื่องราว เกี่ยวกับแฮชแท็ก #MeToo มากกว่า 12 ล้านครั้งทั่วโลก แต่สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาดังกล่าวก็ดูเหมือนจะค่อยๆ เงียบเสียงลง และยังไม่มีทีท่าว่าจะได้รับการแก้ไขไปในทางที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

 

ปีแห่งความเจ็บและเสียงวิจารณ์ที่หลากหลายของหนังฮอลลีวูด

 

 

ปีที่เสียงวิจารณ์ของบรรดาหนังภาคต่อถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายมากที่สุด

ตั้งแต่ Star Wars: The Last Jedi, Blade Runner 2049, The Fate of the Furious, Thor: Ragnarok, Transformer: The Last Knight, Pirates of the Caribbean: Dead Men Tell No Tales, War for the Planet of the Apes, Alien: Covenant ฯลฯ ที่เราจะเห็นความพยายามของทั้งสตูดิโอและผู้กำกับหลายคนพยายามที่จะรวมเอาทั้งความคลาสสิกของเวอร์ชันที่ผ่านมา ผสมผสานเข้ากับรูปแบบและการตีความใหม่ๆ เพื่อหาทางต่อยอดให้กับภาคต่อๆ ไปสามารถเดินทางต่อไปได้ไกลที่สุด

 

แต่ด้วยทิศทางที่ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งแบรนด์ Loyalty ของบรรดาแฟนคลับเดนตายของเรื่องนั้นๆ ทำให้ทันทีที่หนังออกมา เสียงวิจารณ์จะแตกออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่ชอบแบบสุด กับอีกฝ่ายที่อาจจะถึงขั้นเกลียดหนังเรื่องนั้นไปเลย โดยเฉพาะ Star Wars: The Last Jedi ของผู้กำกับไรอัน จอห์นสัน ที่บรรดานักวิจารณ์ที่ได้ดูหนังก่อนออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่ล่ะ คือมหาสงครามแห่งดวงดาวภาคที่ดีที่สุดในรอบ 40 ปี แต่พอหนังเข้าโรงฉายตามโปรแกรมปกติ กลับโดนถล่มจากบรรดาแฟนพันธุ์แท้ รุมถล่มยับจนแทบไม่เหลือชิ้นดีว่านี่หรือคือมหาสงครามที่พวกเขารอคอย

 

จะมีก็แค่ Guardian of the Galaxy Vol. 2 ของเจมส์ กันน์ ที่ชัดเจนในแนวทางว่าจะดำเนินเรื่องไปทางซูเปอร์ฮีโร่สายกวน (และเกรียน) กับ Despicable Me 3 ที่ชัดเจนในการขายความน่ารักและตลกของเหล่ามินเนียนสีเหลือง และ Logan ที่ทำให้วูล์ฟเวอรีนดูเป็น ‘มนุษย์’ ที่เจ็บปวดและเท่ที่สุดเท่านั้น ที่พอจะเห็นว่าคำวิจารณ์ของผู้ชมส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดีคล้ายๆ กัน

 

ทำให้เรื่องนี้ยังเป็นเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ที่ผู้กำกับและสตูดิโอจะต้องหาคำตอบร่วมกันเพื่อหาจุดตรงกลางระหว่างกลุ่มผู้ชมใหม่ๆ และเหล่าแฟนบอยที่สนับสนุนหนังมาตั้งแต่ต้นให้ได้

 

 

ปีทองของหนังทริลเลอร์เชิงจิตวิทยา

หลังจากที่เป็น Genre ที่เงียบไปในปีหลังๆ อยู่ๆ ปีนี้ก็มีหนังทริลเลอร์คุณภาพเยี่ยมตบเท้าเข้ามาให้ชมกันอย่างพร้อมเพรียง ตั้งแต่ Annabelle: Creation, It, Wind River, The Killing of a Sacred Deer, Mother! ฯลฯ ที่กระแสตอบรับส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดีและทำรายได้ไปอย่างถล่มทลาย

 

โดยที่สุดของปีนี้เรายกให้ 2 เรื่องคือ Split ที่เป็นการคัมแบ็กหลังจากหลุดไปหลายปีของ เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน ที่หยิบเรื่องของคน 23 บุคลิกมานำเสนอ จนทำรายได้ไป 278 ล้านเหรียญสหรัฐ จากทุนสร้างเพียง 9 ล้านเหรียญสหรัฐ และ Get Out ของจอร์แดน พีล ที่เอาเหตุการณ์ลึกลับที่เกิดขึ้นกับคนผิวสีมาเล่นอย่างเข้มข้นและบีบคั้น จนหนังทำรายได้ไปถึง 254 ล้านเหรียญสหรัฐ จากทุนสร้างเพียงแค่ 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

 

จะมีก็แค่เรื่อง Jigsaw ที่เอาฆาตรกรโรคจิตเจ้าแห่งการเล่นเกมกลับมาเท่านั้น ที่เราเฝ้ารอการกลับมาของฆาตรกรคนนี้มาก แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นหนึ่งในภาคที่เละเทะที่สุด และโดน ‘มะเขือเน่า’ จากบรรดานักวิจารณ์ใน Rotten Tomatoes ปาเข้าใส่ไปถึง 35%

 

รวมพลหนังเจ็บ 2017

เช่นเดียวกับทุกๆ ปีที่จะต้องมีหนังฟอร์มใหญ่ที่ได้รับความคาดหวังมหาศาล แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จทางรายได้เท่าที่ควร

 

  • Valerian and the City of a Thousand Planets โปรเจกต์ในฝันของผู้กำกับรุ่นใหญ่อย่างลุค เบซง ที่ลงทุนสร้างไป 200 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับทำรายได้กลับมาเพียงแค่ 220 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับรับมะเขือเน่าไปมากถึง 49%

 

  • Justice League การรวมตัวของเหล่าฮีโร่จากค่าย DC ที่แบกความกดดันไว้เต็มหลัง หลังจากที่ทีม Avengers จากค่ายมาร์เวล ทำออกมากี่ภาคก็ประสบความสำเร็จทั้งหมด ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้อาจจะไม่ได้เจ็บตัวในแง่ของรายได้เท่าไรนัก เพราะยังสามารถทำรายได้ทั่วโลกไปมากถึง 636 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในแง่คำวิจารณ์นั้นเรียกได้ว่าเจ็บจนจุก ไปกับคะแนนมะเขือเน่า 41% ถึงขนาดที่ผู้บริหารค่าย DC ต้องยกทีมโปรดักชันครั้งใหญ่ เพื่อพัฒนาภาคต่อไปอย่างเร่งด่วน

 

  • Power Rangers อีกหนึ่งหนังเจ็บที่แฟนบอยขบวนการ 5 สี ที่ทั้งโลกตื่นเต้นตั้งแต่วันแรกที่เห็นภาพโปสเตอร์ (บางส่วนก็ตื่นเต้นเพราะด่าคอสตูมกันไม่มีชิ้นดี) แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นอย่างหวัง หนังทำรายได้ไปแค่ 142 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ใช้ทุนสร้างไป 100 ล้านเหรียญสหรัฐ จนโครงการที่จะทำภาคต่อไปที่วางเอาไว้ต้องถูกเบรกเอาไว้ก่อนชั่วคราวทันที

 

ปรากฏการณ์หนังไทยที่ทรงๆ แต่น่าสนใจ

 

 

การเดินทางครั้งใหญ่ของฉลาดเกมส์โกง (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ)

ต้องยกให้เป็นที่สุดของปรากฏการณ์หนังไทยในปีนี้แบบไร้ข้อสงสัย เพราะหลังจากทำรายได้ในประเทศไทยไป 112 ล้านบาท หนังก็ออกเดินทางไปกวาดรายได้จากต่างประเทศรวมทั้งเทศกาลหนังต่างๆ แบบถล่มทลาย

 

โดยสถิติทำรายได้รวมสูงสุดที่ประเทศไต้หวันไปมากถึง 120 ล้านบาท และทำสถิติเปิดตัวสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง Box Office ในฮ่องกง โดยทำรายได้ 6 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 25 ล้านบาท) ในการฉาย 3 วันแรกเท่านั้น และล่าสุดก็เพิ่งคว้ารางวัลภาพยนตร์ระทึกขวัญยอดเยี่ยม (Best Thriller Feature) จากเทศกาลหนัง Fantastic Fest 2017

 

Photo: sohucs.com

 

โดยเฉพาะในประเทศจีนที่บอกว่าประสบความสำเร็จที่สุด เพราะเพียงแค่วันแรกที่เข้าฉายก็กวาดรายได้ไปได้มากถึง 150 ล้านบาท และทำได้รวมที่ประเทศเดียวไปได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท แถมยังเกิดกระแสฟีเวอร์นักแสดงนำอย่าง นน-ชานน สันตินธรกุล ที่กลายเป็นสามีแห่งชาติคนใหม่ของประเทศจีน และ ออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง ที่ถึงขนาดมีแฟนหนังชาวจีนปั้นรูปปั้นเทพเจ้าครูพี่ลิน เพื่อบูชาและขอพรในช่วงก่อนสอบกันเลยทีเดียว

 

เพื่อน..ที่ระลึก ฟอร์มดีแต่ไปไม่ถึงฝัน

ถือว่าพลิกความคาดหมายพอสมควร เมื่อหนังเรื่อง เพื่อน..ที่ระลึก จากค่าย GDH ของผู้กำกับ ลัดดาแลนด์ อย่าง จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ที่ถูกคาดหวังว่าจะเป็นหนังร้อยล้านตามสไตล์ของ GDH แต่กลับทำรายได้ทั่วประเทศไปได้เพียง 34.70 ล้านบาทเท่านั้น

 

 

การฟื้นคืนชีพของ ‘แมลงรักในสวนหลังบ้าน’

หลังจาก Insects in the Backyard ของผู้กำกับกอล์ฟ-ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ถูกแบนด้วยเหตุผล ‘ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน’ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551

 

ในที่สุดหลังการต่อสู้นานถึง 7 ปี กอล์ฟได้ฤกษ์กลับมาฉายอีกครั้งในวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่โรงภาพยนตร์ House RCA เพียงที่เดียว แต่น่าเสียดายที่แมลงรักตัวนี้มีโอกาสโบยบินได้เพียง 2 อาทิตย์เท่านั้น ก็ต้องจากโรงภาพยนตร์ไปอย่างรวดเร็วและน่าเสียดาย

 

 

ผู้กำกับภาพชาวไทยที่อยู่ใกล้รางวัลออสการ์มากที่สุด

สยมภู มุกดีพร้อม คือผู้กำกับภาพชาวไทยจากเรื่อง Call Me By Your Name หนังนอกกระแสที่หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ทำให้สื่อและนักวิจารณ์ระดับโลกมองว่าสยมภูจะกลายเป็นหนึ่งในตัวเต็งที่จะเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขากำกับภาพยอดเยี่ยมในปี 2017

 

อ้างอิง:

The post 2017 ปีแห่งการต่อสู้ที่ดุเดือดและเจ็บปวดของวงการภาพยนตร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/film2017/feed/ 0
สยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพชาวไทยที่อยู่ใกล้รางวัลออสการ์มากที่สุดในเวลานี้ https://thestandard.co/sayombhu-mukdeeprom/ https://thestandard.co/sayombhu-mukdeeprom/#respond Fri, 22 Dec 2017 11:58:20 +0000 https://thestandard.co/?p=57439

สยมภู มุกดีพร้อม คือผู้กำกับภาพคู่ใจที่มีส่วนช่วยให้ชื่ […]

The post สยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพชาวไทยที่อยู่ใกล้รางวัลออสการ์มากที่สุดในเวลานี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

สยมภู มุกดีพร้อม คือผู้กำกับภาพคู่ใจที่มีส่วนช่วยให้ชื่อของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล พาหนังเรื่อง สุดเสน่หา (2002) และ ลุงบุญมีระลึกชาติ (2010) เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ

 

หลังจากนั้นตัวสยมภูเองก็ได้รับโอกาสในการเป็นผู้กำกับภาพจากผู้กำกับต่างชาติหลายคน จนชื่อของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะกับผลงานล่าสุด Call Me by Your Name ของผู้กำกับชาวอิตาลีอย่าง ลูคา กัวดายีโน (Luca Guadagnino) ที่กระแสตอบรับดีถึงขนาดได้รับการ Standing Ovation (การที่ผู้ชมทั้งโรงภาพยนตร์ลุกขึ้นปรบมือเมื่อดูภาพยนตร์จบ) ยาวนานที่สุดจากเทศกาลภาพยนตร์ที่นิวยอร์ก จนสื่อและนักวิจารณ์ระดับโลกมองว่าเขาจะเป็นหนึ่งในตัวเต็งที่จะเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขากำกับภาพยอดเยี่ยมในปี 2017 (ประกาศผลผู้เช้าชิงในวันที่ 23 มกราคม 2018)

 

วันนี้ THE STANDARD มีโอกาสนั่งคุยกับเขา เกี่ยวกับเบื้องหลังการทำงาน และมุมมองที่เขามีต่อวงการภาพยนตร์ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ดวงตาหรี่เล็ก ในฐานะคนไทยที่อยู่ใกล้รางวัลออสการ์มากที่สุดในเวลานี้

 

 

ตามปกติคุณต้องมีเกณฑ์อะไรเป็นพิเศษหรือเปล่าในการรับเป็นผู้กำกับภาพแต่ละเรื่อง เพราะถ้าดูจากผลงานที่ผ่านมาจะเห็นว่าหนังของคุณมีหลายรูปแบบมาก

เกณฑ์แรกคือเรื่องมีเงินหรือไม่มีเงินก่อนเป็นอันดับแรก (หัวเราะ) มันคือเรื่องปกติในการทำงาน อย่างถ้าในบ้านเราอย่างน้อยทำหนังปีละ 2 เรื่องต่อปี เพราะฉะนั้น 2 เรื่องอย่างน้อยต้องทำให้เราอยู่ได้ใน 1 ปี มันคือเกณฑ์แรกแต่ไม่ใช่เกณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดนะ เพราะนอกจากนั้นมันยังมีเรื่องทัศนคติของหนัง ที่ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนผมอ่านบท แล้วผมต้องรู้สึกสนใจทัศนคติของหนังเรื่องนั้น

 

ซึ่งผมไม่สามารถจำกัดความได้นะว่าไอ้ทัศนคติของหนังมันเป็นยังไง อาจจะไม่ใช่คำว่าดีด้วยซ้ำ แต่ว่าอย่างน้อยมันน่าสนใจ ผมคิดว่าศิลปะในโลกนี้มันมีเยอะแยะไปหมดเลย และผมเปิดรับโอกาสที่เข้ามาเสมอ เพราะฉะนั้นถ้าบทที่อ่านมันทำรีแอ็กชันบางอย่างได้มันก็จบเท่านั้นเอง

 

บทเรื่องไหนที่อ่านแล้วรู้สึกว่าทัศนคติของหนังเรื่องนั้นน่าสนใจที่สุด

สุดเสน่หา ของเจ้ย ผมอ่านจบใน 3 ชั่วโมง ไม่รู้เหมือนกันว่ายังไง แต่ผมอ่านแล้วโคตรสนุกเลย แล้วก็รับถ่ายเรื่องนั้นทันที ผมคิดว่าหนังหลายๆ เรื่องต้องมีบทที่เป็นแบบนั้น บทที่ดีต้องมีพลังพอที่จะทำให้ยอมทนไปอยู่กับใครสักคนที่เราเหม็นขี้หน้าได้ประมาณ 3 เดือน เพราะการถ่ายหนัง 1 เรื่อง มันคือเอาชีวิตเราทั้งหมดไปอยู่ในนั้นเลยนะ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องธรรมดามากที่เราจะไม่ชอบหน้าใครสักคน แต่เราจะยอมไปอยู่กับเขาเพราะว่าเราอยากถ่ายทำบทหนังเรื่องนั้นให้ได้

 

 

ผู้กำกับมีผลกับการตัดสินใจรับงานมากขนาดไหน

เกี่ยวนะ แต่ผมคิดว่าไม่มาก เพราะถ้าถามผมตอนนี้ว่าอยากทำงานกับผู้กำกับคนไหนในโลกมากที่สุด ผมตอบไม่ได้เหมือนกันนะ เพราะผมเลือกดูจากบทหนังเป็นหลัก หลังจากนั้นค่อยมาดูผู้กำกับว่าเคมีเขาไปกับเราได้ไหม มีมุมมองที่จะนำพาเราไปได้ไหม เพราะยังไงผมก็ยังคิดว่าเราเป็นลูกน้องของเขา ผู้กำกับเป็นนายของเรา ถ้าเขามีทัศนคติหรืออะไรบางอย่างที่ทำให้เราเชื่อไม่ได้ ก็จะทำงานกันได้ยาก

 

เวลาหนังเสร็จสมบูรณ์ออกมาแล้วประสบความสำเร็จ หรืออย่าง Call Me by Your Name ที่ได้รับการ Standing Ovation คุณคิดว่าผู้กำกับภาพมีสิทธิ์ที่จะได้รับความดีความชอบตรงนั้นประมาณกี่เปอร์เซ็นต์

ผมคิดว่าไม่ใช่แค่ผม แต่ทุกคนที่อยู่ใน ‘กรรมะ’ ของการทำหนังเรื่องนั้นๆ มีสิทธิ์ที่จะดีใจ เพราะทุกคนได้ให้เวลาส่วนหนึ่งในชีวิตกับสิ่งนี้ไปแล้ว แต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไปเป็นธรรมชาติ แต่ด้วยตัวภาพยนตร์ที่เป็น Collaborative Art ทุกคนต้องทำร่วมกัน เพราะฉะนั้นในความคิดของผมผู้กำกับก็ไม่สามารถเคลมได้ 100% เพียงคนเดียว เพราะทุกคนควรเคลมได้ 100% เหมือนกันหมด เพราะไม่ว่าคนนั้นจะเป็นส่วนที่เล็กขนาดไหนของหนัง แต่ในขณะที่ทำงานเขาให้ทุ่มกับงานนั้นไป 100% เหมือนเราเอา 100% ของทุกยูนิตมารวมกันจนกลายเป็นหนังขึ้นมา ไม่ใช่ผู้กำกับ 20% นักแสดง 20% ผู้กำกับภาพ 20% มันคือ 100% ของทุกคนที่มาอินเตอร์เซคกันอยู่เท่านั้นเอง

 

 

เมื่อปิดกล้อง ถ่ายหนังเสร็จเรียบร้อย ส่งฟุตเทจต่อไปให้ฝ่าย Post-Production คุณเป็นผู้กำกับภาพที่เป็นกังวลกับฟุตเทจที่ส่งต่อไปมากแค่ไหน

ไม่รู้สึกอะไรนะ เพราะอย่างแรกคือผมไม่ได้ทรีตฟุตเทจเป็นอะไรที่พิเศษเลย มันคือผลงานอย่างหนึ่งที่ผมตั้งใจทำมันออกมาให้ดีที่สุดแค่นั้น แล้วก่อนที่จะส่งไปกระบวนการตัดต่อ ณ วันนั้นผมต้องรู้สึกว่ามันโอเคแล้ว ถ้าไม่โอเคหน้าที่ของผู้กำกับภาพคือจะต้องรีบบอกทุกคนว่า ฉิบหายแล้วครับ แล้วก็ต้องพยายามถ่ายจนกว่าจะได้แบบที่เราคิดจริงๆ นั่นคือกรรมะของเราในตอนนั้น หลังจากนั้นมันคือกรรมะของคนอื่นแล้ว เขาจะเอาสิ่งที่ผมถ่ายมาไปกระทำอย่างไรไม่ใช่เรื่องที่ผมจะต้องกังวล

 

กรรมะของผู้กำกับภาพคืออะไร

ส่วนใหญ่คือสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ณ วันถ่ายทำ เพราะบางทีสิ่งที่เห็นตรงหน้ามันอาจจะไม่เอื้อให้กับสิ่งที่เราคิดเอาไว้ในหัวเลยก็ได้ เหมือนใน Call Me by Your Name ที่ฝนตกฟ้าครึ้มมาเลย แต่ต้องถ่ายออกมาให้เหมือนแดดออก สว่างๆ นั่นก็เป็นกรรมะของผมที่ต้องจัดการให้ได้

 

การที่ต้องถ่ายหนังด้วยฟิล์มอย่างเดียวก็ถือว่าเป็น ‘กรรมะ’ อย่างหนึ่งของคุณด้วยหรือเปล่า

ผมเป็นคนแรกๆ ในเมืองไทยนะที่เคยศึกษาและเข้าใจเรื่องกล้องดิจิทัล เริ่มศึกษาตั้งแต่กล้อง Viper Thompson ยุคแรกๆ เลย แต่ว่าสุดท้ายผมเลือกที่จะไม่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล และถ่ายด้วยฟิล์มภาพยนตร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งเหตุผลมันไม่มีอะไรเลยนะ ผมแค่รู้สึกว่ามันเป็นเครื่องมือที่สื่อสารกับตัวผมได้ดีกว่าดิจิทัล ฟิล์มคุยกับผมได้ และมันเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผมสื่อสารกับสิ่งแวดล้อม กับภาพยนตร์ได้ดีกว่าเท่านั้นเอง

 

 

ถ้ามีโปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ หรือโปรเจกต์ที่น่าสนใจมากๆ ติดต่อมา แต่เขาขอให้คุณถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลเท่านั้น

ผมปฏิเสธไปตั้งหลายเรื่องแล้ว (หัวเราะ) ล่าสุดเพิ่งมีหนังฮอลลีวูดติดต่อมา จอห์นนี เดปป์ แสดงนำ ผมอ่านบทแล้วก็ชอบเลยนะ แต่เขาบอกว่าขอให้ผมถ่ายดิจิทัลได้ไหม กลับมาคิดอยู่ 3 วัน ก็กลับไปบอกเขาว่าตอนนี้ผมยังไม่พร้อม เดี๋ยวปีหน้าค่อยว่ากันอีกที

 

พูดแบบนี้บางคนอาจจะคิดว่าปฏิเสธไปทำไม แค่ยอมถ่ายดิจิทัลแค่นั้นเอง แต่สำหรับผมมันไม่ใช่แค่นั้นเองนะ เพราะนั่นมันคือเครื่องมือในการสร้างงานของผม ถ้าผมไม่รู้สึกสบายใจ ไม่มั่นใจ แล้วผมจะสร้างงานออกมาได้ยังไง เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งดีกว่า

 

มันไม่ฟังดูเหมือนไม่ยอมพัฒนา ไม่ยอมปรับตัวกับยุคสมัยใหม่ไปหน่อยเหรอ

แล้วแต่ใครจะมองนะ แต่ผมไม่คิดแบบนั้น เพราะถ้าเป็นงานที่หาเงิน 100% เหรอ เอามาสิ งานโฆษณา ขายของแบบนี้มาเลย แต่หนังไม่ใช่แบบนั้นสำหรับผม เพราะว่ามันใช้เวลาอยู่กับมันนานเกินไป เราตั้งใจกับมันมากเกินไป ไม่เหมือนกับโฆษณาที่ถ่าย 3 วันจบ หนังนี่ 3 เดือนจะจบหรือเปล่ายังไม่รู้ มันคือชีวิตของเราในช่วงนั้นเลยนะ เพราะฉะนั้นถ้ากับหนังใหญ่จริงๆ ผมยังเลือกฟิล์มที่ผมถนัดมากกว่า

 

ณ วันนี้ที่มีคนเรียกว่า ‘ผู้กำกับภาพฮอลลีวูด’ หรืออีกหน่อยอาจจะพ่วง ‘ผู้กำกับภาพชิงออสการ์’ ฯลฯ คำเรียกเหล่านี้ส่งผลกับชีวิตและการทำงานของคุณมากขนาดไหน

ไม่มีผลเลยนะ เพราะเวลาผมรับงานผมก็ไม่เคยคิดว่ามันจะเป็นหนังฮอลลีวูด ต้องชิงออสการ์หรือว่าอะไร แล้วถ้านับจริงๆ ผมเพิ่งจะทำงานที่เป็นสเกลระดับฮอลลีวูดก็แค่ Call Me by Your Name เรื่องเดียวเท่านั้นเอง อย่าง Arabian Nights ก็ยังไม่ถึง หรือ Antonia ก็เป็นหนังอินดี้มาก แต่มันเปิดทางให้ผมรู้จักกับลูคา กัวดายีโน ที่ชวนให้ผมมาถ่ายทำ Call Me by Your Name ซึ่งตอนแรกยังไม่ทันคิดด้วยซ้ำว่ามันคือหนังฮอลลีวูด มันกลับไปสู่เกณฑ์เดิมที่ว่า ทัศนคติของบทมันน่าสนใจเพียงพอสำหรับผมหรือเปล่า แล้วเรื่องนี้ทำได้ ผมก็รับถ่ายหนังเรื่องนี้แค่นั้นเอง

 

จนพอเห็นแล้วว่ามันเป็นหนังฮอลลีวูด และค่อยๆ ประสบความสำเร็จไปไกลขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเป็นไปได้ว่าผมอาจจะได้ชิงออสการ์ ถามว่าผมสนใจกับมันมากขึ้นไหมก็ไม่นะ ไม่ได้ทรีตมันแตกต่างจากภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ เท่าไร ไอ้ความตื่นเต้นดีใจมันมีอยู่แล้วเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็อีกตั้งเป็นเดือนกว่าเขาจะประกาศรางวัลจริงๆ

 

 

คิดว่าคนในอุตสาหกรรมหนังไทยมีความพร้อมที่จะโกอินเตอร์ หรือไปยืนจุดเดียวกับคุณได้มากน้อยขนาดไหนแล้วในตอนนี้

ถ้าถามผมคิดว่าได้หมดทุกคนนะ มันไม่มีลิมิตอยู่แล้ว ผมคิดว่าที่คนไทยยังมาถึงตรงนี้ไม่ได้เหตุผลง่ายๆ คือยังไม่มีใครเห็นเขาเท่านั้นเอง ด้วยความเป็นหนังจากแดนไกลมันก็เห็นยากอยู่แล้ว แล้วบ้านเราก็ไม่เอื้อโอกาสให้เราได้ทำหนังแบบที่คนระดับฮอลลีวูดหรืออินเตอร์เนชั่นแนลเห็นอีก มันยังมีกรอบในการทำหนังหลายๆ อย่างที่มันอาจจะใช้ได้ในบ้านเรา แต่ก็จะกลายเป็นว่าเราจะเห็นกันเอง แต่ในระดับที่กว้างกว่านั้น เขาอาจจะไม่ได้มามองเห็นในสิ่งเดียวกับเรา

 

อย่างผมมีคนเริ่มเห็นจากหนังหลายๆ เรื่องของเจ้ย ที่เขาได้ไปฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ซึ่งตรงนั้นเขามองเห็นหนังแบบนี้ แต่ในบ้าน หนังของเจ้ยก็ยังไม่ได้มีคนมองเห็นมากขนาดนั้น เพราะฉะนั้นผมคิดว่าปัญหามันอาจไม่ได้อยู่ที่ฝีมือ แต่เป็นที่โอกาสในการมองเห็นนี่ล่ะที่สำคัญ

 

ในช่วงหลังๆ มีหนังไทยเรื่องไหนที่คุณรู้สึกประทับใจเป็นพิเศษบ้างไหม

ล่าสุดผมชอบ ฉลาดเกมส์โกง นะ (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ) เป็นหนังที่ดูจบแล้วรู้สึกว่ารีบยกหูโทรศัพท์หาพี่เก้ง (จิระ มะลิกุล ผู้บริหารค่าย GDH) เลย ผมว่ามันมีคุณภาพและสาระเพียงพอที่จะเข้าถึงคนยุคใหม่ได้จริงๆ

 

ตอนนี้ยังรับงานกำกับภาพของหนังไทยได้อยู่ไหม

ถ่ายได้ แต่เงื่อนไขเดิมคือ ต้องเป็นภาพยนตร์และถ่ายด้วยฟิล์มเท่านั้นนะ (หัวเราะ)

The post สยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพชาวไทยที่อยู่ใกล้รางวัลออสการ์มากที่สุดในเวลานี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/sayombhu-mukdeeprom/feed/ 0