สมาคมประกันชีวิตไทย – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 06 Feb 2025 09:48:21 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สมาคมประกันชีวิตไทยแจงแนวปฏิบัติประกันสุขภาพ ‘ส่วนร่วมจ่าย’ หรือ Copayment
ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย https://thestandard.co/health-insurance-copayment-guidelines/ Thu, 06 Feb 2025 09:48:21 +0000 https://thestandard.co/?p=1038577 ผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทยแถลงแนวปฏิบัติประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย Copayment

สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ […]

The post สมาคมประกันชีวิตไทยแจงแนวปฏิบัติประกันสุขภาพ ‘ส่วนร่วมจ่าย’ หรือ Copayment
ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทยแถลงแนวปฏิบัติประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย Copayment

สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย, สาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด และ นิคฮิล แอดวานี อุปนายกฝ่ายวิชาการ ร่วมแถลงแนวปฏิบัติประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal)
ซึ่งจะใช้กับกรมธรรม์ประกันสุขภาพฉบับใหม่ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป เพื่อการบริหารจัดการและสร้างความยั่งยืนของการประกันสุขภาพภายใต้มาตรฐานทางการแพทย์และความจำเป็นทางการแพทย์

 

นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในปี 2567 ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) สูงถึง 15% (อ้างอิงจาก WTW) ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ 

 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ การเข้าสู่สังคมสูงวัย โรคอุบัติใหม่ มลพิษทางอากาศ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ และโครงสร้างค่ารักษาพยาบาล โดยการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่งผลให้ อัตราการเคลมประกันสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  

 

จึงเป็นความท้าทายสำคัญที่ภาคธุรกิจประกันภัยต้องวางแผนรับมืออย่างรอบคอบ โดยเฉพาะจากสถานการณ์ปัจจุบันอัตราการเคลมประกันสุขภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากโรคเจ็บป่วยเล็กน้อยทั่วไป อีกทั้งภายใต้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ หรือ ‘New Health Standard’ ที่บังคับใช้ไปเมื่อปี 2564 ซึ่งบริษัทประกันชีวิตพร้อมที่จะดูแลผู้เอาประกันภัยอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้เอาประกันภัย ซึ่งส่งผลให้เบี้ยประกันภัยที่เคยคำนวณไว้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ระบบประกันสุขภาพได้รับผลกระทบโดยตรง นำไปสู่การปรับเบี้ยประกันภัยทั้งพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) จนทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงประกันสุขภาพได้ ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ 

 

ดังนั้นภาคธุรกิจประกันภัยจึงต้องวางแผนรับมือกับความท้าทายนี้อย่างรอบคอบ เพื่อให้ประกันสุขภาพยังคงเป็นเครื่องมือช่วยลดความเสี่ยงและแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของประชาชนได้อย่างแท้จริง 

 

ภาคธุรกิจประกันภัยจึงได้นำส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ภายใต้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ หรือ ‘New Health Standard’ มาใช้เป็นเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) เพื่อลดการเคลมจากการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่เกินความจำเป็นทางการแพทย์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัยของทั้งพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) 

 

โดยส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับผู้เอาประกันภัย ภายใต้การบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์และความจำเป็นทางการแพทย์
โดยไม่นับรวมผ่าตัดใหญ่หรือโรคร้ายแรง 

 

สำหรับเกณฑ์การเข้าเงื่อนไขแนวปฏิบัติประกันสุขภาพส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่

 

กรณีที่ 1 การเคลมสำหรับโรคที่ไม่รุนแรง หรืออาการที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล การเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases) หรืออาการที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล โดยเบิกเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และอัตราการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของเบี้ยประกันภัยสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป 

 

กรณีที่ 2 การเคลมสำหรับโรคทั่วไปแต่ไม่นับรวมการผ่าตัดใหญ่และโรคร้ายแรง โดยเบิกเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และอัตราการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป 

 

กรณีที่ 3 หากเข้าเงื่อนไขทั้งในกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 จะต้องร่วมจ่าย 50% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป

 

ซึ่งเมื่อผู้เอาประกันภัยเข้าเงื่อนไขส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในปีต่ออายุถัดไปแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมจ่าย 30% หรือ 50% ตามสัดส่วนที่กำหนดในค่ารักษาพยาบาล แต่หากการเคลมมีการปรับตัวลดลงและไม่เข้าเงื่อนไขการมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) บริษัทประกันภัยจะพิจารณายกเลิกการมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) กรมธรรม์ดังกล่าวจะกลับสู่สถานะปกติได้เช่นเดิมในปีถัดไป  

 

อย่างไรก็ตาม สมาคมประกันชีวิตไทยแนะนำให้ประชาชนศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เอาประกันภัย ประกันสุขภาพยังคงเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาลได้ดี เพราะในทางปฏิบัติแล้ว ส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย เนื่องจากเงื่อนไขดังกล่าวมีลำดับ ขั้นตอน การนับ การพิจารณา ซึ่งเป็นตัวกรองหลายชั้น โดยบริษัทจะแจ้งรายละเอียดในหนังสือแจ้งเตือนการต่ออายุสัญญาประกันสุขภาพ

 

ภาพ: megaflopp / Getty Images

The post สมาคมประกันชีวิตไทยแจงแนวปฏิบัติประกันสุขภาพ ‘ส่วนร่วมจ่าย’ หรือ Copayment
ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย appeared first on THE STANDARD.

]]>
คาดปี 67 ธุรกิจประกันชีวิตเติบโต 2-4% หลังคนไทยกังวลปัญหาด้านสุขภาพเพิ่ม ส่วนปี 66 เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 6.3 แสนล้านบาท https://thestandard.co/life-insurance-to-grow-2-4-percent/ Wed, 21 Feb 2024 11:50:06 +0000 https://thestandard.co/?p=902758

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในปี 2567 […]

The post คาดปี 67 ธุรกิจประกันชีวิตเติบโต 2-4% หลังคนไทยกังวลปัญหาด้านสุขภาพเพิ่ม ส่วนปี 66 เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 6.3 แสนล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในปี 2567 อัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ที่ในช่วง 2-4% หรือมีเบี้ยรับรวมอยู่ที่ราว 6.4-6.5 แสนล้านบาท จากปี 2566 ที่มีเบี้ยรับรวมอยู่ที่ 6.3 แสนล้านบาท โดยการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตนั้นสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2567 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์ไว้ที่ 2.2-3.2% 

 

ปัจจัยสนับสนุนมาจากกระแสคนรักสุขภาพมากขึ้น หลังจากที่ภาคประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของการเกิดโรคอุบัติใหม่ เช่น โควิดสายพันธุ์ใหม่ และมลภาวะจากฝุ่น PM2.5 มากขึ้น รวมถึงแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประชาชนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและมีการทำประกันสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged Society) นโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีของภาคธุรกิจ เช่น AI และ Data Analytics 

 

ปี 2566 ธุรกิจประกันชีวิตโต 3.61%

 

สำหรับภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตของปี 2566 ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม มีเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium) อยู่ที่ 633,445 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 3.61% เมื่อเทียบกับปี 2565 แบ่งเป็น

 

  1. เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium) 178,470 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 5.06%
  2. เบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) 454,975 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 3.06% 

 

สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย

 

  1. เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) 112,377 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 6.83%
  2. เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) 66,093 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 2.18%

 

‘ประกันสุขภาพ’ ยอดนิยม

 

สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตมากขึ้นในปี 2566 คือ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและคุ้มครองโรคร้ายแรง ที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 109,786 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 5.93 คิดเป็นสัดส่วน 17.33 หลักๆ มาจากการที่ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพและเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการทำประกันสุขภาพมากขึ้น เพื่อบริหารความเสี่ยงและรับมือกับค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (Medical Inflation) 

 

ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัว รวมถึงมีการเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินช่วงวัยเกษียณกันมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นรูปแบบการออมประเภทหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่ำแล้ว ยังได้รับความคุ้มครองชีวิตและสิทธิการลดหย่อนภาษีที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุนมาตรการลดหย่อนภาษี จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) ในปี 2566 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 17,986 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 14.26 หรือคิดเป็นสัดส่วน 2.84 

 

จับตาความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก ดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ

 

สำหรับความท้าทายที่ธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามคือ แนวโน้มและความผันผวนของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์เงินเฟ้อ และตลาดหุ้นไทย ที่ส่งผลกระทบต่อการออม การลงทุน และการใช้จ่ายของภาคประชาชน รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์สงครามการค้าหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเกิดโรคอุบัติใหม่ เพราะส่งผลต่อความต้องการและความเชื่อมั่นของภาคประชาชนที่มีต่อธุรกิจประกันชีวิตโดยตรง 

 

“เศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือนมีผลกระทบต่อกำลังซื้อโดยตรงของประชาชน ด้วยเพราะประกันชีวิตไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก จึงขึ้นอยู่กับเบี้ยประกัน ความคุ้มครองที่จะมีผลต่อการตัดสินใจโดยรวม ส่วนอัตราการต่ออายุของลูกค้าเก่ายังคงเป็นปกติ ขณะเดียวกันในด้านของการป่วยเล็กน้อยทั่วไป หรือ Simple Diseases ยังคงมีสัดส่วนที่มากอยู่เช่นกัน” สาระกล่าว

The post คาดปี 67 ธุรกิจประกันชีวิตเติบโต 2-4% หลังคนไทยกังวลปัญหาด้านสุขภาพเพิ่ม ส่วนปี 66 เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 6.3 แสนล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เมืองไทยประกันชีวิต’ คาดเบี้ยรับใหม่ปีนี้โตกว่า 20% https://thestandard.co/mtl-expect-interest-growth-20-percents/ Mon, 29 Jan 2024 01:42:32 +0000 https://thestandard.co/?p=893237 เมืองไทยประกันชีวิต

เมืองไทยประกันชีวิตคาดการณ์เบี้ยรับรายใหม่ปีนี้โตกว่า 2 […]

The post ‘เมืองไทยประกันชีวิต’ คาดเบี้ยรับใหม่ปีนี้โตกว่า 20% appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมืองไทยประกันชีวิต

เมืองไทยประกันชีวิตคาดการณ์เบี้ยรับรายใหม่ปีนี้โตกว่า 20% เปิดกลยุทธ์ปีนี้เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมตอบสนอง Personal Life พร้อมบุกช่องทางออนไลน์เพิ่มตามเทรนด์ผู้บริโภค 

 

สาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต (MTL) ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ปีนี้เบี้ยรับประกันใหม่จะเติบโตมากกว่า 20% จากปี 2566 ที่มีเบี้ยรับประกันใหม่อยู่ที่ราว 7 หมื่นล้านบาท เติบโตเล็กน้อยจากปี 2565 ที่มีเบี้ยรับประกันใหม่อยู่ราว 6 หมื่นล้านบาท

 

โดยเทรนด์ความต้องการผู้ซื้อประกันพุ่งไปสู่ประกันสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคและโครงสร้างสังคมที่ผู้คนมี Awareness ด้านความมั่นคงทางสุขภาพมากขึ้น 

 

ส่งผลให้ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป เมืองไทยประกันชีวิตจะมุ่งให้บริการประกันชีวิต ประกันสุขภาพและโรคร้ายเพิ่มขึ้นเป็น 70% ของเบี้ยรับรวม จากเดิมที่อยู่ที่ 60% ส่วนประกันเกษียณจะอยู่ในสัดส่วน 30% ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ที่ 40% 

 

“เราจะใช้เรื่องโพรเทคชั่นเป็นตัวนำ ทั้งผ่านช่องทางตัวแทนและธนาคาร โดยปีนี้เราจะให้น้ำหนักในการทำทุนชีวิตตั้งแต่หลักแสนไปสู่ระดับร้อยล้าน และมุ่งสร้างการเข้าถึงได้ของประกันชีวิตให้กับทุกเซ็กเมนต์ (Democratize Insurance) ทั้งช่วงอายุและฐานรายได้” สาระกล่าว

 

ในปี 2567 เมืองไทยประกันชีวิตยังคงสานต่อการเป็นคู่คิดด้านการวางแผนชีวิตและสุขภาพที่คุณวางใจ (No.1 Most Trusted Partner in Life & Health Planning) พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ประจำปี “Happiness, Your Way เพราะความสุขคือทุกอย่าง ความสุขสไตล์คุณคือที่สุดของทุกสิ่ง” ที่จะเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจในปีนี้ เพื่อความสุขและรอยยิ้มของพนักงานภายใน พาร์ตเนอร์ ลูกค้า และสังคมอย่างยั่งยืน 

 

โดยบริษัทจะดำเนินงานผ่าน 2 แนวคิดหลัก ได้แก่

 

  1. Personal เน้นการสร้างสรรค์พัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความเป็นคุณอย่างแท้จริง อาทิ ความร่วมมือในการขายประกันชีวิตและสุขภาพผ่านความร่วมมือกับ LINE BK หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ของบริษัทที่ให้บริการลูกค้าอย่าง MTL Online Sale Website (https://online.muangthai.co.th/th?cateCode=CA001), แอปพลิเคชัน MTL Click รวมถึงแอปพลิเคชันใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวอย่าง MTL Connect ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทในการดูแลลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

 

ทั้งนี้ ในปี 2566 พบว่า LINE BK เป็นช่องทางที่มียอดขายประกันสุขภาพดีมาก โดยกว่า 60% เป็นลูกค้าอายุต่ำกว่า 35 ปี และแผนต่อไปคือจะขยายเพิ่มปรับกระบวนให้ดีขึ้น และขยายการเติบโตเพิ่มขึ้น รุกตลาด Gen Z มากขึ้น อีกทั้งเห็นแนวโน้ม Online Sale เพิ่มขึ้น แม้ตอนนี้จะยังไม่ได้มีอัตราส่วนมากนัก

 

  1. Life มุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ทุกช่วงชีวิตของผู้คนทุกกลุ่ม โดยจะเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและสุขภาพเพื่อส่งมอบความคุ้มครองให้กับคุณและคนรอบข้าง ส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่ดีเพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย การรักษาอย่างครอบคลุมและตรงจุด และสิทธิประโยชน์สำหรับทุกๆ ไลฟ์สไตล์ 

 

นอกจากนี้ บริษัทยังนำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาช่วย ทั้ง AI, Machine Learning, Automation และ Digital Tools อื่นๆ ในทุกกระบวนการ ทั้งการขาย การพิจารณารับประกัน การพิจารณาสินไหม ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ เพื่อตอบโจทย์ร่วมกับพาร์ตเนอร์ทางการขายและเจ้าหน้าที่บริการ ซึ่งทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานภายใน พาร์ตเนอร์ ลูกค้า และบุคคลต่างๆ ในสังคม

 

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2566 เมืองไทยประกันชีวิตมีการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับใหม่ในกลุ่มสินค้าหลัก เช่น เบี้ยประกันภัยโรคร้ายแรงเติบโต 70% และเบี้ยประกันภัยบำนาญเติบโต 13% ขณะที่ด้านธุรกิจในภูมิภาค CLMV ยังมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน ณ สิ้นปี 2566 สูงกว่า 300% ซึ่งสูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดที่ 140%  

 

ด้านความแข็งแกร่งและเสถียรภาพทางด้านการเงิน บริษัทได้รับการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินจาก S&P Global Ratings ที่ระดับ BBB+ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ 

 

นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากลและภายในประเทศจาก Fitch Ratings ที่ระดับ A- และ AAA(tha) ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ ซึ่งถือเป็นอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินระดับประเทศที่สูงที่สุด พร้อมรับรางวัลการันตี ทั้งในด้านองค์กร ผลิตภัณฑ์ และบริการ ในระดับประเทศและระดับสากล สะท้อนถึงการได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัทอย่างยั่งยืน

 

รับมาตรฐานบัญชีใหม่ ‘เพิ่มความเสี่ยง’

 

สาระกล่าวว่า ปัจจัยที่บริษัทระมัดระวังคือการปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานบัญชีใหม่  ซึ่งมาตรวัดคือการคิดผลรวมของกำไรที่คาดว่าจะได้รับตั้งแต่วันแรกจนกระทั่งถึงวันสิ้นสุดสัญญาของกรมธรรม์ (New Business Value: NBV) เพื่อจะสอดคล้องไปกับมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 17 ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ปี 2568 ซึ่งจะใช้ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี โดยจะส่งผลให้บริษัทประกันจะต้องบันทึกขาดทุนในงบทันที หากว่าขายแบบประกันตลอดอายุสัญญาแล้วมีมูลค่าติดลบ

 

“ก่อนหน้านี้อาจจะเห็นภาคธุรกิจมีเบี้ยลดลง คนจะเข้าใจว่ามาจากกำลังซื้อที่อ่อนแอ แต่จริงๆ แล้วมาจากโครงสร้างแบบประกันที่เปลี่ยนไปจากขายประกันสะสมทรัพย์ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องตรึงผลตอบแทนระยะยาวกับพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 10 ปีขึ้นไป แต่ช่วงหลังมานี้จะเห็นเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) ที่ปรับตัวลงตลอดเวลา ดังนั้นหากยีลด์ต่ำมากและไม่สามารถแมตชิ่งกับการลงทุนได้ดีพอ การทำธุรกิจก็จะไม่ยั่งยืน”

 

เฟ้นลงทุนในธุรกิจ ESG มากขึ้น

 

สำหรับมิติ ESG เมืองไทยประกันชีวิตได้ลงทุนและเปิดโอกาสให้ลูกค้า Unit Linked สามารถลงทุนในสินทรัพย์สีเขียว ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) ตราสาร ESG (ESG Bond) และตราสารส่งเสริมความยั่งยืน

 

ขณะเดียวกันในส่วนของพอร์ตการลงทุนของบริษัทก็จะเน้นลงทุนใน Green Bond และ ESG Transformation (บริษัทที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว) มากขึ้น ซึ่งตอนนี้ยังลงทุนไม่มากนัก

 

นอกจากนี้ยังยึดมั่นการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการสร้างสมดุลทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

 

ยังจับตาภาพรวมเศรษฐกิจ

 

ธนัญชัย สัจจะปรเมษฐ รองกรรมการผู้จัดการสายงานการเงิน บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า ประเมินภาพเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะยังคงฟื้นตัว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ไว้จะขยายตัว 3.2% หากรวมผลของโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตจะขยายตัวได้ 3.8% ซึ่งบริษัทคาดว่าน่าจะไม่ทันช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งอาจจะทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยโตแบบไม่เท่าเทียมกัน กลุ่มธุรกิจ SMEs จะค่อนข้างเหนื่อย

 

ส่วนการบริโภคจะขึ้นอยู่กับการกระตุ้นของรัฐบาล ด้านการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคส่งออกยังมีความท้าทายอยู่ ดังนั้นด้วยบริบทการโตแบบไม่เท่าเทียมจะสะท้อนไปสู่กำลังซื้อของคนไม่เท่ากัน ซึ่งบริษัทมีการเตรียมความพร้อมเรื่องเหล่านี้ในทุกด้านและทุกแบบประกันที่จะตอบโจทย์ลูกค้าทุกเซ็กเมนต์ไว้แล้ว

 

ขณะที่แผนการลงทุนยอมรับว่าปีนี้จะเป็นปีที่มีความระมัดระวัง เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่ และมีความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ ขณะที่ประเมินดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) น่าจะทยอยลดลงช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนดอกเบี้ยนโยบายของไทยคาดว่า กนง. น่าจะยืนอยู่ที่ระดับ 2.5% หรือมีโอกาสลดดอกเบี้ยลงได้ 1 ครั้งในช่วงครึ่งหลังปีนี้

 

ซึ่งจะสะท้อนไปสู่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) โดยตอนนี้มองบอนด์ยีลด์จะไซด์เวย์ อยู่ในระดับไม่สูงเท่าปีที่แล้ว แต่ไม่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลดีกับการลงทุนของบริษัทประกันชีวิต เพราะยีลด์ที่จะไปลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ในปีนี้น่าจะค่อนข้างคงที่

 

แต่ที่ต้องระวังคือการลงทุนในตลาดหุ้นซึ่งอาจมีความผันผวนอยู่ ก็หวังว่าตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัวได้จากภาคท่องเที่ยวและการลงทุนของภาคเอกชนที่ดีขึ้น แต่ปีที่แล้วบริษัทได้ประโยชน์จากการกระจายไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นปีที่ตลาดหุ้นโลกปรับตัวดี

 

สำหรับปี 2567 พยายามรักษาผลตอบแทนจากการลงทุนที่ระดับใกล้เคียง 3.5-4% ยังคงมุ่งเน้นการลงทุนผ่านตราสารหนี้เป็นหลัก อาจจะลงทุนเพิ่มในกรีนบอนด์และตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (ESG Bond) ซึ่งปัจจุบันลงทุนไปแล้วด้วยเม็ดเงินหลักพันล้านบาท

The post ‘เมืองไทยประกันชีวิต’ คาดเบี้ยรับใหม่ปีนี้โตกว่า 20% appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุตสาหกรรมประกันผนึกกำลังเทคโนโลยีขั้นสูง ปั้น InsurTech ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความยั่งยืน https://thestandard.co/insurance-industry-insurtech/ Wed, 16 Aug 2023 03:42:52 +0000 https://thestandard.co/?p=829824

โลกเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว พัฒนาการทางเทคโนโล […]

The post อุตสาหกรรมประกันผนึกกำลังเทคโนโลยีขั้นสูง ปั้น InsurTech ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความยั่งยืน appeared first on THE STANDARD.

]]>

โลกเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว พัฒนาการทางเทคโนโลยีสร้างให้เกิด Disruption ในทุกทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจผันผวน ความเสี่ยงใหม่จากตัวเทคโนโลยีเอง เช่น การคุกคามทางไซเบอร์ หรือการมาของ AI ที่มนุษย์ยังไม่สามารถไขกระบวนการตัดสินใจของมันได้ รวมถึงปัญหาสังคมที่ประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะทำให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยรวมพุ่งสูงขึ้น 

 

ความเสี่ยงต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จึงเป็นจุดริเริ่มต่อโจทย์สำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ต้องคิดแผนรับมือกับความไม่แน่นอนทั้งในฝั่งของผู้บริโภคและระบบประกันภัยให้แข็งแรงต่อไป

 

สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. เผยถึงการต่อยอดความสำเร็จในวงการประกันภัยจากปีก่อนว่า ในไตรมาสแรกของปี 2566 ธุรกิจประกันภัยเติบโต 4.81% ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องของการป้องกันความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น

 

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

 

ล้ำสมัยอย่างเดียวไม่พอ ต้องยั่งยืนด้วย

 

สำนักงาน คปภ. และพันธมิตร ได้มองถึงแนวโน้มความเสี่ยงใหม่ๆ ในอนาคต จึงมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมความแข็งแกร่งของระบบประกันภัยไทยภายใต้แนวคิด InsurTech for Sustainability ที่ไม่เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดความยั่งยืนกับโลกอีกด้วย เช่น การออกกรมธรรม์ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อลดการใช้กระดาษ การนำ AI มาจัดการคำนวณค่าสินไหมทดแทนให้มีความโปร่งใส และการผลักดันให้บริษัทประกันภัยใส่ใจในเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น

 

“ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า บริษัทประกันภัยบางแห่งอาจยังไม่ได้คำนึงถึงความยั่งยืน เราเห็นได้จากตัวอย่างประกันโควิด เจอ จ่าย จบ ที่เน้นขายตามกระแส แต่เมื่อไม่มีเงินจ่าย ก็กลับยกเลิกโครงการอย่างกะทันหัน อย่างนี้เรียกว่าไม่ยั่งยืน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องการเห็นคือธุรกิจประกันภัยที่นึกถึงลูกค้าเป็นหลัก เพราะเมื่อลูกค้าเชื่อมั่นแล้ว บริษัทประกันก็จะยืนอยู่ต่อไปได้” สุทธิพล เล่าถึงความพยายามที่ธุรกิจประกันจะมุ่งไปสู่ความยั่งยืน

 

การผสมผสานของเทคโนโลยีกับแนวคิดความยั่งยืนในกลุ่มธุรกิจประกันคือ ความสามารถในการออกผลิตภัณฑ์ที่แม่นยำผ่าน Big Data ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และช่วยให้บริษัทประกันควบคุมความเสี่ยงได้อย่างรอบคอบขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วแนวคิดความยั่งยืน ESG ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในตอนนี้มันไปเกี่ยวข้องกับประกันอย่างไร? 

 

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ฉายภาพให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของธุรกิจประกันภัยในแต่ละส่วนของ ESG ดังนี้

 

  1. Environment: เบี้ยกว่า 90% ที่บริษัทประกันบางแห่งได้ไป มีการนำเงินส่วนนั้นไปลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในบริษัทที่ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืน (Green Funding)

 

  1. Social: บริษัทประกันกำลังเพิ่มการเข้าถึงประกันภัยครอบคลุมกับคนทุกกลุ่ม ผู้ที่ไม่เคยมีประกันก็สามารถเข้าถึงบริการแบบ Micro Insurance ได้ด้วยเบี้ยที่สมเหตุสมผลและเป็นธรรมมากขึ้น

 

  1. Governance: การส่งเสริมความเท่าเทียมในที่ทำงานกับพนักงานทุกระดับ และควบคุมดูแลขั้นตอนการทำงานให้โปร่งใส

 

การผสมผสานของปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวนำวงการประกันภัยให้ก้าวไปสู่ความยั่งยืนทั้งในธุรกิจและสังคมได้

 

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย

 

ประกันแบบนั้น…ใช่สำหรับฉันหรือเปล่า?

 

สาระ กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมประกันภัยว่า “ทุกวันนี้ผมคิดว่าโลกเรามันกลับข้าง หรือผมเรียกว่า Outside In ในความหมายที่ว่าผู้บริโภคเห็นประโยชน์ของประกันและมีความต้องการเพิ่มขึ้น แต่ประกันนั้นจะต้อง Personalized มากพอเหมาะกับรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคนที่ต่างกันออกไป”

 

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน โดยเฉพาะความต้องการที่เฉพาะเจาะจงกับตัวบุคคลมากขึ้น การนำข้อมูลเข้ามาช่วยคิดค้นแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ถึงระดับ Sub-Community จึงเป็นหัวใจหลักในการดึงลูกค้าเข้ามา

 

ตัวอย่างของ Sub-Community เช่น กลุ่มคนที่ขับรถ Big Bike ก็จะมีโปรไฟล์ความเสี่ยงที่เฉพาะตัวไม่เหมือนคนกลุ่มอื่น หรือการประกันความเสี่ยงสำหรับกลุ่มคนที่อยู่ในบริเวณที่มี PM2.5 หนาแน่น และอาจต้องการให้น้ำหนักของมูลค่าสินไหมไปโฟกัสที่โรคมะเร็งปอดมากกว่าตามแผนป้องกัน ‘โรคร้ายแรง’ ของผู้เอาประกัน ก็สามารถทำได้เช่นกัน

 

ฉะนั้นโลกของประกันภัยในวันนี้ ‘จะไม่ใช่การขายอีกต่อไป แต่เป็นการแนะนำ’ ซึ่งการแนะนำที่จะตอบโจทย์ลูกค้าได้แบบเฉพาะตัวก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ที่จะทำไม่ได้เลยหากไม่มีเทคโนโลยีอย่าง AI หรือ Big Data เข้ามาช่วย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะไม่ใช่ One Size Fits All แต่เป็น Customize ให้ตรงตามสิ่งที่ผู้เอาประกันมองหา

 

สำหรับผู้ที่ยังมีคำถามว่าจะวางแผนป้องกันความเสี่ยงอย่างไร งาน ‘Thailand InsurTech Fair 2023’ ในวันที่ 8-10 กันยายนปีนี้ ณ ฮอลล์ 7 อิมแพ็ค เมืองทองธานี อาจมีคำตอบรออยู่ เพราะงานนี้เป็นมหกรรมที่มีเทคโนโลยีประกันภัยหลากหลาย และครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดครั้งหนึ่ง

The post อุตสาหกรรมประกันผนึกกำลังเทคโนโลยีขั้นสูง ปั้น InsurTech ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความยั่งยืน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมประกันชีวิตไทยเผยภาพรวมธุรกิจครึ่งปีแรกกวาดเบี้ยรับรวม 3 แสนล้านบาท โต 3.78% คาดทั้งปีแตะ 6.12-6.23 แสนล้านบาทตามเป้า https://thestandard.co/life-insurance-business-overview-1st-half-2023/ Tue, 01 Aug 2023 03:51:38 +0000 https://thestandard.co/?p=824116 ธุรกิจ ประกันชีวิต ไทย

สมาคมประกันชีวิตไทยเผยภาพรวมธุรกิจครึ่งปีแรก เดือนมกราค […]

The post สมาคมประกันชีวิตไทยเผยภาพรวมธุรกิจครึ่งปีแรกกวาดเบี้ยรับรวม 3 แสนล้านบาท โต 3.78% คาดทั้งปีแตะ 6.12-6.23 แสนล้านบาทตามเป้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธุรกิจ ประกันชีวิต ไทย

สมาคมประกันชีวิตไทยเผยภาพรวมธุรกิจครึ่งปีแรก เดือนมกราคม-มิถุนายน กวาดเบี้ยประกัน 3 แสนล้านบาท โต 3.78% คาดครึ่งปีหลังโตต่อเนื่อง โดยยังคงเป้าเบี้ยรับรวมสิ้นปีนี้โต 0-2% ที่ 6.12-6.23 แสนล้านบาท

 

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 (เดือนมกราคม-มิถุนายน) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 3.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยจำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 8.68 หมื่นล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 8.93% และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 2.13 แสนล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.82% โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ 82%

 

ทั้งนี้ เมื่อจำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่ายพบว่าการขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) คิดเป็นสัดส่วน 50.83% การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) สัดส่วน 39.16% การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) สัดส่วน 5.55% การขายผ่านช่องทางการตลาดแบบตรง (Direct Marketing) สัดส่วน 2.29% การขายผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital) มีสัดส่วน 0.16% และการขายผ่านช่องทางอื่น (Others) เช่น การขายผ่านการออกบูธ การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น สัดส่วน 2.01%

 

สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 และมีอัตราการเติบโตมากขึ้น ได้แก่ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและคุ้มครองโรคร้ายแรง ที่เติบโตเพิ่มขึ้น 6.34% ซึ่งมาจากการที่ประชาชนเริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี รวมถึงแบบประกันบำนาญ ที่เติบโตเพิ่มขึ้น 12.84% ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสังคมสูงวัยและมาจากค่านิยมของการแต่งงานช้า มีบุตรน้อยลง ทำให้คนทั่วไปเริ่มตระหนักถึงการออมเงินไว้สำหรับดูแลตัวเองในช่วงหลังเกษียณมากขึ้น

 

ขณะที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนเติบโตลดลง 13.24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมาจากความไม่แน่นอนของทิศทางเศรษฐกิจโลกและภายในประเทศ รวมถึงความผันผวนของอัตราผลตอบแทนและภาวะอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถรับความผันผวนจากการลงทุน จึงทำให้ชะลอการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนออกไปก่อน

 

สำหรับทิศทางภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 มีปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี โดยคาดการณ์ว่าภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตปี 2566 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 6.12-6.23 แสนล้านบาท เติบโตอยู่ในช่วงระหว่าง 0-2% ด้วยอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประมาณ 81-82%

 

โดยมีปัจจัยบวกที่จะสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจคือประชาชนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิตและประกันภัยสุขภาพหรือโรคร้ายแรงมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะมาจากแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ยังมาจากความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ เช่น โควิด และมาจากภาคธุรกิจที่ออกนโยบายและมีการบังคับใช้แบบมาตรฐานใหม่ของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ประชาชนสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์และเลือกความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

 

ขณะเดียวกัน ประชาชนก็เริ่มตระหนักในการทำประกันชีวิตแบบบำนาญมากขึ้น จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัย รวมถึงภาครัฐให้การสนับสนุนเรื่องมาตรการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ นอกจากนี้ภาคธุรกิจได้มีการส่งเสริมให้บริษัทประกันชีวิตมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและขีดความสามารถทางการแข่งขันให้มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามปัจจัยท้าทายต่างๆ อย่างใกล้ชิด อาทิ ความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อระดับอัตราดอกเบี้ย (Yield Curve) สงครามการค้าและความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ หรืออำนาจซื้อของประชาชน ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมือง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สามารถสร้างผลกระทบและมีผลต่อเสถียรภาพของระบบการประกันชีวิตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

The post สมาคมประกันชีวิตไทยเผยภาพรวมธุรกิจครึ่งปีแรกกวาดเบี้ยรับรวม 3 แสนล้านบาท โต 3.78% คาดทั้งปีแตะ 6.12-6.23 แสนล้านบาทตามเป้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมประกันชีวิตไทย แจงเกณฑ์ใหม่ยังจ่ายค่ารักษา-ชดเชยรายวันผู้ป่วยในตามปกติกรณีติดโควิด แต่ไม่ครอบคลุมการกักตัว https://thestandard.co/tlaa-announce-new-coroanvirus-insurance-condition/ Tue, 08 Feb 2022 04:55:09 +0000 https://thestandard.co/?p=591658 สมาคมประกันชีวิตไทย แจงเกณฑ์ใหม่ยังจ่ายค่ารักษา-ชดเชยรายวันผู้ป่วยในตามปกติกรณีติดโควิด แต่ไม่ครอบคลุมการกักตัว

สมาคมประกันชีวิตไทย ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีหลักเ […]

The post สมาคมประกันชีวิตไทย แจงเกณฑ์ใหม่ยังจ่ายค่ารักษา-ชดเชยรายวันผู้ป่วยในตามปกติกรณีติดโควิด แต่ไม่ครอบคลุมการกักตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมประกันชีวิตไทย แจงเกณฑ์ใหม่ยังจ่ายค่ารักษา-ชดเชยรายวันผู้ป่วยในตามปกติกรณีติดโควิด แต่ไม่ครอบคลุมการกักตัว

สมาคมประกันชีวิตไทย ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของภาคธุรกิจประกันชีวิต โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

การให้ความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ

 

ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้ให้ความร่วมมือในการดูแลเยียวยาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมออกไปมากกว่าเงื่อนไขในกรมธรรม์ เช่น การจ่ายค่ารักษาพยาบาลในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) หรือโรงพยาบาลสนาม หรือการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation ซึ่งเป็นการหารือร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจและสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงมีการออกคำสั่งอนุโลมให้บริษัทจ่ายความคุ้มครอง เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยบริษัทประกันชีวิตไม่ได้คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม 

 

ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีทั้งผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจจะเป็น ‘ผู้ป่วยใน’ หรือ ‘ผู้ป่วยนอก’ ตามเงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ และแนวทางการรักษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ออกมาตรฐานทางการแพทย์ในการรักษาตามสภาวการณ์ของโรคในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวปฏิบัติการรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่จะเข้าเป็น ‘ผู้ป่วยใน’ ในโรงพยาบาล จะต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ‘ข้อใดข้อหนึ่ง’ ดังนี้

 

1. เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่
3. Oxygen Saturation < 94%
4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
5. สำหรับในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือรับประทานอาหารน้อยลง



ทั้งนี้ ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้ให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพและแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขมาโดยตลอด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ภาคธุรกิจประกันชีวิตจึงได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติมไม่ให้เกิดความสับสนของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทน ยังคงปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาทุกประการ โดยไม่ได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเรียกร้องหรือลดทอนสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใด

การเรียกร้องผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospital Benefit: HB)

ตามเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospital Benefit: HB) ภาคธุรกิจประกันชีวิตจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่เข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อการรักษาพยาบาลการบาดเจ็บหรือการป่วยเท่านั้น ไม่ครอบคลุมการขาดรายได้จากการพักฟื้นหรือการกักตัว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้มีการอนุโลมจ่ายค่าชดเชยรายวันจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) หรือโรงพยาบาลสนาม (Field Hospital) ด้วย จนถึงปัจจุบัน โดยบริษัทประกันชีวิตไม่ได้คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปกติภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ แต่หากผู้ป่วยรายใดมีประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเป็นลำดับแรกตามที่โรงพยาบาลที่ทำการรักษาเรียกเก็บตามผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post สมาคมประกันชีวิตไทย แจงเกณฑ์ใหม่ยังจ่ายค่ารักษา-ชดเชยรายวันผู้ป่วยในตามปกติกรณีติดโควิด แต่ไม่ครอบคลุมการกักตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
กูรูประกันมองการปรับเงื่อนไขเบิกค่ารักษาผู้ป่วยในสำหรับผู้ติดโควิดของสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นการกลับสู่หลักการที่ถูกต้อง เหตุโควิดกำลังกลายเป็นโรคประจำถิ่น https://thestandard.co/adjust-conditions-for-reimbursement-of-treatment-fees-for-those-infected-with-covid/ Mon, 07 Feb 2022 11:26:36 +0000 https://thestandard.co/?p=591405 ประกันชีวิต

บรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการประกันชีวิต ได้เขียนบทความ […]

The post กูรูประกันมองการปรับเงื่อนไขเบิกค่ารักษาผู้ป่วยในสำหรับผู้ติดโควิดของสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นการกลับสู่หลักการที่ถูกต้อง เหตุโควิดกำลังกลายเป็นโรคประจำถิ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประกันชีวิต

บรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการประกันชีวิต ได้เขียนบทความหัวข้อ ‘ทำไมการกักตัวโดยมีอาการน้อยจึงเบิกค่ารักษาผู้ป่วยในไม่ได้’ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุถึงข่าวใหญ่ในวงการประกันชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่สมาคมประกันชีวิตไทยจะมีการปรับเงื่อนไขการจ่ายสินไหมค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้เอาประกันที่ติดเชื้อโควิด โดยต้องรักษาในโรงพยาบาลเมื่อมีความจำเป็นทางการแพทย์ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป

 

ประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ส่วนผู้ป่วยที่จะเข้ารักษาเป็น ‘ผู้ป่วยใน’ ในโรงพยาบาลนั้นจะต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ‘ข้อใดข้อหนึ่ง’ ดังต่อไปนี้

  1. เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
    2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่
    3. Oxygen Saturation < 94%
    4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
    5. สำหรับในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือกินอาหารน้อยลง

ทั้งนี้ บรรยงได้แสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวในบทความว่า “แม้เรื่องนี้อาจสร้างความประหลาดใจให้กับหลายคน แต่สำหรับตัวเองเชื่ออยู่แล้วว่าวันหนึ่งเรื่องนี้ต้องกลับมาสู่หลักการที่ถูกต้อง เนื่องจากโรคโควิดเป็นโรคอุบัติใหม่ การรับมือจึงค่อนข้างสับสน มีการกักตัว มีการทดลองใช้ตัวยาใหม่ๆ ในการรักษา จนเมื่อทุกคนฉีดวัคซีน และเชื้อได้กลายพันธุ์ มันได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นที่มีอาการลดน้อยลงจนแทบจะเทียบเท่าโรคไข้หวัดใหญ่

 

หลายประเทศไม่ให้ความสำคัญกับมันแล้ว ยกเลิกมาตรการต่างๆ มองว่าเมื่อมันไม่อันตรายถึงชีวิต ปล่อยให้คนติดเชื้อกันเยอะๆ แต่ไม่มีอันตรายร้ายแรง เดี๋ยวคนก็มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติไปเอง

 

ต้องบอกว่า บริษัทประกันชีวิตไม่เคยรวมโรคนี้อยู่ในต้นทุนค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายในสัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาลมาก่อน แต่เมื่อมันเกิดขึ้นก็ต้องรับผิดชอบไปตามระเบียบ และต้นทุนนี้ก็มากกว่าการเจ็บป่วยทั่วไปอย่างมาก

 

เช่น สมัยก่อน โรคที่คนเป็นกันมากคือ ไข้หวัดใหญ่ อาหารเป็นพิษ ค่ารักษาจะตกประมาณ 30,000-40,000 บาท นอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน แต่พอป่วยเป็นโรคโควิดต้องนอนโรงพยาบาล 7-14 วัน ค่ารักษาพยาบาลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 บาท เล่นเอาบริษัทประกันชีวิตจุกเหมือนกัน

 

ซ้ำร้าย เมื่อมีคนป่วยจำนวนมาก เตียงในโรงพยาบาลไม่พอ ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ขอความร่วมมือให้บริษัทประกันชีวิตช่วยผ่อนปรนกฎระเบียบ จากนิยามในกรมธรรม์ที่ระบุว่า จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายได้เฉพาะผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลเท่านั้น เป็นจ่ายให้ทุกคนที่นอนในโรงพยาบาลสนามและฮอสพิเทลด้วย (มีช่วงหนึ่งให้รวมผู้ป่วยสีเหลืองที่กักตัวที่บ้านหรือชุมชนด้วย)

 

แต่เมื่อทุกอย่างคลี่คลายลง คนติดเชื้อน้อยลง อาการคนไข้ก็เบาบางลง บริษัทประกันชีวิตที่เคยเสียสละเพื่อสังคมในช่วงวิกฤต ยอมขาดทุนจำนวนมาก ตอนนี้ต้องกลับมาคุมเข้มเรื่องกติกา โดยใช้นิยามในกรมธรรม์เป็นตัวตั้ง จะไม่ผ่อนปรนเหมือน 2 ปีที่ผ่านมาอีกต่อไป

 

ต้องเข้าใจว่าบริษัทประกันชีวิตตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไร ไม่ใช่เพื่อการกุศล จะให้เขาเสียสละไปตลอดคงไม่ได้ ขนาดรัฐบาลเองยังต้องให้กระทรวงสาธารณสุขแก้กฎเกณฑ์เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐเลย เพราะเมื่อเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ลดความรุนแรงลงมา รัฐก็ต้องปรับการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์

 

ส่วนบริษัทก็ต้องกลับมายึดตามสัญญาเดิม โดยมีกรมธรรม์เป็นกติการะหว่างบริษัทกับลูกค้า และต้องยึดเงื่อนไขในสัญญาเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหม ถึงแม้โรคโควิดจะไม่เคยมีมาก่อนเขียนสัญญา แต่ถ้ามันเข้าเงื่อนไขก็ควรจะเบิกได้ เราจึงต้องดูว่าสัญญาในกรมธรรม์เขียนไว้ว่าอย่างไร”

 


ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

Twitter: twitter.com/standard_wealth

Instagram: instagram.com/thestandardwealth

Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP

The post กูรูประกันมองการปรับเงื่อนไขเบิกค่ารักษาผู้ป่วยในสำหรับผู้ติดโควิดของสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นการกลับสู่หลักการที่ถูกต้อง เหตุโควิดกำลังกลายเป็นโรคประจำถิ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมประกันชีวิตไทย ยันทุกบริษัทยังฐานะแข็งแกร่ง ไม่มียกเลิกกรมธรรม์ https://thestandard.co/tlaa-no-cancellation-insurance-policy/ Mon, 15 Nov 2021 12:08:11 +0000 https://thestandard.co/?p=560089 สาระ ล่ำซำ

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ออกแถลงการณ์ยืนยันว่ […]

The post สมาคมประกันชีวิตไทย ยันทุกบริษัทยังฐานะแข็งแกร่ง ไม่มียกเลิกกรมธรรม์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สาระ ล่ำซำ

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทได้ดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงรอบด้าน ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย และไม่มีเงื่อนไขให้บริษัทประกันชีวิตสามารถยกเลิกสัญญาระหว่างทางได้ ยกเว้นแต่มีหลักฐานชัดเจนว่าผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญต่อการรับประกันภัย หรือมีเจตนาทุจริตต่อบริษัท

 

ขณะเดียวกันธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคงและมีระดับความเพียงพอของเงินกองทุนสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด และเพียงพอต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ดังนั้นธุรกิจประกันชีวิตพร้อมที่จะดูแลและให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา

 

จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันชีวิตในทุกแบบผลิตภัณฑ์กับทุกบริษัทประกันชีวิต เชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคงและพร้อมยึดมั่นคำสัญญาที่ระบุไว้ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์

 

“ธุรกิจประกันชีวิตพร้อมอยู่เคียงข้างผู้เอาประกันภัยและคนไทยในทุกสถานการณ์ และปฏิบัติตามพันธสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยเสมอ” สาระกล่าว

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post สมาคมประกันชีวิตไทย ยันทุกบริษัทยังฐานะแข็งแกร่ง ไม่มียกเลิกกรมธรรม์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คปภ. จับมือ 2 สมาคมประกัน เปิดตัว Super APP ให้ตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ที่ถือครองอยู่ทั้งหมดในทุกบริษัท ครบ จบ ในที่เดียว https://thestandard.co/oic-gateway-project-my-policy-app/ Wed, 27 Oct 2021 08:18:53 +0000 https://thestandard.co/?p=552882 insurance business

สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมก […]

The post คปภ. จับมือ 2 สมาคมประกัน เปิดตัว Super APP ให้ตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ที่ถือครองอยู่ทั้งหมดในทุกบริษัท ครบ จบ ในที่เดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
insurance business

สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (27 ตุลาคม) สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทยและสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดให้บริการแอปพลิเคชัน ‘กรมธรรม์ของฉัน’ หรือ MyPolicy บน LINE Official Account ‘คปภ. รอบรู้ (@OICConnect)’ อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนและผู้เอาประกันภัยเข้าถึงข้อมูลกรมธรรม์ของตนเองได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และสอดคล้องกับยุคดิจิทัล       

 

เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ OIC Gateway ที่ คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยได้ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มกลาง หรือตัวกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลด้านประกันภัยระหว่างกันแบบเรียลไทม์ในรูปแบบ Application Programming Interface (API) เข้าด้วยกัน เพื่อลดความยุ่งยากในการตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัย โดยประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนเองถือครองทั้งหมดทุกบริษัท ครบ จบ ในที่เดียว 

 

สุทธิพลกล่าวว่า โครงการ OIC Gateway สามารถต่อยอดและให้บริการได้ในหลายมิติ โดยในระยะที่ 1 ของโครงการ จะมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปเป็นอันดับแรก ซึ่งจะให้บริการ ‘กรมธรรม์ของฉัน หรือ My Policy’ และบริการเสริมอื่นๆ บน LINE Official Account คปภ. รอบรู้ (@OICConnect) เช่น บริการสืบค้นข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัทประกันภัยทั่วประเทศ บริการตรวจสอบสถานะใบอนุญาตตัวแทนประกันภัยและนายหน้าประกันภัย บริการตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งสำนักงาน คปภ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และบริการตรวจสอบที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัทประกันภัย เป็นต้น

 

“แม้ว่าขณะนี้หลายๆ บริษัทประกันภัยจะมีการพัฒนาช่องทางหรือแอปพลิเคชันให้ผู้เอาประกันภัยสามารถตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยของตนเองที่มีกับบริษัทได้ แต่ในทางปฏิบัติ ผู้เอาประกันภัยต้องตรวจสอบทีละบริษัท ทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลา ดังนั้น การให้บริการ ‘กรมธรรม์ของฉัน หรือ MyPolicy’ จึงช่วยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนเองถือครองทั้งหมดทุกบริษัท ครบ จบ ในที่เดียว และยังเป็นการเพิ่มช่องทางให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านประกันภัยได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ผู้เอาประกันภัยในยุคดิจิทัลไลฟ์สไตล์”

 

สำหรับแผนพัฒนาโครงการ OIC Gateway ในระยะที่ 2 สุทธิพลกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขยายขอบเขตการให้บริการเพิ่มเติม ด้วยการพัฒนาระบบให้บริการข้อมูลแก่ภาคธุรกิจ และยกระดับการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านประกันภัยควบคู่ไปกับความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เอาประกันภัย 

 

ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนเองถือครองอยู่ทั้งหมดในทุกบริษัท สามารถแอด LINE Official Account ‘คปภ. รอบรู้ (@OICConnect)’ และลองตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยที่เมนู ‘กรมธรรม์ของฉัน หรือ MyPolicy’ ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post คปภ. จับมือ 2 สมาคมประกัน เปิดตัว Super APP ให้ตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ที่ถือครองอยู่ทั้งหมดในทุกบริษัท ครบ จบ ในที่เดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมประกันชีวิตไทย ยันพร้อมดูแลผู้เอาประกันที่ติดโควิดและรักษาแบบ Home Isolation เผยเบี้ยรับรวมครึ่งปีแรกโต 3.13% https://thestandard.co/tlaa-and-life-insurance-with-home-isolation/ Tue, 03 Aug 2021 12:25:26 +0000 https://thestandard.co/?p=521031 The Thai Life Assurance Association

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมา […]

The post สมาคมประกันชีวิตไทย ยันพร้อมดูแลผู้เอาประกันที่ติดโควิดและรักษาแบบ Home Isolation เผยเบี้ยรับรวมครึ่งปีแรกโต 3.13% appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Thai Life Assurance Association

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมอยู่ระหว่างรวบรวมตัวเลขการเคลมประกันโควิดเพื่อส่งต่อให้กับคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ตามที่ถูกร้องขอ พร้อมยืนยันว่า บริษัทประกันที่เป็นสมาชิกของสมาคมประกันชีวิตไทยทุกแห่งพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 43/2564 ของ คปภ. เรื่อง การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และได้เข้ารับการดูแลรักษาพยาบาลแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation สำหรับบริษัทประกันชีวิต

 

“บริษัทประกันชีวิตทั้งหมดให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพอยู่แล้ว และการคุ้มครองก็ครอบคลุมไปถึงการติดเชื้อไวรัสโควิดด้วย จึงอยากให้ผู้ทำประกันสบายใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ตามเงื่อนไขที่แต่ละบริษัทประกันชีวิตกำหนด” สาระกล่าว

 

สำหรับคำสั่งล่าสุดที่ออกโดย คปภ. นั้น ระบุว่า เมื่อมีการตรวจพบว่าผู้เอาประกันภัยติดเชื้อโควิดและได้รับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ในกรณีที่มีกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากวงเงินความคุ้มครองผู้ป่วยนอกตามความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์ในกรมธรรม์ หรือกรณีตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ให้อนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอกตามความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์ในกรมธรรม์ 

 

ส่วนกรณีกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ก็ให้อนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอกตามความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์ในกรมธรรม์ นอกจากนี้ ยังให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าชดเชยรายวันกรณี Home Isolation หรือ Community Isolation หากมีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล เช่น อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ โดยจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่าชดเชยรายวัน สูงสุด 14 วัน นับแต่วันที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาลแต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ 

 

สาระยังกล่าวอีกว่า นอกจากการให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิดแล้ว ขณะนี้สมาคมประกันชีวิตไทยยังอยู่ระหว่างหารือถึงแนวทางและรูปแบบการจัดสอบออนไลน์ (E-Exam) ที่เหมาะสม มีความโปร่งใสและรัดกุม เพื่อคัดเลือกตัวแทนประกันด้วย เนื่องจากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ตัวแทนมีจำนวนลดลงจากการที่ไม่สามารถเปิดสอบตามปกติได้

 

ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยประเมินแนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตในปี 2564 ว่าเบี้ยรับรวมจะอยู่ที่ 590,000-610,000 ล้านบาท หรือ -1 ถึง +1% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการคาดการณ์แบบระมัดระวัง (Conservative) เนื่องจากทิศทางของสถานการณ์การระบาดยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยจำนวนผู้ติดเชื้อยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งการคาดการณ์ครั้งนี้ยังสอดคล้องกับการคาดการณ์ GDP ของประเทศที่จะขยายตัว 1.5-2.5% ซึ่งอยู่ในระดับฟื้นตัวช้า

 

ส่วนทิศทางผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้น มองว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่จะได้รับความนิยมและมีศักยภาพในการเติบโตสูง คือ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Universal Life และ Unit Linked) เนื่องจากสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำในปัจจุบัน ทำให้ได้รับการตอบรับจากผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้มากขึ้น พร้อมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้ระดับความเสี่ยงที่พอรับได้ รวมถึงได้รับความคุ้มครองจากการประกันชีวิตรวมอยู่ด้วย ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนจึงถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ 

 

สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานธุรกิจประกันชีวิตครึ่งปีแรก พบว่ามีเบี้ยรับรวม 294,897 ล้านบาท เติบโต 3.13% และมีเบี้ยประกันภัยรับปีต่ออายุ 211,151 ล้านบาท ขยายตัว 0.68% โดยมีสัดส่วนจากช่องทางการจัดจำหน่ายหลัก ได้แก่ ช่องทางตัวแทน 48.43% มีอัตราการขยายตัว 0.39% ช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ หรือช่องทางธนาคาร 42.08% ซึ่งขยายตัว 6.45% และช่องทางอื่นๆ อีกเกือบ 10%

The post สมาคมประกันชีวิตไทย ยันพร้อมดูแลผู้เอาประกันที่ติดโควิดและรักษาแบบ Home Isolation เผยเบี้ยรับรวมครึ่งปีแรกโต 3.13% appeared first on THE STANDARD.

]]>