วันนี้ (24 พฤศจิกายน) พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าก […]
The post พิพัฒน์เผย พบ 10 คนไทยแอบลักลอบเข้าไปใช้แรงงานในอิสราเอล เดินทางผ่านประเทศที่ 3 appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (24 พฤศจิกายน) พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า แรงงานไทยกลับจากประเทศอิสราเอลแล้ว 9,500 คน และได้ทราบข่าวว่ามีคนไทยลักลอบกลับไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลประมาณ 10 คน จึงประสานสถานเอกอัครราชทูตว่า แรงงานเหล่านี้เข้าไปทำงานในพื้นที่ใด แต่แน่นอนว่าเมื่อเหตุการณ์สงบมีแรงงานที่แจ้งความจำนงขอกลับไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลประมาณร้อยละ 25
“แต่ถ้าเหตุการณ์สงบแล้วจริงๆ คิดว่าเกินร้อยละ 80 อยากกลับไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล เพราะต้องยอมรับว่าบางคนเพิ่งไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลได้ไม่กี่เดือน บางคนทำได้ 2 ปี ภาระหนี้สินที่เกิดก่อนไปทำงานก็ยังมีอยู่ แม้ว่ารัฐบาลกำลังจะเยียวยาคนละ 50,000 บาท และมีมาตรการพักหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ในวงเงิน 150,000 บาท ระยะเวลา 3 ปี
“แต่หากเขาไม่มีรายได้แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายเงินต้นและดอก จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงานที่จะต้องช่วยให้คนเหล่านี้ให้มีงานทำ แม้ว่าจะไม่ใช่ที่ประเทศอิสราเอลก็ตาม ซึ่งขณะนี้ปลัดกระทรวงแรงงานก็พยายามเจรจากับทางเกาหลี ออสเตรเลีย ซึ่งผมจะไปเจรจาราวๆ กลางเดือนธันวาคมนี้ด้วย” พิพัฒน์กล่าว
ส่วนเรื่องของเงินเยียวยาเพิ่มเติม 50,000 บาท จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายให้แรงงานหรือไม่นั้น เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรียบร้อยแล้ว
“ส่วนแรงงานที่เราจะส่งออกก็ยังไม่ได้ส่งออกจริงๆ เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่สงบ ดังนั้น เงินเยียวยาให้คนที่เดินทางกลับประเทศไทยก็ยังเดินตามแผนที่นายกฯ ได้ให้ไว้ คนที่จะกลับไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล ไม่ใช่ปีนี้ อาจเป็นปีหน้า ต้องสงบเรียบร้อยจริงๆ ถึงจะกล้าส่งแรงงานกลับไป
“เพราะตอนนี้เราเสียหายพอสมควรแล้ว เราไม่อยากทำให้เพื่อนๆ ของเราเสียหายไปมากกว่านี้ คนที่เดินทางกลับประเทศไทยได้เงินเยียวยาร้อยละ 100 เพราะว่านายกฯ เซ็นอนุมัติแล้ว ผ่านสำนักงบประมาณ ผ่านนายกฯ ตอนนี้กลับไปอยู่ที่กระทรวงการคลัง เพื่ออนุมัติเงินแล้ว ถ้าทันวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ ก็แจ้งต่อที่ประชุม ครม. รับทราบได้ทันที กระบวนการก็จบ” พิพัฒน์กล่าว
เมื่อถามว่า ถ้าแรงงานรับเงินแล้วเดินทางกลับประเทศอิสราเอลใน 2-3 เดือน จะมีมาตรการอะไรหรือไม่ พิพัฒน์กล่าวว่า เขาได้สิทธิแล้ว แต่นั่นหมายความว่าต้องให้รัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอลทำความตกลงกันว่า แรงงานไทยไปแล้วเขาจะรับประกันว่าปลอดภัย แต่หากยังมีการสู้รบกันอยู่ คิดว่าทางการอิสราเอลคงไม่รับอย่างเป็นทางการ เพราะมีความเสี่ยง
เมื่อถามย้ำว่า หากรับเงินเยียวยาแล้วแอบกลับไปจะทำอย่างไร พิพัฒน์กล่าวว่า แล้วจะให้ทำอย่างไร ถือว่าเราเชิญชวนเขากลับมา เขาอาจเสียเวลา 2-3 เดือน ขาดรายได้ไปเป็นแสนบาท การที่ได้เงิน 50,000 บาท ทดแทนกันได้ เพราะเขาเสียโอกาส
“แต่เมื่อรัฐบาลเชิญชวนให้กลับ แล้วเขากลับมาแล้ว ก็ควรจะต้องได้รับในสิ่งที่เขาควรจะได้รับ ถือเป็นค่าเสียโอกาส อย่างไรก็ตาม หากแอบกลับไปไม่ผ่านกระทรวงแรงงาน หวังว่าคงจะไม่เกิดขึ้น เท่าที่ทราบอย่างไม่เป็นทางการขณะนี้มีประมาณ 10 คน และแอบไปจากประเทศที่ 3 ไม่ได้เดินทางไปจากประเทศไทย ไปเป็นแรงงานเถื่อน หากประสบเหตุอะไรรัฐบาลอิสราเอลคงมีการดูแล แต่เงินเยียวยาจากภัยสงคราม 15,000 บาทจากกระทรวงแรงงานก็คงให้ไม่ได้” พิพัฒน์กล่าว
เมื่อถามอีกว่า เงินเยียวยา 50,000 บาทสำหรับคนเดินที่ทางกลับ มีระยะเวลากำหนดไว้หรือไม่ว่าต้องกลับภายในเมื่อไร พิพัฒน์กล่าวว่า เปิดเรื่อยๆ จนกว่ารัฐบาลจะประกาศปิด แต่ตอนนี้ยังเปิดให้กลับอยู่ ซึ่งขณะนี้มีคนเดินทางกลับทุกวัน วันละ 20-30 คน
ขณะเดียวกันพิพัฒน์ยังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน กรณีปัญหาแรงงาน ครั้งที่ 1/2566 โดยพิพัฒน์กล่าวว่า ในวันนี้พี่น้องกลุ่มสมัชชาคนจนได้เข้ามาพบผมเพื่อหารือร่วมกันที่จะให้กระทรวงแรงงานช่วยแก้ไขปัญหาพี่น้องแรงงานของกลุ่มสมัชชาคนจนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 19 เรื่อง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน
โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีแก้ไขปัญหาเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน 1 เรื่อง, กรณีใช้กลไกแก้ไขปัญหาในรูปแบบคณะกรรมการ 11 เรื่อง และกรณีที่มีความจำเป็นต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีอีก 7 เรื่อง
“จากการหารือกันกับพี่น้องกลุ่มสมัชชาคนจนในวันนี้ ถือเป็นที่น่าพอใจและได้ข้อสรุปครบถ้วนทุกประเด็นร่วมกัน ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนทั้งในส่วนของกระทรวงแรงงานเอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งการติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติ ซึ่งในเรื่องนี้ผมได้รับปากและยืนยันว่าอะไรที่เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องแรงงานและเกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน เราพร้อมจะดำเนินการให้เร็วที่สุด ส่วนเรื่องใดที่เกี่ยวกับกระทรวงอื่นๆ ผมยินดีที่จะประสานพูดคุยให้ เพื่อเร่งรัดคลี่คลายปัญหาของพี่น้องแรงงานทุกกลุ่มให้ได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดในทุกมิติต่อไป” พิพัฒน์กล่าว
ด้าน บุญยืน สุขใหม่ แกนนำกลุ่มสมัชชาคนจน กล่าวว่า ในนามตัวแทนกลุ่มสมัชชาคนจนต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิพัฒน์ และคณะ ที่เปิดโอกาสให้พี่น้องกลุ่มสมัชชาคนจนได้เข้าพบ พร้อมรับข้อเสนอต่างๆ และรับปากที่จะเร่งรัดปัญหาของพี่น้องแรงงานให้มีความคืบหน้า ซึ่งก็สร้างความพอใจให้กับกลุ่มสมัชชาคนจนอย่างพวกเราเป็นอย่างมาก
The post พิพัฒน์เผย พบ 10 คนไทยแอบลักลอบเข้าไปใช้แรงงานในอิสราเอล เดินทางผ่านประเทศที่ 3 appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (15 พฤศจิกายน) รัฐบาลเปิดตึกสันติไมตรี ทำเนียบรั […]
The post รัฐบาลเปิดทำเนียบฟังความเห็นแก้รัฐธรรมนูญ อดีตแกนนำคณะราษฎร สมัชชาคนจน และ iLaw ร่วมวงด้วย appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (15 พฤศจิกายน) รัฐบาลเปิดตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ต้อนรับตัวแทน 15 กลุ่มจากหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สื่อมวลชน รวมทั้งศิลปินและดารา เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมทั้งรับฟังความเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
โดยในวันนี้ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการจัดทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นผู้ให้การต้อนรับ
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นในวันนี้มีบุคลากรจากองค์กรต่างๆ ซึ่งไม่ได้อยู่คณะกรรมการฯ เช่น iLaw, สมัชชาคนจน, P-Move, ทหาร และตำรวจ อีกทั้งยังมีอดีตแกนนำคณะราษฎรอย่าง มายด์-ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ร่วมอีกด้วย
“รัฐบาลจะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้จะจบได้ ดังนั้นต้นปีใหม่จะได้แนวทางเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ในส่วนการรับฟังความคิดเห็นในส่วนของ สส. และ สว. คณะกรรมการฯ ได้รับข้อมูลแล้ว รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งจะนำแนวทางที่ได้ศึกษาเสนอรัฐบาลจัดทำประชามติต่อไป” ภูมิธรรมระบุ
The post รัฐบาลเปิดทำเนียบฟังความเห็นแก้รัฐธรรมนูญ อดีตแกนนำคณะราษฎร สมัชชาคนจน และ iLaw ร่วมวงด้วย appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (11 ธันวาคม) ที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราช […]
The post 12 พรรคการเมืองร่วมเวทีสมัชชาคนจน ‘เห็นตรง’ รัฐธรรมนูญปี 2560 มีปัญหา ต้องเร่งแก้ appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (11 ธันวาคม) ที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ภาคประชาชนจัดกิจกรรม ‘มนต์รักรัฐธรรมนูญคนจน : เมื่อหิ่งห้อยจะพรายแสง’ จัดโดยสมัชชาคนจน พร้อมด้วยแนวร่วมเครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจน นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ผ่านการร่างผ่านเวทีรับฟังความเห็นทั่วประเทศกว่า 6 เวที
โดยไฮไลต์ที่สำคัญอยู่ที่เวลา 16.15-17.30 น. ในเวทีสัญญาประชาคมเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ มีพรรคการเมืองเข้าร่วมโดยเชิญตัวแทนจาก 12 พรรคการเมือง เช่น พรรคประชาชาติ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคไทยสร้างไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังปวงชนไทย พรรคเสรีรวมไทย และพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมกันแสดงวิสัยทัศน์และจุดยืนต่อข้อเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับคนจน และเพื่อร่วมกันสัญญาประชาคมเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
เบญจา แสงจันทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ และกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ระบุว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เป็นโซ่ตรวนที่ฉุดรั้งความเจริญของประเทศ เป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่รอวันระเบิด สิ่งหนึ่งที่ต้องทำร่วมกัน โดยมีบุคคลชุดพิเศษบางกลุ่มที่ฉุดรั้งประเทศนี้ไม่ให้ก้าวไปสู่อนาคตข้างหน้าอยู่ คอยปัดตกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขทุกร่าง เกือบ 20 ร่าง ยกเว้นร่างเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งเท่านั้น
ด้าน ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ โฆษกพรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า ขณะนี้พรรคกำลังรวบรวม 5 หมื่นรายชื่อ เพื่อเสนอร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่แตะหมวด 1-2 โดยได้ยื่นต่อประธานสภาและเข้าสู่ระบบของรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว ที่ผ่านมาหลายกลุ่มพยายามเสนอแก้ไขทั้งฉบับ แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าต้องทำประชามติ จึงมาเสนอมาเป็นแก้ไขเพิ่มเติมในหนนี้
ขณะที่ ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคเคยยื่นแก้ไขเพิ่มเติม ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จากการเลือกตั้ง แต่มีอุปสรรคคือวาระของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ ต้องตัดอำนาจ ส.ว. ทิ้งเพื่อให้รัฐธรรมนูญแก้ง่ายขึ้น จึงต้องแก้มาตรา 256 ของฉบับปัจจุบัน
ส่วน ชวน ชูจันทร์ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ มองการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ส่วนใดที่ยอมรับร่วมกันได้ ควรจะแก้ ก็แก้ตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้น หากสิ่งใดสำคัญและเป็นไปได้ ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็ยินดีที่จะร่วมแก้ไขในบางมาตรานั้น
ด้าน สุขุมพงศ์ โง่นคำ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย ให้ทัศนะว่าประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ ถือว่ามากที่สุดในโลก เพราะเราอยู่ในวงจรอุบาทว์ เลือกตั้งเสร็จก็มีการกล่าวหาฝ่ายบริหารว่าคดโกง ท้ายที่สุดก็รัฐประหาร จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ วนอยู่อย่างนี้ 13 รอบ
พรรคเพื่อไทยรณรงค์ไม่ให้รับรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เพราะมีที่มาไม่ถูกต้องชอบธรรม ไม่ให้เกียรติประชาชน เราคัดค้านตั้งแต่รัฐธรรมนูญยังไม่ประกาศใช้ พรรคเพื่อไทยขอแก้ไขตั้งแต่วันแรกที่มีโอกาส แต่รัฐสภาไม่เคยแก้ไข เพราะมาตรา 255 และ 256 แก้ไขยากมาก จนแทบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากติดเงื่อนไข ส.ว. และย่อมไม่มี ส.ว. ไหนมาตัดอำนาจตัวเอง
The post 12 พรรคการเมืองร่วมเวทีสมัชชาคนจน ‘เห็นตรง’ รัฐธรรมนูญปี 2560 มีปัญหา ต้องเร่งแก้ appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (22 สิงหาคม) สมัชชาคนจน ซึ่งเป็นเครือข่ายชาวบ้าน […]
The post สมัชชาคนจน ประณามการคุกคามเยาวชน ประกาศสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ เข้าร่วมชุมนุมใหญ่กับนักศึกษา appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (22 สิงหาคม) สมัชชาคนจน ซึ่งเป็นเครือข่ายชาวบ้านที่ได้รับความเดือนร้อนในประเด็นความขัดแย้งในสิทธิการใช้ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม และเครือข่ายอื่นๆ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรื่อง ประณามการคุกคามเยาวชน และประกาศการเข้าร่วมชุมนุมเพื่อประชาธิปไตย โดยมีรายละเอียดระบุว่า
จากการที่สมัชชาคนจนได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ประกาศจะชุมนุมปักหลักที่กรุงเทพมหานคร จนกว่า บารมี ชัยรัตน์ และนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกจับกุม เนื่องจากเข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย จะได้รับการปล่อยตัวโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไขนั้น บัดนี้ บารมี ชัยรัตน์ และนักกิจกรรมทางการเมืองทุกคน ได้รับการประกันตัวและปล่อยตัวแล้ว
อย่างไรก็ตาม สมัชชาคนจนได้ทราบว่า เยาวชนของสมัชชาคนจนในจังหวัดสระแก้ว 2 คน คือ ปั้นฟ้าใส สอาดชอบ และ แป้งศรีไพร สอาดชอบ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากเข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2563 พร้อมกับเพื่อนนักเรียนอีก 2 คน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปที่บ้านของผู้ใหญ่บ้าน และสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านมาห้ามปรามครั้งหนึ่ง และอีกครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ให้ผู้ใหญ่บ้านเรียกตัวเยาวชนให้มาพบ เยาวชนทั้งสองคนไม่ยินยอมไปพบ แต่เพื่อนอีก 2 คนได้ไปพบ และถูกสอบถามข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ ครูที่โรงเรียนก็ได้แจ้งกับทั้งสองคนว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาที่โรงเรียนหลายครั้ง และสั่งให้ครูตักเตือน และล่าสุด ครูได้แจ้งว่า มีผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ‘กรมการปกครอง’ ได้โทรศัพท์มาขอข้อมูลส่วนตัวของทั้งสองคนนี้
สมัชชาคนจนขอประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่คุกคามสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานของนักเรียนและเยาวชนในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมืองโดยสันติ และขอเรียกร้องให้รัฐหยุดการคุกคามนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยโดยทันที
สมัชชาคนจนขอประกาศว่า เราจะยังไม่เดินทางเข้ามาปักหลักชุมนุมในกรุงเทพมหานครในช่วงนี้ แต่สมาชิกของสมัชชาคนจนจะเข้าร่วมการชุมนุมในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยจะเริ่มจากการชุมนุมที่ภาคอีสาน ในวันที่ 24 สิงหาคม 2563 กับแนวร่วมประชาชนอีสานเพื่อประชาธิปไตย ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น เพื่อยืนยันการสนับสนุนข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ ของคณะประชาชนปลดแอก
และหากมีกำหนดการชุมนุมครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานครเมื่อใด สมัชชาคนจนจะเข้าร่วมชุมนุมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา แรงงาน และประชาชนผู้เรียกร้องระบอบประชาธิปไตยโดยทันที ‘การเมืองที่กินได้ ประชาธิปไตยที่เห็นหัวคนจน’
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
The post สมัชชาคนจน ประณามการคุกคามเยาวชน ประกาศสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ เข้าร่วมชุมนุมใหญ่กับนักศึกษา appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (20 สิงหาคม) สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื […]
The post สมัชชาคนจนเรียกร้องปล่อยตัว ‘บารมี’ หยุดดำเนินคดีแกนนำ ลั่นพร้อมจัดชุมนุมอีกครั้ง หากไร้การตอบสนอง appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (20 สิงหาคม) สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง สนับสนุนข้อเรียกร้องของเยาวชนปลดแอก และเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีต่อ บารมี ชัยรัตน์ และแกนนำนักเรียน นักศึกษา ทุกคน โดยมีเนื้อหาระบุว่า
ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลสืบทอดอำนาจ คสช. ได้ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือคุกคามปิดปากคนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ผู้นำแรงงาน นักกิจกรรมทางการเมือง รวมถึงผู้นำของคนจน และสมัชชาคนจนเห็นว่าไม่อาจจะยอมรับการคุกคามประชาชนได้อีกต่อไป
รัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา กดขี่ข่มเหงพี่น้องคนจนมาโดยตลอด เช่น ไล่รื้ออพยพคนจนออกจากที่ทำกิน แย่งชิงทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า เพื่อสร้างเขื่อน เพื่อทำเขตเศรษฐกิจพิเศษ และอื่นๆ ไม่เคยแก้ไขปัญหาของคนจนอย่างจริงใจ ผู้นำของเราถูกเจ้าหน้าที่รัฐติดตาม คุกคาม ข่มขู่ สกัดกั้นไม่ให้เรียกร้องความเป็นธรรม รวมถึงถูกกลั่นแกล้งทางกฎหมายต่างๆ นานา เพื่อสร้างภาระและกีดกันการเข้าถึงความยุติธรรม ดังปรากฏการณ์การจับตัวในยามวิกาลเช่นนี้
เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว นักศึกษา คนงาน เกษตรกร และคนจนอื่นๆ ซึ่งตระหนักในสิทธิและเสรีภาพทางเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ได้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่หมักหมมมานาน จนกระทั่งเกิดการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษาที่นำโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ซึ่ง บารมี ชัยรัตน์ เลขาธิการของสมัชชาคนจน ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การชุมนุม และได้มีโอกาสปราศรัยในเวทีดังกล่าว
สมัชชาคนจนเห็นว่าข้อเรียกร้องทั้ง 3 ประการของกลุ่มเยาวชนปลดแอกสอดคล้องกับจุดยืนของสมัชชาคนจน เพราะพี่น้องคนจนถูกผู้มีอำนาจในนามของรัฐข่มขู่คุกคามเสมอมา เราสนับสนุนให้ยุบสภาฯ เพื่อให้มีผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่มาจากประชาชน เข้ามาแก้ไขปัญหาของคนจน และเราต้องการรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็น ‘ประชาธิปไตยที่กินได้ การเมืองที่เห็นหัวคนจน’ อย่างที่เราเรียกร้องเสมอมา
แต่ขณะนี้ บารมี ชัยรัตน์ เลขาธิการของสมัชชาคนจน ถูกจับกุมดำเนินคดีเพียงเพราะต้องการใช้สิทธิและเสรีภาพตามกฎหมายในการเข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบดังกล่าว ซึ่งการกระทำของรัฐเป็นการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอันเป็นหลักการของระบอบประชาธิปไตย
สมัชชาคนจนขอสนับสนุนข้อเรียกร้องทั้ง 3 ประการของกลุ่มเยาวชนปลดแอก และเรียกร้องให้ปล่อยตัว บารมี ชัยรัตน์ และแกนนำที่ถูกจับกุมในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข พร้อมทั้งยุติการคุกคามดำเนินคดีแกนนำทุกคน สมัชชาคนจนพร้อมที่จะเคลื่อนไหวและปักหลักชุมนุมยืดเยื้อที่กรุงเทพมหานคร หากไม่มีการดำเนินการใดๆ ในทันทีต่อข้อเรียกร้องของเรา
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล
The post สมัชชาคนจนเรียกร้องปล่อยตัว ‘บารมี’ หยุดดำเนินคดีแกนนำ ลั่นพร้อมจัดชุมนุมอีกครั้ง หากไร้การตอบสนอง appeared first on THE STANDARD.
]]>ช่วงสายวันนี้ (7 พฤศจิกายน) เวลา 10.00 น. เกิดเหตุปะทะก […]
The post ตำรวจสกัดสมัชชาคนจนที่ศรีสะเกษ หลังบุกทวงสัญญานายกฯ เรื่องที่ทำกิน appeared first on THE STANDARD.
]]>ช่วงสายวันนี้ (7 พฤศจิกายน) เวลา 10.00 น. เกิดเหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มสมัชชาคนจนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มารักษาความปลอดภัยและรักษาความสงบเรียบร้อย ในโอกาสที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาราชการที่บ้านกระเดาอุ่มแสง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
โดยกลุ่มสมัชชาคนจนที่เดินทางมาในวันนี้ มีเป้าหมายเพื่อยื่นหนังสือต่อ พล.อ. ประยุทธ์ ในการแก้ไขปัญหาเขื่อนหัวนา เขื่อนราษีไศล เขื่อนปากมูล และเขื่อนสิรินธร แต่ปรากฏว่า ถูกเจ้าหน้าที่สกัดกั้นไม่ให้เข้าไปพบ พล.อ. ประยุทธ์ จึงเกิดการปะทะกันขึ้นหลายครั้ง โดยกลุ่มสมัชชาคนจนได้พยายามที่จะฝ่าด่านตำรวจเพื่อเคลื่อนขบวนไปยังบ้านกระเดาอุ่มแสง แต่ว่าโดนสกัดอย่างเต็มที่ จึงเกิดการปะทะกันนานประมาณ 30 นาที เบื้องต้นไม่มีผู้บาดเจ็บ ที่สุดแล้วกลุ่มสมัชชาคนจนได้ปักหลักรอพบ พล.อ. ประยุทธ์ ที่บริเวณหน้าโรงเรียนราษีไศล โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตั้งแถวคุมเข้มอย่างใกล้ชิด
สนิท โกศล แกนนำสมัชชาคนจน กล่าวว่า พวกตนมาในครั้งนี้เพื่อต้องการที่จะมาพบกับ พล.อ. ประยุทธ์ เพื่อขอให้เร่งรัดในการแก้ไขปัญหาฝายหัวนาเขื่อนราษีไศล เขื่อนสิรินธร และเขื่อนปากมูล ซึ่งยังไม่มีการนัดหมายวันประชุมและยังไม่มีการแก้ไขปัญหา
ดังนั้น ในวันที่ พล.อ. ประยุทธ์ เดินทางมาตรวจราชการในจังหวัดศรีสะเกษครั้งนี้ พวกตนจึงรวมตัวกันเพื่อมาทวงถามคำสัญญา ตามที่รัฐบาลได้ตกลงกับสมัชชาคนจนไว้ เพื่อขอให้เร่งรัดในการแก้ไขปัญหาช่วยเหลือชาวบ้านผู้ยากไร้อย่างเร่งด่วนต่อไป
ต่อมา ประทีป กีรติเรขา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้มาพบกับกลุ่มสมัชชาคนจน เพื่อรับทราบปัญหาและข้อเรียกร้องต่างๆ
ทั้งนี้ กลุ่มสมัชชาคนจนได้ออกแถลงการณ์สมัชชาคนจนฉบับที่ 13
“เมื่อไม่ทำตามข้อตกลง เราจึงต้องมาทวงสัญญา”
จากการชุมนุมของสมัชชาคนจนเมื่อวันที่ 6-23 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมานั้น ได้มีการเจรจาและบรรลุข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลและสมัชชาคนจน ดังนี้
1. รัฐบาลได้รับทราบข้อร้องเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบายของสมัชชาคนจน ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในทันที และจะขับเคลื่อนผลักดันการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไป
2. รัฐบาลร่วมกับสมัชชาคนจนได้จัดทำบันทึกข้อตกลง ซึ่งมีกรอบเวลาร่วมกันในการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งจะได้นำผลการจัดทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนำเรียนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งต่อไป โดยในกรณีปัญหาฝายหัวนาและเขื่อนราษีไศล ได้มีข้อตกลงร่วมกันว่าจะกำหนดวันประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฝายหัวนาและเขื่อนราษีไศลในวันเดียวกัน ภายในเดือนตุลาคม 2562
3. สำหรับข้อเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสมัชชาคนจนตามร่างคำสั่งที่สมัชชาคนจนเสนอไว้ จะได้เร่งดำเนินการนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป
4. สำหรับเรื่องที่สมัชชาคนจนมีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งคือ การผ่อนผันให้ทำกินในที่ดินเดิมของสมัชชาคนจนนั้น ในเรื่องนี้ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสมัชชาคนจนและรัฐบาล ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นชอบแล้ว เพื่อแนบกับบันทึกข้อตกลง และนำเรียนที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งต่อไป
เมื่อบรรลุข้อตกลงดังกล่าว พวกเราจึงได้ประกาศยุติการชุมนุมเพื่อแสดงความจริงใจต่อรัฐบาลในวันที่เราเดินทางกลับบ้าน เราเชื่อมั่น ไว้ใจ และมีความหวังอย่างยิ่งว่า ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับสมัชชาคนจนจะได้รับการดำเนินการตามที่ผู้แทนรัฐบาลรับปากไว้ แต่ถึงตอนนี้กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ พวกเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมาทวงถามสัญญากับนายกรัฐมนตรี
“ประชาธิปไตยที่กินได้ การเมืองที่เห็นหัวคนจน”
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล
The post ตำรวจสกัดสมัชชาคนจนที่ศรีสะเกษ หลังบุกทวงสัญญานายกฯ เรื่องที่ทำกิน appeared first on THE STANDARD.
]]>