สนามบินอู่ตะเภา – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 23 Oct 2024 07:12:03 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สุริยะ​ยัน ​แก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม​ 3 สนามบิน​ไม่มีเอื้อประโยชน์​ แจง รัฐ​-​เอก​ชน ​ต่างผิดสัญญาจาก​โควิด https://thestandard.co/suriya-fix-high-speed-train-contract/ Tue, 22 Oct 2024 08:02:32 +0000 https://thestandard.co/?p=998866 สุริยะ

วันนี้ (22 ตุลาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล สุริยะ​ จึงรุ่งเรือ […]

The post สุริยะ​ยัน ​แก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม​ 3 สนามบิน​ไม่มีเอื้อประโยชน์​ แจง รัฐ​-​เอก​ชน ​ต่างผิดสัญญาจาก​โควิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุริยะ

วันนี้ (22 ตุลาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล สุริยะ​ จึงรุ่งเรืองกิจ​ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม​ กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขสัญญารถไฟความเร็วสูง​เชื่อม 3 สนามบิน​ (อู่ตะเภา-​สุวรรณ​ภูมิ​-ดอนเมือง​) ​ว่า​ วันนี้ยังไม่เข้าศูนย์ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณา พร้อมยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาเกิดจากภาคเอกชนและรัฐผิดสัญญาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด

 

ทั้งนี้ ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า รัฐบาลไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนได้ ขณะที่เอกชนก็ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงเป็นสถานการณ์ที่ต่างคนต่างผิดสัญญาและต้องพิจารณาใหม่​ เนื่องจากเป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งหากเชื่อม 3 สนามบินได้จะทำให้ประชาชนเดินทางสะดวกและการค้าขายดีขึ้น จึงต้องเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป รวมทั้งต้องพิจารณาร่วมกันในการแก้ไขสัญญาเพื่อไม่ให้รัฐเสียประโยชน์ โดยสัญญาเดิมจะให้เอกชนสร้างจนเสร็จและหลังจากนั้น 10 ปี รัฐบาลจะค่อยชำระเงิน

 

ขณะที่สัญญาใหม่​จะให้เอกชนนำเงินมาวางค้ำประกันจากธนาคารเพื่อการันตี​ และเมื่อสร้างเสร็จรัฐบาลจะคืนหนังสือค้ำประกันโดยธนาคาร​การันตี​ให้​ ทั้งนี้ ในการก่อสร้าง​แล้วเสร็จแต่ละช่วง​จะแบ่งเป็นแต่ละสัญญา​ หากมีการทิ้งงาน รัฐจะนำเงินค้ำประกันจ้างผู้ประกอบการรายใหม่​

 

สุริยะ​กล่าวยืนยันว่า​ ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใหญ่ โดยในส่วนของดอกเบี้ยเอกชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมระบุว่าไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้ได้เนื่องจากให้อัยการตรวจสอบสัญญาทั้งหมดแล้ว โดยการนำเข้า ครม. จะผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยมี พิชัย ชุณห​วชิร​ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง​ เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งเชื่อว่าจะสามารถทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเข้าใจการแก้ไขสัญญาโครงการดังกล่าวได้

The post สุริยะ​ยัน ​แก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม​ 3 สนามบิน​ไม่มีเอื้อประโยชน์​ แจง รัฐ​-​เอก​ชน ​ต่างผิดสัญญาจาก​โควิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ เตรียมลงพื้นที่ชลบุรี-ระยอง ศึกษาสถานที่สร้างสนามแข่ง F1 ใกล้สนามบินอู่ตะเภา 22-23 มิ.ย. นี้ https://thestandard.co/prime-minister-f1-chonburi-rayong/ Fri, 21 Jun 2024 03:30:12 +0000 https://thestandard.co/?p=947878 นายก F1

วันนี้ (21 มิถุนายน) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ […]

The post นายกฯ เตรียมลงพื้นที่ชลบุรี-ระยอง ศึกษาสถานที่สร้างสนามแข่ง F1 ใกล้สนามบินอู่ตะเภา 22-23 มิ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายก F1

วันนี้ (21 มิถุนายน) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ เศรษฐา ทวีสิน นายก รัฐมนตรี ในช่วงวันที่ 22-23 มิถุนายน มีกำหนดการลงพื้นที่พัทยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ติดตามการท่องเที่ยว ตรวจเยี่ยมสนามบินอู่ตะเภา เพื่อพูดคุยหารือประเด็นปัญหาและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ รองรับการลงทุนในพื้นที่ EEC พร้อมศึกษาเส้นทางการแข่งขัน F1 ที่บริเวณเขาพระตำหนัก อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ก่อนที่ในช่วงเย็นจะเดินทางไปยังท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อติดตามและเร่งรัดการสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงพื้นที่ศึกษาดูเส้นทางการแข่งขัน F1 สืบเนื่องจากช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายกฯ เดินทางไปกรุงโรม อิตาลี เยี่ยมชมสนามแข่งรถ Autodromo Internazionale Enzo e Dino Ferrari ที่เมืองโบโลญญา พร้อมพบกับผู้บริหารสนาม โดยทางรัฐบาลต้องการจัดการแข่งขัน 1 ในไทย เพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว จึงจะใช้ที่ดินบริเวณอู่ตะเภาในการสร้างสนามแข่งขันด้วย

 

ด้าน ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “การเดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดชลบุรี และระยอง ในครั้งนี้ของนายกฯ เพื่อตรวจติดตามการดำเนินงานต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลและนายกฯ ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยนายกฯ ได้เน้นย้ำให้ความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ EEC การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นที่โลจิสติกส์ และการพัฒนาเมืองให้เหมาะสมต่อการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมในการลงทุน ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่ อีกทั้งการศึกษาพื้นที่เตรียมเส้นทางการแข่งขัน F1 จะเป็นอีกนโยบายด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในไทย”

The post นายกฯ เตรียมลงพื้นที่ชลบุรี-ระยอง ศึกษาสถานที่สร้างสนามแข่ง F1 ใกล้สนามบินอู่ตะเภา 22-23 มิ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
90 แรงงานคนไทยจากอิสราเอลถึงสนามบินอู่ตะเภาแล้ว นายกฯ สั่งทุกหน่วยงานเตรียมยุทโธปกรณ์เร่งรับแรงงานที่เหลือให้เร็วที่สุด https://thestandard.co/90-thai-workers-arrive-thailand/ Sun, 15 Oct 2023 05:32:52 +0000 https://thestandard.co/?p=854826 90 แรงงานไทย ใน อิสราเอล ถึงประเทศไทยแล้ว

วันนี้ (15 ตุลาคม) เวลา 07.25 น. ที่สนามบินอู่ตะเภา จัง […]

The post 90 แรงงานคนไทยจากอิสราเอลถึงสนามบินอู่ตะเภาแล้ว นายกฯ สั่งทุกหน่วยงานเตรียมยุทโธปกรณ์เร่งรับแรงงานที่เหลือให้เร็วที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
90 แรงงานไทย ใน อิสราเอล ถึงประเทศไทยแล้ว

วันนี้ (15 ตุลาคม) เวลา 07.25 น. ที่สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ได้สั่งการให้ พล.ร.อ. สิทธิชัย ต่างใจ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา พร้อม พล.ร.ต. เดือน พร้อมมณี ผู้บัญชาการกองการบินทหารเรือ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ มาให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกให้พี่น้องคนไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศอิสราเอล จำนวน 90 คน โดยสายการบิน flydubai เที่ยวบิน FZ 8991 ซึ่งจะมาถึงสนามบินอู่ตะเภา ให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การช่วยเหลือพี่น้องคนไทยให้กลับสู่อ้อมกอดของครอบครัวได้เร็วที่สุด 

 

ทั้งนี้การท่าอากาศยานอู่ตะเภาได้เตรียมอาหารกล่องและน้ำดื่มไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้พี่น้องคนไทยได้รับประทานอย่างเพียงพอ ซึ่งจะเป็นอาหารเช้ามื้อแรกบนแผ่นดินไทย นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำกับหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ระดมสรรพกำลัง ยุทโธปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ เร่งให้การช่วยเหลือนำพี่น้องคนไทยที่สมัครใจเดินทางกลับมาจากประเทศอิสราเอลให้ได้เร็วที่สุด  

 

ในส่วนของกองทัพเรือนั้นจะมีสายการบิน flydubai ที่บินตรงมาจากเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาลงที่สนามบินอู่ตะเภาทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน ซึ่งเที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินพิเศษ ตามที่รัฐบาลได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมมนาคม และกระทรวงกลาโหมประสานงานกัน

 

“เมื่อพี่น้องคนไทยได้ผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อยแล้วจะมีรถบัสนำพี่น้องคนไทยไปพักผ่อนที่โรงแรม SC Park เขตวังทองหลาง กทม. เพื่อรอให้ญาติพี่น้องมารับกลับภูมิลำเนาต่อไป กองทัพเรือหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ดูแลรับใช้พี่น้องคนไทยให้ได้กลับบ้าน สู่อ้อมกอดของครอบครัวอย่างอบอุ่นและปลอดภัย ภายใต้นโยบายที่ผู้บัญชาการทหารเรือได้มอบให้ไว้ จะทำให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานที่ประชาชนชาวไทย เชื่อมั่นและภาคภูมิใจ”

The post 90 แรงงานคนไทยจากอิสราเอลถึงสนามบินอู่ตะเภาแล้ว นายกฯ สั่งทุกหน่วยงานเตรียมยุทโธปกรณ์เร่งรับแรงงานที่เหลือให้เร็วที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลแจงกรณีมหาดไทยออกกฎกระทรวงอนุญาตสถานบริการเปิด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมเฉพาะในสนามบินอู่ตะเภา ไม่รวมพื้นที่อื่นชลบุรี-ระยอง https://thestandard.co/24-hour-entertainment-u-tapao/ Sun, 27 Aug 2023 03:48:07 +0000 https://thestandard.co/?p=834220

วันนี้ (27 สิงหาคม) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนัก […]

The post รัฐบาลแจงกรณีมหาดไทยออกกฎกระทรวงอนุญาตสถานบริการเปิด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมเฉพาะในสนามบินอู่ตะเภา ไม่รวมพื้นที่อื่นชลบุรี-ระยอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (27 สิงหาคม) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดวันเวลาเปิด-ปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ออกโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้สถานบริการเปิดบริการได้ 24 ชั่วโมงในเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งภายหลังการเผยแพร่กฎกระทรวงดังกล่าวปรากฏว่า สังคมบางส่วนได้มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นการอนุญาตที่ครอบคลุมถึงพื้นที่โดยรอบด้วยนั้น

 

ไตรศุลีกล่าวว่า ในกรณีนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ยืนยันว่า การอนุญาตให้เปิดบริการ 24 ชั่วโมงของสถานบริการจะมีได้เฉพาะในเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) เรื่อง กำหนดเขตส่งเสริม: เมืองการบินภาคตะวันออก ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งอยู่ในสนามบินอู่ตะเภาเท่านั้น 

 

ไม่ครอบคลุมถึงพื้นที่โดยรอบหรือเมืองท่องเที่ยวต่อเนื่องอื่น เช่น เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี หรือพื้นที่อื่นในจังหวัดระยอง โดยพื้นที่อื่นๆ ภายนอกเขตส่งเสริมเมืองการบินยังต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การเปิด-ปิดสถานบริการตามปกติ

 

ไตรศุลีกล่าวต่อว่า เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออกตามประกาศของบอร์ดอีอีซีครอบคลุมพื้นที่ 6,500 ไร่ในสนามบินอู่ตะเภาเท่านั้น ซึ่งการอนุญาตนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับกิจการภายในสนามบินที่จะต้องมีการบินเข้า-ออกทั้งในส่วนของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า ที่จะต้องมีอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจำเป็นต้องมีบริการของกิจการร้านค้าต่างๆ เปิดให้บริการรองรับ เช่นเดียวกับสนามบินนานาชาติอื่นๆ เช่น สุวรรณภูมิ และดอนเมือง ที่ก็มีการอนุญาตให้ร้านค้าและบริการต่างๆ เปิดบริการในสนามบินได้ 24 ชั่วโมงเช่นกัน และการอนุญาตนี้จะสนับสนุนให้สนามบินอู่ตะเภามีบริการที่ครบวงจร สามารถดึงดูดการท่องเที่ยวและการลงทุนให้เกิดในพื้นที่อีอีซีในภาพรวมได้

 

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เป็นหนึ่งในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีตามนโยบายของรัฐบาล มีเป้าหมายคือยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี ส่งเสริมให้อีอีซีสามารถเป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจ อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปทางตะวันออกอย่างสะดวก ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่อาเซียน

 

สำหรับเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออกในสนามบินอู่ตะเภา ประกอบไปด้วยโครงการหลักหลายโครงการ เช่น อาคารผู้โดยสารที่รองรับเที่ยวบินพาณิชย์ขนส่งผู้โดยสาร, ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน, ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance, Repair and Overhaul), เขตประกอบการค้าเสรีและเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (Cargo Village or Free Trade Zone), ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Cargo Complex) และศูนย์ฝึกอบรมการบิน (Aviation Training Centre)

The post รัฐบาลแจงกรณีมหาดไทยออกกฎกระทรวงอนุญาตสถานบริการเปิด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมเฉพาะในสนามบินอู่ตะเภา ไม่รวมพื้นที่อื่นชลบุรี-ระยอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 พัฒนาแหล่งน้ำต่อเนื่อง รองรับ EEC https://thestandard.co/government-continues-to-develop-u-tapao-airport-high-speed-train-eec/ Mon, 09 Aug 2021 03:11:07 +0000 https://thestandard.co/?p=523178 Anucha Burapachaisri

วันนี้ (9 สิงหาคม) อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกร […]

The post รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 พัฒนาแหล่งน้ำต่อเนื่อง รองรับ EEC appeared first on THE STANDARD.

]]>
Anucha Burapachaisri

วันนี้ (9 สิงหาคม) อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามและรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการต่างๆ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

  1. การจัดหาแหล่งน้ำรองรับพื้นที่ EEC เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นและวางแผนระยะยาวให้ยั่งยืน โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำจนถึงปี พ.ศ. 2580 มีทั้งสิ้น 38 โครงการ มูลค่า 52,874.47 ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 9 โครงการ

 

นอกจากนี้ยังมีโครงการผลิตน้ำจืดจากทะเล (Desalination) ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการจัดทำโครงการ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงและพัฒนาอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่พื้นที่ 3,348 ไร่ โดยมอบหมายให้กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ 4 แหล่งที่มีศักยภาพสูง และสามารถนำมาใช้ได้ถึง 4,039 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

  1. ความก้าวหน้าการลงทุนใน EEC มีมูลค่าสูงถึง 1,594,282 ล้านบาท (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564) โดยมีการลงทุนที่สำคัญๆ เช่น โครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน ซึ่งได้ผู้ลงทุน 4 โครงการหลัก มูลค่ารวม 633,401 ล้านบาท การส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนคู่สัญญาในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีความคืบหน้า 86% แล้ว พร้อมส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกันยายน 2564 รวมทั้งการยกระดับแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก จัดทำแผนแม่บทสนามบินอู่ตะเภาฉบับสมบูรณ์ พร้อมเริ่มว่าจ้างผู้ออกแบบระดับโลก และกองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่งที่ 2 และงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว

 

  1. ท่าเรือแหลมฉบัง ได้ข้อตกลงในร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนเรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยจะเร่งนำเสนอ ครม. พิจารณา และลงนามสัญญาต่อไป

 

นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาแก้ปัญหาซ้อนทับโครงการรถไฟความเร็วเชื่อมสามสนามบินและโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ในช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องใช้แนวเส้นทางและจำเป็นต้องมีโครงสร้างโยธาทั้งเสาและฐานรากร่วมกัน (โครงสร้างโยธาร่วม) แต่ระยะเวลาการก่อสร้างและมาตรฐานเทคนิคทั้งสองโครงการไม่สอดคล้องกัน โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย จะหาแนวทางร่วมกันกับเอกชนคู่สัญญา ในส่วนการปรับหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของรัฐ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักไม่ให้เกิดงบประมาณเพิ่มเติมและแผนก่อสร้างทั้งสองโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในเบื้องต้นให้สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ที่ความเร็ว 250 กม./ชม. ตลอดเส้นทาง

 

นายกรัฐมนตรียังได้ให้แนวคิดการจัดทำโครงการ EEC ให้วางแผนไปถึงอนาคต ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ของกระทรวงคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งภายในประเทศ ภูมิภาค และประเทศอื่นๆ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งให้สอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทยด้วย

The post รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 พัฒนาแหล่งน้ำต่อเนื่อง รองรับ EEC appeared first on THE STANDARD.

]]>
เดินหน้าสร้าง EEC ด้วยพลังของชุมชนคนรุ่นใหม่ [Advertorial] https://thestandard.co/eec-tambon-mobile-team/ Mon, 28 Dec 2020 12:40:57 +0000 https://thestandard.co/?p=436012 EEC

ความเคลื่อนไหวในรอบปี 2563 ของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะ […]

The post เดินหน้าสร้าง EEC ด้วยพลังของชุมชนคนรุ่นใหม่ [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
EEC

ความเคลื่อนไหวในรอบปี 2563 ของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC นอกเหนือจากความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 EEC ยังมีความก้าวหน้าในด้านการพัฒนาชุมชนด้วย โดยเฉพาะการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ เพื่อระดมพลังมาร่วมกันพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 3 จังหวัดของ EEC

 

ในปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดของ EEC ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง เพื่อผนึกกำลัง องค์ความรู้ ภูมิปัญญาจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต ผ่านโครงการสำคัญๆ ได้แก่

 

 

โครงการเสริมสร้างพลังและการมีส่วนร่วมของกลุ่มสตรี

สกพอ. ได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมให้มีการดูแลและเฝ้าระวังด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ EEC เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม

การตั้งรับและการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่อาจส่งผลในทางตรงและทางอ้อมต่อชุมชนและท้องถิ่น พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเครือข่ายสตรีกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างองค์ความรู้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเอง ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำร่องกลุ่มสตรีในพื้นที่ 3 จังหวัด จังหวัดละ 60 คน

 

 

โครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบในพื้นที่ EEC

สกพอ. ได้สนับสนุนให้บัณฑิตจบใหม่ ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ มาร่วมทำหน้าที่สำรวจข้อมูลเชิงลึกในทุกมิติทั้งระดับอำเภอและชุมชน พร้อมทั้งรายงานผลกระทบจากการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งด้านคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาวางแผน แก้ไขปัญหา หรือพัฒนา ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

 

 

โดย สกพอ. ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชนและมหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้การลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ของทั้ง 3 หน่วยงาน และได้จัดอบรมบัณฑิตอาสาต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้บัณฑิตอาสาต้นแบบมีความพร้อมทั้งทักษะความรู้และพร้อมทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการลงพื้นที่ และในอนาคตก็ยังมีแผนงานที่จะพัฒนาและสร้างบัณฑิตอาสารุ่นต่อๆ ไป ขึ้นมาเป็นผู้นำและมีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบ

 

 

โครงการเยาวชนอาสาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

โดยมีเป้าหมายในการปลูกฝังให้เยาวชน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ EEC ให้มีจิตสำนึกที่คำนึงถึงแนวทางการพัฒนาพื้นที่ EEC ควบคู่กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างถูกต้อง โดย สกพอ. ได้ร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยโครงการป่าสิริเจริญวรรษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี เป็นหน่วยงานดำเนินการค่ายเยาวชนอาสาจำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 80 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน

EEC Tambon Mobile Team

 

โครงการ ‘EEC Tambon Mobile Team’

โดยความร่วมมือจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อเสริมสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจอันดีให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ต่อโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ผ่านหัวหน้าหน่วยงานระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ครอบคลุม 30 อำเภอ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ให้สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และมีความเข้าใจต่อการพัฒนาพื้นที่ตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล รายงานปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่ให้ สกพอ. ทราบ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 2,700 คน

 

โครงการเสริมศักยภาพเครือข่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนา EEC

เป็นโครงการที่ต่อยอดผลการดำเนินงานจากปี 2562 เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับต่อการขยายตัวในพื้นที่ EEC ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาและสร้างพลเมืองสีเขียว (Green Citizen) โดยต้องการสร้างเยาวชนให้เป็นผู้นำหรือต้นแบบ (Idol) ให้แก่

เยาวชนรุ่นน้องในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ตลอดจนเสริมสร้างทักษะเพิ่มขีดความสามารถผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการศึกษาดูงานในพื้นที่ EEC พร้อมทั้งยังสร้างองค์ความรู้ให้กับครูและนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ EEC ให้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาในโครงการ EEC และโครงการสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นครูและนักเรียนจำนวน 19 โรงเรียน

 

 

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการของโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ผ่านการจัดทำสื่อออนไลน์ (คลิปวิดีโอ) แสดงมาตรการการป้องกัน ซึ่งเป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ เช่น การจัดเตรียมแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน การประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกวิธี และการจัดทำเส้นแบ่งการเดินขึ้นอาคารเรียน เพื่อไม่ให้เกิดความแออัด เป็นต้น

 

 

 

The post เดินหน้าสร้าง EEC ด้วยพลังของชุมชนคนรุ่นใหม่ [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
อีอีซี-อีสท์ วอเตอร์ ลงนามเช่าที่ดิน 35 ไร่ ลงทุน 1,100 ล้านบาท สร้างระบบประปา-บำบัดน้ำเสีย รองรับเมืองการบินอู่ตะเภา https://thestandard.co/eec-east-water/ Fri, 04 Dec 2020 10:06:53 +0000 https://thestandard.co/?p=428715

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกมีก […]

The post อีอีซี-อีสท์ วอเตอร์ ลงนามเช่าที่ดิน 35 ไร่ ลงทุน 1,100 ล้านบาท สร้างระบบประปา-บำบัดน้ำเสีย รองรับเมืองการบินอู่ตะเภา appeared first on THE STANDARD.

]]>

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกมีกำหนดส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนในสิ้นปี 2564 จากนั้นใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี และเปิดใช้ในปีถัดไปคือ 2568 

 

การลงทุนกิจการงานระบบประปาและบำบัดน้ำเสียสำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกจึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับศูนย์กลางการบินแห่งที่ 3 ของประเทศในอนาคต

 

 

โดยรูปแบบการลงทุนคือภาครัฐ (EEC) แบ่งพื้นที่ราชพัสดุ 35 ไร่ให้กับบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรืออีสท์ วอเตอร์ ลงทุนมูลค่ารวม 1,066 ล้านบาท สร้างโรงงานระบบประปาและบำบัดน้ำเสีย รวมถึงระบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ หรือน้ำรีไซเคิล ตลอดระยะเวลาสัญญา 29 ปี 6 เดือน ส่วนระบบการส่งน้ำประปาเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสนามบินอู่ตะเภา

 

ขณะที่ผลตอบแทนที่รัฐจะได้รับคือค่าเช่าที่ดิน 1.1 แสนบาทต่อเดือน ขึ้นค่าเช่า 9% ทุกๆ 3 ปี, แบ่งรายได้จากการขายน้ำให้รัฐ 7% ของรายได้ รวมถึงค่าจัดประโยชน์ให้กับรัฐประมาณ 18-20 ล้านบาท

 

 

โครงการนี้ผ่านการเจรจาและพิจารณาสัญญาอย่างละเอียดรัดกุมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัฐอย่างดีที่สุด จนที่สุดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) โดย ทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในฐานะผู้ให้เช่า ได้ลงนามในสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุกับบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรืออีสท์ วอเตอร์ โดย จิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ในฐานะผู้เช่า เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่า พร้อมด้วยสักขีพยานในพิธี ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

 

 

ทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า โครงการพัฒนาสนามบินและเมืองการบินภาคตะวันออกเป็นโครงการเอกชนร่วมลงทุน หรือ PPP ที่ได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา โดยสัญญาร่วมลงทุนได้กำหนดไว้ให้คู่สัญญาฝ่ายรัฐเป็นผู้จัดหาสาธารณูปโภคประปาและระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องใช้ในพื้นที่โครงการ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล เนื่องจากสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยและเป็นศูนย์กลางด้านการบินในอนาคต 

 

ทั้งนี้ กองทัพเรือและ สกพอ. เล็งเห็นความสำคัญของการใช้น้ำอย่างประหยัดภายในพื้นที่โครงการ จึงได้กำหนดให้มีขอบเขตของการนำน้ำกลับมารีไซเคิล โดยระบุในเอกสารการคัดเลือกผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบกิจการสาธารณูปโภคนอกเหนือจากงานระบบประปาและบำบัดน้ำเสีย

 

โดย บริษัท อีสท์ วอเตอร์ เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้เช่าที่ราชพัสดุในเขตส่งเสริม พื้นที่ 35 ไร่ เพื่อประกอบกิจการด้านงานระบบประปา ระบบน้ำเสีย ระบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่หรือน้ำรีไซเคิลตลอดระยะเวลาสัญญา 29 ปี 6 เดือน ซึ่งเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจร สร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

ขณะที่ จิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อีสท์ วอเตอร์ เปิดเผยว่า อีสท์ วอเตอร์ มีแนวคิดในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา โดยมีระบบท่อส่งน้ำดิบหนองปลาไหล – ดอกกราย – มาบตาพุด – สัตหีบ สามารถส่งจ่ายน้ำดิบได้มากถึง 318 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือประมาณ 0.87 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน อีกทั้งได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมการวางท่อส่งน้ำมาบตาพุด – สัตหีบ เส้นที่ 2 เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต เพิ่มศักยภาพการส่งจ่ายน้ำดิบในอีก 10 ปีถัดไปได้อย่างเพียงพอยิ่งขึ้น

 

นอกจากนี้ อีสท์ วอเตอร์ มีการออกแบบระบบผลิตน้ำประปาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ขนาดกำลังการผลิต 20,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งเป็นการผลิตน้ำประปาที่สะอาด มีคุณภาพระดับสากล ลดการใช้พื้นที่ติดตั้ง มีกำลังการผลิตได้ตามความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้เหมาะกับโครงการที่เป็นการพัฒนาพื้นที่

ในระยะยาว รองรับน้ำเสีย 16,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สร้างระบบน้ำรีไซเคิลกำลังการผลิต 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในระบบทำความเย็นกลาง

 

ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายยืนยันว่าโครงการใส่ใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตั้งเป้าหมายให้การพัฒนาโครงการอยู่ควบคู่ไปด้วยกันได้กับชุมชนโดยรอบสนามบินอู่ตะเภา

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post อีอีซี-อีสท์ วอเตอร์ ลงนามเช่าที่ดิน 35 ไร่ ลงทุน 1,100 ล้านบาท สร้างระบบประปา-บำบัดน้ำเสีย รองรับเมืองการบินอู่ตะเภา appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ เยี่ยมชมระบบป้องกันโควิด-19 สนามบินอู่ตะเภา ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ https://thestandard.co/prayut-visits-covid-19-protection-system-utapao-airport/ Mon, 24 Aug 2020 10:12:47 +0000 https://thestandard.co/?p=391176 นายกฯ เยี่ยมชมระบบป้องกันโควิด-19 สนามบินอู่ตะเภา ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ

วันนี้ (24 สิงหาคม) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมน […]

The post นายกฯ เยี่ยมชมระบบป้องกันโควิด-19 สนามบินอู่ตะเภา ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ เยี่ยมชมระบบป้องกันโควิด-19 สนามบินอู่ตะเภา ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ

วันนี้ (24 สิงหาคม) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน พร้อมเยี่ยมชมมาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก่อนเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ โดยมี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ

 

โดย พล.อ. ประยุทธ์ ได้เยี่ยมชมจุดคัดกรอง ช่องทางด่านเข้าออกระหว่างประเทศ ทั้งนี้ผู้เดินทางทุกคนจะถูกคัดกรอง วัดอุณหภูมิร่างกาย และตรวจสุขภาพตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด หากพบผู้เดินทางที่ไม่ผ่านการคัดกรอง คือมีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือมีอาการตามนิยามผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) จะถูกสอบสวนโรคที่ห้องแยกกัก และรายงานข้อมูลไปที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี กรมควบคุมโรค และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง เพื่อทำการส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามระบบ 

 

และผู้เดินทางที่ผ่านการคัดกรองอุณหภูมิและเอกสารทางราชการแล้วจะต้องลงทะเบียนเช็กอิน รับสัมภาระที่ทำลายเชื้อแล้ว และขึ้นรถขนส่งไปยังสถานที่กักตัวที่รัฐกำหนด (State Quarantine) หรือสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine) จนครบ 14 วัน โดยจะมีการตรวจหาเชื้อผู้เข้าพักทุกคนระหว่างอยู่ในสถานที่กักตัวอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อยืนยันให้มั่นใจว่าจะไม่มีการแพร่เชื้อเพื่อความปลอดภัย

 

ทางด้านอนุทินกล่าวว่ารัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา จังหวัดระยอง มีภารกิจคัดกรองคนไทยที่เดินทางกลับประเทศก่อนเข้าสู่สถานที่กักตัวที่รัฐกำหนด โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อม ทั้งมาตรการควบคุมป้องกันบุคลากรและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และการท่าอากาศยาน ที่ผ่านมาได้คัดกรองผู้เดินทางและลูกเรือ เช่น คนไทยกลับบ้านที่เดินทางจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน, กลุ่มนักเรียนแลกเปลี่ยน (AFS) ชาวไทยจากสหรัฐอเมริกา และกลุ่มทหารจากประเทศอียิปต์ 

 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลผู้เดินทางและได้รับการคัดกรองในระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 19 สิงหาคม 2563 มีจำนวน 665 เที่ยวบิน รวม 120,329 ราย ส่งตรวจหาเชื้อทั้งหมด 580 ราย พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค จำนวน 269 ราย ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 6 ราย ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นในจังหวัดระยอง และยังคงมาตรการเข้มข้น โดยตรวจคัดกรองผู้เดินทางทุกคน เมื่อพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคจะนำส่งเข้าสู่ระบบต่อไป

 

นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมเสนอโครงการยกระดับระบบบริการสุขภาพรองรับโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก 1 และพื้นที่ใกล้เคียงแก่คณะรัฐมนตรี เพื่อรองรับและเพิ่มศักยภาพการดูแลรักษาโรคอุบัติใหม่และโรคที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีการขยายตัวรวดเร็วจากการเติบโตของภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้มีประชาชนโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพ ส่งผลให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีศักยภาพ คุณภาพดียิ่งขึ้น ลดความแออัดในการเข้ารับบริการ และเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุข

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post นายกฯ เยี่ยมชมระบบป้องกันโควิด-19 สนามบินอู่ตะเภา ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงนามสัญญาพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ‘ประยุทธ์’ ขอบคุณ ‘สมคิด’ ที่ริเริ่ม EEC พร้อมขับเคลื่อนต่อ https://thestandard.co/prayut-signed-a-contract-to-develop-u-tapao-airport/ Fri, 19 Jun 2020 05:33:34 +0000 https://thestandard.co/?p=373203

วันนี้ (19 มิถุนายน) ที่ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบร […]

The post ลงนามสัญญาพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ‘ประยุทธ์’ ขอบคุณ ‘สมคิด’ ที่ริเริ่ม EEC พร้อมขับเคลื่อนต่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 มิถุนายน) ที่ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ระหว่างสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นเฉพาะกิจโดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบไปด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

 

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกถือเป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักสําคัญของ EEC มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ทําให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี

 

นอกจากนี้โครงการฯ จะทําให้เกิดศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมาย โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ Logistics & Aviation รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของมหานครการบินภาคตะวันออกที่ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประมาณ 30 กิโลเมตรโดยรอบสนามบิน (พัทยาถึงระยอง) ซึ่งเป็นการสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสําคัญของประเทศไทย โดยเข้าเชื่อมโยงเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปทางตะวันออกที่สามารถเชื่อมโยงกันได้สะดวกทั้งทางน้ํา ทางบก และทางอากาศ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย

 

ขณะที่ พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่าทุกคนยินดีที่โครงการมีความคืบหน้า ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนต่อเนื่องจากการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มมาตั้งแต่รัฐบาลแรกที่มี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เริ่มโครงการ จนมาถึงวันนี้มี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี มาขับเคลื่อนต่อ ตนขอบคุณทุกคนและทุกภาคส่วนที่ริเริ่มมาด้วยกัน กว่าจะถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย โครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักของ EEC ที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาค

 

พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวอีกว่าเราจะต้องเป็น New Normal คิดใหม่ ชีวิตที่เป็นปกติใหม่ เราต้องมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น คือความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ซึ่งไม่มีอะไรทำได้โดยคนคนเดียวหรือเพียงหน่วยงานเดียว 

 

“ผมคาดหวังว่าสิ่งที่ทำในวันนี้จะเป็นประโยชน์เพื่ออนาคต โครงการนี้มีอายุสัญญาโครงการกว่า 50 ปี พวกเราใครจะอยู่ก็อยู่ ผมก็หวังว่าจะอยู่กันได้ทุกคน แต่ไม่ว่าเราจะอยู่หรือไม่อยู่ โครงการนี้ก็จะอยู่คู่กับประเทศยาวนานเป็นร้อยปี” พล.อ. ประยุทธ์ กล่าว

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ลงนามสัญญาพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ‘ประยุทธ์’ ขอบคุณ ‘สมคิด’ ที่ริเริ่ม EEC พร้อมขับเคลื่อนต่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครม. รับทราบเดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก https://thestandard.co/development-of-u-tapao-airport-and-eastern-aviation-city/ Tue, 02 Jun 2020 09:06:46 +0000 https://thestandard.co/?p=369018

วันนี้ (2 มิถุนายน) รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนาย […]

The post ครม. รับทราบเดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (2 มิถุนายน) รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เรื่อง โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

 

  1. รับทราบผลการคัดเลือกบริษัทเอกชนที่ได้รับสิทธิสัมปทานและเป็นผู้ร่วมลงทุน คือกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ซึ่งเป็นบริษัทที่เสนอเงินประกันผลตอบแทนค่าเช่าและส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำให้แก่รัฐได้สูงที่สุด 

 

  1. อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกลงนามในสัญญาร่วมทุนกับนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยเอกชนที่ได้รับคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 

 

  1. อนุมัติให้กองทัพเรือดำเนินกระบวนการหรือขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนที่จะเป็นผู้รับงานโครงการก่อสร้างทางวางวิ่งที่ 2 และทางขับไปพลางก่อน ระหว่างรอผลการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่จะยังลงนามในสัญญาว่าจ้างกับผู้รับจ้างที่ได้รับการคัดเลือกไม่ได้ จนกว่ารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

 

  1. เห็นชอบให้กองทัพเรือขอรับการจัดสรรงบประมาณ กรอบวงเงิน 390 ล้านบาท สำหรับโครงการพัฒนาการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน ดำเนินการปี พ.ศ. 2564-2566

 

  1. เห็นชอบให้กองทัพเรือขอรับการจัดสรรงบประมาณจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2563 กรอบวงเงิน 31.2 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการรื้อย้ายระบบสายไฟฟ้าของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

 

  1. เห็นชอบให้กองทัพเรือขอรับการจัดสรรงบประมาณ กรอบวงเงินไม่เกิน 468 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการนำสายไฟลงใต้ดิน เพื่อส่งเสริมสภาพพื้นที่สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออก

 

รัชดากล่าวว่าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่จำนวน 6,500 ไร่ มีทั้งศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งสินค้า ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน เขตประกอบการค้าเสรี ศูนย์ฝึกอบรมการบิน โดยมีผลตอบแทนด้านการเงิน มูลค่าปัจจุบัน 3.05 แสนล้านบาท (เป็นเงินรวม 1.326 ล้านบาท ใน 50 ปี) เมื่อสิ้นสุดสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้จากภาษีประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท มีการจ้างงานเพิ่ม 15,600 ตำแหน่งต่อปีภายใน 5 ปีแรก

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ครม. รับทราบเดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก appeared first on THE STANDARD.

]]>