สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 17 Oct 2024 11:33:32 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 79% คนไทยร่วมเทศกาลกินเจแม้เผชิญน้ำท่วม ผลสำรวจพบ Gen X กินเพื่อทำบุญ Gen Y โชว์ไลฟ์สไตล์ Gen Z สร้างคอนเทนต์ https://thestandard.co/thais-join-the-vegetarian-festival-despite-flooding/ Thu, 17 Oct 2024 11:33:32 +0000 https://thestandard.co/?p=997266

ท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายและระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นในหลา […]

The post 79% คนไทยร่วมเทศกาลกินเจแม้เผชิญน้ำท่วม ผลสำรวจพบ Gen X กินเพื่อทำบุญ Gen Y โชว์ไลฟ์สไตล์ Gen Z สร้างคอนเทนต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายและระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เทศกาลกินเจปีนี้กลับมาแรงแซงทางโค้งอย่างไม่น่าเชื่อ! สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เผยผลสำรวจล่าสุดที่ทำให้หลายคนต้องอ้าปากค้าง เมื่อพบว่ากว่า 79% ของคนไทยพร้อมใจกันเข้าร่วมเทศกาลกินเจในปีนี้ แม้จะเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ก็ตาม

 

ปรากฏการณ์ ‘เจตามเจน’ ที่เกิดขึ้นนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกในสังคมไทยเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของผู้คนในยุคที่ต้องเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่หลายคนกำลังเครียดและกังวลกับสถานการณ์น้ำท่วม การหันมากินเจจึงกลายเป็นทางออกที่ช่วยให้ผู้คนได้พักกาย พักใจ และสร้างความสมดุลให้กับชีวิตในยามวิกฤต

 

น่าสนใจไม่น้อยเมื่อผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า แต่ละเจเนอเรชันมีมุมมองและเหตุผลในการเข้าร่วมเทศกาลกินเจที่แตกต่างกันออกไป Gen X ยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมดั้งเดิม มองการกินเจเป็นการทำบุญและปฏิบัติตามความเชื่อ 

 

ในขณะที่ Gen Y กลับมองการกินเจเป็นโอกาสในการสร้างหัวข้อสนทนาในสังคม แสดงถึงความเปิดกว้างทางความคิดและไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย 

 

ส่วน Gen Z ต้องการประสบการณ์การกินเจที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงอาหารเจ หรือการทำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย

 

แม้ว่าเทศกาลกินเจจะมาพร้อมกับความท้าทายของสถานการณ์น้ำท่วม แต่กลับพบว่าดัชนีความต้องการใช้จ่ายโดยรวมในเดือนตุลาคมนี้เพิ่มขึ้น +1 โดยเฉพาะในภาคเหนือที่มีความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง +7 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม แม้ว่าตัวเลขนี้จะดูเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลและความเครียดที่เพิ่มขึ้นในสังคม

 

เมื่ออ้างอิงถึงเทศกาลกินเจในเดือนตุลาคมนี้ จากผลสำรวจที่พบว่า กว่า 79% ของคนไทยต้องการเข้าร่วมเทศกาลกินเจในปีนี้ ทำให้เกิดคำถามพิเศษขึ้นในผลสำรวจครั้งนี้คือ เทศกาลกินเจแบบไหนที่คุณอยากเข้าร่วม และในผลสำรวจครั้งนี้ได้จัดคำตอบ Top 5 ของผู้เข้าร่วมสำรวจทั้ง 3 เจนออกมาได้ ดังนี้

 

  1. J Sanctuary: กว่า 35% เลือกพักผ่อนร่างกายผ่านอาหารเจที่มีคุณภาพ พร้อมพักผ่อนจิตใจด้วยกิจกรรมสปา เข้าวัด ทำบุญ รวมไปถึงการนั่งสมาธิแบบง่ายๆ เพื่อให้จิตใจสงบ

 

  1. J Healthy Everyday: อันดับที่ 2 (28%) ในผลสำรวจนี้ เลือกการกินเจแบบเฮลตี้ ด้วยแพ็กเกจเจผูกปิ่นโต 3 มื้อ 10 วัน (รวมล้างท้อง) ด้วยการคำนวณโภชนาการตามที่ร่างกายของตนเองต้องการให้ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

 

  1. J Beauty: ผู้เข้าร่วมสำรวจกว่า 18 % มองว่า หากในช่วงเทศกาลกินเจนี้มีสถานบันความงานชื่อดังจัดเวิร์กช็อปอาหารเจพร้อมแพ็กเกจดูแลผิวสวยจะทำให้มีความต้องการเข้าร่วมเทศกาลกินเจมากขึ้น และถือว่าเป็นการปรับตัวของเทศกาลกินเจให้เข้ากับยุคปัจจุบัน

 

  1. J MU Tour: ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการมูเตลูในช่วงเทศกาลกินเจ แนะนำให้จัดแพ็กเกจทัวร์ทำบุญและกินเจ 9 วัน 9 ศาลเจ้าดัง เพื่อขอพร กินเจ และทำบุญไปพร้อมกัน

 

  1. 88 Menu Challenge TikTok: เมื่อแอปพลิเคชัน TikTok กำลังมาแรงในขณะนี้ ทำให้เป็นที่สนใจของกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย การจัดทำชาเลนจ์ที่ให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมในการครีเอตเมนูเจในแบบของตนเองไม่ซ้ำใคร 88 เมนู ถือเป็นโอกาสที่ดีในการกระตุ้นให้คนไทยอยากเข้าร่วมเทศกาลกินเจมากยิ่งขึ้น

 

ในท้ายที่สุดผลการวิจัยนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น แต่ยังเป็นภาพสะท้อนของสังคมไทยที่กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

 

ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา / THE STANDARD

The post 79% คนไทยร่วมเทศกาลกินเจแม้เผชิญน้ำท่วม ผลสำรวจพบ Gen X กินเพื่อทำบุญ Gen Y โชว์ไลฟ์สไตล์ Gen Z สร้างคอนเทนต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผลวิจัยชี้ ‘เปิดประเทศ’ เรียกความสุขคนไทย ดีดตัวสูง 9% กระตุ้นการจับจ่าย พร้อมเผย 5 สินค้า ‘รางวัลชีวิต’ ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายสูงสุด https://thestandard.co/open-the-country-calls-happiness-for-thai-people-bouncing-up-9percent/ Tue, 07 Dec 2021 05:13:46 +0000 https://thestandard.co/?p=568470

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่ว […]

The post ผลวิจัยชี้ ‘เปิดประเทศ’ เรียกความสุขคนไทย ดีดตัวสูง 9% กระตุ้นการจับจ่าย พร้อมเผย 5 สินค้า ‘รางวัลชีวิต’ ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายสูงสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท สปา-ฮาคูโฮโด จำกัด เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยประจำเดือนธันวาคม 2564 พบว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความสุขเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดจะยังคงอยู่ แต่คนไทยก็ปรับตัวและมุ่งหวังการสร้างความสุขในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น สิ่งที่เห็นได้ชัดคือบรรยากาศหลังจากประกาศเปิดประเทศ สถานการณ์ต่างๆ ก็เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง คนไทยมีแนวโน้มจับจ่ายเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2564 และวางแผนในการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

 

ชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความหวังมากขึ้น ถึงแม้จะยังมีความกังวลกับสถานการณ์และการแพร่ระบาดของโควิด แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือพลังใจที่คนไทยทั้งประเทศกำลังเรียกคืนความสุขกลับมานั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก รวมไปถึงพลังแห่งการใช้จ่ายที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก หลังจากประกาศเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 บรรยากาศต่างๆ และธุรกิจการท่องเที่ยวก็เป็นไปอย่างคึกคักเพื่อรองรับเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง

 

โดยผลสำรวจพบว่า คนไทยมีความสุขมากขึ้น 9% และกลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงยังคงพร้อมใจช้อปปิ้งรับความสุข ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 5% เมื่อเทียบจากผลสำรวจในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ 2 ข้อ ได้แก่

 

  1. คนไทยเตรียมวางแผน แบรนด์ควรสร้างธีมเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลแห่งความสุข โดยถือเป็นช่วงแห่งการสร้างสุขที่แท้จริง ซึ่งทางทีมวิจัยพบว่า คนไทยส่วนใหญ่เริ่มมีความต้องการในการจับจ่ายใช้สอยที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในส่วนของแบรนด์ต่างๆ ก็พากันตื่นตัวและอาศัยบรรยากาศในช่วงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองนี้กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมามอบรางวัลให้แก่ตัวเองด้วยเช่นกัน

 

ถือเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่จะทำให้ตัวของผู้บริโภคกล้าตัดสินใจที่จะใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่พวกเขาไม่ค่อยได้ซื้อในช่วงสถานการณ์ที่ไม่ปกติก่อนหน้านี้ และถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีนับจากนี้หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดไม่กลับมารุนแรงอีกครั้ง

 

  1. แรงกระตุ้นด้าน ‘อารมณ์’ ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายแบบทันที ถึงแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะยังมีความกังวลกับสถานการณ์ต่างๆ ของสังคม แต่ความต้องการความสุขของคนไทยก็ยังมีความสำคัญ จะเห็นได้ว่าการทำกิจกรรมนอกบ้านถือเป็นแรงกระตุ้นอารมณ์ ส่งผลไปสู่การจับจ่าย ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารนอกบ้าน การท่องเที่ยวภายในประเทศ โปรโมชันลดแลกแจกแถม ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้จ่ายแบบปัจจุบันทันด่วนได้เป็นอย่างดี ธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ กลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้ง นักการตลาดต่างรีบส่งกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อเชื่อมโยงแบรนด์ไปสู่สินค้าชุมชนได้มากขึ้น โดยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงและการรับรู้ของแบรนด์ในชุมชนนั้นๆ เพื่อให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอย ถือเป็นกิจกรรมสร้างสุขที่ยั่งยืนจากสังคมสู่ชุมชนได้เป็นอย่างดี

 

ทางด้าน ณัฐนิกา ตันวงค์ประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท สปา-ฮาคูโฮโด จำกัด กล่าวว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากผลวิจัยในครั้งนี้พบว่า กลุ่มผู้บริโภคผู้หญิงมีความสุขเพิ่มสูงขึ้น วิถีการดำเนินชีวิตได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ หลายโรงเรียนต่างๆ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมไปถึงโรงเรียนในต่างจังหวัดเริ่มกลับมาเปิดทำการเรียนการสอนหลังจากที่เรียนออนไลน์กันมานาน ซึ่งหากแบ่งสัดส่วนตามภูมิภาค พบว่า

 

  • ภาคกลาง มีความหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น จึงมีความกล้าที่จะใช้จ่ายกับของใช้ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม สินค้าแต่งบ้าน และอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ
  • ภาคตะวันออก มีความหวังว่าการเงินจะฟื้นฟูและมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายกับสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างเช่น อุปกรณ์เครื่องเสียง การออกไปทานอาหารนอกบ้านกับครอบครัว และรวมไปถึงการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งมีผลคะแนนเท่ากันอยู่ที่ 61 คะแนน
  • ส่วนภูมิภาคที่มีแนวโน้มการใช้จ่ายสูงสุดเท่ากันคือ ภาคอีสานและภาคใต้ ที่เตรียมตัวเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขเพื่อเป็นการให้รางวัลแก่ตัวเอง

 

หากจำแนกเป็นช่วงอายุ พบว่า อายุ 40-49 ปี โดยเฉพาะผู้มีรายได้หลักของครอบครัวนั้น มีแนวโน้มที่จะจับจ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้นไม่เกี่ยงเรื่องราคาแพง เพื่อความสะดวกสบายและให้รางวัลให้แก่ตัวเอง โดยครั้งนี้ทีมวิจัยได้แบ่งสัดส่วนของ 5 กลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคจับจ่ายมากที่สุด ดังนี้

 

  • อาหารและเครื่องดื่ม 18%
  • โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน 11%
  • ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน 10%
  • การท่องเที่ยวภายในประเทศ 8%
  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ 7%

 

ขณะที่ อารยะ เตชะไชยวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท สปา-ฮาคูโฮโด จำกัด หนึ่งในทีมผู้วิจัยกล่าวเสริมว่า จากการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม 2564 เราพบว่ามีประเด็นที่น่าจับตามองในบทวิเคราะห์นี้คือ ความสนใจของคนส่วนใหญ่หนีไม่พ้นประเด็นทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นถึงกรอบความคิดของผู้บริโภคที่เป็นไปในทิศทางที่มีความหวังมากยิ่งขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ในปัจจุบัน

 

ประเด็นข่าวสารบ้านเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 ข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 27% ซึ่งลดลง 21% จากผลวิจัยครั้งที่ผ่านมา อันดับที่ 2 ข่าวสถานการณ์น้ำท่วม 15% และอันดับที่ 3 ข่าวการเปิดประเทศเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9% แสดงให้เห็นว่าประชาชนสนใจประเด็นข่าวที่มีความหลากหลายมากขึ้นจากครั้งที่ผ่านมา

 

ส่วนอันดับที่ 4 และ 5 ยังคงเป็นข่าวสถานการณ์การเมืองและเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ในอันดับที่ 6 ถึง 10 ตกมาที่ประเด็นข่าวบันเทิง อย่างข่าวของ ลิซ่า BLACKPINK ข่าวสารในวงการกีฬาฟุตบอล ไปจนถึงข่าวการลงทุน Bitcoin ที่มาแรง ซึ่งต่างเป็นประเด็นข่าวที่ช่วยสร้างความสุขในชีวิตได้มากยิ่งขึ้น ท่ามกลางการรอคอยอย่างมีความหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะต้องดียิ่งขึ้นหลังการล็อกดาวน์อันยาวนาน

 


ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

Twitter: twitter.com/standard_wealth

Instagram: instagram.com/thestandardwealth

Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP

The post ผลวิจัยชี้ ‘เปิดประเทศ’ เรียกความสุขคนไทย ดีดตัวสูง 9% กระตุ้นการจับจ่าย พร้อมเผย 5 สินค้า ‘รางวัลชีวิต’ ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายสูงสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
โควิดระลอกใหม่ ฉุด ‘ความสุขคนไทยลดลง’ พบใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ส่วนใหญ่เน้นใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น https://thestandard.co/new-wave-of-covid-make-thai-people-happiness-declined/ Mon, 02 Aug 2021 10:48:27 +0000 https://thestandard.co/?p=520500 Thai people happiness

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่ว […]

The post โควิดระลอกใหม่ ฉุด ‘ความสุขคนไทยลดลง’ พบใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ส่วนใหญ่เน้นใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น appeared first on THE STANDARD.

]]>
Thai people happiness

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท โซซิอัส จำกัด เผยผลสำรวจการคาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคไทยประจำเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า คนไทยมีความสุขลดลง ซึ่งมีผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของโควิดในระลอกที่ 4 ในขณะเดียวกันมีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับสภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง โดยส่วนใหญ่เน้นใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น รวมไปถึงการกักตุนอาหารเพื่อการดำรงชีพของตนเองและครอบครัวภายในบ้าน

 

ชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการแพร่ระบาดของโควิดที่รุนแรงมากขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านเป็นหลักโดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเพิ่มความรู้และทักษะในการหารายได้จากออนไลน์มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

 

จากการสำรวจพบว่า สังคมไทยส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัดว่าคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มมีความสุขลดลง 2% เมื่อเทียบจากผลสำรวจในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดยมีข้อบ่งชี้สำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ 2 ข้อ ได้แก่

 

  1. วางแผนการใช้เงินให้เกิดประโยชน์และพัฒนาความสามารถในการหารายได้ คนไทยส่วนใหญ่ยังคงมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย โดยเน้นซื้อของที่คิดว่าจำเป็นก่อน เช่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน และเครื่องใช้ภายในบ้าน รวมไปถึงมีการวางแผนใช้จ่ายล่วงหน้าพร้อมรับมือกับสถานการณ์โควิด 

 

ที่สำคัญคือ มีการปรับตัวในการดำรงชีพ ด้วยการเพิ่มความรู้และทักษะในการหารายได้ โดยโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ยังคงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกอาชีพในตอนนี้ เพื่อใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากออนไลน์ที่จะสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเองเพื่อความประหยัด

 

  1. คนกรุงเทพฯ เน้นการใช้จ่ายเพื่อใช้ชีวิตที่สะดวกในบ้าน ขณะที่คนต่างจังหวัดอยากจับจ่ายนอกบ้านมากขึ้น ถึงแม้จะมีความอัดอั้นตึงเครียดต่อเนื่องแต่ก็ต้องการให้ชีวิตมีความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น คนกรุงเทพฯ และจังหวัดข้างเคียงจึงเน้นการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน เช่น เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้า 

 

ในขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ผู้คนอยากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารนอกบ้าน กิจกรรมกลางแจ้ง รวมไปถึงการท่องเที่ยว เพราะสถานการณ์โควิดในภูมิภาคนั้นไม่รุนแรงเท่า อีกปัจจัยหนึ่งในการใช้จ่ายก็คือเทศกาลวันแม่ นอกจากมีโอกาสพาแม่ไปรับประทานอาหารแล้ว ผู้คนยังวางแผนซื้อกระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับเป็นของขวัญในวันแม่อีกด้วย

 

ด้าน อานันท์ปภา ศิริวรรณ ผู้อำนวยการสายงานวางแผนกลยุทธ์ บริษัท โซซิอัส จำกัด กล่าวว่า จากผลวิจัยในครั้งนี้สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ปัญหาปากท้องของประชาชนที่มองว่าไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป และต้องปรับตัวอย่างมากเพื่ออยู่รอด เมื่อดูจากพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งในกลุ่มเสี่ยง (พื้นที่สีแดงเข้ม) และกลุ่มพื้นที่เสี่ยงในต่างจังหวัด (พื้นที่ควบคุม) 

 

หากแบ่งตามภูมิภาคจะพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ทำให้ผู้คนต่างกลับภูมิลำเนาและวางแผนอยู่แบบระยะยาว ส่งผลให้มีแนวโน้มการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากเครื่องอุปโภคบริโภคที่มากขึ้นแล้วยังรวมถึงค่าน้ำมันและยานพาหนะ และใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักอาศัยไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมหรือตกแต่งบ้าน

 

หากจำแนกเป็นช่วงอายุ สำหรับวัย 20-39 ปี พบว่ามีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่รองรับในช่วง Work from Home เช่น ของตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ และในช่วงอายุ 50-59 ปี มีความต้องการสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพื่อความสะดวกสบาย และมีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในเรื่องสุขภาพและความงาม

 

จากข้อมูลพบว่า 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คนไทยใช้จ่ายมากที่สุดในช่วงล็อกดาวน์เป็นกลุ่มสินค้าที่เน้นอำนวยความสะดวกด้านการใช้ชีวิตในบ้านเป็นหลัก ได้แก่

  • อาหาร 25%
  • ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน 17%
  • โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน 11%
  • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแท็บเล็ต 6%
  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ 5%

 

อรุณโรจน์ เหล่าเจริญวงศ์ รองผู้อำนวยการสายงานวางแผนกลยุทธ์ บริษัท โซซิอัส จำกัด กล่าวเสริมว่า จากแนวโน้มการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนสิงหาคม 2564 พบประเด็นที่น่าจับตาในบทวิเคราะห์นี้ คือประเด็นข่าวร้อนที่คนไทยติดตามและถูกพูดถึงมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ อันดับที่ 1 ข่าวประเด็นสังคมที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด คิดเป็นร้อยละ 40 

 

รองลงมาอันดับที่ 2 ข่าวที่รัฐบาลดำเนินการจัดสรรวัคซีนโควิดซึ่งเป็นความหวังของประชาชน ร้อยละ 24 เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ประชาชนมีความแคลงใจในประสิทธิภาพของวัคซีน 

 

และอันดับที่ 3 ข่าวกระแสสังคมการเมือง ร้อยละ 8 ที่หวังจะเห็นการทำงานที่มีความโปร่งใสของภาครัฐปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนอันดับ 4 และ 5 ได้แก่ข่าวลุงพล-น้องชมพู่ และอุบัติเหตุรถ BMW Z4 และในอันดับที่ 6-10 ยังคงเป็นข่าวเศรษฐกิจ การช่วยเหลือจากภาครัฐ หรือแม้กระทั่งการหารายได้ด้วยการเสี่ยงโชคจากหวยแม่น้ำหนึ่ง ที่จะช่วยเยียวยาสถานการณ์ด้านการเงินและรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นของพวกเขาแทนการช่วยเหลือจากภาครัฐได้เบื้องต้น

The post โควิดระลอกใหม่ ฉุด ‘ความสุขคนไทยลดลง’ พบใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ส่วนใหญ่เน้นใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น appeared first on THE STANDARD.

]]>