ศาลแพ่ง – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 09 Apr 2025 16:41:51 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘เนสกาแฟ’ ขาดตลาด! ศาลสั่งเนสท์เล่ระงับการผลิต-จำหน่าย ท่ามกลางข้อพิพาทกับผู้ถือหุ้นเดิม https://thestandard.co/nescafe-production-halt/ Wed, 09 Apr 2025 13:19:12 +0000 https://thestandard.co/?p=1062584 nescafe-production-halt

เนสท์เล่ ชี้แจงกรณีคำสั่งศาลคุ้มครองชั่วคราว ในการห้ามผ […]

The post ‘เนสกาแฟ’ ขาดตลาด! ศาลสั่งเนสท์เล่ระงับการผลิต-จำหน่าย ท่ามกลางข้อพิพาทกับผู้ถือหุ้นเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
nescafe-production-halt

เนสท์เล่ ชี้แจงกรณีคำสั่งศาลคุ้มครองชั่วคราว ในการห้ามผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์แบรนด์ NESCAFÉ ในประเทศไทย

 

เนสท์เล่ได้แจ้งยุติสัญญาที่ให้สิทธิ บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด (QCP) ในการผลิต เนสกาแฟ ในปี 2564 ซึ่งการยุติสัญญามีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายตามคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการสากล โดยมีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2567

 

ภายหลังการยุติสัญญา เฉลิมชัย มหากิจศิริ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นในบริษัท QCP ได้ฟ้องร้องต่อศาลแพ่งมีนบุรีเพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ศาลแพ่งมีนบุรี ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้เนสท์เล่ผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปโดยใช้เครื่องหมายการค้า NESCAFÉ ในประเทศไทย

 

ทั้งนี้ เนสท์เล่ระบุว่ายังไม่มีโอกาสเสนอข้อเท็จจริงต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เนสท์เล่ ระบุถึงการให้ความเคารพต่อกฎหมายและได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลฉบับนี้ และกำลังดำเนินการยื่นคัดค้านต่อศาล พร้อมยื่นข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ศาลแพ่งมีนบุรี

 

เนสท์เล่เป็นเจ้าของแบรนด์เนสกาแฟแต่เพียงผู้เดียว โดยตั้งแต่ปี 2533 จนถึง 2567 ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟได้ผลิตในประเทศไทยผ่าน บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด (QCP) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนแบบ 50/50 ระหว่างเนสท์เล่และตระกูลมหากิจศิริ

 

ภายใต้สัญญาการร่วมทุนนี้ เนสท์เล่มีอำนาจในการบริหารงาน การผลิต การจัดจำหน่าย รวมทั้งการทำการตลาดผลิตภัณฑ์ เนสกาแฟ โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเนสกาแฟนั้นเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเนสท์เล่

 

ภายหลังการยุติสัญญา ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท QCP ดังนั้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 เนสท์เล่ เอส เอ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกบริษัท QCP ซึ่งกระบวนการพิจารณาคำร้องเพื่อขอเลิกบริษัทอยู่ในการพิจารณาของศาล

 

เนสท์เล่มองว่าคำสั่งศาลคุ้มครองชั่วคราวนี้จะส่งผลกระทบต่อ:

 

  1. ผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งร้านกาแฟขนาดเล็ก รถเข็นขายกาแฟ ที่จะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจำหน่าย และการปรับเปลี่ยนสูตรการชงและวัตถุดิบอาจส่งผลต่อรสชาติที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อรายได้ประจำวัน
  2. คู่ค้าและซัพพลายเออร์ที่เคยจัดส่งวัตถุดิบต่างๆ ให้กับเนสกาแฟแต่ต้องหยุดชะงักลง
  3. เกษตรกรไทย ทั้งผู้เพาะปลูกกาแฟและเกษตรกรโคนมที่จะไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบให้เนสกาแฟ โดยในแต่ละปี เนสกาแฟรับซื้อเมล็ดกาแฟดิบพันธุ์โรบัสต้าในปริมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมดที่ปลูกได้ในประเทศไทย
  4. ผู้บริโภคจำนวนหลายล้านคนในประเทศไทยและผู้บริโภคในตลาดส่งออกจะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ

 

เนสท์เล่ ระบุถึงการที่กำลังดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวต่อศาล พร้อมยื่นข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ศาลแพ่งมีนบุรีเพื่อการพิจารณาคำร้อง

 

ทั้งนี้ เนสท์เล่ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 130 ปี และได้ลงทุนกว่า 22,800 ล้านบาทในประเทศไทยในระหว่างปี 2561-2567

The post ‘เนสกาแฟ’ ขาดตลาด! ศาลสั่งเนสท์เล่ระงับการผลิต-จำหน่าย ท่ามกลางข้อพิพาทกับผู้ถือหุ้นเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้รับฟ้องคดีปลาหมอคางดำเป็นคดีแบบกลุ่ม ชี้คำฟ้องชัดเจน มีผู้เสียหายจำนวนมาก ด้านผู้เสียหายหวังคดีไม่เงียบหาย https://thestandard.co/sarotherodon-bangkok-civil-court-case/ Tue, 04 Mar 2025 05:28:43 +0000 https://thestandard.co/?p=1048245 Sarotherodon bangkok-civil-court-case

วันนี้ (4 มีนาคม) ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ที่ […]

The post ศาลแพ่งกรุงเทพใต้รับฟ้องคดีปลาหมอคางดำเป็นคดีแบบกลุ่ม ชี้คำฟ้องชัดเจน มีผู้เสียหายจำนวนมาก ด้านผู้เสียหายหวังคดีไม่เงียบหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Sarotherodon bangkok-civil-court-case

วันนี้ (4 มีนาคม) ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ที่ห้องพิจารณา 709 ศาลนัดฟังคำสั่งคดีขอฟ้องแบบกลุ่ม ที่สภาทนายความเป็นตัวแทนยื่นฟ้องให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน จากกรณีการแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ ระหว่างตัวแทนกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นโจทก์ฟ้อง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยมี ปัญญา โตกทอง พร้อมตัวแทนผู้เสียหายจำนวน 10 คน และ ว่าที่ ร.ต. สมชาย อามีน ประธานอนุกรรมการฝ่ายคดีสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติการสภาทนายความ และสิทธิพร ลีลานภาศักดิ์ ทนายความ เข้าฟังคำสั่ง

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีนี้เป็นคดีแบบกลุ่ม โดยให้เหตุผลว่ามีการบรรยายคำฟ้องที่ชัดเจนและมีผู้เสียหายจำนวนมาก รวมถึงทนายความที่รับผิดชอบในคดีนี้มีประสบการณ์ในการทำคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและลงพื้นที่ไปตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นมาแล้ว 

 

ต่อมา ว่าที่ ร.ต. สมชาย ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า แม้ศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีนี้เป็นคดีแบบกลุ่ม แต่มีเงื่อนไขคือในการจำกัดพื้นที่ในการเรียกร้องความเสียหาย คือผู้เสียหายจะต้องมาจากอำเภอเมืองสมุทรสงคราม อำเภอบางคนที และอำเภอแพรกหนามแดง จังหวัดสมุทรสงคราม เท่านั้น และหลังจากนี้จะต้องรอคู่ความอย่างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ภายใน 7 วัน ก่อนจะนัดพร้อมคู่ความอีกครั้งหนึ่ง

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ด้านปัญญากล่าวว่า ตนรู้สึกสบายใจและโล่งอกเป็นอย่างมาก หลังจากที่ศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีนี้เป็นคดีแบบกลุ่ม มองว่าศาลมีความเมตตาต่อผู้เสียหายเป็นอย่างมากเพราะพวกตนได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้มานานแล้ว จึงหวังว่าศาลจะเข้าใจในส่วนนี้ ทั้งนี้ อยากขอบคุณทีมทนายความจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ไปลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย

 

ปัญญากล่าวว่า ตนและกลุ่มชาวบ้านหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตพวกตนจะได้รับความเป็นธรรม เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปลาหมอคางดำไม่เคยมีอยู่ในประเทศไทย ผู้ที่นำปลาชนิดนี้เข้ามาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งตนและชาวบ้านไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพียงเพราะว่าเป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่ จึงต้องหวังพึ่งกระบวนการยุติธรรม 

 

ปัญญากล่าวยืนยันว่า ชาวบ้านไม่ได้ไปกล่าวร้ายให้ผู้ใดเกิดความเสียหาย แค่ป้องกันตัวเองเท่านั้น ตนจึงหวังว่าความเป็นธรรมในสังคมจะมีอยู่จริง และขอสู้เรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพราะไม่ได้มีแค่ตนและชาวบ้านกลุ่มนี้เป็นผู้เดือดร้อนเพียงกลุ่มเดียว แต่ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดจากปลาหมอคางดำอีกมาก และตนหวังว่าผู้ที่เกี่ยวข้องจะไม่ปล่อยให้เรื่องนี้เงียบหายไปด้วย

 

The post ศาลแพ่งกรุงเทพใต้รับฟ้องคดีปลาหมอคางดำเป็นคดีแบบกลุ่ม ชี้คำฟ้องชัดเจน มีผู้เสียหายจำนวนมาก ด้านผู้เสียหายหวังคดีไม่เงียบหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลแพ่งยกฟ้องคดีสปายแวร์เพกาซัสสอดแนม เหตุโจทก์ไม่มีหลักฐานเพียงพอ https://thestandard.co/civil-court-dismisses-pegasus-spyware-case/ Fri, 22 Nov 2024 01:07:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1011386 สปายแวร์เพกาซัส

เมื่อวานนี้ (21 พฤศจิกายน) ศาลแพ่งนัดฟังคำพิพากษาคดีหมา […]

The post ศาลแพ่งยกฟ้องคดีสปายแวร์เพกาซัสสอดแนม เหตุโจทก์ไม่มีหลักฐานเพียงพอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สปายแวร์เพกาซัส

เมื่อวานนี้ (21 พฤศจิกายน) ศาลแพ่งนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ พ 3370/2566 ระหว่าง จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน โจทก์ และบริษัท เอ็นเอสโอ กรุ๊ป เทคโนโลยี จำกัด จำเลย โดยโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยระงับการใช้สปายแวร์เพกาซัสเพื่อสอดแนม เจาะเข้าระบบ และเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของโจทก์

 

รวมถึงต้องส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการควบคุมหรือใช้สปายแวร์เพกาซัสคืนแก่โจทก์ โดยจะต้องลบข้อมูลดังกล่าวออกจากฐานข้อมูลของจำเลยด้วย ให้จำเลยส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการควบคุมหรือใช้สปายแวร์เพกาซัสคืนแก่โจทก์ รวมถึงที่ได้ส่งมอบให้กับหน่วยงานรัฐของไทยคืนแก่โจทก์ทั้งหมด

 

ให้จำเลยเยียวยาชดใช้ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิด อันเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและสิทธิเสรีภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการเดินทาง และเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร อันล้วนแล้วแต่เป็นสิทธิเสรีภาพอันได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และความเสียหายจากการที่ระบบปฏิบัติการและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของโจทก์ ในส่วนนี้โจทก์ขอเรียกค่าเสียหาย 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป

 

ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่จิตใจของโจทก์ เนื่องจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ทำให้โจทก์ต้องระแวงวิตกกังวลจะถูกสปายแวร์เพกาซัสเจาะเข้าระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป

 

จำเลยให้การว่าเป็นเพียงบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ แต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องและฟ้องโจทก์ขาดอายุความ

 

ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียงใด และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

 

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยแล้ว วินิจฉัยโดยสรุปได้ว่า โจทก์ไม่สามารถแสดงพยานหลักฐานที่เพียงพอและน่าเชื่อถือในการพิสูจน์ว่าโทรศัพท์ของตนถูกโจมตีด้วยสปายแวร์เพกาซัสของจำเลย และหลักฐานที่นำมาสืบมีความคลาดเคลื่อนในข้อมูล รวมถึงขาดการสนับสนุนทางเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง โดยการนำสืบของโจทก์ยังมีข้อขัดแย้งและความไม่สมบูรณ์ของพยานหลักฐานหลายประการดังนี้

 

เอกสารที่โจทก์อ้างว่าเป็นการเตือนภัยการถูกเจาะข้อมูลที่เจ้าของบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งมายังโจทก์มีการระบุวันที่แจ้งเตือนภัยคุกคามเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเหตุการณ์โจมตีที่โจทก์อ้างในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2564 เกือบ 1 ปี ข้อมูลอีเมลในเอกสารภาษาอังกฤษระบุอีเมลของบุคคลอื่น เช่น ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ แต่ในคำแปลเอกสารกลับแปลเป็นอีเมลของโจทก์ ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนที่ไม่สมเหตุสมผล อีกทั้งเอกสารอาจแสดงถึงการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนข้อมูล

 

นอกจากนี้ยังมีความไม่สมบูรณ์ของพยานหลักฐานอื่นๆ เช่น รายงานจากหน่วยงานซิติเซน แล็บ (Citizen Lab) และพยานผู้เชี่ยวชาญโดยโจทก์มีรายงานจากซิติเซน แล็บ ระบุเพียงว่าโทรศัพท์ของโจทก์ติดสปายแวร์เพกาซัส แต่ไม่มีการระบุลักษณะของข้อมูลที่ถูกดึงออกไป หรือกระบวนการตรวจสอบเชิงเทคนิคที่ชัดเจน

 

พยานผู้เชี่ยวชาญของโจทก์ไม่ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ ‘ล็อกไฟล์’ (Log File) หรือข้อมูลอื่นที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสปายแวร์เพกาซัสเจาะระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์โจทก์ และไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่ามีไบนารีของสปายแวร์เพกาซัสในอุปกรณ์ของโจทก์ หรือข้อมูลที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในอุปกรณ์ที่เกิดจากสปายแวร์

 

อีกทั้งโจทก์มีการอ้างอิงรายงานและกรณีศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยตรง เช่น รายงาน ‘FORCEDENTRY’ และ ‘HIDE AND SEEK’ เป็นกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น เช่น นักเคลื่อนไหวในซาอุดีอาระเบีย และไม่สามารถเชื่อมโยงกับกรณีของโจทก์ได้โดยตรง รายงาน ‘GeckoSpy’ แม้จะกล่าวถึงการใช้สปายแวร์เพกาซัสในประเทศไทย แต่เป็นเพียงการวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์ในเชิงทั่วไป ไม่มีข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงถึงโจทก์

 

ประกอบกับโจทก์ไม่ได้เรียกประจักษ์พยานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ผู้วิเคราะห์ข้อมูลของซิติเซน แล็บ หรือบุคคลที่ทำการดึงข้อมูลจากโทรศัพท์มาเบิกความในชั้นศาล พยานบุคคลที่โจทก์นำมาเบิกความเป็นเพียงผู้ดึงข้อมูลจากโทรศัพท์ของโจทก์ไปยังซิติเซน แล็บ ไม่ใช่ผู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยตรง พยานหลักฐานของโจทก์เป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งไม่ได้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 95/1 เนื่องจากไม่มีการนำพยานบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงมาเบิกความ

 

ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมานั้นจึงยังไม่อาจฟังได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโจทก์ถูกโจมตีโดยสปายแวร์เพกาซัสของจำเลย ดังนี้จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีไม่จำต้องพิจารณาพยานหลักฐานของจำเลยและไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป พิพากษายกฟ้อง

The post ศาลแพ่งยกฟ้องคดีสปายแวร์เพกาซัสสอดแนม เหตุโจทก์ไม่มีหลักฐานเพียงพอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลแพ่งนัดชี้สองสถาน คดีภรรยาบิลลี่ยื่นฟ้องกรมอุทยานฯ ปล่อยเจ้าหน้าที่ในสังกัดอุ้มฆ่าบิลลี่ เรียกค่าเสียหายรวมดอกเบี้ย 44 ล้านบาท https://thestandard.co/billys-abduction-and-murder-case/ Fri, 05 Apr 2024 01:06:00 +0000 https://thestandard.co/?p=919553

วานนี้ (4 เมษายน) ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก โพเราะจี รัก […]

The post ศาลแพ่งนัดชี้สองสถาน คดีภรรยาบิลลี่ยื่นฟ้องกรมอุทยานฯ ปล่อยเจ้าหน้าที่ในสังกัดอุ้มฆ่าบิลลี่ เรียกค่าเสียหายรวมดอกเบี้ย 44 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (4 เมษายน) ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก โพเราะจี รักจงเจริญ กับพวกรวม 7 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช จำเลย ต่อศาลแพ่ง ในความผิดฐานละเมิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กรณีเจ้าหน้าที่ในสังกัดอุ้มฆ่า พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ 

 

ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 26,732,340 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 (วันกระทำละเมิด) ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 เป็นเวลา 6 ปี 11 เดือน คิดดอกเบี้ยเป็นเงิน 13,867,385 บาท 

 

และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนถึงวันฟ้อง เป็นเวลา 2 ปี 11 เดือน คิดเป็นเงิน 3,898,455 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 44,498,155 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป 

 

พร้อมกันนี้โจทก์ทั้ง 7 ยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล 

 

ศาลแพ่งไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่า พิเคราะห์คำร้องและพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้ง 7 ยื่นมาพร้อมคำร้องประกอบคำฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีของโจทก์ทั้ง 7 มีเหตุผลอันสมควรที่จะฟ้องร้อง และโจทก์ทั้ง 7 เป็นคนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม หากโจทก์ทั้ง 7 ไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร 

 

เมื่อพิจารณาถึงสถานะของโจทก์ทั้ง 7 จึงอนุญาตให้โจทก์ทั้ง 7 ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล และรับคำฟ้อง โดยศาลนัดชี้สองสถานในวันที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น.

The post ศาลแพ่งนัดชี้สองสถาน คดีภรรยาบิลลี่ยื่นฟ้องกรมอุทยานฯ ปล่อยเจ้าหน้าที่ในสังกัดอุ้มฆ่าบิลลี่ เรียกค่าเสียหายรวมดอกเบี้ย 44 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 2566 : ภูมิใจไทยส่งทนายยื่นฟ้องชูวิทย์ เรียก 100 ล้านบาท ขอศาลไต่สวนสั่งห้ามเข้าใกล้พรรคจนถึงวันเลือกตั้ง https://thestandard.co/bhumjaithai-sues-chuwit/ Thu, 11 May 2023 05:35:36 +0000 https://thestandard.co/?p=788370 ภูมิใจไทย ฟ้อง ชูวิทย์

วันนี้ (11 พฤษภาคม) ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ณัฐชนิกานต […]

The post เลือกตั้ง 2566 : ภูมิใจไทยส่งทนายยื่นฟ้องชูวิทย์ เรียก 100 ล้านบาท ขอศาลไต่สวนสั่งห้ามเข้าใกล้พรรคจนถึงวันเลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภูมิใจไทย ฟ้อง ชูวิทย์

วันนี้ (11 พฤษภาคม) ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ณัฐชนิกานต์ เกตุคำขวา และ พิชัย เอี่ยมอ่อน ทนายความ ผู้รับมอบอำนาจจาก ศุภชัย ใจสมุทร ผู้บริหารพรรคภูมิใจไทย เดินทางมาเพื่อยื่นฟ้อง ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมือง คดีละเมิดและจงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคภูมิใจไทย ทำให้คะแนนนิยมพรรคภูมิใจไทยลดลง เป็นไปในทางลบ เรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท พร้อมขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามชูวิทย์เข้าอาคาร Show DC ในวันที่ 12 พฤษภาคม เวลา 13.00-19.00 น. ซึ่งเป็นสถานที่จัดการปราศรัยใหญ่ของพรรคภูมิใจไทยโดยเด็ดขาด และห้ามก่อกวนใกล้พรรคหรือสถานที่หาเสียงใหญ่ของพรรค จนถึงวันเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม

 

โดยพิชัยกล่าวว่า การเรียกร้องค่าเสียหายครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากที่ชูวิทย์ไปละเมิด ข่มขู่คุกคามพรรคเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่โดมข้างสถานีตำรวจนครบาลดินแดง ซึ่งค่าเสียหาย 100 ล้านบาท คำนวณจากงบประมาณการหาเสียงของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั่วประเทศ 400 เขตของพรรค เขตละ 1.9 ล้านบาท โดยศาลรับคำฟ้องแล้ว และนัดสืบพยานครั้งแรกในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ เบื้องต้นทางทีมทนายความได้ยื่นเรื่องดังกล่าวไปแล้ว และศาลแพ่งจะมีการพิจารณาไต่สวนฉุกเฉินวันนี้ เวลา 13.30 น.

 

นอกจากนี้พิชัยกล่าวต่ออีกว่า ชูวิทย์ยังสามารถจัดแถลงข่าวหรือให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนที่อื่น หรือผ่านทางสื่อออนไลน์ทางใดก็ตาม สามารถกระทำได้ตามสิทธิและกรอบกฎหมาย เพียงขอให้ไม่อยู่ภายในรัศมีที่พรรคจะจัดการปราศรัยเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นที่ผ่านมา พร้อมยืนยันว่าการมาฟ้องและขอให้ศาลไต่สวนคำร้องในครั้งนี้ มีรายละเอียดพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากที่พรรคเคยยื่นขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไปเมื่อคราวก่อน มีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน และเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ จึงสามารถยื่นคำร้องได้

The post เลือกตั้ง 2566 : ภูมิใจไทยส่งทนายยื่นฟ้องชูวิทย์ เรียก 100 ล้านบาท ขอศาลไต่สวนสั่งห้ามเข้าใกล้พรรคจนถึงวันเลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 2566 : ศาลแพ่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวพรรคภูมิใจไทย สั่งห้ามชูวิทย์พูดเรื่องนโยบายกัญชา https://thestandard.co/court-revoke-bhumjaithai-chuwit-cannabis/ Fri, 07 Apr 2023 12:54:54 +0000 https://thestandard.co/?p=774277 ชูวิทย์ โยบายกัญชา

วันนี้ (7 เมษายน) ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก สืบเนื่องมาจ […]

The post เลือกตั้ง 2566 : ศาลแพ่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวพรรคภูมิใจไทย สั่งห้ามชูวิทย์พูดเรื่องนโยบายกัญชา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชูวิทย์ โยบายกัญชา

วันนี้ (7 เมษายน) ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 พรรคภูมิใจไทยเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ จำเลย ต่อศาลแพ่งเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย ในคดีหมายเลขดำที่ พ. 1650/2566 และโจทก์ได้ยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเป็นกรณีฉุกเฉิน ห้ามมิให้จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเกี่ยวกับกัญชาในทำนองหรือในลักษณะที่ว่ากล่าวให้ร้าย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ 

 

ศาลมีคำสั่งว่า ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ เพียงแต่ขอให้มีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยกล่าวหรือไขข่าวในทำนองหรือในลักษณะที่ถูกฟ้องไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เป็นคำขอที่มีลักษณะห้ามมิให้จำเลยกล่าวหรือไขข่าวถึงเรื่องดังกล่าว อันเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพบุคคลในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและสื่อความหมายโดยวิธีอื่น อันลักษณะเป็นการทั่วไป ต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 34 มิใช่เป็นการห้ามเจาะจงเฉพาะการกระทำที่โจทก์ฟ้องร้อง กรณีจึงยังไม่มีเหตุฉุกเฉินให้ยกคำร้อง 

 

จากนั้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ห้ามมิให้จำเลยกล่าวให้ร้ายต่อโจทก์ในเรื่องเกี่ยวกับกัญชา อันจะเกิดความเสียหายต่อโจทก์ในขณะที่ส่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัครรับเลือกตั้ง 

 

ศาลไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยห้ามมิให้จำเลยกล่าวหรือแสดงการกระทำด้วยวิธีใดๆ เฉพาะเรื่องกัญชาที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ในระหว่างพิจารณาจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไป เนื่องจากการกระทำของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 (2) 

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ศาลไต่สวนและพิจารณาคำร้องของจำเลยแล้ว จึงมีคำสั่งดังนี้ 

 

พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ทางไต่สวนของจำเลยได้ความว่า จำเลยได้กล่าวหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องของกัญชาเป็นการทั่วไป โดยกล่าวถึงประโยชน์และโทษของกัญชารวมอยู่ด้วย ซึ่งการกล่าวของจำเลยได้กล่าวตามความเห็นสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย คำเสนอของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องกัญชา ข้อเสนอคณะแพทย์เกี่ยวกับนโยบายกัญชาของประเทศไทย และข้อห่วงใยของเลขาธิการองค์กรของผู้บริโภค 

 

จำเลยไม่ได้กล่าวหรือแสดงความคิดเห็นถึงโจทก์เป็นการเฉพาะแต่เพียงอย่างเดียว การกล่าวหรือแสดงความคิดเห็นของจำเลยในเรื่องของกัญชาทำให้ประชาชนได้รับทราบถึงประโยชน์และโทษของกัญชา จึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่สุขภาพของประชาชนเป็นส่วนมาก กรณีจึงมีเหตุยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณา ลงวันที่ 5 เมษายน 2566

 

โดยในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราว เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณา จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อไป

The post เลือกตั้ง 2566 : ศาลแพ่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวพรรคภูมิใจไทย สั่งห้ามชูวิทย์พูดเรื่องนโยบายกัญชา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศุภชัยเผย ศาลแพ่งสั่งห้าม ‘ชูวิทย์’ กล่าวหรือแสดงการกระทำด้วยวิธีใดๆ เรื่องกัญชาที่เกี่ยวข้องกับภูมิใจไทย https://thestandard.co/supachai-court-banned-chuvit-cannabis/ Wed, 05 Apr 2023 12:00:26 +0000 https://thestandard.co/?p=773405 ชูวิทย์ กัญชา

วันนี้ (5 เมษายน) ศุภชัย ใจสมุทร กล่าวว่า วานนี้ (4 เมษ […]

The post ศุภชัยเผย ศาลแพ่งสั่งห้าม ‘ชูวิทย์’ กล่าวหรือแสดงการกระทำด้วยวิธีใดๆ เรื่องกัญชาที่เกี่ยวข้องกับภูมิใจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชูวิทย์ กัญชา

วันนี้ (5 เมษายน) ศุภชัย ใจสมุทร กล่าวว่า วานนี้ (4 เมษายน) พรรคภูมิใจไทยได้มอบอำนาจให้ตนเองยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่ง กรณี ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ กระทำละเมิดต่อพรรคภูมิใจไทย ในการแพร่ข่าว ไขข่าว ฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง ทำให้พรรคเสียหาย เป็นการฟ้องละเมิดและเรียกค่าเสียหาย และยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว และไต่สวนฉุกเฉิน ห้ามมิให้ชูวิทย์ดำเนินการตามที่ถูกฟ้อง คือการกล่าวหาบิดเบือนกับพรรคภูมิใจไทย 

 

ทั้งนี้ หลังจากคณะตุลาการพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องเป็นการร้อง ห้ามมิให้พูด อาจจะเป็นการฟ้อง ซึ่งอาจจะเป็นผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำร้องไม่เป็นการเฉพาะเจาะจง เป็นการยื่นคำร้องทั่วไป จึงยกคำร้อง แต่วันนี้พรรคภูมิใจไทยได้ไปยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ขอไต่สวนฉุกเฉินอีก และมีการไต่สวนจนเสร็จสิ้นเมื่อช่วงบ่าย ออกมาดังนี้

 

พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนหลายสาขา ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งใช้เครื่องกระจายเสียงประกาศข้อเท็จจริงต่างๆ ตามคำฟ้องในที่สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์มีนโยบายที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และสมาชิกของโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายต่อบุคคลทั่วไปนั้นยังมิได้มีการพิสูจน์ว่าเป็นความจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่  จึงเป็นการกระทำซ้ำ และกระทำต่อไป ซึ่งการที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด

 

เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบกับภาพและเสียงของจำเลยที่บันทึกไว้โดยแผ่นดีวีดีท้ายคำฟ้อง และวัตถุพยานหมาย วจ.1 แล้ว ได้ความว่าเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 จำเลยกล่าวต่อบุคคลทั่วไปโดยมีข้อความว่า ‘ไม่เอาภูมิใจไทย ไม่เอาพรรคบ้ากัญชา’ ประกอบกับจำเลยได้ใช้ป้ายแสดงข้อความว่า ‘พรรคขายกัญชา เยาวชนติดกัญชาเพราะมึง’ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้ว่าหมายถึงโจทก์ แม้จำเลยจะมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมาย แต่การกระทำดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่นตามกฎหมาย 

 

เมื่อโจทก์ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์หรือเสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของโจทก์ เห็นว่าฟ้องโจทก์มีมูล และมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับ

 

สำหรับคำขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยกระทำด้วยประการใดๆ ในการรณรงค์ไม่ให้ประชาชนเลือกโจทก์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น เห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้โดยเฉพาะแล้ว ตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 โดยเป็นพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญา ศาลไม่จำต้องมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวอีก

 

ส่วนกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยกล่าว หรือแสดงการกระทำด้วยวิธีใดๆ เกี่ยวกับเรื่องการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เกี่ยวข้องกับโจทก์นั้น ตามพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นไต่สวนไม่ปรากฏว่าภายหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยได้กระทำซ้ำ หรือกระทำต่อไป โดยการกล่าวหรือแสดงการกระทำด้วยวิธีใดๆ เกี่ยวกับเรื่องการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เกี่ยวข้องกับโจทก์อีก จึงไม่จำต้องมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในส่วนนี้ จึงมีคำสั่งห้ามจำเลยกล่าวหรือแสดงการกระทำด้วยวิธีใดๆ เฉพาะเรื่องกัญชาที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ในระหว่างพิจารณาจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254 (2) คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก 

 

ศุภชัยระบุว่า เจ้าหน้าที่ศาลได้นำหมายห้าม ไปส่งให้ชูวิทย์แล้ว

The post ศุภชัยเผย ศาลแพ่งสั่งห้าม ‘ชูวิทย์’ กล่าวหรือแสดงการกระทำด้วยวิธีใดๆ เรื่องกัญชาที่เกี่ยวข้องกับภูมิใจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลแพ่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว หลังตัวแทนนิสิตนักศึกษายื่นฟ้อง ปมออกข้อกำหนดเพิ่มโทษชุมนุมเสี่ยงโควิด เหตุโจทก์ยังไม่ได้รับความเสียหาย https://thestandard.co/dismissed-rally-request-protection/ Tue, 23 Aug 2022 09:39:04 +0000 https://thestandard.co/?p=670834 ศาลแพ่ง

วันนี้ (23 สิงหาคม) ศาลแพ่งนัดอ่านคำสั่งในคำร้องขอคุ้มค […]

The post ศาลแพ่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว หลังตัวแทนนิสิตนักศึกษายื่นฟ้อง ปมออกข้อกำหนดเพิ่มโทษชุมนุมเสี่ยงโควิด เหตุโจทก์ยังไม่ได้รับความเสียหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลแพ่ง

วันนี้ (23 สิงหาคม) ศาลแพ่งนัดอ่านคำสั่งในคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวการชุมนุมในคดีที่เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา จากกรณี นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยตัวแทนนิสิตและนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย นายกองค์การบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) เป็นจำเลย ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเพิกถอน มาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 47 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง (ศปม.) ฉบับที่ 15 และขอให้ศาลเปิดไต่สวนเพื่อคุ้มครองชั่วคราว 

 

จากนั้นศาลมีการไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งในวันนี้ว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์ทั้ง 7 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 47) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ข้อ 3 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ข้อ 5 และวรรคท้าย ได้ความตามทางไต่สวนว่า เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 3 ความว่า 

 

“การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพของประชาชนที่ย่อมกระทำได้ ภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบ ระงับยับยั้ง หรือยุติการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือมั่วสุม ที่จัดขึ้นโดยมีลักษณะต่อการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) กำหนดมาตรการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม รวมไปถึงกำหนดมาตรการอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์ได้…” 

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 จำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ได้ออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ข้อ 5 ความว่า 

 

“ให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุม ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม” และในวรรคท้ายความว่า “หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ” 

 

ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว โจทก์ทั้ง 7 อ้างว่าเป็นกฎหมายระดับรอง ซึ่งออกมาเพื่อเพิ่มโทษบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งเป็น พ.ร.บ. และกฎหมายระดับสูงกว่า โดยมีการกำหนดโทษหนักขึ้นไปกว่าที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ทั้งการระบุเนื้อความไว้ในข้อกำหนดฯ ข้อ 3 ยังเป็นการเปิดช่องให้จำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้า ศปม. กำหนดมาตรการขึ้นเองเป็นการเฉพาะ ให้สามารถระงับยับยั้งหรือยุติการชุมนุมได้ด้วยตนเองทันที โดยไม่ต้องผ่านกลไกการร้องขอต่อศาลเหมือนที่ได้รับการคุ้มครองไว้ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ข้อกำหนดฯ และประกาศฯ ซึ่งออกโดยจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการสร้างภาระให้แก่โจทก์เกินสมควรแก่เหตุ เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของโจทก์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

 

ศาลเห็นว่า แม้ว่าข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ข้อ 3 วรรคท้าย ให้อำนาจ ศปม. กำหนดมาตรการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม แต่การออกมาตรการดังกล่าวย่อมต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อที่ 3 กล่าวคือ ต้องออกมาตรการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค 

 

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประกาศของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องการห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด ข้อ 5 ซึ่งเป็นมาตรการที่ออกโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยอาศัยนัยตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏเนื้อความในข้อกำหนดส่วนใดว่า ผู้ที่จะชุมนุมหรือจัดให้มีการชุมนุมจะต้องดำเนินการตามมาตรการของประกาศดังกล่าวอย่างไร และไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดมาตรการใด อย่างไร ที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค

 

ดังนั้น ประกาศฉบับดังกล่าวจึงถือว่ายังไม่ได้ออกตามความในข้อ 3 วรรคท้าย ของข้อกำหนดที่จำเลยที่ 1 ประกาศ อันน่าจะเป็นผลให้ประกาศของจำเลยที่ 2 ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อกำหนดดังกล่าวที่จะนำมาบังคับใช้กับผู้ชุมนุม ซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้ง 7 ในการจัดการชุมนุมภายใต้สิทธิที่มีอยู่โดยชอบตามรัฐธรรมนูญได้ 

 

แต่ตามทางไต่สวนของโจทก์ทั้ง 7 ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้ง 7 ได้ดำเนินการใดๆ ตามข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวจนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ประกอบกับเนื้อความในข้อ 3 วรรคท้ายของข้อกำหนดดังกล่าว เป็นเพียงการวางเงื่อนไขในการออกมาตรการเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ออกมาตรการ ย่อมไม่ถือว่าโจทก์ทั้ง 7 จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้ง 2 

 

ในชั้นนี้จึงยังไม่มีเหตุจำเป็นและสมควรในการที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้เพื่อระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 (2) มาตรา 255 (2) (ข) ประกอบมาตรา 267 (1) ยกคำร้อง

The post ศาลแพ่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว หลังตัวแทนนิสิตนักศึกษายื่นฟ้อง ปมออกข้อกำหนดเพิ่มโทษชุมนุมเสี่ยงโควิด เหตุโจทก์ยังไม่ได้รับความเสียหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลแพ่งไม่รับไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราวชุมนุม #ม็อบ31ตุลา ชี้ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาบังคับใช้ https://thestandard.co/assembly-3110-case/ Sat, 30 Oct 2021 02:44:38 +0000 https://thestandard.co/?p=554068 ม็อบ31ตุลา

วันนี้ (29 ตุลาคม) ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เผยแพร่เอกสารข […]

The post ศาลแพ่งไม่รับไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราวชุมนุม #ม็อบ31ตุลา ชี้ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาบังคับใช้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ม็อบ31ตุลา

วันนี้ (29 ตุลาคม) ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เผยแพร่เอกสารข่าวระบุว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล กับ พวกรวม 4 คน ยื่นฟ้อง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพวกรวม 2 คน เป็นคดีหมายเลขดําที่ พ 5080/2564 ของศาลแพ่ง ขอให้ศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนข้อกําหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ข้อ 3 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง ฉบับที่ 12 และให้ไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้น และให้จําเลยทั้งสองมีคําสั่งห้ามเจ้าพนักงานภายใต้บังคับบัญชาปฏิบัติการในลักษณะกีดขวางการชุมนุมของโจทก์ทั้งสี่ และให้เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยคํานึงถึงความปลอดภัยและเสรีภาพของประชาชน

 

พร้อมยื่นคําร้องขอให้ศาลไต่สวนคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน โดยขอให้ศาลมีคําสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกําหนดและประกาศดังกล่าว และห้ามมิให้นํามาตรการ คําสั่ง หรือการกระทําใดๆ ที่สั่งการตามประกาศดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ทั้งสี่และประชาชน จนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดนั้น

 

บัดนี้ ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดําที่ พ5080/2564 ได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานแล้วมีคําสั่ง อันสรุปใจความได้ว่า

 

“แม้ข้อกําหนดและประกาศตามฟ้องที่มีเนื้อหาห้ามมิให้มีการชุมนุมจะเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นหรือการชุมนุม แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปว่ายังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ ทั้งได้ความตามคําร้องขอไต่สวนฉุกเฉินของโจทก์ทั้งสี่ว่า ในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 จะมีประชาชนทํากิจกรรมรวมตัวกันไม่น้อยกว่า 10,000 ราย อันมีความสุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีการแพร่ระบาดของโรคที่เป็นภัยต่อความปลอดภัยสาธารณะ กรณีนี้จึงยังคงมีความจําเป็นที่ต้องบังคับใช้มาตรการตามข้อกําหนดและประกาศดังกล่าวต่อไป เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคและประโยชน์สาธารณะโดยส่วนรวม

 

ทั้งนี้ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลให้ความปลอดภัยสาธารณะโดยส่วนรวมดีขึ้น ก็อาจจะไม่มีความจําเป็นในการบังคับใช้ข้อกําหนดและประกาศดังกล่าวต่อไป

 

ในชั้นนี้ตามคําร้องของโจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนําวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 () มาบังคับใช้ ให้ยกคําร้อง”

The post ศาลแพ่งไม่รับไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราวชุมนุม #ม็อบ31ตุลา ชี้ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาบังคับใช้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลแพ่งสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว หลัง iLaw-ภาคประชาชน ฟ้องประยุทธ์ ขอเพิกถอนข้อกำหนด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน https://thestandard.co/civil-court-orders-no-temporary-protection-after-ilaw-people-sues-prayut/ Fri, 08 Oct 2021 08:53:45 +0000 https://thestandard.co/?p=546178 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะว่า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2 […]

The post ศาลแพ่งสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว หลัง iLaw-ภาคประชาชน ฟ้องประยุทธ์ ขอเพิกถอนข้อกำหนด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะว่า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ศาลแพ่งมีคำสั่งให้รับคำฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ พ 4639/2564 ที่ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ กับพวกรวม 3 คน ยื่นฟ้อง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) กับพวกรวม 6 คน ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ข้อ 3 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง ฉบับที่ 3 ข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4, ฉบับที่ 5 และฉบับที่ 11 และให้ไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้น และขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสาม พร้อมรับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว และห้ามมิให้นำมาตรการ คำสั่ง หรือการกระทำใดๆ ที่สั่งการตามประกาศดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ทั้งสามและประชาชน จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 8 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. นั้น

 

บัดนี้ ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ พ 4639/2564 ได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานแล้วมีคำสั่งอันสรุปใจความได้ว่า

 

จำเลยที่ 1 ออกข้อกำหนดดังกล่าวห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยเพื่อป้องกันและระงับยับยั้งการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยปัจจุบันยังพบการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวของบุคคลกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ อีกทั้งสถานการณ์ยังคงมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จำเลยที่ 2 จึงออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบดังกล่าวมาบังคับใช้มาตรการด้านสาธารณสุขในการเว้นระยะห่าง และการป้องกันการสัมผัสของบุคคลอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวในลักษณะกลุ่มก้อน (Cluster) ภายในประเทศกระจายไปในวงกว้าง และสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

 

แต่ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวยังพบว่ามียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต แม้โจทก์ทั้งสามจะอ้างว่าไม่มีหลักฐานใดชี้ให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวมาจากการชุมนุมสาธารณะ แต่การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมของบุคคลจำนวนมากย่อมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวได้ง่าย เจือสมกับที่โจทก์ที่ 2 เบิกความว่ารู้สึกกลัวการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว จึงต้องใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือและหน้ากากอนามัยในการมาชุมนุม ยิ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีความจำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการด้านสาธารณสุขในการเว้นระยะห่าง เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวในลักษณะกลุ่มก้อน (Cluster) ภายในประเทศกระจายไปในวงกว้าง

 

กรณีตามคำร้องของโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอและยังไม่มีความจำเป็นเพื่อคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสาม

The post ศาลแพ่งสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว หลัง iLaw-ภาคประชาชน ฟ้องประยุทธ์ ขอเพิกถอนข้อกำหนด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน appeared first on THE STANDARD.

]]>