วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 03 Aug 2024 05:12:01 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 4 ปี วิกฤตกองทุนน้ำมันขาดสภาพคล่องหนัก ติดลบอ่วมทะลุแสนล้าน ถึงเวลาหรือยังที่รัฐต้องทบทวนนโยบายอุ้มราคาพลังงาน? https://thestandard.co/oil-fund-severely-lack-of-liquidity/ Sat, 03 Aug 2024 05:12:01 +0000 https://thestandard.co/?p=966817

สกนช. เผย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบต่อเนื่องตลอด 4 ปี […]

The post 4 ปี วิกฤตกองทุนน้ำมันขาดสภาพคล่องหนัก ติดลบอ่วมทะลุแสนล้าน ถึงเวลาหรือยังที่รัฐต้องทบทวนนโยบายอุ้มราคาพลังงาน? appeared first on THE STANDARD.

]]>

สกนช. เผย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบต่อเนื่องตลอด 4 ปี หลังอุดหนุนราคาน้ำมัน ทั่วโลกเผชิญวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน โควิด ภูมิรัฐศาสตร์ จนถึงขณะนี้กองทุนยังอุดหนุนน้ำมันดีเซล 40 สตางค์ต่อลิตร ส่งผลให้เงินไหลออก 829 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้กองทุนขาดสภาพคล่องหนัก ติดลบ 111,663 ล้านบาท เผยเตรียมทยอยจ่ายเงินต้นให้สถาบันการเงินหลังเป็นหนี้ 105,333 ล้านบาท เดือนพฤศจิกายนนี้ 

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า เพื่อตรึงราคาขายปลีกดีเซลไม่ให้เกิน 33 บาทต่อลิตร ออกไปอีก 3 เดือน ถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2567 และยังเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดไว้ว่าจะต้องไม่ชดเชยเกิน 2 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงชดเชยราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 40 สตางค์ต่อลิตร คิดเป็นรายจ่ายไหลออกประมาณวันละ 26.73 ล้านบาท หรือเดือนละประมาณ 829 ล้านบาท 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ขณะที่มีรายรับประมาณวันละ 88.15 ล้านบาท หรือเดือนละประมาณ 2,733 ล้านบาท คิดเป็นเงินคงเหลือเดือนละประมาณ 1,900 ล้านบาท 

 

โดยยืนยันว่าแม้เงินไหลออก สถานะกองทุนก็ยังมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินที่เคยกู้ยืมมาก่อนหน้านี้ได้

 

อย่างไรก็ตาม วิศักดิ์ระบุอีกว่า “ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ กองทุนจะถึงกำหนดเวลาทยอยจ่ายคืนเงินต้นที่กองทุนกู้เพื่อนำมารักษาเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิงในประเทศก้อนแรกกว่า 1,000 ล้านบาท และดอกเบี้ยประมาณ 150-200 ล้านบาท

 

“ในส่วนนี้มาจากวงเงินกู้รวมทั้งสิ้น 105,333 ล้านบาท ภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ที่ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของ สกนช. พ.ศ. 2565 ซึ่งเมื่อหักลบรายรับกับรายจ่ายแต่ละเดือนแล้ว ยืนยันว่ากองทุนยังมีเงินเพียงพอสำหรับชำระคืนหนี้เงินต้นก้อนแรกตามกำหนดแน่นอน” วิศักดิ์กล่าว

 

กองทุนติดลบอ่วมแสนล้าน ต้องมีแผนชำระหนี้คงค้างและทยอยจ่ายคืนใน 5 ปี 

 

อย่างไรก็ตาม หากดูจากผลการชดเชยราคาน้ำมันที่ผ่านมา ณ วันนี้ ฐานะกองทุนล่าสุด ณ วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ยังคงติดลบ 111,663 ล้านบาท แบ่งเป็น

 

  • บัญชีน้ำมัน ติดลบ 64,066 ล้านบาท 
  • บัญชีก๊าซหุงต้ม ติดลบ 47,597 ล้านบาท 

 

โดย สกนช. เองก็ได้วางแผนรับมือกับการชำระหนี้คงค้างในงวดถัดๆ ไป โดยตามข้อกำหนดใน 2 ปีแรกของเงินกู้อนุมัติให้สามารถชำระเพียงดอกเบี้ยเท่านั้นได้ และต้องทยอยจ่ายคืนภายใน 5 ปี 

 

หวังราคาน้ำมันตลาดโลกต้นปีหน้าอยู่ในระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล 

 

ขณะที่ราคาน้ำมันในช่วงต้นปี 2568 ที่อาจเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในการเก็บเงินเข้ากองทุนนั้น ต้องยืนยันว่าหากอยู่ภายใต้สถานะราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่เคลื่อนไหวอยู่ในระดับไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือราคาน้ำมันสำเร็จรูปน้ำมันดีเซลตลาดสิงคโปร์อยู่ในระดับปัจจุบันประมาณ 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กองทุนก็ยังมีเงินไหลเข้า และสามารถเก็บสะสมเพื่อจ่ายหนี้ได้

 

วิศักดิ์กล่าวอีกว่า เรื่องหนี้ที่ต้องจ่ายคืนจะเพิ่มขึ้นนั้น ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่ได้มีทีท่าเคลื่อนไหวอะไร เนื่องจากยังเห็นว่ากลไกของกองทุนยังสามารถยืนได้ 

 

“แต่หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น เงื่อนไขแรกที่ต้องนำมาพิจารณาคือการลดการชดเชยดีเซลลงไป เนื่องจากเป็นปัจจัยให้เงินไหลออกจากกองทุนมากที่สุด และเชื่อว่ากระทรวงก็จะมีแผนงานเพื่อออกมาดูแลต่อไป” 

 

อย่างไรก็ตาม สกนช. มีหน้าที่ทำรูปแบบให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ขณะที่ขั้นตอนการลดการชดเชยนั้น พยายามจะทำให้น้อยลงกว่านี้ที่ชดเชยอยู่ 40 สตางค์ แต่ต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปมากกว่าเดิม

 

“เรายึดแผนวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และ ครม. กำกับ หากกองทุนติดลบก็อนุมัติให้หาเงินกู้เพิ่ม แต่หากราคาน้ำมันยังไม่ขยับลงก็เปิดโอกาสให้เจรจากับกระทรวงการคลังในการช่วยลดภาษีเพิ่มเติม”

 

ห่วงภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ รอบใหม่กดดันหนัก

 

วิศักดิ์ระบุอีกว่า ที่ผ่านมามีการทำแบบนี้คือการลดภาษีสรรพสามิต โดยหารืออย่างชัดเจนและเป็นไปตามข้อตกลงร่วมกัน ในมุมของนโยบายเชื่อว่ารัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือ แต่ปัจจุบันรัฐบาลมองว่าเรายังสามารถยืนอยู่ได้ จึงยังอยากให้ยืนด้วยตัวเองก่อน วันนี้ยังอยู่แบบนี้ แต่หากในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นก็ต้องเป็นไปตามกลไก” วิศักดิ์กล่าว

 

แต่หากสิ้นสุดกำหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซล วันที่ 31 ตุลาคม 2567 แล้ว ต้องติดตามสถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงตลาดโลกช่วงปลายปีว่าจะมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศหรือไม่ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามฤดูกาลที่เข้าสู่ฤดูหนาวในต่างประเทศ ทำให้มีความต้องการเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 

 

ประกอบกับปัญหาเรื่องภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ระลอกใหม่ที่จะมีต่อราคาน้ำมัน จะมีผลต่อการพิจารณามาตรการดูแลราคาเชื้อเพลิงในประเทศเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนค่าครองชีพของประชาชนอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล

 

วิศักดิ์ย้ำว่า แม้ตนจะหมดวาระ 4 ปีในฐานะผู้อำนวยการกองทุนเร็วๆ นี้ ผู้อำนวยการกองทุนคนต่อไปต้องเข้ามารับช่วงการทำหน้าที่เร่งฟื้นฟูสภาพคล่องของกองทุนให้กระเตื้องขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ค้าน้ำมัน ตลอดจนสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ต่อไป คาดว่าภายในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2567 จะได้ชื่อผู้อำนวยการคนใหม่

 

หนี้ค่าไฟ-ค่าน้ำมันอ่วม 2 แสนล้านบาท ถึงเวลาหรือยังที่รัฐต้องทบทวนนโยบายอุ้มราคาพลังงาน?

 

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า รัฐบาลไทยมีมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายประชาชน ซึ่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเครื่องมือหลักในการพยุงราคาพลังงานในไทยมานานหลายปี แต่เมื่อราคาพลังงานโลกปรับสูงขึ้นไม่หยุด ทำให้ภาระหนี้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ถึงกรอบเพดานกฎหมายกำหนด 

 

ท่ามกลางภาระต้นทุนการดำเนินการจากการอุดหนุนพลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่อีกด้านก็มีผลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง แต่หากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ นี่อาจเป็นจังหวะเวลาที่ภาครัฐจะทบทวนทยอยปรับลดการอุดหนุนราคาพลังงานลงหรือไม่

 

โดยอาจพิจารณาสนับสนุนเฉพาะกลุ่มที่เห็นว่ามีความจำเป็น อาทิ กลุ่มเปราะบาง เพื่อที่ภาครัฐจะได้ฟื้นฟูฐานะทางการเงินสำหรับใช้รับมือในกรณีหากเกิดวิกฤตในอนาคต (Buffer) ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างราคาพลังงานและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนของภาคเอกชนมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนพลังงานได้อย่างยั่งยืน

 

ขณะที่ คุรุจิต นาครทรรพ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เคยออกมาระบุว่า ขณะนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีภาระหนี้จากการอุดหนุนราคาพลังงานกว่าแสนล้านบาทแล้ว ไม่ต่างจากหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่แบกค่า Ft กว่า 130,000 ล้านบาท 

 

“รวมๆ แล้วทะลุ 220,000 ล้านบาท”

 

“ดังนั้น หากรัฐบาลไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงานก็จะทำให้หนี้สินดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีหนี้จากการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลสูงถึงเดือนละ 9,900 ล้านบาท” คุรุจิตกล่าว

 

อ้างอิง:

The post 4 ปี วิกฤตกองทุนน้ำมันขาดสภาพคล่องหนัก ติดลบอ่วมทะลุแสนล้าน ถึงเวลาหรือยังที่รัฐต้องทบทวนนโยบายอุ้มราคาพลังงาน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาน้ำมันดีเซลโลกพุ่ง 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หวั่นรัฐกัดฟันอุ้มดีเซล 30 บาทต่อลิตรไม่ไหว ดึงกองทุนติดลบแสนล้าน หลังเงินบาทอ่อนทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์ https://thestandard.co/world-diesel-prices-soar/ Tue, 03 Oct 2023 11:29:00 +0000 https://thestandard.co/?p=850080 ราคาน้ำมันดีเซลโลก

โจทย์ใหญ่รัฐบาลเศรษฐา? จับตาราคาน้ำมันโลก ไทยตั้งรับทุก […]

The post ราคาน้ำมันดีเซลโลกพุ่ง 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หวั่นรัฐกัดฟันอุ้มดีเซล 30 บาทต่อลิตรไม่ไหว ดึงกองทุนติดลบแสนล้าน หลังเงินบาทอ่อนทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาน้ำมันดีเซลโลก

โจทย์ใหญ่รัฐบาลเศรษฐา? จับตาราคาน้ำมันโลก ไทยตั้งรับทุกปัจจัย ทั้งค่าเงินบาทอ่อน OPEC ลดซัพพลาย สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่อเสนอรัฐบาลดูแลราคาดีเซลปี 2567 หลังมาตรการตรึงราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร จะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมนี้ ขณะที่เงินกู้ 150,000 ล้านบาท ก็จะสิ้นสุดวันที่ 5 ตุลาคมนี้เช่นกัน หวั่นราคาน้ำมันพุ่งทะยานช่วงสิ้นปี สะเทือนกองทุนกลับมาติดลบแตะแสนล้านบาท

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลขณะนี้แตะระดับ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังซาอุดีอาระเบียลดกำลังการผลิต รัสเซียงดส่งออก ส่งผลให้ภาพรวมราคาน้ำมันโลกและอัตราดอกเบี้ยยังสูงต่อเนื่อง อีกทั้งระหว่างนี้ต้องจับตาเศรษฐกิจจีนที่มีปริมาณการใช้น้ำมันมากที่สุด รวมไปถึงกลุ่ม OPEC+ ซึ่งเป็นผู้กำหนดซัพพลาย โดยเฉพาะค่าเงินบาทของไทยที่อ่อน 37 บาทต่อดอลลาร์ จากปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกขณะนี้ค่อนข้างผันผวน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

อย่างไรก็ตาม สกนช. อยู่ระหว่างจัดทำแผนบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในปี 2567 หลังการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 จึงได้มอบหมายให้ สกนช. จัดทำแผน Scenario หลังก่อนหน้านี้ กบน. มีมติให้ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ 

 

ส่วนการกู้ยืมเงินเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันตามกรอบวงเงิน 150,000 ล้านบาท จะครบกำหนด 1 ปี หรือสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคมนี้เช่นกัน 

 

ถกคลังวางนโยบายการบริหารงบประมาณ

 

อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้จะต้องหารือกับกระทรวงการคลังถึงแนวนโยบายการบริหารจัดการงบประมาณที่เหมาะสมด้วย ซึ่งตามกฎหมายก็มีเครื่องมือที่ สกนช. จะนำมาใช้บริหารจัดการกองทุนน้ำมันฯ 

 

ไม่ว่าจะเป็นกลไกการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ การกู้เงิน งบประมาณอุดหนุนจากภาครัฐ เงินบริจาค เช่น ในปี 2565 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้บริจาคเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อมาช่วยสนับสนุนกองทุนน้ำมันฯ 

 

รวมถึงยังมีกลไกภาษีสรรพสามิตจากกระทรวงการคลังที่ลดการจัดเก็บภาษีลง 5.99 บาทต่อลิตร ซึ่งปัจจุบันยังลดการจัดเก็บไม่หมด เหลืออยู่ที่ 3.67 บาทต่อลิตร ซึ่งการหารือกับกระทรวงการคลังจะเป็นอีกแนวทางในการนำมาประกอบการจัดทำสมมติฐานหรือ Scenario เพื่อบริหารจัดการราคาน้ำมันในปี 2567 ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในเดือนพฤศจิกายน

 

หวั่นปลายปีกองทุนน้ำมันติดลบแสนล้าน

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สกนช. ได้ดำเนินการกู้เงินทั้งหมดอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท และยังเหลือเงินประมาณ 50,300 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคมนี้ 

 

ดังนั้นจึงประมาณการว่าสถานะกองทุนน้ำมันฯ จะติดลบอยู่ที่ระดับ 90,000-100,000 ล้านบาท (ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 120-130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) จากสถานะล่าสุด วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ยังคงมีสถานะติดลบสะสมอยู่ที่ 65,732 ล้านบาท แบ่งเป็น บัญชีน้ำมัน ติดลบ 20,806 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบ 44,926 ล้านบาท

 

 

คาดปีหน้าราคาน้ำมันดีเซลโลกแตะ 115-130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ทั้งนี้ ทิศทางการดำเนินงานปี 2567 คาดว่าประมาณการราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกจะอยู่ที่ 115-130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยราคาเชื้อเพลิงยังคงเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลัก ดังนี้

 

  • การปรับลดอัตราการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC และ OPEC+
  • ดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงสูง 
  • ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว 

 

ดังนั้นจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จะยังคงเป็นเครื่องมือหลักในการบริหารจัดการ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้เหมาะสม โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและก๊าซ LPG ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่มีผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน และต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกต่อไป

The post ราคาน้ำมันดีเซลโลกพุ่ง 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หวั่นรัฐกัดฟันอุ้มดีเซล 30 บาทต่อลิตรไม่ไหว ดึงกองทุนติดลบแสนล้าน หลังเงินบาทอ่อนทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เบรกพรรคการเมืองใช้นโยบายลดราคาน้ำมัน แนะให้คำนึงถึงเงินกองทุนที่ยังติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท https://thestandard.co/offo-oil-price-reduction-policy/ Wed, 26 Apr 2023 11:21:05 +0000 https://thestandard.co/?p=781772 ราคาน้ำมันดีเซล

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ สกนช. จับตา Fed ปรั […]

The post สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เบรกพรรคการเมืองใช้นโยบายลดราคาน้ำมัน แนะให้คำนึงถึงเงินกองทุนที่ยังติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาน้ำมันดีเซล

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ สกนช. จับตา Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสัปดาห์หน้าที่อาจกระทบต่อราคาน้ำมันดีเซลที่ยังตรึง 33 บาทต่อลิตร พร้อมเบรกพรรคการเมืองที่ใช้นโยบายลดราคาน้ำมัน แนะให้คำนึงเสถียรภาพและสถานะกองทุน รวมถึงมูลค่าหนี้อีกกว่า 8 หมื่นล้านบาท พร้อมเผยเงินกู้ยืมเสริมสภาพคล่องตอนนี้ถูกบรรจุเป็นหนี้สาธารณะไปแล้วกว่าแสนล้านบาท 

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงครึ่งปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566) อยู่ในเกณฑ์ดี กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น โดยในช่วงต้นปีงบประมาณฯ ฐานะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเคยติดลบสูงสุดเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ 130,671 ล้านบาท แต่ได้ทยอยปรับลดลงมา โดยในเดือนมีนาคม 2566 ติดลบเหลือ 94,471 ล้านบาท และล่าสุด 23 เมษายน 2566 ติดลบเหลือ 85,586 ล้านบาท

 

โดยสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นผลมาจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เริ่มคลี่คลาย ซึ่งราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยรายเดือนลดลง จากช่วงต้นปีงบประมาณเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ 91.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดมาเหลือ 78.49 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนมีนาคม 2566 

 

ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปดีเซล (Gas Oil) เดือนตุลาคมที่เคยสูงถึง 133.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปรับลดลงมาในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเหลือ 98.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

เมื่อนำมาพิจารณาภายหลังจากกระทรวงการคลังค้ำประกันการกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้สามารถดำเนินการกู้ยืมเงินได้ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มลดลง ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มเรียก

 

เก็บเงินเข้าและมีสภาพคล่องมากขึ้น จนสามารถลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไป 4 ครั้ง ครั้งละ 0.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจาก 34.94 บาทต่อลิตร เป็น 32.94 บาทต่อลิตร หรือประมาณ 33 บาทต่อลิตรต่อไป

 

ส่วนความคืบหน้าของการกู้ยืมเงินเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ นั้น สกนช. ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในการกู้ยืมเป็นจำนวน 150,000 ล้านบาท โดยบรรจุเป็นหนี้สาธารณะของประเทศไปแล้ว 110,000 ล้านบาท ปัจจุบัน สกนช. ทำการกู้ยืมไปแล้ว 30,000 ล้านบาท และในเดือนเมษายน 2566 จะทำการกู้ยืมเงินเพิ่มอีก 20,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะทยอยทำการกู้ยืมเงินตามสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม การปรับลดราคาดีเซลจะอยู่ที่ระดับใดนั้นขึ้นอยู่กับธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) พิจารณาอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2566 ซึ่งหากปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกจะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อและทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว มีผลต่อราคาน้ำมันโลก

 

เบรกพรรคการเมืองหาเสียงด้วยการลดราคาน้ำมัน

 

วิศักดิ์กล่าวว่า กรณีที่บางพรรคการเมืองมีนโยบายหาเสียงด้วยการลดราคาน้ำมันดีเซลให้เหลือ 28 บาทต่อลิตร จากปัจจุบันราคาจำหน่ายอยู่ที่ 32.94 บาทต่อลิตรนั้น โดยเบื้องต้นทราบว่าอาจจะใช้วิธีถอดภาษีและยกเลิกการจ่ายเงินเข้ากองทุนต่างๆ ชั่วคราว ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ด้วย ซึ่งก็สามารถทำได้ แต่จะต้องพิจารณาผลกระทบด้านรายได้รัฐและฐานะกองทุนน้ำมันฯ เพื่อใช้ดูแลเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศควบคู่ด้วย

 

ส่วนมาตรการลดภาษีดีเซลประมาณ 5 บาทต่อลิตรที่จะสิ้นสุดในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 นั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล สกนช. เตรียมทำแบบแนวทาง (Scenario) การปรับลดราคาดีเซลที่เกี่ยวข้องกับการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลใน 3 แนวทางคือ 1. กรณีกลับมาเก็บภาษีดีเซลเหมือนเดิมประมาณ 5 บาทต่อลิตร 2. การปรับขึ้นภาษีดีเซลแบบขั้นบันได และ 3. ลดภาษีดีเซลเช่นปัจจุบัน จะนำเสนอให้กับรัฐบาลใหม่พิจารณาเลือกแนวทางที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งท้ายที่สุดขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะตัดสินใจอย่างไร

 

“ถึงแม้ว่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีสภาพคล่องที่ดีขึ้น แต่ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันยังติดลบอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับความผันผวนของราคาพลังงานตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกลุ่ม OPEC+ ที่ลดกำลังการผลิต การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ความผันผวน

 

ของเงินดอลลาร์สหรัฐ การเปิดประเทศของจีน และความขัดแย้งจากประเทศและกลุ่มประเทศที่สนับสนุนของฝ่ายรัสเซียและยูเครน ทำให้ สกนช. ต้องเฝ้าติดตาม และคงต้องเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อนำมาชำระหนี้ อย่างไรก็ตามราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลต้องอยู่ในราคาที่เหมาะสม ไม่เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนมากจนเกินไป” วิศักดิ์กล่าว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เบรกพรรคการเมืองใช้นโยบายลดราคาน้ำมัน แนะให้คำนึงถึงเงินกองทุนที่ยังติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซล เหลือ 33 บาท มีผล 7 เม.ย. นี้ ย้ำจับตา OPEC+ ลดกำลังการผลิต https://thestandard.co/offo-cutting-diesel-prices/ Mon, 03 Apr 2023 08:51:29 +0000 https://thestandard.co/?p=772368 ราคาน้ำมันดีเซล

กบน. เคาะลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเหลือ 33 บาทต่อลิตร หล […]

The post กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซล เหลือ 33 บาท มีผล 7 เม.ย. นี้ ย้ำจับตา OPEC+ ลดกำลังการผลิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาน้ำมันดีเซล

กบน. เคาะลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเหลือ 33 บาทต่อลิตร หลังจากราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลรอบเดือนมีนาคมที่ผ่านมาลดลงเกือบ 5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล พร้อมจับตา OPEC+ กดดันราคาขายปลีก

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) วันนี้ (3 เมษายน) มีมติปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร จากราคา 33.50 บาทต่อลิตร เป็น 33.00 บาทต่อลิตร มีผลวันที่ 7 เมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยเป็นการปรับลดลงเป็นครั้งที่ 4 หรือรวมการปรับลงแล้ว 2 บาทต่อลิตรนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

โดยสาเหตุการปรับลดลงครั้งนี้เป็นผลมาจากราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 98.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 4.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยอัตราเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 5.00 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ดี สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลโลกยังคงมีความผันผวนจากวิกฤตด้านการเงิน ความผันผวนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีน  

 

สำหรับฐานะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มทยอยติดลบลดลง ณ วันที่ 2 เมษายน 2566 ติดลบ 91,860 ล้านบาท แบ่งเป็นติดลบจากบัญชีน้ำมัน 45,008 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG 46,860 ล้านบาท

 

พลังงานจับตา OPEC+ ลดกำลังการผลิต

 

ด้าน วัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)  กล่าวว่า กรณีที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) และชาติพันธมิตร หรือ OPEC+ ประกาศปรับลดการผลิตน้ำมันลงอีก 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวันนั้น หากเกิดกรณีที่มีการลดกำลังการผลิตจริง จะทำให้ปริมาณน้ำมันตึงตัว ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาน้ำมันขยับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก

 

อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจด้วยว่ากลุ่ม OPEC มักจะดำเนินการตามแนวทางนี้บ่อยครั้ง เมื่อราคาเริ่มลดลงก็จะมีกลไกหรือวิธีการทำกำไรออกมา เสมือนเป็นการพยายามดันราคาให้สูงขึ้น ซึ่งต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

 

โดยปัจจุบันราคาก๊าซธรรมชาติ (LNG) ปรับตัวลดลงมาก ทำให้มีการหันไปใช้ LNG มากขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้า OPEC จึงมีความพยายามทำให้ซัพพลายของทั้งโลกลดลงมา

 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการใช้พลังงานปี 2566 ระบุโดยอ้างอิงสมมติฐานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าภาพรวมการใช้พลังงานในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 อยู่ที่ระดับ 2,047 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน การใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน/ลิกไนต์ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากการใช้ถ่านหินนำเข้าที่เพิ่มขึ้น การใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 

 

โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันเครื่องบิน จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศ และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินจากต่างประเทศ การใช้ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 การใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความต้องการการเดินทางภายในประเทศ และการเดินทางระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

 

สำหรับสถานการณ์ราคาพลังงานนั้น สศช. คาดว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2566 จะอยู่ที่ 80.0-90.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2566 จะอยู่ที่ 32.2-33.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.6 และเศรษฐกิจภายในประเทศ (GDP) ปี 2566 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7-3.7 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และภาคการเกษตร

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซล เหลือ 33 บาท มีผล 7 เม.ย. นี้ ย้ำจับตา OPEC+ ลดกำลังการผลิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 33.50 บาท มีผล 24 มี.ค. นี้ พร้อมจับตา Fed – รัสเซียลดกำลังผลิต https://thestandard.co/cutting-diesel-prices-effect-24-mar/ Fri, 17 Mar 2023 12:00:34 +0000 https://thestandard.co/?p=764710

กบน. หั่นราคาดีเซล 50 สตางค์ เหลือ 33.44 บาทต่อลิตร มีผ […]

The post กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 33.50 บาท มีผล 24 มี.ค. นี้ พร้อมจับตา Fed – รัสเซียลดกำลังผลิต appeared first on THE STANDARD.

]]>

กบน. หั่นราคาดีเซล 50 สตางค์ เหลือ 33.44 บาทต่อลิตร มีผลวันที่ 24 มีนาคมนี้ หลังจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลง อีกทั้งรัฐต่อเวลาลดภาษีสรรพสามิตไปอีก 2 เดือน พร้อมจับตารัสเซียลดกำลังผลิตน้ำมัน 5 แสนบาร์เรล และผลกระทบแบงก์สหรัฐฯ ล้มที่อาจลามสู่ยุโรป ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทผันผวน 

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ว่า กบน. เห็นชอบในการปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลงอีก 0.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกดีเซลอยู่ที่ 33.44 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกดีเซลใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคมเป็นต้นไป ซึ่งการปรับลดครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 หลังจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาปรับลดไปแล้ว 2 ครั้ง รวม 1 บาทต่อลิตร 

 

โดยการปรับลดราคาขายปลีกดีเซลให้กับประชาชน นอกจากจะช่วยประคับประคองค่าครองชีพประชาชนแล้ว ยังมีส่วนช่วยไม่ให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม กบน. ยังเฝ้าระวังปัจจัยรุมเร้ารอบด้าน อาทิ การปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของรัสเซีย การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนหลังเปิดประเทศ ความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

 

วิศักดิ์กล่าวว่า สาเหตุของการปรับลดราคาครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตลาดโลกโดยเฉพาะน้ำมันดีเซลลด โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึง 15 มีนาคม 2566 พบว่า ราคาน้ำมันดีเซลเดือนมกราคมเฉลี่ยอยู่ที่ 113.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เดือนกุมภาพันธ์ 103.61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และวันที่ 1-15 มีนาคมเฉลี่ย 102.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาทออกไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม – 20 กรกฎาคม 2566 และสถานะของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มดีขึ้น มีฐานะติดลบต่ำกว่าหลักแสนล้านบาทแล้ว

 

โดยล่าสุดฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงวันที่ 12 มีนาคม 2566 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิติดลบ 99,662 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 53,290 ล้านบาท และบัญชีก๊าซแอลพีจีติดลบ 46,372 ล้านบาท โดยบัญชีน้ำมันมีรายได้จากการเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเข้ากองทุน 5.05 บาทต่อลิตร ณ วันที่ 17 มีนาคม 2566 จากที่กองทุนเคยอุดหนุนสูงถึง 10 บาทต่อลิตร ส่วนความคืบหน้าการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กรอบวงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ล่าสุดจากสถานการณ์ราคาโลกเริ่มปรับตัวลง คาดว่าอาจใช้ไม่ถึงตามกรอบ และเหลืออยู่ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท โดยกองทุนหวังว่าอาจน้อยกว่านี้หากไม่มีปัจจัยลบรุนแรง อาทิ สงคราม” วิศักดิ์กล่าว

 

“แต่ความผันผวนของราคาน้ำมันยังต้องจับตาเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงผันผวนปรับขึ้นลง อาทิ ประเทศรัสเซียปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 5 แสนบาร์เรลต่อวันในเดือนมีนาคมนี้ หรือคิดเป็น 5% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนหลังเปิดประเทศ และการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก รวมทั้งกรณีวิกฤตภาคการเงินสหรัฐฯ และสถานะการเงินที่ต้องการความช่วยเหลือของธนาคารเครดิตสวิส ที่เป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งล้วนกดดันให้ค่าเงินบาทผันผวน” วิศักดิ์กล่าว

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 33.50 บาท มีผล 24 มี.ค. นี้ พร้อมจับตา Fed – รัสเซียลดกำลังผลิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
กบน. เกาะติด 4 ปัจจัยกดดัน ‘ราคาน้ำมันผันผวน’ พร้อมสั่งตรึงราคาดีเซลต่อเนื่องที่ 34 บาทต่อลิตร https://thestandard.co/offo-fluctuating-oil-prices/ Thu, 02 Mar 2023 09:46:56 +0000 https://thestandard.co/?p=757718

คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ระบุว่า จ […]

The post กบน. เกาะติด 4 ปัจจัยกดดัน ‘ราคาน้ำมันผันผวน’ พร้อมสั่งตรึงราคาดีเซลต่อเนื่องที่ 34 บาทต่อลิตร appeared first on THE STANDARD.

]]>

คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ระบุว่า จับตาสถานการณ์พลังงานโลกเดือนมีนาคม 2566 หลังราคาน้ำมันเชื้อเพลิงผันผวนจาก 4 ปัจจัยหลัก ทั้งการเปิดประเทศของจีน, ความกังวล Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย, การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ และการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย ระบุจำเป็นต้องตรึงราคาดีเซล 34 บาทต่อลิตรต่อเนื่อง ขณะที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังติดลบแสนล้านบาท 

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กล่าวว่า กบน. ได้พิจารณาข้อมูลต่างๆ ในเดือนมีนาคม 2566 และช่วงเดือนก่อนหน้า และประเมินว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงผันผวนจากปัจจัยสำคัญ เช่น การเปิดประเทศของจีนส่งผลให้การใช้น้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น, ความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ​(Fed), อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ตลอดจนสถานการณ์การส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงของรัสเซีย จึงได้ให้คงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไว้ที่ประมาณ 34 บาทต่อลิตรต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ส่วนประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิยังคงติดลบ 104,012 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นบัญชีน้ำมัน 57,917 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 46,095 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดีเซล (Gas Oil) เฉลี่ยอยู่ที่ 107.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 8.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากเดือนมกราคม 2566 ส่งผลให้ก่อนหน้านี้ กบน. เห็นชอบลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 0.50 บาทจำนวน 2 ครั้ง สะท้อนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 34 บาทต่อลิตร และเพิ่มค่าการตลาดในกลุ่มน้ำมันดีเซล 0.40 บาทต่อลิตร ทำให้ค่าตลาดกลุ่มน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 1.80 บาทต่อลิตร 

 

ยึดมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม

 

นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2565 เนื่องจากสถานการณ์โควิด​ที่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดี ประกอบกับมีการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย และคนไทยเดินทางข้ามจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงต้นปีซึ่งเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่

 

การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 78.25 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  3.1% เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือโดยตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 35 บาทต่อลิตร มาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 และการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ ภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ยังคงผันผวนสูง 

 

สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B7 การใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 66.09 ล้านลิตรต่อวัน และน้ำมันดีเซลพื้นฐานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 10.84 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 มีปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 1.17 ล้านลิตรต่อวัน และ 0.16 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ

 

ขณะที่การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เดือนมกราคม 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 14.16 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 102.7% เนื่องจากนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่

The post กบน. เกาะติด 4 ปัจจัยกดดัน ‘ราคาน้ำมันผันผวน’ พร้อมสั่งตรึงราคาดีเซลต่อเนื่องที่ 34 บาทต่อลิตร appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง แย้ม อาจลดราคาดีเซลต่อ หากราคาน้ำมันโลกลงอีก https://thestandard.co/may-reduce-diesel-prices/ Mon, 06 Feb 2023 07:53:48 +0000 https://thestandard.co/?p=746546

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุว่า หากราคาน้ำมันโลกยัง […]

The post อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง แย้ม อาจลดราคาดีเซลต่อ หากราคาน้ำมันโลกลงอีก appeared first on THE STANDARD.

]]>

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุว่า หากราคาน้ำมันโลกยังลดลงต่อเนื่องอาจมีการพิจารณาลดราคาน้ำมันดีเซลอีก หลังจากสัปดาห์ก่อน กบน. มีมติปรับลดราคาน้ำมันดีเซลครั้งแรกรอบ 7 เดือน อยู่ที่ 34.50 บาทต่อลิตร

 

วันนี้ (6 กุมภาพันธ์) อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หากราคาน้ำมันโลกยังลดลงต่อเนื่อง อาจมีการพิจารณาลดราคาน้ำมันดีเซลเพิ่ม หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีมติเห็นชอบให้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนลง 50 สตางค์ต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกดีเซลอยู่ที่ 34.50 บาทต่อลิตร โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป

 

“อย่างไรก็ตาม กองทุนน้ำมันยังต้องเก็บเงินเข้ากองทุนในช่วงที่น้ำมันลง กระทรวงพลังงานคงมองแล้วว่าการเก็บเงินเข้ากองทุนยังมีความจำเป็นอยู่จึงค่อยๆ ลดให้ แต่ถ้าน้ำมันโลกยังลดต่ออาจมีการพิจารณาลดเพิ่มตามสถานการณ์” อาคมกล่าว

 

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า การปรับลดราคาขายปลีกดีเซลครั้งนี้ เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญคือ 1. สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง 2. การที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติปรับอัตราภาษีลดลง ประมาณ 5 บาทต่อลิตร ต่อไปอีกเป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม ถึง 20 พฤษภาคม 2566 โดยเป็นมาตรการต่อเนื่องตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา จึงส่งผลให้การบริหารจัดการสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น

 

ตามข้อมูลล่าสุดจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (5 กุมภาพันธ์ 2566) ระบุว่า ฐานะกองทุนน้ำมันรวมยังติดลบอยู่ 111,409 ล้านบาท ขาดทุนหนักกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนที่ติดลบ 16,052 ล้านบาทเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565

 

สำหรับราคาน้ำมันเบรนต์ วันนี้ (6 กุมภาพันธ์) เคลื่อนไหวอยู่ที่ราว 80.23 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 1.96% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 6.4% ตั้งแต่ต้นปี (YTD)

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังมองว่า ราคาน้ำมันอาจลดลงอีก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจทำให้การใช้น้ำมันทั่วโลกลดลง และการใช้พลังงานทดแทนที่มีมากขึ้นอาจมีส่วนช่วยทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงได้

 

“การใช้พลังงานทดแทนก็มีมากขึ้น รวมถึงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยหมักก็มีมากขึ้น ทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีลดลงไป และต้นทุนต่างๆ คงถัวเฉลี่ยลดลงไป อย่างที่เคยเล่าไป ตอนนี้ในยุโรปพอเจอกับวิกฤตน้ำมันก็สามารถปรับตัวได้ โดยสามารถลดการใช้พลังงานไปได้ประมาณ 18% แม้จะเข้าสู่ฤดูหนาว บางคนอาจมองว่าราคาน้ำมันเดี๋ยวก็ลง แต่จริงๆ แล้วการประหยัดก็ยังจำเป็นอยู่” อาคมกล่าว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง แย้ม อาจลดราคาดีเซลต่อ หากราคาน้ำมันโลกลงอีก appeared first on THE STANDARD.

]]>
กบน. เคาะขึ้นราคาดีเซลต่ออีก 1 บาทต่อลิตร เล็งขยายเพดานถึง 38 บาท https://thestandard.co/diesel-fuel-price-1-baht-increased-to-38-baht/ Mon, 13 Jun 2022 09:43:06 +0000 https://thestandard.co/?p=641246 ราคาดีเซล

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำ […]

The post กบน. เคาะขึ้นราคาดีเซลต่ออีก 1 บาทต่อลิตร เล็งขยายเพดานถึง 38 บาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาดีเซล

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เปิดเผยว่าที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลประจำสัปดาห์ มีมติให้ปรับราคาดีเซลขึ้น 1 บาทต่อลิตร อยู่ที่ 34.94 บาทต่อลิตร จาก 33.94 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

 

โดยปัจจุบันประมาณฐานะกองทุน ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2565 ติดลบ 91,089 ล้านบาท เป็นบัญชีน้ำมัน 54,574 ล้านบาท บัญชีก๊าซหุงต้ม (LPG) ติดลบ 36,515 ล้านบาท มีกระแสเงินฝากธนาคารและกระทรวงการคลังรวม 11,152 ล้านบาท ซึ่งชดเชยดีเซล 9.96 บาทต่อลิตร จากราคาจริงอยู่ที่ 44.96 บาทต่อลิตร

 

ส่วนมาตรการดูแลกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์นั้น บอร์ด กบน. ได้ปรับลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนลงไปก่อนหน้านี้ 0.93 บาทต่อลิตร จากเดิมจัดเก็บ 1.02 บาทต่อลิตร เหลือส่งเงินเข้ากองทุน 0.09 บาทต่อลิตร ซึ่งถ้าไม่ใช้เงินปรับลดส่วนนี้จะทำให้ราคาเบนซินเพิ่มขึ้นอีก 1 บาทกว่าต่อลิตร

 

สำหรับความคืบหน้าการปรับค่าการกลั่นนั้น กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างหารือโรงกลั่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องรอความชัดเจนให้ทางกระทรวงพลังงานชี้แจงอีกครั้ง สำหรับบทบาทเข้าใจว่ากระทรวงต้องดูครบทุกมิติ กฎหมาย ความเป็นธรรม สัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางกระทรวงคงจะชี้แจงรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม

 

ด้าน พรชัย จิรกุลไพศาล กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันตลาดโลกค่อนข้างผันผวนมาก กบน. จึงมีความจำเป็นต้องปรับราคาดีเซลขึ้น เห็นได้จากราคาดีเซล ประเทศสิงคโปร์ วันที่ 2 มิถุนายน อยู่ที่ 158.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 170.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน และขึ้น-ลงผันผวนระหว่างสัปดาห์ก่อนจะปรับตัวขึ้นไปสูงถึง 172.77 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา 

 

ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการเติบโตแข็งแกร่ง จีนเปิดประเทศ แม้ซาอุดีอาระเบียจะเพิ่มกำลังการผลิตแต่ก็ไม่เป็นผล รวมทั้งน้ำมันดิบที่หายไปจากการคว่ำบาตรประเทศรัสเซีย หลายปัจจัยรวมกันจึงไม่สามารถหยุดยั้งการปรับราคาไว้ได้

 

“ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ตรึงราคาดีเซลไว้ไม่เกิน 35 บาทต่อลิตร ได้มีการทยอยปรับขึ้นเกือบชนเพดานแล้ว ซึ่งกองทุนจะยืนไว้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ตามมติ ครม. แต่ยอมรับว่าหลังจากนั้นมีโอกาสที่ กบน. อาจจะปรับเพดานการตรึงราคาดีเซลใหม่เป็น 38 บาทต่อลิตร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกและสภาพคล่องของกองทุนว่าจะมีเงินกู้เข้าเติมในระบบเมื่อไร”

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post กบน. เคาะขึ้นราคาดีเซลต่ออีก 1 บาทต่อลิตร เล็งขยายเพดานถึง 38 บาท appeared first on THE STANDARD.

]]>