วิรัตน์ มีนชัยนันท์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 29 Jul 2024 08:57:23 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘วิรัตน์’ ส.ก.มีนบุรี โต้กลับ ‘วิโรจน์’ กล่าวหาเลื่อนลอย ปมเพื่อไทยไม่ตั้งบุคคลภายนอกพิจารณางบฯ กทม. 68 เสี่ยงฮั้ว https://thestandard.co/wirat-responded-to-wiroj/ Mon, 29 Jul 2024 08:57:23 +0000 https://thestandard.co/?p=964469

วันนี้ (29 กรกฎาคม) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภากรุงเท […]

The post ‘วิรัตน์’ ส.ก.มีนบุรี โต้กลับ ‘วิโรจน์’ กล่าวหาเลื่อนลอย ปมเพื่อไทยไม่ตั้งบุคคลภายนอกพิจารณางบฯ กทม. 68 เสี่ยงฮั้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (29 กรกฎาคม) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตมีนบุรี และอดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีที่ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X ระบุว่า พรรคเพื่อไทยไม่ยอมให้มีบุคคลภายนอกเป็นกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างงบประมาณ กทม. 2568 ทั้งยังกล่าวว่าเพื่อไทยลดจำนวนอนุกรรมการน้อยลง และมีผลทำให้เกิดการฮั้วได้ง่ายนั้น

 

วิรัตน์ชี้แจงว่า

 

  1. เรื่องนี้เป็นคำกล่าวอ้างที่เลื่อนลอยและไร้ความรับผิดชอบต่อการทำงานหนักของสภากรุงเทพมหานครเป็นอย่างมาก เพราะยังไม่มี ส.ก., สมาชิกของพรรคเพื่อไทย หรือผู้ใหญ่ของพรรคเพื่อไทยที่วิโรจน์กล่าวอ้าง มีมติอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้

 

  1. ส.ก. คือตัวแทนของประชาชนชาว กทม. ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนในระดับเขต รู้ลึกถึงความต้องการของพี่น้องประชาชนในแต่ละเขตเป็นอย่างดีว่าต้องการอะไร ขาดเหลือสิ่งใด และต้องการงบประมาณสนับสนุนในส่วนใดได้บ้าง

 

  1. ส.ก. มีหน้าที่กลั่นกรองและลำดับความสำคัญความต้องการของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ความต้องการของคนใดคนหนึ่ง หรือความเห็นของคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งความเห็นนั้นสามารถกระทบต่อความต้องการของประชาชนเขตอื่นๆ และอาจขัดแย้งกับความเห็นของ ส.ก.เขตนั้นๆ เองด้วย

 

  1. การพิจารณางบประมาณของ กทม. เป็นการนำปัญหาของประชาชนมาพิจารณาเพื่อแก้ไขให้ตรงจุด ยังไม่มีตัวเงินออกมา การที่วิโรจน์กล่าวหาว่าฮั้วนั้น ไม่เพียงเป็นการลดทอนการทำงานของ ส.ก. พรรคอื่น ยังลดทอนการทำงานของ ส.ก. พรรคก้าวไกลด้วย

 

  1. การนำบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมให้ความเห็น เป็นกลไกที่สามารถทำได้ ไม่ใช่ว่าไม่เคยมี ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลเองเคยแต่งตั้งบุคคลภายนอก ร่วมพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ ในท้ายที่สุด คณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยว่า กทม. ไม่มีอำนาจในการออกข้อบัญญัติดังกล่าว จนปัจจุบันกฎหมายฉบับนี้ยังไม่สำเร็จ

 

  1. เมื่อครั้งที่ตนเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครในสมัยที่ผ่านมา พบว่าบุคคลภายนอกที่ไม่รู้ลึกถึงความต้องการของประชาชนในแต่ละเขตดีเพียงพอ มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งในระหว่างการพิจารณากฎหมาย และส่งผลให้บางนโยบายไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนในแต่ละเขต ทั้งที่มีความเห็นจาก ส.ก. ตัวแทนเขตอยู่แล้ว

 

  1. ในอดีตมีสมาชิกสภาเขตมาร่วมพิจารณาร่างงบประมาณ กทม. แต่ปัจจุบันไม่มี จึงมีการปรับปรุงให้มีกรรมการสามัญประจำสภาที่ผ่านการฝึกฝน และผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญมาแล้ว

 

  1. กรณีที่วิโรจน์กล่าวอ้างว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นด้วยที่จะมีบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมการพิจารณางบฯ กทม. นั้น เป็นความเห็นของฝ่ายบริหาร กทม. ส่วนสภากรุงเทพมหานครเปรียบเสมือนฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่พิจารณา ถกเถียง หาจุดสมดุลของกฎหมาย การยกความเห็นของผู้ว่าฯ กทม. มาสนับสนุนแนวคิดของตน ย่อมเท่ากับว่าวิโรจน์มองข้ามกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นฝ่ายตรวจสอบถ่วงดุลหรือไม่

 

  1. กระบวนการตรวจสอบการใช้งบประมาณหลังงบฯ ผ่าน คือผู้ว่าฯ กทม., และกระบวนการตรวจสอบของกรมบัญชีกลาง ทุกอย่างมีกลไกอยู่แล้ว

 

“หน้าที่ของ ส.ก. มีระบุอยู่ในบทบัญญัติชัดเจนว่า หัวใจสำคัญของ ส.ก. คือ กระบวนการพิจารณางบประมาณ ผมเชื่อว่า ส.ก. และกรรมการวิสามัญทุกคนทำงานอย่างรอบคอบรัดกุมตามขั้นตอน ไม่สร้างปัญหาระหว่างทาง สิ่งนี้น่าจะเกิดประโยชน์กับชาว กทม. มากที่สุด” วิรัตน์กล่าว

The post ‘วิรัตน์’ ส.ก.มีนบุรี โต้กลับ ‘วิโรจน์’ กล่าวหาเลื่อนลอย ปมเพื่อไทยไม่ตั้งบุคคลภายนอกพิจารณางบฯ กทม. 68 เสี่ยงฮั้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภา กทม. เห็นชอบกันเงินงบปี 66 และเบิกเงินเหลื่อมปีงบประมาณ ตามที่คณะกรรมการวิสามัญฯ เสนอ https://thestandard.co/agreed-on-the-fiscal-year-2023-budget/ Thu, 28 Sep 2023 01:00:39 +0000 https://thestandard.co/?p=847274 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วานนี้ (27 กันยายน) ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุง […]

The post สภา กทม. เห็นชอบกันเงินงบปี 66 และเบิกเงินเหลื่อมปีงบประมาณ ตามที่คณะกรรมการวิสามัญฯ เสนอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วานนี้ (27 กันยายน) ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 2 ครั้งที่ 2 ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม

 

ในที่ประชุม สุทธิชัย วีรกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) เขตจอมทอง ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาญัตติขอความเห็นชอบกันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (กรณียังไม่ก่อหนี้ผูกพัน) ของหน่วยงานรับงบประมาณและการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ก่อนให้ความเห็นชอบ รายงานผลการพิจารณา และข้อสังเกตของคณะกรรมการวิสามัญฯ 

 

โดยคณะกรรมการเห็นควรให้ความเห็นชอบกันเงินงบประมาณ รวม 64 หน่วยงาน 236 รายการ จำนวนเงิน 7,685,162,885 บาท เห็นชอบให้ปรับลดวงเงิน 4 หน่วยงาน 4 รายการ จำนวนเงิน 89,239,866 บาท เห็นชอบให้ถอนการกันเงิน 13 หน่วยงาน 67 รายการ จำนวนเงิน 1,158,939,456 บาท และเห็นควรไม่ให้ความเห็นชอบกันเงิน 3 หน่วยงาน 3 รายการ จำนวนเงิน 61,465,000 บาท 

 

“คณะกรรมการมีข้อสังเกตไปยังหน่วยงานหลายข้อ อาทิ เรื่องที่ สก. ทุกเขตได้รับการร้องเรียน เกี่ยวกับการแก้ปัญหาลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเดิมสำนักอนามัยจะเป็นผู้จัดซื้อ แต่พบว่ามีความล่าช้าในการดำเนินการมาก และในปีที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกกว่า 6,000-7,000 คน กรุงเทพมหานครอาจพิจารณามอบให้ฝ่ายพัฒนาชุมชนของเขตจัดซื้อเองเพื่อความสะดวกรวดเร็ว หรืออาจหานวัตกรรม สารเคมีใหม่ๆ มาใช้เพื่อลดจำนวนลูกน้ำยุงลายด้วย” สุทธิชัยกล่าว

 

สมชาย เต็มไพบูลย์กุล สก. เขตคลองสาน ได้สอบถามถึงความคุ้มค่าโครงการเช่ารถไฟฟ้าเก็บขนมูลฝอย กับการซื้อรถ ซึ่งเป็นรถสามล้อไฟฟ้าเพื่อเข้าไปช่วยชักลากขยะในชุมชนออกมายังถนนหลัก อำนวยความสะดวกให้กับรถขยะที่ไม่สามารถเข้าถึง 

 

จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ชี้แจงในประเด็นนี้ว่า รถสามล้อไฟฟ้าเป็นรถที่กรุงเทพมหานครจัดเช่าเป็นครั้งแรก สำนักสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างการเปรียบเทียบราคาเช่ากับราคาซื้อ หากพบว่าการซื้อถูกกว่าการเช่าจำเป็นต้องขอยกเลิกรายการนี้

 

พุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ สก. เขตยานนาวา ได้ร่วมอภิปรายและให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดซื้อรถไฟฟ้าของ กทม. ซึ่งต้องคำนึงถึงข้อกำหนดของรัฐบาลที่จะให้ใช้รถยนต์มาตรฐานยูโร 5 เพื่อควบคุมมลพิษในปีหน้าด้วย รวมถึงในการกำหนดรายละเอียดการจัดซื้อต้องกำหนดค่าปรับให้สูงสุด เพื่อให้กรุงเทพมหานครและประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด

 

ทั้งนี้ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบให้กันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (กรณียังไม่ก่อหนี้ผูกพัน) ของหน่วยงานรับงบประมาณและการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ตามที่คณะกรรมการวิสามัญฯ เสนอ

The post สภา กทม. เห็นชอบกันเงินงบปี 66 และเบิกเงินเหลื่อมปีงบประมาณ ตามที่คณะกรรมการวิสามัญฯ เสนอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภา กทม. เห็นชอบเพิ่มงบประมาณ วงเงิน 9.9 พันล้าน แก้ปัญหาประชาชน ตามที่ผู้ว่าฯ เสนอ https://thestandard.co/bmc-approved-people-problem-solving-fund/ Mon, 20 Feb 2023 12:25:19 +0000 https://thestandard.co/?p=752961 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วันนี้ (20 กุมภาพันธ์) ที่สภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัต […]

The post สภา กทม. เห็นชอบเพิ่มงบประมาณ วงเงิน 9.9 พันล้าน แก้ปัญหาประชาชน ตามที่ผู้ว่าฯ เสนอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วันนี้ (20 กุมภาพันธ์) ที่สภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภา กทม. เป็นประธานการประชุมสภา กทม. สมัยประชุมวิสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. คณะผู้บริหาร กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ชัชชาติได้เสนอญัตติร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พ.ศ. …. โดยจ่ายขาดจากเงินสะสมของ กทม. ระบุว่า

 

ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง เงินสะสม พ.ศ. 2562 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ข้อ 12 กำหนดให้กรณีที่ กทม. มีความจำเป็นจะต้องจ่ายขาดเงินสะสมให้กระทำได้ในกรณีที่เป็นกิจการที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของ กทม. และที่มีความจำเป็นหรือเร่งด่วนเกี่ยวกับการบริการชุมชนและสังคม หรือเป็นกิจการซึ่งแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรง หรือเป็นกิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้ กทม. และต้องเป็นไปตามแผนพัฒนากรุงเทพฯ หรือตามที่มีกฎหมายกำหนด และให้คำนึงถึงฐานะเงินสะสมของ กทม. ด้วย อย่างไรก็ดี กทม. ต้องดำเนินการก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกินปีงบประมาณถัดไป หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ตกเป็นเงินสะสม

 

ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า กทม. มีความจำเป็นเร่งด่วนในการบริการชุมชนและสังคม และให้ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในการดำเนินการซ่อม สร้าง ช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และจากการเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ

 

โดยสถานะการเงินการคลังของ กทม. ณ วันที่ 27 มกราคม 2566 กทม. มีเงินฝากธนาคาร 91,685.62 ล้านบาท โดยเป็นเงินสะสมจำนวน 56,270.34 ล้านบาท หรือคิดเป็น 61.37% ภาระหนี้ตามโครงการต่อเนื่องที่ได้ก่อหนี้ผูกพันแล้ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 จำนวน 213 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 76,406.44 ล้านบาท ฐานะเงินสะสมที่ปลอดภาระผูกพันประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ วันที่ 27 มกราคม 2566 จำนวน 36,843.65 ล้านบาท

 

ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พ.ศ. …. วงเงินงบประมาณ 9,999,312,010 บาท จำแนกตามลักษณะงาน ประกอบด้วย

  • ด้านความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย จำนวน 61.44 ล้านบาท (0.61%)
  • ด้านพัฒนาสังคมและชุมชนเมือง จำนวน 136.10 ล้านบาท (1.36%)
  • ด้านสาธารณสุข จำนวน 328.81 ล้านบาท (3.29%)
  • ด้านเมืองและการพัฒนาเมือง จำนวน 2,619.62 ล้านบาท (26.20%)
  • ด้านการจัดบริการของสำนักงานเขต จำนวน 2,907.67 ล้านบาท (29.08%)
  • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3,945.67 ล้านบาท (39.46%)

 

ด้าน สุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก. เขตจอมทอง กล่าวว่า ขอขอบคุณฝ่ายบริหารที่เห็นความจำเป็นและเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ซึ่งงบกลางคืองบที่ใช้สำหรับแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก ในส่วนของร่างงบประมาณสำนักการระบายน้ำถือว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ตะวันออก

 

แต่ที่จะติคือเรื่องประตูระบายน้ำคลองสามเสน-คลองบางซื่อ พบว่าไม่มีการเสนอเข้ามา ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงอยากสอบถามว่าเป็นเพราะอะไร ในครั้งประชุมพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญก็ได้สอบถามไปแล้วแต่ยังไม่มีการบรรจุเพื่อขอรับงบประมาณแต่อย่างใด ซึ่ง 3-4 เดือนหน้าจะเข้าสู่ฤดูฝนอีกครั้ง ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. คงไม่อยากให้ประชาชนเดือดร้อน

 

สุทธิชัยกล่าวต่ออีกว่า สถานีสูบน้ำสามเสนและสถานีสูบน้ำบางซื่อมีความจำเป็นเพราะฝนตกน้ำท่วมและผู้สื่อข่าวให้ความสนใจ เพราะการสูบน้ำการดึงน้ำไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่ได้รับโอนจากกรมชลประทานมากว่า 30 ปี ทั้ง 2 สถานีมีการสูบน้ำเพียง 30% ทั้งที่เป็นสถานีสูบน้ำที่สำคัญของกรุงเทพฯ อีกทั้งเครื่องเก็บขยะที่สถานีสูบน้ำสามเสนใช้งานไม่ได้เลย ส่วนเครื่องเก็บขยะที่สถานีสูบน้ำบางซื่อใช้งานได้ 2 เครื่อง จาก 17 เครื่อง นอกจากนี้สถานีสูบน้ำทั้ง 2 แห่ง ไม่มีปั๊มน้ำสำรองหากไฟฟ้าดับ

 

สำหรับงบประมาณของสำนักการโยธาพบว่ามีการตั้งงบประมาณเพื่อเวนคืนที่ดินหลายจุด ซึ่งในพื้นที่เขตทุ่งครุของ ส.ก. กิตติพงศ์ รวยฟูพันธ์ มีปัญหาการจราจรติดขัดหลายจุด โดยเฉพาะบริเวณถนนประชาอุทิศ 9 เขตทุ่งครุ ที่ต้องเร่งดำเนินการเนื่องจากมีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง มีประชาชนอาศัยหนาแน่น แต่ขนาดถนนเท่าเดิม จึงขอให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อเวนคืนที่ดินพร้อมรองรับการขยายถนนต่อไปในอนาคตด้วย

 

นอกจากนี้ยังพบว่าที่ผ่านมาการของบประมาณของสำนักการโยธาเพื่อปรับปรุงฟุตปาธทางเท้าและผิวจราจรมีจำนวนมากหลายแห่ง หน่วยงานที่ออกแบบควรกำหนดรูปแบบมาตรฐานให้สวยงามและมีความปลอดภัยสำหรับประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา รวมทั้งตรวจสอบภายหลังการดำเนินการและควบคุมงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งควรติดตามเพื่อให้งบประมาณที่ใช้ไปคุ้มค่าและเกิดประโยชน์

 

สุทธิชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ฝ่ายบริหารชี้แจงข้อเท็จจริงความล่าช้าโครงการต่างๆ เช่น โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดุสิต เขตพระนคร และโครงการเรือไฟฟ้าของสำนักการจราจรและขนส่ง ซึ่งได้หยุดให้บริการมานานกว่า 3 เดือนแล้ว รวมถึงการขอยืมรถดูดเลนจากสำนักการระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหาท่อระบายน้ำอุดตันในพื้นที่เขตจอมทอง ซึ่งหากเขตจอมทองขอจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อรถดูดเลนในครั้งต่อไปขอให้ฝ่ายบริหารพิจารณาด้วย เนื่องจากมีความสำคัญและจำเป็นมาก

 

ด้าน พีรพล กนกวลัย ส.ก. เขตพญาไท กล่าวว่า งบประมาณปี 2566 ที่สภา กทม. ได้พิจารณาเห็นชอบไปแล้ว พบว่ามีการใช้ไปเพียง 10% แต่ในวันนี้ฝ่ายบริหารจะมาของบประมาณเพิ่มเติม จึงเกรงว่าจะเป็นการซ้ำซ้อนกับงบประจำปีเดิมหรือไม่ และเหตุใดไม่ขับเคลื่อนการใช้งบประมาณประจำปีที่มีอยู่ โดยเฉพาะสำนักการโยธามีการของบประมาณเพื่อปรับปรุงทางเท้าจำนวนมาก แต่ กทม. ไม่เคยมีมาตรฐานทางเท้าที่เหมือนกันเลย และต้องซ่อมแซมทุก 2-3 ปี รวมถึงการเว้นระยะทางเท้าบริเวณหน้าบ้านเรือนประชาชน ทำให้ประชาชนที่เดินผ่านต้องเดินขึ้น-ลงทางเท้า ควรทำเป็นเนินราบเพื่อให้เจ้าของบ้านขับรถขึ้นไปแทน เพื่อให้ผู้ที่เดินเท้าได้รับความสะดวกเช่นเดียวกับผู้ที่ขับรถ สำหรับข้อสังเกตเพื่อทำถนนเส้นใหม่ ขอให้มีการออกแบบทางเท้า ท่อระบายน้ำ ท่อร้อยสายลงดิน ไปพร้อมกัน เพื่อไม่ต้องขุดเจาะหลายครั้งและก่อให้เกิดความไม่สวยงาม ซึ่งการใช้งบประมาณต้องให้ได้ประโยชน์และสวยงามด้วย

 

พีรพลกล่าวต่อว่า กรุงเทพฯ ต้องเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ เพราะประชาชนเป็นล้านคนได้เชื่อมั่นและมอบคะแนนเสียงให้ และการใช้งบประมาณต้องครอบคลุมกระจายทุกหน่วยงานให้เท่าเทียมกัน เนื่องจากประชาชนคาดหวังจากท่านมาก การเปลี่ยนแปลงนี้เชื่อว่าจะทำได้

 

ขณะที่ สัณห์สิทธิ์ เนาถาวร ส.ก. เขตวัฒนา กล่าวว่า จากประมาณการงบประมาณที่ผ่านมาพบว่ารายรับจริงของ กทม. เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าเมื่อเปิดประเทศเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่มีคำถามในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณของแต่ละพื้นที่เขต และ ส.ก. ในฐานะตัวแทนพี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมในจุดใดได้บ้าง เขตอาจมีความรู้ในเรื่องการจัดสรรงบประมาณที่ดี แต่ ส.ก. เองก็มีความรู้ เพราะเห็นปัญหาประชาชนอยู่เป็นประจำ

 

นอกจากนี้ในเรื่องของทางเท้า เขตวัฒนามีหลายซอยที่เชื่อมต่อกับเขตพื้นที่อื่น เช่น ซอยนานา แต่จากข้อมูลพบว่าเป็นพื้นที่การดูแลของสำนักการโยธา จึงขอทราบว่าความเป็นไปได้ในการโอนภารกิจดูแลจากสำนักการโยธาเพื่อให้เขตพื้นที่ดูแลเอง และในฐานะคณะกรรมการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการงบประมาณ ในอนาคตจะขอให้ กทม. พิจารณาเรื่องค่าเหยียบแผ่นดินหรือภาษีนักท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลเรียกเก็บ ควรจัดสรรให้ กทม. ด้วย เนื่องจาก กทม. จะได้นำมาพัฒนาและดูแลนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเขต กทม. ต่อไปได้

 

ส่วน สมชาย เต็มไพบูลย์กุล ส.ก. เขตคลองสาน กล่าวว่า นโยบายของผู้บริหารที่ผ่านมาจะเน้นคำนึงถึงความคุ้มค่าของงบประมาณเป็นหลัก แต่ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และความพร้อมของเขตด้วย โดยอาจจัดทำเป็นเวิร์กช็อปเพื่อสรุปภาพรวมปัญหาอุปสรรค แนวทางการดำเนินการที่เขตต้องการ เพื่อจัดทำคำของบประมาณและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตรงจุด ซึ่งการคำนึงถึงแต่ความคุ้มค่าโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนจะทำให้การทำงานแก้ไขความเดือดร้อนยากขึ้น

 

ทั้งนี้ที่ประชุมสภามีมติเห็นชอบรับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พ.ศ. .… และให้แต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติฯ 35 ท่าน กำหนดการแปรญัตติภายใน 7 วันทำการ และจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับจากวันที่สภารับร่างข้อบัญญัติฯ เป็นครั้งแรก คือภายในวันที่ 5 เมษายน 2566

The post สภา กทม. เห็นชอบเพิ่มงบประมาณ วงเงิน 9.9 พันล้าน แก้ปัญหาประชาชน ตามที่ผู้ว่าฯ เสนอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติทำบุญวันสถาปนา 50 ปี กทม. รับการทำงานยังมีอุปสรรคหลายเรื่อง ปี 66 เร่งหารือจ่ายหนี้-โอนทรัพย์สินรถไฟฟ้าสายสีเขียว https://thestandard.co/bangkok-founding-day/ Wed, 14 Dec 2022 06:04:03 +0000 https://thestandard.co/?p=723540

วันนี้ (14 ธันวาคม) ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหาน […]

The post ชัชชาติทำบุญวันสถาปนา 50 ปี กทม. รับการทำงานยังมีอุปสรรคหลายเรื่อง ปี 66 เร่งหารือจ่ายหนี้-โอนทรัพย์สินรถไฟฟ้าสายสีเขียว appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (14 ธันวาคม) ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีงานวันสถาปนากรุงเทพมหานคร (กทม.) ครบรอบ 50 ปี โดยได้นำ คณะผู้บริหาร กทม. ข้าราชการ และลูกจ้าง กทม. รวมถึง วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภา กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 151 รูป จากนั้น มีการสักการะพระพุทธนวราชบพิตร และพิธีถวายเทวบรรณาการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

 

ชัชชาติกล่าวว่า วันนี้ครบรอบสถาปนา 50 ปี เป็นหมุดหมายหนึ่งที่เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ทำงานเพื่อประชาชนต่อ ซึ่งการทำงานที่ผ่านมามีอุปสรรคเยอะ เช่น เรื่องหาบเร่แผงลอยก็มีมิติของความยากจน ปัญหาชีวิตของคนที่ลำบากจากสภาพโควิด กทม. ก็พยายามดูแลไม่ให้เพิ่มขึ้น ดูแลระเบียบทางเท้าให้ดี การจะไปไล่ไม่ให้มีหาบเร่แผงลอยเลยก็จะไปกระทบชีวิตของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นการบริหารเมืองต้องหาจุดสมดุลกับชีวิตของผู้คน 

 

เรื่องสายไฟลงดินต้องใช้เวลา เพราะเป็นกระบวนการที่มีหลายหน่วยงาน และหลายเรื่องอยู่ในนโยบายที่จะต้องประสานงาน แต่ กทม. ก็มีแผนปฏิบัติการที่ครบถ้วนกว่า 200 แผนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ขึ้นอยู่กับความช้าหรือเร็วที่ต้องดำเนินการ เหลือเพียงกว่า 40 แผนที่อาจจะติดข้อระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ถูกวิจารณ์ออกอากาศว่าไม่จ่ายหนี้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตกค้างมานาน ทุกอย่างไม่ได้นิ่งนอนใจ กำลังเร่งแก้ปัญหาอยู่

 

ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า ในเรื่องอื่นๆ ยังคงดำเนินการต่อเนื่อง เช่น การขุดลอกท่อเตรียมพร้อมสำหรับปีหน้า, การทำ Sandbox โรงเรียน 56 แห่ง, พื้นที่สีเขียวที่ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 2 แสนต้น ทั้งนี้ก็ขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานทุกคนที่มีขวัญและกำลังใจดี 

 

ในปีหน้า 2566 จะมีการดำเนินการอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องจราจร ที่จะต้องนำเทคโนโลยีมากำกับดูแลให้มากขึ้น เพื่อให้การควบคุมไฟจราจรมีประสิทธิภาพ รวมถึงจะเน้นเรื่องการพัฒนาการศึกษา เพราะเป็นหัวใจของการลดการเหลื่อมล้ำ 

  

“นอกจากนั้นในปีหน้าจะมีการเร่งรัดหารือกับสภา กทม. เรื่องของรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยเฉพาะการจ่ายหนี้และการโอนทรัพย์สิน จะต้องหารือนอกรอบก่อนที่จะนำบรรจุเข้าสู่วาระ” ชัชชาติกล่าว

 

The post ชัชชาติทำบุญวันสถาปนา 50 ปี กทม. รับการทำงานยังมีอุปสรรคหลายเรื่อง ปี 66 เร่งหารือจ่ายหนี้-โอนทรัพย์สินรถไฟฟ้าสายสีเขียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภา กทม. เตรียมเสนอญัตติสอบถามแนวทางการดูแลประชาชน หลัง สปสช. ยกเลิกสิทธิบัตรทอง 9 โรงพยาบาลในพื้นที่ กทม. https://thestandard.co/bangkok-citizen-care/ Mon, 26 Sep 2022 07:40:48 +0000 https://thestandard.co/?p=686736 วิรัตน์ มีนชัยนันท์

วันนี้ (26 กันยายน) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเท […]

The post สภา กทม. เตรียมเสนอญัตติสอบถามแนวทางการดูแลประชาชน หลัง สปสช. ยกเลิกสิทธิบัตรทอง 9 โรงพยาบาลในพื้นที่ กทม. appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิรัตน์ มีนชัยนันท์

วันนี้ (26 กันยายน) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ยกเลิกการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการของโรงพยาบาลเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 9 แห่ง ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป 

 

การยกเลิกครั้งนี้จะกระทบกับพี่น้องประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทองประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งขณะนี้ประชาชนที่เดือดร้อนยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง รวมทั้งเห็นว่าเรื่องของการตรวจสอบโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่งยังไม่เข้าสู่กระบวนการของการพิจารณาของศาล ดังนั้น ทุกโรงพยาบาลควรมีสิทธิที่จะได้รับสัญญาต่อไป รวมทั้งแนวทางการรองรับประชาชนที่อาจจะได้รับความเดือดร้อนทั้ง 1 ล้านคน 

 

“ในประเด็นนี้สภากรุงเทพมหานครจะเปิดให้อภิปรายในญัตติที่ให้กรุงเทพมหานครช่วยในเรื่องของการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับบัตร 30 บาทอยู่ทั้ง 9 โรงพยาบาล ประมาณ 1 ล้านคนที่จะมีผลกระทบ ซึ่งขอให้ประชาชนติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและในวันพุธนี้โดยติดตามการถ่ายทอดสดการประชุมสภากรุงเทพมหานครในครั้งนี้ด้วย” วิรัตน์กล่าว

The post สภา กทม. เตรียมเสนอญัตติสอบถามแนวทางการดูแลประชาชน หลัง สปสช. ยกเลิกสิทธิบัตรทอง 9 โรงพยาบาลในพื้นที่ กทม. appeared first on THE STANDARD.

]]>
รสนายื่นหนังสือถึงสภา กทม. ไม่ให้รับโอนหนี้ BTS ส่วนต่อขยาย ด้วยภาระหนี้ไม่ควรเป็นของ กทม. https://thestandard.co/rosana-submit-bts/ Thu, 15 Sep 2022 02:32:22 +0000 https://thestandard.co/?p=681672 รสนา โตสิตระกูล

วานนี้ (14 กันยายน) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเท […]

The post รสนายื่นหนังสือถึงสภา กทม. ไม่ให้รับโอนหนี้ BTS ส่วนต่อขยาย ด้วยภาระหนี้ไม่ควรเป็นของ กทม. appeared first on THE STANDARD.

]]>
รสนา โตสิตระกูล

วานนี้ (14 กันยายน) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) กล่าวถึงกรณี รสนา โตสิตระกูล อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้ายื่นหนังสือถึงประธานสภา กทม. ขอให้สภา กทม. มีมติไม่เห็นชอบรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่สองมาเป็นหนี้ของ กทม. 

 

วิรัตน์กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของการยื่นหนังสือของรสนามีความสอดคล้องกับแนวทางของสภา กทม. ชุดปัจจุบัน ซึ่งตนเคยให้ความเห็นเรื่องการบริหารจัดการรถไฟฟ้าและปัญหาหนี้สินต่างๆ ว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้อยู่ในอำนาจที่สภา กทม. จะต้องพิจารณา 

 

เนื่องจากสภา กทม. ชุดเก่าได้มีมติเห็นชอบให้อำนาจผู้ว่าฯ กทม. พิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารไปแล้ว รวมทั้งมีมติให้ กทม. เลือกดำเนินการ 3 แนวทาง คือ 1. ให้ใช้พ.ร.บ.ร่วมทุน 2. ให้ดำเนินการในลักษณะสัมปทาน และ 3. ให้ส่งคืนโครงการแก่รัฐบาล 

 

ด้านรสนากล่าวว่า การยื่นหนังสือในวันนี้เพื่อขอให้สภา กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้ง 50 เขต มีมติไม่รับโอนทรัพย์สินและหนี้สินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่สอง แบริ่งถึงสมุทรปราการ และหมอชิตถึงคูคต ซึ่งทั้งสองส่วนนี้อยู่นอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร การที่รัฐบาลสั่งโอนส่วนต่อขยายที่สองมาให้ กทม. โดยไม่มีงบประมาณสนับสนุน ทั้งที่ก่อนการก่อสร้างส่วนต่อขยายที่สองมีการประเมินไว้ชัดเจนว่าส่วนต่อขยายดังกล่าวขาดทุนในเชิงธุรกิจ แต่เป็นผลดีในเชิงเศรษฐกิจ

 

เนื่องจากประชาชนจากต่างจังหวัดสามารถเดินทางมาเข้ามาในกรุงเทพฯ ได้สะดวกขึ้น ดังนั้น รัฐจำเป็นต้องสนับสนุนงบประมาณ แต่กลายเป็นการยกทรัพย์สินและหนี้สินทั้งในส่วนค่าก่อสร้างและการเดินรถมาให้ กทม. โดยที่ผ่านมาผู้ว่าฯ กทม. ได้มอบให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) ไปทำสัญญากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) โดยไม่ใช่ตัวแทนของ กทม. ดังนั้น การที่ KT ไปทำสัญญากับ BTS เป็นสิ่งที่สภา กทม. ในอดีตยังไม่มีการเห็นชอบ แต่มีการทำสัญญาเดินรถไปก่อน จึงเกิดภาระผูกพันขึ้นมา

 

สำหรับหนังสือร้องเรียนของรสนาได้ระบุว่า หากที่ประชุมสภา กทม. มีมติเห็นชอบการรับหนี้ดังกล่าว ซึ่งยังไม่ใช่หนี้ของ กทม. และยังเป็นเส้นทางคาบเกี่ยวจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดปทุมธานี ส.ก. ทั้ง 50 เขตจะมีความผิดตามมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะภาระหนี้ไม่ควรเป็นของ กทม. ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ดูแลเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น ดังนั้น การรับโอนหนี้มาเป็นหนี้ของ กทม. จะไม่เกิดประโยชน์ เพราะเป็นกลอุบายเพื่อต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียวส่วนหลักไปอีก 30 ปี 

 

ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กลายเป็นภาระของคน กทม. ที่จะต้องจ่ายค่ารถโดยสารแพงไปอีก 30 ปี แทนที่จะจ่ายในราคาถูกลง เพราะเมื่อถึงปี 2572 สัญญาเดินรถจะสิ้นสุดสัมปทาน และจะกลับคืนเป็นของ กทม. จึงไม่มีต้นทุนค่าโครงสร้าง ระบบราง เหลือเพียงค่าจ้างเดินรถและค่าบำรุงรักษาเท่านั้น

 

โดยเรื่องดังกล่าวต้องแก้ไข แต่ไม่ใช่ดึงเข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบของ กทม. โดยตนมองว่าเป็นกลอุบายในการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลัก เนื่องจาก กทม. ไม่มีความสามารถในการรับผิดชอบค่าเดินรถและค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่สองอย่างแน่นอน และเมื่อไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ จึงจำเป็นต้องขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าส่วนหลักซึ่งกำลังจะหมดสัญญาในปี 2572 ออกไปอีก 30 ปี เพื่อแลกกับการจ่ายหนี้ 

 

ตรงนี้จะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ เพราะเมื่อครบสัญญาในปี 2572 รถไฟฟ้าส่วนหลักจากหมอชิตถึงอ่อนนุชจะต้องเป็นของ กทม. แต่หากมีการขยายสัมปทานต่ออีก 30 ปี เพื่อแลกกับหนี้ที่ถูกโยนมาจากส่วนต่อขยายที่สอง ตนมองว่าประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารแพงไปอีก 30 ปี จึงอยากให้สภา กทม. มีมติไม่รับโอนหนี้ดังกล่าว 

The post รสนายื่นหนังสือถึงสภา กทม. ไม่ให้รับโอนหนี้ BTS ส่วนต่อขยาย ด้วยภาระหนี้ไม่ควรเป็นของ กทม. appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภา กทม. เห็นชอบผ่านงบ กทม. ปี 66 วงเงินเกือบ 8 หมื่นล้านบาท ชัชชาติย้ำทุกฝ่ายต้องมีความโปร่งใส https://thestandard.co/bangkok-council-approved-2566-budget/ Thu, 18 Aug 2022 11:02:24 +0000 https://thestandard.co/?p=668918 งบประมาณ พ.ศ. 2566

วันนี้ (18 สิงหาคม) ที่อาคารไอราวัตพัฒนา กรุงเทพมหานคร […]

The post สภา กทม. เห็นชอบผ่านงบ กทม. ปี 66 วงเงินเกือบ 8 หมื่นล้านบาท ชัชชาติย้ำทุกฝ่ายต้องมีความโปร่งใส appeared first on THE STANDARD.

]]>
งบประมาณ พ.ศ. 2566

วันนี้ (18 สิงหาคม) ที่อาคารไอราวัตพัฒนา กรุงเทพมหานคร (ดินแดง) ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมวิสามัญ สมัยที่ 2 (ครั้งที่ 1) ประจำ พ.ศ. 2565 วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร, สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ร่วมประชุมในวาระสำคัญพิจารณา คือ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

ในที่ประชุม สุทธิชัย วีรกุลสุนทร ประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้รายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญฯ เพื่อให้สภา กทม. พิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 

 

ระบุว่า คณะกรรมการวิสามัญฯ 62 ท่าน ได้ประชุมและพิจารณากลั่นกรองงบประมาณของ กทม. ประจำ พ.ศ. 2566 จำนวน 16 ครั้ง และได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณางบประมาณของหน่วยงานต่างๆ จำนวน 42 คณะ พร้อมรับฟังเหตุผลความจำเป็นในการขอตั้งงบประมาณ รายจ่ายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญฯ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ซึ่งคณะกรรมการวิสามัญฯ ได้พิจารณาโดยยึดหลักของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, นโยบายของรัฐและผู้บริหาร กทม., แผนปฏิบัติราชการประจำปีของ กทม. และพิจารณาโดยยึดหลักความคุ้มค่า ความเหมาะสมของพื้นที่ สภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและ กทม.

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการวิสามัญฯ ได้พิจารณางบประมาณที่ฝ่ายบริหารตั้งขอ รวมจำนวน 79,825,132,600 บาท มีมติปรับลดงบประมาณ จำนวน 4,803,793,728 บาท และเห็นชอบรายการงบประมาณรายจ่ายที่ผู้บริหารได้เสนอแปรญัตติเพิ่มงบประมาณเท่ากับจำนวนเงินที่ปรับลด ส่วนงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์กรุงเทพมหานคร ได้ปรับลด จำนวน 106,120,550 บาท รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวนทั้งสิ้น 79,719,012,050 บาท

 

อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุม สมาชิก กทม. ได้ขอสงวนความคิดเห็นเพื่ออภิปรายในที่ประชุมหลายท่าน ประกอบด้วย พีรพล กนกวิลย ได้สงวนความเห็นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย โดยไม่ได้คัดค้านโครงการดังกล่าว แต่ขอให้ชะลอโครงการเพื่อให้มีการรับฟังความเดือดร้อนจากประชาชน รวมถึงพีรพลได้สงวนคำแปรญัตติ งบค่าใช้จ่ายในการเพิ่มศักยภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสวนสาธารณะของสำนักสิ่งแวดล้อม แต่เห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการก่อสร้าง ซึ่งควรตั้งที่สำนักการโยธา จึงขอให้การตั้งงบประมาณในปีถัดไปคำนึงถึงภารกิจของหน่วยงานเป็นหลัก ในส่วนของงบประมาณโครงการ Trade Show ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ซึ่งภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจระดับชาติ จึงควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่ของ กทม. รวมถึงงบประมาณที่เห็นว่าควรปรับลด ก็เพื่อให้ กทม. ได้มีเงินเหลือสำหรับใช้ดำเนินการตามนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ในปีถัดไป

 

ด้าน วิรัช คงคาเขตร ขอสงวนความเห็น 1 รายการของสำนักสิ่งแวดล้อม โดยเห็นว่าพันธกิจของสำนักสิ่งแวดล้อม และทุกหน่วยงานของ กทม. ที่สำคัญคือการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการเสนอขอจัดซื้อรถยนต์ดีเซลของทุกหน่วยงานควรมีการเปลี่ยนแปลง โดยหันมาใช้พลังงานทดแทน เนื่องจากหน่วยงานของ กทม. ควรมุ่งลดมลพิษทางอากาศ งบประมาณปีหน้าควรพิจารณาในเรื่องนี้ใหม่ นอกจากนี้วิรัชได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงบประมาณการปรับปรุงเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว การเปลี่ยนวิธีการรดน้ำต้นไม้ และการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ กทม. ให้มีศิลปะ

 

ด้าน ณภัค เพ็งสุข ได้ขอสงวนความเห็น 3 รายการของสำนักงานเขตลาดพร้าว อาทิ รายการเกี่ยวกับค่าวัสดุน้ำมันงานดูแลสวนและพื้นที่สีเขียว ซึ่ง จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯ กทม. ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ปัจจุบันเขตได้ใช้งบประมาณเกี่ยวกับค่าน้ำมันโดยคำนึงถึงความจำเป็น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ราคาน้ำมันสูงขึ้น และในอนาคตราคาน้ำมันอาจจะสูงขึ้นอีก จึงทำให้ต้องตั้งงบประมาณน้ำมันไว้สูงขึ้นตาม แต่หากมีงบเหลือจะตกเป็นงบกลาง และตกเป็นเงินสะสมของ กทม. ซึ่งงบสะสม กทม. จะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของ กทม. ต่อไปได้ ทั้งนี้ ภายหลังการชี้แจงของฝ่ายบริหาร ณภัคได้ขอถอนคำสงวนความเห็นในประเด็นของสำนักงานเขตลาดพร้าว จากนั้น สัณห์สิทธิ์ เนาถาวร ได้ขอสงวนความเห็น 1 รายการของสำนักงานเขตวัฒนา โดยขอให้ทุกครั้งที่มีการออกแบบก่อสร้างถนน ควรให้สร้างบ่อพักตามแนวด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการระบายน้ำ 

 

คณะกรรมการวิสามัญพิจารณางบประมาณ พ.ศ. 2566 ตั้งข้อสังเกตที่ผู้ว่าฯ กทม. ควรทราบและควรปฏิบัติ

 

ในส่วนของข้อสังเกตที่คณะกรรมการวิสามัญฯ เห็นว่าผู้ว่าฯ กทม. ควรทราบและควรปฏิบัติ ประกอบด้วยข้อสังเกตทั่วไปและข้อสังเกตเฉพาะหน่วยงาน ข้อสังเกตทั่วไป ได้แก่ การจัดทำโครงการต่างๆ ควรดำเนินการให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนากรุงเทพฯ คำนึงถึงประโยชน์ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และควรพิจารณาให้มีความเหมาะสมตามโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน ไม่ควรดำเนินการซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นของ กทม. ทั้งนี้ จะต้องวิเคราะห์ภาระที่ต้องรับผิดชอบโดยละเอียด ผลกระทบต่องบประมาณที่จะนำมาใช้บริหารจัดการในอนาคต ทุกหน่วยงานจะต้องจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณและเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้จ่ายงบประมาณรวมอยู่ในช่วงใกล้สิ้นปีงบประมาณ และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีควรให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการด้วย

 

ในส่วนของข้อสังเกตเฉพาะหน่วยงาน ได้แก่ สำนักการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาพิเศษ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนในกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษโรงเรียนร่วมสังกัด กทม. นั้น การคัดเลือกครูผู้สอนควรเน้นคุณธรรมและจริยธรรมเป็นสำคัญ และควรเพิ่มค่าวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนในโรงเรียนดังกล่าวให้สูงขึ้น รวมทั้งควรเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ด้วย นอกจากนี้ โรงเรียนในสังกัด กทม. ควรพิจารณาเพิ่มห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องเพื่อการวิจัย รวมทั้งควรส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม.

 

สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว การขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีควรดำเนินการรูปแบบใหม่ที่นอกเหนือจากกิจกรรมประจำที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ส่งเสริมอีสปอร์ต หรือกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมแนวใหม่ให้มีความยั่งยืนตามยุคสมัยมากขึ้น 

 

สำนักพัฒนาสังคม การจัดอบรมให้ความรู้แก่กรรมการชุมชน ควรแยกดำเนินการตามพื้นที่เขต ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการเดินทางและความพร้อมในการดำเนินงานของแต่ละเขต

 

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ควรอบรมให้ความรู้การระงับอัคคีภัยและสนับสนุนอุปกรณ์ดับเพลิงแก่อาสาสมัครในชุมชน เพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้น และควรสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือที่ดีระหว่างสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และอาสาสมัคร เพื่อให้การระงับเหตุเพลิงไหม้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งควรติดตั้งหัวดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพและมีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ และ กทม. ควรสำรวจจำนวนบ้านเรือนประชาชน ชุมชนที่จดทะเบียนและมิได้จดทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อจะได้จัดสรรถังดับเพลิงให้เพียงพอเพื่อป้องกันระงับเหตุเพลิงไหม้ในชุมชน

 

ทั้งนี้ สภา กทม. ได้ลงมติเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวาระที่ 2 และ 3 โดยงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของ กทม. มีจำนวนทั้งสิ้น 79,719,012,050 บาท

 

ชัชชาติได้กล่าวขอบคุณสภา กทม. และคณะกรรมการวิสามัญฯ ที่ได้ร่วมกันพิจารณางบ พ.ศ. 2566 ของ กทม. ผ่านวาระ 3 ฝ่ายบริหารจะนำงบประมาณที่ได้รับไปใช้ด้วยความรอบคอบ มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างบริการประชาชน โดยเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้การใช้งบมีความคุ้มค่าที่สุด

 

ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า ภาระหน้าที่ของฝ่ายบริหารและสภา กทม.ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาไม่ใช่แค่ดูแลประชาชน บทบาทที่สำคัญคือการสร้างความมั่นใจและไว้ใจให้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เชื่อมั่นว่าระบอบประชาธิปไตยยังคงเป็นระบอบการปกครองที่เข้มแข็ง ตอบโจทย์ และโปร่งใส โดยเฉพาะการกระจายอำนาจท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญ อำนาจของฝ่ายบริหาร และอำนาจของสภา กทม. จึงสามารถตอบโจทย์ประชาชนด้านความโปร่งใสและคุ้มค่าได้เป็นอย่างดี

 

จากนั้นชัชชาติได้เสนอร่างข้อบัญญัติ กทม. 2 เรื่อง คือ การให้เงินรางวัลประจำปีแก่ข้าราชการ กทม. และลูกจ้าง กทม. พ.ศ. …. และเรื่องทุนส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์สาธารณสุข พ.ศ. …. และที่ประชุมได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญ 2 คณะ เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติ กทม. ทั้ง 2 เรื่อง คณะละ 16 ท่าน กำหนดพิจารณาภายใน 15 วัน 

 

รวมถึงสมาชิกสภา กทม. ได้เสนอญัตติต่อที่ประชุม ดังนี้ ธนวัฒน์ เชิดชูกิจกุล เรื่อง ขอให้ กทม. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากมูลฝอย และ กฤษฎ์ คงวุฒิปัญญา เรื่อง ขอให้ กทม. ปรับปรุงถนนพุทธมณฑลสาย 1 และถนนศาลธนบุรี 

 

สภา กทม. ได้เลือกตั้งคณะกรรมการสามัญประจำสภา กทม. 11 คณะ ประกอบด้วยคณะกรรมการกิจการสภา, คณะกรรมการการศึกษา, คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง, คณะกรรมการการสาธารณสุข, คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม, คณะกรรมการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลังและการงบประมาณ, คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย, คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม, คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง, คณะกรรมการการระบายน้ำ และคณะกรรมการการวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการกีฬา

The post สภา กทม. เห็นชอบผ่านงบ กทม. ปี 66 วงเงินเกือบ 8 หมื่นล้านบาท ชัชชาติย้ำทุกฝ่ายต้องมีความโปร่งใส appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดประชุมสภา กทม. นัดแรก ชัชชาติรับปากจะนำการเลือกตั้ง ส.ข. ไปพิจารณา ส่วนเรื่องงบประมาณคาดหารือยาวถึง 3 ทุ่ม https://thestandard.co/bangkok-council-meeting-chadchart-promise-member-of-the-district-council-election/ Wed, 06 Jul 2022 08:56:48 +0000 https://thestandard.co/?p=650806 เลือกตั้ง ส.ข.

วันนี้ (6 กรกฎาคม) ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไ […]

The post เปิดประชุมสภา กทม. นัดแรก ชัชชาติรับปากจะนำการเลือกตั้ง ส.ข. ไปพิจารณา ส่วนเรื่องงบประมาณคาดหารือยาวถึง 3 ทุ่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง ส.ข.

วันนี้ (6 กรกฎาคม) ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) การประชุมสภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) สมัยประชุมสามัญสมัยที่สาม (ครั้งที่1) ประจำปี 2565 

 

เริ่มเปิดประชุมในเวลา 10.00 น. มี วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภา กทม. เป็นประธานการประชุม สภา กทม. และ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) พร้อมผู้บริหารกรุงเทพมหานคร, สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

 

สำหรับการประชุมครั้งนี้ทางสภา กทม. ได้จัดให้มีการถ่ายทอดสดออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถรับชมทุกขั้นตอนได้เป็นครั้งแรก รวมทั้งในการประชุมไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองในการอภิปรายทั้งคดีแพ่งและอาญา ฉะนั้นผู้ที่ร่วมประชุมจะต้องระมัดระวังเรื่องคำกล่าวอ้างถึงบุคคลที่สาม 

 

หลังจากประธานได้เริ่มเปิดประชุม นภาพล จีระกุล ส.ก. เขตบางกอกน้อย พรรคประชาธิปัตย์ ผู้อภิปรายคนแรก ได้เริ่มเสนอญัตติเรื่องที่เสนอใหม่ ขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมสภา กทม. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ขอให้พิจารณา 3 วาระรวดเดียว และเรื่องขอให้ กทม. เร่งรัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) 

 

นภาพลกล่าวว่า กรณีที่ประชาชนอยากให้ตั้งคณะกรรมการประชาคมเขตแทน ส.ข. ซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการ (ผอ.) เขต ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงไม่ใช่ตัวแทนประชาชนโดยตรง และคณะกรรมการประชาคมมีหน้าที่เสนอ แนะนำ ให้คำปรึกษา และให้ความร่วมมือในการทำงาน แต่ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบ แตกต่างจาก ส.ข. นอกจากจะเสนอ แนะนำ ให้คำปรึกษา และให้ความร่วมมือในการทำงานแล้ว ยังมีอำนาจตรวจสอบการทำงาน ผอ.เขต ด้วย 

 

ดังนั้นการที่ไม่มีการเลือกตั้ง ส.ข. ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการเลือกตั้งผู้แทนระดับท้องถิ่นตนเอง ขาดการร่วมนำปัญหามาเสนอ ขาดการถ่วงดุลอำนาจมาตรวจสอบระดับ ผอ.เขต  

 

ทั้งนี้ อยากฝากผู้ว่าฯ กทม. ช่วยนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) ให้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอให้ยกเลิกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 24 เพื่อที่ ส.ข. ที่ประชาชนรอจะกลับมา และเพื่อให้ กทม. มีตัวแทนทุกระดับคือ กรรมการชุมชน, ส.ข. และ ส.ก.

 

ซึ่งในที่ประชุม ส.ก. ได้ร่วมอภิปรายประเด็นการเร่งรัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ข. ซึ่งมีการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2557 ส่วนใหญ่เห็นด้วยให้มีการเร่งรัดการจัดตั้ง ส.ข. เพื่อทำงานร่วมกับ ส.ก. เป็นการแบ่งเบาภาระงานในแต่ละพื้นที่เขตด้วย

 

ต่อมาเวลา 14.00 น. ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ส.ก. เขตบางซื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะรองโฆษก สภา กทม. ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงความคืบหน้าในการประชุม ส.ก. โดยระบุว่า ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในส่วนญัตติของ นภาพล จีระกุล เรื่องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมสภา กทม. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและขอให้พิจารณา 3 วาระรวดเดียว

 

ส่วนญัตติที่มีการเสนอให้ กทม. กลับมาใช้ระบบเลือกตั้ง ส.ข. ส่วนนี้ยอมรับว่ายังมีการถกเถียงกันทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. ได้รับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาแล้ว

 

โดยช่วงบ่ายเป็นต้นไปจะเป็นการพิจารณาเรื่องงบประมาณเป็นหลัก ซึ่งเริ่มจาก สุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก. เขตจอมทอง พรรคเพื่อไทย ที่จะอภิปรายงบประมาณในส่วนของสำนักการระบายน้ำและสำนักการโยธา

 

ภัทราภรณ์กล่าวต่อไปว่า การอภิปรายของสภา กทม. จะแบ่งเป็น 2 วัน โดยวันนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 21.00 น. มองว่าวันนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่ได้ทดลองระบบการถ่ายทอดสด คาดว่าจะมีประชาชนติดตามมากพอสมควร เพราะคงอยากทราบว่า กทม. จะทำงานอย่างไรบ้างและจัดสรรเรื่องต่างๆ อย่างไร 

 

ส่วนเรื่องที่ผู้ว่าฯ กทม. เสนอในที่ประชุมครั้งนี้คือ ญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

The post เปิดประชุมสภา กทม. นัดแรก ชัชชาติรับปากจะนำการเลือกตั้ง ส.ข. ไปพิจารณา ส่วนเรื่องงบประมาณคาดหารือยาวถึง 3 ทุ่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภา กทม. รับมอบร่างงบประมาณปี 66 จำนวน 79,000 ล้านบาท เตรียมถ่ายทอดสดขั้นตอนพิจารณา พิสูจน์ความโปร่งใส https://thestandard.co/the-council-of-bangkok-accepts-the-draft-budget-66/ Mon, 20 Jun 2022 13:17:51 +0000 https://thestandard.co/?p=644191 งบประมาณปี 66

วันนี้ (20 มิถุนายน) ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุ […]

The post สภา กทม. รับมอบร่างงบประมาณปี 66 จำนวน 79,000 ล้านบาท เตรียมถ่ายทอดสดขั้นตอนพิจารณา พิสูจน์ความโปร่งใส appeared first on THE STANDARD.

]]>
งบประมาณปี 66

วันนี้ (20 มิถุนายน) ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) กล่าวถึงความพร้อมในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) จะนำเข้าสู่วาระการประชุมสภา กทม. ในวันที่ 6 กรกฎาคมนี้

 

วิรัตน์กล่าวว่า สำหรับการพิจารณางบประมาณปี 2566 นี้ อยากให้ประชาชนติดตามการพิจารณาอย่างใกล้ชิด นี่จะเป็นมิติใหม่ในการทำงานของสภา กทม. เนื่องจากมีการถ่ายทอดสดการประชุม เพื่อความโปร่งใสในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ในส่วนของการเปิดเผยเอกสารรายละเอียดงบประมาณ จะทำการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสภา กทม.

 

สำหรับวาระการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ที่เข้าสู่ที่ประชุมสภา กทม. ในวันที่ 6 กรกฎาคม ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ส่วน เพื่อความรอบคอบในการพิจารณางบประมาณ และให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน คือ ส่วนของงบประมาณ 50 สำนักงานเขต และงบประมาณของหน่วยงานสำนักโดยแต่ละคณะฯ จะลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

 

สำหรับงบประมาณในปี 2566 ของ กทม. กำหนดไว้ที่จำนวน 79,000 ล้านบาท เป็นการตั้งงบประมาณแบบสมดุลตามรายได้ที่จัดเก็บได้ และกำหนดพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับจากวันรับหลักการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จต้นเดือนสิงหาคม เพื่อให้หน่วยงานได้ใช้จ่ายก่อนเริ่มปีงบประมาณใหม่ในเดือนตุลาคมนี้

 

วิรัตน์กล่าวต่อว่า สภา กทม. ชุดนี้จะพิจารณางบประมาณตามหลักเหตุผลความจำเป็น ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน รวมถึงให้เป็นไปตามหลักวิธีการงบประมาณ และยืนยันว่าพร้อมจะทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารโดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง

 

ต่อมาทางวิรัตน์ทำการรับมอบเอกสารร่างงบประมาณฯ จาก กนกวรรณ เอี่ยมลิ้ม รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กทม. เพื่อนำไปส่งมอบให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อนเริ่มพิจารณางบประมาณในเดือนหน้า

The post สภา กทม. รับมอบร่างงบประมาณปี 66 จำนวน 79,000 ล้านบาท เตรียมถ่ายทอดสดขั้นตอนพิจารณา พิสูจน์ความโปร่งใส appeared first on THE STANDARD.

]]>