รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 14 Nov 2024 02:13:20 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 รมว.คลัง ยังไม่ได้รับมติประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เชื่อการทำงานจูนกันได้ ไม่มีแต้มต่อ ‘รัฐบาล-ธปท.’ ชี้ทำงานร่วม ไม่ได้สู้กัน https://thestandard.co/minister-bank-of-thailand-cooperation/ Tue, 12 Nov 2024 03:24:49 +0000 https://thestandard.co/?p=1007569 พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

วันนี้ (12 พฤศจิกายน) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี แล […]

The post รมว.คลัง ยังไม่ได้รับมติประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เชื่อการทำงานจูนกันได้ ไม่มีแต้มต่อ ‘รัฐบาล-ธปท.’ ชี้ทำงานร่วม ไม่ได้สู้กัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

วันนี้ (12 พฤศจิกายน) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงความชัดเจนการคัดเลือกประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทยว่าใช่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง หรือไม่ว่าตนเองยังไม่ทราบ เพียงแต่ทราบตามข่าวเหมือนทุกคน และเห็นช้ากว่าคนอื่นด้วยเพราะขณะนั้นติดประชุมอยู่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับมติรายชื่อดังกล่าว

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าขั้นตอนหลังจากนี้จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอตามขั้นตอนหรือไม่ พิชัยกล่าวว่าหลังจากนี้คณะกรรมการสรรหาคงแจ้งมาที่ตน และรอดูว่าจะสรุปผลมาให้อย่างไร

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ารายชื่อเป็นไปตามข่าวหรือไม่ พิชัยกล่าวว่าตนคิดว่าคณะกรรมการสรรหาคงไม่บอกใคร ตนเองก็เห็นตามข่าวเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็รอตามขั้นตอนของกฎหมาย มาเมื่อไรก็เมื่อนั้น

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่าหากเป็นกิตติรัตน์จะต้องรับแรงกระแทกและถูกมองว่ามีการเมืองแทรกแซงหรือไม่ พิชัยกล่าวว่าเป็นใครก็เหมือนกัน เพราะหน้าที่ถูกเขียนใน พ.ร.บ. ชัดเจนว่าประธานคณะกรรมการและคณะกรรมการ ธปท. ต้องทำหน้าที่อย่างไร และของเดิมก็แบ่งหน้าที่ไว้ชัดเจนว่าคณะกรรมการชุดใหญ่ดูแลอะไร และ 4 ชุดที่เหลือมีหน้าที่อะไร ฉะนั้นทุกอย่างมีหน้าที่ชัดเจนและมีความเป็นอิสระ

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่าหากกิตติรัตน์เริ่มทำงานในตำแหน่งจะเป็นอย่างไรต่อนั้น พิชัยกล่าวว่าถ้ากิตติรัตน์นั่งทำหน้าที่ตรงนั้นก็ต้องทำหน้าที่ให้กับ ธปท. พร้อมยืนยันว่าใครทำหน้าที่ไหนก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ที่นั่น ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบ

 

เมื่อถามว่าการทำงานของรัฐบาลและ ธปท. จะง่ายขึ้นหรือไม่ พิชัยกล่าวว่าในส่วนรัฐบาลก็คือตน ซึ่งตนก็ทำงานง่ายอยู่แล้วและไม่มีปัญหา เพราะเชื่อว่าในความเป็นประเทศ รัฐบาลดูแลเรื่องคลัง และแบ่งหน้าที่เรื่องเงินในภาพใหญ่ให้ ธปท. ดูแล และเมื่อดูแล้วก็พยายามปรับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ฉะนั้นหากมีการพูดคุยกันบ่อยขึ้นก็จะจูนเข้าหากัน

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าเป็นกิตติรัตน์จะถือว่าเป็นแต้มต่อหรือไม่ พิชัยกล่าวว่าเราไม่ได้สู้กัน แต่เราทำงานร่วมกัน

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าจะเป็นการลดช่องว่างเรื่องนโยบายระหว่างกระทรวงการคลังและ ธปท. ใช่หรือไม่ พิชัยปฏิเสธตอบคำถามดังกล่าว

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีผู้ไปร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหากมีการเสนอชื่อกิตติรัตน์ พิชัยกล่าวว่าเรื่องนี้ตนไม่ทราบ ไม่ได้มีการพูดถึงคุณสมบัติ และคิดว่ากระทรวงการคลังก็ต้องทำหน้าที่ที่ควรทำ

The post รมว.คลัง ยังไม่ได้รับมติประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เชื่อการทำงานจูนกันได้ ไม่มีแต้มต่อ ‘รัฐบาล-ธปท.’ ชี้ทำงานร่วม ไม่ได้สู้กัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
รมว.คลัง สั่งเพิกถอนใบอนุญาตฯ สินมั่นคงประกันภัย พร้อมแต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี https://thestandard.co/withdraw-license-from-sinmungkhong-insurance/ Thu, 11 Jul 2024 01:35:57 +0000 https://thestandard.co/?p=956197

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตป […]

The post รมว.คลัง สั่งเพิกถอนใบอนุญาตฯ สินมั่นคงประกันภัย พร้อมแต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี appeared first on THE STANDARD.

]]>

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมแต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มีคำสั่งที่ 1364/2567 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ 19/2567 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 แต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ คปภ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตลอดจนการเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ

 

เนื่องจากปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะและการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ดังปรากฏข้อเท็จจริง ตามที่นายทะเบียนได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 36/2565 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) “บริษัท” แก้ไขฐานะและการดำเนินการตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้บริษัทเพิ่มทุนและแก้ไขฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพันและให้มีอัตราส่วนของเงินกองทุนเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 1 ปี

 

อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ดำเนินการเพิ่มทุนและแก้ไขฐานะการเงินให้เป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว แต่กลับอาศัยกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความทุกฝ่ายทราบผลคำสั่งตามกฎหมายแล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินจึงกลับไปเป็นของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัท ทำให้บริษัทสามารถเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทได้ ประกอบกับบริษัทมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน และมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

 

บริษัทจึงมีฐานะและการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน คปภ. จึงเห็นชอบให้นายทะเบียนใช้อำนาจตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สั่งให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 48/2566 เรื่อง ให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2566

 

นอกจากนี้ ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรเงินสำรองตามมาตรา 23 ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามมาตรา 27/4 ไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีฐานะการเงินไม่มั่นคงและไม่เพียงพอต่อภาระผูกพัน รวมถึงบริษัทไม่มีแนวทางในการแก้ไขฐานะการเงิน มีประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องจ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันทำให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชนได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายประการ บริษัทไม่มีความสามารถและความพร้อมที่จะรับประกันภัยและประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้ต่อไป

 

ทั้งนี้ หากให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือผู้เอาประกันภัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัย ดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

 

เนื่องจากการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจัดการภายในของบริษัท จึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินหรือสภาพคล่องของบริษัทประกันวินาศภัยอื่น หรือธุรกิจประกันภัยในภาพรวมแต่อย่างใด ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับมิให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบแล้ว

 

ทั้งนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท และเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยประกาศกำหนด โดยการยื่นจะดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ทั้งนี้ กองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชี จะประกาศแจ้งให้ทราบถึงกำหนดวัน เวลา และวิธีการยื่นคำทวงหนี้อีกครั้ง เพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 61/3 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

ดังนั้น จึงขอให้บรรดาเจ้าหนี้ของบริษัทโปรดติดตามประกาศของกองทุนประกันวินาศภัยอย่างใกล้ชิดได้ที่เว็บไซต์กองทุนประกันวินาศภัย www.gif.or.th และ Facebook Page ‘กองทุนประกันวินาศภัย’ โดยการจัดตั้งกองทุนประกันวินาศภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โดยเจ้าหนี้ฯ มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากสัญญาประกันภัยจากกองทุนประกันวินาศภัย ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่ได้รับการเฉลี่ยจากหลักทรัพย์ประกันและเงินสำรองที่วางไว้กับนายทะเบียนแล้ว ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท

The post รมว.คลัง สั่งเพิกถอนใบอนุญาตฯ สินมั่นคงประกันภัย พร้อมแต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จัก ‘สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ IGNITE THAILAND’ ดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี ฟรีค้ำประกัน 2 ปี https://thestandard.co/ignite-thailand-low-interest-loans/ Tue, 11 Jun 2024 08:25:54 +0000 https://thestandard.co/?p=943879 IGNITE THAILAND

กระทรวงการคลังเปิดตัวมาตรการ ‘สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ IGNIT […]

The post รู้จัก ‘สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ IGNITE THAILAND’ ดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี ฟรีค้ำประกัน 2 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
IGNITE THAILAND

กระทรวงการคลังเปิดตัวมาตรการ ‘สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ IGNITE THAILAND’ เพื่อหนุน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ ท่องเที่ยว สุขภาพ และอาหาร โดยมีดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.5% ต่อปี ฟรีค้ำประกัน 2 ปี

 

วันนี้ (11 มิถุนายน) ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ว่า เพื่อขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ Thailand Vision IGNITE THAILANDเพื่อยกระดับไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกตามนโยบายนายกรัฐมนตรี

 

กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ IGNITE THAILANDเพื่อสนับสนุนเงินทุนใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท วงเงินต่อรายสูงสุด 10 ล้านบาท ระยะเวลากู้ไม่เกิน 10 ปี ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.5% ต่อปี ใน 2 ปีแรก ปลอดชำระเงินต้น 6 เดือน

 

โดย 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่

  1. ศูนย์กลางการท่องเที่ยว (Tourism Hub)
  2. ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub)
  3. ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) 

 

นอกจากนี้ ยังมีกลไกการค้ำประกันสินเชื่อผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับสินเชื่อตามโครงการได้เพียงพอกับความต้องการดำเนินธุรกิจ โดยฟรีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันใน 2 ปีแรก และค่าธรรมเนียมเพียง 0.75% ต่อปี ในปีที่ 3-4 

 

“โครงการสินเชื่อ IGNITE THAILANDจะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเป้าหมายเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเพียงพอสำหรับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกตามที่รัฐบาลประกาศวิสัยทัศน์ IGNITE THAILANDไว้” เผ่าภูมิกล่าว

 

ทั้งนี้ โครงการสินเชื่อ IGNITE THAILANDได้รับการอนุมัติวงเงินงบประมาณรวม 1,150 ล้านบาท จากงบประมาณประจำปี 2567 โดยจะดำเนินการผ่านธนาคารออมสิน

The post รู้จัก ‘สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ IGNITE THAILAND’ ดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี ฟรีค้ำประกัน 2 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุปประเด็น ครม. เศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 ตั้งเป้าดัน GDP ไทยปีนี้โต 3% https://thestandard.co/economic-cabinet-goal-gdp-grow-thailand/ Mon, 10 Jun 2024 09:12:26 +0000 https://thestandard.co/?p=943514

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุม ครม. เศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 ต […]

The post สรุปประเด็น ครม. เศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 ตั้งเป้าดัน GDP ไทยปีนี้โต 3% appeared first on THE STANDARD.

]]>

สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุม ครม. เศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 ตั้งเป้าดัน GDP ปี 2567 โต 3% ผ่าน 3 แรงขับเคลื่อน ได้แก่ ท่องเที่ยว เบิกจ่ายงบรัฐ และดึงลงทุนต่างประเทศ เร่งแก้ปัญหาหนี้เสียและราคาปาล์มตกต่ำ ประกาศดูแลแรงงาน หลังโรงงานปิดตัวหลักพัน ยืนยันฟื้น LTF แน่นอน

 

วันนี้ (10 มิถุนายน) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยระบุว่า ที่ประชุม ครม. เศรษฐกิจตั้งเป้าผลักดัน GDP ปี 2567 ขึ้นไปแตะ 3% จากคาดการณ์ปัจจุบันที่ 2.4% ผ่านการเร่งผลักดัน 3 แรงขับเคลื่อนสำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยว การเบิกจ่ายงบภาครัฐ และการลงทุนเอกชน

 

“เศรษฐกิจไทยมีปัญหา GDP ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับศักยภาพประเทศคู่ค้าหรือประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีการคาดการณ์ว่า GDP ทั้งปีจะอยู่ที่ 2.4% จึงอยากให้ GDP ปรับขึ้นไปที่ 3% โดยการขับเคลื่อนผ่าน 3 ด้าน” พิชัยกล่าว

 

    1. ภาคการท่องเที่ยว โดยเดิมตั้งเป้านักท่องเที่ยวปีนี้ที่ 35.7 ล้านคน แต่หากสามารถเพิ่มตัวเลขนักท่องเที่ยวปีนี้อีก 1 ล้านคน เป็น 36.7 ล้านคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก็เชื่อมั่นว่าน่าจะสามารถผลักดันได้ และต้องทำให้การพำนักในไทยของนักท่องเที่ยวนานขึ้นด้วย หากทำได้จะช่วยผลักดัน GDP ได้ 0.12%

 

    1. การเบิกจ่ายงบภาครัฐ ซึ่งงบลงทุนปี 2567 มียอดทั้งหมด 8.5 แสนล้านบาท มีการเบิกจ่ายเม็ดเงินจริง และรอการเซ็นสัญญารวมแล้ว 51% แต่จะพยายามขับเคลื่อนการเบิกจ่ายงบลงทุนให้ได้ 70% แต่ส่วนตัวมีเป้าในใจอยากให้ทะลุ 75% โดยในวันพุธนี้ (12 มิถุนายน) จะหารือกับหน่วยงานที่ยังไม่เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อผลักดันงบลงทุนให้ได้ถึง 70% ภายในปีนี้ จะเป็นการช่วยเพิ่ม GDP 0.24% ดังนั้นรวมแล้วจะได้ GDP ที่ 3%

 

    1. มาตรการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน แม้รัฐบาลจะประเมินการช่วยเหลือได้ยาก แต่ตัวเลขที่เป็นไปได้จากข้อมูล BOI วันนี้ภาคเอกชนเริ่มเซ็นสัญญาลงทุนแล้ว และพร้อมที่จะเริ่มงานใน 3 ปี จะมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 8 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าเม็ดเงินลงทุนดังกล่าว จะดึงมาลงทุนในปีนี้สัก 3-4 แสนล้านบาท จะช่วยเพิ่ม GDP แม้ตัวเลขยังไม่นิ่ง ก็จะทำงานร่วมกับ BOI เพื่อสรุปตัวเลขให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และกลับมาลงทุนในประเทศไทยได้เร็วที่สุด

 

“ทั้ง 3 มาตรการนี้ เป็นมาตรการเบื้องต้นเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาตัวขับเคลื่อนว่าตัวไหนเป็นสาระสำคัญ และมาเร่งดำเนินการ ซึ่งจะมีการศึกษาว่าจะขับเคลื่อนงานด้านใด” พิชัยกล่าว

 

แก้ไขปัญหาปาล์มตกต่ำ

 

พิชัยกล่าวอีกว่า ครม. เศรษฐกิจได้พิจารณาการแก้ไขปัญหาปาล์มตกต่ำ โดยเฉพาะในเดือนนี้ที่มีผลผลิตออกมาจำนวนมาก โดยมาตรการระยะสั้นอยากเห็นผู้ซื้อสามารถพูดคุยกับเจ้าของโรงงานไบโอดีเซล 100 หรือ B100 เพื่อกำหนดราคาที่ใกล้เคียงและเป็นราคาที่จะสามารถประกาศ ซึ่งจะหาคำตอบว่าจะทำได้หรือไม่ ถ้าทำ B100 ขึ้น น้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ก็จะขึ้น และถ้าควบคุมการซื้อขายปาล์มได้ ก็จะทำให้ราคาขยับขึ้นไปที่ 5 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาจากวงจรทั้งหมด โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงพลังงาน ไปดูราคาตลาด ก่อนดำเนินการประกาศและพูดคุยกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อให้ลงตัวมากที่สุด

 

เร่งดูแลแรงงาน หลังโรงงานปิดตัวหลักพัน

 

พิชัยกล่าวอีกว่า ครม. เศรษฐกิจรับทราบรายงานจากกระทรวงแรงงานในเรื่องการดูแลแรงงานในขณะนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรงงานที่ปิดและมีคนตกงานมากกว่า 5 แสนคน ขณะเดียวกันต้องรองรับนักศึกษาจบใหม่อีก 1 แสนคน ซึ่งกระทรวงแรงงานได้เทียบตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร ซึ่งมีมากกว่า 5 แสนตำแหน่ง ณ วันนี้ จึงมีแรงงานที่ว่างงาน 1 แสนกว่าคน ดังนั้นจึงมอบหมายให้กระทรวงแรงงานติดตามสถานการณ์ดูความสมดุลการจ้างงาน

 

พิชัยกล่าวว่า ได้หารือเพิ่มทักษะแรงงานไทย ซึ่งขณะนี้มีความต้องการด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่นักลงทุนสนใจ โดยอยากได้คนที่มีทักษะทำงานได้ รวมถึงมีพลังงานสีเขียว โดยหลังจากนี้จะเก็บข้อมูลสิ่งที่นักลงทุนสนใจ และเห็นว่าจะตั้งคณะกรรมการระดับชาติขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อัปสกิลแรงงานดึงเงินลงทุนต่างชาติ ว่านักลงทุนต่างชาติจะสนใจลงทุนในด้านใด โดยจะทำงานร่วมกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิดด้วยการฝึกคนรุ่นใหม่ เน้นการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจมีหลักสูตรที่ตรงมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันต้องมีที่ฝึกงานแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ 

 

ส่วนบุคลากรที่มีความสนใจด้านอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วก็จะเพิ่มทักษะมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ซึ่งสามารถเข้าหลักสูตรเรียนรู้เพิ่มเติม ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องคน

 

แก้ปัญหาหนี้เสีย เร่งปล่อยสินเชื่อ

 

พิชัยกล่าวว่า ที่ประชุม ครม. เศรษฐกิจได้พิจารณาเรื่องหนี้ NPL สูง และผู้ประกอบการที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อ ซึ่งในเร็วๆ นี้จะหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยว่า จะมีมาตรการที่ยืดหยุ่นการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการให้กับกลุ่ม 21 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด จำนวน 4 ล้านราย ออกจากเครดิตบูโร

 

ส่วนในการประชุม ครม. วันพรุ่งนี้ (11 มิถุนายน) จะมีการเสนอมาตรการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SME เข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น 

 

พิชัยกล่าวต่อว่า ในระยะต่อไปจะมอบหมายให้ธนาคารออมสินออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน 1 แสนล้านบาท ปล่อยให้กับสถาบันการเงินในอัตรา 0.1% เพื่อนำวงเงินดังกล่าวไปปล่อยสินเชื่อต่อสำหรับลูกค้ารายใหม่ ดอกเบี้ย 1-3 ปีแรกไม่เกิน 3.5% ซึ่งยอมรับว่าอาจกระทบกับกำไรของธนาคารออมสินบ้าง แต่ถือว่าเป็นการช่วยผู้ประกอบการและประชาชนให้เข้าถึงสินเชื่อได้

 

ยืนยันฟื้น LTF แน่นอน

 

พิชัยกล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ยืนยันว่าเกิดขึ้นแน่นอน แต่ต้องดูที่วัตถุประสงค์ด้วย โดยต้องการให้ประชาชนได้ลงทุนในหุ้นที่ดี และต้องสามารถออมเงินได้ ซึ่งโครงการนี้ต้องเป็นโครงการที่ดี ไม่ใช่หุ้นประเภทไหนก็ได้ แต่ต้องเป็นหุ้นที่เรากำหนดและดูดีกับผู้ลงทุน ส่วนรายละเอียดโครงการขอให้ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทำงานร่วมกับกรมสรรพากร และต้องหารือกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เพื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ วงเงินเท่าไร รูปแบบที่จะทำ และระยะเวลาที่จะดำเนินการ

 

The post สรุปประเด็น ครม. เศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 ตั้งเป้าดัน GDP ไทยปีนี้โต 3% appeared first on THE STANDARD.

]]>
คลังเล็งออก ‘หวยเกษียณ’ ซื้อหวยเงินไม่หาย จูงใจให้คนออมเงิน เบื้องต้นคาดขายใบละ 50 บาท ลุ้นรางวัล 1 ล้านบาท https://thestandard.co/retirement-lottery-incentivize-people-save-money/ Thu, 06 Jun 2024 05:01:22 +0000 https://thestandard.co/?p=941863

คลังเล็งออก ‘หวยเกษียณ’ นวัตกรรมใหม่ ซื้อหวยเงินไม่หาย […]

The post คลังเล็งออก ‘หวยเกษียณ’ ซื้อหวยเงินไม่หาย จูงใจให้คนออมเงิน เบื้องต้นคาดขายใบละ 50 บาท ลุ้นรางวัล 1 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

คลังเล็งออก ‘หวยเกษียณ’ นวัตกรรมใหม่ ซื้อหวยเงินไม่หาย โดยผู้ซื้อจะถอนเงินทั้งหมดได้ตอนเกษียณเท่านั้น (อายุ 60 ปี) หวังจูงใจให้คนออมเงิน ชี้กำลังศึกษารายละเอียด-แก้กฎหมาย ย้ำไม่เกิดขึ้นเร็วอย่างแน่นอน เบื้องต้นเล็งขายใบละ 50 บาท ซื้อได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน ลุ้นรางวัลที่ 1 มูลค่า 1 ล้านบาท

 

วันนี้ (6 มิถุนายน) ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานโยบายสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า ‘สลากเกษียณ’ หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า ‘หวยเกษียณ’ ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายที่รวมเอาลักษณะการชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจในการเก็บออมที่สามารถถอนเงินที่ซื้อสลากทั้งหมดออกมาได้ตอนเกษียณ (อายุ 60 ปี)

 

“ปัจจุบันไทยมีปัญหาประชาชนเข้าสู่วัยเกษียณแต่ไร้เงินเก็บ ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วของไทย และปัญหานี้แก้ไม่ได้ด้วยการอัดงบประมาณในรูปแบบเบี้ยคนชราจำนวนสูงๆ ซึ่งในที่สุดแล้วระบบงบประมาณไม่มีทางรับไหว” ดร.เผ่าภูมิกล่าว

 

สำหรับรายละเอียดเบื้องต้น (สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง) มีดังนี้

 

1.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ออกสลากขูดแบบดิจิทัล ใบละ 50 บาท เพื่อขายให้กับสมาชิก กอช. ผู้ประกันตนมาตรา 40 และแรงงานนอกระบบ (กลุ่มเป้าหมายจะเพิ่มเติมภายหลัง) ซื้อได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน


 

2.สามารถซื้อสลากได้ทุกวัน แต่ออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น. ผู้ถูกรางวัลจะได้เงินรางวัลทันที โดยที่เงินค่าซื้อสลากถูกเก็บเป็นเงินออมแม้ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม


 

3.รางวัลของ ‘ทุกวันศุกร์’ กำหนดดังนี้ (อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)

 

3.1. รางวัลที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท จำนวน 5 รางวัล

3.2. รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล

 


4. ‘เงินค่าซื้อสลากทั้งหมดจะเป็นเงินออมของผู้ซื้อสลาก’ (เงินสะสม) ซึ่งจะนำเงินส่งเข้าบัญชีเงินออมรายบุคคลกับ กอช. โดย กอช. จะเป็นผู้บริหารจัดการเงินจำนวนดังกล่าว และเมื่อผู้ซื้อสลากอายุครบ 60 ปี จะสามารถถอนเงินทั้งหมดที่ซื้อสลากมาทั้งชีวิตออกมาได้

 

นโยบายนี้จะเข้าแก้ไขปัญหาคนไทยแก่แต่จน แก่แต่ไม่มีเงินเก็บ เพราะการออมภาคสมัครใจในปัจจุบันไม่ได้ผล ต้องอาศัยการออมที่ผูกกับแรงจูงใจ

 

ซื้อสลากถูกกฎหมาย เงินไม่หาย กลายเป็นเงินออมยามเกษียณ ถูกรางวัลได้เงินเลย ไม่ถูกทุกบาททุกสตางค์จะถูกเก็บเป็นเงินออมยามเกษียณ ซื้อมากได้ลุ้นมาก มีเงินออมมาก

 

นโยบายนี้อยู่ระหว่างขัดเกลารายละเอียด และต้องใช้เวลาในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย (6 เดือน – 1 ปี) ไม่เกิดขึ้นเร็วอย่างแน่นอน แต่จะเร่งรัดให้เร็วที่สุด

The post คลังเล็งออก ‘หวยเกษียณ’ ซื้อหวยเงินไม่หาย จูงใจให้คนออมเงิน เบื้องต้นคาดขายใบละ 50 บาท ลุ้นรางวัล 1 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดวิสัยทัศน์ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รมว.คลัง ประกาศมุ่งเพิ่มรายได้ประชาชนเป็นอันดับแรก! จับสัญญาณเตรียมจบสงครามหรือกดดันแบงก์ชาติต่อ? https://thestandard.co/pichai-chunhavajira-vision/ Tue, 07 May 2024 11:29:28 +0000 https://thestandard.co/?p=930821 เปิดวิสัยทัศน์ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รมว.คลัง

เปิดวิสัยทัศน์ พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ค […]

The post เปิดวิสัยทัศน์ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รมว.คลัง ประกาศมุ่งเพิ่มรายได้ประชาชนเป็นอันดับแรก! จับสัญญาณเตรียมจบสงครามหรือกดดันแบงก์ชาติต่อ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดวิสัยทัศน์ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รมว.คลัง

เปิดวิสัยทัศน์ พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ล่าสุด ชี้ เตรียมให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้ประชาชนเป็นอันดับแรก เผยเตรียมหารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ‘ทันทีที่มีโอกาส’ ย้ำ ต้องการเห็นนโยบายการคลังและการเงินสอดประสานกัน ด้านสื่อต่างชาติวิเคราะห์ อาจเห็นการกดดันแบงก์ชาติให้ลดดอกเบี้ยต่อ

 

วันนี้ (7 พฤษภาคม) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงการคลัง โดยได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว โดยระบุว่า สิ่งที่เตรียมทำอันดับหนึ่งคือ เพิ่มรายได้ของประชาชนด้วยการทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น

 

“วันนี้คนมีรายได้น้อยลง GDP ต่ำลง อัตราเงินเฟ้อก็ต่ำ โดยเผลอๆ แล้วอัตราเงินเฟ้อที่ว่าต่ำแล้ว รายได้อาจลดลงต่ำกว่า เพราะเรารู้สึกว่าของแพง อันนี้เห็นได้ชัดๆ อีกวิธีดูคือ หนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของ GDP” พิชัยกล่าว

 

รมว.คลัง มอง เศรษฐกิจไทยโตต่ำ-มีปัญหา

 

พิชัยยังตั้งข้อสังเกตว่า หลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP Growth) ลงแบบขั้นบันได โดยทุก 5 ปีจะลงมาประมาณ 1% กว่า จากที่เคยโตได้ 5% ก็เหลือ 3-4% และปัจจุบันอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเหลืออยู่แค่ 1% กว่าๆ เท่านั้น นับว่าต่ำเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกัน

 

ทั้งนี้ ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยโตเพียง 1.9% เท่านั้น แทบรั้งท้ายในกลุ่มประเทศในอาเซียน โดยโตนำเพียงสิงคโปร์เท่านั้น สวนทางฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่โตทะลุ 5% และมาเลเซียที่โตเกือบ 4%

 

พิชัยมองว่า สาเหตุที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสินค้าส่งออกของไทยแข่งขันไม่ได้และถูกเทคโนโลยีใหม่แทนที่

 

จึงมองว่า การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยสามารถทำได้ 3 ส่วน ได้แก่ การลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ การยกระดับการท่องเที่ยว รวมไปถึงการพัฒนาโลจิสติกส์ 

 

“เราผลิตเก่งแล้วก็ต้องขายเก่งด้วย เพราะฉะนั้นถ้าจะดีที่สุด เราก็จะมีทางให้เขาผ่าน มีโลจิสติกส์ที่ดีด้วย” พิชัยกล่าว

 

ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวส่วนหนึ่งอาจสะท้อนให้เห็นว่า รมว.คลัง คนใหม่ กำลังหันมาให้ความสำคัญกับปัจจัยเชิงโครงสร้างมากขึ้นแล้ว

 

เตรียมคุยแบงก์ชาติทันทีที่มีโอกาส

 

พิชัยกล่าวอีกว่า เตรียมหารือกับ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ‘ทันทีที่มีโอกาส’ โดยต้องรอดูว่าตัวเขา (รมว.คลัง) ว่างเมื่อไร และท่าน (ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) ว่างเมื่อไร 

 

พร้อมทั้งกล่าวอีกว่า ตนคุ้นเคยดีกับผู้ว่าฯ เนื่องจากทำงานอยู่ในแวดวงที่ไม่ต่างกัน จะต่างกันแค่อายุเท่านั้น

 

สำหรับกระแสประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย พิชัยกล่าวว่า ผมก็คิดว่าทุกคนมีมุมมองของตัวเอง จึงต้องนั่งคุยกัน นำข้อเท็จจริงมาวาง หาจุดยืน และตกผลึก

 

พร้อมยืนยันว่า แบงก์ชาติมีอิสระในความคิด มีอิสระในการวิเคราะห์ มีอิสระในการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดได้ แต่ทั้งนี้ ทางเลือกนั้นต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน

 

ผู้สื่อข่าวยังได้ถามถึงสถานที่พูดคุย พิชัยตอบว่า อาจจะไปพูดคุยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดี รมว.คลัง ระบุว่า ถ้าไป (หารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) จะไม่พูดคุยเรื่องดอกเบี้ยเนื่องจากเป็นอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งจะไม่พูดคุยเรื่องดิจิทัลวอลเล็ต เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของภาครัฐ

 

นอกจากนี้ในช่วงหนึ่งพิชัยได้พูดเป็นนัยเกี่ยวกับความต้องการให้แบงก์ชาติใช้นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยระบุว่า “ถ้าวันนี้ของฝืด ควรเหยียบคันเร่งหน่อยดีไหม บางอย่างเหยียบ (คันเร่ง) แล้วใช้เงิน แต่บางอย่างเหยียบ (คันเร่ง) ไม่ต้องใช้เงิน ใช้แต่นโยบายก็เหยียบได้แล้ว”

 

สื่อต่างชาติวิเคราะห์ อาจเห็นการกดดันแบงก์ชาติให้ลดดอกเบี้ยต่อ

 

โดยในการให้สัมภาษณ์ช่วงเช้าที่ทำเนียบรัฐบาล พิชัยกล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ต้องมีการพูดคุยกัน ซึ่งเป็นทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยที่เราจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันให้เครื่องจักรสองเครื่องทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ‘สอดคล้องและเดินไปในทิศทางเดียวกัน’

 

ด้านสื่อต่างประเทศรวมถึง Bloomberg ลงบทความโดยระบุว่า การเรียกร้องให้ธนาคารกลางสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว อาจส่งสัญญาณว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจถูกกดดันให้ลดอัตราดอกเบี้ยต่อไป

 

รมว.คลัง มอง หนี้กองทุน FIDF คือหนี้ของประเทศ

 

ส่วนกระแสข่าวการโยกหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Institutions Development Fund: FIDF) จากกระทรวงการคลังไปให้แบงก์ชาติ

 

พิชัยมองว่า สุดท้ายแล้วไม่ว่า FIDF จะอยู่ตรงไหนก็เป็นหนี้ของประเทศอยู่ดี อย่างไรก็ดี ต้องมาดูว่าตอนนี้ใครกำลังดีกว่า และจะต้องมีการพูดคุยกันอีกที

 

“เข้าใจว่าตอนปี 2540 ตอนนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็น่าจะลำบาก คนที่ยังพอมีแรงกู้คือภาครัฐจึงใส่ไปก่อน” พิชัยกล่าว

 

อ้างอิง:

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post เปิดวิสัยทัศน์ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รมว.คลัง ประกาศมุ่งเพิ่มรายได้ประชาชนเป็นอันดับแรก! จับสัญญาณเตรียมจบสงครามหรือกดดันแบงก์ชาติต่อ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ ส่งต่อเงินเดือน-เบี้ยประชุมให้มูลนิธิอีก 4 แห่ง เพื่อต่อยอดโอกาสในกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง https://thestandard.co/srettha-salaries-to-4-more-foundations/ Fri, 17 Nov 2023 01:52:06 +0000 https://thestandard.co/?p=866554

วันนี้ (17 พฤศจิกายน) ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐ […]

The post นายกฯ ส่งต่อเงินเดือน-เบี้ยประชุมให้มูลนิธิอีก 4 แห่ง เพื่อต่อยอดโอกาสในกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (17 พฤศจิกายน) ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประกาศความประสงค์ส่งต่อเงินเดือนและเบี้ยประชุมของทุกเดือนให้มูลนิธิต่างๆ ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนั้น

 

โดยเงินเดือนประจำตำแหน่งและเบี้ยประชุมในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (เดือนกันยายน-ตุลาคม) ได้คัดเลือกมูลนิธิเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 แห่ง ได้แก่

 

  1. มูลนิธิคนพิการไทย นายกฯ มอบเงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อสมทบทุนในโครงการ ‘เป็นแขน-ขาให้ตากะยาย’ ผลิตวีลแชร์ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กพิการ คนพิการ และผู้สูงอายุทั่วประเทศ

 

  1. มูลนิธิอิสรชน นายกฯ มอบเงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อให้ในฐานะที่มูลนิธิเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย เพื่อดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือ การแบ่งปันอาหาร หรือมอบถุงปันสุขให้แก่คนด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ

 

  1. มูลนิธิสายธารสุขใจ นายกฯ มอบเงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อสมทบทุนในการซื้อข้าวสารอาหารแห้ง และจัดหาสิ่งของที่จำเป็นในการดำรงชีวิตให้กับผู้ชราและคนยากไร้

 

  1. มูลนิธิบ้านพระพร นายกฯ มอบเงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนผู้พ้นโทษ และเด็กที่พ่อแม่อยู่ในเรือนจำ เพื่อให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ชัยกล่าวต่อว่า นอกจากการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง นายกรัฐมนตรีและคณะของรัฐบาลยังมีการลงพื้นที่เพิ่มเติมในหลายๆ พื้นที่ เช่น จังหวัดยโสธร, จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดชลบุรี, จังหวัดระยอง, จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดพิษณุโลก

 

โดยเข้าไปพบปะพูดคุยกับประชาชนและองค์กรต่างๆ รับฟังปัญหาและความต้องการ เพื่อจะหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป

The post นายกฯ ส่งต่อเงินเดือน-เบี้ยประชุมให้มูลนิธิอีก 4 แห่ง เพื่อต่อยอดโอกาสในกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนตั้ง ‘หวังอี้’ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศแทน ‘ฉินกัง’ ที่ไม่ปรากฏตัวต่อสื่อนาน 1 เดือน https://thestandard.co/china-foreign-minister-qin-gang-replaced-wang-yi/ Tue, 25 Jul 2023 13:08:09 +0000 https://thestandard.co/?p=822022 หวังอี้

วันนี้ (25 กรกฎาคม) สภาประชาชนแห่งชาติของจีนมีมติรับรอง […]

The post จีนตั้ง ‘หวังอี้’ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศแทน ‘ฉินกัง’ ที่ไม่ปรากฏตัวต่อสื่อนาน 1 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
หวังอี้

วันนี้ (25 กรกฎาคม) สภาประชาชนแห่งชาติของจีนมีมติรับรอง หวังอี้ นักการทูตระดับสูงของจีน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนอีกครั้งแทนที่ ฉินกัง ที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อช่วงปลายปี 2022 ท่ามกลางการตั้งคำถามจากหลายฝ่ายถึงการตัดสินใจครั้งนี้ หลังจากฉินกังไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณะมานานเกือบ 1 เดือนเต็ม 

 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นในที่ประชุมคณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ซึ่งเปิดประชุมในช่วงเช้า โดยมี จ้าวเล่อจี้ นั่งเป็นประธาน ซึ่งในช่วงท้ายมีการลงมติแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ขณะที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ได้ลงนามเพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันที

 

โดยฉินกังหายไปจากหน้าสื่อตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากที่เขาให้การต้อนรับคณะผู้แทนศรีลังกา เวียดนาม และรัสเซีย ที่เดินทางเยือนจีนในช่วงเวลานั้น 

 

การปรับเปลี่ยนตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลจีนอย่างตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศนั้นสร้างแรงกระเพื่อมให้กับจีนเป็นอย่างมาก และทำให้หลายฝ่ายต่างคาดเดาถึงชะตากรรมของฉินกังว่า เป็นเพราะเหตุใดเส้นทางในแวดวงการเมืองระดับชาติของเขาถึงจบลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ 

 

โดยฉินกังถือเป็นหนึ่งในนักการเมืองแถวหน้าของจีนที่ได้รับความไว้วางใจจากประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ของจีน เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศจีน หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐอเมริกาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ 

 

ฉินกังมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างเสถียรภาพและฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดยได้ปฏิบัติภารกิจเป็นผู้แทนระดับสูงของจีนต้อนรับ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เดินทางเยือนจีนในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก่อนที่เขาจะหายตัวไป

 

ในขณะที่หวังอี้เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศจีนในช่วงปี 2013-2022 ก่อนที่จะขยับไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกิจการต่างประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศจีนอีกครั้งในวันนี้

 

แฟ้มภาพ: Johannes Simon / Getty Images และ Thomas Peter / Pool / Getty Images

อ้างอิง:

The post จีนตั้ง ‘หวังอี้’ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศแทน ‘ฉินกัง’ ที่ไม่ปรากฏตัวต่อสื่อนาน 1 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
มองแง่ดี อาคมชี้ บาทอ่อนมีโอกาสดันมูลค่าส่งออกไทยทั้งปีนี้ให้พลิกบวกได้ https://thestandard.co/baht-appreciation-chance-push-up-thai-exports/ Fri, 16 Jun 2023 05:51:21 +0000 https://thestandard.co/?p=804387 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

รัฐมนตรีคลังเผย เงินบาทที่อ่อนขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ม […]

The post มองแง่ดี อาคมชี้ บาทอ่อนมีโอกาสดันมูลค่าส่งออกไทยทั้งปีนี้ให้พลิกบวกได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

รัฐมนตรีคลังเผย เงินบาทที่อ่อนขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน มีโอกาสหนุนมูลค่าส่งออกไทยทั้งปีนี้ให้พลิกบวกได้ พร้อมจับตาสถานการณ์ต่อสู้กับเงินเฟ้อของประเทศที่พัฒนาทั้งหลาย เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

 

วันนี้ (16 มิถุนายน) อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า พื้นฐานของเศรษฐกิจไทยนั้นยังมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับการส่งออก ซึ่งมีแนวโน้มจะติดลบในเชิงปริมาณ แต่ในเชิงมูลค่าอาคมมองว่ายังมีโอกาสที่จะไม่ติดลบ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นราว 0.17% (YTD) เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ราว 34.6670 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ 

 

อาคมระบุอีกว่า สำหรับปัจจัยที่ต้องจับตาในช่วงครึ่งหลังของปีนี้คือ สถานการณ์การต่อสู้กับเงินเฟ้อของประเทศที่พัฒนาทั้งหลาย เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ถ้าสัญญาณออกมาดีนั้นก็น่าจะเป็นผลบวกกับเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเศรษฐกิจไทยผูกพันอยู่กับเศรษฐกิจโลก 

 

ตามการประมาณการของการส่งออกไทยล่าสุดของ SCB EIC คาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยทั้งปีนี้จะติดลบ 0.5% หนักกว่าประมาณการการส่งออกสินค้าของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ติดลบ 0.1%

 

นอกจากนี้อาคมยังเปิดเผยอีกว่า ในการประชุมขององค์กรคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ หรือ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) ประจำปีนี้ มีประเด็นการหารือหลักเกี่ยวกับทิศทางการกําหนดนโยบาย มาตรการทางด้านการกํากับดูแลตลาด และความร่วมมือระหว่างภูมิภาคทั่วโลก

 

โดยในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การคุ้มครองนักลงทุน, การสนับสนุนตลาดคริปโตเคอร์เรนซีและตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยี ให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น, และการคลังยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะภูมิอากาศ

 

“เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองกับนักลงทุน เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นที่ระดมเงินสำหรับนักลงทุนผู้มีเงินออม เป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะฉะนั้นจึงต้องดูแลเงินลงทุนของนักลงทุนเหล่านี้เป็นอย่างดี” อาคมกล่าว

The post มองแง่ดี อาคมชี้ บาทอ่อนมีโอกาสดันมูลค่าส่งออกไทยทั้งปีนี้ให้พลิกบวกได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำความรู้จัก 7 รมว.คลังหญิงทั่วโลก https://thestandard.co/7-female-chancellor-of-the-exchequer/ Mon, 29 May 2023 10:42:51 +0000 https://thestandard.co/?p=796553 รมว.คลังหญิงทั่วโลก

แม้ว่าการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกลในเวลา […]

The post ทำความรู้จัก 7 รมว.คลังหญิงทั่วโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
รมว.คลังหญิงทั่วโลก

แม้ว่าการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกลในเวลานี้จะยังไม่สะเด็ดน้ำว่าพรรคใดจะได้เข้าไปบริหารจัดการกระทรวงใดบ้าง แต่ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าถ้าก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะตกเป็นของ ‘ศิริกัญญา ตันสกุล’ ส.ส. บัญชีรายลำดับที่ 3 และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค 

 

นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ประเทศไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาแล้วทั้งหมด 54 คน และทุกคนล้วนเป็นผู้ชาย ดังนั้นหากพรรคก้าวไกลสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และเสนอชื่อศิริกัญญา ตันสกุล ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เธอก็จะกลายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของไทย 

 

การมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้หญิงอาจถือเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับประเทศไทย แต่มันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันก็มีหลายประเทศทั่วโลกที่มีผู้หญิงทำหน้าที่สำคัญนี้อยู่ โดยจากการรวบรวมข้อมูลของ THE STANDARD WEALTH พบว่า ณ ขณะนี้ทั่วโลกมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่เป็นผู้หญิงอยู่อย่างน้อย 7 คน ประกอบด้วย 

 

1. Janet Yellen อายุ 76 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา

 

คนที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจเป็นประจำคงจะไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินชื่อของ Yellen จากการที่เธอมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกอย่างสหรัฐฯ มาเป็นเวลาหลายปี ทั้งในฐานะประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ระหว่างปี 2014-2018 ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 78 ของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลโจ ไบเดนในปี 2021 โดยเธอยังถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ อีกด้วย

 

ปัจจุบัน Yellen ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากความเชี่ยวชาญด้านนโยบายการเงิน ความมุ่งมั่นในการจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจที่ครอบคลุมคนทุกระดับและมีความยั่งยืน

 

2. María Jesús Montero อายุ 57 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสเปน

 

Montero เป็นนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ชาวสเปน เธอเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และโฆษกรัฐบาลของสเปนตั้งแต่ปี 2018 โดย Montero เป็นสมาชิกของพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (PSOE) และมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมากตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000 ก่อนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เธอดำรงหลายตำแหน่งในรัฐบาลท้องถิ่นของแคว้นอันดาลูเซีย 

 

Montero เป็นที่รู้จักจากความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการคลัง และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการตัดสินใจด้านงบประมาณของสเปน นอกจากนี้เธอยังมีสถานะเป็นโฆษกรัฐบาล เพื่อทำหน้าที่สื่อสารและแสดงจุดยืนของรัฐบาลสเปนในประเด็นต่างๆ ต่อสาธารณชนและสื่อมวลชนอีกด้วย

 

3. Nirmala Sitharaman อายุ 63 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดีย

 

Sitharaman เป็นนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของอินเดีย โดยปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังควบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการองค์กรในรัฐบาลอินเดีย ทำหน้าที่กำหนดและดำเนินนโยบายการคลัง จัดการงบประมาณของประเทศ และดูแลเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษี การธนาคาร และการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเธอถือเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคภารติยะ ชนะตะ หรือ บีเจพี (Bharatiya Janata Party: BJP) และมีตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งภายในพรรค

 

Sitharaman เป็นที่รู้จักจากภูมิหลังที่แข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจและการเงิน โดยเธอเคยทำงานในภาคธุรกิจ และเป็นสมาชิกของ National Commission for Women ในอินเดีย นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Sitharaman ได้ปฏิรูปนโยบายสำคัญหลายเรื่อง เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอินเดียและลดความเหลื่อมล้ำ

 

4. Chrystia Freeland อายุ 54 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแคนาดา

 

Freeland เป็นนักการเมืองชาวแคนาดาที่มีพื้นฐานมาจากการเป็นสื่อมวลชน โดยเคยทำงานให้กับบริษัทสื่อชั้นนำต่างๆ เช่น Financial Times และ Reuters เธอเริ่มต้นเข้าสู่วงการการเมืองหลังจากได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาเป็นครั้งแรกในปี 2013 ในฐานะตัวแทนจากพรรค Liberal Party of Canada

 

ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปัจจุบัน เธอเคยทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นผู้แทนเจรจาการค้าของแคนาดามาก่อน โดยเธอเป็นที่รู้จักจากการให้ความสำคัญกับนโยบายเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและก้าวหน้า ตลอดจนการสนับสนุนความเท่าเทียมทางสังคมและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ

 

5. Sri Mulyani Indrawati อายุ 60 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย

 

Sri Mulyani ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี 2016 และมีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของอินโดนีเซียและจัดการการเงินของประเทศ 

 

Sri Mulyani มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เนื่องจากเคยทำงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มานานกว่า 20 ปีก่อนที่จะเข้าสู่การเมือง ในระหว่างดำรงตำแหน่งที่ IMF เธอดำรงตำแหน่งระดับสูงหลายตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการบริหาร ซึ่งเป็นตัวแทนของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 

ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Sri Mulyani ได้ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการคลัง การลดความยากจน และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยปรับปรุงการจัดเก็บภาษี ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเพิ่มความโปร่งใสในการใช้จ่ายสาธารณะ จนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง

 

6. Annika Saarikko อายุ 39 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฟินแลนด์

 

Saarikko เป็นนักการเมืองชาวฟินแลนด์ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลฟินแลนด์ เธอเป็นสมาชิกของ Centre Party of Finland และมีส่วนร่วมในการเมืองมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 โดยเธอเป็นที่รู้จักจากความเชี่ยวชาญด้านนโยบายสังคมและการดูแลสุขภาพ 

 

Saarikko มีส่วนร่วมในการกำหนดระบบสวัสดิการของฟินแลนด์ นอกจากบทบาทในทางเศรษฐกิจแล้ว เธอยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการครอบครัวและบริการสังคมอีกด้วย โดยเธอได้รับการยอมรับจากความมุ่งมั่นของเธอในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและการมีส่วนร่วมทางสังคม 

 

7. Sigrid Kaag อายุ 61 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเนเธอร์แลนด์

 

Kaag เป็นนักการทูตและนักการเมืองชาวดัตช์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเนเธอร์แลนด์ เธอเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง D66 (พรรคเดโมแครต 66) ก่อนประกอบอาชีพทางการเมือง Kaag มีอาชีพที่โดดเด่นในด้านการทูต โดยดำรงตำแหน่งหลายบทบาทในองค์การสหประชาชาติ รวมถึงเป็นผู้ประสานงานพิเศษสำหรับเลบานอน และเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ UN

 

Kaag ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การค้าระหว่างประเทศ และการลดความยากจน โดยเธอมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของเนเธอร์แลนด์เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นที่รู้จักจากการให้ความสำคัญกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ความเท่าเทียมทางเพศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเชี่ยวชาญด้านการทูตของ Kaag และความมุ่งมั่นของเธอในประเด็นระดับโลกทำให้เธอได้รับการยอมรับและความเคารพทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

The post ทำความรู้จัก 7 รมว.คลังหญิงทั่วโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>