รอมฎอน ปันจอร์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 25 Oct 2024 08:10:37 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 13 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนคดีตากใบหมดอายุความ รัฐสภาร่วมหารือคืนความยุติธรรมและหาทางออกของปัญหา ก่อนส่งข้อเสนอถึงรัฐบาล https://thestandard.co/13-hours-left-takbai-case/ Fri, 25 Oct 2024 08:09:33 +0000 https://thestandard.co/?p=1000042

วันนี้ (25 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนร […]

The post 13 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนคดีตากใบหมดอายุความ รัฐสภาร่วมหารือคืนความยุติธรรมและหาทางออกของปัญหา ก่อนส่งข้อเสนอถึงรัฐบาล appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (25 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 35 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1) ที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ญัตติด่วนด้วยวาจา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สืบเนื่องจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมตากใบ ก่อนจะหมดอายุความในเวลา 00.00 น. 

 

  1. รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาผลกระทบของการขาดอายุความคดีตากใบ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อฟื้นฟูความชอบธรรมของรัฐและการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

  1. กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส. นราธิวาส พรรคประชาชาติ เสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันพิจารณาหาทางออกกับสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีการสลายการชุมนุมเหตุการณ์ตากใบที่จะขาดอายุความในวันนี้

 

ใช้ ‘ปาก-หู’ แทนเสียงปืน-ระเบิด คืนความยุติธรรมตากใบ

 

รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวว่า นับจากวินาทีนี้เป็นต้นไปจนกระทั่งถึงเที่ยงคืน 13 ชั่วโมง 15 นาที ก่อนที่อายุความของคดีอาญาร้ายแรงที่เป็นผลมาจากโศกนาฏกรรมเมื่อ 20 ปีก่อน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมตากใบที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึง 85 คน และมีคดีอาญา 2 สำนวนที่ประชาชนฟ้องเองในศาลจังหวัดนราธิวาส มีจำเลย 7 คน แต่ยังไม่พบตัวและไม่สามารถนำจำเลยมาที่ศาลได้ รวมทั้งคดีที่อัยการสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาก็ยังไม่ถูกจับกุมและไม่มีการมอบตัว ทั้ง 14 คนยังไม่ปรากฏตัวต่อศาล 

 

รอมฎอนกล่าวว่า นี่คือปัญหาในวินาทีนี้ ซึ่งเหตุการณ์ตากใบเป็นส่วนหนึ่งในหลายเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นในชายแดนภาคใต้ตลอด 20 ปีที่ผ่านมามีคนเสียชีวิตมากกว่า 7,000 คน แต่เหตุการณ์ตากใบเป็นปมสำคัญ เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนผ่านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความทรงจำ เป็นบาดแผลทางประวัติศาสตร์ที่ต้องชำระสะสางอย่างมีวุฒิภาวะ เพื่อที่เราจะสามารถเดินหน้าต่อไปในการสร้างสันติภาพและหาข้อยุติจากความขัดแย้งนี้ได้ เราต้องการทางออกทางการเมือง 

 

“เรื่องนี้เรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของรัฐ เป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐ เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นเรื่องหลักการสำคัญที่ยึดโยงให้รัฐเราเป็นรัฐเรา คือหลักนิติธรรม และเราต้องการเหตุและผลในการใช้วุฒิภาวะเพื่อรับมือกับปัญหานี้” รอมฎอนกล่าว

 

รอมฎอนกล่าวต่ออีกว่า ที่ตนเองต้องเสนอญัตติด่วนด้วยวาจา นอกจากอายุความกำลังจะหมด จำเลยและผู้ต้องหาไม่มาที่ศาลแล้ว ตอนนี้เราพบว่ากระบวนการยุติธรรมภายในประเทศกำลังถูกท้าทาย หลายเดือนที่ผ่านมานี้ฝ่ายนิติบัญญัติใช้กลไกกรรมาธิการในการพยายามเปิดความจริง ขณะที่ฝ่ายตุลาการก็พยายามถึงที่สุดที่พยายามหาความจริงและให้ความยุติธรรมบังเกิดขึ้น 

 

ในขณะเดียวกันก็เกิดคำถามขึ้นมาในแวดวงระหว่างประเทศว่า ประเทศเรายังปกครองอยู่ภายใต้หลักนิติธรรมหรือไม่ หลายเรื่องที่เคยเกิดขึ้น ทั้งวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดที่ยังมีอยู่ และความรับผิดชอบที่ต้องมีจากเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำต่อประชาชนนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ เรากำลังเผชิญกับข้อพิสูจน์ที่ว่ารัฐไทยไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้จริงหรือไม่ นี่คือคำถามใหญ่ที่เราต้องระดมกำลังสมองต่างๆ เพื่อแสวงหาทางออกกับภาวะเสื่อมถอยนี้ 

 

สุดท้ายเราจะโอบอุ้มความรู้สึกของญาติผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บที่กำลังรอคอยความจริงและความยุติธรรมนี้ได้อย่างไร นี่เป็นหน้าที่ของเราที่จะนำเรื่องยากและท้าทายแบบนี้มาคุยกันในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ ในฐานะผู้แทนของประชาชนชาวไทย เพื่อหาทางออกร่วมกัน

 

รอมฎอนกล่าวเพิ่มเติมว่า เราจำเป็นต้องใช้ปากของเราพูดและใช้หูของเราฟังความคิดเห็นต่าง แทนที่จะปล่อยให้เสียงปืน เสียงระเบิด เสียงของความรุนแรง ผูกขาดความจริง ผูกขาดคำอธิบายต่างๆ และแทนที่จะใช้ความเงียบหลบหนีปัญหา เราต้องเผชิญหน้าอย่างมีวุฒิภาวะ ความยุติธรรมที่เราต้องการอาจไม่ใช่แค่การดำเนินคดีในชั้นศาลเท่านั้น แต่อาจหมายถึงการเปิดเผยความจริง การเยียวยาฟื้นฟู และการปฏิรูปเชิงสถาบันต่างๆ เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์ที่มีคนใช้อำนาจรัฐฆ่าประชาชนเกิดขึ้นอีก

 

คดีตากใบอาจเป็นเงื่อนไขใหม่ของปัญหาชายแดนภาคใต้ที่ไม่มีวันจบสิ้น

 

ขณะที่ กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส. นราธิวาส พรรคประชาชาติ อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ นำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีของครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 คน และจะขาดอายุความในวันนี้ว่า เป็นเรื่องของทุกคนในฝ่ายนิติบัญญัติที่ต้องแสดงความเห็นไปยังฝ่ายบริหาร เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

พรรคประชาชาติเห็นว่าคดีตากใบอาจเป็นเงื่อนไขใหม่ หากเรื่องนี้ถูกปล่อยผ่านและไม่มีการดำเนินการอย่างใส่ใจ กรณีดังกล่าวถูกตั้งคำถามมากมาย ประชาชนที่ต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมถูกใส่ร้ายว่าเป็นแนวร่วมฯ มีการเบี่ยงประเด็นหลายประเด็น อาทิ ทำไมเพิ่งมาฟ้องร้อง แต่ความจริงเรื่องนี้มันสุมอยู่ในอกของครอบครัวผู้สูญเสียมาโดยตลอด แม้จะรับเงินเยียวยาไปแล้ว แต่ในแง่กฎหมายนั้นคดีอาญาไม่ได้ถูกระงับไปด้วย ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหา โดยเฉพาะความรู้สึกของคนในพื้นที่และความรู้สึกของครอบครัวผู้สูญเสียอย่างไม่มีวันจบสิ้น 

 

กมลศักดิ์กล่าวอีกว่า นี่คือประวัติศาสตร์ของพี่น้องชาวมลายูในพื้นที่ที่ลุกขึ้นต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม และเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกที่อดีตแม่ทัพ อดีตผู้บัญชาการทหาร และผู้บริหารระดับสูง ถูกออกหมายจับจากกรณีทำให้ประชาชนในพื้นที่เสียชีวิต ดังนั้นสภาแห่งนี้ต้องสะท้อนให้ผู้ปฏิบัติงานปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รู้กฎหมาย การที่เขาหันหน้ามาต่อสู้โดยไม่ได้จับปืนต่อต้านอำนาจรัฐตามกระบวนการที่ถูกต้องของรัฐธรรมนูญ อย่าไปใส่ความเขาว่าเป็นโจรหรือว่าเป็นแนวร่วมฯ 

 

“ตราบใดที่ยังมีความรู้สึกเช่นนี้ ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะไม่มีวันจบสิ้น แม้จะทุ่มงบประมาณแค่ไหนก็ไม่สามารถทำได้ เงินเยียวยาจะเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง และยืนยันว่าพรรคประชาชาติไม่ได้นิ่งนอนใจ” 

 

ส่วน ซาการียา สะอิ สส. นราธิวาส พรรคภูมิใจไทย ขอบคุณที่มีการยื่นญัตติด้วยวาจาในวันนี้ ตนเองในฐานะ สส. จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้จะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ตากใบ แต่เป็นคนที่ถูกโดนชักชวนให้เข้าร่วมการชุมนุม โดยคนที่อยู่ในเหตุการณ์วันนั้นไม่มีใครทราบว่าตัวเองจะโดนอะไร ผู้เข้าร่วมการชุมนุมและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในวันนั้นล้วนเป็นผู้บริสุทธิ์

 

ในช่วงที่ผ่านมา 1-2 สัปดาห์ก่อนที่คดีจะหมดอายุความ ก็เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตนเองก็หวังที่จะให้พื้นที่นั้นมีความสันติสุข มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อหาทางออก สร้างความยุติธรรมให้คนในพื้นที่ แต่กลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง 

 

จากโควตภรรยาผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ระบุว่า “แม้คดีดังกล่าวจะหมดอายุความแล้ว เราต้องจับมือกัน เราต้องกล้า ยังมีความยุติธรรมสำหรับชาวบ้าน จะสู้ได้ไหมจนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่อยากดูว่าเป็นคนผิด คนอื่นมองว่าเราผิดที่ไปชุมนุม จึงอยากลบล้างสิ่งนี้ด้วยความยุติธรรม”

 

คำพูดดังกล่าวนี้ชาวบ้านไม่ได้ฟ้องร้องเพื่อเอาอะไร แต่ต้องการฟ้องร้องเพื่อสร้างความบริสุทธิ์ จึงขอเรียกร้องจำเลยในคดีให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตนเองในฐานะคนในพื้นที่ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาความยุติธรรมเป็นสิ่งที่เกิดได้ยากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกแบ่งแยกจนเกิดความหดหู่ เมื่อเกิดเหตุการณ์ อาทิ น้ำท่วม คนในพื้นที่อื่นได้รับการเยียวยา แต่คนจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้อะไร เหตุใดรัฐบาลจึงปฏิบัติกับคนพื้นที่ชายแดนภาคใต้อย่างไม่เท่าเทียมกัน

 

พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ, หัวหน้าพรรคประชาชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อภิปรายสนับสนุนการพิจารณาหาทางออกกับสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เรื่องความยุติธรรมของการอยู่ร่วมกันตลอด 20 ปี ทุกภาคส่วนก็โหยหาที่จะหาทางออก ซึ่งวันนี้เราเชื่อว่าเราพบทางออกแล้ว เพียงแต่ยังไม่พบข้อยุติปัญหา หากสรุปข้อยุติได้สักหนึ่งประโยคก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

 

กรณีที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ความรู้สึกของคนจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่วันนี้เหตุการณ์ตากใบเป็นความรู้สึกของคนทั้งประเทศ และที่สำคัญเป็นความรู้สึกของรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ขอโทษตนในฐานะที่เป็นรัฐบาล เราไม่เคยพูดว่าจะมีการช่วยเหลือผู้ที่ถูกออกหมายจับเลย พูดเพียงแต่ว่าจะส่งเสริมตำรวจและหน่วยงานความมั่นคงติดตามจับกุม เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ทันเวลาก่อนหมดอายุความ และขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่

 

พ.ต.อ. ทวี กล่าวต่ออีกว่า สิ่งสำคัญที่สุดต่อเหตุการณ์ภาคใต้คือ จะทำอย่างไรเพื่อส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมให้สังคมเกิดความยุติธรรมให้ได้ การส่งเสริมคงหนีไม่พ้นการเปลี่ยนผ่านที่ให้ประชาชนมาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเราสามารถเอาประชาชนมาเป็นศูนย์กลางได้ จึงเอา สส. มาเป็นตัวแทน ฉะนั้นการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาผลกระทบต่อการขาดอายุความคดีตากใบที่เป็นความไม่เป็นธรรมกับประชาชน และเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งที่เราจะร่วมกันพยายามทำให้เกิดขึ้น รวมทั้งสร้างทางใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม แต่สำหรับวันนี้คือเรื่องใหญ่ คือเรื่องของการขาดอายุความ และเรามีกฎหมายอยู่แล้ว อาทิ พ.ร.บ.อุ้มหาย ที่ไม่มีอายุความ และเราควรจะเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเยียวยาจิตใจและจิตวิญญาณของผู้ที่โหยหาความยุติธรรม

 

ขณะที่ รังสิมันต์ โรม สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายว่า สิ่งที่เรากำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้มีถ้อยคำที่สำคัญคือความจริงใจ ซึ่งตนเชื่อว่าความจริงใจนี้จะเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ใช่แค่เพียงเฉพาะในกรณีตากใบเท่านั้น แต่รวมไปถึงการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย

 

ช่วงเวลาที่ผ่านมาตนเคยมีโอกาสตั้งกระทู้ถามต่อ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปแล้ว ซึ่งท่าทีและคำตอบหลักๆ คือ การวิพากษ์วิจารณ์ต่อคุณลักษณะหรือท่าทีของการถามเท่านั้น เราแทบไม่ได้รับคำตอบและไม่เห็นถึงความจริงใจอะไรเลยของรัฐบาลนี้ในการแก้ปัญหาดับไฟใต้อย่างจริงจัง ในการทวงความยุติธรรมให้กับผู้เสียหายและผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบแม้แต่น้อย

 

“การกระทำสำคัญกว่าคำพูด แต่ไม่ได้หมายความว่าคำพูดคือสิ่งที่ไม่มีความสำคัญเลย ถ้าเราดูในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะพบว่าการพูดเรื่องคดีตากใบจากรัฐบาลนี้ในหลายโอกาสนั้น อย่างคำพูดของภูมิธรรมที่บอกว่าตากใบไม่สำคัญ น้ำท่วมสำคัญกว่า ตนเข้าใจดีว่าเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญ แต่เราไม่ควรเลือกว่าเหตุการณ์ใดสำคัญกว่าเหตุการณ์ใด เพราะสำหรับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ แล้ว สิ่งที่เขากำลังเจอล้วนสำคัญ รัฐบาลมีการส่งสัญญาณถึงความจริงใจบ้างหรือไม่

 

“เพราะตราบใดที่เราไม่สามารถสร้างความหวังและความจริงใจให้ประชาชนรู้สึกได้ ไฟใต้ก็มีแต่โหมกระพือ และสิ่งที่ท่านพูดในเวลาที่ผ่านมามันได้จุดไฟนั้นอีกครั้ง ขอให้ใช้โอกาสนี้แก้ไขในสิ่งที่ผิด อย่าปล่อยให้ไฟใต้ต้องเป็นแบบนี้อีกต่อไป”

 

อย่างไรก็ตาม ภายหลังการอภิปราย เนื่องจากสมาชิกมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ประชุมจึงมีมติส่งเรื่องให้คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน พิจารณาศึกษาตามข้อบังคับพรรค รวมถึงเสนอให้ส่งต่อให้รัฐบาลด้วย โดยกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาศึกษาทั้งสิ้น 90 วัน

 

The post 13 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนคดีตากใบหมดอายุความ รัฐสภาร่วมหารือคืนความยุติธรรมและหาทางออกของปัญหา ก่อนส่งข้อเสนอถึงรัฐบาล appeared first on THE STANDARD.

]]>
จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย https://thestandard.co/final-resolution-of-the-tak-bai-case/ Tue, 22 Oct 2024 13:42:53 +0000 https://thestandard.co/?p=999080

วันนี้ (22 ตุลาคม) 3 วันสุดท้ายก่อนคดีตากใบจะหมดอายุควา […]

The post จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (22 ตุลาคม) 3 วันสุดท้ายก่อนคดีตากใบจะหมดอายุความโดยยังไม่มีผู้ต้องหาคนใดมาปรากฏตัวต่อหน้าศาล ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีเอาผิดใครได้อีก ทั้งนี้ เป็นคดีที่สืบเนื่องจากเหตุสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส และการขนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

 

ล่าสุดคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มี อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นประธานกรรมาธิการ พิจารณาติดตามเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอยนวลพ้นผิด กรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณหน้า สภ.ตากใบ โดยมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง คือ

 

  1. สถานีตำรวจภูธรภาค 9
  2. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า
  3. สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
  4. สำนักงานอัยการภาค 9

 

รวมถึงตัวแทนนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน และภาคประชาชน ได้แก่ สุณัย ผาสุข ผู้แทน Human Rights Watch Asia, Katia Chirizzi ผู้แทนข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน สหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, ดอน ปาทาน, อาเต็ฟ โซ๊ะโก และ รศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ ทั้งนี้มี พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร สว. และ รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เข้าร่วมชี้แจงด้วย

 

อย่างไรก็ตาม มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและกองทัพบกไทยไม่ได้ร่วมเข้าชี้แจงเนื่องจากติดภารกิจ

 

ห้องประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา วาระติดตามการดำเนินคดีตากใบ

 

อัยการแจง ส่งฟ้องไม่ได้ เหตุไม่พบตัวผู้ต้องหา

 

ชัยชาญ ยมจินดา อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า จากกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 8 คนจากคดีตากใบ มีการส่งกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และส่งกลับมาที่อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 สำนักงานอัยการภาค 9 และส่งกลับมาที่หนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตน เมื่อรับสำนวนมาแล้วต้องแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเพื่อจัดการให้ได้ตัวผู้ต้องหา 8 คนมาดำเนินคดี โดยทำคู่ขนานไปกับพนักงานสอบสวน

 

ผมไม่มีสิทธิ์ทำอะไรทั้งสิ้นแม้กระทั่งการสอบสวน นอกจากร่างสำนวนฟ้องจนกว่าจะได้ผู้ต้องหาทั้ง 8 คน และรอว่าเมื่อถึงวันที่ 25 ตุลาคม เวลา 16.00 น. ตามเวลาราชการ หากพนักงานสอบสวนสามารถนำตัวผู้ต้องหา 8 คน หรือคนใดคนหนึ่งมา ก็สามารถส่งฟ้องต่อได้เลย แต่หากเกินเวลาหรือตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคมเป็นต้นไป คดีจะถือว่าขาดอายุความ ซึ่งหากคดีขาดอายุ พนักงานอัยการต้องสั่งยุติคดีเพราะไม่สามารถส่งต่อไปที่ศาลได้ และไม่ใช่อำนาจของอัยการปัตตานี แต่ต้องส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้สั่งยุติคดีอีกครั้ง จากนั้นจึงจะต้องส่งกลับมาที่อัยการปัตตานีเพื่อส่งแก้คดีแล้วแจ้งให้ญาติผู้เสียชีวิตทราบว่าคดีนี้ขาดอายุความแล้ว ไม่สามารถส่งฟ้องศาลได้” ชัยชาญกล่าว

 

อังคณา นีละไพจิตร สว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา

 

ด้านสุณัยกล่าวว่า คดีตากใบเป็นการตอกย้ำว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนานใหญ่โดยเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะเมื่อเกิดขึ้นกลับไม่มีการรับผิดชอบจากผู้กระทำ และนี่เป็นสาเหตุว่าทำไมองค์กรต่างชาติทั้งหลายจึงให้ความสนใจและติดตามเรื่องนี้มาตลอด อย่างไรก็ตาม คดีตากใบยังเป็นความหวังว่าวงจรของการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนานใหญ่โดยเจ้าหน้าที่รัฐจะสามารถถูกยับยั้งได้

 

สุณัยบอกด้วยว่าได้ไปคุยกับครอบครัวของผู้รอดชีวิต เขาบอกว่าการนำเท้าไปเหยียบกระบวนการยุติธรรม แม้เพียงครึ่งเท้าก็ยังดี ก็มีความหวัง การให้ความจริงกับเขาถือเป็นส่วนหนึ่งของความหวัง ตนจึงมีความหวังให้ทุกคนทำหน้าที่อย่างเต็มที่

 

นอกจากนี้ในเวลาที่เหลืออีก 3 วัน ตนเองเช็กกับองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (INTERPOL) พบว่าในฐานข้อมูลของ INTERPOL ไม่มีชื่อของ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และย้ำว่าผลที่ออกมาจะเป็นการตอกย้ำบรรทัดฐานว่าอย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐได้

 

“ผมมีความกังวลว่าการใช้กำลังของรัฐจะดำเนินต่อไป และรัฐสามารถกระทำกับประชาชนได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร คำว่า ‘ตาย จ่าย จบ’ ไม่ใช่การเยียวยา ส่วนคำพูดที่บอกว่ารับเงินไปแล้วจบ ยังไงก็ไม่จบ เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งทดแทนความยุติธรรม” สุณัยกล่าว

 

ขอหมายแดง INTERPOL แล้ว แต่ไม่ปรากฏบนเว็บไซต์?

 

ตำรวจภูธรภาค 9 นำโดย พล.ต.ต. นิตินัย หลังยาหน่าย รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พร้อมด้วยคณะ ร่วมกันชี้แจงว่า ตั้งแต่มีหมายจับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและทุกหน่วยงานติดตามจับกุม โดยออกหมายแดง INTERPOL ทั้ง 14 คนเป็นที่เรียบร้อย และล่าสุดเดินทางไปพบรองผู้ว่าจังหวัดนครพนมเพื่อติดตามตัวผู้ต้องหารายหนึ่งให้มามอบตัว แต่ได้รับรายงานว่าขาดราชการ ไม่สามารถติดต่อได้ และทราบว่าหลบหนีไปยังประเทศ สปป.ลาว โดยคาดว่าใช้ช่องทางธรรมชาติ

 

ด้านรอมฎอนถามว่า ที่ตำรวจภูธรภาค 9 อ้างว่าได้ขอหมายแดง (Red Notice) ไปยัง INTERPOL ให้ตามตัวผู้ต้องหาในคดีตากใบทั้ง 14 คนแล้ว แต่จากที่ตนเองตรวจสอบในเว็บไซต์ของ INTERPOL ข้อมูลหมายแดงทั้ง 6,681 คนจากทั่วโลกพบว่า รัฐบาลไทยร้องขอหมายจับไปเพียง 3 คนเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ผู้ต้องหาในคดีตากใบแต่อย่างใด จึงไม่แน่ใจว่าคำชี้แจงต่อกรรมาธิการตกหล่นอย่างไร จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบและชี้แจงต่อกรรมาธิการอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม ขอให้เปิดเผยมาว่าตอนนี้ผู้ต้องหาทั้ง 14 คนอยู่ที่ไหน โดยไม่ต้องกลัวว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี เพราะเวลานี้ประชาชนต้องการรับทราบข้อมูลของผู้ต้องหาทั้งหมด อยู่ต่างประเทศกี่คน ประเทศใดบ้าง อยู่ในประเทศไทยกี่คน อยู่ที่ไหนบ้าง และมีจำเลยหรือผู้ต้องหาบางคนอยู่ในค่ายทหารหรือไม่ ซึ่งส่งผลต่อการทำหน้าที่ของตำรวจ

 

พร้อมกันนี้ยังขอตั้งคำถามเผื่อว่าทั้ง 14 คนนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เพราะคดีนี้มีเดิมพันที่สูงมาก เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ รวมถึงมีมาตรการคุ้มครองญาติของผู้เสียหายที่ฟ้องคดีอย่างไรหลังจากคดีหมดอายุความ และมีแนวคิดจะฟ้องร้องประชาชนที่กล้าหาญจะฟ้องร้องคดีนี้หรือไม่ อย่างไร

 

รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

พ.ต.อ. รังษี มั่นจิตร หัวหน้างานซักถาม ศูนย์พิทักษ์สันติ ชี้แจงว่า วันที่ตนเองชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ตำรวจภูธรภาค 9 ทำหนังสือถึงกองการต่างประเทศ ซึ่งขึ้นตรงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองการต่างประเทศแจ้งว่าประสานกับ INTERPOL และออกหมายแดงแล้ว 14 คน ยืนยันว่ากองการต่างประเทศออกหมายเลขแล้วเรียบร้อย โดยบุคคล 2 คนที่ออกจากต่างประเทศอย่างถูกต้องคือสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น จึงได้ทำหนังสือถึงสถานทูตแล้ว

 

ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือ กองสืบของแต่ละภูมิภาคแจ้งกลับมาว่าไม่ปรากฏพบ คาดว่ามีการหลบหนีผ่านช่องทางธรรมชาติ จึงทำหนังสือถึงกรมศุลกากร ซึ่งระเบียบปฏิบัติต้องอาศัยการประสานกับตำรวจท้องที่นั้นๆ ไม่สามารถจับกุมได้ทันที ส่วนยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตนยังไม่ทราบ ขณะที่ผู้ต้องหาที่เป็นข้าราชการทหารนั้นได้ตรวจค้นในค่ายทหารจังหวัดลำปางและแสดงหมายจับแล้ว แต่ก็ไม่พบตัว

 

สุณัยจึงร้องขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกระตุ้น INTERPOL ให้ช่วยติดตามผู้ต้องหา ซึ่งเคยกระทำมาแล้วในหลายกรณีก่อนหน้านี้ จึงหวังว่าจะดำเนินการได้ และยังมีอีกช่องทางหนึ่งคือผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยใช้ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศที่ผู้ต้องหาหลบหนีไป ส่งตัวหรือเนรเทศบุคคลเหล่านั้นกลับมาในลักษณะของการต่างตอบแทน แต่น่าเสียดายที่วันนี้ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศมาชี้แจง

 

หลังหมดอายุความประชาชนผู้ฟ้องจะปลอดภัยหรือไม่?

 

จากนั้น รศ.เอกรินทร์ สอบถามว่าจะรับมือกับการแสดงออกของประชาชนอย่างไรหากคดีหมดอายุความ ซึ่งต้องไม่ไปละเมิดประชาชน มีการประสานไปยังประเทศปลายทางที่ผู้ต้องหาไปอยู่หรือไม่ หากประสานแล้วประสานอย่างไร ต่างจากมาตรฐานเดิมหรือแตกต่างอย่างไร

 

พ.ต.อ. จารุวิทย์ วงศ์ชัยกิตติพร รองผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กอ.รมน. ชี้แจงว่า พลเมืองไทยย่อมได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างเท่าเทียมกันตามหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ กอ.รมน. ต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย ขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องเคารพกฎหมายและสิทธิของผู้อื่น เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่ง และ กอ.รมน. พยายามบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยกระดับการป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ทุกรูปแบบ

 

ส่วนขั้นตอนหลังพ้นอายุความวันที่ 25 ตุลาคม อาจมีการแสดงออกของประชาชนในรูปแบบต่างๆ หน่วยงานรัฐจะมีการดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่ พ.ต.อ. จารุวิทย์ ระบุว่า ผู้ที่แสดงออกต้องพึงระมัดระวังข้อความหรือท่าทีที่สื่อความหมายออกไปและเกิดผลกระทบ สร้างความเสียหาย ต้องว่ากันไปเป็นรายกรณี แต่โดยพื้นฐานทุกคนสามารถแสดงออกในสิ่งที่มีความถูกต้องและมีดุลพินิจที่เหมาะสม

 

นักศึกษากลุ่มเดอะปาตานี จัดกิจกรรม ‘ตากใบต้องไม่เงียบ’ ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

 

ข้อสรุปที่ไม่มีข้อสรุป ฝากถามประธานสภาให้ พล.อ. พิศาล ลา

 

อังคณากล่าวว่า ตนเองก็เคยตกเป็นเหยื่อของการสลายการชุมนุมเช่นเดียวกัน ในการชุมนุมหน้ารัฐสภาเมื่อปี 2563 ซึ่งมีการฉีดน้ำผสมสารเคมี และศาลพิพากษาให้เยียวยา แต่ตนเองยังไม่เห็นพัฒนาการของเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุมมากนัก

 

ขณะที่ สุนทร พฤกษพิพัฒน์ สว. ในฐานะกรรมาธิการ ถามว่า ผู้ที่อนุญาตให้ พล.อ. พิศาล ลาหยุด มีส่วนรู้เห็นหรือส่วนผิดด้วยหรือไม่ที่ทำให้หลบหนีไปจนขาดอายุความ

 

อังคณาจึงกล่าวว่า ผู้ที่อนุญาตให้ พล.อ. พิศาล ลาประชุม คือประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ตนเองไม่มีหน้าที่ไปก้าวก่ายสภาผู้แทนราษฎร จึงขอฝาก สส. ไปถาม ทั้งนี้ ในการประชุมวันนี้มีข้อสรุปว่ายังไม่มีข้อสรุป เพราะยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากหน่วยงานเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการสร้างทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูญเสียด้วยว่าการออกมาเรียกร้องต่างๆ ในวันนี้เพราะมีคนหนุนหลัง จึงร้องขอให้เจ้าหน้าที่รัฐแก้ไขทัศนคติเชิงลบหรืออคติต่อผู้เรียกร้อง

The post จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอนจับตาประชุม ครม. วันนี้มีวาระคดีตากใบหรือไม่ เชื่อหากรัฐบาลทำเต็มที่นำตัวจำเลยกลับมาได้ https://thestandard.co/romadon-cabinet-tak-bai-case/ Tue, 22 Oct 2024 03:02:23 +0000 https://thestandard.co/?p=998746

วันนี้ (22 ตุลาคม) รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พ […]

The post รอมฎอนจับตาประชุม ครม. วันนี้มีวาระคดีตากใบหรือไม่ เชื่อหากรัฐบาลทำเต็มที่นำตัวจำเลยกลับมาได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (22 ตุลาคม) รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงการติดตามตัวจำเลยคดีตากใบของรัฐบาลว่า ต้องจับตาดูว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้จะมีวาระพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับคดีตากใบและสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ เพราะตอนนี้ประชาชนกำลังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าภายในระยะเวลาอีก 4 วันที่คดีจะหมดอายุความ เจ้าหน้าที่จะสามารถนำตัวจำเลย 7 คนในคดีที่ราษฎรเป็นผู้ฟ้องมาที่ศาลจังหวัดนราธิวาส และจับกุมตัวผู้ต้องหาอีก 8 คนในคดีที่อัยการสั่งฟ้อง มาส่งอัยการให้ทันฟ้องศาลหรือไม่

 

ทั้งนี้จากการที่ตนเองสังเกตการณ์คดีมาก่อนหน้านี้ ศาลจังหวัดนราธิวาสยืนยันว่าเตรียมพร้อมสำหรับการมอบตัวของจำเลยตลอดเวลาจนถึงเที่ยงคืนวันที่ 25 ตุลาคม และมีมาตรการในการนำส่งตัวจำเลยจากทั่วประเทศในกรณีที่จับกุมตัวได้ ในขณะที่อัยการก็ยืนยันในที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ว่าพร้อมทำสำนวนส่งศาลให้ทันตามกำหนด เพียงแต่นำตัวผู้ต้องหามาให้ทันตามกำหนด

 

“จะเห็นได้ว่าทุกฝ่ายต่างทุ่มเทและเตรียมพร้อมรับมือกับทุกฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้น ตอนนี้รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหารและเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบเหล่านี้ได้ ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการทำหน้าที่อย่างถึงที่สุดแล้ว”

 

รอมฎอนกล่าวต่อไปว่า ในขณะนี้รัฐบาลควรต้องตั้งหลักให้ดีและทุ่มเทกำลังและความสำคัญไปที่การนำตัวจำเลยและผู้ต้องหามาให้ได้ การเตรียมการสำหรับการขอโทษ ไม่ว่าจะเป็นกรณีโศกนาฏกรรมเมื่อ 20 ปีก่อน หรือเป็นการขอโทษที่ล้มเหลวในการนำตัวจำเลยและผู้ต้องหามาปรากฏตัวที่ศาลตามข้อเสนอของหลายฝ่ายนั้น ยังไม่ใช่ความสำคัญเร่งด่วนในเวลานี้ ในทางกลับกันหากรัฐบาลเตรียมพร้อมที่จะมีถ้อยแถลงดังกล่าว จะกลายเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลยินยอมและจงใจให้มีการหนีคดี

 

“ในวันที่เหลืออยู่นี้ ประชาชนจะยิ่งมีคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า รัฐบาลทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้วหรือไม่ รวมไปถึงจะยิ่งมีการเปรียบเทียบกับขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ในคดีอื่นๆ ที่เร่งรัดดำเนินการอย่างรวดเร็ว ทั้งคดี The iCon Group ที่ใช้เวลาจับกุมตัวผู้ต้องหาอย่างรวดเร็ว หรือคดีแป้ง นาโหนด ที่อาศัยความสัมพันธ์ทางการทูตและทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อจับกุมตัว หรือคดีที่เกี่ยวข้องกับนักกิจกรรมทางการเมืองก็มีความมุ่งมั่นเป็นพิเศษ แตกต่างไปจากกรณีที่ข้าราชการผู้ใหญ่ตกเป็นจำเลยอย่างในกรณีนี้” รอมฎอนระบุ

 

รอมฎอนกล่าวอีกว่า เชื่อมั่นว่าหากรัฐบาลใช้ศักยภาพและขีดความสามารถของเจ้าพนักงานอย่างเต็มที่ เราอาจได้ตัวจำเลยและผู้ต้องหาทั้ง 14 คนมาส่งศาลทันตามกำหนดอายุความ และกระบวนการยุติธรรมจะได้ทำงานต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษใดๆ ในการขยายอายุความ อีกทั้งยังเป็นการแก้ข้อกล่าวหาที่คนในรัฐบาลกังวลอยู่ว่าคดีนี้จะถูกขยายผลในทางการเมือง และนำพาไปสู่สถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาต่างๆ

 

“การจะทำหรือไม่ทำสิ่งใดในห้วงเวลานี้เป็นเรื่องสำคัญ และถือเป็นการส่งสัญญาณทางการเมืองของรัฐบาล นี่คือโอกาสของรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ที่จะพิสูจน์ว่าให้ความสำคัญกับการสร้างนิติธรรมที่เข้มแข็งให้กับประเทศตามที่เคยแถลงเอาไว้ อีกทั้งยังเป็นการรักษาชีวิตของประชาชนหรือพลเรือนที่จะได้รับผลกระทบจากความรุนแรง อันเป็นผลจากความล้มเหลวของระบบยุติธรรมของเรา” รอมฎอนกล่าว

The post รอมฎอนจับตาประชุม ครม. วันนี้มีวาระคดีตากใบหรือไม่ เชื่อหากรัฐบาลทำเต็มที่นำตัวจำเลยกลับมาได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอนขอนายกฯ และ รมว.กลาโหม กำชับฝ่ายความมั่นคง หวั่นเหตุรุนแรงกลับมาหลังคดีตากใบ https://thestandard.co/romadon-security-takbai-case/ Wed, 25 Sep 2024 11:23:31 +0000 https://thestandard.co/?p=988013 คดีตากใบ

วันนี้ (25 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา รอมฎอน ปันจอร์ สส. แ […]

The post รอมฎอนขอนายกฯ และ รมว.กลาโหม กำชับฝ่ายความมั่นคง หวั่นเหตุรุนแรงกลับมาหลังคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คดีตากใบ

วันนี้ (25 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน แถลงความคืบหน้าคดีตากใบ หลังเหลือเวลา 1 เดือนก่อนคดีหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ โดยขอให้ประชาชนจับตาดูความคืบหน้าของความยุติธรรมในประเทศนี้

 

รอมฎอนอธิบายว่า คดีตากใบแบ่งออกเป็น 2 สำนวน คือ สำนวนที่ราษฎร 48 คนฟ้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และนัดฟังคำให้การแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งจำเลยทั้ง 7 คนที่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงไม่ได้เดินทางไปศาล ศาลจึงออกหมายจับจำเลย 6 คน และออกหมายเรียก พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จำเลยที่หนึ่ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าจากฝั่งตำรวจว่าได้จับกุมจำเลย หรือ พล.อ. พิศาล ตามหมายเรียกหรือไม่ 

 

ล่าสุด พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ชี้แจงต่อสื่อว่า วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำหนังสือส่งกลับไปยังศาลจังหวัดนราธิวาสเกี่ยวกับมาตรา 125 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า การดำเนินคดีของศาลสามารถทำได้เลยตราบใดที่ไม่เป็นการขัดขวางการประชุมสภา ซึ่งศาลนัดครั้งต่อไปในวันอังคารที่ 15 ตุลาคม จึงไม่น่าจะเป็นการขัดขวางการประชุมสภา

 

นอกจากนี้ฝ่ายโจทก์กำลังจะทำหนังสือถึงศาลจังหวัดนราธิวาส เพื่อขอให้ศาลพิจารณาออกหมายจับ พล.อ. พิศาล จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ด้วย 

 

ส่วนอีกสำนวนคือกรณีที่อัยการสูงสุดแถลงว่า เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง 8 ผู้ต้องหา โดยเห็นแย้งกับพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะมีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อไป โดยมีรายงานว่า ฝ่ายความมั่นคงเตรียมรับมือกับสถานการณ์หลังคดีตากใบหมดอายุความ สำนวนนี้จึงเป็นสำนวนที่น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะมีอีกหลายขั้นตอน 

 

“จึงฝาก แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กำชับให้เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ เพราะดูทรงแล้วการเตรียมรับมือหลังหมดอายุความเป็นการตั้งสมมติฐานว่า คดีนี้ต้องนำจำเลยเข้าสู่การพิจารณาของศาลก่อนคดีจะหมดอายุความให้ได้” รอมฎอนกล่าว

 

ในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร จะเชิญเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการติดตามคดีตากใบมาชี้แจงต่อที่ประชุม ตนเองในฐานะ สส. เตรียมตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้ ฝากรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีเตรียมตอบคำถามด้วย 

 

ส่วนความคืบหน้าของการพูดคุยสันติภาพ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังไม่ชัดเจนเรื่องการแต่งตั้งคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ชุดใหม่ จึงมีความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่มีการปล้นปืนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เวลาแบบนี้ต้องการความชัดเจนของรัฐบาล ทั้งทิศทางการแก้ไขปัญหาและทิศทางทางการเมือง

 

รอมฎอนขอให้นายกรัฐมนตรีและภูมิธรรมมีความชัดเจนเรื่องการแต่งตั้งคณะพูดคุยสันติสุขฯ โดยเร็ว ไม่เช่นนั้นความรุนแรงจะกลับมา หากปล่อยให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการรับมืออย่างเดียวสถานการณ์จะยิ่งบานปลาย

The post รอมฎอนขอนายกฯ และ รมว.กลาโหม กำชับฝ่ายความมั่นคง หวั่นเหตุรุนแรงกลับมาหลังคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอนเรียกร้องหัวหน้าพรรคเพื่อไทยรับผิดชอบทางการเมือง โน้มน้าวพิศาลขึ้นศาลคดีตากใบเช้านี้ ก่อนหมดอายุความ https://thestandard.co/pheu-thai-tak-bai-case-urgency/ Wed, 18 Sep 2024 00:20:40 +0000 https://thestandard.co/?p=984720 รอมฎอน

วานนี้ (17 กันยายน) รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ […]

The post รอมฎอนเรียกร้องหัวหน้าพรรคเพื่อไทยรับผิดชอบทางการเมือง โน้มน้าวพิศาลขึ้นศาลคดีตากใบเช้านี้ ก่อนหมดอายุความ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอน

วานนี้ (17 กันยายน) รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้ความเห็นถึงกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือเรียกตัว พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีตากใบ ให้ไปขึ้นศาลจังหวัดนราธิวาส พร้อมระบุว่า กฎหมายให้การคุ้มครองสมาชิก จึงต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมสภาว่าจะอนุญาตให้ส่งตัวหรือไม่

 

รอมฎอนกล่าวว่า หากพิจารณาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 125 โดยเฉพาะวรรคสุดท้ายที่ระบุถึงกรณีที่มีการฟ้อง สส. ในคดีอาญา ความในมาตรานี้เปิดให้ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมก็ได้ โดยระบุเงื่อนไขว่า ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกคนนั้นจะมาประชุมสภา ด้วยเหตุนี้กรณีของ พล.อ. พิศาล จึงไม่จำเป็นต้องขอมติที่ประชุมสภาเพื่ออนุญาตให้เดินทางไปเบิกตัวที่ศาลแต่อย่างใด

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นัดของศาลครั้งต่อไปกำหนดเป็นวันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่โดยปกติแล้วจะไม่มีการนัดประชุมสภาหรือการประชุมร่วมกันของรัฐสภา การไปปรากฏตัวที่ศาลเพื่อเบิกคำให้การในวันนั้นก็ไม่น่าจะถือว่าเป็นการขัดขวางการประชุมสภาแต่อย่างใด

 

“หากนับจากวันนัดศาลครั้งถัดไป อายุความในคดีตากใบซึ่งถือเป็นคดีอาญาแผ่นดินก็จะเหลืออีกเพียงแค่ 10 วัน การเดินทางไปศาลของ พล.อ. พิศาล จึงขึ้นอยู่กับสปิริตและความรับผิดชอบของตัวท่านเอง อย่างน้อยๆ ท่านก็ควรให้ความร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ตัวเอง จะเป็นการดีมากกว่าปล่อยให้คดีสำคัญนี้ขาดอายุความไป เพราะข้อกล่าวหาเหล่านี้จะติดตัวท่านไปตลอดและไม่ได้รับการพิสูจน์อีกต่อไป”

 

รอมฎอนกล่าวต่อไปว่า ตนเคยนำประเด็นการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้หารือกับประธานสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากทราบว่าญาติของผู้เสียหายในเหตุการณ์ตากใบทำหนังสือถึงประธานสภา ในวันนั้นมีการอภิปรายกันถึงแนวทางและขั้นตอนของสภาในกรณีที่มีสมาชิกตกเป็นจำเลย แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างและยังสับสนกันอยู่ เป็นไปได้ว่าแนวปฏิบัติที่เคยทำกันมาอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ

 

ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุชัดเจนว่า ในกรณีที่สมาชิกเป็น ‘ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน’ นั้น ต้องได้รับมติเห็นชอบจากสภา แตกต่างจากกรณีนี้ที่สถานะคือตกเป็น ‘จำเลย’ ในคดีที่ศาลประทับรับฟ้องแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส. นราธิวาส พรรคประชาชาติ ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่ลุกขึ้นอภิปรายในเวลานั้น

 

ทั้งนี้ตนได้ทำหนังสือหารือกับสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ทำความเห็นในกรณีนี้เป็นการเฉพาะเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งระบุเงื่อนไขในกรณีนี้ว่า อายุความจะสิ้นสุดลงในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 และวันปิดสมัยประชุมคือวันที่ 30 ตุลาคม 2567 หรือ 5 วันหลังจากนั้น ในขณะเดียวกันศาลจังหวัดนราธิวาสได้กำหนดวันนัดพิจารณาคดีครั้งต่อไปในวันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 ด้วย

 

รอมฎอนกล่าวด้วยว่า นอกจากการตัดสินใจไปศาลตามนัดจะเป็นการตัดสินใจของ พล.อ. พิศาล แล้ว คดีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่ออำนาจรัฐเช่นนี้คงไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบทางการเมืองจากพรรคเพื่อไทยและคณะผู้บริหารของพรรคเพื่อไทยไปได้ เนื่องจากจำเลยเป็นสมาชิกแบบบัญชีรายชื่อของพรรค

 

ตนจึงขอเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยให้คำแนะนำและโน้มน้าวใจให้จำเลยที่ 1 เดินทางไปที่ศาลตามวันนัด เพราะนอกจากอายุความกำลังจะสิ้นสุดแล้ว ยังเป็นการยืนยันให้ประชาชนได้เห็นเป็นประจักษ์ว่า ประเทศของเรายังคงปกครองด้วยหลักนิติธรรม และประชาชนยังคงสามารถให้ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมได้ อีกทั้งยังเป็นหนทางในการต่อสู้คดีและพิสูจน์ความจริงของจำเลยด้วยเช่นกัน

 

“ท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย หรือแม้แต่พรรคการเมืองอื่นๆ ที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล จะประกาศแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อจากนี้ได้อย่างไร หากอายุความของคดีตากใบต้องสิ้นสุดลงเพราะ สส. ของพรรครัฐบาลไปเบิกคำให้การไม่ทันเวลา ทั้งๆ ที่ศาลท่านประทับรับฟ้องแล้ว หลังจากนี้ประชาชนจะเชื่อมั่นต่ออำนาจรัฐและแนวทางของรัฐบาลที่กำลังจะดำเนินต่อไปได้อย่างไร” รอมฎอนทิ้งท้าย

 

สำหรับความคืบหน้าคดีตากใบล่าสุด โฆษกสำนักอัยการสูงสุดได้นัดสื่อมวลชนเพื่อรับฟังการแถลงข่าวกรณีอัยการสูงสุดมีคำสั่งคดีตากใบในวันนี้ (18 กันยายน) เวลา 10.00 น. ณ สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยคดีดังกล่าวตำรวจภูธรภาค 9 ได้รื้อฟื้นและทำสำนวนขึ้นมาใหม่ ก่อนจะส่งให้อัยการพร้อมความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 โดยเป็นคนละสำนวนกับคดีข้างต้นที่ราษฎรฟ้องและศาลจังหวัดนราธิวาสได้ประทับรับฟ้องไปก่อนหน้านี้

The post รอมฎอนเรียกร้องหัวหน้าพรรคเพื่อไทยรับผิดชอบทางการเมือง โน้มน้าวพิศาลขึ้นศาลคดีตากใบเช้านี้ ก่อนหมดอายุความ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอนขอรัฐบาลเริ่มแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้จริงจัง เรียนรู้จากบาดแผลในอดีต https://thestandard.co/joint-sittings-of-the-national-assembly-120924-6/ Thu, 12 Sep 2024 11:12:44 +0000 https://thestandard.co/?p=982827

วันนี้ (12 กันยายน) ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที […]

The post รอมฎอนขอรัฐบาลเริ่มแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้จริงจัง เรียนรู้จากบาดแผลในอดีต appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (12 กันยายน) ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ วาระคณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงนโยบายต่อรัฐสภา รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ลุกขึ้นอภิปรายว่า ความขัดแย้งในชายแดนใต้เป็นปัญหาระดับชาติ และเป็นมรดกที่ตกทอดมาสู่รุ่นของเรา

 

รอมฎอนระบุว่า เราผ่านมาแล้ว 10 รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นนายกฯ คนที่ 10 ในรอบ 2 ทศวรรษ ที่จะต้องรับมือ รับภาระ ในการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ และสร้างสันติภาพ ซึ่งหากย้อนกลับไป 12 กันยายน 2557 เป็นการแถลงนโยบายรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกฯ มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนใต้ที่ระบุถึงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ‘เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา’ โดยมีที่มาจากรัฐบาลของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ

 

“อีกทั้งในรัฐบาลของ เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ ในการแถลงนโยบาย ผมรู้สึกโกรธมาก เพราะไม่มีการระบุถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบตรงๆ ในนโยบาย ซึ่งในรัฐบาลปัจจุบันมีการระบุถึงการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ มีประโยคหนึ่งที่วางอยู่ในส่วนหนึ่งของนโยบายการพัฒนาเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยวางอยู่ในประเด็นการจัดทำรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย การฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง และการปฏิรูประบบราชการและกองทัพ” รอมฎอนกล่าว

 

รอมฎอนมองว่าทำให้เห็นว่ารัฐบาลมองปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาการเมืองระหว่างรัฐกับประชาชน ที่ต้องออกแบบในเชิงสถาบันว่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร นี่คือจุดที่แตกต่างจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ และตนเองเชื่อว่าพรรคประชาชนมองปัญหาจังหวัดชายแดนใต้เป็นปัญหาการเมือง ที่ต้องนำไปสู่ทางออกทางการเมือง

 

แต่ 1 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลเศรษฐาที่สูญเปล่าไป รวมถึงการหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเรื่องสันติภาพและความมั่นคง กระบวนการสันติภาพก็เดินหน้าอย่างเชื่องช้า ไร้แรงผลักดันทางการเมืองจากทำเนียบรัฐบาล และยังขยายเวลาสถานการณ์ฉุกเฉินถึง 5 ครั้ง รวมถึงยังไม่รับรองร่างกฎหมาย กอ.รมน. กลับมาให้สภาได้พิจารณา ทำให้งานไฟใต้ยังถูกครอบงำโดยหน่วยงานราชการและกองทัพ ไม่มีแรงผลักดันจากรัฐบาลอย่างที่ควรจะเป็น

 

อีกทั้งปี 2570 เป็นสิ่งที่ทุกคนมุ่งหวัง รวมถึงค่าเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ชาติที่ถูกกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ว่าความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้จะต้องเป็นศูนย์ ซึ่งได้สอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่กลับไม่มีหน่วยงานไหนให้หลักประกันได้เลยว่าจะบรรลุเป้าหมายนี้ จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของนายกฯ ที่ต้องทำเรื่องนี้ และเป็นหัวโต๊ะให้กับหน่วยงานที่กำกับดูแล เพราะเป็นกลไกอำนาจรัฐที่จะชี้ชะตาชายแดนใต้ว่าจะไปในทิศทางไหน

 

“ต้องแสดงเจตจำนงที่ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ได้เสียที ผ่านมาแล้ว 20 ปี จะต้องพลิกแกนแก้ปัญหาให้กระบวนการสันติภาพเป็นแนวทางการเมืองหลัก ถ้าปล่อยปละละเลยไว้ให้เป็นแนวทางมุมมองต่อความมั่นคง ก็จะเป็นการครอบงำของหน่วยงานภาครัฐและราชการต่อ”

 

รอมฎอนกล่าวอีกว่า โจทย์ใหญ่คือ เรื่องที่ท่านต้องตัดสินใจคือในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ว่ารัฐบาลจะขยายอีกเป็นครั้งที่ 77 หรือไม่ และมติ ครม. ของท่านจะเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะต้องทบทวนกฎหมายอื่นๆ ด้วย

 

รอมฎอนกล่าวว่า เราต้องเรียนรู้อดีตจังหวัดชายแดนใต้ที่มีปัญหายืดเยื้อมาอย่างยาวนาน เพราะเราเพิกเฉยต่อสิ่งที่เราเรียนรู้ และบาดเจ็บ ประวัติศาสตร์บาดแผลหลายเรื่องเป็นเรื่องที่กลืนยาก แต่สังคมที่มีวุฒิภาวะเราต้องก้าวผ่านมันไปด้วยกัน เรียนรู้ที่จะเก็บบทเรียน ซึ่งนี่ถือเป็นบทเรียนของนายกฯ ที่จะต้องนำประเทศนี้ พร้อมขอให้รัฐบาลแสดงจุดยืนว่าวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดจะต้องไม่เกิดขึ้นอีก

 

“ยืนยันให้เราหน่อยได้ไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่นราธิวาส มุกดาหาร กลางกรุงเทพฯ เมืองกาญจน์ นครพนม หรือเชียงใหม่ จะต้องไม่มีใครกล้าฆ่าประชาชนแบบนี้อีก” รอมฎอนกล่าว

 

ในช่วงท้ายรอมฎอนยังขอให้นายกฯ แสดงจุดยืนโน้มน้าวใจแนะนำให้ สส. ที่เป็นจำเลยในคดีตากใบไปขึ้นศาลในนัดต่อไป หรือในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ซึ่งเหลืออายุความอีกเพียงแค่ 10 วัน เพราะประชาชนรอมากกว่า 20 ปี เราจึงจะมาสร้างบรรทัดฐานและความยุติธรรมที่เข้มแข็งด้วยกัน และเราในฐานะฝ่ายค้าน ยินดีทำงานร่วมกัน สร้างสันติภาพ หลักนิติธรรม ฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศนี้พร้อมกับท่าน จึงต้องขอคำยืนยันจากนายกฯ

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหนึ่งของการอภิปราย รอมฎอนได้ฉายภาพบนจอซึ่งมีภาพของทักษิณ ทำให้ ธีระชัย แสนแก้ว สส. อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงว่า ผู้อภิปรายกำลังพาดพิงบุคคลภายนอกที่ไม่มีโอกาสได้เข้ามาชี้แจง พร้อมถามว่า แพทองธารซึ่งเป็นบุตรสาวของทักษิณ จะให้เขาตัดพ่อตัดลูกกันหรือ และยืนยันว่าหากยังนำภาพนี้ขึ้นอยู่ก็จะยืนประท้วงอยู่อย่างนี้ 3 วัน 3 คืนก็ได้

 

ทำให้วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุมในขณะนั้น ได้ขอดูภาพอีกครั้ง พร้อมขอให้นำภาพที่มีทักษิณออกไปทันที เพราะเป็นบุคคลภายนอก พร้อมบอกให้รอมฎอนไม่อภิปรายถึงผู้นำประเทศคนอื่นๆ ในอดีตอีก

 

ต่อมา สส. พรรคประชาชนหลายคน เช่น จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ และ ณัฐวุฒิ บัวประทุม ได้ลุกขึ้นแย้งว่า การอภิปรายจำเป็นต้องย้อนอดีตเพื่อให้เห็นผลของการกระทำ แต่ วิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ประธานได้วินิจฉัยแล้ว ก็ถือให้เป็นที่สุด ซึ่งวันมูหะมัดนอร์ย้ำว่า จะไม่ให้ฉายภาพบุคคลภายนอกที่ทำให้เกิดความเสียหายในที่ประชุม

The post รอมฎอนขอรัฐบาลเริ่มแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้จริงจัง เรียนรู้จากบาดแผลในอดีต appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอนลุกหารือต่อที่ประชุมสภา ขอให้อนุญาต ‘พิศาล’ สส. เพื่อไทย ไปขึ้นศาลคดีตากใบ https://thestandard.co/romadon-pisan-tak-bai-lawsuit/ Wed, 11 Sep 2024 04:49:09 +0000 https://thestandard.co/?p=982175 รอมฎอน

วันนี้ (11 กันยายน) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี วัน […]

The post รอมฎอนลุกหารือต่อที่ประชุมสภา ขอให้อนุญาต ‘พิศาล’ สส. เพื่อไทย ไปขึ้นศาลคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอน

วันนี้ (11 กันยายน) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ช่วงวาระการหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยช่วงหนึ่ง รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ลุกขึ้นหารือหนังสือร้องเรียนถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างอิงว่าอีก 44 วันนับจากนี้ หรือในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ จะเป็นวันครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ตากใบ และจะเป็นวันสิ้นสุดอายุความคดีอาญา

 

รอมฎอนกล่าวว่า แต่ความคืบหน้าคดีศาลประทับรับฟ้องโจทก์ประชาชน 44 คน ฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จึงปรึกษาว่า ในวันพรุ่งนี้จะมีการนัดศาลเบิกคำให้การของจำเลยครั้งแรก โดยภาคประชาชนขอให้ประธานสภาอำนวยความยุติธรรม จึงขออนุญาตให้ พล.อ. พิศาล เดินทางไปศาลในวันที่ 12 กันยายนนี้ และในวันถัดไป

 

ทำให้วันมูหะมัดนอร์ชี้แจงว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 125 กำหนดไว้ว่า ระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียก สส. หรือ สว. ไปทำการสอบสวน ชี้ว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่สมาชิกรัฐสภาได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แต่วิธีปฏิบัติที่เคยปฏิบัติกันมา กรณีที่ศาลมีความจำเป็นขอสอบสวน หรือตำรวจขอดำเนินคดีระหว่างเปิดสมัยประชุม ก็ขอมาที่ประธานรัฐสภา

 

อย่างไรก็ตาม ประธานรัฐสภาไม่ได้มีอำนาจ แต่สภาจะเป็นผู้พิจารณาว่าสมควรอนุญาตหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐขอตัวสมาชิกไป หรือสมาชิกรัฐสภาเองขอไปดำเนินคดีด้วยตัวเอง ด้วยเห็นว่าไม่ต้องการให้คดียืดเยื้อ แต่ที่ผ่านมาตามวิธีปฏิบัติของรัฐสภาจะลงมติไม่อนุญาต

 

“อยากจะเรียนต่อรอมฎอนและพี่น้องประชาชนที่รับฟัง ไม่ได้หมายความว่าสภาของเราทั้งสองสภาจะไม่เห็นใจเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินคดี แต่สภาเห็นว่าเพื่อพิทักษ์เอกสิทธิ์ของสมาชิก เราเกรงว่าสมาชิกฝ่ายค้านจะมีการกลั่นแกล้งเหมือนสมัยก่อนฟ้องคดีอาญา แล้วให้ตำรวจเรียกไปสอบสวน ไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยเฉพาะดาวสภาทั้งหลาย แต่ที่เขาพูดกันยังไม่เคยเกิดขึ้น แต่รัฐธรรมนูญออกมาในกรณีที่จะมีการกลั่นแกล้งกับฝ่ายที่ไม่ถูกกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลมีอำนาจให้ตำรวจเรียกไปไต่สวน” วันมูหะมัดนอร์กล่าว

 

จากนั้นรอมฎอนจึงหยิบยกวรรคท้ายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 125 ที่ระบุว่า “ในกรณีที่มีการฟ้อง สส. หรือ สว. ในคดีอาญา ไม่ว่าฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาระหว่างสมัยประชุมก็ได้ แต่ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อสมาชิกผู้นั้นไปประชุมสภา” และถามประธานสภาถึงแนวปฏิบัติ

 

วันมูหะมัดนอร์ชี้แจงว่า ไม่มีกฎหมายที่กำหนดว่าจะต้องนำตัวไป สมาชิกสามารถมอบหมายให้ทนายดำเนินคดีแทนได้ และกรณีที่ศาลเห็นว่าคดีนี้ไม่มีคนคัดค้าน และจำเลยต้องการให้จบเร็ว ฝ่ายโจทก์จะไม่ถูกบังคับให้ไปไต่สวน เป็นเรื่องของทนาย และมีหลายคดีที่เป็นในลักษณะนี้ คือศาลเห็นว่าสามารถดำเนินคดีได้โดยที่สมาชิกไม่ต้องไปชี้แจงในศาล

 

จากนั้น อดิศร เพียงเกษ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นระบุว่า ศาลอาญาได้พิจารณาคดีของตนเอง ซึ่งเป็นจำเลยในกรณีผู้บงการให้เกิดเหตุการณ์ที่พัทยา เป็นการสืบพยานโจทก์แต่เป็นการพิจารณาลับหลัง และตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 125 วรรคสุดท้าย ศาลจะพิจารณาในคดีนั้นระหว่างสมัยประชุมก็ได้ ซึ่งตนเองก็ไม่ได้ไป แต่ได้มอบหมายทนายความแทน แต่หากศาลขอมา สภามีประเพณีมาคือไม่ให้ไปไม่ว่ากรณีใดโดยเด็ดขาด ก่อนจะทิ้งท้ายว่า สมาชิกทุกคนถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องไปศาลเด็ดขาด

 

ต่อมา กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส. นราธิวาส พรรคประชาชาติ ลุกขึ้นอภิปรายหารือเกี่ยวกับการใช้เอกสิทธิ์ของ สส. ว่า ในวันพรุ่งนี้ศาลจะนัดสอบคำให้การวันแรก โดยจะครบอายุความในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ ซึ่งการนับอายุความต้องนับ 20 ปีเมื่อได้ตัวผู้ต้องหาจำเลยไปศาล นั่นหมายความว่า หากในวันพรุ่งนี้ สส. ใช้เอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญไม่ไปศาล เป็นเรื่องของสภา จึงเข้าใจว่าประธานสภามีอำนาจ แต่เป็นเรื่องของสภาที่จะให้ใช้เอกสิทธิ์หรือไม่ในการคุ้มครองผู้นั้น แต่ในเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของผู้ที่ถูกกล่าวหาที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์

 

ในช่วงท้ายวันมูหะมัดนอร์อ้างอิงข้อบังคับสภาผู้แทนราษฎร ข้อ 187 ระบุว่า “ในกรณีที่เรื่องที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการอนุญาต หรือไม่อนุญาตในการจับกุมคุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิก ไปทำการสอบสวนในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาระหว่างสมัยประชุมตามมาตรา 125 ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาบรรจุในระเบียบวาระการพิจารณา” แต่เนื่องจากยังไม่มีเรื่องมาถึงประธานสภา จึงขอแจ้งให้ทราบ

The post รอมฎอนลุกหารือต่อที่ประชุมสภา ขอให้อนุญาต ‘พิศาล’ สส. เพื่อไทย ไปขึ้นศาลคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอนกังวล พล.อ. พิศาล สส. เพื่อไทย จำเลยคดีตากใบ อาจไม่ปรากฏตัวที่ศาล 12 ก.ย. นี้ https://thestandard.co/romadon-pisan-pheu-thai-tak-bai/ Tue, 10 Sep 2024 08:07:58 +0000 https://thestandard.co/?p=981815

วันนี้ (10 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา รอมฎอน ปันจอร์ สส. แ […]

The post รอมฎอนกังวล พล.อ. พิศาล สส. เพื่อไทย จำเลยคดีตากใบ อาจไม่ปรากฏตัวที่ศาล 12 ก.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (10 กันยายน) ที่อาคารรัฐสภา รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน แถลงข่าวความกังวลกรณีจำเลยในคดีตากใบอาจไม่ไปปรากฏตัวต่อศาลตามนัดในวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยหากจำเลยไม่มาปรากฏตัวต่อศาลจนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ก็จะส่งผลให้คดีหมดอายุความได้

 

รอมฎอนระบุว่า จำเลยในคดีดังกล่าวมีทั้งหมด 7 คน เป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุม และการควบคุมสถานการณ์ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งหนึ่งในนั้นคือจำเลยที่หนึ่ง ปัจจุบันมีสถานภาพเป็น สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยด้วย คือ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี

 

ในวันที่ 12 กันยายนนี้ จะเป็นนัดแรกที่ศาลจะมีการนัดเบิกความจำเลยและนัดตรวจพยานหลักฐาน ถือว่าเป็นนัดแรกที่สำคัญมาก ประเด็นอยู่ที่ว่าในวันที่ 12 กันยายนนี้ ทางจำเลยทั้ง 7 คนจะเดินทางไปที่ศาลจังหวัดนราธิวาสหรือไม่ เพราะหลักการของการพิจารณาคดีอาญาทั่วไปจะต้องมีการพิจารณาคดีต่อหน้าจำเลยด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

 

รอมฎอนกล่าวต่อไปว่า นี่คือจุดชี้ขาด เพราะการปรากฏตัวของจำเลยต้องดำเนินการก่อนวันสิ้นอายุความ คดีนี้เป็นคดีสำคัญและเป็นข้อพิสูจน์กระบวนการยุติธรรมของไทยว่า จะอำนวยความยุติธรรมให้กับผู้ที่สูญเสียทั้ง 85 คนได้หรือไม่ แม้กระทั่งผู้พิพากษาตอนที่ตนไปสังเกตการณ์ในรายงานการพิจารณาคดี ท่านเองก็ระบุว่าพฤติการณ์ในคดีนี้เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ปัญหาความรุนแรง และกระบวนการสันติภาพ

 

สำหรับตน นี่หมายความว่ากระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้จะมีทิศทางไปอย่างไรขึ้นอยู่กับความเป็นไปในคดีนี้ ในด้านหนึ่งคำอธิบายหรือประวัติศาสตร์บาดแผลเหล่านี้หากไม่สามารถสะสางได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่สามารถหาข้อยุติได้อย่างเป็นธรรม ก็คงจะยากที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนต่ออำนาจรัฐได้

 

รอมฎอนกล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ ตนจึงต้องขอเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นทั้งอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบทั้งต่อราชการและสังคม ให้ความร่วมมือกับศาลในการไปร่วมพิจารณาคดีก่อนหมดอายุความด้วย นี่ไม่ใช่แค่การให้ความร่วมมือต่อกระบวนการในชั้นศาลเท่านั้น แต่นี่คือชะตากรรมของความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ส่วนจำเลยที่หนึ่ง ต้องพูดกันตรงๆ ว่า พล.อ. พิศาล มีสถานะเป็น สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสมัยประชุมสภา ซึ่งโดยบังเอิญว่าในวันที่ 12 กันยายนที่ศาลนัด ก็มีการประชุมร่วมสองสภาเพื่อฟังคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ก็อาจเป็นเหตุในการอ้างได้ว่าติดภารกิจ

 

อย่างไรก็ตาม วรรค 4 ของมาตรา 125 ของรัฐธรรมนูญ ที่พูดถึงการคุ้มครองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ในการพิจารณาคดีระหว่างที่มีการเปิดสมัยประชุม ก็ยังเปิดช่องให้กระบวนการพิจารณาในชั้นศาลสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยที่เป็นการแสดงเจตจำนงของสมาชิกว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกจะได้แสดงสปิริตในการเข้าร่วมการพิจารณาคดีครั้งนี้ด้วย

 

รอมฎอนกล่าวต่อไปว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้ติดตามสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง ต้องเรียนว่าคดีดังกล่าวยังมีความสำคัญในทางการเมืองมากด้วย ซึ่ง ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเองก็เคยกล่าวถึงเหตุการณ์นี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยการขออภัยต่อประชาชนที่สูญเสียชีวิตในเหตุการณ์คราวนั้น

 

“หากอายุความสิ้นสุดลง คำถามใหญ่ๆ จะพุ่งตรงไปที่ไม่ใช่แค่จำเลยที่ตั้งใจจะไม่ปรากฏตัวเท่านั้น แต่อาจโยงไปถึงพรรคการเมืองและรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับจำเลยด้วย ขอเรียนว่าผู้นำรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำควรต้องให้ความร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรม พร้อมกับแสดงความบริสุทธิ์ใจที่จะให้กระบวนการพิจารณาคดีเดินหน้าต่อไป ต้องไม่ลืมว่าประชาชนคาดหวังว่าความจริงและความยุติธรรมจะบังเกิดขึ้นจากกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างที่ควรจะเป็น คดีตากใบเป็นบาดแผลที่ใหญ่ที่สุด เป็นปมที่สำคัญที่สุดของความขัดแย้งชายแดนใต้ ถ้าเราปล่อยให้อายุความหมดไปทั้งที่คดีถึงมือศาลแล้ว ศาลประทับรับฟ้องแล้ว มันจะกลายเป็นปมปัญหาและเป็นแผลเป็นที่จะแก้ไขไม่ได้” รอมฎอนกล่าว

 

รอมฎอนกล่าวต่อไปว่า ตนอยากให้พรรคเพื่อไทยและเพื่อนสมาชิกตระหนักถึงเรื่องนี้ อยากให้พรรคพูดคุยกับ สส. เพื่อให้เดินทางไปศาลก่อนที่คดีจะหมดอายุความ และแน่นอนที่สุดภาระความรับผิดชอบนี้ในทางการเมืองตกอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ทั้งในฐานะลูกสาวของอดีตนายกรัฐมนตรี และในฐานะผู้นำรัฐบาลในปัจจุบันด้วย ที่เราต่างก็รับมรดกของความขัดแย้ง ท่านอาจต้องใส่ใจต่อเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณที่ดีที่สะท้อนว่าท่านมุ่งมั่นในการคลี่คลายปมปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

สำหรับการนัดเบิกคำให้การจำเลยในคดีตากใบสำนวนนี้ ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน ตนไม่สามารถเดินทางไปร่วมสังเกตการณ์การพิจารณาคดีดังกล่าวได้ เนื่องจากต้องเข้าร่วมประชุมสภา และเตรียมอภิปรายนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ตาม คณะทำงานของพรรคประชาชนจังหวัดนราธิวาส ได้ทำหนังสือถึงศาลเพื่อขอเข้าสังเกตการณ์ในวันดังกล่าวแล้ว

 

นอกจากนี้ รอมฎอนระบุทิ้งท้ายด้วยว่า ได้รับทราบว่าญาติของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรผ่านทาง กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร โดยเรียกร้องให้ประธานและสมาชิกสภาให้ความสำคัญกับการอำนวยความเป็นธรรม และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เดินทางไปศาลในวันที่ 12 กันยายน ซึ่งคงต้องติดตามว่าประธานสภาจะดำเนินการอย่างไร

The post รอมฎอนกังวล พล.อ. พิศาล สส. เพื่อไทย จำเลยคดีตากใบ อาจไม่ปรากฏตัวที่ศาล 12 ก.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอนมองศาลรับฟ้องคดีตากใบ เป็นโอกาสให้กระบวนการยุติธรรมไทยพิสูจน์ตัวเอง https://thestandard.co/tak-bai-case-court-acceptance/ Fri, 23 Aug 2024 10:15:15 +0000 https://thestandard.co/?p=974555 รอมฎอน ปันจอร์

วันนี้ (23 สิงหาคม) ที่ศาลจังหวัดนราธิวาส รอมฎอน ปันจอร […]

The post รอมฎอนมองศาลรับฟ้องคดีตากใบ เป็นโอกาสให้กระบวนการยุติธรรมไทยพิสูจน์ตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
รอมฎอน ปันจอร์

วันนี้ (23 สิงหาคม) ที่ศาลจังหวัดนราธิวาส รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ร่วมสังเกตการณ์การอ่านคำสั่งไต่สวนมูลฟ้องคดีตากใบ ที่ผู้เสียหายยื่นฟ้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 9 คน ก่อนอายุความคดีจะสิ้นสุดในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 

 

ในที่สุดศาลเห็นว่าคดีมีมูลและประทับรับฟ้องจำเลย 7 คนในข้อหาฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่าผู้อื่น และร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว ส่วนอีก 2 คนเห็นว่าไม่มีมูล โดยในจำนวน 7 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ หนึ่งในนั้นคือ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4 ขณะเกิดเหตุการณ์ตากใบเมื่อปี 2547 

 

ศาลนัดสอบคำให้การคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายในวันที่ 12 กันยายน 2567 และจะมีหมายเรียกให้มาศาลตามนัดหมาย 

 

รอมฎอนกล่าวว่า นี่คือโอกาสครั้งสำคัญในการพิสูจน์ตัวเองของกระบวนการยุติธรรมไทยว่าจะคืนความเป็นธรรมให้ประชาชนได้หรือไม่ หลังจากรอคอยมายาวนานเกือบ 20 ปี และหวังว่าจำเลยทุกคนจะให้ความร่วมมือเข้ามาพิสูจน์ตัวเองในชั้นศาลต่อไป

The post รอมฎอนมองศาลรับฟ้องคดีตากใบ เป็นโอกาสให้กระบวนการยุติธรรมไทยพิสูจน์ตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ จี้รัฐเยียวยาเหตุระเบิดมูโนะ ผ่านไปเกือบปีชาวบ้านนับร้อยยังไม่มีที่อยู่ https://thestandard.co/muno-villagers-dont-have-place-to-live/ Tue, 04 Jun 2024 09:42:23 +0000 https://thestandard.co/?p=941111 เหตุระเบิดมูโนะ

วันนี้ (4 มิถุนายน) คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึก […]

The post กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ จี้รัฐเยียวยาเหตุระเบิดมูโนะ ผ่านไปเกือบปีชาวบ้านนับร้อยยังไม่มีที่อยู่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เหตุระเบิดมูโนะ

วันนี้ (4 มิถุนายน) คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร นำโดย จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมาธิการ และ รอมฎอน ปันจอร์ รองประธานคณะกรรมาธิการ แถลง ณ รัฐสภา ในกรณีได้ยื่นหนังสือต่อ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอแนะเร่งด่วนเกี่ยวกับกรณีมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุระเบิดมูโนะ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ด้วยเห็นว่ารองนายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในวันพรุ่งนี้ (5 มิถุนายน)

 

จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนในจังหวัดนราธิวาสโดยคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายนที่ผ่านมา และได้ลงพื้นที่เพื่อให้กำลังใจประชาชน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 และเป็นข่าวสะเทือนขวัญครั้งใหญ่ เพราะมีผู้ได้รับผลกระทบมากถึง 2,513 คนใน 682 ครัวเรือน มีผู้บาดเจ็บ 389 คน และเสียชีวิต 11 คน รวมทั้งมีบ้านเรือนเสียหาย 649 หลัง โดยเสียหายทั้งหลัง 82 หลัง พบว่าได้มีการช่วยเหลือโดยคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี สำหรับค่าซ่อมบ้านตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเป็นจำนวน 49,500 บาทต่อราย

 

ขณะที่บ้านที่เสียหายทั้งหลังมีการเซ็นสัญญาสร้างบ้านกับรัฐไปเพียง 2 หลังเท่านั้นจาก 82 หลัง ส่วนบ้านที่เสียหายบางส่วนประชาชนซ่อมบ้านด้วยตนเองไปกว่า 368 หลัง จากเงินที่รัฐให้จำนวนเพียง 49,500 บาท รวมกับเงินที่ได้รับจากการบริจาคของประชาชนทั่วประเทศและองค์กรอื่นๆ จำนวน 34 ล้านบาท ที่มีจังหวัดรับเป็นศูนย์กลางในการรับเงินช่วยเหลือ แม้การที่หลากหลายองค์กรเข้ามาช่วยเหลือจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่พบว่าการช่วยเหลือนี้มีลักษณะต่างกัน ทั้งในแง่ความเร็ว-ช้า วงเงินในการเยียวยา การรวบรวมข้อมูลผู้เสียหาย และไม่มีหน่วยงานมาจัดการภาพรวม ทำให้ประชาชนที่ได้รับการช่วยเหลือช้าหรือบางส่วนตกหล่นไม่ทราบว่าจะไปเสนอปัญหากับใคร

 

เงินจากภาครัฐโดยคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งอนุมัติตั้งแต่เหตุการณ์เกิดขึ้นใหม่ๆ ไปแล้ว 107 ล้านบาท แต่กลับไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากขัดระเบียบ ทำให้มีการเรียกร้องให้ยกเว้นระเบียบมาโดยตลอด จนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านไปถึง 9 เดือนจึงมีการเห็นชอบยกเว้นหลักเกณฑ์ โดยสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา

 

จาตุรนต์กล่าวว่า ในการลงพื้นที่พบว่ายังมีข้อมูลตกหล่น ประชาชนบางรายมาให้ข้อมูลโดยตรงว่าใช้เงินตนเองซ่อมบ้านไปแล้วล้านกว่าบาท แต่ยังไม่ได้รับเงินจากทางราชการเลย หลายคนทำอาชีพขายของในตลาด เมื่อเกิดเหตุการณ์จึงสูญเสียอาชีพไปเป็นปี และปัจจุบันต้องใช้เงินตนเองไปเช่าบ้านเอง หรือได้รับเงินบริจาคก็มาล่าช้ากว่าการจ่ายค่าเช่าบ้าน และประชาชนบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงการพูดคุยกับผู้รับผิดชอบระดับสูง เช่น เมื่อคณะกรรมาธิการไปรับฟังถึงพื้นที่ ชาวบ้านบางส่วนต้องหาทางเพื่อมาพบกับเรา

 

“หลักการสำคัญอย่างหนึ่งก็คือเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องภัยธรรมชาติ และไม่ใช่เรื่องของความไม่สงบที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัด ดังนั้นการไปใช้หลักเกณฑ์แบบการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติก็ดี ผู้ประสบผลกระทบจากความไม่สงบก็ดี เป็นการช่วยเหลือที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากความเสียหายครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่โกดังพลุดอกไม้ไฟซึ่งเป็นวัตถุระเบิด ลักลอบเก็บโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถตรวจสอบควบคุมได้ ดังนั้นเหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นความบกพร่องของรัฐ จะมารับผิดชอบตามหลักเกณฑ์แค่ 50,000 บาทไม่ได้ แต่ต้องมีการรับผิดชอบขั้นต่ำคือเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้น กฎหมายระเบียบอะไรที่ยกมาใช้ได้ต้องเอามาใช้ให้หมด ความจริงจะใช้งบกลางในกรณีฉุกเฉินก็ได้ แต่ที่สำคัญคือต้องทำให้เร็วและครอบคลุมครบถ้วน” จาตุรนต์กล่าว

 

ด้านรอมฎอนกล่าวว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องแรกๆ ที่สภาผู้แทนราษฎรตั้งกระทู้สดอภิปรายกันในสภาอย่างเข้มข้น และคณะกรรมาธิการหลายชุดติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงอยากจะให้ทางรัฐบาลช่วยยกระดับการแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนนี้ ที่สำคัญก็คือมีมาตรการช่วยเหลือจากองค์กรนอกภาครัฐด้วย ทั้งเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี หรือมูลนิธิคนช่วยน แต่เราพบว่าความช่วยเหลือนั้นยังไม่เห็นภาพรวม และมีช่องว่างอยู่ไม่น้อยทีเดียว จึงสมควรที่จะตั้งคณะทำงานระดับชาติขึ้นมาโดยรัฐบาลเอง

 

“อีก 2 เดือน เหตุการณ์จะครบ 1 ปี ท่านจะเห็นเลยว่าสภาพการณ์ยังไม่ได้มีการฟื้นฟูอย่างที่ควรจะเป็น ไม่นับรวมกับวิถีชีวิตตลาดนัดชายแดนที่แต่เดิมมูโนะเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย ตอนนี้สภาพเปลี่ยนไปอย่างมาก การที่รัฐบาลต้องการเสนอผลักดันเรื่องเศรษฐกิจและการค้าชายแดน รวมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่พยายามส่งเสริม มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าสัญลักษณ์ของการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวอย่างมูโนะอยู่ในสภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ท่านรองนายกฯ เดินทางลงไปในพื้นที่ จะแวะไปที่ด่านสุไหงโก-ลก และพอจะมีเวลาสักเล็กน้อยอาจจะแวะไปดูที่ตลาดด้วย”

The post กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ จี้รัฐเยียวยาเหตุระเบิดมูโนะ ผ่านไปเกือบปีชาวบ้านนับร้อยยังไม่มีที่อยู่ appeared first on THE STANDARD.

]]>