รถไฟความเร็วสูง – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 25 Mar 2025 07:20:33 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สุริยะตอบฝ่ายค้านบิดเบือนข้อมูลจากจินตนาการ ยืนยันปมแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้เอกชน https://thestandard.co/no-confidence-debate-2568-33/ Tue, 25 Mar 2025 07:20:33 +0000 https://thestandard.co/?p=1056337 สุริยะ

วันนี้ (25 มีนาคม) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณ […]

The post สุริยะตอบฝ่ายค้านบิดเบือนข้อมูลจากจินตนาการ ยืนยันปมแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้เอกชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุริยะ

วันนี้ (25 มีนาคม) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เป็นวันที่ 2 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลุกชี้แจงกรณีที่ สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวหากรณีแก้สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ระบุว่า ให้เอกชนคว้าสัมปทานไปได้ก่อน แล้วค่อยหาประโยชน์เพิ่มด้วยกันแก้สัญญา และการขยายสัมปทานทางด่วน ที่ระบุให้เอกชนได้สิทธิ์กินเต็มอิ่ม แล้วเมื่ออยากกินต่อ จึงขอขยายสัมปทานไปเรื่อย

 

สุริยะกล่าวว่า ตลอดเวลาที่ได้นั่งรับฟังการอภิปรายอย่างตั้งใจ หลายคนคงรู้สึกเช่นเดียวกันว่า ผู้อภิปรายมีความพยายามสร้างเรื่องราวบิดเบือนข้อเท็จจริงจากจินตนาการของท่าน จนทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า มีการวางแผนการนี้ไว้ล่วงหน้า เพื่อเอื้อประโยชน์กับเอกชนคู่สัญญา หรือการพยายามเล่นคำว่า ซูเปอร์ดีล โดยบิดเบือนข้อมูล เอามูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าโครงการมาพูดว่า เป็นแสนแสนล้านบาท นั้น ก็ล้วนแล้วมาจากการจินตนาการลอยๆ

 

ทั้งนี้ เห็นด้วยกับคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ระบุ ไม่ทราบว่าผู้อภิปราย กำลังอภิปรายรัฐบาลไหน เนื่องจากเหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น เกิดก่อนที่รัฐบาลนี้จะเข้ามาบริหารงานด้วยซ้ำ โดยทั้ง 2 โครงการนั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการต่างๆ ยังไม่ได้มีการเสนอถึงคณะรัฐมนตรี และยังไม่ถึงมือของนายกรัฐมนตรี

 

ดังนั้น การที่ผู้อภิปรายเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตอบคำถาม จึงเป็นไปไม่ได้ นายกรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมาตอบชี้แจง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแทน ย้ำว่า รัฐบาลยังไม่มีการอนุมัติให้ดำเนินการแต่อย่างใด เพราะยังต้องมีการพิจารณาร่วมกันกับอีกหลายหน่วยงาน เพื่อให้รัฐไม่เสียประโยชน์อย่างแน่นอน

 

สุริยะกล่าวถึงการที่ผู้อภิปรายอ้างว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเอื้อสัญญา หรือมีการพยายามพูดให้เข้าใจว่า มีผู้ใหญ่ มีนายใหญ่ หรือมีนายน้อย สั่งการอยู่เบื้องหลังนั้น ขอยืนยันว่า ไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัว กับคู่สัญญาของทั้ง 2 โครงการแต่อย่างใด แล้วจะไปมีการเอื้อประโยชน์ให้ได้อย่างไร

 

“ในทางตรงกันข้าม ผมพยายามแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและภาครัฐ ทั้งเรื่องการจราจรที่ติดขัด ค่าผ่านทางแพง และโครงการที่ลงทุนไว้แล้ว แต่ดำเนินการต่อไปไม่ได้ ให้สำเร็จลุล่วง โดยยึดประโยชน์ของประชาชน และภาครัฐเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น ไม่มีแน่นอน ที่ผู้อภิปราย มโนว่าเป็นซูเปอร์ดีลแสนล้าน” สุริยะกล่าว

 

สุริยะชี้แจงต่อไปเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินว่า มีการทำสัญญามาตั้งแต่ในอดีต โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการไปเมื่อวันที่  27 มีนาคม 2561 และลงนามสัญญาร่วมทุน วันที่ 24 ตุลาคม 2562 แต่รัฐบาลนี้เข้ามาเป็นบริหาร เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ซึ่งมีเวลาต่างกันอยู่ถึง 5 ปี

 

“ผมยืนยันว่าผมไม่ใช่ส่วนหนึ่งในการสร้างปัญหา แต่ตนเข้ามาเพื่อแก้ปัญหา เวลาทันทีที่ผมได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็พบว่าโครงการนี้มีปัญหาด้านสัญญา จึงแก้ปัญหาเพื่อทำให้สัญญาสามารถเดินต่อไปได้”

 

สุริยะชี้แจงว่า โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีการลงทุนจากภาคเอกชนไปแล้วกว่า 1.8 ล้านล้านบาท หากถอยโครงการนี้ประเทศจะเสียหายมาก และเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนด้วย

 

นอกจากนั้น ยังมีกรณีที่เอกชนไม่สามารถชำระค่าสิทธิ์ Airport Rail Link ได้ตามกำหนด แต่เพื่อไม่ให้โครงการหยุดชะงัก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) EEC และเอกชน เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหา จากนั้นจึงมีการทำ MOU ซึ่งกำหนดให้เอกชนต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการเดินรถ การบำรุงรักษา และรับความเสี่ยงทั้งหมด ในส่วนของเงื่อนไขสัญญาซึ่งมีการเซ็นไว้ก่อนนั้น ก็เดินต่อไม่ได้

 

โดยการแค่ปัญหาในส่วนนี้มีเพียง 2 ทาง คือการแก้ไขสัญญา หรือยกเลิกสัญญาเพื่อประมูลใหม่ ซึ่งการยกเลิกสัญญานั้น ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัย นอกจากนั้น หากเกิดการประมูลใหม่ ก็อาจเกิดการฟ้องร้องด้านกฎหมาย และทำให้โครงการหยุดชะงัก

 

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาสัญญาร่วมลงทุนที่ถูกกล่าวหาว่า มีการเปลี่ยนแปลงนั้น ตนขอยืนยันว่าโครงการนี้ยังเป็นรูปแบบ PPP Net Cost เหมือนเดิม และเอกชนยังเป็นผู้รับความเสี่ยงเหมือนเดิม ย้ำว่า รัฐไม่ได้เสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งยังสามารถทำให้รัฐประหยัดดอกเบี้ยได้อีก รวมถึงการที่เอกชนจะต้องโอนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้รัฐ เมื่อได้รับเงินร่วมลงทุน ซึ่งจะช่วยให้โครงการเกิดความมั่นคง หากเอกชนรายดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการต่อได้ รัฐก็ยังสามารถหาเอกชนรายใหม่มาดำเนินการต่อ ไม่เป็นปัญหาเหมือนโฮปเวลล์ในอดีต

 

ดังนั้น ขอยืนยันอีกครั้งว่า การแก้ไขปัญหาตามหลักการ จะทำให้รัฐมีความเสี่ยงลดลง จ่ายเงินร่วมลงทุนเท่าเดิม ได้ค่าสิทธิ์ Airport Rail Link เท่าเดิม

 

ส่วนการขยายสัมปทานทางด่วน เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนนั้น ขอปฏิเสธว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง แต่ตนต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรให้กับประชาชน ที่สัญจรผ่านทางด่วนเส้นนี้ทุกวัน และพบว่าประชาชนที่ใช้ทางด่วน ยังต้องเผชิญกับปัญหารถติดเป็นอย่างมาก ทั้งยังต้องจ่ายค่าผ่านทางที่แพงมาก ดังนั้น โครงการนี้คือการเพิ่มช่องจราจร ให้สามารถแยกรถที่เดินทางใกล้และไกลออกจากกัน และไม่ต้องเวนคืนที่ดินจากประชาชน

 

สุริยะยืนยันว่า เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องจากรัฐบาลในอดีต โดยหากโครงการ Double Deck แล้วเสร็จ จะสามารถรับระยะเวลาการเดินทางบนทางด่วนได้ และทำให้ความเร็วเฉลี่ยในการเดินทางเพิ่มขึ้น สิ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว จะสูงถึงประมาณ 7,000 ล้านบาทต่อปี ถ้าไม่สร้างตอนนี้ รอสัมปทานสิ้นสุดแล้วค่อยสร้าง ประชาชนก็ยังจะคงเดือดร้อนไปอีกนับ 10 ปี ประเทศชาติเสียโอกาส ยอมไม่ได้

 

สำหรับค่าก่อสร้างของโครงการ ที่มีมูลค่ามากกว่าการสร้างทางด่วนชั้นเดียวนั้น เนื่องจากโครงการนี้ มีการใช้เทคนิควิศวกรรมชั้นสูง ก่อสร้างสูงกว่าทางด่วนเดิม เนื่องจากด้วยข้อจำกัดที่ไม่สามารถขยายทางด่วนเดิมได้ ส่วนการลดค่าผ่านทาง เหลือ 50 บาทนั้น ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อลดค่าครองชีพให้กับประชาชน กระทรวงไทยคมนาคมและกรมการทางพิเศษ จึงวิเคราะห์ใช้กับโครงข่ายทางด่วนในเขตเมืองเป็นอันดับแรก ซึ่งถือเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ใช้ทางด่วนทั้งหมด

 

สำหรับการชี้แจงรายละเอียดโครงการ ทราบว่ากรมการทางพิเศษได้มีการเข้าให้ข้อมูลกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้ว โดยไม่มีการถูกกล่าวหาว่าการดำเนินการในครั้งนี้ มิชอบแต่อย่างใด รวมถึงได้มีการเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการงบประมาณฯ แล้ว ซึ่งได้เปิดเผยรายละเอียดที่สามารถเปิดเผยได้ไปแล้ว ยกเว้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเอกชน เนื่องจากเอกชนได้แจ้งสงวนสิทธิ์ไว้ ยืนยันว่า ไม่มีการสั่งการให้ทำตามระเบียบ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ในทุกขั้นตอน ไม่มีการปกปิดข้อมูล

 

อย่างไรก็ตาม หากผู้อภิปรายมีข้อแนะนำเรื่องใด ในภารกิจของกระทรวงคมนาคม หรือต้องการข้อมูลอะไร ที่ยังไม่มีความชัดเจน หรือมีข้อสงสัยเรื่องใดประการใด ก็สามารถไปพบหรือติดต่อโทรศัพท์หาตนได้ ที่กระทรวงคมนาคม แต่สุรเชษฐ์ ไม่เคยเข้าไปที่ กระทรวงคมนาคมสักครั้งเดียว ยืนยันว่า หากต้องการข้อมูลที่เต็มประโยชน์ต่อประชาชน ตนจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

The post สุริยะตอบฝ่ายค้านบิดเบือนข้อมูลจากจินตนาการ ยืนยันปมแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้เอกชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับตา EEC เผยกลางปี 2 โปรเจกต์ยักษ์ เมืองการบินอู่ตะเภาและรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินมาแน่ https://thestandard.co/eec-projects-airport-high-speed-rail-foreign-investment/ Fri, 28 Feb 2025 01:56:50 +0000 https://thestandard.co/?p=1046683 แผนการพัฒนาโครงการเมืองการบินอู่ตะเภาและรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้แผนพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

EEC จับมือ HSBC ดันไทยศูนย์กลางอุตสาหกรรมมูลค่าสูง ลุยโ […]

The post จับตา EEC เผยกลางปี 2 โปรเจกต์ยักษ์ เมืองการบินอู่ตะเภาและรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินมาแน่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แผนการพัฒนาโครงการเมืองการบินอู่ตะเภาและรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้แผนพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

EEC จับมือ HSBC ดันไทยศูนย์กลางอุตสาหกรรมมูลค่าสูง ลุยโรดโชว์ต่างประเทศ ดึงนักลงทุน จีน ยุโรป ตะวันออกกลาง อินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่น มาไทย หวังดูดเม็ดเงินลงทุนจริง  5 แสนล้านบาท ภายใน 5 ปี โดยเจาะ 5 กลุ่มคลัสเตอร์ ขณะที่ เลขา EEC ยันกลางปี 2 โปรเจกต์ เมืองการบินอู่ตะเภา-รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินมาแน่

 

จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC กล่าวว่า เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ถือเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย การผนึกกำลังร่วมกับธนาคาร HSBC  ซึ่งเป็นสถาบันทางการเงินที่มีความเชี่ยวชาญและเครือข่ายที่แข็งแกร่งใน 58 ประเทศและเขตดินแดน ซึ่งปีนี้  2568 ธนาคาร HSBC  ประเทศไทยจะให้การสนับสนุนการโรดโชว์เพื่อส่งเสริมการลงทุนสู่พื้นที่ EEC  อาทิ จีน สิงคโปร์ ยุโรป ไต้หวัน และญี่ปุ่น

 

เจาะ 5 คลัสเตอร์ ดูดต่างชาติลงทุน 5 แสนล้านบาท ใน 5 ปี 

 

อีกทั้งพร้อมร่วมดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจริงในพื้นที่รวม 5 แสนล้านบาท ภายใน 5 ปี โดยเจาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย  5 คลัสเตอร์ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ อุตสาหกรรมสีเขียว BCG และอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของไทยในการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของโลก

 

จุฬา กล่าวอีกว่า ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ตัวเลข 5 แสนล้านบาท ที่ตั้งเป้าไว้ไม่ใช่เฉพาะแค่โครงการลงทุน แต่คือเม็ดเงินลงทุนที่จะเกิดการลงทุนจริงในพื้นที่ 3 จังหวัด ภาคตะวันออก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง

 

เมื่อมีการลงทุนก็จะมีการสร้างโรงงาน การสร้างคน จากนั้นคนก็จะทำการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยว ช่วยผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าปีละ 1 แสนล้านบาท ซึ่งปีที่แล้วก็สามารถทำได้

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

 


 

“ฐานผลิตโรงงานจะเป็นไข่แดงที่ตรงเข้ามาลงทุน แต่ก็จะมีไข่ขาวที่ใหญ่กว่าไข่แดงเสมอ ถ้าเราสามารถจะโฟกัสการลงทุนที่ดีและมีมูลค่า คนที่จะเข้ามาทำงานก็จะมีคุณภาพและสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมาก” จุฬาย้ำ

 

กลางปี สนามบินอู่ตะเภา-รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินมาแน่

 

จุฬา ระบุอีกว่า กลางปีนี้  2568 จะมีข่าวดี 2 เรื่องคือ 1.การก่อสร้างโครงสร้างสนามบินอู่ตะเภา ในส่วนของรันเวย์ที่ 2 และ 2.การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน ซึ่งคาดว่าทั้ง 2 โครงการนี้จะสามารถออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ได้ในช่วงเดือนเมษายน 2568 

 

โดยล่าสุด สกพอ. พร้อมหารือร่วมกับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด (UTA) เอกชนผู้ร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรวมกว่า 2.9 แสนล้านบาท หลังจากบริษัทประกาศออกมาว่าจะไม่รอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เบื้องต้น คาดว่าเฟส1 จะสร้างอาคารผู้โดยสาร (เทอร์มินอล) รองรับไม่ต่ำกว่าปีละ 5 ล้านคน ปรับลดลงจากแผนเดิมที่จะรองรับผู้โดยสาร 12 ล้านคน

 

ดังนั้น การดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ และรถไฟความเร็วสูงฯ น่าจะเริ่มต้นได้ภายในกลางปี 2568  นี้ ทั้งนี้ ตัวสนามบินอู่ตะเภาจะต้องมีสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ หากกรณีของเอกชนยังไม่มา ทางการรถไฟฯ (รฟท.) จะทำอุโมงค์รอไว้ 

 

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงฯ ล่าสุด รฟท.กำลังหารือรายละเอียดของสัญญา ยังเป็นไทม์ไลน์เดิมเดือนเม.ย. 2568 

 

 

ไทยดูด FDI รถ EV จีน เผย  5 ปีทะลุ  2.75 แสนล้านบาท

 

ด้าน จอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนจากตัวเลขในปี 2567 ที่มีการลงทุนสูงเป็นประวัติการณ์

 

โดยไทยมีการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติเป็นมูลค่ารวมราว 7.27 แสนล้านบาท ถือเป็นสถิติยอดการลงทุนสูงสุดในรอบ 20 ปี ซึ่งจะเห็นว่า EEC ถือเป็นศูนย์กลางการเติบโตมากถึง 78% ของมูลค่าการลงทุน หรือคิดเป็น 5.68 แสนล้านบาท

 

ขณะที่ อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มูลค่า 2.56 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมดิจิทัล 9.5 หมื่นล้านบาท และยานยนต์แห่งอนาคต 8.7 หมื่นล้านบาท สะท้อนถึงบทบาทของ EEC ในฐานะแรงขับเคลื่อนหลักของกลยุทธ์การลงทุนของไทย

 

“ธุรกิจจีนขยายสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง ผ่านเครือข่ายของธนาคารในปี 2566 ที่เพิ่มขึ้น 80% จากปีก่อนหน้า”

 

ทั้งนี้ แม้การลงทุนจากจีนจะครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม แต่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งมีมูลค่ารวมนับตั้งแต่ปี 2561 จนถึงไตรมาสสามปี 2567 ราว 2.75 แสนล้านบาท 

 

นอกจากนี้ ไทยยังดึงดูดเงินลงทุนจากธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ และไม่เพียงแค่จีน ยังมี อินเดีย และตะวันออกกลาง ถือเป็นนักลงทุนที่สำคัญสำหรับไทยอีกด้วย จอร์โจกล่าว

The post จับตา EEC เผยกลางปี 2 โปรเจกต์ยักษ์ เมืองการบินอู่ตะเภาและรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินมาแน่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สื่อจีนรายงาน รัฐบาลไทยไฟเขียวรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 จ่อดันเศรษฐกิจไทยโตคึกคัก https://thestandard.co/thailand-highspeed-rail-phase2/ Fri, 07 Feb 2025 10:42:07 +0000 https://thestandard.co/?p=1039476 thailand-highspeed-rail-phase2

สำนักข่าว Xinhua รายงาน รัฐบาลไทยมีมติอนุมัติโครงการรถไ […]

The post สื่อจีนรายงาน รัฐบาลไทยไฟเขียวรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 จ่อดันเศรษฐกิจไทยโตคึกคัก appeared first on THE STANDARD.

]]>
thailand-highspeed-rail-phase2

สำนักข่าว Xinhua รายงาน รัฐบาลไทยมีมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย (HSR) ระยะที่ 2 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่จะช่วยเชื่อมโยงไทยเข้ากับจีนผ่านทางรถไฟจีน-สปป.ลาว ในที่สุด

 

โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2030 โดยผู้เชี่ยวชาญจากจีนและไทยกล่าวว่า เมื่อโครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ จะช่วยเปิดช่องทางใหม่ให้ไทยสามารถขยายการส่งออก พร้อมดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างแกนหลักของโครงข่ายรถไฟสายทรานส์เอเชีย (TAR) อันเป็นความฝันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วภายใต้กรอบ BRI

 

ทั้งนี้ การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 จะมีความยาว 357 กิโลเมตร โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3.4 แสนล้านบาท ซึ่งการก่อสร้างอาจเริ่มต้นได้ในปีนี้หลังผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการได้ในปี 2031 

 

โครงการดังกล่าวประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือการก่อสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการระยะที่ 1 ซึ่งทอดยาวจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา โดยมีสถานีรถไฟ 5 แห่งตลอดเส้นทาง ส่วนระยะที่ 2 ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางรางในจังหวัดหนองคาย และให้บริการแบบเบ็ดเสร็จสำหรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟข้ามพรมแดน 

 

เติ้งเฮาจี้ (Deng Haoji) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Chongqing Hongjiu Fruit กล่าวกับหนังสือพิมพ์ Global Times ของจีนว่า “เราคาดหวังไว้สูงว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะช่วยขนส่งผลไม้จากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังจีนได้ เช่น ทุเรียน, มังคุด, ลำไย และมะพร้าว โดยเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางขนส่งโดยตรงระหว่างจีนและไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดยจะมีประสิทธิภาพในการดำเนินการที่สูงขึ้นและต้นทุนที่ต่ำลง”

 

โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยออกแบบให้สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และยังเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศโครงการแรกที่จะนำมาตรฐานการรถไฟของจีนมาใช้

 

โฆษกของบริษัท China State Construction Engineering (Thailand) Co., Ltd. เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ Global Times ว่า การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในการสร้างโครงข่ายรถไฟสายทรานส์เอเชีย ซึ่งเริ่มต้นเส้นทางจากเมืองคุนหมิงในมณฑลยูนนานของจีน และขยายไปจนถึงสิงคโปร์ผ่าน สปป.ลาวและไทย

 

อนึ่ง ทางรถไฟจีน-สปป.ลาว ซึ่งเชื่อมระหว่างคุนหมิงกับนครหลวงเวียงจันทน์ เริ่มเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2021 โดยข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2025 ระบุว่า เส้นทางรถไฟดังกล่าวขนส่งสินค้าไปแล้วรวม 50.7 ล้านตันและมีผู้โดยสารกว่า 45 ล้านคน ทำให้เส้นทางนี้เป็นหนึ่งใน ‘ระเบียงทองคำ’ ในการกระชับความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียน

 

  • นักวิเคราะห์มองโครงการรถไฟความเร็วจะดันไทยเติบโตในอาเซียน

 

หูจื้อหยง (Hu Zhiyong) นักวิจัยจากสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งสถาบันสังคมศาสตร์เซี่ยงไฮ้ มองว่า การดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย ระยะที่ 2 จะช่วยเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยให้คึกคักมากขึ้น 

 

“เส้นทางทั้งสามของระบบโครงข่ายรถไฟสายทรานส์เอเชียเชื่อมต่อกับไทย ดังนั้นเมื่อโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยเสร็จสมบูรณ์ ก็จะช่วยเสริมสร้างบทบาทของไทยในฐานะศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และการค้าในภูมิภาค ขณะเดียวกันการเชื่อมโยงทางรถไฟจะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายให้กับไทยในแง่ของการพัฒนาการท่องเที่ยวและเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม”

 

ทั้งนี้ การเยือนจีนของ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คาดว่าจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ไทย-จีน รวมถึงการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการเดินทางมาประเทศไทยด้วย

 

ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน เผยกับหนังสือพิมพ์ Global Times ว่า การเยือนของนายกฯ ครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือระดับทวิภาคีภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง พลังงานหมุนเวียนสีเขียว และเศรษฐกิจดิจิทัล

 

“ความร่วมมือ BRI ระหว่างจีนและไทยมีรากฐานที่มั่นคงและมีแนวโน้มการพัฒนาที่สดใสมาก และการเร่งสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยระยะที่ 2 จะสร้างแรงผลักดันให้ไทยเติบโตอย่างไม่ต้องสงสัย” หูกล่าว

 

ภาพ: Andrew Benton / Construction Photography / Avalon / Getty Images

 

อ้างอิง:

The post สื่อจีนรายงาน รัฐบาลไทยไฟเขียวรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 จ่อดันเศรษฐกิจไทยโตคึกคัก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครม. อนุมัติก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 โคราช-หนองคาย 357 กม. เชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ทะลุถึงจีน https://thestandard.co/high-speed-rail-korat-nongkhai-approved/ Tue, 04 Feb 2025 07:54:30 +0000 https://thestandard.co/?p=1037976 โครงการรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 โคราช-หนองคาย ระยะทาง 357 กิโลเมตร เชื่อมต่อรถไฟลาว-จีน

วันนี้ (4 กุมภาพันธ์) จิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักน […]

The post ครม. อนุมัติก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 โคราช-หนองคาย 357 กม. เชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ทะลุถึงจีน appeared first on THE STANDARD.

]]>
โครงการรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 โคราช-หนองคาย ระยะทาง 357 กิโลเมตร เชื่อมต่อรถไฟลาว-จีน

วันนี้ (4 กุมภาพันธ์) จิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้พิจารณาอนุมัติดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย กรอบวงเงิน 341,351.42 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี (ปีงบประมาณ 2568-2575) โดยให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปี และให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ให้ตามความเหมาะสม

 

ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างไทยและจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ ซึ่งที่ผ่านมา ครม. มีมติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กทม.-หนองคาย (โครงการระยะที่ 1) กทม.-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบประมาณ 2560-2563) ซึ่งปัจจุบันโครงการระยะที่ 1 ล่าช้ากว่ากำหนด มีความคืบหน้าโดยรวมร้อยละ 35.74 ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571

 

ส่วนโครงการระยะที่ 2 ประกอบด้วยการดำเนินการใน 2 ส่วน ได้แก่



1. การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากโครงการระยะที่ 1 ที่จะเริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมาไปจนถึงหนองคาย วงเงิน 335,665.21 ล้านบาท ระยะทาง 357.12 กม. ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่, บ้านไผ่, ขอนแก่น, อุดรธานี และหนองคาย โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2568 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2575 (รวม 8 ปี)

 

2. การก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา วงเงิน 5,686.21 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นการก่อสร้างศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟทั้งขาเข้าและขาออกระหว่างทางขนาด 1 เมตรของรถไฟไทย และขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตรของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)

 

สำหรับโครงการระยะที่ 2 เมื่อพิจารณา EIRR เชิงกว้าง กรณีโครงการระยะที่ 1 และ 2 พบว่ามีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 13.23 ซึ่งยังมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ อีกทั้งคณะกรรมการ รฟท. มีมติเห็นชอบโครงการระยะที่ 2 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการระยะที่ 2 ด้วยแล้ว

 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการว่า ขอให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท. เร่งรัดดำเนินโครงการระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากล่าช้ากว่าแผนมานานแล้ว นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังกำชับให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในราชอาณาจักร

 

ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. มีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ

 

มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงรายการสินค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์และพิกัดอัตราศุลกากร ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563

 

ร่างประกาศฉบับนี้เป็นการยกเลิกประกาศเดิมปี 2563 เพื่อปรับปรุงรายการสินค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์และพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับของเสียอันตราย ภายใต้อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายและการจำกัด จากระบบฮาร์โมไนซ์ ปี 2017 เป็นระบบฮาร์โมไนซ์ ปี 2022 จากเดิม 428 รายการเป็น 463 รายการ เพื่อลดปริมาณของเสียที่นำเข้ามากำจัดภายในประเทศ รวมทั้งช่วยลดมลพิษที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน โดยให้ร่างประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

The post ครม. อนุมัติก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 โคราช-หนองคาย 357 กม. เชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ทะลุถึงจีน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: EEC แก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-10012025-3/ Fri, 10 Jan 2025 06:00:24 +0000 https://thestandard.co/?p=1028817 morning-wealth-10012025-2

EEC ลุยแก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐก […]

The post ชมคลิป: EEC แก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
morning-wealth-10012025-2

EEC ลุยแก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ ‘ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้’ ดึงเม็ดเงินลงทุน 1.5 แสนล้านบาท จ้างงาน 2 หมื่นคน รายละเอียดเป็นอย่างไร

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: EEC แก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เจาะปม ‘จำนำหุ้น’ สู่วิกฤตหุ้น RS ใช่เคสสุดท้ายหรือไม่? | Morning Wealth 10 ม.ค. 2568 https://thestandard.co/morning-wealth-10012025/ Fri, 10 Jan 2025 02:22:44 +0000 https://thestandard.co/?p=1028748

เจาะปมปัญหาเครดิตผู้บริหาร ‘จำนำหุ้น-ถูก Forced Sell’ ฉ […]

The post ชมคลิป: เจาะปม ‘จำนำหุ้น’ สู่วิกฤตหุ้น RS ใช่เคสสุดท้ายหรือไม่? | Morning Wealth 10 ม.ค. 2568 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เจาะปมปัญหาเครดิตผู้บริหาร ‘จำนำหุ้น-ถูก Forced Sell’ ฉุด RS ร่วงติดฟลอร์ 3 วันรวด และอาจไม่ใช่เคสสุดท้าย พูดคุยกับ ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ EEC

 

ลุยแก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ ‘ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้’ ดึงเม็ดเงินลงทุน 1.5 แสนล้านบาท จ้างงาน 2 หมื่นคน รายละเอียดเป็นอย่างไร

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

The post ชมคลิป: เจาะปม ‘จำนำหุ้น’ สู่วิกฤตหุ้น RS ใช่เคสสุดท้ายหรือไม่? | Morning Wealth 10 ม.ค. 2568 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปกันต่อ! EEC ลุยแก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ ‘ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้’ ดึงลงทุน 1.5 แสนล้านบาท จ้างงาน 2 หมื่นคน https://thestandard.co/eec-highspeed-railway/ Thu, 09 Jan 2025 11:46:12 +0000 https://thestandard.co/?p=1028677 eec-highspeed-railway

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณ […]

The post ไปกันต่อ! EEC ลุยแก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ ‘ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้’ ดึงลงทุน 1.5 แสนล้านบาท จ้างงาน 2 หมื่นคน appeared first on THE STANDARD.

]]>
eec-highspeed-railway

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ถือเป็นหนึ่งในเมกะโปรเจกต์ ปลุกการลงทุนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่า 224,544 ล้านบาท นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่มีการประกาศเชิญชวนผู้ประมูล แต่ด้วยวิกฤตโควิด เศรษฐกิจชะลอ การแก้ไขสัญญาที่ล่าช้า เวลาจึงล่วงเลยมากว่า 7 ปี ถึงวันนี้ก็ยังไม่เกิดการลงทุน

 

ล่าสุดบอร์ด EEC ยืนยันว่าเดินหน้าแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน โดยสั่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเอกชนคู่สัญญาเจรจาร่างสัญญาแก้ไข ก่อนชงเรื่องไปยังอัยการสูงสุด ตั้งเป้าเริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน 2568 พร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ‘นิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้’ รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์ ดิจิทัล การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา คาดดึงเม็ดเงินลงทุน 156,000 ล้านบาท จ้างงาน 20,000 คน

 

EEC ลุยต่อ ยันยึดหลักการเดิม รัฐ-เอกชนร่วมลงทุน (PPP)

 

รายงานข่าวระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เร่งรัดหารือเอกชนผู้ลงทุน นั่นคือบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ลงนามในสัญญารับหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ให้ได้ภายในเดือนมกราคม 2568 ทว่าหากไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ มีอีกแนวทางคือให้ รฟท. ลงมือก่อสร้างระบบรางเอง โดยใช้งบประมาณ 120,000 ล้านบาท แล้วจึงหาเอกชนเข้ามาบริหาร

 

จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผยล่าสุดหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าของการดำเนินการเพื่อแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 200,000 ล้านบาท

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

โดยได้หารือร่วมกันเพิ่มเติมระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ รฟท. เพื่อยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟไฮสปีด ซึ่งยังคงเป็นไปตามหลักการเดิมของการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)

 

และได้มอบหมายให้ รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามข้อ 21 ของประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (EEC Track) ซึ่งเป็นไปตามที่ได้หารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติการเสนอเรื่องต่อ ครม. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว ดังนั้นการดำเนินการต่อไป รฟท. และเอกชนคู่สัญญาจะเจรจาร่างสัญญาแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสัญญา คณะกรรมการกำกับดูแล และนำเสนอร่างสัญญาแก้ไขเสนอต่อสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา

 

หลังจากนั้น รฟท. จะเสนอร่างสัญญาแก้ไขที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดมายัง สกพอ. เพื่อเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบในการแก้ไข โดย รฟท. และเอกชนคู่สัญญาจะลงนามร่างสัญญาฉบับแก้ไขที่ ครม. เห็นชอบ

 

และขั้นตอนสุดท้าย รฟท. จะสามารถออกหนังสือแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาเริ่มงานก่อสร้างโครงการได้ภายในเดือนเมษายน 2568

 

ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ ‘นิคมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้’ รับอุตสาหกรรมเป้าหมาย

 

จุฬากล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังเห็นชอบการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ ซึ่งใช้เนื้อที่ประมาณ 1,172 ไร่ บริเวณตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการขยายตัวและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์ ดิจิทัล การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา โดยคาดว่าจะมีการลงทุนในพื้นที่ราว 156,000 ล้านบาท

 

รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศโดยการใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์จากผู้ผลิตภายในประเทศ (Local Content) ในสัดส่วนถึง 90% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายในพื้นที่โครงการ สร้างโอกาสด้านอาชีพผ่านการจ้างงานอีกประมาณ 20,000 คน และสร้างโอกาสทางธุรกิจต่อเนื่องให้แก่ชุมชนในพื้นที่ เช่น ร้านค้า โรงแรม หอพัก ฯลฯ ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศ

 

ด้าน พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผยว่า การแก้ไขสัญญาจะมีการสานต่อไปยังต้นสังกัด คือกระทรวงคมนาคม ในการทบทวนกฎหมาย อย่างไรก็ตาม รถไฟไฮสปีดเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของภาคตะวันออก ขณะเดียวกันนักลงทุนเก่าและใหม่จะมีการลงทุนในบริเวณดังกล่าวเยอะ ซึ่งแปลว่ารถไฟจะเป็นเรื่องหลักในการลงทุน ส่วนในเชิงเศรษฐศาสตร์รูปแบบการลงทุนจะยึดหลักเดิม

 

เมื่อถามถึงการขยายเขตโครงการ EEC ไปยังจังหวัดปราจีนบุรี พิชัยกล่าวว่า ในแง่ของคนในพื้นที่ บางส่วนเมื่อเห็นนักลงทุนมาเยอะก็อยากขยายพื้นที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือ โดยภายหลัง ครม. อนุมัติกรอบงบปี 2569 จะให้หน่วยงานราชการเสนอคำของบประมาณให้คณะกรรมการพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ก่อนจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

 

ย้อนรอย ‘โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน’

 

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีการประกาศเชิญชวนผู้ประมูล แต่ด้วยวิกฤตโควิด เศรษฐกิจชะลอ การแก้ไขสัญญา จึงล่าช้ามากว่า 7 ปี ถึงวันนี้ก็ยังไม่เกิดการลงทุน โดยบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ถือเป็นบริษัทเอกชนผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) รายแรก ที่ได้รับคัดเลือกจากรัฐบาลให้พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงในรูปแบบสัญญาการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) โดยมีระยะเวลาสัญญา 50 ปี มีมูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท

 

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์คาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 650,000 ล้านบาท รวมถึงการจ้างงานตลอดช่วงระยะเวลาการก่อสร้างสูงถึง 16,000 อัตรา และการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากกว่า 100,000 อัตรา ใน 5 ปี

 

ภาพ: Pat18241 / Getty Images

The post ไปกันต่อ! EEC ลุยแก้สัญญารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ ‘ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้’ ดึงลงทุน 1.5 แสนล้านบาท จ้างงาน 2 หมื่นคน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เวียดนามไฟเขียวรถไฟความเร็วสูง 6.7 หมื่นล้านดอลลาร์ เดินทางเหนือไปใต้แค่ 5 ชั่วโมง https://thestandard.co/vietnam-high-speed-rail-approval/ Tue, 03 Dec 2024 07:48:56 +0000 https://thestandard.co/?p=1015475 เวียดนามไฟเขียวรถไฟความเร็วสูง

รัฐสภาเวียดนามลงมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงมูลค่าส […]

The post เวียดนามไฟเขียวรถไฟความเร็วสูง 6.7 หมื่นล้านดอลลาร์ เดินทางเหนือไปใต้แค่ 5 ชั่วโมง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เวียดนามไฟเขียวรถไฟความเร็วสูง

รัฐสภาเวียดนามลงมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงมูลค่าสูงถึง 6.7 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางโดยรถไฟจากกรุงฮานอยไปยังนครโฮจิมินห์ จากปัจจุบันใช้เวลา 35 ชั่วโมง เหลือเพียง 5 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น

 

กระทรวงคมนาคมเวียดนามเผยว่า การก่อสร้างอาจเริ่มต้นได้ในปี 2027 โดยโครงการนี้ผ่านการศึกษาวิจัยนานถึง 18 ปี ขณะคณะกรรมการรัฐสภาตั้งเป้าว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2035 เส้นทางความยาว 1,500 กิโลเมตรนี้จะวิ่งไปตามแกนหลักของประเทศเกือบทั้งหมด ผ่านสถานี 23 แห่งใน 20 จังหวัดและเมือง ส่วนระยะเวลาคืนทุนจากการลงทุนของภาครัฐจะอยู่ที่ 33.6 ปี

 

อย่างไรก็ดี ด้วยความยาวของเส้นทางรถไฟจากเหนือสู่ใต้ของประเทศ ส่งผลให้โครงการนี้อาจจำเป็นต้องย้ายผู้อยู่อาศัยราว 120,000 คน รวมถึงอาจกินเข้าไปในพื้นที่ป่าคุ้มครองและทุ่งนาบางส่วน ส่งผลให้ก่อนที่รัฐสภาจะไฟเขียวโครงการนี้มีการอภิปรายกันอย่างเผ็ดร้อนเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น เช่น มลพิษจากการก่อสร้างและการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งมีสมาชิกรัฐสภาที่ออกมาเรียกร้องให้เวียดนามประเมินผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยและผู้ที่อาศัยในภาคเกษตรกรรมด้วย

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานที่ขาดความพร้อมของเวียดนามในปัจจุบันทำให้การส่งสินค้าจากตอนเหนือไปสู่ตอนใต้ของประเทศอาจมีต้นทุนสูงกว่าส่งของไปสิงคโปร์เสียด้วยซ้ำ และพวกเขาหวังว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงอาจช่วยพลิกสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้นได้

 

แถลงการณ์ของรัฐสภาระบุว่า นอกจากรถไฟความเร็วสูงจะมีบทบาทในการเชื่อมโยงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแล้ว เส้นทางรถไฟนี้ยังสามารถตอบสนองความต้องการด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคง รวมถึงการขนส่งสินค้าเมื่อจำเป็นด้วย โดยเวียดนามจะกู้ยืมเงินไม่เกิน 30% ของงบประมาณทั้งหมดไม่ว่าจะในประเทศหรือผ่านความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

 

กระทรวงคมนาคมเผยว่า รถไฟความเร็วสูงจะวิ่งจากนครโฮจิมินห์ไปยังกรุงฮานอยในเวลา 5 ชั่วโมงครึ่ง จากปัจจุบันที่ต้องใช้เวลาเดินทางนานกว่า 1 วัน นอกจากนี้การเดินทางที่มีราคาประหยัดยังทำให้ผู้คนหลายล้านคนสามารถเดินทางข้ามระหว่าง 2 เมืองใหญ่ที่สุดของเวียดนามได้ในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

 

ขณะเดียวกันเวียดนามยังวางแผนที่จะปรับปรุงทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับจีนอีกด้วย โดยเส้นทางรถไฟระยะทาง 427 กิโลเมตรจะวิ่งจากหล่าวกาย (Lao Cai) ผ่านกรุงฮานอยและเมืองท่าไฮฟอง (Haiphong) ซึ่งดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติไปยังเมืองท่องเที่ยวอย่างฮาลอง คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2030 ประเมินมูลค่าไว้ที่ 7.2 พันล้านดอลลาร์

 

ภาพ: ZhangKun Via Getty Images

 

อ้างอิง:

 

The post เวียดนามไฟเขียวรถไฟความเร็วสูง 6.7 หมื่นล้านดอลลาร์ เดินทางเหนือไปใต้แค่ 5 ชั่วโมง appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุริยะ​ยัน ​แก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม​ 3 สนามบิน​ไม่มีเอื้อประโยชน์​ แจง รัฐ​-​เอก​ชน ​ต่างผิดสัญญาจาก​โควิด https://thestandard.co/suriya-fix-high-speed-train-contract/ Tue, 22 Oct 2024 08:02:32 +0000 https://thestandard.co/?p=998866 สุริยะ

วันนี้ (22 ตุลาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล สุริยะ​ จึงรุ่งเรือ […]

The post สุริยะ​ยัน ​แก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม​ 3 สนามบิน​ไม่มีเอื้อประโยชน์​ แจง รัฐ​-​เอก​ชน ​ต่างผิดสัญญาจาก​โควิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุริยะ

วันนี้ (22 ตุลาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล สุริยะ​ จึงรุ่งเรืองกิจ​ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม​ กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขสัญญารถไฟความเร็วสูง​เชื่อม 3 สนามบิน​ (อู่ตะเภา-​สุวรรณ​ภูมิ​-ดอนเมือง​) ​ว่า​ วันนี้ยังไม่เข้าศูนย์ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณา พร้อมยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาเกิดจากภาคเอกชนและรัฐผิดสัญญาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด

 

ทั้งนี้ ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า รัฐบาลไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนได้ ขณะที่เอกชนก็ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงเป็นสถานการณ์ที่ต่างคนต่างผิดสัญญาและต้องพิจารณาใหม่​ เนื่องจากเป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งหากเชื่อม 3 สนามบินได้จะทำให้ประชาชนเดินทางสะดวกและการค้าขายดีขึ้น จึงต้องเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป รวมทั้งต้องพิจารณาร่วมกันในการแก้ไขสัญญาเพื่อไม่ให้รัฐเสียประโยชน์ โดยสัญญาเดิมจะให้เอกชนสร้างจนเสร็จและหลังจากนั้น 10 ปี รัฐบาลจะค่อยชำระเงิน

 

ขณะที่สัญญาใหม่​จะให้เอกชนนำเงินมาวางค้ำประกันจากธนาคารเพื่อการันตี​ และเมื่อสร้างเสร็จรัฐบาลจะคืนหนังสือค้ำประกันโดยธนาคาร​การันตี​ให้​ ทั้งนี้ ในการก่อสร้าง​แล้วเสร็จแต่ละช่วง​จะแบ่งเป็นแต่ละสัญญา​ หากมีการทิ้งงาน รัฐจะนำเงินค้ำประกันจ้างผู้ประกอบการรายใหม่​

 

สุริยะ​กล่าวยืนยันว่า​ ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใหญ่ โดยในส่วนของดอกเบี้ยเอกชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมระบุว่าไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้ได้เนื่องจากให้อัยการตรวจสอบสัญญาทั้งหมดแล้ว โดยการนำเข้า ครม. จะผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยมี พิชัย ชุณห​วชิร​ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง​ เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งเชื่อว่าจะสามารถทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเข้าใจการแก้ไขสัญญาโครงการดังกล่าวได้

The post สุริยะ​ยัน ​แก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม​ 3 สนามบิน​ไม่มีเอื้อประโยชน์​ แจง รัฐ​-​เอก​ชน ​ต่างผิดสัญญาจาก​โควิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทีมกู้ภัยฯ พบร่าง 2 คนงานในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงแล้ว พร้อมสรุปผลภารกิจช่วยเหลือ 126 ชั่วโมง https://thestandard.co/high-speed-rail-tunnel-bodies-found/ Fri, 30 Aug 2024 01:03:18 +0000 https://thestandard.co/?p=977282 คนงานในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง

วันนี้ (30 สิงหาคม) เอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักง […]

The post ทีมกู้ภัยฯ พบร่าง 2 คนงานในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงแล้ว พร้อมสรุปผลภารกิจช่วยเหลือ 126 ชั่วโมง appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนงานในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง

วันนี้ (30 สิงหาคม) เอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าสถานการณ์การช่วยเหลือแรงงาน 3 รายที่ติดค้างภายในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงช่วงสถานีคลองขนานจิตร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเกิดเหตุดินทรุดตัวภายในอุโมงค์ ตั้งแต่เมื่อเวลา 23.40 น. ของคืนวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า

 

ภายหลังจากที่ทีมกู้ภัยของ รฟท. และทีมกู้ภัย Hunan Sunshine จากจีน สามารถนำร่างของคนงานคนแรกที่เสียชีวิตภายในอุโมงค์ออกมาได้แล้ว เมื่อวานนี้ (29 สิงหาคม) เวลา 11.00 น. 

 

ล่าสุด วันนี้ เวลาประมาณ 06.00 น. ได้รับแจ้งจากทีมกู้ภัยว่า พบร่างคนงานที่เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 คนคือ หูเสียงหมิ่น เพศชาย สัญชาติจีน (ผู้ควบคุมงาน) และ ตงชิ่นหลิน เพศชาย สัญชาติจีน (คนขับรถแบคโฮ) โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ขุดดินและสร้างกล่องค้ำยันทะลุกองดินเข้าไปภายในอุโมงค์ ห่างจากจุดแรกประมาณ 3 เมตร และอยู่ระหว่างการหาวิธีเร่งนำร่างผู้เสียชีวิตทั้ง 2 คนออกจากที่เกิดเหตุ

 

ทั้งนี้ รฟท. ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง และพร้อมให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิต และขอขอบคุณทีมงานกู้ภัย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชนทุกคน ที่มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ จนสามารถพบร่างของคนงานที่ติดค้างทั้ง 3 คน

 

เอกรัชกล่าวต่อว่า ตลอดปฏิบัติการช่วยเหลือคนงานที่ติดค้างทั้ง 3 คน ใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 126 ชั่วโมง ทีมงานกู้ภัยต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ทั้งจากปัญหาดินสไลด์ลงมาจากด้านบนอุโมงค์อย่างต่อเนื่องทำให้ต้องใช้เวลาในการขุดดินเพิ่มมากขึ้น การดันท่อช่วยชีวิตแล้วติดชั้นหินจนเจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยนวิธีเป็นการสร้างกล่องค้ำยัน เพื่อป้องกันดินและหินที่ไหลลงมาเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้

 

อ้างอิง:

 

The post ทีมกู้ภัยฯ พบร่าง 2 คนงานในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงแล้ว พร้อมสรุปผลภารกิจช่วยเหลือ 126 ชั่วโมง appeared first on THE STANDARD.

]]>