ยอด ชินสุภัคกุล – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 26 Dec 2024 08:59:27 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘ยอด’ แม่ทัพ LINE MAN กับศึกชิงเค้ก 1.2 แสนล้านบาท เมื่อตลาด Food Delivery เผชิญปีแห่งความจริง และอนาคตจะเหลือที่ยืนแค่ 3 ราย https://thestandard.co/line-man-food-delivery-market-competition/ Thu, 26 Dec 2024 08:59:27 +0000 https://thestandard.co/?p=1024132 LINE MAN

สำหรับ LINE MAN แม้วันนี้แม่ทัพใหญ่อย่าง ‘ยอด ชินสุภัคก […]

The post ‘ยอด’ แม่ทัพ LINE MAN กับศึกชิงเค้ก 1.2 แสนล้านบาท เมื่อตลาด Food Delivery เผชิญปีแห่งความจริง และอนาคตจะเหลือที่ยืนแค่ 3 ราย appeared first on THE STANDARD.

]]>
LINE MAN

สำหรับ LINE MAN แม้วันนี้แม่ทัพใหญ่อย่าง ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ จะยอมรับอย่างเต็มปากเต็มคำแล้วว่า LINE MAN คือเบอร์ 1 ของ Food Delivery ในแง่ของจำนวนมูลค่าธุรกรรม แต่ถึงกระนั้นการสร้าง Awareness หรือการรับรู้ต่อแบรนด์ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

 

นี่เองเลยเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการขึ้นเหนือเพื่อไปจัดงาน ‘LINE MAN Wongnai x ททท. ฟู้ดเฟสติเว่อร์ เรื่องกิน เล่นใหญ่เว่อร์’ ตั้งแต่เที่ยงวันยันเที่ยงคืน ระหว่างวันที่ 11-15 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานตลอด 5 วัน กว่า 65,000 คน โดยเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ชาวต่างชาติ และคนในจังหวัดเชียงใหม่

 

ทำไมถึงต้องเป็นเชียงใหม่? เพราะนี่คือจังหวัดที่ติด Top 3 ซึ่งหากไม่นับกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เป็นเบอร์ 1 แล้ว เชียงใหม่คือจังหวัดที่ผลัดกันขึ้นลงเบอร์ 2 และ 3 กับชลบุรีอยู่เสมอ

 

ในขณะที่ชลบุรีจะได้ฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มพนักงานนิคมอุตสาหกรรมรวมถึงนักท่องเที่ยว แต่เชียงใหม่นั้นถือเมืองการศึกษาจึงได้ฐานลูกค้านักศึกษา แต่สิ่งที่ต่างจากเมืองการศึกษาอื่นๆ อย่างขอนแก่น ที่เมื่อปิดเทอมจำนวนการสั่งซื้อก็จะลดลงไป แต่เชียงใหม่กลับมีทั้งคนในท้องถิ่น ผู้ที่เข้ามาทำงาน รวมถึงนักท่องเที่ยว ทำให้จำนวนธุรกรรมคึกคักตลอดทั้งปี 

 

สำหรับ LINE MAN แล้วเชียงใหม่ถูกยกให้เป็น ‘เมืองศักยภาพที่เติบโตสูงสุดเป็นอันดับ 1’ จากจำนวนร้านอาหาร 76,000 ร้าน โดยอำเภอที่มีร้านอาหารหนาแน่นที่สุด Top 3 ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสันทราย และอำเภอสันกำแพง

 

เจาะลึกเข้าไปพบว่า Top 5 เมนูที่คนเชียงใหม่สั่งมากที่สุดคือ ตำปูปลาร้า, อเมริกาโน, ชาไทย, ข้าวมันไก่ และขนมจีนน้ำเงี้ยว ขณะที่เมนูที่มาแรงที่สุด ได้แก่ ชาไทย, บะหมี่ไก่ฉีก, ข้าวขาหมู, หม่าล่า และข้าวมันไก่ ส่วนเมนูอาหารเหนือที่ถูกค้นหามากที่สุดคือ ขนมจีน, ลาบคั่ว และข้าวซอย 

 

อย่างที่บอกว่าฐานลูกค้า LINE MAN ส่วนหนึ่งมาจากนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวจีน ซึ่งมีผู้ใช้ชาวจีนที่ใช้ LINE MAN MINI App บน WeChat เพิ่มขึ้นกว่า 26% โดยเมนูขายดีที่นักท่องเที่ยวจีนสั่งมากที่สุดเมื่อมาเที่ยวเชียงใหม่คือ ก๋วยเตี๋ยว, กะเพรา และหม่าล่า 

 

เมื่อย้อนกลับมามองภาพรวมของตลาด Food Delivery ทั้งประเทศ ข้อมูลจาก Google TH SEA eConomy 2024 ระบุว่า มูลค่าตลาดปี 2567 อยู่ที่ราว 1.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% ขณะที่ LINE MAN มูลค่าธุรกรรมเติบโต 35% ในระหว่างเดือนมกราคม 2566 – ตุลาคม 2567 และยอดใช้จ่ายต่อบิลเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% ซึ่งเป็นไปตามต้นทุนด้านอาหารที่เพิ่มขึ้น

 

สำหรับตลาด Food Delivery ปี 2567 ในมุมของ ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai มองว่าเป็นปีนี้เป็นปีแห่งความเป็นจริง เพราะที่ผ่านมาคนมักถามเสมอว่า Food Delivery จะเติบโตได้ไหมหลังโควิด แต่ตัวเลขก็บอกได้ถึงการเติบโตแม้จะไม่มากเท่ากับช่วงโควิด นี่จึงเป็นภาพสะท้อนตลาดที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไป

 

ยิ่งปี 2568 จะเห็นชัดมากกว่านี้อีก เพราะภาพของผู้เล่นในตลาดเริ่มชัดมากขึ้นเรื่อยๆ จากที่มีอยู่ 4-5 รายในวันนี้ อนาคตอาจมีพื้นที่ยืนให้กับผู้เล่นไม่เกิน 3 รายเท่านั้น 

 

“สำหรับ LINE MAN เราให้เกียรติผู้เล่นในตลาดนี้ทุกคน โดยคู่แข่งยังแข็งแกร่ง เราเองไม่ได้สบายใจกับส่วนแบ่งตลาดที่ห่างกัน ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาตัวเองทั้งฟีเจอร์ การเพิ่มจำนวนร้านอาหารใหม่ๆ จากที่มีอยู่แล้วมากกว่า 1 แสนร้านค้า เพราะตามสถิติอายุของร้านอาหารในไทยจะอยู่ราว 3 ปี และเปิด-ปิดในสัดส่วน 25% ทุกปี” แม่ทัพ LINE MAN กล่าว 

 

ในแง่ของฐานลูกค้ากลุ่มคนที่ใช้งานอยู่แล้วก็ใช้ต่อไป แต่คนที่เป็นลูกค้าหน้าใหม่คือกลุ่มที่เป็นวัยเรียนมหาวิทยาลัยที่เริ่มได้สั่งอาหารเอง ขณะที่กลุ่ม 30-40 ปีที่ใช้เป็นประจำก็ยังใช้ต่อเนื่อง ไม่ได้หายไปจากตลาด”

 

อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้เล่นในตลาด Food Delivery ที่จะลดลงนั้นอาจไม่ได้มาจากการที่ผู้เล่นในตลาดด้วยกันเข้าไปควบรวมกิจการ แต่ยอดมองว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่แต่อยากกระโดดลงมาในตลาด Food Delivery เสียมากกว่า เพราะจะได้เข้าสู่ตลาดที่ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างฐานลูกค้า

 

ส่วนเราจะได้เห็นการเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการเกิดขึ้นอีกหรือไม่นั้น คงต้องตามต่อในอนาคต 

The post ‘ยอด’ แม่ทัพ LINE MAN กับศึกชิงเค้ก 1.2 แสนล้านบาท เมื่อตลาด Food Delivery เผชิญปีแห่งความจริง และอนาคตจะเหลือที่ยืนแค่ 3 ราย appeared first on THE STANDARD.

]]>
LINE MAN ปักธงจุดยืนใหม่ผ่านแคมเปญ ‘ถูกสุดทุกวัน’ ตอกย้ำผู้นำฟู้ดเดลิเวอรีตัวจริงที่ส่งมอบความอร่อย ‘เพื่อทุกคน’ [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/line-man-new-position-through-campaign/ Fri, 04 Oct 2024 02:41:01 +0000 https://thestandard.co/?p=991406

LINE MAN ตอกย้ำภาพผู้นำฟู้ดเดลิเวอรี ชูจุดยืนใหม่ ‘ถูกส […]

The post LINE MAN ปักธงจุดยืนใหม่ผ่านแคมเปญ ‘ถูกสุดทุกวัน’ ตอกย้ำผู้นำฟู้ดเดลิเวอรีตัวจริงที่ส่งมอบความอร่อย ‘เพื่อทุกคน’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

LINE MAN ตอกย้ำภาพผู้นำฟู้ดเดลิเวอรี ชูจุดยืนใหม่ ‘ถูกสุดทุกวัน’ เพื่อทุกคน ถูกจริงไม่ต้อง Subscribe มอบส่วนลดสูงสุดถึง 3 ต่อ ‘ส่งฟรี 0 บาท – โปรเดือด – ลดหลายต่อ’ เพื่อให้คนไทยได้กินอาหารจากร้านอร่อยอย่างทั่วถึงเท่าเทียมในราคาเป็นมิตร

 

ถือเป็นแคมเปญใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปีของ LINE MAN ที่ทุ่มงบกว่า 300 ล้านบาท หวังเขย่าโมเมนตัม ปลุกความคึกคักให้กับตลาดฟู้ดเดลิเวอรีช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันที่ผู้คนมีการสั่งอาหารมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น คาดว่าจะช่วยดันยอดขายไตรมาส 4 ของ LINE MAN ให้โตกว่า 25% 

 

 

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai มองตลาดฟู้ดเดลิเวอรีในประเทศไทยยังเติบโตต่อเนื่อง ทว่าเศรษฐกิจไทยที่ผันผวนเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาระวังเรื่องการจับจ่าย การมองหาความคุ้มค่าในการใช้จ่ายจึงเป็นปัจจัยบวกต่อการทำแคมเปญ

 

“เมื่อผู้บริโภคต้องระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ต้องกินทุกวัน เราจึงอยากให้คนไทยได้กินอาหารอร่อยในราคาที่ถูกสุดทุกวัน อย่างน้อยก็ช่วยแบ่งเบารายจ่ายให้กับผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจคือ พอเราทำธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีมาหลายปีก็พบว่า ‘ค่าส่งถูก ราคาอาหารเป็นมิตร’ คือคีย์สำคัญที่ผู้บริโภคมองหา ในฐานะตัวจริงเรื่องกินและเป็นผู้นำฟู้ดเดลิเวอรี เราจึงวางจุดยืนใหม่ภายใต้แนวคิด ‘ถูกสุดทุกวัน เพื่อทุกคน’ ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป” 

 

 

LINE MAN ถูกจริงแบบไม่ต้อง Subscribe มอบส่วนลดสูงสุด 3 ต่อในการสั่งเพียงครั้งเดียว! 

 

  • ส่งฟรี 0 บาททุกการจัดส่ง 
  • โปรเดือด ส่วนลดค่าอาหารหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ซื้อ 1 แถม 1, Flash Deal หรือส่วนลดค่าอาหารสูงสุด 60% โดยสังเกตร้านที่เข้าร่วมได้จากสัญลักษณ์ ‘โปรเดือดทุกมื้อเด็ด’ ที่หน้าร้านค้า 
  • ลดหลายต่อ: สามารถใช้ส่วนลดต่างๆ ได้พร้อมกันใน 1 ออร์เดอร์ 
    • ต่อที่ 1: โปรโมชันราคาอาหารลดสูงสุด 60% โดยสังเกตร้านที่เข้าร่วมได้จากสัญลักษณ์ ‘โปรเดือดทุกมื้อเด็ด’ ที่หน้าร้านค้า 
    • ต่อที่ 2: เก็บคูปองส่วนลดค่าอาหารสูงสุด 100 บาทที่หน้า ‘เก็บโค้ดลดเพิ่ม’ เพื่อใช้เป็นส่วนลดเมื่อสั่งขั้นต่ำครบตามที่กำหนด โดยสังเกตร้านที่เข้าร่วมได้จากสัญลักษณ์ ‘เก็บโค้ดลดเพิ่ม’ ที่หน้าร้านค้า 
    • ต่อที่ 3: ส่วนลดค่าส่งสูงสุด 20 บาทเมื่อซื้อครบ 150 บาทขึ้นไปในระยะ 5 กิโลเมตร และ 10 กิโลเมตร ในพื้นที่ตามที่กำหนด โดยสังเกตร้านที่เข้าร่วมได้จากสัญลักษณ์ ‘ส่งฟรี ร้านคุ้ม’ จำนวนกว่า 130,000 ร้าน หรือค่าส่งฟรี 0 บาท

 

ยอดกล่าวว่า แคมเปญนี้จะเดินหน้าต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม คาดการณ์ว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายให้กับพาร์ตเนอร์ได้เป็นอย่างดี และดันยอดในไตรมาสที่ 4 ของ LINE MAN ให้เติบโตกว่า 25% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

 

ปัจจุบัน LINE MAN มีผู้ใช้งานกว่า 10 ล้านคนต่อเดือน มีไรเดอร์กว่า 100,000 คนกระจายให้บริการครอบคลุมครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย และเป็นฟู้ดเดลิเวอรีเจ้าเดียวในไทยที่ให้บริการลงลึกกว่า 328 อำเภอ เติบโตขึ้นกว่า 50% จาก 2 ปีที่แล้ว และยังคงวางแผนรุกขยายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

 

“LINE MAN เป็นอันดับหนึ่งในจังหวัดต่างๆ เพราะเราเป็นตัวจริงที่รวบรวมร้านอาหารทุกระดับ ตั้งแต่สตรีทฟู้ดริมทาง, ร้านเก่าแก่ที่เป็นตำนาน, ร้านอาหารขนาดใหญ่ ไปจนถึงร้านฮิตติดกระแส กว่า 700,000 ร้าน แต่ในส่วนของจุดยืน ‘ถูกสุดทุกวัน’ จะกลายเป็นจุดยืนของ LINE MAN ในระยะยาว” ยอดกล่าว

 

 

 

เปิดตัว ‘Moon’ มาสคอตคาแรกเตอร์สุดคิวต์ตัวแทน LINE MAN

 

จุดยืนใหม่นี้ยังมาพร้อมการเปิดตัวมาสคอตพรีเซนเตอร์ ‘Moon’ คาแรกเตอร์ LINE MAN ที่คนไทยคุ้นเคย โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนไรเดอร์ที่ส่งความอร่อยให้ลูกค้า เพื่อสร้างการจดจำในใจของผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ จะสื่อสารผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ สื่อโฆษณาออนไลน์และออฟไลน์ในพื้นที่ย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ 

 

“ช่วงปีที่ผ่านมากระแสมาสคอตมาร์เก็ตติ้งมาแรง สิ่งที่เรามองเห็นคือ มันทำให้ลูกค้าเข้าถึงและจดจำแบรนด์ได้อย่างดี ซึ่ง Moon ก็เป็นคาแรกเตอร์ที่อยู่คู่กับ LINE MAN มาตลอด ไม่ว่าจะบนเสื้อแจ็กเก็ตของไรเดอร์หรือในแอปพลิเคชัน จนกลายเป็นภาพจำไปแล้ว ก็คิดว่าถึงเวลาที่จะปลุกคาแรกเตอร์ที่ทุกคนคุ้นเคยให้มาโลดแล่นในชีวิตจริง”

 

ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีเหล่ามาสคอตของพาร์ตเนอร์ร้านอาหารชั้นนำมาร่วมเสริมทัพกับ Moon ด้วย ปลุกกระแสถูกสุดทุกวันบน LINE MAN ตลอดแคมเปญ

 

 

จับตากิจกรรมปลุกความสนุกและความอร่อยจาก LINE MAN อีกเพียบ! ภายในปีนี้ 

 

นอกจากแคมเปญ ‘ถูกสุดทุกวัน’ เพื่อทุกคน ถูกจริงไม่ต้อง Subscribe ยอดบอกว่า LINE MAN ได้พัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ อย่างเช่น การนำ AI มาช่วยแปลชื่อเมนูและคุยตอบโต้กับไรเดอร์ โดยระบบจะแปลภาษาให้อัตโนมัติ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าต่างชาติใช้งานได้สะดวกมากขึ้น 

 

“ส่วนเรื่องการขยายความร่วมมือกับภาครัฐก็จะมีให้เห็นมากขึ้นแน่นอน ช่วงที่ผ่านมาเราจับมือกับหลายหน่วยงานในการเข้าไปช่วยปลุกย่านเก่า โดยใช้อาหารเป็นตัวเชื่อม ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมปลุกย่านเยาวราช หรือย่านทรงวาดที่ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และล่าสุดย่านบรรทัดทองที่จับมือกับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในช่วงไตรมาส 4 น่าจะได้เห็นความร่วมมือสนุกๆ ปลุกความสนุกและความอร่อยอย่างแน่นอน” ยอดกล่าวทิ้งท้าย

 

ร่วมสัมผัสประสบการณ์ ‘ถูกสุดทุกวัน’ บนแพลตฟอร์ม LINE MAN ได้ตั้งแต่วันนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: www.facebook.com/linemanth

The post LINE MAN ปักธงจุดยืนใหม่ผ่านแคมเปญ ‘ถูกสุดทุกวัน’ ตอกย้ำผู้นำฟู้ดเดลิเวอรีตัวจริงที่ส่งมอบความอร่อย ‘เพื่อทุกคน’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธุรกิจร้านอาหารแข่งเดือด! ใครไม่แกร่งจริงอยู่ไม่ได้ ‘LINE MAN Wongnai’ ชี้แซนด์วิช-หม่าล่าฮอตสุด https://thestandard.co/restaurant-business-highly-competitive/ Tue, 25 Jul 2023 10:24:56 +0000 https://thestandard.co/?p=821957 ธุรกิจร้านอาหาร

ธุรกิจร้านอาหารแข่งเดือด! หลังร้านใหม่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ […]

The post ธุรกิจร้านอาหารแข่งเดือด! ใครไม่แกร่งจริงอยู่ไม่ได้ ‘LINE MAN Wongnai’ ชี้แซนด์วิช-หม่าล่าฮอตสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธุรกิจร้านอาหาร

ธุรกิจร้านอาหารแข่งเดือด! หลังร้านใหม่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด หรือมากกว่า 1 แสนร้าน โดยเมนูแซนด์วิช อาหารตามสั่ง ชาบู หม่าล่า ฮอตสุด ‘LINE MAN Wongnai’ ชี้ร้านไหนไม่ปรับตัวอาจล้มหายไปจากตลาด พร้อมเปิดแผนหลังปิดดีลซื้อกิจการ FoodStory มาต่อยอดโซลูชัน ช่วยบริหารจัดการร้านอาหารให้อยู่รอดได้

 

“หลังจากโควิดคลี่คลายลง ทำให้จำนวนร้านอาหารเติบโตขึ้นกว่า 13.6% หลายๆ ร้านที่ปิดไปช่วงโควิดได้ทยอยกลับมาเปิดให้บริการ และส่วนใหญ่เป็นร้านประเภทอาหารตามสั่ง ตามด้วยเครื่องดื่ม-กาแฟ และอาหารอีสาน แน่นอนว่าเมื่อผู้เล่นเพิ่มขึ้นก็ทำให้การแข่งขันสูง ถ้าไม่ปรับตัวทั้งในแง่ของอาหารและการบริหารร้านเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคอาจทำให้ต้องปิดตัวลงได้” ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าวในงาน Restaurant 2023: Future’s Recipe

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

เห็นได้จากข้อมูลนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงปัจจุบัน ร้านอาหารที่เพิ่งเปิดใหม่ปิดตัวลง 50% ของจำนวนทั้งหมด และหากนับย้อนหลัง 3 ปีจะปิดตัวลงถึง 65% เนื่องจากธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันสูง และทุกคนสามารถเป็นเจ้าของร้านอาหารได้ง่ายขึ้น

 

ดังนั้น บริษัทจึงเล็งเห็นโอกาสเข้าไปควบรวมกิจการ FoodStory และนำจุดแข็งของ FoodStory ที่เป็นผู้พัฒนาระบบจัดการร้านอาหาร ด้วยระบบ POS เข้ามาช่วยบริหารจัดการร้านอาหารให้อยู่รอดได้ในตลาด โดยประกอบด้วย

 

  1. Mobile Order ระบบสั่งอาหารผ่านการสแกน QR Code เพื่อส่งออร์เดอร์เข้าสู่ระบบ POS ตรงถึงพนักงานในครัว ลดปัญหาการรับออร์เดอร์ผิดพลาดหรือตกหล่น

 

  1. Master Data ระบบรวมศูนย์จัดการข้อมูลจากหลายสาขา สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นของร้านอาหารทุกสาขาได้ทุกที่ 

 

  1. Inventory Management ระบบบริหารคลังวัตถุดิบ สามารถคำนวณสัดส่วนวัตถุดิบของแต่ละเมนู และตัดคลังวัตถุดิบอัตโนมัติ รวมถึงแจ้งสถานะสต๊อกเมื่อวัตถุดิบใกล้หมด

 

สิ่งที่น่าสนใจของระบบ POS จะช่วยให้ควบคุมต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจากการสำรวจพบว่า ต้นทุนอาหารแต่ละจาน 9% คือวัตถุดิบเหลือทิ้ง อาจเกิดมาจากการปรุงอาหาร เช่น การตัดแต่ง และเกิดการเน่าเสีย ซึ่งจริงๆ แล้วหากมีการจัดการวัตถุดิบเหลือทิ้งที่ดีก็จะจัดการปัญหาดังกล่าวได้

 

โดยปัจจุบันมีร้านอาหารกว่า 55,000 ร้านทั่วประเทศที่เลือกใช้ Wongnai POS และ FoodStory POS ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 40% ของตลาด และที่ผ่านมาได้สร้างมูลค่าการซื้อขายรวม (GMV) กว่า 1.8 แสนล้านบาท และจัดการออร์เดอร์ร้านอาหารไปรวมกว่า 636 ล้านออร์เดอร์ ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษไปถึง 323 ตัน

 

และจากข้อมูลของร้านอาหารที่ใช้ระบบ Wongnai POS นั้นมีมูลค่าการซื้อขายรวมจากร้านประเภทนั่งกินในร้านที่กลับมาเติบโตสูงขึ้นหลังจากโควิดคลี่คลาย

 

ถึงกระนั้นร้านอาหารที่เติบโตสูงสุด ได้แก่ ร้านอาหารเช้า ข้าวต้ม แซนด์วิช ตามด้วยอาหารจีน หม่าล่า และร้านสุกี้ยากี้ ชาบู ขณะที่ร้านอาหารที่เติบโตลดลง ได้แก่ ร้านข้าวต้มมื้อดึก และร้านพิซซ่า ส่วนเมนูที่ขายดีบนแพลตฟอร์มเดลิเวอรี ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่ และส้มตำ ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มจะเป็นอเมริกาโน ชาเขียว และชานม

 

หัวเรือใหญ่ LINE MAN Wongnai กล่าวต่อไปว่า ในแง่ของพฤติกรรมลูกค้าหลังโควิดก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน แม้หลายคนได้กลับมาใช้ชีวิตปกติแล้ว แต่การสั่งเดลิเวอรียังคงมีอยู่ แม้ไม่ได้โตเหมือนช่วงโควิด ขณะที่ความถี่ในการสั่งลดลง แต่มูลค่าคำสั่งซื้อสูงขึ้นมากกว่า 10% เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มลูกค้าหลักของแพลตฟอร์มจะเป็นกลุ่มอายุ 24-35 ปี

 

อย่างไรก็ตาม การควบรวมกันระหว่าง LINE MAN Wongnai กับ FoodStory จะทำให้บริษัทกลายเป็นเบอร์ 1 ของตลาด POS ผ่านการมีส่วนแบ่งตลาด 40% และยังสามารถทำตลาดได้ครอบคลุมทั่วประเทศ

The post ธุรกิจร้านอาหารแข่งเดือด! ใครไม่แกร่งจริงอยู่ไม่ได้ ‘LINE MAN Wongnai’ ชี้แซนด์วิช-หม่าล่าฮอตสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
LINE MAN Wongnai เข้าซื้อกิจการ FoodStory สตาร์ทอัพไทยผู้พัฒนาระบบ POS สำหรับร้านอาหาร คาดแผน ‘เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ’ จะเกิดขึ้นใน 2 ปี https://thestandard.co/line-man-wongnai-acquires-foodstory/ Thu, 20 Jul 2023 05:55:16 +0000 https://thestandard.co/?p=819714 LINE MAN ซื้อกิจการ FoodStory

LINE MAN Wongnai ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการ […]

The post LINE MAN Wongnai เข้าซื้อกิจการ FoodStory สตาร์ทอัพไทยผู้พัฒนาระบบ POS สำหรับร้านอาหาร คาดแผน ‘เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ’ จะเกิดขึ้นใน 2 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
LINE MAN ซื้อกิจการ FoodStory

LINE MAN Wongnai ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการ FoodStory สตาร์ทอัพไทยผู้พัฒนาระบบ POS สำหรับร้านอาหาร ซึ่งทำธุรกิจนี้มาแล้ว 11 ปีด้วยกัน

 

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าวว่า การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญของ LINE MAN Wongnai ในการรวมทรัพยากรด้านเทคโนโลยี บุคลากร และความเชี่ยวชาญระหว่าง LINE MAN Wongnai และ FoodStory เป็นหนึ่งเดียวกัน 

 


  ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

“เราจะร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านอาหารทั้ง POS และ Merchant App ที่ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ร้านอาหารในไทย ตอกย้ำผู้นำเบอร์ 1 ของตลาด POS ในไทย” 

 

ภายหลังการเข้าซื้อ ผู้ร่วมก่อตั้ง FoodStory ได้แก่ ฐากูร ชาติสุทธิผล และชวิน ศุภวงศ์ จะเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มธุรกิจ Merchant Solutions รวมถึงพนักงานกว่า 150 คนจะเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของเอกลักษณ์ วิริยะโกวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Lifestyle & Solution Services LINE MAN Wongnai 

 

สำหรับตลาด POS ปัจจุบันมีผู้ประกอบการร้านอาหารใช้งานรวมทั้งตลาดราว 1 แสนร้านค้า จากร้านอาหารทั้งหมด 5 แสนร้านค้า โดย LINE MAN Wongnai เผยว่า ตัวเองเป็นเบอร์ 1 ในตลาดนี้ด้วยส่วนแบ่ง 50% หรือมีฐานมากกว่า 50,000 ร้าน และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่รับประทานอาหารนอกบ้านกลับมาคึกคัก โดยในจำนวนนี้ 40% เป็นร้านที่เปิดออนไลน์อย่างเดียว

 

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีของ LINE MAN ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 – เมษายน 2566 มีมูลค่าธุรกรรมรวม (GMV) เติบโตขึ้น 33% ในขณะที่ตลาดฟู้ดเดลิเวอรีในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 8.1-8.6 หมื่นล้านบาท หรือลดลงราว 0.8-6.5% จากการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทย

  

หากพิจารณาตามพื้นที่ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 – เมษายน 2566 พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีจำนวนออร์เดอร์เติบโตขึ้น 25% จำนวนผู้ใช้งานเติบโตขึ้น 27% ในขณะที่พื้นที่ต่างจังหวัดมีจำนวนออร์เดอร์เติบโตถึง 17% และจำนวนผู้ใช้งานเติบโตขึ้น 10% จึงเตรียมวางแผนทุ่มงบการตลาดเพื่อดึงดูดผู้ใช้งานและเพิ่มตัวเลือกร้านอาหารทั่วประเทศไทยให้มากขึ้น

 

“เวลาลูกค้าเลือกใช้งานเดลิเวอรีจะดูจาก 3 เหตุผลหลักคือ มีร้านอาหารที่อยากสั่ง มีตัวเลือกที่เยอะ รวมไปถึงโปรโมชันและค่าส่ง” ยอดกล่าว “จากข้อมูลพบว่าลูกค้าบางรายสั่งเดือนละ 20-30 ครั้ง และตอนนี้ยอดสั่งซื้อต่อบิลได้เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว”

 

ยอดฉายภาพว่า แม้กระแสเดลิเวอรีจะไม่หวือหวาเหมือนช่วงโควิด แต่การแข่งขันไม่ได้ลดลงเลย มีแต่ทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วยซ้ำ ซึ่งจากผู้เล่นในตลาด 5 ราย เชื่อว่าที่สุดแล้วจะเหลืออยู่ราว 3 ราย คาดว่าภาพที่จะชัดอาจเกิดขึ้นในช่วง 2 ปีต่อจากนี้ 

 

“ตอนนี้ผู้เล่นแต่ละรายขโมยลูกค้ากันเองแล้ว เพราะ 20-30% ของผู้ใช้ไม่ได้มี Brand Loyalty ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำสำหรับแพลตฟอร์มคือการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน โดยเชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้เราจะมี EBITDA เป็นบวก”

 

นอกจากนี้ LINE MAN ยังเร่งขยายการเติบโตของบริการออนดีมานด์ในกลุ่ม Non-Food ได้แก่

  • LINE MAN MESSENGER บริการส่งของ เอกสาร และวางบิลด่วน พบยอดการใช้งานรวมเติบโตขึ้น 2 เท่า และเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดเติบโตขึ้น 4 เท่า พื้นที่ที่มีการใช้งานสูงที่สุดอยู่ในพื้นที่เมือง ได้แก่ กรุงเทพฯ ปริมณฑล พัทยา และเชียงใหม่ 
  • LINE MAN MART บริการสั่งของสด-ของใช้ด่วน มีจำนวนร้านค้าบนแพลตฟอร์มกว่า 50,000 ร้าน มียอดออร์เดอร์เติบโต 1.6 เท่า ในปี 2566 เร่งขยายจำนวนร้านค้าแบรนด์ชั้นนำ 11 แบรนด์ ครอบคลุมกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ
  • LINE MAN TAXI บริการเรียกแท็กซี่ พบความต้องการของผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปี 2565 มีการเติบโตถึง 2 เท่า นอกจากนี้ LINE MAN ยังได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการรับงานของคนขับแท็กซี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสามารถเพิ่มการรับงานแท็กซี่ต่อวันได้เฉลี่ย 21%

 

ทั้งหมดนี้เป็นการปูทางของ LINE MAN Wongnai ก่อนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อติดนามสกุลมหาชนเร็วสุดในช่วง 2 ปีต่อจากนี้

The post LINE MAN Wongnai เข้าซื้อกิจการ FoodStory สตาร์ทอัพไทยผู้พัฒนาระบบ POS สำหรับร้านอาหาร คาดแผน ‘เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ’ จะเกิดขึ้นใน 2 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ส่องอนาคตเศรษฐกิจไทย ผ่านเลนส์ ‘ผู้นำ’ ปี 2566 รุ่งหรือร่วง? | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/future-of-thai-economy/ Wed, 04 Jan 2023 03:52:46 +0000 https://thestandard.co/?p=732564

สัมภาษณ์พิเศษจากงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022 ที […]

The post ชมคลิป: ส่องอนาคตเศรษฐกิจไทย ผ่านเลนส์ ‘ผู้นำ’ ปี 2566 รุ่งหรือร่วง? | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

สัมภาษณ์พิเศษจากงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022 ที่จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 กับ 12 ผู้นำในหลากหลายวงการ ทั้ง สมโภชน์ อาหุนัย, ขัตติยา อินทรวิชัย, ศรพล ตุลยะเสถียร, สันติธาร เสถียรไทย, ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย, สุพันธุ์ มงคลสุธี, ยอด ชินสุภัคกุล, ชฎาทิพ จูตระกูล, ภวัต เรืองเดชวรชัย, อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์, ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร และ ชวินดา หาญรัตนกูล ถึงความพร้อมของประเทศไทยต่อเศรษฐกิจปี 2566 ติดตามได้ในคลิปนี้

The post ชมคลิป: ส่องอนาคตเศรษฐกิจไทย ผ่านเลนส์ ‘ผู้นำ’ ปี 2566 รุ่งหรือร่วง? | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
คีย์แมน ‘LINE MAN’ แนะภาครัฐแก้กฎหมาย-ตั้งเกณฑ์เก็บภาษีต่างชาติ เพิ่มขีดการแข่งขันให้บริษัทเทคฯ ในไทย https://thestandard.co/the-standard-economic-forum-2022-28/ Sat, 26 Nov 2022 12:10:29 +0000 https://thestandard.co/?p=715992 LINE MAN

คีย์แมน ‘LINE MAN’ เผยวงการสตาร์ทอัพไทยรั้งท้ายเมื่อเที […]

The post คีย์แมน ‘LINE MAN’ แนะภาครัฐแก้กฎหมาย-ตั้งเกณฑ์เก็บภาษีต่างชาติ เพิ่มขีดการแข่งขันให้บริษัทเทคฯ ในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
LINE MAN

คีย์แมน ‘LINE MAN’ เผยวงการสตาร์ทอัพไทยรั้งท้ายเมื่อเทียบกับต่างประเทศ แนะภาครัฐแก้กฎหมายให้เอื้อการลงทุน พร้อมตั้งเกณฑ์เก็บภาษีต่างชาติ เพิ่มขีดการแข่งขันให้บริษัทเทคโนโลยีในไทย

 

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าวในงาน ECONOMIC FORUM 2022 บนเวที ‘THAILAND’S NEW CHAPTER, NEW S-CURVE ประเทศไทยยืนอยู่ตรงไหนในเวทีโลก วางยุทธศาสตร์อย่างไรไม่ให้ตกขบวน’ ว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีฐานคอนซูเมอร์ที่แข็งแกร่งและถือเป็นจุดแข็งของวงการ ที่ผ่านมาจะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ เข้ามาตั้งสำนักงานในประเทศไทย เนื่องจากพบว่าผู้บริโภคไทยสามารถปรับตัวรองรับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว เห็นได้จากการใช้งานแพลตฟอร์ม เช่น Facebook และ Instagram   

 

หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ช่วงนั้นหลายคนใช้ WhatsApp ในการสื่อสาร แต่เมื่อแพลตฟอร์ม LINE เปิดตัว ทุกคนก็ปรับตัวมาใช้ LINE อย่างรวดเร็ว 

 

เช่นเดียวกับตลาดฟู้ดเดลิเวอรีที่เพิ่งเกิดใหม่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ระยะเริ่มต้นตลาดเติบโตเพียง 1% ซึ่งถ้าเทียบกับปัจจุบันเติบโต 15-20% รวมถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ปัจจุบัน LINE MAN Wongnai มีฐานลูกค้ากว่า 20 ล้านคน มีอัตราการใช้งานต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเทียบกับอาเซียนเราอยู่อันดับ 2 

 

แต่น่าเสียใจที่ต้องจบลงตรงนั้น เพราะสตาร์ทอัพไทยไม่มีจุดแข็ง ปัจจุบันเราผลิตเทคโนโลยีออกมาได้ไม่มากพอ ถ้าเทียบกับทั่วโลก โดยมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย

 

  1. ทรัพยากรคนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ถือว่าน้อยกว่าภาคเกษตรกรรม โดยปัจจุบันมีวิศวกรรมภาคการผลิตซอฟต์แวร์ในสัดส่วนไม่ถึง 5 แสนคน 

 

  1. มีเหตุที่ทำให้เทคสตาร์ทอัพในไทยรวมถึงในหลายๆ ประเทศไปจดทะเบียนธุรกิจในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่มีนโยบายหรือกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนมั่นใจ 

 

  1. เรื่องนโยบายภาษี มีส่วนในการจัดตั้งบริษัทเทคโนโลยี ปัจจุบันกฎหมายไม่ได้เอื้อให้กับสตาร์ทอัพ อาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เทคสตาร์ทอัพในไทย รวมถึงหลายๆ ประเทศ ไปจดทะเบียนธุรกิจในต่างประเทศที่มีนโยบายหรือกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ซึ่งทำให้นักลงทุนมั่นใจ

 

นับเป็นตัวแปรทำให้วงการสตาร์ทอัพเทคโนโลยีในไทย ถ้าเทียบกับต่างประเทศ เราอยู่อันดับท้ายๆ แม้ที่ผ่านมาภาครัฐเริ่มมีการปลดล็อกกฎระเบียบบางอย่าง และเดินไปในทิศทางที่สนับสนุนสตาร์ทอัพเทคโนโลยีไทยมากขึ้น

 

แต่ถ้าจะให้ดีต้องปรับกฎหมายให้เอื้อต่อการลงทุน เพื่อดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนบริษัทเทคโนโลยีในไทย แต่สิ่งสำคัญต่างชาติต้องเสียภาษีมากกว่า เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันได้ เพราะถ้าเปิดการแข่งขันเสรีเกินไปอาจทำให้เทคโนโลยีไทยไม่สามารถสู้กับต่างชาติได้

 

นอกจากนี้ ภาครัฐต้องสร้างค่านิยมการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากร Engineer เพิ่มขึ้น พร้อมกับให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีให้กับกลุ่มอาชีพเหล่านี้ เพราะถ้าไม่มีคนทำงาน โอกาสเติบโตก็เกิดขึ้นได้ยาก 

 

ยอดกล่าวถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลว่า ตั้งแต่วันแรกที่ธุรกิจเปิดดำเนินการ ไม่เคยขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ 

 

แต่สิ่งที่เรากังวลคือ เริ่มเห็นรายได้ของผู้บริโภคลดลง เห็นได้จากพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรีในช่วงกลางเดือนมีอัตราการสั่งลดลง สมัยก่อนยังพอจ่ายกันไหว ช่วงหลังๆ กลางเดือนไม่มีกำลังซื้อ ต้องรอเงินเดือนออก ถึงจะกลับมาสั่งอีกครั้ง ซึ่งกลัวว่าเราอาจไม่ได้ติดกับดักรายได้ปานกลาง แต่อาจจะลงไปลึกกว่านั้นอีก

 

จากปัจจัยดังกล่าวจึงอยากแนะนำภาครัฐว่า ถ้าไม่มีไอเดียที่ดี วิธีที่ดีที่สุดคือสามารถไปลอกไอเดียจากประเทศอื่นได้ ยกตัวอย่างประเทศเกาหลีใต้ ที่มีความคล้ายคลึงกับไทย เราก็นำมาต่อยอดใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอาหารที่ไทยมีความโดดเด่นไม่แพ้กัน 

 

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันสตาร์ทอัพเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ต้องปรับตัวให้น้ำหนักกับธุรกิจอาหาร เกษตร และท่องเที่ยว เน้นจับกลุ่ม B2B ลูกค้าในองค์กร ถึงจะสามารถออกไปแข่งขันกับทั่วโลกได้ 

The post คีย์แมน ‘LINE MAN’ แนะภาครัฐแก้กฎหมาย-ตั้งเกณฑ์เก็บภาษีต่างชาติ เพิ่มขีดการแข่งขันให้บริษัทเทคฯ ในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
LINE MAN Wongnai เร่งเครื่องแรงหลังโต 5.3 เท่า ปีนี้เตรียมให้บริการครบ 77 จังหวัด มอง ‘ยูนิคอร์น’ ไม่ใช่เป้าหมายอีกต่อไป https://thestandard.co/line-man-wongnai-grows-5-3-times-unicorn-is-next-goal/ Tue, 16 Mar 2021 04:57:56 +0000 https://thestandard.co/?p=465412 LINE MAN Wongnai เร่งเครื่องแรงหลังโต 5.3 เท่า ปีนี้เตรียมให้บริการครบ 77 จังหวัด มอง ‘ยูนิคอร์น’ ไม่ใช่เป้าหมายอีกต่อไป

สมรภูมิฟู้ดเดลิเวอรียังคงห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดเช่นเคยใ […]

The post LINE MAN Wongnai เร่งเครื่องแรงหลังโต 5.3 เท่า ปีนี้เตรียมให้บริการครบ 77 จังหวัด มอง ‘ยูนิคอร์น’ ไม่ใช่เป้าหมายอีกต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
LINE MAN Wongnai เร่งเครื่องแรงหลังโต 5.3 เท่า ปีนี้เตรียมให้บริการครบ 77 จังหวัด มอง ‘ยูนิคอร์น’ ไม่ใช่เป้าหมายอีกต่อไป

สมรภูมิฟู้ดเดลิเวอรียังคงห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดเช่นเคยในทุกๆ มิติ เพราะแม้จะเป็นเซกเตอร์ที่ได้รับอานิสงส์บวกจากการระบาดของโควิด-19 แต่การแข่งขันด้านการทำราคาส่งและสั่งให้ถูก ตลอดจนการมีผู้เล่นรายใหม่ๆ ที่อาจจะไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมนี้มาก่อน ตัวอย่างเช่น True ที่ทำ TrueFood หรือ SCB ที่มี Robinhood ก็ทำให้ดีกรีการเชือดเฉือนของผู้เล่นในสังเวียนนี้ยกระดับความร้อนแรงเพิ่มขึ้นอีกเท่าทวี

 

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ‘LINE MAN Wongnai’ หนึ่งในแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรียอดนิยมภายใต้ความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานตามชื่อขององค์กร ได้ประกาศความสำเร็จในปีที่ผ่านมาภายหลังจากควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการ 5 เดือนเต็ม โดยพบว่าปัจจุบันยอดการสั่งอาหารและมูลค่าต่อออร์เดอร์ (GMV) ได้มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงกว่า 5.3 เท่า และประกาศกลยุทธ์ในปีนี้ว่าเตรียมจะให้บริการในพื้นที่ 77 จังหวัด ครอบคลุมยันระดับ ‘อำเภอ’ ไม่ใช่แค่หัวเมือง

 

ซึ่ง ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านแพลตฟอร์ม Clubhouse เมื่อวานนี้ (15 มีนาคม) ว่าหลังจาก 5 เดือนที่ผ่านมาของการควบรวมกิจการระหว่าง LINE MAN และ Wongnai (ควบรวมกิจการแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนกันยายน 2562) ภาพรวม ณ ปัจจุบันต้องยอมรับว่าเป็นสถานการณ์ที่ดีกว่าที่ตัวเขาคิดไว้เยอะ แม้จะยังอยู่ในช่วงกระบวนการของ PMI (Post-merger Integration) แต่ภาพรวมก็ค่อนข้างลื่นไหล ไม่ต้องแก้ปัญหาภายในมากนัก

 

สาเหตุสำคัญประการต้นๆ ที่ยอดเชื่อว่าเป็นเบื้องหลังซึ่งทำให้การควบรวมกิจการระหว่าง LINE MAN และ Wongnai ราบรื่นเป็นผลมาจาก

1. ทั้งสองทีมเคยเป็นพาร์ตเนอร์ทำงานร่วมกันมาก่อน ไม่ใช่คนแปลกหน้า
2. ตนแสดงความชัดเจนด้วยการสร้าง Trust และ Authenthic ให้กับทีมงาน LINE MAN
3. มี Common Enemy หรือศัตรูทางธุรกิจคนเดียวกัน จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาการเมืองในองค์กร

 

สำหรับภาพรวมในปี 2563 ที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิดการควบรวมกิจการ ยอดระบุว่าจำนวนออร์เดอร์และ GMV ของ LINE MAN Wongnai ได้เติบโตสูงขึ้นกว่า 5 เท่า และหลังจากที่ควบรวมกิจการแล้วเสร็จ (ตอนนั้นมีพื้นที่ให้บริการ 7 เมือง) ปัจจุบันแพลตฟอร์มของพวกเขาได้ให้บริการครอบคลุมราว 36 เมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแผนของพวกเขาในปีนี้คือการบุกยึดหัวหาดให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ลงลึกไปถึงระดับอำเภอให้ได้ โดยไม่ได้มองเพียงแค่ระดับหัวเมืองอีกต่อไปแล้ว (ปัจจุบันมีฐานข้อมูลร้านอาหารบน Wongnai กว่า 6 แสนร้าน และมีร้านอาหารให้บริการบนแพลตฟอร์ม LINE MAN Wongnai ราว 3 แสนร้าน)

 

อย่างไรก็ดี แม้ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีจะได้รับอานิสงส์บวกจากโควิด-19 แต่หากมองในเชิงภาพรวม มันยังเป็นแค่ก้อนเล็กๆ เท่านั้นเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของตลาด Food Dining ในประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ 9 แสนล้านบาทในปี 2563 โดยที่ฟู้ดเดลิเวอรีมีสัดส่วนอยู่ที่ 5% ซึ่งยอดเชื่อว่าในอนาคตตัวเลขนี้น่าจะขยับขึ้นไปที่ 20% ได้ไม่ยาก

 

ขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ของ LINE MAN Wongnai แม้ว่า ‘กลุ่มธุรกิจสื่อ-มีเดีย’ จะมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง แต่กลุ่มธุรกิจโซลูชันร้านอาหารอย่าง POS กลับเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3.5-4 เท่าในปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในจุดเด่นที่ LINE MAN Wongnai มีให้กับบรรดาร้านอาหารที่เข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มของพวกเขาแบบครบวงจร

 

“ถามว่าคู่แข่งในสังเวียนมีเยอะ เรากังวลไหม ถ้าไม่กังวลก็คงโกหก เพราะธุรกิจนี้มีการแข่งขันสูง แต่ในขณะเดียวกันเราก็มั่นใจ เพราะภาพรวมตลาดก็ยังขยายตัวอยู่ ไม่ใช่ว่าทุกคนในประเทศใช้ฟู้ดเดลิเวอรีแล้ว ตอนนี้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ยังเป็นคนเมือง หรือกลุ่ม Early Adopter ยังเป็นตลาดที่ไม่ได้โตเต็มวัย ถ้าเปรียบเทียบเป็นมวย 12 ยก ตอนนี้ก็เหมือนสู้กันในยกที่ 4-5 ต่อจากนี้ยังต้องสู้กันอีกหลายปีข้างหน้า

 

“ซึ่งภาพรวมสุดท้าย ผมเชื่อว่าจุดตัดผู้ชนะและแพลตฟอร์มที่จะอยู่รอดในสังเวียนนี้ได้คือการที่แพลตฟอร์มนั้นๆ ตอบคำถามได้ว่าคุณสร้างมูลค่า ‘(Value)’ ให้กับผู้มีส่วนได้เสียในวงจร ทั้งคนขับ ผู้สั่ง ร้านอาหาร หรือพนักงานได้ต่อเนื่องและพร้อมเพรียงกันมากแค่ไหน” ยอดกล่าว

 

ถ้ายังจำกันได้ อีกประเด็นสำคัญก็คือในการแถลงข่าวเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ยอดเคยบอกไว้ว่าอยากทำให้ LINE MAN Wongnai กลายเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรายแรกของประเทศได้สำเร็จ แต่มาวันนี้เขาบอกว่ายูนิคอร์นไม่ใช่เส้นชัยหรือมีความสำคัญใดๆ อีกแล้ว

 

สาเหตุก็เพราะมันเป็นเป้าหมายที่อยู่ใกล้เกินไป หรือถ้าให้กล่าวโดยย่อก็คือตอนนี้ยอดและ LINE MAN Wongnai มองยูนิคอร์นเป็นแค่ไมล์สโตนทั่วๆ ไปที่อย่างไรก็ต้องวิ่งผ่านอยู่ดี โดยเป้าหมายที่สำคัญที่สุด ณ ตอนนี้คือการทำให้แพลตฟอร์มตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายให้ได้ โดยเฉพาะการช่วยให้พวกเขามีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

ต่อคำถามที่ว่า LINE MAN Wongnai จะต่อยอดโมเดลธุรกิจของตัวเองไปสู่การทำสินเชื่อคนขับ สินเชื่อร้านอาหาร และประกัน เหมือนที่ Grab, Gojek หรือ Robinhood จะมุ่งไปหรือไม่นั้น ยอดตอบว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยทัศน์ที่มองไว้อยู่แล้ว และทำได้แน่นอน 

 

เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่ได้มีข้อผูกพันหรือกรอบเวลาที่ชัดเจน รวมถึงไม่ได้ปิดโอกาสในการทำงานร่วมกับใคร (แม้ว่า LINE จะมี LINE BK ก็ตาม) เนื่องจาก LINE ค่อนข้างเปิดกว้างและให้อิสระกับเขาในการกุมบังเหียน มองหาพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ ใหักับ LINE MAN Wongnai ได้อย่างอิสระ ไม่มีข้อจำกัด

 

ส่วนความแข็งแกร่งของแพลตฟอร์ม LINE ที่มีผู้ใช้งานทั่วประเทศมากกว่า 47 ล้านคนนั้น ยอดมองว่าจุดแข็งในส่วนนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในความได้เปรียบที่จะช่วยให้ LINE MAN Wongnai เป็นต่อในแง่การแข่งขัน โดยนอกเหนือจากการทำมินิแอปฯ ให้ผู้ใช้ LINE สั่งอาหารและเครื่องดื่มได้ทันทีบนหน้า Wallet ของ LINE โดยไม่ต้องโหลดแอปฯ LINE MAN Wongnai ในอนาคตอีก 2 เดือนข้างหน้าก็จะได้เห็นการร่วมมือและใช้ประโยชน์จากบริษัท LINE หลักแน่นอน

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post LINE MAN Wongnai เร่งเครื่องแรงหลังโต 5.3 เท่า ปีนี้เตรียมให้บริการครบ 77 จังหวัด มอง ‘ยูนิคอร์น’ ไม่ใช่เป้าหมายอีกต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดใจสด ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ หลังนำ Wongnai ควบรวม LINE MAN | THE STANDARD Daily 16 กันยายน 2563 https://thestandard.co/thestandarddaily160963/ Thu, 17 Sep 2020 00:31:40 +0000 https://thestandard.co/?p=397562

THE STANDARD Daily ประจำวันที่ 16 กันยายน 2563  เว […]

The post เปิดใจสด ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ หลังนำ Wongnai ควบรวม LINE MAN | THE STANDARD Daily 16 กันยายน 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
THE STANDARD Daily ประจำวันที่ 16 กันยายน 2563  เวลา 19.00 น.
 
  • เปิดใจสด ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ หลังนำ Wongnai ควบรวม LINE MAN
  • 10 ปีที่แล้ว Wongnai ถือกำเนิดขึ้นโดยมี ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ เป็นหนึ่งในผู้ทำคลอด ก่อนที่ฝีมือการบริหารของเขาจะพาแพลตฟอร์มแห่งนี้แจ้งเกิดในวงการอย่างรวดเร็ว และต่อยอดด้วยการกระโดดเข้าสู่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีได้อย่างสวยงาม
  • ปีนี้ Wongnai ก้าวขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการประกาศควบรวมกับ LINE MAN ในชื่อบริษัทใหม่ LINE MAN Wongnai โดยมี ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ ซีอีโอ ถือเป็นการออกตัวที่น่าจับตาอีกครั้งของสตาร์ทอัพสัญชาติไทยให้เข้าใกล้ความฝันของการเติบโตสู่ระดับยูนิคอร์นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในจังหวะที่ครบ 10 ปีของการกระโดดเข้าสู่วงการพอดิบพอดี
 

สามารถติดตาม THE STANDARD Daily ได้เป็นประจำทุกวันจันทร์-พฤหัส เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ที่ Facebook Live และ Youtube Live ของ thestandardth

The post เปิดใจสด ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ หลังนำ Wongnai ควบรวม LINE MAN | THE STANDARD Daily 16 กันยายน 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
LINE เลือก ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ นั่งซีอีโอคนแรก LINE MAN Wongnai https://thestandard.co/line-man-wongnai-ceo/ Thu, 06 Aug 2020 04:50:25 +0000 https://thestandard.co/?p=386248

หลังบรรลุข้อตกลงด้านเงินลงทุนมูลค่า 110 ล้านดอลลาร์สหรั […]

The post LINE เลือก ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ นั่งซีอีโอคนแรก LINE MAN Wongnai appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังบรรลุข้อตกลงด้านเงินลงทุนมูลค่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,300 ล้านบาท) จากบริษัท BRV Capital Management (BRV) จนเป็นที่มาของการควบรวมกิจการระหว่าง LINE MAN และ บริษัท วงใน มีเดีย จำกัด หรือ Wongnai ไปหมาดๆ

 

ล่าสุดได้มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยวันนี้ (6 สิงหาคม) มีการออกแถลงการณ์ว่า LINE Corporation ได้เลือก ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอบริษัท LINE MAN Wongnai บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการ

 

อีอึนจอง หัวหน้าฝ่ายบริหารธุรกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น ระบุว่า ยอด ชินสุภัคกุล เป็นผู้ที่เข้าใจในธุรกิจ O2O อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะด้านฟู้ดเดลิเวอรี 

 

“LINE MAN Wongnai ภายใต้การบริหารของยอดจะเป็นบริษัทที่สร้างโดยคนไทย บริหารโดยคนไทย และดำเนินงานเพื่อคนไทย ซึ่งจะสามารถสร้างสิ่งใหม่ๆ น่าตื่นเต้นและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายอย่างแท้จริง”

 

ด้าน ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าวว่า การผนึกกำลังของทั้งสองบริษัทในครั้งนี้ จะเป็นการสร้าง Ecosystem Online-to-Offline ที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับทั้งร้านอาหารและผู้ใช้ สามารถสร้างคุณค่าให้กับทุกฝ่ายในธุรกิจ

 

“LINE MAN Wongnai เป็นบริษัทที่ก่อตั้งและบริหารโดยคนไทย ด้วยความเข้าใจเรื่องอาหารการกินของคนไทยอย่างแท้จริง เรามั่นใจว่านี่จะเป็นก้าวสำคัญสำหรับเราที่จะดำเนินธุรกิจที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่คนไทยและธุรกิจไทยในประเทศไทยเช่นเดียวกัน”

 

สำหรับ ยอด ชินสุภัคกุล ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Wongnai โดยก่อนหน้านั้นรับตำแหน่งเป็น Support Manager ที่ Thomson Reuters ยอดจบการศึกษา MBA จาก UCLA Anderson School of Management ในปี 2010 และด้าน Computer Engineering จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2004

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post LINE เลือก ‘ยอด ชินสุภัคกุล’ นั่งซีอีโอคนแรก LINE MAN Wongnai appeared first on THE STANDARD.

]]>
สารจากซีอีโอ Wongnai ถึงการเปลี่ยนแปลงบริการส่งอาหารของ LINE MAN เพื่อตอบสนองร้านอาหารที่กำลังตกที่นั่งลำบากท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 https://thestandard.co/news-from-wongnai-ceo-of-changing-food-delivery-service-of-line-man/ Thu, 19 Mar 2020 09:36:07 +0000 https://thestandard.co/?p=343706

วันนี้ (19 มีนาคม) ยอด ชินสุภัคกุล ซีอีโอ Wongnai ได้ส่ […]

The post สารจากซีอีโอ Wongnai ถึงการเปลี่ยนแปลงบริการส่งอาหารของ LINE MAN เพื่อตอบสนองร้านอาหารที่กำลังตกที่นั่งลำบากท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 มีนาคม) ยอด ชินสุภัคกุล ซีอีโอ Wongnai ได้ส่งสารให้กำลังใจถึงร้านอาหารทุกร้านผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขา ใจความว่า จากวิกฤตโควิด-19 นี้ ร้านอาหารเริ่มซบเซาลงมาก ร้านอาหารที่เคยคิวยาวหลายร้าน ช่วงนี้ก็ไม่มีคิวเลย วิกฤตในครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เจ้าของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงเชฟ คนทำครัว พนักงานเสิร์ฟ หรือแม้กระทั่งแม่บ้าน พร้อมติดแฮชแท็ก ‘สู้ไปด้วยกันเราจะรอดกันหมด หรือ #สปดกรจรกม’ เพื่อให้กำลังใจทีมงาน Wongnai รวมถึงให้กำลังใจเหล่าร้านอาหารที่กำลังตกที่นั่งลำบากด้วย

 

จากการทำงานกับร้านอาหารอย่างใกล้ชิด Wongnai จึงพร้อมสู้ไปกับทุกคน และยกให้การช่วยเหลือร้านอาหารเป็นวาระสำคัญที่สุดในเวลานี้ ซึ่งความช่วยเหลือด่วนที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้คือการออกมาตรการสนับสนุนร้านอาหารผ่านช่องทางต่างๆ ของ Wongnai รวมไปถึงผ่านทางพาร์ตเนอร์ของ Wongnai อย่าง LINE MAN ว่าบริการส่งอาหารผ่าน LINE MAN จะมีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้  

 

  • เพิ่มช่องทางเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์​เมนูอาหารของร้านต่างๆ ใน LINE MAN มากขึ้น
  • ร้านอาหารใหม่ๆ จะขึ้นในระแบบแอปพลิเคชัน LINE MAN ได้เร็วขึ้น (ภายใน 7 วัน)​
  • เพิ่มระบบ Pick-Up (Take-Out) ในแอปพลิเคชัน LINE MAN ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ให้ลูกค้าสามารถกดสั่งอาหารไว้ก่อนแล้วค่อยไปรับหน้าร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการรอคิวหน้าร้าน ซึ่งจะสามารถลดการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคลได้ในระดับหนึ่ง
  • เตรียมการทำ Deal และ Voucher ให้กับร้านอาหารโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ถ้ามีก็เป็นแค่ค่า Payment Gateway เท่านั้น) เพื่อช่วยร้านอาหารให้มีการหมุนเวียนของเงินทุนมากขึ้น และให้ลูกค้าที่ซื้อไว้กลับเข้ามาใช้บริการเมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นในภายหลัง

 

นอกจากนี้เขายังกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เมื่อไรที่สถานการณ์ดีขึ้น ผมหวังว่าจะกอดคอกันไปอุดหนุนร้านอาหารกันเยอะๆ แต่ ณ เวลานี้ขอให้เราช่วยเท่าที่ช่วยได้กันไปก่อนนะครับ ก่อนที่จะไม่เหลือร้านอาหารดีๆ ให้เรารับประทาน”

 

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ได้ที่ thestandard.co/coronavirus-coverage

และอัปเดตทุกความเคลื่อนไหวของโรคโควิด-19 ได้ที่ www.facebook.com/thestandardth

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post สารจากซีอีโอ Wongnai ถึงการเปลี่ยนแปลงบริการส่งอาหารของ LINE MAN เพื่อตอบสนองร้านอาหารที่กำลังตกที่นั่งลำบากท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>