มึนอ-พิณนภา พฤกษาพรรณ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 30 Aug 2024 10:28:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สูญหายแต่ไม่สิ้นหวัง ขอรัฐบาลใหม่คืนความเป็นธรรม ให้ครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย https://thestandard.co/key-messages-enforced-disappearance-families/ Fri, 30 Aug 2024 10:28:26 +0000 https://thestandard.co/?p=977663

วันนี้ (30 สิงหาคม) ที่ห้องประชุมสำนักงานกลางคริสเตียน […]

The post สูญหายแต่ไม่สิ้นหวัง ขอรัฐบาลใหม่คืนความเป็นธรรม ให้ครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (30 สิงหาคม) ที่ห้องประชุมสำนักงานกลางคริสเตียน ครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ร่วมกับมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, องค์กร Protection International และมูลนิธิ FORUM-ASIA จัดงานแถลงข่าวเนื่องในวันแห่งการรำลึกถึงผู้ถูกบังคับสูญหายสากล โดยปีนี้จัดภายใต้ชื่อ ‘Faces of the Victims: A Long Way to Justice ใบหน้าของผู้สูญหาย: เส้นทางที่ยาวไกลสู่ความยุติธรรม’ เพื่อทวงถามความคืบหน้าและยื่นข้อเรียกร้องต่อการแก้ปัญหาคนหายของรัฐไทย หลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เป็นเวลาปีกว่า สำหรับผู้เข้าร่วมวงเสนา ได้แก่

 

  • อังคณา นีละไพจิตร ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อดีตสมาชิกคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการสูญหายโดยถูกบังคับ (WGEID) วุฒิสมาชิก และภรรยาของทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่ถูกบังคับสูญหาย สมชาย นีละไพจิตร
  • Shui Meng ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและภรรยาของสมบัด สมพอน ผู้นำภาคประชาสังคมลาวที่ถูกบังคับสูญหายในปี 2012 
  • พิณนภา พฤกษาพรรณ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี และภรรยาของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ
  • สีละ จะแฮ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชนเผ่าลาหู่ และญาติของเหยื่อจากการบังคับสูญหายชาติพันธ์ุลาหู่ เข้าร่วมในการแถลงข่าวครั้งนี้


 

 

หวังคดีของ ‘บิลลี่’ สอบสวนหาความจริงตามกฎหมายอุ้มหายโดยไม่มีเงื่อนไข

 

พิณนภากล่าวว่า แม้จะผ่านมาปีกว่าแล้วหลังจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย บิลลี่ก็ยังคงไม่ได้รับความเป็นธรรม ภายหลังที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.นี้ ตนได้เข้าประชุมร่วมกับหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง และสอบถามว่าคดีของบิลลี่สามารถใช้ พ.ร.บ.นี้มาสืบสวนหาผู้กระทำความผิดได้ด้วยหรือไม่ แต่เจ้าหน้าที่ตอบว่าไม่ได้ เพราะคดีของบิลลี่เกิดก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ และหากจะให้คดีของบิลลี่เข้าสู่การสอบสวนของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะต้องมีหลักฐานใหม่ขึ้นมาพิสูจน์ ซึ่งที่ผ่านมาครอบครัวก็ดำเนินการทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดแล้ว ไม่รู้จะหาหลักฐานใหม่อะไรมาให้เจ้าหน้าที่อีก ทั้งที่ในความเป็นจริงบิลลี่ยังเป็นบุคคลสูญหาย และคดียังอยู่ในชั้นพิจารณาของศาลอุทธรณ์อยู่เลย คดีของบิลลี่ยังไม่สิ้นสุด พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงควรที่จะทำหน้าที่ให้กับครอบครัวของผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหาย โดยไม่มีเงื่อนไขของเวลาเข้ามาเป็นข้อจำกัดให้ครอบครัวเข้าถึงความยุติธรรม

 

 

เปิดข้อมูล 20 ครอบครัวที่ถูกอุ้มหายยังไม่ได้รับความยุติธรรม

 

สีละกล่าวว่า พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฉบับนี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยหนึ่งในหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้คือจะต้องตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทรมาน การทำให้บุคคลสูญหาย รวมทั้งรับและติดตามตรวจสอบข้อร้องเรียนต่างๆ ด้วย แต่ตนยังไม่เคยเห็นคณะกรรมการชุดนี้มาลงพื้นที่หรือเข้ามาสอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับครอบครัวผู้สูญหาย หรือติดตามแก้ไขปัญหาเลยแม้แต่ครั้งเดียว ตนอยากให้คณะกรรมการชุดนี้ทำงานเชิงรุก ลงพื้นที่สอบสวนข้อเท็จจริง ให้ความเป็นธรรมกับครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

 

สีละยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในอดีตที่ผ่านมามีพี่น้องชาติพันธ์ุลาหู่ถูกอุ้มหายและถูกซ้อมทรมานเป็นจำนวนมาก และที่ตนเรียกร้องความเป็นธรรมมาโดยตลอดคือ กรณีของพี่น้องชาติพันธ์ุลาหู่ไม่ต่ำกว่า 20 คนที่ถูกทำให้สูญหาย และมากกว่า 50 คนที่ถูกซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งหนึ่งในนั้นมี จะฟะ จะแฮ หลานชายของตนที่มีอายุเพียงแค่ 14 ปีด้วย

 

“ผมเรียกร้องเรื่องนี้มาตลอดตั้งแต่ยังไม่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผมเคยทำหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่ง กสม. มีหนังสือส่งต่อไปที่รัฐสภา และรัฐสภามีหนังสือไปถึงกระทรวงกลาโหม กองทัพบก ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเยียวยาเหยื่อ แต่ก็ยังไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม ผมมีความหวังว่าหลังมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ พี่น้องชาติพันธ์ุลาหู่ที่ถูกบังคับให้สูญหายจะได้รับความเป็นธรรม แต่ก็ยังไม่เกิดอะไรขึ้น จึงอยากเรียกร้องให้คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ทำความจริงให้ปรากฏด้วย” นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชนเผ่าลาหู่ และญาติของเหยื่อจากการบังคับสูญหายชาติพันธ์ุลาหู่กล่าว

 

 

ภรรยา ‘สมบัด สมพอน’ ไม่ยอมแพ้หรือสิ้นหวัง แม้ผ่านมาร่วมทศวรรษ

 

ขณะที่ Shui Meng กล่าวว่า ผ่านมาแล้วกว่า 10 ปีที่สมบัดถูกบังคับให้สูญหายที่หน้าป้อมตำรวจที่เวียงจันทน์ โดยไม่มีข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสมบัดเลย ความหวังที่จะได้พบเขาอีกครั้งยิ่งห่างไกลออกไป และความกลัวที่จะไม่มีวันได้รู้ความจริง และความยุติธรรมเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ในฐานะภรรยาและเหยื่อ ตนจะไม่ยอมแพ้ต่อความสิ้นหวัง ไม่ว่าสถานการณ์จะดูสิ้นหวังเพียงใด ตนจะต้องค้นหาความจริงต่อไปจนถึงลมหายใจสุดท้าย ตนเป็นหนี้ความยุติธรรมให้กับคุณสมบัด และต่อเหยื่ออื่นๆ ของการบังคับให้สูญหาย อาชญากรรมและความอยุติธรรมเช่นนี้ต้องยุติลง

 

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฉันไม่ได้มองตัวเองเพียงว่าเป็นเหยื่อของการบังคับให้สูญหายเท่านั้น ใช่ ฉันเป็นเหยื่อและยังคงเผชิญกับความสูญเสียและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสมบัด แต่ฉันได้เรียนรู้ว่าการทนทุกข์อย่างเงียบๆ ไม่ใช่ทางเลือก ฉันต้องบอกเล่าเรื่องราวของสมบัดให้โลกได้รับรู้ และต้องพูดออกมาต่ออาชญากรรมและความอยุติธรรมของการบังคับให้สูญหาย การรักษาความเงียบจะไม่ช่วยหยุดการบังคับให้สูญหาย แต่มันจะทำให้ผู้กระทำผิดกล้าทำอาชญากรรมเหล่านี้ต่อไป” ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและภรรยาของสมบัด สมพอน นักพัฒนาชาว สสป.ลาวที่ถูกบังคับสูญหายในปี 2012 กล่าว

 

 

ถาม ‘อุ๊งอิ๊ง’ ลูกสาวทักษิณได้เป็นนายกฯ แล้วจะคืนความเป็นธรรมให้กับครอบครัวผู้ถูกอุ้มหายอย่างไร

 

ขณะที่อังคณาระบุว่า คดีสมชายผ่านมากว่า 20 ปีโดยไม่มีความก้าวหน้า เพราะรัฐไม่มีเจตจำนงทางการเมืองในการเปิดเผยความจริงและนำคนผิดมาลงโทษ แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมถึงการให้สัตยาบันอนุสัญญา แต่ยังไม่เห็นความพยายามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตามหาตัวสมชาย กรรมการตาม พ.ร.บ. ที่ตั้งขึ้นก็ไม่เคยรับฟังครอบครัว ทั้งที่กฎหมายระบุให้สืบสวนจนทราบที่อยู่และชะตากรรม และรู้ตัวผู้กระทำผิด ในขณะที่ครอบครัวคนหายต่างถูกคุกคามมาโดยตลอด ไม่นานนี้ขณะจัดงานรำลึก 20 ปี สมชาย นีละไพจิตร ยังมีคนอ้างเป็นเจ้าหน้าที่มาสอดแนม ตามถ่ายภาพครอบครัว ยังไม่นับรวมการด้อยค่าและคุกคามทางออนไลน์

 

“สมชาย นีละไพจิตร ถูกอุ้มหายในรัฐบาลทักษิณ ปีนี้ลูกสาวคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี โดยคุณทักษิณเองก็ยังมีบทบาททางการเมือง ก็อยากทราบว่าลูกสาวคุณทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรี จะคืนความเป็นธรรมให้ครอบครัวคนถูกอุ้มหายอย่างไร อย่างน้อยบอกความจริงและนำคนผิดมาลงโทษก็ยังดี อุ๊งอิ๊งรักพ่อแค่ไหน ลูกๆ คนหายก็รักพ่อไม่ต่างกัน ดังนั้นคืนความยุติธรรมและการเปิดเผยความจริงจึงจะเป็นการเยียวยาที่ดีที่สุดให้แก่ครอบครัว” ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อดีตสมาชิกคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการสูญหายโดยถูกบังคับ (WGEID) วุฒิสมาชิก และภรรยาของทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่ถูกบังคับสูญหาย สมชาย นีละไพจิตรกล่าว

 

 

นอกจากนี้ในงานยังมีการกล่าวถึงกรณี อี ควิน เบดั๊บ เป็นสมาชิกของชุมชนชาวพื้นเมืองมองตานญาด (Montagnards) ในเวียดนาม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับการกดขี่และการประหัตประหารมาอย่างยาวนาน หลบหนีออกจากเวียดนามซึ่งชีวิตของเขาอยู่ภายใต้การคุกคามอย่างต่อเนื่อง เขาขอลี้ภัยในประเทศไทยในปี 2018 โดยหวังว่าจะหาสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับตัวเขาและครอบครัว เขาได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจาก UNHCR

 

“เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เขาถูกตำรวจไทยจับกุม รัฐบาลเวียดนามกำลังขอให้ไทยส่งตัวเขากลับไปยังเวียดนาม และการพิจารณาคดีของเขายังคงดำเนินอยู่ โดยคาดว่าจะสิ้นสุดในวันจันทร์หน้า วันที่ 2 กันยายน เราไม่สามารถจินตนาการถึงผลกระทบที่รุนแรงที่เขาและครอบครัวต้องเผชิญหากถูกส่งกลับไปยังเวียดนาม

 

“องค์กรสิทธิมนุษยชนขอให้รัฐบาลไทยไม่ส่งตัวอี ควิน เบดั๊บกลับ เนื่องจากจะเป็นการขัดแย้งอย่างชัดเจนต่อ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายของประเทศไทย”

 

 

ด้าน ปรานม สมวงศ์ จาก Protection International เปิดเผยข้อมูลว่า ตามข้อมูลของคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการหายสาบสูญโดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจ (WGEID) ตามรายงานล่าสุด ประเทศไทยมีกรณีการบังคับสูญหายที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้หลายกรณี อย่างไรก็ตาม จำนวนที่แน่นอนของกรณีการบังคับสูญหายในประเทศไทยอาจแตกต่างกันไปตามแหล่งข้อมูลและช่วงเวลาที่พิจารณา

 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา WGEID บันทึกกรณีการบังคับสูญหายในประเทศไทยประมาณ 80-90 กรณี จำนวนนี้สะท้อนถึงกรณีที่ได้รับการรายงานและยอมรับโดยสหประชาชาติเพื่อทำการสอบสวน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้อาจไม่ครอบคลุมปัญหาทั้งหมด เนื่องจากบางกรณีอาจไม่ได้รับการรายงานหรือถูกจัดประเภทต่างออกไป

 

ในวันที่เรารำลึกถึงเหยื่อของการบังคับสูญหายสากล ข้ออ้างเรื่องงบประมาณหรือการขาดแคลนบุคลากรไม่ควรถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ความเงียบและการเพิกเฉยไม่สามารถยอมรับได้อีกต่อไป รัฐมีหน้าที่ไม่เพียงแต่ต้องผ่านกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ถูกบังคับสูญหาย แต่ยังต้องทำให้กฎหมายเหล่านี้มีผลบังคับใช้อย่างแท้จริง เพื่อคืนศักดิ์ศรีและความยุติธรรมให้กับเหยื่อและครอบครัวของพวกเขา เราจะไม่หยุดเรียกร้องจนกว่าความจริงจะถูกเปิดเผย และผู้ถูกบังคับสูญหายจะกลับคืนสู่อ้อมอกของครอบครัว พร้อมกับการปรากฏของความยุติธรรมที่แท้จริง

 

ทั้งนี้ ภายในงานยังมีการเปิดคลิปวิดีโอความรู้สึกของ แวรอกีเย๊าะ บาเน็ง น้องสาวของ แวอับดุลวาเหม บาเน็ง ผู้ถูกบังคับให้สูญหายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย โดยขณะที่หายตัวไปแวอับดุลวาเหมเป็นเพียงเยาวชนจากโรงเรียนสอนศาสนาธรรมวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนชื่อดังของจังหวัดยะลา แวอับดุลวาเหมถูกทำให้สูญหายในวันที่ 17 ตุลาคม 2548 จากสุสานมัสยิดแห่งหนึ่งที่จังหวัดปัตตานี ในช่วงที่รัฐบาลยุคนั้นมีนโยบายการปราบปรามความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตลอดการหายตัวไปครอบครัวทวงความยุติธรรมให้กับลูกชายมาโดยตลอด แม้จะโดนข่มขู่คุกคามในการเรียกร้องความยุติธรรมในการตามหาตัวของแวอับดุลวาเหม แม้จะผ่านมานานแล้วถึง 18 ปี แต่ครอบครัวก็ไม่ละความพยายามในการตามหาความจริงและความยุติธรรม

 

 

ยื่น 7 ข้อเรียกร้องให้นายกฯ คนใหม่เปิดเผยความจริง คืนความเป็นธรรม

 

ต่อมาครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหายร่วมกันแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการยื่นข้อเรียกร้องผ่านการส่งจดหมายฉบับใหญ่ เพื่อติดตามความยุติธรรมให้กับผู้สูญหายและครอบครัวให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยมีการติดแสตมป์หน้าซองเป็นรูปของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย พร้อมทั้งร่วมกันอ่านข้อเรียกร้องโดยรายละเอียด ดังนี้

 

ท่ามกลางความยินดีกับการที่ประเทศไทยมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ทำให้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับของสหประชาชาติมีผลบังคับใช้

 

ในโอกาสวันแห่งการรำลึกถึงผู้ถูกบังคับสูญหายสากล 2567 เราขอเรียกร้องรัฐบาลไทย เปิดเผยความจริงและคืนความเป็นธรรมให้ผู้สูญหายทุกคน เราเน้นย้ำความกังวลและห่วงใยในการดำเนินการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำให้บุคคลสูญหาย การยุติการงดเว้นโทษ และคืนความยุติธรรมให้ครอบครัว ดังนี้

 

เราเน้นย้ำสิทธิที่จะทราบความจริง เนื่องจากการบังคับบุคคลสูญหายเป็นอาชญากรรมต่อเนื่อง รัฐมีหน้าที่ต้องสืบสวนสอบสวนจนกว่าจะทราบที่อยู่และชะตากรรมของผู้สูญหาย และนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ

 

รัฐบาลต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีผลบังคับใช้ ต้องมีความจริงใจในการตามหาตัวผู้สูญหายและคืนพวกเขาสู่ครอบครัว ในการค้นหาตัวผู้สูญหายต้องเป็นไปตามหลักการชี้แนะในการค้นหาผู้สูญหายของคณะกรรมการสหประชาชาติ คือการหาตัวบุคคล ไม่ใช่การหาศพ หรือเพราะการค้นหาตัวบุคคลจะทำให้เราทราบเรื่องราวของผู้ถูกบังคับสูญหาย และรู้ตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริง

 

เราขอเน้นย้ำสิ่งที่รัฐไม่อาจละเลยได้ คือการรับประกันความปลอดภัยของครอบครัวในกระบวนการร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรม เพราะเมื่อการบังคับสูญหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้กระทำผิดยังคงลอยนวล และมีอำนาจในหน้าที่การงาน การคุกคามต่อครอบครัวจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบ รัฐต้องประเมินความเสี่ยงและออกแบบการดูแลความปลอดภัยร่วมกับครอบครัว และข้อจำกัดเรื่องงบประมาณต้องไม่ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการยุติการคุ้มครองอีกต่อไป

 

รัฐบาลต้องให้ครอบครัวมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยในกระบวนการหาตัวผู้สูญหายเพื่อความโปร่งใสและยุติธรรม การตัดสิทธิของครอบครัวในการมีส่วนร่วมทำให้การค้นหาตัวผู้สูญหายไม่รอบด้าน อีกทั้งยังอาจมีการปกปิดความจริงที่เกิดขึ้น

 

ข้อเรียกร้องต่อมาตรา 13 เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยบังคับใช้มาตรา 13 อย่างเข้มงวด ป้องกันการส่งกลับ (Non-Refoulement) ซึ่งระบุว่าห้ามมิให้มีการส่งกลับบุคคลไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงว่าจะถูกบังคับให้สูญหายหรือถูกทรมาน

 

ที่สำคัญที่สุดคือ การขจัดทัศนคติเชิงลบต่อครอบครัว การสร้างภาพให้ผู้สูญหายเป็นคนไม่ดี ทำให้ครอบครัวต้องเผชิญกับการตีตราจากสังคม ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็กให้มีชีวิตอย่างหวาดกลัว และไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัย

 

เราขอเน้นย้ำว่า เราจะไม่หยุดส่งเสียงจนกว่าความจริงและความยุติธรรมจะปรากฏ และผู้สูญหายจะกลับคืนสู่ครอบครัว

 

ในโอกาสวันแห่งการรำลึกถึงผู้ถูกบังคับสูญหายสากล เราขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจในโอกาสที่ประเทศไทยมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และอนุสัญญาการบังคับสูญหาย สหประชาชาติมีผลบังคับใช้ เรายืนยันการให้ความร่วมมือกับรัฐในการค้นหาความจริงและความยุติธรรม เราอยากบอกกับรัฐว่า ในฐานะครอบครัวซึ่งส่วนมากคือผู้หญิงและเด็ก เราถูกทำให้อยู่กับความหวาดกลัว ถูกทำให้สูญเสียอัตลักษณ์ ถูกตีตรา และเพศยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการลดทอนคุณค่าและศักดิ์ศรีของเรา เจ้าหน้าที่รัฐอาจไม่รู้ว่าในแต่ละปีแม่ๆ หลายคนตายจากไปโดยไม่ทราบความจริงว่าลูกๆ ของพวกเธอหายไปไหน ในฐานะครอบครัว เราขอบคุณมิตรภาพและกำลังใจจากผู้คนร่วมสังคม เราเชื่อมั่นว่าการต่อสู้ของผู้หญิงจะสร้างความตระหนักแก่สังคมถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ไม่อาจมีผู้ใดพรากไปได้ และเราอยากบอกกับรัฐว่า แม้จะล้มเหลว สิ้นหวัง หวาดกลัว และเจ็บปวด แต่ผู้หญิงในฐานะครอบครัวก็ไม่เคยสูญสิ้นความหวัง เรายังคงความเชื่อมั่นว่ากฎหมายจะคืนความเป็นธรรมให้ผู้ถูกบังคับสูญหายทุกคน และสักวันความจริงจะปรากฏ และผู้สูญหายจะกลับคืนสู่ครอบครัวซึ่งเป็นที่รักของพวกเขา

 

 

ขณะที่ช่วงท้ายงานครอบครัวของผู้สูญหายร่วมกันอ่านบทกวีเพื่อรำลึกถึงคนในครอบครัวที่ถูกบังคับให้สูญหาย นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานทุกคนยังนำดอกไม้ที่แสดงถึงการต่อสู้ไปวางไว้หน้ารูปของผู้ถูกบังคับให้สูญหายทุกคนอีกด้วย

The post สูญหายแต่ไม่สิ้นหวัง ขอรัฐบาลใหม่คืนความเป็นธรรม ให้ครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
มึนอ ภรรยาบิลลี่ ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด หลังดีเอสไอส่งความเห็นแย้งการเสียชีวิตของบิลลี่ https://thestandard.co/ask-for-justice-attorney-general-after-dsi-submitted-an-opinion-contradicting-the-death-billy/ Thu, 27 Aug 2020 10:52:55 +0000 https://thestandard.co/?p=392199 พิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของ พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและที่ทำกินให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงลุ่มน้ำแก่งกระจาน

วันนี้ (27 สิงหาคม) พิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของ […]

The post มึนอ ภรรยาบิลลี่ ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด หลังดีเอสไอส่งความเห็นแย้งการเสียชีวิตของบิลลี่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของ พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและที่ทำกินให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงลุ่มน้ำแก่งกระจาน

วันนี้ (27 สิงหาคม) พิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของ พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและที่ทำกินให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงลุ่มน้ำแก่งกระจาน พร้อมด้วยสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแก่งกระจาน เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด เกี่ยวกับการพิจารณาสำนวนคดีฆาตกรรมบิลลี่ 

 

สืบเนื่องจากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ทำความเห็นแย้งกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ช่วงปี 2551-2557 กับพวกรวม 4 คน ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และข้อหาร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว

 

โดย วราภรณ์ อุทัยรังษี หนึ่งในทีมทนายความ ระบุว่า ตามหนังสือร้องขอความเป็นธรรมได้ขอให้ทางอัยการสูงสุด พิจารณาประเด็นที่กลุ่มผู้ต้องหาได้ควบคุมตัวบิลลี่ ก่อนหายตัวไปจนกระทั่งพบศพว่า เป็นการควบคุมตัวโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 

 

พร้อมขอให้อัยการสูงสุดสั่งให้พนักงานสอบสวน สอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นที่ผู้ต้องหามีความพยายามเบี่ยงประเด็นว่าพบบิลลี่ตามสถานที่ต่างๆ และปล่อยข่าวว่ากระดูกที่พบเกิดจากการลอยอังคาร ซึ่งไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น โดยถือว่าเป็นการแสดงเจตนาไม่บริสุทธิ์ รวมทั้งยังปรากฏการคุกคามพยานกลุ่มชาติพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้ามีหลักฐานชัดเจนจะยื่นขอให้ศาลถอนคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา

 

ขณะเดียวกัน มึนอให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดยระบุว่าถึงแม้การเข้ายื่นเรื่องครั้งนี้จะเป็นครั้งแรก แต่ก็มีความหวังอยู่ลึกๆ ว่าจะมีความเป็นธรรมเกิดขึ้นกับครอบครัวบ้าง ส่วนสภาพความเป็นอยู่ขณะนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงต่อสู้เรียกร้องเรื่องที่ดินทำกิน เพราะชาวบ้านล้วนแต่ยังประสบความเดือดร้อนอยู่ อีกทั้งชาวบ้านยังคงมีความหวาดกลัว เพราะมีการปล่อยข่าวในทางข่มขู่ ให้เกิดความรู้สึกกลัวอยู่ตลอด

 

ทางด้าน วรวุฒิ วัฒนอุตถานนท์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ ที่เดินทางมารับหนังสือในครั้งนี้ เปิดเผยว่าหลังจากได้รับหนังสือแล้ว เรื่องของกระบวนการหลังจากนี้ สำนักงานคดีชี้ขาดจะเป็นผู้พิจารณาและนำเสนอความเห็นไปที่อัยการสูงสุด และทางอัยการสูงสุดจะเป็นผู้วินิจฉัย และออกคำสั่งชี้ขาด ว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องในคดีนี้ ขณะที่เรื่องของกรอบเวลานั้นยังไม่สามารถกำหนดได้ 

 

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า หากเกิดการสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้ จะสามารถยื่นร้องขอความเป็นธรรมได้อีกครั้งหรือไม่ 

 

วรวุฒิ ระบุว่า “ถ้าสั่งไม่ฟ้องก็น่าจะจบแล้ว นอกจากมีพยานหลักฐานใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ต้องมาดูกันอีกที เพราะคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ถ้าสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องไปแล้ว นอกจากพยาน-หลักฐานใหม่ อาจมีการยกขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง เหมือนคดี บอส อยู่วิทยา”

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post มึนอ ภรรยาบิลลี่ ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด หลังดีเอสไอส่งความเห็นแย้งการเสียชีวิตของบิลลี่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
“คนดีไม่มีที่ยืน” เสียงในใจของ ‘มึนอ’ ภรรยา ‘บิลลี่’ เหยื่อของการบังคับสูญหาย https://thestandard.co/pinnapha-phrueksapan-billy-disappeared-karen-activist-2/ Thu, 05 Sep 2019 06:18:13 +0000 https://thestandard.co/?p=284566 บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ

เวลาผ่านไปแล้ว 5 ปี หลังบิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ ชาวกะเ […]

The post “คนดีไม่มีที่ยืน” เสียงในใจของ ‘มึนอ’ ภรรยา ‘บิลลี่’ เหยื่อของการบังคับสูญหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ

เวลาผ่านไปแล้ว 5 ปี หลังบิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ ชาวกะเหรี่ยงโป่งลึก-บางกลอย ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจับกุมระหว่างนำน้ำผึ้งออกจากพื้นที่อุทยานโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อนจะหายสาบสูญไป โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าเขาเป็นเหยื่อของการ ‘บังคับสูญหาย’ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ

 

ล่าสุดดีเอสไอแถลงความคืบหน้า ระบุว่าบิลลี่เสียชีวิตแล้ว และถูกนำร่างไปเผาทำลายเพื่ออำพรางคดี ขณะที่คนร้ายยังคงลอยนวล เพราะอยู่ระหว่างการสืบสวนต่อไป ส่วนคนที่อยู่ข้างหลังอย่างมึนอ และลูกๆ อีก 5 คน ยังคงรอคอยความหวังในวันที่ความจริงจะปรากฏ

The post “คนดีไม่มีที่ยืน” เสียงในใจของ ‘มึนอ’ ภรรยา ‘บิลลี่’ เหยื่อของการบังคับสูญหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
มึนอ-พิณนภา: ทำไมเขาทำกับบิลลี่ได้ถึงขนาดนี้ https://thestandard.co/pinnapha-phrueksapan-billy-disappeared-karen-activist/ Wed, 04 Sep 2019 09:02:17 +0000 https://thestandard.co/?p=284360 บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ

“ทำไมบนโลกนี้ คนดีๆ ไม่มีที่ให้ยืน ทำไมคนไม่ดีมีที่ให้ย […]

The post มึนอ-พิณนภา: ทำไมเขาทำกับบิลลี่ได้ถึงขนาดนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ

“ทำไมบนโลกนี้ คนดีๆ ไม่มีที่ให้ยืน ทำไมคนไม่ดีมีที่ให้ยืนอยู่นาน อยากฝากไปถึงทางกระบวนการที่ทำกับบิลลี่ว่า ถ้าเป็นครอบครัวเขาหรือญาติพี่น้องเขา เขาจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำไมเขาถึงทำกับบิลลี่ได้ถึงขนาดนี้ จิตใจเขาไม่ใช่มนุษย์แล้วใช่ไหม” 

 

นี่คือความรู้สึกในใจของ มึนอ-พิณนภา พฤกษาพรรณ ที่เปิดใจล่าสุดกับ THE STANDARD กรณีดีเอสไอแถลงความคืบหน้าคดี บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ แกนนำประชาชนชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย ว่าเสียชีวิตแล้ว โดยเขาเป็นสามีของเธอ และพ่อของลูกอีก 5 คน 

 

ระหว่างเธอเผยความรู้สึกด้วยตนเองที่ศาลาประชาคม บ้านป่าเด็งใต้ ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี คราบน้ำตาและความรู้สึกอัดอั้น ไม่อาจห้ามให้เธอต้องปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกมา นี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่ประชาชนผู้ลุกขึ้นมายืนหยัดต่อสู้เพื่อผืนดินและผู้คนอันเป็นที่รัก จะมีชะตากรรมชีวิตเช่นเดียวกับเรื่องราวของบิลลี่

 

บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ

 

5 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 บิลลี่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจับกุมในระหว่างนำน้ำผึ้งออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตัวอ้างว่าได้ปล่อยตัวบิลลี่พร้อมรถจักรยานยนต์ และน้ำผึ้งของกลางไปโดยไม่ได้ดำเนินคดี แต่มึนอภรรยาของบิลลี่และญาติเชื่อว่าเขาหายสาบสูญไปโดยถูกบังคับสูญหาย

 

มึนอกลายเป็นที่รู้จักของสังคมไทยในฐานะภรรยาของนักสู้เพื่อชาติพันธุ์ บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ ชาวกะเหรี่ยงโป่งลึก-บางกลอย ตำบลแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี  

 

ประเด็นการหายตัวไปของสามี และกิจกรรมการต่อสู้ของเธอกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับสากล ที่องค์กรต่างๆ ในประเทศและต่างชาติเข้ามามีบทบาทในการเคลื่อนไหว

 

3 กันยายน 2562 พ.ต.อ. ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแถลงข่าวความคืบหน้าของคดีนี้ หลังดีเอสไอมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561 ให้การกระทำความผิดทางอาญาอื่นกรณีการหายตัวไปของบิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ เป็นคดีพิเศษที่ต้องสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 

 

สรุปสาระสำคัญของการแถลงข่าวได้ว่า จากการตรวจหาพยานหลักฐานที่พื้นที่ใต้น้ำบริเวณสะพานแขวน เขื่อนแก่งกระจาน สามารถตรวจพบชิ้นส่วนกระดูก จำนวน 2 ชิ้น ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร จำนวน 1 ถัง เหล็กเส้น จำนวน 2 เส้น ถ่านไม้ จำนวน 4 ชิ้น และเศษฝาถังน้ำมัน จากนั้นได้ส่งให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ทำการตรวจพิสูจน์พบว่า

 

“วัตถุเป็นชิ้นส่วนกระดูกกะโหลกศีรษะข้างซ้ายของมนุษย์ มีรอยไหม้สีน้ำตาล ร่วมกับรอยแตกร้าว และการหดตัวของกระดูกจากการถูกความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 200-300 องศาเซลเซียส ตรวจพบสารพันธุกรรมตรงกับ โพเราะจี รักจงเจริญ มารดาของพอละจี รักจงเจริญ” 

 

เมื่อพิจารณาจากสถานที่เกิดเหตุ (Crime Scene) พยานหลักฐานในสำนวนอื่นประกอบ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษจึงเชื่อว่า วัตถุดังกล่าวเป็นกระดูกของ “พอละจี รักจงเจริญ ที่เสียชีวิตแล้วโดยไม่ทราบวิธีที่ทำให้ตาย แต่นำมาเผาทำลายเพื่ออำพรางคดี”

 

“ได้รู้ว่าบิลลี่เสียชีวิตไปแล้ว ได้รู้ว่าอยู่ที่สุดท้ายที่แก่งกระจาน อยากถามไปถึงกระบวนการที่ทำบิลลี่ว่าบิลลี่ไปทำอะไรผิด เขาถึงเอาชีวิตบิลลี่ไป อยากให้คนที่ทำออกมาชี้แจง บอกครอบครัว ญาติพี่น้องว่า ทำไมต้องเอาตัวบิลลี่ไป เพราะอะไรถึงต้องเอาชีวิตบิลลี่ไป” มึนออธิบายความรู้สึกพร้อมตั้งคำถามหลังได้รับทราบการแถลงข่าวของดีเอสไอเมื่อวานนี้

 

มึนอบอกว่า “คิดไว้แล้วว่าบิลลี่น่าจะไม่มีชีวิตอยู่ตั้งแต่วันแรกที่ถูกคุมตัวไป” เธอขยายความว่าถ้าบิลลี่ไม่เลือกที่จะทำงานแบบนี้ ไปทำงานอย่างอื่นคงจะมีชีวิตอยู่ได้ 

 

บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ

ภาพคุณแม่ของมึนอและรถจักรยานยนต์พ่วงข้างที่เธอใช้เป็นยานพาหนะมาพบกับเราในวันนี้

 

มึนอ เกิดในครอบครัวที่พ่อแม่มีลูกถึง 12 คน แต่พี่ๆ และน้องๆ ของมึนอล้มป่วยและเสียชีวิตจากไป เหลือเพียงพี่ชายของมึนอ 2 คน และตัวมึนอเอง เธอโชคดีที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา เรียกว่าเป็นแม่สมัยใหม่ เธอจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ทำให้มีความรู้พอจะสอนลูก 5 คนของเธอได้บ้าง

 

“เด็กๆ ก็จะติดตามข่าวตลอด เขาก็รู้ว่าพ่อเขาถูกคุมตัวไป แต่ไม่รู้ว่าคนร้ายจับตัวไป เขาก็รู้สึกไม่สบายใจ” มึนอบอกเล่าถึงความรับรู้ถึงพ่อของลูกๆ ทั้ง 5 คน

 

มึนอขยายความอีกว่า คนทั้งคนหายไป ไม่ได้ไปเที่ยวในป่า เอารถเครื่องลงป่าเข้ามาในเมือง แล้วก็หายไปเกือบ 5 ปี “ไม่ได้อยากให้เป็นอย่างที่คิด แต่สุดท้ายก็เป็นอย่างที่คิดไว้ 

 

“ไม่เคยคิดว่าจะเป็นแบบนี้ แต่พอเมื่อวันที่เห็นข่าวก็รู้สึกว่า บนโลกนี้ทำไมถึงมีคนที่โหดเหี้ยมได้มากขนาดนี้ 

 

“เพราะเราไม่ใช่คนใหญ่คนโต หรือเราเป็นผู้น้อยเขาเลยไม่เห็นคุณค่าของเรา ที่ผ่านมาเหมือนคนทำงานก็เข้าข้างคนกระทำความผิด น้อยใจในความเป็นคนดี ว่าเป็นไปได้ยังไงที่คนทำความดีแล้วไม่ได้ดี แต่คนชั่วกลับอยู่ได้นาน 

 

“บิลลี่จะบอกตลอดว่า ถ้าเขาเข้าไปช่วยปู่ (ปู่คออี้ หรือโคอิ มีมิ) จะทำให้ฝ่ายรัฐที่เกี่ยวข้องไม่พอใจเขา เขาบอกว่าวันใดวันหนึ่งระหว่างเดินทางไปไหนมาไหน แล้วเขาหายตัวไป ไม่ต้องเป็นห่วง ไม่ต้องคิดมาก ให้รู้แต่ว่าถูกฆ่าไปนานแล้ว พอเขาหายตัวไปก็เลยเชื่อว่าเขาถูกฆ่าตั้งแต่วันแรกแล้ว

 

“เขาสั่งไม่ให้ตามหาเขา ไม่ให้เป็นห่วงเขา หนูทำตามที่เขาขอไว้ไม่ได้ คือคนทั้งคน เขาเป็นคน ขนาดสัตว์ยังมีความหมาย ทำไมชีวิตคนถึงไม่มีความหมาย”

 

มึนอบอกว่า เธออยากจะรู้ว่าใครเป็นคนทำ และจะเรียกร้องความยุติธรรมให้เขา ถึงแม้ว่าจะเป็นความจริงที่ไม่อยากเจอ แต่ก็จะตามหาความยุติธรรมให้ถึงที่สุด มึนอได้คุยกับสามีครั้งสุดท้ายคือกลับมาเล่นสงกรานต์ที่บ้านในปีนั้น หลังจากนั้นเขากลับไปที่ อบต. และกลับไปหาแม่ที่ห้วยแม่เพรียง แก่งกระจาน เขาไม่ได้บอกว่าเขาจะกลับมาเมื่อไร ทราบอีกทีคือพี่ชายของบิลลี่โทรมาบอกว่าบิลลี่หายไป ไม่สามารถติดต่อได้ เมื่อพยายามติดต่อไปหาเพื่อนก็ได้คำตอบว่าไม่มีใครพบเห็นเขาเลย

 

บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ

 

มึนอมองความยุติธรรมหลังการแถลงของดีเอสไอว่า “เชื่อมั่นมากขึ้นนิดหนึ่ง” มึนอบอกว่า อยากน้อยก็รู้สึกว่าเรายังมีโอกาสได้รับความยุติธรรมบ้าง ก็จะปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม 

 

มึนอฝากถึงเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบคดีนี้ว่า “อยากฝากให้เขาเอาคนที่ทำจริงมา โดยที่ไม่ใช่แพะ คนที่ทำก่อกรรมไว้ก็ขอให้กรรมตามสนอง” เธอย้ำว่าตัวการที่ทำบิลลี่ ต้องออกมาชี้แจงให้เข้าใจ และต้องรับโทษไปตามกฎหมาย

 

ส่วนที่ผ่านมานั้นดีเอสไอได้ติดต่อเข้ามา และบอกความคืบหน้าทางโทรศัพท์เป็นระยะ หรือเรียกเราไปให้ข้อมูล 

 

5 ปีที่มึนอลุกขึ้นมาต่อสู้ปกป้องสิทธิของเธอและครอบครัว เธออยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เข้าใจวิถีชีวิตชาติพันธุ์ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยง อยากให้ยอมรับและเข้าใจถึงสิทธิที่พวกเราควรได้รับ อยากให้เลิกอคติกับพวกเราชาวชาติพันธุ์

 

“ถ้าเป็นคนที่ประสบแบบตัวเรา อยากบอกให้เขาทำใจตั้งแต่แรก ตั้งแต่รู้ว่าบิลลี่ถูกควบคุมตัว ถ้ามัวแต่โศกเศร้าเสียใจมันก็ทำร้ายเรามากกว่าเดิม จะได้ลืมเรื่องตรงนี้ไป 

 

“คิดกับตัวเองว่า เราไม่ได้ไปทำอะไรเขา เราก็คิดดีทำดี ทำในสิ่งที่เราต้องทำ”

 

มึนอบอกว่าในอนาคตกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับสูญหาย หากได้รับการประกาศใช้ จะดีกับคนที่ยังไม่ได้รับชะตากรรมกับสิ่งที่เกิดขึ้น ก็จะได้รับการคุ้มครองคนข้างหน้าในอนาคตต่อไป

 

จากนี้มึนอจะต้องรอให้หน่วยงานดีเอสไอทำทุกอย่างให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วถึงจะขอกระดูกของสามีเธอมาทำบุญ 

 

มึนอบอกว่าเธอได้คุยกับแม่ของบิลลี่แล้ว โดยแม่ของบิลลี่ต้องการให้มีการดำเนินการตามกฎหมาย ตรงไปตรงมาในส่วนที่ต้องทำตามขั้นตอน

 

เธอบอกว่า ชาวบ้านด้วยกันเคยขอให้เธอหยุดเคลื่อนไหวเรื่องนี้ “คนคนนั้นเป็นคนเส้นใหญ่” เขาก็จะพูดกรอกหูเราตลอด “แต่เราไม่กลัว เราก็ไปเรียกร้องตามสิทธิที่เราควรได้รับ

 

“เราไม่ได้ไปทำอะไรใคร เราก็ทำตามหน้าที่ที่เราควรได้รับสิทธิ” มึนอย้ำ

 

บิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ

 

“ถ้านึกถึงบิลลี่ ส่วนมากก็จะนึกถึงสิ่งที่บิลลี่ทำดี ช่วยเพื่อน ช่วยคนนั้นคนนี้ ในหัวก็จะมีเรื่องที่บิลลี่ได้ทำมา เขาไปเรียกร้องสิทธิให้กับปู่ มันเป็นสิ่งที่เขาควรได้รับ ไม่สมควรที่จะให้เขาออกจากพื้นที่เขา เขาอยู่มาร้อยปีแล้ว” ความรู้สึกในใจที่มึนอบอกกับ THE STANDARD ก่อนจบการสนทนาที่บ้านป่าเด็งใต้ ผืนดินแก่งกระจานอันเป็นผืนดินเกิดของบิลลี่ กระทั่งเขาจากไปในที่สุด 

 

เมื่อ 3 ปีก่อนผู้เขียนได้เคยไปเที่ยวบริเวณสะพานแขวนเขื่อนแก่งกระจาน ในจุดที่ดีเอสไอพบถังน้ำมันกับกระดูกของบิลลี่ นี่คือที่เดียวกับสะพานพี่โชนในหนัง ‘สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ารัก’ ที่ชอบมีแฟนคลับชาวจีนไปตามรอย คนไทยจำนวนมากก็ไปตามรอยอยู่ คำถามสำคัญคือ เราควรจะทำอะไรให้เป็นที่ระลึกถึงบิลลี่ และความโหดเหี้ยมของสิ่งที่เกิดขึ้นตรงจุดนี้หรือไม่ 

 

ด้วยความเคารพต่อวิญญาณของผู้สูญเสีย

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post มึนอ-พิณนภา: ทำไมเขาทำกับบิลลี่ได้ถึงขนาดนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>