มาเฟีย – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 12 May 2024 09:01:32 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 มหาดไทยเร่งสปีดปราบมาเฟีย ปิดฉากมหากาพย์ทวงที่ดิน 5 หมื่นล้าน คืนหาดเลพังให้ภูเก็ต https://thestandard.co/interior-ministry-crackdown-on-mafia/ Mon, 13 May 2024 02:00:16 +0000 https://thestandard.co/?p=932503

‘เกาะภูเก็ต’ ไข่มุกอันดามัน แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสี […]

The post มหาดไทยเร่งสปีดปราบมาเฟีย ปิดฉากมหากาพย์ทวงที่ดิน 5 หมื่นล้าน คืนหาดเลพังให้ภูเก็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘เกาะภูเก็ต’ ไข่มุกอันดามัน แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก

 

ในช่วงที่ผ่านมาปรากฏรายงานข่าวต่อเนื่องว่า ภูเก็ตเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีผู้มีอิทธิพลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มักมีลักษณะเป็นการข่มเหงและรังแกประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้มีอิทธิพลชาวต่างชาติ

 

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามและรับฟังรายงานผลการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจุบันมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตราว 1.4 ล้านคน เป็นสัญชาติรัสเซียมากที่สุด พบผู้กระทำผิดที่เป็นชาวต่างชาติและมีการดำเนินคดีเพิกถอนการอยู่ต่อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 98 ราย

 

นายกรัฐมนตรีออกปากสั่งด้วยตนเองว่า “รัฐบาลลงทุนที่ภูเก็ตเป็นแสนล้าน แต่ถ้ามีการกระทำที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น เช่น กรณีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาทำมาหากินอย่างไม่ถูกต้อง ที่ลงทุนจะพังพินาศได้ ขอให้ช่วยกันดูให้ดี เพราะเราลงทุนไปสูง ไม่อยากให้น้ำผึ้งหยดเดียวเป็นปัญหาให้เรื่องที่เราทำเสียหาย”

 

ทำให้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะเจ้ากระทรวงที่กำกับดูแลปัญหาการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ลงพื้นที่มามอบนโยบาย รวมถึงร่วมปล่อยแถวการสนธิกำลังฝ่ายตำรวจ ทหาร และพลเรือน พร้อมขบวนรถในการปฏิบัติภารกิจจัดระเบียบสังคมในพื้นที่

 

อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ร่วมปล่อยแถวกำลังฝ่ายตำรวจ ทหาร และพลเรือน

พร้อมขบวนรถในการปฏิบัติภารกิจจัดระเบียบสังคมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 

 

อนุทินชูนโยบายการจัดระเบียบสังคมและปราบปรามผู้มีอิทธิพล เป็นนโยบายที่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยที่ประชาชนจะต้องรู้สึกอุ่นใจและมั่นใจว่าจะพึ่งพาเราได้ 

 

“วันนี้มีเรื่องของผู้มีอิทธิพล มาเฟีย สิ่งที่ผมรับไม่ได้เลยคือ การที่มีคนต่างชาติมาคุกคามพี่น้องร่วมชาติเรา ตรงนี้ถ้าใครรับได้ ผมว่าไม่สมควรเป็นข้าราชการ เราต้องรักษาเกียรติยศเกียรติภูมิของประชาชนเราด้วย ประเทศไทยแม้จะเป็นสยามเมืองยิ้มให้การต้อนรับทุกคน แต่เขาก็ต้องเคารพกฎหมายของเรา” อนุทินกล่าว

 

ในวันเดียวกัน เขาได้แถลงผลการปราบปรามผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า พบการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การประกอบธุรกิจโรงแรมที่ไม่ได้มีใบอนุญาตทั้งสิ้น 21 แห่ง และยังพบอีกว่า ในหลายแห่งเป็นลักษณะของนอมินีที่มีนายทุนเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกติดตามดำเนินคดีต่อไป

 

“ไม่ได้ต้องการที่จะปิดโอกาสใคร แต่ต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายที่ถูกกำหนดไว้ หากเราไม่ทำงานอย่างเต็มที่ อาจจะเกิดกรณีแบบทัวร์ศูนย์เหรียญ คือต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจ แต่ประเทศไทยกลับไม่ได้อะไรเลย” อนุทินกล่าว

 

อีกทั้งยังพบว่า มีการเลี่ยงภาษีและใช้บัญชีปลอมด้วย เราจะดำเนินการไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้น โดยจะเริ่มนำร่องในภูเก็ตเป็นจังหวัดแรก และหลังจากนั้นจะขยายผลไปจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ ต่อไป เพื่อให้เราได้ดำเนินการ ดำเนินคดี หรือปราบปรามผู้ที่กระทำผิดกฎหมายในระดับประเทศต่อไป 

 

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า มีชาวต่างชาติทำธุรกิจที่เข้าข่ายการฟอกเงิน มีการเปิดหน้าร้านเป็นที่แลกเงิน แต่ในความเป็นจริงแอบขายเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีด้วย

 

ดังนั้นจึงต้องช่วยกันปราบปราม และเราจะดำเนินการอย่างเต็มที่ให้บุคคลที่กระทำความผิดตามกฎหมายไม่สามารถดำเนินการได้ต่อไป

 

คืนหาดเลพังสู่ประชาชนทุกคน

 

การลงพื้นที่ของอนุทินในครั้งนี้ อีกภารกิจที่สำคัญของเขาในฐานะ มท.1 คือ การเป็นประธานในพิธีคืนชายหาดเลพัง หนึ่งในหาดที่มีความสงบและสวยงาม มีความยาว 2 กิโลเมตร บริเวณตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่มีมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท คืนสู่คนภูเก็ต

 

กว่า ‘หาดเลพัง’ จะกลับมาเป็นที่ดินของหลวง เป็นพื้นที่ที่ทุกคนในผืนแผ่นดินสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้นั้น พื้นที่แห่งนี้ได้ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านการฟ้องร้องทางกฎหมายระหว่างรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่อ้างสิทธิครอบครองที่ดินมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ 

 

แต่สุดท้ายศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อปี 2560 ให้จังหวัดภูเก็ตชนะคดี และเข้ารื้อถอนทั้งสิ้น 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ปี 2561, ครั้งที่ 2 ปี 2564 และครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นการปิดตำนานทวงคืนหาดเลพังได้สำเร็จ

 

อนุทิน ชาญวีรกูล กำลังดูประกาศของกรมที่ดิน

ที่ระบุให้หาดเลพังเป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

 

อนุทินกล่าวว่า จากนี้ชายหาดเลพัง 172 ไร่นี้ เป็นสมบัติของพี่น้องชาวภูเก็ตทุกคน แต่ด้วยความหละหลวมของกฎระเบียบ ทำให้มีผู้ที่เห็นแก่ตัวพยายามอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของชายหาดแห่งนี้ ซึ่งประชาชนต้องต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมมายาวนานหลายสิบปี ตนจึงขอให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่สุดท้ายของการกระทำลักษณะดังกล่าว 

 

“ขอให้มั่นใจได้ว่า ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินจะอยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชน และพร้อมจะปกป้อง พิทักษ์สิทธิ และรักษาผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชน” อนุทินกล่าว

 

ขณะที่ มาโนช พันธ์ฉลาด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กล่าวทั้งน้ำตา ขณะร่วมพิธีมอบที่ดินหาดเลพังพื้นที่ 172 ไร่ ให้มาอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันว่า สำหรับที่ดินแปลงนี้มีการต่อสู้กันมายาวนานกว่า 23 ปีแล้ว 

 

วันนี้เป็นวันที่สร้างความดีใจให้ในพื้นที่เป็นอย่างมาก 23 ปีที่ผ่านมา ประชาชนและส่วนราชการได้พยายามปกป้องและทวงคืนพื้นที่นี้ให้เป็นสมบัติของชาติ ซึ่งตนเองในฐานะตัวแทนชาวบ้านต้องขอขอบคุณทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้มีวันนี้ วันที่คนทั้งชาติ คนภูเก็ตได้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้ร่วมกัน

 

มาโนช พันธ์ฉลาด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล

โผเข้ากอด อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งน้ำตา

 

“ที่ดินแปลงนี้มีมูลค่ามากมายมหาศาล และมีคุณค่าต่อชาวจังหวัดภูเก็ต หลังจากทราบว่ามีการลงนามมอบที่ดินแปลงนี้ให้เป็นสมบัติของทุกคน น้ำตาแห่งความปีติก็ไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว ตลอด 23 ปีที่ผ่านมา เป็นการต่อสู้กับใครไม่รู้ แต่รู้ว่าคนเหล่านั้นมีพลังมากมาย แต่สุดท้ายความร่วมมือของหน่วยงานรัฐและประชาชนก็ประสบความสำเร็จ วันนี้ที่ดินแปลงนี้กลับมาเป็นของส่วนรวม ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้แล้ว” มาโนชกล่าวทั้งน้ำตา 

 

ส่วน พรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า บริเวณหาดเลพัง หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลแจ้งความประสงค์ต่อนายอำเภอถลาง ขอสงวนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน 

 

อำเภอได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว ปรากฏว่าที่ดินที่ขอสงวนเป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีต้นสนทะเลขึ้นตลอดแนว และในระวางรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายไว้เมื่อปี 2521 ไม่ปรากฏร่องรอยการทำประโยชน์ในที่ดินแต่อย่างใด 

 

อำเภอถลางเห็นว่า การสงวนที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อรักษาที่ดินไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ หากปล่อยปละละเลยให้มีการบุกรุกเข้ายึดถือครอบครอง จะเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ที่ชายหาดได้

 

ต่อมาปี 2545 จังหวัดภูเก็ตเห็นชอบให้อำเภอถลางดำเนินการสงวนหวงห้ามเพื่อให้พลเมืองใช้ร่วมกัน โดยให้ดำเนินการตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (ปี 2529) ต่อมาอำเภอถลางได้มีประกาศลงวันที่ 16 มิถุนายน 2546 เรื่อง ที่ดินที่จะสงวนหรือหวงห้ามเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้ประชาชนทั่วไปทราบทั่วกัน โดยแสดงขอบเขตที่ดินที่จะสงวนเนื้อที่ประมาณ 178 ไร่ 

 

ปรากฏว่ามีผู้คัดค้าน จำนวน 9 ราย ไปใช้สิทธิทางศาล จำนวน 7 ราย และไม่ไปใช้สิทธิทางศาล จำนวน 2 ราย ซึ่งทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาแล้วว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐ เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่าในปี 2565 องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เห็นสมควรสงวนหวงห้ามที่ดินบริเวณชายหาดเลพัง หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 172-3-18 ไร่ 

 

ชาดา ไทยเศรษฐ์ ระหว่างร่วมงานเปิดกิจกรรมคืนชายหาดเลพังให้ชาวภูเก็ต 

 

ขณะที่ ชาดา ไทยเศรษฐ์ กล่าวกับ THE STANDARD ว่า ตนเองรู้สึกตื้นตันใจ ระยะทางของหาดเลพังกว่า 2 กิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่กว่า 100 ไร่นี้ ถูกเอกชนยึดไป และรัฐเองก็ต้องต่อสู้มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ในวันนี้ได้คืนพื้นที่ สามารถทำสำเร็จในยุคนี้ เราก็รู้สึกดีใจที่เราสามารถคืนพื้นที่ทะเลอันสวยงามนี้ให้กับประชาชนได้มาใช้ประโยชน์ และเป็นความภาคภูมิใจของกระทรวงมหาดไทยด้วย

 

“เราภาคภูมิใจที่เราสามารถนำของหลวงกลับมาคืนให้กับประชาชน แผ่นดินตรงนี้กลับมาเป็นของเราทุกคนแล้ว จากนี้หาดเลพังจะเป็นความงดงามของภูเก็ต ไข่มุกอันดามันที่แท้จริงอีกครั้ง และเชื่อว่าจะสามารถเปล่งประกายทางเศรษฐกิจแก่คนไทยอีกมาก” ชาดากล่าว 

 

บรรยากาศยามเย็นที่ชายหาดเลพัง ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

พบนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมาเดินเล่น

 

ย้อนตำนานมหากาพย์ทวงคืนหาดเลพัง 

 

หาดเลพังเกิดข้อพิพาททางกฎหมายขึ้น เมื่อกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และรีสอร์ตเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจังหวัดภูเก็ต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายอำเภอถลาง องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กรมที่ดิน หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตส่วนแยกถลาง ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-7

 

กรณีที่จำเลยทั้งหมดร่วมกันออกมติเห็นชอบปิดประกาศให้ที่ดินของโจทก์เป็นที่สาธารณประโยชน์ใช้ร่วมกันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโต้แย้งสิทธิครอบครอง โดยขอให้พิพากษาว่า โจทก์บางรายเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครอง เพิกถอนประกาศอำเภอถลาง คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และจำเลยอื่น ให้บังคับจำเลยยุติการสงวนที่ดินของโจทก์ที่ให้ประชาชนใช้เป็นที่สาธารณะ

 

สำหรับคำฟ้องสรุปนั้น ที่ดินพิพาทที่บรรดาโจทก์ครอบครองรวมทั้งหมด 178 ไร่ มีราษฎรเข้าถือครองใช้ประโยชน์มาก่อนปี 2489 และ 2494 ต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่น และที่ดินมีการส่งมอบสิทธิครอบครองให้กับโจทก์เข้าทำประโยชน์ และที่ดินในการครอบครองบางส่วนได้รับสิทธิครอบครองมาจากราษฎรที่รับมรดกมาจากบิดาก่อนที่ประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้ มีการยื่นขอออกโฉนดตามระเบียบราชการและตามประมวลกฎหมายที่ดิน มีคณะกรรมการตรวจสอบสรุปว่า ที่ดินไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ร่วมกัน ไม่อยู่ในเขตป่าสงวนฯ หรือป่าประเภทอื่น

 

พวกจำเลยกลับเห็นชอบนำที่ดินไปเป็นสาธารณประโยชน์ การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่ดิน จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ โดยมีพนักงานอัยการมาว่าความ และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ครอบครองที่ดินโดยสุจริต จึงไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ เพื่อถือครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

จำเลยได้ปฏิบัติราชการกระทำการตามกฎหมาย จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศตั้งแต่ปี 2510 ไม่ปรากฏการยึดถือครอบครองทำประโยชน์ ที่ดินพิพาทย่อมกลับมาในครอบครองของรัฐ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดที่ดิน ขอให้ยกฟ้องโจทก์ และขอฟ้องแย้งให้โจทก์และบริวารออกจากที่ดินพิพาท พร้อมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินด้วย

 

ในศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งหมด และให้โจทก์ที่ 1, 3, 4 และ 5 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท พร้อมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน และให้โจทก์ทั้ง 6 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 60,000 บาท 

 

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้ให้โจทก์ที่ 6 พร้อมบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้โจทก์ทั้ง 6 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยรวม 15,000 บาท

 

ส่วนศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยประกาศสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐ รวมเนื้อที่ประมาณ 178 ไร่ เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันตามความในประมวลกฎหมายที่ดิน แต่โจทก์อ้างว่าไม่ใช่ที่ดินของรัฐ บางส่วนเป็นที่ดินของโจทก์ทั้ง 6 มีปัญหาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทโจทก์ทั้ง 6 มีสิทธิครอบครองหรือเป็นที่ดินของรัฐตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่

 

ฝ่ายโจทก์ทั้ง 6 อ้างว่า รับโอนที่ดินมาจากผู้ครอบครองที่ดินคนก่อน ซึ่งครอบครองก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2497 จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทคนก่อนได้สิทธิครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2497 หรือไม่ เห็นว่าพยานโจทก์หลายปากไม่มีการนำสืบให้เห็นว่าผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท เริ่มครอบครองเมื่อใด และมีการโอนขายเป็นทอดๆ อย่างไร เป็นการนำสืบไม่สมฟ้อง เป็นการกล่าวอ้างเลื่อนลอย

 

ถึงแม้พยานบางปากสืบพอฟังได้ว่า ข้อเท็จจริงมีราษฎรครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ก่อน แต่ต้องถือว่ามีเจตนาสละการครอบครองตามบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ปรากฏว่ามีการผ่อนผันให้เฉพาะราย ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่า ราษฎรที่กล่าวอ้างมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้จะมีการโอนหลายทอดมาถึงโจทก์

 

ส่วนฝ่ายจำเลยมี รุจิรา ฉิมดี นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ กรมที่ดิน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำศาลยุติธรรม เบิกความประกอบรายงาน ผลการแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศ ปรากฏว่าที่ดินทั้ง 8 แปลง 178 ไร่ บนระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศปี 2510 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าชายหาด มีน้ำทะเลขึ้นตามลำดับ บางส่วนมีเหมืองแร่ ส่วนในปี 2538 พื้นที่ส่วนใหญ่ถึงมีปรากฏการณ์เพาะปลูกผลไม้ บางส่วนเป็นหมู่บ้านและเส้นทาง

 

แม้โจทก์จะมี พ.อ. ปิยะ จารุกาญจน์ หัวหน้าวิจัยและพัฒนา กรมแผนที่ทหาร มาเบิกความประกอบภาพถ่ายทางอากาศปี 2510 มีบ้านเรือนพักอาศัย แต่เป็นการเอาภาพถ่ายของกรมแผนที่ทหารมาถ่ายขยายเป็นเอกสารเปรียบเทียบตีความ แตกต่างกับวิธีวิเคราะห์ของรุจิราที่อ่านภาพถ่ายทางอากาศด้วยอุปกรณ์มองภาพสามมิติ ใช้ภาพ 2 ภาพ เป็นลักษณะต่อเนื่อง มีส่วนทับซ้อนพันกันมา สร้างระวางแผนที่ อ้างอิงผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิธีการอ่านแปลตีความมีความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องแม่นยำมากกว่าวิธีการของ พ.อ. ปิยะ

 

ศาลฎีกาจึงมีความเห็นว่า ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ของรัฐหรือไม่นั้น พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักรับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงยังเป็นที่ดินของรัฐที่ศาลล่างทั้ง 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้ง 2 นั้นชอบแล้ว 

 

ส่วนฎีกาของโจทก์ที่ 6 ในข้อกฎหมายฟังขึ้นบางส่วน ให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนโจทก์ที่ 6 และโจทก์ที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 อย่างไรก็ตาม คดีนี้ตามศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี และให้โจทก์ที่ 1, 3, 4 และ 5 ย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่

 

ภายหลังจากคดีได้เสร็จสิ้นลงนั้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมด้วย ร.ต.อ. ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ ศุภชัย คำคุ้ม ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาคพื้นที่ 8 เดินทางเข้าร่วมปฏิบัติการทวงคืนพื้นที่ บริเวณชายหาดเลพัง-ลายัน ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่สั่งให้ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ร่วมกัน

 

การเข้ารื้อถอนครั้งนั้นดำเนินการด้วยความเรียบร้อยโดยไม่มีผู้ขัดขวาง แต่มีบางรายที่ขอมานำสิ่งของออกไปและขอรื้อเอง โดยเจ้าหน้าที่อนุญาตให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปได้ ส่วนการรื้อถอนก็ต้องทำไปพร้อมๆ กับการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากมีการแจ้งล่วงหน้าไปก่อนแล้ว

 

อ้างอิง: 

The post มหาดไทยเร่งสปีดปราบมาเฟีย ปิดฉากมหากาพย์ทวงที่ดิน 5 หมื่นล้าน คืนหาดเลพังให้ภูเก็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำผิดต้องถูกลงโทษ! ‘อนุทิน’ กำชับเจ้าหน้าที่ปราบมาเฟียต่างชาติบังคับใช้กฎหมาย เผยหงุดหงิดมากเห็นคนไทยถูกหมิ่นเกียรติ https://thestandard.co/anutin-repeat-officer-strict-control/ Wed, 06 Mar 2024 05:55:35 +0000 https://thestandard.co/?p=907825 อนุทิน ชาญวีรกูล

วันนี้ (6 มีนาคม) อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และร […]

The post ทำผิดต้องถูกลงโทษ! ‘อนุทิน’ กำชับเจ้าหน้าที่ปราบมาเฟียต่างชาติบังคับใช้กฎหมาย เผยหงุดหงิดมากเห็นคนไทยถูกหมิ่นเกียรติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนุทิน ชาญวีรกูล

วันนี้ (6 มีนาคม) อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงปัญหาผู้มีอิทธิพลชาวต่างชาติที่ปรากฏเป็นข่าวรายวันว่า เมื่อไม่เคารพกฎหมายไทยก็เท่ากับไม่ให้เกียรติประเทศไทย ข่มเหง รังแกคนไทย แบบนี้ใช้ไม่ได้ เจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องไปกลัวเลย กฎหมายไทยครอบคลุมอยู่แล้ว แค่บังคับใช้ก็จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่น่ารัก มีแค่ส่วนน้อยมากๆ เราก็ต้องคัดออก  

 

ส่วนเรื่องมาเฟียจังหวัดท่องเที่ยวขนาดใหญ่ อนุทินกล่าวว่า ก็เริ่มมีขาใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าละเมิดกฎหมายก็ต้องจัดการใช้กฎหมายให้เด็ดขาด 

 

“ผมเป็นคนไทย เวลาเห็นคนไทยถูกไม่ให้เกียรติ ถูกรังแก ผมจะรู้สึกหงุดหงิดมาก ในเมื่อเขาไม่ให้เกียรติเรา เราก็ไม่แฮปปี้ที่จะต้อนรับคนแบบนี้ กฎหมายมีก็บังคับใช้ ใครทำผิดก็ต้องถูกลงโทษ ปัญหาหลายๆ อย่างมันเกิดจากการไม่ใช้กฎหมายนี่เอง” อนุทินกล่าว

 

เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ เพราะตอนนี้ประเทศไทยเปิดกว้างเรื่องการท่องเที่ยว และมีนโยบายฟรีวีซ่า อาจจะปล่อยให้กลุ่มต่างชาติสีเทาเข้ามาในประเทศไทย อนุทินกล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่เราต้องสกรีนกันให้ดี ใครที่ทำไม่ถูกต้องก็ต้องจัดการ เพราะบ้านเมืองเรามีกฎหมาย ซึ่งได้ย้ำไปหลายรอบแล้วว่าต้องบังคับใช้ 

The post ทำผิดต้องถูกลงโทษ! ‘อนุทิน’ กำชับเจ้าหน้าที่ปราบมาเฟียต่างชาติบังคับใช้กฎหมาย เผยหงุดหงิดมากเห็นคนไทยถูกหมิ่นเกียรติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชำแหละนโยบาย ‘คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน’ โอกาสทองที่ท้าทายภูมิใจไทย https://thestandard.co/bhumjaithai-party-mafia-gun-control-measure/ Wed, 27 Dec 2023 14:00:28 +0000 https://thestandard.co/?p=881801 มาเฟีย

‘ปราบผู้มีอิทธิพล’ เป็นหนึ่งในนโยบายที่ทุกรัฐบาลตั้งแต่ […]

The post ชำแหละนโยบาย ‘คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน’ โอกาสทองที่ท้าทายภูมิใจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
มาเฟีย

‘ปราบผู้มีอิทธิพล’ เป็นหนึ่งในนโยบายที่ทุกรัฐบาลตั้งแต่อดีตถึงจนปัจจุบันให้ความสำคัญ และมุ่งเน้นที่จะขจัดให้หมดไปในสังคมไทย แต่เหตุไฉนจึงยังไม่หมดไป มิหนำซ้ำยังสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน และยังต้องปราบปรามจนถึงทุกวันนี้

 

ก่อนหน้านี้รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศปราบปรามผู้มีอิทธิพล กวาดล้างปืนเถื่อนและอาวุธสงครามภายใน 6 เดือน แต่งตั้ง พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบ หรือย้อนไปนานกว่านั้น ในสมัยรัฐบาล คสช. ก็มี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง (ขณะนั้น) เป็นหัวเรือใหญ่ในการปราบปราม

 


 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

หรือย้อนนานไปกว่านั้นอีกในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็มีนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่พ่วงไปด้วยการประกาศทำสงครามยาเสพติดก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งยังสร้างความนิยมให้เขาอีกด้วย

 

จากซ้าย ดรีมทีมรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย 

เกรียง กัลป์ตินันท์, ชาดา ไทยเศรษฐ์, อนุทิน ชาญวีรกูล และทรงศักดิ์ ทองศรี 

ภายหลังสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงมหาดไทย ในโอกาสเข้าทำงานวันแรก 

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566
ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

กลับมาในยุคปัจจุบัน ปี 2566 เมื่อ ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ เข้ามารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เป็นช่วงคาบเกี่ยวที่เกิดเหตุอุกอาจ กรณีลูกน้องกำนันที่จังหวัดนครปฐมได้ก่อเหตุสังหาร ‘นายตำรวจน้ำดี’ จนสร้างแรงสั่นสะเทือนไปถึงทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย

 

‘อนุทิน’ ในฐานะผู้บังคับบัญชาได้ประกาศถอนรากถอนโคนปราบปรามเจ้าพ่อและมาเฟีย พร้อมกับสั่งการให้เจ้าพ่อแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง ‘ชาดา ไทยเศรษฐ์’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย ได้โชว์ฝีมือและพิสูจน์ผลงาน

 

พร้อมทั้งได้ลงนามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 2739/2566 แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยมีตนเองในฐานะเจ้ากระทรวงเป็นประธาน มี ‘ชาดา’ รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย เป็นรองประธาน และมีข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการอีก รวมทั้งสิ้น 20 ตำแหน่ง 

 

แน่นอนว่าคณะกรรมการชุดนี้ สปอตไลต์ส่องแสงไปอยู่ที่ ‘ชาดา’ ในตำแหน่งรองประธานฯ เนื่องจากเขาถูกขนานนามว่า เจ้าพ่อแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง เป็นผู้มากบารมีในจังหวัดอุทัยธานี ถือเป็นคนที่ความรู้ ความสามารถ และเคยผ่านสมรภูมิเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายกับผู้มีอิทธิพลมาก่อน

 

 

ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 

ที่มีฉากหลังเป็น ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 

ขณะกำลังสวมใส่รองเท้า ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร 

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 

ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

คณะกรรมการทั้ง 20 ตำแหน่ง มีหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทาง และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพล รวมถึงบูรณาการการปฏิบัติงานของส่วนราชการและองค์กรต่างๆ 

 

ทั้งยังมีหน้าที่ตรวจสอบกลั่นกรองข้อมูลและการข่าวเกี่ยวกับบุคคลต้องสงสัยที่มีพฤติการณ์เป็นผู้มีอิทธิพล เร่งรัด กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการและองค์กรต่างๆ ในการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพล 

 

กระทรวงมหาดไทยยังได้ระบุลักษณะ 16 พฤติการณ์ที่เข้าข่ายเป็น ‘ผู้มีอิทธิพล’ ที่รัฐบาลจะต้องเร่งปราบปรามให้หมด 

 

  1. นายทุนปล่อยเงินกู้นอกระบบ 
  2. ฮั้วประมูลงานราชการ 
  3. หักหัวคิวรถรับจ้าง 
  4. ขูดรีดผู้ประกอบการ 
  5. ลักลอบขนสินค้าหนีภาษี 
  6. เปิดบ่อนการพนัน 
  7. ลักลอบค้าประเวณี 
  8. ลักลอบนำคนเข้า-ออกประเทศโดยผิดกฎหมาย 
  9. ล่อลวงแรงงานไปยังต่างประเทศ 
  10. แก๊งต้มตุ๋นนักท่องเที่ยว 
  11. มือปืนรับจ้าง 
  12. รับจ้างทวงหนี้ด้วยการข่มขู่ใช้กำลัง 
  13. ลักลอบค้าอาวุธสงคราม/ปืนเถื่อน 
  14. บุกรุกที่ดินสาธารณะ/ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 
  15. เรียกรับผลประโยชน์บนเส้นทางหลวงสาธารณะ 
  16. ผู้มีอิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

 

‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย 

ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 52 

เปิดห้องทำงานภายในกระทรวงมหาดไทย

ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าว THE STANDARD

ภาพ: ณาฌารัฐ​ ภักดีอาสา

 

อนุทิน’ ในฐานะเจ้ากระทรวงมหาดไทย บอกกับ THE STANDARD ว่า ได้สั่งการให้ ‘ชาดา ไทยเศรษฐ์’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย ไปกำกับดูแลเป็นพิเศษแล้ว

 

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้ดำเนินการไปหลายๆ อย่าง ทั้งเรื่องการขึ้นบัญชี รวมถึงการส่งสัญญาณไปยังเจ้าตัว (ผู้มีอิทธิพล) ว่าขอให้ยุติการกระทำในลักษณะที่ข่มเหงรังแกประชาชน 

 

อนุทินได้นิยามคำว่า ‘ผู้มีอิทธิพล’ ว่าเป็นใช้อิทธิพลของตนเองไปข่มเหงรังแกผู้ที่ด้อยกว่า โดยเน้นทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบมากขึ้น  

 

“หนีกันหัวซุกหัวซุน ไม่มีที่อยู่อย่างปกติได้อีกต่อไป ถูกจับดำเนินคดี ถ้าต่อสู้ตำรวจ บางคนก็ถูกยิงเสียชีวิต บางคนหนีหัวซุกหัวซุน อยู่เป็นหลักแหล่งไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เป็นผลพวงจากการดำเนินการปราบปราม เราไม่ได้ปล่อยให้ใครอยู่ได้อย่างเป็นปกติ แม้จะมีตำแหน่งแห่งหนทางราชการ ยิ่งทำก็ยิ่งโดน โดนดำเนินคดีเหมือนคนทั่วไป ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นความชัดเจนที่เห็นและจับต้องได้ในงานของกระทรวงมหาดไทยในยุคนี้” เขากล่าว

 

สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า 

ภาพ: พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์

 

8 เต็ม 10 คะแนน

สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า วิเคราะห์ความคืบหน้านโยบายปราบผู้มีอิทธิพลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 52 ‘อนุทิน’ จากพรรคภูมิใจไทย ว่า ‘ขึงขัง’ และ ‘แอ็กทีฟดี’

 

ขณะเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยก็มี ‘ชาดา’ เป็นจุดขายในปราบปรามผู้มีอิทธิพลอีก และสไตล์การทำงานของพรรคภูมิใจไทยก็เป็นพรรคการเมืองที่เป็นสไตล์บ้านใหญ่อยู่แล้วด้วย หากดูจากภาพลักษณ์แล้ว ‘ภูมิใจไทย’ คือพรรคการเมืองที่เข้าใจบทบาทของผู้มีอิทธิพลมากที่สุดแล้ว

 

สำหรับการประเมินการทำงานการปราบปรามผู้มีอิทธิพลตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ‘สติธร’ ให้คะแนน ‘8 เต็ม 10’ เขาบอกว่าไม่อยากให้น้อย และไม่อยากให้มาก 

 

เพราะหากจะถามหาความเป็นรูปธรรมกับนโยบายดังกล่าวเร็วเกินไปที่จะให้คะแนนมาก ขณะเดียวกัน ณ ตอนนี้ยังไม่เห็นผลอะไร ณ วันนี้เห็นเพียงการขึ้นบัญชีผู้มีอิทธิพลเท่านั้น 

 

แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นว่ากระทรวงมหาดไทยยุคนี้ ‘เอาจริงเอาจัง’ กับการปราบผู้มีอิทธิพล ส่วนผลงานที่เป็นรูปธรรมจะต้องมีการพิสูจน์ไปอีกสักระยะ พร้อมตั้งคำถามต่อว่า เมื่อกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีการขึ้นบัญชีผู้มีอิทธิพลแล้วจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

 

ดรีมทีมรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย 

3 คนเดินเท้าจากวัดราชบพิธฯ ถึงถนนอัษฎางค์ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย

เนื่องในโอกาสเข้าทำงานวันแรก 

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566
ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

ที่ผ่านมานโยบายการปราบผู้มีอิทธิพลถูกหลายคนมองว่าเป็นนโยบาย ‘ผักชีโรยหน้า’ เมื่อเกิดเรื่องราวขึ้นแต่ละครั้งก็เอาจริงเอาจังขึงขังกันไป แล้วเรื่องก็จะเงียบไป

 

สติธรบอกอีกว่า สิ่งที่สำคัญในการเดินหน้าปราบปรามผู้มีอิทธิพลครั้งนี้ ‘อนุทิน’ และ ‘ชาดา’ จากพรรคภูมิใจไทย ต้องพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่าการปราบปรามผู้มีอิทธิพลหนนี้แตกต่างจากการปราบปรามผู้มีอิทธิพลในอดีต

 

‘ผู้มีอิทธิพล’ เปรียบเหมือนเหรียญที่มีสองด้าน เหรียญด้านแรก ผู้มีอิทธิพลก็ถูกมองว่าเป็นความสัมพันธ์ในสังคมไทยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่คนมีบารมี มีฐานะทางสังคม หรือมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าจะเข้าไปดูแลคนในพื้นที่ ซึ่งคนในพื้นที่ก็ยินดีที่จะอาศัยพึ่งพากันในลักษณะนี้ 

 

แต่อีกด้านที่ส่งผลกระทบในเชิงลบกับระบบใหญ่ เช่น ปัญหาวิ่งเต้นเส้นสาย โยกย้ายข้าราชการไม่เป็นธรรม กอบโกยผลประโยชน์ ประมูลโครงการภาครัฐไว้กับตนเองจนนำไปสู่การทุจริต หรือทำบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้ถึงแก่ความตาย โดยไม่ต้องรับโทษในกระบวนการทางกฎหมาย 

 

สติธรจึงบอกว่า กระทรวงมหาดไทยต้องดำเนินการให้ผู้มีอิทธิพลด้านลบนี้เข้ามาอยู่ในระบบให้ได้ ตนเองจึงมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำในระยะยาว และทำอย่างต่อเนื่อง

 

“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เป็นผักชีโรยหน้า วันนี้ผมจึงตั้งคำถามว่า เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้มีการขึ้นบัญชีผู้มีอิทธิพลแล้วจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จะแค่ทำความเข้าใจใช่ไหม หรืออย่างไร เพราะเรายังไม่เห็นภาพที่กระทรวงมหาดไทยแอ็กชันเต็มที่ หรือ มท.1 ลงพื้นที่ไปดำเนินการกวาดล้างด้วยตนเองเลย” นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้ากล่าว 

 

อย่างน้อยที่สุด กระทรวงมหาดไทยต้องให้ความรู้สึกว่า ผู้มีอิทธิพลสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการสร้างประโยชน์กับสังคม หรือมากกว่านั้น ต้องไม่สร้างอิทธิพลในเชิงลบที่ไม่เป็นธรรมกับผู้คน จนรู้สึกว่าผู้มีอิทธิพลนั้นยิ่งใหญ่และแตะต้องไม่ได้ 

 

ชาดา ไทยเศรษฐ์ ผู้สมัคร สส. อุทัยธานี (ขณะนั้น) 

ในฐานะผู้รับผิดชอบการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคเหนือ โบกธงชัยพรรคภูมิใจไทย 

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2566

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร 

 

สติธรบอกกับ THE STANDARD อีกว่า ภาพลักษณ์ของภูมิใจไทยถือว่าเป็นอีกพรรคการเมืองที่มีบ้านใหญ่จำนวนมาก เช่น บ้านใหญ่ไทยเศรษฐ์ของชาดาในจังหวัดอุทัยธานี, ตระกูลช่างเหลาที่ขอนแก่น, บ้านใหญ่โพธิ์สุแห่งนครพนม, บ้านใหญ่ไตรสรณกุล-ตระกูลสรรณ์ไตรภพแห่งศรีสะเกษ, บ้านใหญ่รัชกิจประการแห่งแดนใต้, บ้านใหญ่ซารัมย์, บ้านใหญ่ทองศรี หรือแม้แต่ ‘บ้านใหญ่ชิดชอบ’ แห่งบุรีรัมย์ เมืองหลวงของพรรคภูมิใจไทย 

 

สติธรจึงมองว่า ‘ภูมิใจไทย’ น่าจะเป็นพรรคการเมืองที่เข้าใจผู้มีอิทธิพล และเป็นโอกาสที่ดีในการปรับภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองที่มีบ้านใหญ่ให้ดีขึ้น เพราะภาพลักษณ์บ้านใหญ่และผู้มีอิทธิพลเป็นเรื่องอยู่คู่กันแล้ว 

 

สังคมจึงมองไม่ออกว่า ‘ภูมิใจไทย’ จะดำเนินการจัดการบ้านตัวเองอย่างไร หรือจะดำเนินการจัดการพวกตัวเองด้วยหรือไม่ ดังนั้น หนทางเดียวของพรรคภูมิใจไทยในการปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่เข้าข่ายคือ ‘ต้องไม่เลือกปฏิบัติ’ และ ‘มีมาตรฐานเดียวกัน’

 

‘ชาดา ไทยเศรษฐ์’ แถลงเปิดใจหลังลูกเขยถูกจับรับสินบน 

หลังเข้าชี้แจงความคืบหน้าเกี่ยวกับการปราบปรามผู้มีอิทธิพลต่อคณะกรรมาธิการปกครอง รัฐสภา 

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 

ภาพ: ฐานิส สุดโต 

 

สติธรยังยกตัวอย่างกรณีการจับกุมตัว ‘วีระชาติ รัศมี’ นายกเทศมนตรีตำบลตลุกดู่ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีศักดิ์เป็น ‘ลูกเขย’ ของชาดา ที่ถูกจับดำเนินคดีข้อหารับสินบน เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และการดำเนินการของชาดาที่ให้ลูกเขยของตนเองลาออกจากตำแหน่งภายในวันนั้น เรื่องนี้สำหรับตนเองมองว่าเป็นการกระทำเป็นที่ ‘โอเค’ 

 

พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า แต่หลายฝ่ายไม่ทราบว่าเบื้องหลังเป็นอย่างไร อาจเป็นการไม่ถูกกันอยู่แล้วหรือไม่ หรือความเป็นจริงแล้ว ‘ชาดา’ ไม่ได้สนใจว่าจะเป็นใคร ใช่คนในครอบครัวหรือตระกูลเดียวกับตนเองหรือไม่ 

 

หาก ‘ผิด’ ก็คือ ‘ผิด’ นั่นหมายความว่าพรรคภูมิใจไทยดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ ‘ยกน่ายกย่อง’

 

สติธรย้ำกับ THE STANDARD ว่า สำคัญที่สุดในการปราบปรามผู้มีอิทธิพล คือ ‘มาตรฐาน’ ในการดำเนินการและเอาผิดกับผู้มีอิทธิพลอย่าง ‘ไม่เลือกปฏิบัติ’ และ ‘ไม่เข้าข้างพวกตัวเอง’ ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ต่อสังคมว่ากระทรวงมหาดไทยภายใต้การนำของ ‘อนุทิน’ และ ‘ชาดา’ จากพรรคภูมิใจไทยจะดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพล

 

รื้อกฎหมาย เคลียร์กลิ่นลูกปืนเถื่อน 

ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก ในช่วงคาบเกี่ยวที่อนุทินเข้ามารับตำแหน่ง มท.1 คนที่ 52 เกิดกรณี ‘ปืนเถื่อน’ ออกมาก่อเหตุคร่าชีวิตคนบริสุทธิ์ โดยเฉพาะเหตุกราดยิงภายในศูนย์การค้าย่านใจกลางเมืองเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา 

 

กระทรวงมหาดไทยเตรียมรื้อกฎหมายควบคุมอาวุธปืน-สิ่งเทียมอาวุธปืน อนุทินได้ประกาศว่า จากนี้ต่อไปบุคคลที่จะสามารถถือครองอาวุธปืนได้อนุญาตเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานบุคคลที่เป็นคนของราชการที่มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเท่านั้น

 

‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย 

ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 52 

ภายหลังให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าว THE STANDARD

ภาพ: ณาฌารัฐ​ ภักดีอาสา

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ห้ามออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว (แบบ ป.12) เป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2566 – 19 ธันวาคม 2567 

 

อนุทินได้กล่าวกับ THE STANDARD ว่า มหาดไทยยุคภายใต้การนำของเขาจะงดต่อใบอนุญาตการพกพาอาวุธปืน ใครที่ฝ่าฝืน ยังพกปืนโดยที่ไม่มีใบอนุญาต นั่นหมายความว่าตั้งใจทำผิดกฎหมายและมีเจตนาที่ไม่ดี ผิดกฎหมาย ผิดนโยบาย ผิดทุกเรื่อง พร้อมทั้งเชื่อว่าการงดต่อใบอนุญาตฯ จะทำให้สังคมดีขึ้น

 

รวมถึงเตรียมที่จะผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมอาวุธปืนและอาวุธปืนสิ่งเทียมต่อไปในรัฐสภา รัฐบาลมีเสียงถึง 314 เสียง หากแก้ไขแล้วเพียงพอก็แก้ไข ส่วนไหนที่แก้ไขแล้วไม่เพียงพอก็ต้องเสนอเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ใหม่ 

 

ชาดา ไทยเศรษฐ์ สส. อุทัยธานี ขณะกำลังสนทนากับ อนุทิน ชาญวีรกูล, ศักดิ์สยาม ชิดชอบ, ทรงศักดิ์ ทองศรี 3 สส. บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย 

ในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา เพื่อขอทบทวนมติเสนอชื่อ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม​ 2566

ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

แต่ ‘สติธร’ กลับมองปัญหาพกพาอาวุธปืนว่า ‘เป็นเรื่องใหญ่’ เกินกว่าแค่ ‘ควบคุมใบอนุญาต’ แล้วเรื่องจะจบ แต่กระทรวงมหาดไทยต้องกระทำการระบบจัดใบอนุญาตเสียใหม่ 

 

หาก ‘ปืนเถื่อน’ ยังคงอยู่ อาจนำไปสู่การตั้งคำถามของสังคมได้ว่า การงดต่อใบอนุญาตการพกพาอาวุธปืนไม่ใช่การแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง 

 

“หลายคนไม่รู้สึกว่าการงดต่อใบอนุญาตเป็นเรื่องใหญ่ เพราะหลายฝ่ายหลายคนก็ไม่ได้ปรารถนาที่จะครอบครองปืนอยู่แล้ว” 

 

บรรยากาศภายหลังเยาวชนชายอายุ 14 ปี ก่อเหตุใช้ปืนยิงประชาชนในศูนย์การค้าสยามพารากอน 

ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นนักท่องเที่ยวจีนและสาวชาวเมียนมา 

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566

ภาพ: ฐานิส สุดโต 

 

หากมองลึกลงไปในรายละเอียดจะเห็นว่าการก่อเหตุคร่าชีวิตคนบริสุทธิ์ในช่วงที่ผ่านมาล้วนเป็นการครอบครอง ‘ปืนเถื่อน’ ทั้งสิ้น เมื่อมีการงดต่อใบอนุญาตให้ถือครองปืนไปแล้ว หากหลังจากนี้ยังมีกรณีในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นอีก นั่นหมายความว่ามาตรการการงดต่อใบอนุญาตให้ถือครองปืนใช้ไม่ได้ผลใช่หรือไม่ 

 

ทั้งนโยบาย ‘คุมมาเฟีย’ และ ‘เคลียร์กลิ่นลูกปืน’ ของกระทรวงมหาดไทย จะสัมฤทธิผลประสบความสำเร็จ ‘เหมือน’ หรือ ‘ต่าง’ จากรัฐบาลในอดีต อนุทินในฐานะเจ้ากระทรวงต้องรีบใช้โอกาสตลอด 4 ปี โชว์ฝีมือและพิสูจน์ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนที่เฝ้าติดตาม  

 

หากประสบความสำเร็จก็ถือเป็นโอกาสทองของพรรคภูมิใจไทยที่จะกวาดคะแนนความนิยมจากประชาชนสู่การเลือกตั้งครั้งหน้าในปี 2570

 

อย่าลืมว่าการเลือกตั้งเมื่อกลางปีผ่านมา แม้ภูมิใจไทยจะได้ สส. ถึง 71 ที่นั่ง ได้เป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล และเป็นพรรคอันดับ 2 ในรัฐบาล แต่หากมองลึกลงไปก็จะเห็นว่า คะแนนมหาชน (สส. แบบบัญชีรายชื่อ) มีเพียงล้านนิดๆ เท่านั้นเอง

The post ชำแหละนโยบาย ‘คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน’ โอกาสทองที่ท้าทายภูมิใจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน’ มหาดไทย ‘ยุคอนุทิน’ https://thestandard.co/interior-work-in-anutin-era/ Sat, 23 Dec 2023 04:00:30 +0000 https://thestandard.co/?p=879681

การเลือกตั้งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทยได้สมาชิก […]

The post ‘คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน’ มหาดไทย ‘ยุคอนุทิน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

การเลือกตั้งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทยได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 71 ที่นั่ง โดยไม่ถึงตามเป้าที่หวังไว้ (100 ที่นั่ง) แต่ก็มากพอที่จะทำให้เป็นพรรคการเมืองตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล และเป็นพรรคอันดับ 2 ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน

 

เมื่อพรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต้องการกระทรวงเดิมทั้งหมดของพรรคภูมิใจไทยในรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรคจึงได้ยื่นข้อเสนอว่าต้องการคุมกระทรวงมหาดไทย ที่มาพร้อมกับโควตา (4 + 4) เก้าอี้รัฐมนตรี ประกอบด้วย 4 รัฐมนตรีว่าการ และ 4 รัฐมนตรีช่วยว่าการ คือ 2 กระทรวงเกรดเอ (กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ) พ่วงด้วยกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 52 เปิดห้องทำงานภายในกระทรวงมหาดไทยต้อนรับทีมข่าว THE STANDARD พูดคุยถึงบทบาทการทำงานตลอด 3 เดือน ภายใต้รัฐนาวาที่นำโดยเศรษฐา ทวีสิน

 

แม้คนจากพรรคภูมิใจไทยมีความคุ้นเคยกับกระทรวงมหาดไทยเป็นอย่างดี เนื่องจากเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ชวรัตน์ ชาญวีรกูล บิดาของอนุทินเคยนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 48 ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 2551  

 

แต่การนั่งเก้าอี้ มท.1 ของอนุทินตลอดระยะเวลาเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา ถูกสังคม ‘รับน้อง’ ไปไม่น้อย ทั้งผู้มีอิทธิพลออกมาอาละวาด รังแกประชาชน หรือแม้แต่กรณีปืนเถื่อนออกมาก่อเหตุคร่าชีวิตคนบริสุทธิ์ไปแล้วจำนวนไม่น้อย เขาจึงมาพร้อมกับภารกิจที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเหล่านี้ให้จงได้ และทำควบคู่ไปกับการเดินหน้าปลูกจิตสำนึกสร้างความสามัคคี เพื่อจัดระเบียบสังคมใหม่ 

 

จากซ้าย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, ทรงศักดิ์ ทองศรี, ชาดา ไทยเศรษฐ์ และเกรียง กัลป์ตินันท์ 3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 

ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา

 

3 เดือน ดรีมทีมมหาดไทยยุคอนุทิน 

 

“คนที่จะให้คะแนนต้องเป็นประชาชน” อนุทินเริ่มต้นบทสนทนากับทีมข่าว THE STANDARD หลังถูกให้คะแนนบทบาทเจ้ากระทรวงมหาดไทยของตนเอง ร่วมกับดรีมทีมรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 3 ท่าน

 

เขากล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างเป็นไปด้วยความราบรื่น นโยบายของรัฐบาล เราได้ตอบสนองในทุกเรื่อง นโยบายของตนเองในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยที่ได้ให้สัญญากับประชาชนไว้ในช่วงหาเสียง หลายๆ อย่างเราก็ทำไปเรียบร้อยแล้ว หลายๆ อย่างกำลังดำเนินการ ส่วนที่ไม่ได้กำกับดูแลด้วยตนเองก็กำลังหาหนทางประสานความร่วมมือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 

 

ส่วนการทำงานร่วมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ ทรงศักดิ์ ทองศรี, ชาดา ไทยเศรษฐ์ และเกรียง กัลป์ตินันท์ ได้มีการแบ่งงานกันในกรมและรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทยให้แต่ละท่านได้กำกับดูแล ทุกอย่างเป็นไปตามระบบการบริหารที่ยึดหลักธรรมาภิบาล

 

  • ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย สั่งและปฏิบัติราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกำกับดูแลการประปานครหลวง
  • ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย สั่งและปฏิบัติราชการกรมการพัฒนาชุมชน กรมที่ดิน และกำกับดูแลการประปาส่วนภูมิภาค
  • เกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากพรรคเพื่อไทย สั่งและปฏิบัติราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรุงเทพมหานคร และกำกับดูแลองค์การตลาด และองค์การจัดการน้ำเสีย

 

แน่นอน…เกรียง กัลป์ตินันท์ หนึ่งในรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ถูกจับตามองเป็นอย่างมากในฐานะคนของพรรคเพื่อไทย เจ้าของพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้ (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ) ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาพรรคภูมิใจไทยไปเจาะพื้นที่จนได้เก้าอี้ สส. และการที่เกรียงเข้าเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่อยู่ในการกำกับดูแลของพรรคภูมิใจไทยจึงมีนัยทางการเมืองเช่นกัน

 

อนุทินตอบคำถามด้วยน้ำเสียงมีอารมณ์ว่า “ทำไมต้องถามถึงท่านเกรียงท่านเดียว แล้วทำไมต้องบอกว่าใครเป็นเจ้าของพื้นที่ มันไม่มีใครเป็นเจ้าของพื้นที่ใดๆ ในประเทศนี้ เจ้าของประเทศนี้คือประชาชน”

 

อนุทินอธิบายต่อว่า เรา (พรรคภูมิใจไทย) ไม่เคยแย่งพื้นที่ของใครทั้งสิ้น ทุกคนทำงานอย่างเต็มที่เพื่อประชาชน เมื่อถึงเวลาประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกตั้งให้ใครเข้ามาทำหน้าที่แทน ยืนยันว่าไม่มีนาย ก หรือนาย ข 

 

อนุทิน ชาญวีรกูล ชูมือ ‘เกรียง กัลป์ตินันท์’พร้อมด้วย 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยจากพรรคภูมิใจไทย และสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งวันแรก เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 

แฟ้มภาพ: ฐานิส สุดโต 

 

“การทำงานของผมและท่านเกรียงเป็นไปได้ด้วยพี่ด้วยน้อง ผมเรียกท่านว่าพี่ทุกคำ ท่านก็ปฏิบัติต่อผมด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน” 

 

อนุทินบอกอีกว่า ตนเองได้มอบหมายงานต่างๆ ให้เกรียง ทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งถือเป็นกรมใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร องค์การตลาด องค์การจัดการน้ำเสีย และในคำสั่งการมอบงานไม่ใช่เฉพาะเกรียง แต่รวมถึงทรงศักดิ์และชาดาล้วนเป็นคำสั่งเดียวกันหมด 

 

“ทุกคนต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต้องใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ต้องนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ การบริหารงานบุคคล เรื่องที่เป็นนโยบาย ไปดูคำสั่งมอบหมายงานของกระทรวงไหนๆ ทั้ง 20 กระทรวงที่มีอยู่ก็เป็นข้อความเดียวกันหมด

 

“ไม่มีการแยกเป็นกรณีพิเศษ เป็นการจำเพาะเจาะจงใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่ากระทรวงไหน คนไหน ฉะนั้นตรงนี้ต้องขอความเป็นธรรมด้วย”

 

อนุทิน ชาญวีรกูล ดึง ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มาพูดคุย 

แฟ้มภาพ: ฐานิส สุดโต 

 

มอบ ‘ชาดา’ เจ้าพ่อแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง ปราบมาเฟีย


ในช่วงแรกที่อนุทินเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สังคมไทยเกิดเหตุอุกอาจจากกลุ่มผู้มีอิทธิพล นักการเมืองท้องถิ่นที่จังหวัดนครปฐม และสร้างแรงสั่นสะเทือนไปถึงทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย

 

เขาในฐานะผู้บังคับบัญชาจึงประกาศถอนรากถอนโคนปราบปรามเจ้าพ่อ-มาเฟีย พร้อมกับสั่งการให้ผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นเจ้าพ่อแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง ‘ชาดา ไทยเศรษฐ์’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย ได้โชว์ฝีมือและพิสูจน์ผลงาน

 

“ผมได้มอบหมายให้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ” อนุทินบอกกับ THE STANDARD 

 

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาชาดาได้ดำเนินการไปหลายอย่าง ทั้งเรื่องการขึ้นบัญชี รวมถึงการส่งสัญญาณไปยังเจ้าตัว (ผู้มีอิทธิพล) ว่าขอให้ยุติการกระทำลักษณะข่มเหงรังแกพี่น้องประชาชน 

 

อนุทินอธิบายนิยามคำว่าผู้มีอิทธิพลคือ บุคคลที่ถืออาวุธปืนไปไหนมาไหน และใช้อิทธิพลของตนเองไปข่มเหงรังแกผู้ที่ด้อยกว่า ตนเองไม่อยากใช้คำว่าผู้มีอิทธิพล แต่เรียกว่าปราบปรามอันธพาล คนที่คิดว่าตัวเองมีอิทธิพลและอำนาจเหนือคนอื่น จึงได้สั่งการให้ชาดาเน้นเรื่องนี้เป็นพิเศษ 

 

“เราเน้นทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบมากขึ้น เรื่องผู้มีอิทธิพล ขอให้ปราบปรามได้ทุกวันถือว่าเป็นผลงานแล้ว เพราะมีจำนวนมากและหลายรูปแบบ มีตั้ง 16 ประเภท ทั้งปล่อยเงินกู้นอกระบบ ค้าของเถื่อน ค้าประเวณี น้ำมันเถื่อน บ่อนการพนัน ยาเสพติด หลายประเภท เราเน้นเรื่องการข่มเหงรังแกผู้ที่ด้อยกว่าก่อน เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าใช้ความเป็นอิทธิพลของตนเองไปข่มเหงรังแกประชาชนทั่วไปได้ ประเทศก็จะไม่มีสังคมที่สงบสุข ผมจึงให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ” 

 

อนุทินยืนยันว่านโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพลภายใต้การปราบปรามของชาดา กระทรวงมหาดไทยไม่ได้ขีดเส้นการดำเนินการ แต่เริ่มเห็นผลการปราบปรามแล้ว

 

“หนีกันหัวซุกหัวซุน ไม่มีที่อยู่อย่างปกติได้อีกต่อไป ถูกจับดำเนินคดี ถ้าต่อสู้ตำรวจ บางคนก็ถูกยิงเสียชีวิต บางคนหนีหัวซุกหัวซุน อยู่เป็นหลักแหล่งไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เป็นผลพวงจากการดำเนินการปราบปราม เราไม่ได้ปล่อยให้ใครอยู่ได้อย่างเป็นปกติ แม้จะมีตำแหน่งแห่งหนทางราชการ ยิ่งทำก็ยิ่งโดน โดนดำเนินคดีเหมือนคนทั่วไป ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นความชัดเจนที่เห็นและจับต้องได้ในงานของกระทรวงมหาดไทยในยุคนี้” อนุทินกล่าว

 

ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา

 

รื้อกฎหมาย เคลียร์กลิ่นลูกปืนเถื่อน 

 

นโยบายถือครองอาวุธปืนที่กระทรวงมหาดไทยเตรียมรื้อกฎหมายควบคุมอาวุธปืน-สิ่งเทียมอาวุธปืน โดยเฉพาะในช่วงที่เขาเข้ามารับตำแหน่ง มท.1 คนที่ 52 เกิดกรณีปืนเถื่อนออกมาก่อเหตุคร่าชีวิตคนบริสุทธิ์ โดยเฉพาะเหตุกราดยิงภายในศูนย์การค้าย่านใจกลางเมืองเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่มีกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้  

 

“ผมไม่แลกชีวิตประชาชนกับเหตุผลอื่นๆ ประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐ ต้องใช้กฎหมาย และเจ้าหน้าที่ที่เป็นเจ้าพนักงานให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ ไม่ใช่เป็นประเทศที่ประชาชนสามารถตัดสินใจป้องกันตนเองได้โดยใช้อาวุธที่ร้ายแรง ผมตอบง่ายๆ แค่นี้” อนุทินกล่าว

 

หากเราบอกว่าประเทศไทยเป็นเมืองที่เจริญทั้งทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และสังคม ดังนั้นเราจึงปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่ผ่านมาอาจเป็นสิ่งที่ผิดก็ได้ สิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่อาจไม่ได้รับการปฏิบัติมา อาจเป็นสิ่งใหม่ที่คนไม่คุ้นเคย 

 

“ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศแค่ครอบครองอาวุธก็มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตแล้ว แต่ประเทศไทยไปยอมให้คนที่ไม่มีใบอนุญาตสามารถพกปืนออกจากบ้านได้เป็นกิจวัตรประจำวัน อาบน้ำ แต่งตัว หวีผม เสร็จแล้วเอาปืนพกเข้าเอว แล้วเดินออกไปใช้ชีวิตข้างนอก ไปทำงาน ดำเนินชีวิตอยู่ข้างนอก แบบนี้ไม่ได้ มันไม่ใช่ประเทศ แบบนี้คือบ้านป่าเมืองเถื่อน” อนุทินกล่าว 

 

ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา

 

ดังนั้นถ้าจะถือครองอาวุธได้ อนุญาตเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าพนักงานบุคคลที่เป็นคนของราชการ ที่มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว 

 

อนุทินบอกอีกว่า สิ่งที่ตนเองดำเนินการหลังจากนี้คืองดต่อใบอนุญาตการพกพาอาวุธปืน ซึ่งที่ผ่านมามีการต่อใบอนุญาตแบบปีต่อปี ตนเองเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อเดือนกันยายน 

 

หากบอกว่านโยบายนี้มีมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 ใบอนุญาตพกพาปืนต่อแบบปีต่อปี เท่ากับว่าภายในเดือนกันยายน 2567 ประเทศไทยก็จะไม่มีบุคคลที่สามารถพกปืนไปไหนมาไหนได้อีก ใครต่ออายุใบอนุญาตถือว่ากระทำความผิด ผิดคำสั่ง ผิดกฎหมาย ผิดนโยบาย ผิดทุกเรื่อง 

 

อนุทินย้อนถามว่า “แบบนี้สังคมจะดีขึ้นหรือไม่

 

“ถ้าใครยังพกปืนโดยที่ไม่มีใบอนุญาต คุณตั้งใจทำผิดกฎหมาย คุณต้องมีเจตนาที่ไม่ดีแน่ๆ กับใครคนใดคนหนึ่ง คุณถึงต้องพกปืนออกไปทั้งที่ไม่มีใบอนุญาต ตำรวจก็จะดำเนินคดีโดยเฉียบขาด”

 

มท.1 บอกอีกว่า การขอใบอนุญาตนำเข้าปืนก็จะไม่มีอีกต่อไป เราต้องรักษาชีวิตประชาชนในชาติ รักษาความปลอดภัยให้คนทั้งโลกได้เห็นว่าถ้าเขามาเที่ยว มาลงทุน มาทำงานในประเทศไทย เขาต้องมีความปลอดภัยในชีวิตเป็นสิ่งแรก 

 

อนุทินกล่าวอีกว่า รัฐบาลมีเสียงในสภาถึง 314 เสียง ต้องเดินเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมอาวุธปืนและอาวุธปืนสิ่งเทียมต่อไป หากแก้ไขแล้วเพียงพอก็แก้ไข ส่วนไหนที่แก้ไขแล้วไม่เพียงพอก็ต้องเสนอเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ใหม่ 

 

เดินหน้าปลูกจิตสำนึกรักชาติ สามัคคี แก้ปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษา 

 

“ผมคิดว่าประเทศนี้มีความแตกแยกมากในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีความพยายามของคนบางกลุ่ม พรรคการเมืองบางพรรคที่คิดจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองบ้านเมืองนี้ สถาบันที่เป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของประเทศไทยได้รับการท้าทาย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลยอมให้เกิดขึ้นไม่ได้” อนุทินตอบคำถามเรื่องถึงนโยบายล่าสุดที่เป็นความร่วมมือภายใน 4 กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับดูแล ปลูกฝังให้เป็นคนมีจิตสำนึกรักชาติและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติไทย 

 

อนุทินเล่าย้อนว่า ในยุคสมัยที่ตนเองโตมาไม่มีเด็กคนใดที่จะกล้าท้าทายผู้ใหญ่ เห็นต่างได้ ถกเถียงได้ แต่ไม่มีการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงและหยาบคาย ใช้กู-มึงพูดคุยกับผู้ใหญ่อย่างไม่มีสัมมาคารวะ 

 

ตนเองจึงเชื่อว่าหากเรียกตัวเองว่าเป็นคนไทย สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น เพราะนี่คือวัฒนธรรมอันดีงามที่ทำให้เรามีระเบียบวินัย มีความเคารพ มีความเกรงใจซึ่งกันและกัน และทำให้ประเทศไทยฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ มาได้อย่างราบรื่นโดยตลอด 

 

ในอดีตเราถูกสอนว่าประเทศไทยมี 3 สถาบันหลักคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มคำว่า ‘ประชาชน’ เข้าไป นั่นไม่ได้หมายความว่าเราอยู่กับยุคเดิมๆ ไม่มีการปรับเปลี่ยน ตอนนี้เวลาพูดเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และไม่มีใครเคยลืมคำว่าประชาชน นั่นหมายความว่าตอนนี้ประชาชนคืออีกหนึ่งสถาบันหลักของชาติเช่นกัน

 

ส่วนเรื่องกลุ่มนักเรียนก่อเหตุวิวาทยกพวกตีกัน อนุทินมองเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นช่วงวัย ขณะนี้เวลาก่อเหตุวิวาทมีอาวุธที่ผิดกฎหมาย อาวุธที่ร้ายแรงคร่าชีวิตคนได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ลูกผู้ชายทำกัน แต่คืออันธพาล 

 

“ถ้าเราปลูกฝังเรื่องพวกนี้ ต่อยกันได้ ชกกันได้ เวลามีเรื่องชกต่อยกับเพื่อน ครูก็ลงโทษทั้งคู่ สมัยผมเรียนโรงเรียนชายล้วน ผมถูกเฆี่ยนด้วยแล้วก็หลาบจำ มันทำให้เห็นว่าถ้าเราไม่มีความสามัคคีกัน ไม่มีความรักเพื่อนพ้อง คนที่เจ็บคือเราทั้งสองฝ่าย นี่คือวิธีการปลูกจิตสำนึก” 

 

อนุทินเชื่อว่าการปลูกฝังนั้นมีประโยชน์ ในอดีตวิชาต่างๆ ทั้งวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม หน้าที่พลเมือง เป็นวิชาจำเพาะ มีชั่วโมงของวิชานั้นๆ แต่ปัจจุบันถูกรวมอยู่ในส่วนหนึ่งที่เรียกว่าการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ซึ่งไม่ใช่วิชาหลัก ความเข้มของเนื้อหาน้อยลง โดยขอให้มีการสังคายนาขึ้นใหม่ ให้ปลูกฝังให้เกิดความภูมิใจในประเทศ ชาติกำเนิดของตัวเอง ความเป็นคนไทย และสิ่งที่ประเทศไทยมีอยู่

 

“เราไม่ได้มาผิดทาง เรากำลังจะไปถูกทางด้วยซ้ำ เพราะมันถึงเวลาแล้วที่ประเทศของเราควรจะต้องมีความกลมเกลียวเหนียวแน่น เพราะโลกจากนี้ไปเป็นโลกที่ต้องมีความสามัคคี” อนุทินกล่าว 

 

ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา

 

ภูมิใจไทยไม่ใช่พรรคอนุรักษนิยม

 

ด้วยจำนวน สส. 71 เสียงนั้น ทำให้ภูมิใจไทยถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองอันดับ 1 ในขั้วอนุรักษนิยม เข้าสู่ปีที่ 15 พรรคภูมิใจไทยเคยเป็นฝ่ายค้านเพียงครั้งเดียว และเป็นพรรคร่วมรัฐบาลมาโดยตลอด ซึ่งมีสโลแกนว่า ‘พูดแล้วทำ’ ไม่มีนโยบายไหนที่พูดไปแล้วทำไม่ได้ 

 

หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยกล่าวแย้งว่า ภูมิใจไทยไม่ใช่พรรคอนุรักษนิยม แต่เป็นพรรคการเมืองไฮบริด (ลูกผสม) ที่อนุรักษ์สิ่งดีงามของประเทศไทย คุณค่าความเป็นประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่งดงาม เราก็หวงแหนสิ่งเหล่านี้ มีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศ 

 

ขณะเดียวกันเราก็เป็นพรรคปฏิบัติงานปฏิบัติการ เราทำงานด้วยใจ พูดทีไรก็อาจมีคนตีความ งานเข้าอยู่บ่อยครั้ง แต่ต้องดูความตั้งใจ เรากล้าที่จะทำสิ่งที่หลายพรรคไม่เคยทำ เพราะมั่นใจว่าจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชน และเป็นพรรคที่คิดถึงกติกาใหม่ของโลกเสมอ 

 

เขายืนยันอีกว่า ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายใดของพรรคภูมิใจไทยที่พูดไปแล้ว ‘ทำไม่ได้’ เพราะนโยบายใดที่คิดว่าทำไม่ได้ เราก็จะไม่พูด ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยพูดในสิ่งที่ทำไม่ได้ เพราะไม่ชอบสัญญาอะไรกับใครแล้วทำไม่ได้ แล้วก็ไม่พูดอะไรมากเกินไป หากประชาชนหลงเชื่อแล้วเลือกเรา ตนเองตระหนักดีว่าผลสะท้อนนั้นรุนแรงเกินกว่าจะรับได้ พรรคภูมิใจไทยจึงจะไม่มีวันเป็นพรรคการเมืองที่โกหกประชาชน

 

The post ‘คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน’ มหาดไทย ‘ยุคอนุทิน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน มหาดไทยยุคอนุทิน | THE STANDARD https://thestandard.co/anutin-mafia-issue-handle/ Thu, 21 Dec 2023 05:49:51 +0000 https://thestandard.co/?p=879352

แม้การเลือกตั้งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทยจะได้ส […]

The post ชมคลิป: คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน มหาดไทยยุคอนุทิน | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>

แม้การเลือกตั้งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทยจะได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เพียง 71 ที่นั่ง โดยไม่ถึงตามเป้า (100 ที่นั่ง) ตามที่หวังไว้ แต่ก็มากพอที่จะทำให้ ‘ภูมิใจไทย’ เป็นพรรคการเมืองตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล และเป็นพรรคอันดับ 2 ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน  

 

พรรคภูมิใจไทยได้เก้าอี้รัฐมนตรีทั้งสิ้น 8 ที่นั่ง ตามโควตา (4+4) ประกอบด้วย 4 รัฐมนตรีว่าการ และ 4 รัฐมนตรีช่วยว่าการ คือ 2 กระทรวงเกรดเอ (กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ) พ่วงด้วยกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 52 เปิดห้องทำงานภายในกระทรวงมหาดไทย ต้อนรับทีมข่าว THE STANDARD ท่ามกลางคิวงานที่แน่นเอี้ยด พูดคุยถึงบทบาทการทำงานตลอด 3 เดือน ภายใต้รัฐนาวาที่นำโดย ‘เศรษฐา ทวีสิน’

The post ชมคลิป: คุมมาเฟีย เคลียร์กลิ่นลูกปืน มหาดไทยยุคอนุทิน | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ชาดา ลุยปราบมาเฟีย กำนันนก-มาเฟีย-วัดบางคลาน หัวหน้าผมสั่งวันนี้ ต้องเสร็จเมื่อวาน | THE STANDARD https://thestandard.co/thestandardnow041066-2/ Thu, 05 Oct 2023 00:09:52 +0000 https://thestandard.co/?p=850799 รายการ THE STANDARD NOW กับ อ๊อฟ ชัยนนท์ วันที่ 4 ตุลาคม 2566

ชาดา ลุยปราบมาเฟีย กำนันนก-มาเฟีย-วัดบางคลาน หัวหน้าผมส […]

The post ชมคลิป: ชาดา ลุยปราบมาเฟีย กำนันนก-มาเฟีย-วัดบางคลาน หัวหน้าผมสั่งวันนี้ ต้องเสร็จเมื่อวาน | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
รายการ THE STANDARD NOW กับ อ๊อฟ ชัยนนท์ วันที่ 4 ตุลาคม 2566

ชาดา ลุยปราบมาเฟีย กำนันนก-มาเฟีย-วัดบางคลาน หัวหน้าผมสั่งวันนี้ ต้องเสร็จเมื่อวาน

 

ชมคลิปเต็ม: เปิดใจ ชาดา ไทยเศรษฐ์ มือปราบผู้มีอิทธิพล “ผมเข้าไปแล้วจะหนาว” | THE STANDARD NOW

The post ชมคลิป: ชาดา ลุยปราบมาเฟีย กำนันนก-มาเฟีย-วัดบางคลาน หัวหน้าผมสั่งวันนี้ ต้องเสร็จเมื่อวาน | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชูวิทย์เข้าร้องพรรคก้าวไกล ถอดสันธนะออกจากสมาชิกพรรค เกรงโดนมองมีมาเฟียคุมพรรค https://thestandard.co/chuwit-report-to-move-forward-party-on-removing-santhana/ Mon, 15 May 2023 10:08:20 +0000 https://thestandard.co/?p=790690 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

วันนี้ (15 พฤษภาคม) เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ณ ที่ทำการพร […]

The post ชูวิทย์เข้าร้องพรรคก้าวไกล ถอดสันธนะออกจากสมาชิกพรรค เกรงโดนมองมีมาเฟียคุมพรรค appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

วันนี้ (15 พฤษภาคม) เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ณ ที่ทำการพรรคก้าวไกล ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เดินทางมาหลังทราบข่าวว่า สันธนะ ประยูรรัตน์ เดินทางมาที่พรรคก้าวไกล 

 

แต่เมื่อมาถึง สันธนะได้กลับออกไปแล้ว ชูวิทย์จึงได้ยื่นเรื่องต่อ รังสิมันต์ โรม ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล เพื่อขอให้ทางพรรคพิจารณาถอดสันธนะออกจากการเป็นสมาชิกพรรค 

 

ชูวิทย์กล่าวว่า สันธนะจะทำให้พรรคเสื่อมเสีย และจะทำให้พรรคถูกเอาไปแอบอ้างว่ามีมาเฟียคุมพรรค เพราะพฤติกรรมของลูกน้องสันธนะที่ใส่เสื้อมีโลโก้พรรคก้าวไกลเดินไปเดินมา 

 

นอกจากนี้มองว่า พรรคก้าวไกลควรเป็นพรรคที่มีแต่คนรุ่นใหม่จริงๆ โดยอยากให้มีการพิจารณาโดยเร่งด่วน

 

ทั้งนี้ ยังได้นำยันต์จากวัดเล่งเน่ยยี่มามอบให้ เพื่อป้องกันสัมภเวสีตามความเชื่อด้วย

 

ด้านรังสิมันต์กล่าวว่า เบื้องต้นจะรับเรื่องไว้และจะนำไปหารือว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และชูวิทย์ถือเป็นบุคคลแรกที่มาร้องเรียนต่อพรรคก้าวไกลในฐานะที่พรรคก้าวไกลได้รับเสียงเลือกตั้งมาเป็นอันดับที่ 1 ในการเลือกตั้งครั้งนี้

 

ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

The post ชูวิทย์เข้าร้องพรรคก้าวไกล ถอดสันธนะออกจากสมาชิกพรรค เกรงโดนมองมีมาเฟียคุมพรรค appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนปราบแก๊งมาเฟียมากกว่า 3,600 กลุ่มในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา https://thestandard.co/china-makes-remarkable-results-in-gang-crime-crackdown/ Mon, 29 Mar 2021 07:16:34 +0000 https://thestandard.co/?p=470289 จีนปราบแก๊งมาเฟีย

วันนี้ (29 มีนาคม) จีนบรรลุผลลัพธ์อันมีนัยสำคัญในการปรา […]

The post จีนปราบแก๊งมาเฟียมากกว่า 3,600 กลุ่มในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนปราบแก๊งมาเฟีย

วันนี้ (29 มีนาคม) จีนบรรลุผลลัพธ์อันมีนัยสำคัญในการปราบปรามแก๊งอาชญากรรมระดับชาติ โดยทลายกลุ่มแก๊งมาเฟียมากกว่า 3,600 กลุ่มในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สูงกว่าช่วง 10 ปีก่อนหน้าถึง 1.3 เท่า

ขณะเดียวกันสถิติจากทางการจีนเผยว่า จีนยังจัดการคดีความอีก 89,742 คดี ซึ่งเกี่ยวพันกับการทุจริตที่เชื่อมโยงถึงแก๊งอาชญากรรม และ ‘เกราะกำบังผู้กระทำผิด’ ที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มแก๊งเหล่านั้นด้วย

ศาลจีนจัดการคดีความที่เกี่ยวข้องกับแก๊งอาชญากรรม 32,943 คดีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เชื่อมโยงถึงตัวผู้ต้องสงสัยมากกว่า 220,000 ราย โดยจำเลย 53,405 รายได้รับโทษจำคุกอย่างน้อย 5 ปีจนถึงประหารชีวิต

ทั้งนี้ จีนทุ่มเทความพยายามต่อสู้กับแก๊งอาชญากรรมด้วยมาตรการหลากหลาย ซึ่งรวมถึงการกำหนดนโยบายทางกฎหมายและการจัดตั้งแพลตฟอร์มร้องเรียน นับตั้งแต่เปิดตัวโครงการรณรงค์ปราบปรามแก๊งอาชญากรรมแบบพุ่งเป้าในปี 2018

ด้านผลการสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเมื่อช่วงครึ่งแรกของปี 2020 พบว่า ชาวจีนร้อยละ 95.1 พึงพอใจกับผลลัพธ์ของโครงการพิเศษดังกล่าว

 



พิสูจน์อักษร: ชนเนตร ลอยครุฑ

อ้างอิง: 

  • สำนักข่าวซินหัว

The post จีนปราบแก๊งมาเฟียมากกว่า 3,600 กลุ่มในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา appeared first on THE STANDARD.

]]>