มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 06 May 2025 07:14:17 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 นายกฯ โต้ ล้มแจกเงินหมื่นเฟส 3 ชี้อยู่ระหว่างรับฟังความเห็น อ้างมีเรื่องภาษีสหรัฐฯ ยังไม่ชง ครม. ยึดไทม์ไลน์เดิม ไม่เปลี่ยนแปลง https://thestandard.co/10k-phase-3-still-on-track/ Tue, 06 May 2025 07:14:17 +0000 https://thestandard.co/?p=1071639

วันนี้ (6 พฤษภาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร นา […]

The post นายกฯ โต้ ล้มแจกเงินหมื่นเฟส 3 ชี้อยู่ระหว่างรับฟังความเห็น อ้างมีเรื่องภาษีสหรัฐฯ ยังไม่ชง ครม. ยึดไทม์ไลน์เดิม ไม่เปลี่ยนแปลง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (6 พฤษภาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเติมเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) วงเงิน 10,000 บาท ให้กับกลุ่มอายุตั้งแต่ 16-20 ปี ว่า วันนี้ยังไม่เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น โดยขณะนี้มีเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทางหน่วยงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มีความคิดเห็นเข้ามา เราก็ต้องรับฟัง พร้อมย้ำถึงความตั้งใจดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เมื่อมีสถานการณ์เข้ามา ก็ต้องดูว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ จึงต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้รู้ และหน่วยงาน

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการชะลอแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตเฟส 3 และ4 ออกไปหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตอนนี้เรายังไม่มีมติว่าจะยกเลิกใดๆ ซึ่งอยู่ในช่วงของการรับฟังความคิดเห็นให้ครบถ้วนก่อน ว่าความจำเป็นมีมากน้อยแค่ไหนในเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเงินก้อนนี้สามารถจะทำอะไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนทั้งประเทศ อันนี้เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด เราต้องมองไปที่เป้าหมายว่าทำเพื่ออะไร ทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นต้องดูว่าสุดท้ายแล้ว ความเห็นทั้งหมดออกว่าอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ฝ่ายผู้บริหารอย่างเดียวที่จะตัดสินใจ ต้องดูเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วย

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า เฟส 3 และเฟส 4 ยังคงเดินหน้าต่อไปใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เราทำอยู่คือรับฟังความคิดเห็น

 

เมื่อสอบถามว่ากำหนดการจ่ายเงินเฟสที่ 3 ต้องเลื่อนออกไปก่อน หรือเป็นไปตามกำหนดการเดิม นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า เรายังฟังความคิดเห็นไม่ครบ เพราะมีปัจจัยแทรกเข้ามาในเรื่องของภาษีศุลกากร และภาษีสหรัฐอเมริกา จึงต้องรอก่อน หากความคิดเห็นครบ และเป็นอย่างไรต่อ ถึงจะกำหนดได้ว่าจะเลื่อนหรือไม่เลื่อน แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ยังเป็นไปตามกำหนดการเดิมอยู่ โดยต้องมีข้อมูลให้ครบก่อนถึงแจ้งได้ โดยจะพูดรับปากว่าอย่างนี้อย่างนั้นไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างการรอฟังความคิดเห็นอยู่

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากไม่ดำเนินการโครงการนี้ต่อจะกระทบต่อรัฐบาลหรือไม่ เนื่องจากเป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะต้องปรับความเข้าใจ เพราะเป็นปัจจัยที่เข้ามา โดยไม่ได้คาดฝัน และเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่แค่ประเทศไทย จึงต้องฟังเหตุและผลด้วยว่าเป็นอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือไม่เปลี่ยนแปลง ต้องมีคำอธิบายจากรัฐบาลอยู่แล้ว 

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องภาษีศุลกากรจะมีผลเมื่อใด นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรายังมีกรอบเวลา 90 วันซึ่งเราไม่หลุดกรอบนี้อย่างแน่นอน แต่ในการดีลลับต่างๆ เราทำอย่างต่อเนื่อง โดย พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รอดูอยู่ และมีการอัปเดตข้อมูลกันอยู่เรื่อยๆ

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มีความกังวลหรือไม่ว่าการดีลลับจะทำให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มันก็มีส่วนที่เปิดเผยได้ และยังไม่เปิดเผย มันไม่มีที่จะเป็นความลับทั้งหมด เราต้องดูระยะเวลา ว่าควรจะปล่อยหัวข้อต่างๆ ในช่วงไหน เราต้องบอกและอธิบายสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ไม่ใช่ถึงเวลาจะบอกเลยหรือปิดทั้งหมด มันทำไม่ได้อยู่แล้ว 

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ทราบหรือไม่ว่ามีปัจจัยใดที่ทำให้สหรัฐฯ ยังไม่ให้เราเข้าไปเจรจา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ล่าสุด ได้คุยกับทีมงานของทางสหรัฐฯ และเราก็เอาสิ่งนั้นมาเพิ่มเติม ซึ่งได้คุยกันแล้วก็น่าจะครอบคลุมในสิ่งที่ประเทศไทยจะคุยกับสหรัฐฯ และมีกรอบให้ 90 วัน ถ้าเราดูสถานการณ์และความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เช่นกัน และเราก็ได้มีการนำมาปรับแผน

The post นายกฯ โต้ ล้มแจกเงินหมื่นเฟส 3 ชี้อยู่ระหว่างรับฟังความเห็น อ้างมีเรื่องภาษีสหรัฐฯ ยังไม่ชง ครม. ยึดไทม์ไลน์เดิม ไม่เปลี่ยนแปลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
อานิสงส์แจกเงิน 10,000 บาท ช่วยดันเงินฝากกลุ่มต่ำกว่า 50,000 บาทในปี 67 โต 4.84% https://thestandard.co/10k-handout-small-savings-growth/ Wed, 26 Mar 2025 11:29:29 +0000 https://thestandard.co/?p=1056881

สคฝ. รายงานสถิติเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองสิ้นปี 2567 […]

The post อานิสงส์แจกเงิน 10,000 บาท ช่วยดันเงินฝากกลุ่มต่ำกว่า 50,000 บาทในปี 67 โต 4.84% appeared first on THE STANDARD.

]]>

สคฝ. รายงานสถิติเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองสิ้นปี 2567 มีจำนวนรวมกว่า 99.25 ล้านราย เติบโต 4.75% หรือ 4.50 ล้านราย และจำนวนเงินฝากรวม 16.32 ล้านล้านบาท เติบโต 1.40% หรือ 0.22 ล้านล้านบาท จากปี 2566 

 

ดร.มหัทธนะ อัมพรพิสิฏฐ์ ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA เปิดเผยในงานแถลงข่าวรายงานสถิติเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง ประจำปี 2567 และการดำเนินงานยุทธศาสตร์ ระบุว่า สถิติเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองปี 2567 พบว่าอัตราการเติบโตของจำนวนเงินฝากรวมในกลุ่มผู้ฝากที่เงินฝากน้อยกว่า 50,000 บาทต่อบัญชี เพิ่มขึ้น 4.84% จากปีก่อน ทั้งนี้ ปัจจัยการเพิ่มขึ้นของเงินฝากในผู้ฝากกลุ่มนี้มีผลมาจากโครงการเงินช่วยเหลือภาครัฐ จากโครงการแจกเงิน 10,000 บาทให้กับประชาชน

 

ส่งผลให้เงินฝากในเดือนกันยายน 2567 พุ่งขึ้น 6.83% สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีในช่วงเดือนเดียวกัน ที่เติบโต 2.50% ในขณะที่ผู้ฝากกลุ่มที่มีเงินฝากมากกว่า 100 ล้านบาท มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นรองลงมาอยู่ที่ 2.70% ซึ่งคาดว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในบัญชีประเภทเงินฝากประจำ เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการนำเงินมาพักเพื่อรอความชัดเจนของสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราการเติบโตของเงินฝากกลุ่มนี้ยังคงเป็นบวกเมื่อเทียบกับปี 2566 

 

ภาพ: สถิติจำนวนผู้ฝากเงินและจำนวนเงินฝากในระบบปี 2567 

 

คาดจำนวนเงินฝากปี 2568 โต 1-3% ตามภาวะเศรษฐกิจ

 

สำหรับแนวโน้มการเติบโตของเงินฝากในปี 2568 นี้คาดว่าจะเติบโตอยู่ระหว่าง 1-3% จากสิ้นปี 2567 ที่มียอดเงินฝากรวม 16.32 ล้านล้านบาท สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นอย่างช้าๆ เนื่องจากยังมีปัจจัยกระทบที่ไม่แน่นอนจากทั้งภายในและนอกประเทศ

 

สำหรับสถิติเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ณ สิ้นปี 2567 รวมกว่า 99.25 ล้านราย คิดเป็นอัตราเติบโต 4.75% หรือ 4.50 ล้านรายและจำนวนเงินฝากรวม 16.32 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต1.40% หรือ 0.22 ล้านล้านบาท

 

อย่างไรก็ดีหากดูสถิติข้อมูลของผู้ฝากเงินทั้งระบบในปี 2566 ของคนไทยในระบบพบว่า มีเงินฝากเฉลี่ยอยู่ที่ 203,698 บาทต่อบัญชี มีอัตราการเติบโตติดลบ 2.49% จากปี 2565 ขณะที่กลุ่มผู้ฝากเงินคนไทยส่วนใหญ่มีเงินฝากเฉลี่ยอยู่ที่ 3,533 บาทต่อบัญชี มีอัตราการเติบโตติดลบ 10.44% จากปี 2565 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่เริ่มลดลงในช่วงปี 2566

 

ภาพ: ดร.มหัทธนะ อัมพรพิสิฏฐ์ ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

 

“ส่วนแนวโน้มจำนวนเงินฝากในอนาคตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงคงสามารถฟันธงได้ยากมาก เพราะขึ้นกับหลายปัจจัย ทั้งนโยบายดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัจจัยเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ รวมทั้งโปรดักต์การลงทุนใหม่ๆ ที่ประชาชนจะนำเงินออกไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทน” ดร.มหัทธนะกล่าว

 

มีระบบพร้อมรองรับคืนเงินผู้ฝากเงินภายใน 7 วัน

 

ปัจจุบันผู้ฝากเงินภายใต้สถาบันการเงินในระบบทั้งจำนวน 35 แห่งที่ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวนจาก DPA ภายใต้วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝากต่อ 1 สถาบันการเงินอยู่ที่ 97.46 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วน 98.20% ของผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองทั้งระบบ สะท้อนอันดับความสามารถในการคุ้มครองผู้ฝากส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 2 ในเอเชียและอันดับที่ 31 ของโลก และเพื่อให้ DPA มีความพร้อมในการเป็นองค์กรคุ้มครองเงินฝากที่น่าเชื่อถือและทันสมัย สร้างความมั่นใจให้ผู้ฝากและประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ DPA จึงได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานภายใต้แนวคิด READY & Prompt มุ่งสู่ยุทธศาสตร์ระยะที่ 4 (ปี 2566-2570) ‘DPA พร้อม’ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพองค์กร 

 

ทั้งในด้านการจ่ายเงินคุ้มครองและการชำระบัญชีและบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้ผู้ฝากเงินได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี DPA ตั้งเป้าการจ่ายเงินคุ้มครองให้กับผู้ฝากส่วนใหญ่ภายใน 7 วันทำการสำหรับผู้ฝากที่ผูกบัญชี Prompt Pay กับหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 

 

ภาพ: ภาพรวมเงินฝากในระบบที่ได้รับการคุ้มครอง

 

โดยจากผลศึกษาและเก็บข้อมูลสถิติในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2566 ของสมาคมสถาบันประกันเงินฝากระหว่างประเทศพบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนวันในการจ่ายเงินคุ้มครองให้กับผู้ฝากสามารถทำได้เร็วขึ้นจาก 28 วันเหลือเพียง 14 วัน และพบว่ามีเหตุการณ์สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตรวม 13 สถาบันการเงิน ที่สถาบันประกันเงินฝากในต่างประเทศดำเนินการจ่ายเงินคุ้มครองให้กับผู้ฝากส่วนใหญ่ได้ภายใน 7 วันทำการ ทั้งนี้ คำว่าผู้ฝากส่วนใหญ่นั้นจะต้องครอบคลุมผู้ฝากสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 75 %

 

จากภารกิจของของ DPA มีการเตรียมความพร้อมด้านการคุ้มครองเงินฝากของไทย จึงยิ่งมีความสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่แน่นอนใดๆ ขึ้นจนส่งผลกระทบถึงขั้นสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต DPA จะสามารถปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมรองรับการคุ้มครองเงินฝากการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ที่คาดว่าจะประกาศรายชื่อในปีนี้ และเริ่มดำเนินธุรกิจได้ในปีหน้า

 

นอกจากยังเตรียมพร้อมมีการซักซ้อม ด้านการจ่ายเงินคุ้มครองและการชำระบัญชีบนพื้นฐานข้อมูลเสมือนจริงของสถาบันการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นประจำทุกปี รวมถึงการบริหารเงินกองทุนคุ้มครองเงินฝากให้มีการเติบโต มั่นคง และปลอดภัย ซึ่งมีเป้าหมายผลตอบแทนการลงทุน (Yield) ปี 2568 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.20% เพิ่มจากปี 2567 ที่ทำได้ 2.17% ถือเป็นระดับ Yield สูงสุดในรอบ 5 ปี โดยเน้นการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล เงินฝากสถาบันการเงินภาครัฐที่ได้รับการคุ้มครองเงินต้น ปัจจุบันมูลค่าเงินกองทุนฯ อยู่ที่ 146,466.49 ล้านบาท ซึ่งเป็น ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 

 

ภาพ: JHK2303 / Shutterstock

 

The post อานิสงส์แจกเงิน 10,000 บาท ช่วยดันเงินฝากกลุ่มต่ำกว่า 50,000 บาทในปี 67 โต 4.84% appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประเทศไทยจำเป็นแค่ไหนต้องมี Entertainment Complex ในมุมมองของ ‘อดีตประธานสมาคมสวนสนุกโลก’ https://thestandard.co/wealth-in-depth-entertainment-complex/ Mon, 24 Mar 2025 00:00:39 +0000 https://thestandard.co/?p=1055368

Entertainment Complex เป็นอีกหนึ่งกระแสที่กำลังร้อนแรงใ […]

The post ประเทศไทยจำเป็นแค่ไหนต้องมี Entertainment Complex ในมุมมองของ ‘อดีตประธานสมาคมสวนสนุกโลก’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Entertainment Complex เป็นอีกหนึ่งกระแสที่กำลังร้อนแรงในประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็น ‘คาสิโน’ ที่คนในสังคมกำลังสนใจ แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีหรือพร้อมแค่ไหน ในมุมมองอดีตประธานสมาคมสวนสนุกโลก ซึ่งอีกหมวกยังเป็นเอกชนที่ทำธุรกิจสวนน้ำและสวนสนุกชื่อเดิมว่า ‘สวนสยาม’ ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนานกว่า 40 ปี ปัจจุบันรีแบรนด์ใหม่เป็น ‘สยามอะเมซิ่งพาร์ค’

 

วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ ผู้ประกอบกิจการสยามอะเมซิ่งพาร์ค (ชื่อเดิมคือสวนสยาม) และอดีตประธานสมาคมสวนสนุกโลก (International Association of Amusement Parks and Attractions: IAAPA) ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว มีมุมมองต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ว่ามีความเสี่ยงย่ำแย่กว่าปี 2567 อย่างไรก็ดี ในปีนี้มีปัจจัยที่มีความแตกต่างจากปี 2567 ใน 2 ประเด็น คือ

 

เรื่องแรก ในปี 2568 รัฐบาลจะสามารถเบิกใช้งบประมาณรายจ่ายได้เต็มปี เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2567 ที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้แบบเต็มปี ซึ่งการใช้จ่ายภาครัฐถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ปัญหาในปีนี้มองว่าอยู่ที่นโยบายภาครัฐในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินสดกับผู้บริโภค ซึ่งไม่ได้การันตีว่าจะมีการนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ หรืออาจนำเงินไปชำระหนี้ หรืออาจถือเก็บเงินสดไว้ไม่ใช้จ่าย โดยสอดคล้องกับสำนักวิจัยเศรษฐกิจต่างๆ ที่ประเมินว่าเงินสดที่รัฐบาลแจกทุก 100 บาท ประชาชนที่ได้รับจะใช้จ่ายจริงเพียง 20-30 บาทเท่านั้น ดังนั้นจึงอาจไม่ได้ผลลัพธ์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ภาครัฐต้องการ

 

ดังนั้นภาครัฐต้องพิจารณาว่าจะมีวิธีการบริหารจัดการเงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร เช่น การนำเงินไปช่วยผู้ประกอบการธุรกิจ อย่างของบริษัทที่มีการดูแลพนักงานจำนวน 400-500 ครอบครัว

 

เรื่องที่สอง ผู้ประกอบการเอกชนส่วนใหญ่มีมุมมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะย่ำแย่กว่าปี 2567 เปรียบเทียบกับช่วงต้นปี 2567 ที่ยังมีมุมมองที่เป็นข้อถกเถียงกันว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวดีขึ้นหรือย่ำแย่กว่าปี 2566

 

ภาพ: วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ ผู้ประกอบกิจการสยามอะเมซิ่งพาร์ค

 

ดังนั้นในภาคเอกชนต้องหารือเพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว อีกปัญหาสำคัญคือการขาดความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีความกังวลต่อความไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคต

 

ขณะที่หลังช่วงโควิดแพร่ระบาด เครื่องยนต์หลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจคือภาคการท่องเที่ยวกับภาคส่งออก โดยนับตั้งแต่ โดนัลด์ ทรัมป์ รับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในช่วงต้นปีนี้ ได้เริ่มทยอยประกาศตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้ากับประเทศคู่ค้าต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อภาคการส่งออกของไทยในปีนี้ให้ย่ำแย่ อีกทั้งคาดว่ากำลังซื้อภายในประเทศจะยังชะลอตัวต่อเนื่อง

 

‘สยามพาร์คซิตี้’ สนใจลุย Entertainment Complex

 

โดยคาดว่าในปีนี้เหลือภาคการท่องเที่ยวที่จะเป็นความหวังของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ โดยมีจุดขายหลักคือแหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม ธรรมชาติ อาหาร และช้อปปิ้ง ซึ่งมีมุมมองว่าปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมองค์รวมของภาคการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวซ้ำและใช้จ่ายเพิ่มเติม คือโครงการสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) ช่วยเป็น Magnet หรือดึงดูดนักท่องเที่ยว ดังนั้นในฐานะผู้ประกอบการเอกชนจึงมีความเห็นว่าไทยควรมี Entertainment Complex

 

สำหรับกลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ ปัจจุบันก็มีความสนใจในการลงทุนในโครงการ Entertainment Complex ซึ่งความคืบหน้านี้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) Entertainment Complex ที่เตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณา หาก ครม. เห็นชอบก็เตรียมยื่นสภาเพื่อขอความเห็นชอบต่อ แต่ก็ยังติดตามว่าจะให้มีการปรับแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ในประเด็นใดบ้าง

 

“โครงการ Entertainment Complex ไม่ว่าสวนสยามจะทำหรือไม่ทำ คิดว่าประเทศไทยก็ควรมี Entertainment Complex”

 

ภาพ: โอกาสและความท้าทายจากโครงการ Entertainment Complex

 

โดยที่ผ่านมาบริษัทในฐานะผู้ประกอบการสวนน้ำและสวนสนุก รวมทั้งมีแผนจะลงทุนธุรกิจโรงแรมเพิ่มในอนาคต และยังมีพื้นที่ว่างพร้อม ปัจจุบันมีพื้นที่รวมประมาณ 220 ไร่ที่บริษัทเป็นเจ้าของเอง อีกทั้งยังมีที่ดินที่สามารถจัดหาเพิ่มเติมได้บริเวณโดยรอบของพาร์ตเนอร์อีกประมาณกว่า 200 ไร่ ส่งผลให้บริษัทมีศักยภาพพร้อมด้วยจำนวนที่ดินที่มีในมือรวมประมาณ 450-500 ไร่

 

สำหรับการดำเนินโครงการ Entertainment Complex ก็มีการร่วมพูดคุยกับพาร์ตเนอร์ต่างชาติที่มีความสนใจจำนวนหลายราย ทั้งจากตะวันออกกลาง สหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย สะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติมีมุมมองว่าภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยยังมีความเข้มแข็ง

 

ส่วนคาสิโนมองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการ เปรียบเทียบกับ Entertainment Complex ในสิงคโปร์หรือมาเก๊าที่เป็นเมืองหลวงคาสิโนในเอเชีย ก็มีสัดส่วนของคาสิโนไม่ได้สูงในโครงการ Entertainment Complex ขณะที่ร่าง พ.ร.บ. Entertainment Complex ของไทยเบื้องได้กำหนดพื้นที่คาสิโนไว้ไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมด

 

วุฒิชัยยังให้มุมมองสัดส่วนกำไรที่จะมาจาก Entertainment Complex ว่ามากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับว่าเอกชนที่เข้ามาเป็นผู้ทำโครงการมี Core Business อะไร หากมีคาสิโนเป็น Core Business ก็อาจใช้ธุรกิจโรงแรมทำโปรโมชันให้มาเข้าพักฟรีเพื่อดึงดูดให้เข้ามาเล่นคาสิโน โครงการนั้นก็มีกำไรที่มาจากธุรกิจคาสิโนเป็นหลัก

 

แต่หากยกตัวอย่างในกรณีที่บริษัทสยามพาร์คซิตี้ ซึ่งมี Core Business คือสวนน้ำ สวนสนุก และโรงแรม เป็นผู้ดำเนินโครงการ Entertainment Complex ในส่วนกำไรที่มาจากธุรกิจคาสิโนก็จะมาเป็นองค์ประกอบเสริม ดังนั้นสัดส่วนลูกค้าของทั้งโครงการที่จะมาคาสิโนจึงไม่สูง แต่การมีคาสิโนมีข้อดีในการช่วยกระจายความเสี่ยงของการลงทุน และช่วยให้ระยะเวลาคืนทุนของทั้งโครงการเร็วขึ้น ขณะที่ร่าง พ.ร.บ. ของไทยยังกำหนดเงื่อนไขล็อกไว้ด้วยว่าผู้ทำธุรกิจคาสิโนใน Entertainment Complex ห้ามดำเนินธุรกิจคาสิโนออนไลน์ ซึ่งจะมีการแยกใบอนุญาตออกมาเฉพาะด้วย

 

เล็งทุ่ม 700 ล้านบาท ต่อยอดธุรกิจเดิม-ใหม่ รองรับ Entertainment Complex

 

สำหรับแผนธุรกิจของกลุ่มสยามพาร์คซิตี้ที่วางไว้อยู่แล้วแม้ว่าจะไม่ได้ทำโครงการ Entertainment Complex คือการลงทุนธุรกิจใหม่ โดยการพัฒนาโครงการโรงแรมขนาด 100-300 ห้อง มูลค่าลงทุนประมาณ 200-500 ล้านบาท อีกทั้งจะใช้งบลงทุนอีกราว 200 ล้านบาท พัฒนาเครื่องเล่นใหม่ๆ ดังนั้นคาดว่างบลงทุนรวมประมาณ 500-700 ล้านบาท จะมีการลงทุนในระหว่างปี 2568-2571

 

โดยธุรกิจโรงแรมจะมาช่วย Synergy กับธุรกิจเดิมคือธุรกิจสวนน้ำ สวนสนุก และธุรกิจศูนย์การประชุม เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีการเข้ามาใช้บริการในการประชุมสัมมนาแต่ไม่มีที่พักรองรับมากพอ อีกทั้งช่วยการท่องเที่ยวในรูปแบบครอบครัวในสวนน้ำ สวนสนุก ที่จะใช้ระยะเวลายาวนานขึ้น จะเป็นการลงทุนเพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวให้มาใช้ชีวิตได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน

 

โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนผังเมืองให้มีความชัดเจน หากมีการปรับเปลี่ยนก็จะสามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่ขึ้น

 

ภาพ: แผนผังโครงการสยามอะเมซิ่งพาร์ค

 

“ช่วงปี 2561-2562 เราลงทุนธุรกิจรีเทล Bangkok World เป็นพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ มูลค่าลงทุน 1,200 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นธุรกิจรีเทลกำลังบูมมาก เพื่อสร้างการเติบโตเตรียมพร้อมนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น แต่ตอนนั้นเจอผลกระทบโควิดระบาดทำให้ต้องแบกภาระดอกเบี้ยที่สูง ส่วนแผนเข้าตลาดหุ้นต้องชะลอไปออกไปก่อน ส่วนในอนาคตหากมีความพร้อมก็คงกลับมาพิจารณาพูดคุยกันในครอบครัวอีกครั้ง เพราะการเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นการตอบโจทย์ช่วยให้ธุรกิจครอบครัวเติบโตได้อย่างยั่งยืน”

 

อย่างไรก็ดี หากบริษัทมีโอกาสได้มีส่วนลงทุนในโครงการ Entertainment Complex ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่เข้ามาช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจบริษัทในอนาคต

 

ประโยชน์ของ Entertainment Complex

 

อย่างไรก็ดี มีมุมมองว่าการผลักโครงการ Entertainment Complex ขึ้นกับการตั้งวัตถุประสงค์ของภาครัฐบาลว่าต้องการให้โครงการสนับสนุนในด้านใดเป็นเป้าหมายหลัก

 

หากต้องการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวก็ต้องให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยวเป็นผู้บริหารและดำเนินโครงการหลัก แต่หากมีนโยบายผลักดันให้ Entertainment Complex มีคาสิโนเป็นจุดขาย ก็จะต้องผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินโครงการหลัก

 

วุฒิชัยยังอธิบายถึงประโยชน์ของโครงการ Entertainment Complex หากจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยจะเกิดประโยชน์ต่อภาพต่อเศรษฐกิจไทยในหลายด้าน เริ่มต้นด้วย

 

  1. เป็นโอกาสการดึงนักลงทุนระดับโลกให้เข้ามาร่วมลงทุน Entertainment Complex หากทำได้สำเร็จจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นเพิ่มเติมต่อเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว

 

  1. ช่วยเพิ่มการจ้างงานทั้งในการก่อสร้างโครงการ รวมทั้งจ้างงานเพิ่มขึ้นหลังโครงการ Entertainment Complex เปิดบริการ

 

  1. ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยเพิ่มเติมจากปี 2567 ที่มีจำนวนประมาณ 36 ล้านคน ซึ่งในอดีตเคยขึ้นไปถึงเกือบ 40 ล้านคนต่อปี และเชื่อว่าจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูงให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น รวมถึงคนไทยก็สามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ด้วย

 

ยกตัวอย่าง Entertainment Complexในลาสเวกัส ที่สร้างรายได้อย่างมหาศาล ในระยะหลังจะเน้นในรูปแบบ Adult Entertainment จับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้ใหญ่เน้นการกินดื่ม ฟังเพลง คาสิโน ไม่ได้เน้นการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว ซึ่งจะคล้ายกับแหล่งท่องเที่ยวของไทยในย่านพัฒน์พงศ์ นานา หรือ Walking Streetในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

 

ทั้งนี้ เห็นว่าจึงควรสนับสนุนการออกแบบการท่องเที่ยวรูปแบบ Adult Entertainment เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูงให้เข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีโปรดักต์ที่หลากหลายเพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญเศรษฐกิจไทยในปี 2568

 

ในฐานะภาคเอกชนยังประเมินปัจจัยความเสี่ยงสำคัญที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจในปีนี้ดังนี้

 

  1. ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ เป็นประเด็นที่มีความกังวลมากที่สุด เนื่องจากมีกระแสข่าวความขัดแย้งภายในที่ออกมาสร้างความกังวลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องการให้ภาครัฐมีการหารือพูดคุยกับภาคเอกชนมากขึ้นในฐานะผู้อยู่หน้างานในการทำธุรกิจ การร่วมกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อหาทิศทางในการร่วมมือทำงานมากขึ้น

 

  1. ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ทั้งประเด็นของสงครามการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังยืดเยื้อ รวมทั้งสงครามการค้า (Trade War) ในประเด็นการตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้มีสินค้าส่งออกจากจีนทะลักเข้ามาในไทย

 

  1. ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเอกชนโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs และผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจไม่กล้าลงทุน และผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย รวมทั้งปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับที่สูง

 

ด้าน ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษากลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ยืนยันว่ากลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้มีความสนใจที่จะลงทุนในโครงการ Entertainment Complex ร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่างชาติ โดยมีนโยบายถือหุ้นในสัดส่วน 50%

 

ภาพ: ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษากลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้

 

“ผมและครอบครัว พร้อมสนับสนุนรัฐบาลเพื่อให้เกิด Entertainment Complex ในไทย เพื่อให้เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำคนไทยอยู่ดีกินดีขึ้น แม้อาจจะมีส่วนเสียบ้างตามความเห็นของนักวิชาการ แต่เชื่อว่าโครงการนี้จะมีส่วนดีมากกว่าส่วนเสีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของประเทศ”

 

อย่างไรก็ดี หากมีความกังวลว่าการมี Entertainment Complex ในไทยจะมีข้อเสียหรือผลกระทบตามมานั้น เชื่อว่ารัฐบาลสามารถวางกรอบระเบียบกฎหมายหรือวิธีแนวทางป้องกันปัญหาได้อย่างเหมาะสม

 

อีกทั้งมีมุมมองว่ารัฐบาลควรขับเคลื่อนโครงการ Entertainment Complex เพื่อเพิ่มความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว น่าจะเป็นจุดช่วยเสริมดึงดูดความสนใจกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คุณภาพ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักคือเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ แหล่งวัฒนธรรมหรือโบราณสถาน และรับประทานอาหารที่เป็นจุดแข็งของไทย ซึ่งไม่ได้มีเป้าหมายหลักในการเข้าคาสิโน

The post ประเทศไทยจำเป็นแค่ไหนต้องมี Entertainment Complex ในมุมมองของ ‘อดีตประธานสมาคมสวนสนุกโลก’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
TDRI เตือนรัฐบาล ‘หยุดเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต’ เฟสต่อๆ ไป เก็บงบแก้ปัญหาระยะยาว แนะทบทวนเฟส 3 ให้ใช้เงินหมื่นซื้อคอร์สอัปสกิล-รีสกิล https://thestandard.co/tdri-on-digital-wallet-next-phase/ Thu, 20 Mar 2025 05:33:18 +0000 https://thestandard.co/?p=1054184

ดร.สมชัย จิตสุชน ให้ความเห็นกรณีดิจิทัลวอลเล็ต โดยเห็นว […]

The post TDRI เตือนรัฐบาล ‘หยุดเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต’ เฟสต่อๆ ไป เก็บงบแก้ปัญหาระยะยาว แนะทบทวนเฟส 3 ให้ใช้เงินหมื่นซื้อคอร์สอัปสกิล-รีสกิล appeared first on THE STANDARD.

]]>

ดร.สมชัย จิตสุชน ให้ความเห็นกรณีดิจิทัลวอลเล็ต โดยเห็นว่าควรหยุดเดินหน้าในเฟสต่อไป ขณะที่เฟส 3 หนุนทบทวนเงื่อนไขเปิดทางใช้เงินหมื่นซื้อคอร์สอัปสกิล-รีสกิลได้ แนะรัฐบาลใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน เตือน รัฐบาลรับมือเศรษฐกิจซบเซา จากปัจจัยภายนอกและในประเทศ โดยเฉพาะความปั่นป่วนจากสงครามการค้า หนี้ครัวเรือนสูง ห่วงภาระการคลัง ทำเรตติ้งประเทศตก

 

วันนี้ (20 มีนาคม) ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวถึงนโยบายเงินดิจิทัลเฟส 3 ที่ให้กับผู้มีอายุ 16-20 ปีว่า มีการคาดการณ์กันว่าในเฟสที่ 3 นี้อาจได้ผลบ้าง เพราะกลุ่มคนที่แจกยังไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ที่ไม่มากนัก เมื่อได้เงินมาอาจจะใช้เร็ว แต่เชื่อว่าไม่น่าจะได้ผลมากกว่าเฟส 1 ที่มอบให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มเปราะบาง

 

อย่างไรก็ตาม หากอยากให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจจริง ๆ รัฐบาลควรละทิ้งแนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวมากขึ้น และไม่ควรเปิดทางให้นำเงินจำนวนนี้ไปซื้ออะไรก็ได้ แต่ควรกำหนดให้ใช้ไปกับการหาความรู้ อัปสกิล รีสกิล ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มเยาวชนพอดี เพราะเป็นกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่กำลังแรงงานซึ่งอาจจะนำเงินจำนวนนี้ไปเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งแม้จะไม่เห็นผลในระยะสั้นมากนัก แต่ผลในระยะยาวจะดีกว่ากันมากเพราะเป็นการดึงศักยภาพของคนซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยได้ประโยชน์

 

แนะหยุดเดินหน้าเฟสต่อๆ ไป หลังผลลัพธ์ไม่ดีอย่างที่หาเสียงไว้

 

สำหรับกรณีที่นายกรัฐมนตรียืนยันว่าทุกคนที่เข้าเงื่อนไขจะได้รับสิทธิทั้งหมดนั้น ดร.สมชัย กล่าวว่า เป็นการทำให้ตรงกับที่หาเสียงไว้ แต่เห็นชัดแล้วว่าการดำเนินโครงการทั้งเฟส 1-2 รวมทั้งเฟส 3 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจไม่ดีจริงอย่างที่หาเสียงไว้ จึงควรทบทวน  

 

“ตอนที่หาเสียงไว้ และตอนที่เป็นรัฐบาลใหม่ ๆ บอกว่าโครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟู บางคนบอกจะทำให้ไทยหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ด้วยซ้ำ ซึ่งก็ไม่มีคนเชื่อ และวันนี้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง ในเมื่อมันพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง ก็ไม่ควรจะเดินหน้าต่อ เรามองว่าเงินนี้นำไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์ได้มากกว่าเยอะ” ดร.สมชัยระบุ

 

แนะใช้งบพัฒนาดิจิทัล อินเทอร์เน็ตฟรี ดึงศักยภาพคน หนุนเศรษฐกิจ

 

ดร.สมชัย กล่าวด้วยว่า นอกจากงบประมาณหลายแสนล้านที่ต้องเสียไปจากการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยังมีต้นทุนค่าเสียโอกาสด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสียที่มากกว่าตัวเงินเสียอีก เพราะอย่าลืมว่าวันนี้ภาคการคลังของไทยอ่อนแอมาก ประเทศไทยมีเงินน้อยลง ประชาชนก็มีเงินน้อยลง เพราะฉะนั้นนำเงินงบประมาณไปใช้ต้องคิดอย่างระมัดระวัง ถ้านำไปใช้ในเรื่องที่ไม่สมควรใช้ จนทำให้เรื่องที่สมควรใช้จะถูกตัดทิ้งไปก็น่าเสียดาย เช่น เรื่องการพัฒนาทักษะของคน การปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว 

 

รวมทั้งระบบสวัสดิการสังคมของไทยก็ยังมีปัญหาในบางจุด และเรื่องของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและดิจิทัล ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันดีขึ้น ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณของรัฐบาลในการเดินหน้า แต่อาจถูกชะลอออกไปเพราะเอาเงินมาใช้ในเรื่องที่ไม่สมควรใช้แบบนี้ ดังนั้นไม่สนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้าเงินดิจิทัลในเฟสต่อไปอีก

 

“รัฐบาลควรนำงบประมาณไปลงทุนในเรื่องของดิจิทัล ทำอินเทอร์เน็ตฟรี ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยได้มาก ในเรื่องของผลิตภาพของประชาชน เพราะเกิดการพัฒนาตัวเองและสร้างรายได้ ผมเชื่อว่ามีอัจฉริยะที่ซ่อนอยู่ตามซอกมุมต่าง ๆ ของประเทศอยู่มาก เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้รับโอกาส รัฐบาลก็ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อให้แน่ใจว่าเขาจะได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่เขามีอยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าทำ แต่คงไม่ได้ทำ ถ้าเกิดว่าต้องมาจ่ายเงินแบบสุรุ่ยสุร่ายแบบนี้ไปเรื่อย ๆ” ดร.สมชัย ระบุ

 

สงครามการค้าจะทำเศรษฐกิจไทยซบเซา ห่วงภาคการคลังมีปัญหา

 

ดร.สมชัย ในฐานะอดีต กนง. ยังมีข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่า ต้องพยายามแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น อย่าเน้นระยะสั้น เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต กาสิโน พนันออนไลน์ แต่ควรเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มมาตรการระยะยาวมากขึ้น และจะต้องเตรียมรับมือกับความยากลำบากที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามการค้าที่คาดว่าจะมาแบบเต็มรูปแบบเมื่อเทียบกับยุคทรัมป์ 1.0  ต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในหลายปีที่ผ่านมาถูกมองว่าดีเกินไปจนน่าจะมาถึงอาจจะซบเซาลงตามวัฏจักร

 

รวมทั้งเรื่องของสงครามยูเครนในยุโรป อาจส่งผลกระทบต่อไทยในฐานะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกและท่องเที่ยวมาก ขณะที่ในประเทศเองหนี้ครัวเรือนสูง ความสามารถในการผลิตไม่ได้ดีมากนัก เพราะฉะนั้นจะมีปัจจัยทั้งภายนอกและภายในเข้ามาพร้อมกัน

 

“เศรษฐกิจคงซบเซาต่อไป และมองไป 4 ปีถัดไป ภาพก็จะคล้ายกันถ้าไม่ได้มีการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว และถ้ามีการใช้จ่ายเงินอย่างไม่ระมัดระวังแบบนี้ ภาคการคลังจะมีปัญหา หนี้สาธารณะก็คงจะถึง 70% ต่อ GDP ภายในไม่กี่ปีนี้ ในขณะที่ภาระการจ่ายหนี้ของรัฐบาล ทั้งดอกเบี้ย และเงินต้น ก็มีสิทธิ์ที่จะขึ้นไปใกล้ ๆ ชน 15% ที่กำหนดในกฎหมาย ทั้งหมดนี้จะทำให้เรตติ้งของภาครัฐไทยแย่ลงในสายตาของบริษัทประเมินเรตติ้ง ซึ่งเป็นผลเสียระยะยาว เพราะว่าหมายถึง ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาล และจะลามไปถึงภาคเอกชนอาจจะสูงขึ้น ซึ่งก็จะซ้ำเติมเรื่องของเศรษฐกิจเข้าไปอีก” ดร.สมชัย กล่าว

The post TDRI เตือนรัฐบาล ‘หยุดเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต’ เฟสต่อๆ ไป เก็บงบแก้ปัญหาระยะยาว แนะทบทวนเฟส 3 ให้ใช้เงินหมื่นซื้อคอร์สอัปสกิล-รีสกิล appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เปิด 3 เรื่องสยองของ Digital Wallet หลังรัฐเคาะแจก เงินหมื่นเฟส 3 | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-11032025-3/ Tue, 11 Mar 2025 06:35:31 +0000 https://thestandard.co/?p=1050797

หลังบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจเคาะแจก เงินหมื่นเฟส 3 คาดผลักด […]

The post ชมคลิป: เปิด 3 เรื่องสยองของ Digital Wallet หลังรัฐเคาะแจก เงินหมื่นเฟส 3 | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจเคาะแจก เงินหมื่นเฟส 3 คาดผลักดันให้เศรษฐกิจไทยปี 2568 โตได้มากกว่า 3% ฟาก TDRI ชี้แจกเงินหมื่นไร้ประสิทธิภาพกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับ ‘ศิริกัญญา’ พรรคประชาชน มองว่าไม่ส่งผลอะไรต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมเปิด 3 เรื่องสยองของ Digital Wallet จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: เปิด 3 เรื่องสยองของ Digital Wallet หลังรัฐเคาะแจก เงินหมื่นเฟส 3 | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ทำไมออก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และตลาดทุนแล้ว แต่หุ้นไทยยังตก | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-11032025-2/ Tue, 11 Mar 2025 06:04:56 +0000 https://thestandard.co/?p=1050775

วิเคราะห์ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และตลาดทุนไทย และข้อเส […]

The post ชมคลิป: ทำไมออก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และตลาดทุนแล้ว แต่หุ้นไทยยังตก | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

วิเคราะห์ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และตลาดทุนไทย และข้อเสนอของ INVX จะผลักดันดัชนีหุ้นไทยให้ฟื้นตัวอย่างยั่งยืนได้อย่างไร พูดคุยกับ ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ Head of Economic Research หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ทำไมออก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และตลาดทุนแล้ว แต่หุ้นไทยยังตก | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
คลังเผย ‘เงินหมื่น’ เฟส 1 มูลค่า 1.4 แสนล้าน กระตุ้น GDP ได้ 0.3% ตามคาด ลุ้นเศรษฐกิจไทยปี 2568 ขยายตัว 3.5% https://thestandard.co/10k-phase-1-gdp-0-3-percent/ Thu, 30 Jan 2025 13:24:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1036413 เงินหมื่น

กระทรวงการคลังเผย ‘เงินหมื่น’ เฟส 1 เม็ดเงินกว่า 1.4 แส […]

The post คลังเผย ‘เงินหมื่น’ เฟส 1 มูลค่า 1.4 แสนล้าน กระตุ้น GDP ได้ 0.3% ตามคาด ลุ้นเศรษฐกิจไทยปี 2568 ขยายตัว 3.5% appeared first on THE STANDARD.

]]>
เงินหมื่น

กระทรวงการคลังเผย ‘เงินหมื่น’ เฟส 1 เม็ดเงินกว่า 1.4 แสนล้าน กระตุ้น GDP ได้ 0.3% ตามคาด สร้างตัวทวีคูณ (Multiplier Effect) เฉลี่ยอยู่ที่ 0.7 ลุ้น GDP ไทยขยายตัว 3.5% ในปีนี้ โดยตั้งความหวังกับดิจิทัลวอลเล็ตเฟส 3 โครงการบ้านเพื่อคนไทย ซีเกมส์ และการลงทุนใน Data Center และ Cloud ของเอกชน

 

วันนี้ (30 มกราคม) พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ หรือเงินหมื่นเฟสที่ 1 ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัว 0.3% ซึ่งถือเป็นระดับใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ 0.35%

 

สำหรับตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจ (Multiplier Effect) จากเงินหมื่นเฟสแรก พบว่าอยู่ที่ราว 0.7 รอบโดยเฉลี่ย โดยหากแบ่งสัดส่วนผู้ได้รับสิทธิเป็น 5 ส่วน (Quintile) เรียงจากกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่สุดถึงรายได้มากที่สุด พบว่ากลุ่มที่ผู้มีรายได้น้อยที่สุด 20% แรกสร้างตัวทวีคูณมากที่สุดถึง 0.8 รอบ

 

ย้อนกลับไปตอนเปิดตัวโครงการแจกเงินหมื่นเฟสแรก กระทรวงการคลังเคยประเมินว่า โครงการดังกล่าวจะมีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวน 145,552.40 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.35% ต่อปี เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีโครงการ

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนธันวาคม โฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผย ภายหลังจากการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ครั้งที่ 3 ภาครัฐจ่ายเงิน 10,000 บาท ให้แก่กลุ่มเป้าหมายสำเร็จ รวมทั้งสิ้น 14.45 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 99.19% ของกลุ่มเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ ทำให้มีเม็ดเงินจากโครงการหมุนเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวน 144,501.68 ล้านบาท

 

พรชัยเปิดเผยด้วยว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวมาจากการสำรวจ (Survey) ที่จัดทำขึ้น โดยมาจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติจากกลุ่มตัวอย่างราว 30,000 ราย และผลสำรวจจากสวนดุสิตโพล จากกลุ่มตัวอย่างราว 4,000 ราย

 

ทั้งนี้ การวัดผลลัพธ์จากโครงการดังกล่าวต้องประเมินจากการทำแบบสำรวจ เนื่องจากการติดตามการใช้จ่ายของผู้ได้รับสิทธิจากเงินสด ทำได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับการติดตามการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

 

พรชัยกล่าวอีกว่า ผลการสำรวจจากทั้ง 2 แห่งได้ผลลัพธ์ออกมาสอดคล้องกัน โดยพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีการแบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายเงิน 10,000 บาท ไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันคิดเป็น 76% ใช้เพื่อออม 12% และใช้ชำระหนี้ 12% ขณะที่สถานที่ที่นำเงิน 10,000 บาทไปใช้จ่ายอันดับ 1 คือ ร้านค้าภายในชุมชนถึง 96% สำหรับระยะเวลาการใช้จ่ายเงินพบว่า 70-80% เป็นการใช้จ่ายในระยะสั้น 1-3 เดือน

 

ลุ้น GDP ไทยขยายตัว 3.5% ในปีนี้

 

ในวันเดียวกัน พรชัยยังแถลงผลประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่คาดว่า GDP จะขยายตัวเร่งขึ้น 3.0% ในกรณีฐาน (Baseline) ช่วงคาดการณ์ที่ 2.5-3.5% จากแรงหนุนของการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกสินค้า การท่องเที่ยว และการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน

 

สำหรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 สศค. ได้ปรับ ‘ลดลง’ เหลือ 2.5% จาก 2.7% ในประมาณการเมื่อเดือนตุลาคมปี 2567 โดยปัจจัยหลักมาจากภาคอุตสาหกรรมในปีที่ผ่านมาแย่กว่าคาด

 

กระนั้น พรชัยยังกล่าวทิ้งท้ายว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีโอกาสขยายตัวได้สูงกว่า 3.0% โดยอาจขยายตัวถึง 3.5% หากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศเอื้ออำนวย และเกิดแรงขับเคลื่อน 5 ประการ ดังนี้

 

  1. เกิดการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2568 ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน 
  2. เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายของประชาชนผู้ได้รับสิทธิภายใต้โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (ระยะที่ 3) เพื่อทำให้เม็ดเงินทั้งหมดถูกใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ และทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากที่สุด 
  3. เกิดการเร่งรัดการลงทุนในโครงการบ้านเพื่อคนไทยเพื่อให้เกิดการลงทุนตามแผนงาน 
  4. เกิดการกระตุ้นการท่องเที่ยวในภาพรวมและช่วงปลายปีที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 
  5. เกิดการเร่งรัดโครงการการลงทุนของภาคเอกชน หลังได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Data Center และ Cloud Region เพื่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนจริงสู่ระบบเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของไทย

 

อย่างไรก็ตาม พรชัยกล่าวว่ายังมีปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ

 

  1. แนวทางนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และการตอบโต้ของประเทศต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ 
  2. การนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้น กับผลกระทบต่อภาคการผลิตของอุตสาหกรรมไทย 
  3. ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย 
  4. ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในหลายภูมิภาคที่อาจสร้างความผันผวน และจำกัดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย 
  5. ปัญหาหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจของไทย ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อและการใช้จ่ายในระยะต่อไป

 

อ้างอิง:

The post คลังเผย ‘เงินหมื่น’ เฟส 1 มูลค่า 1.4 แสนล้าน กระตุ้น GDP ได้ 0.3% ตามคาด ลุ้นเศรษฐกิจไทยปี 2568 ขยายตัว 3.5% appeared first on THE STANDARD.

]]>
Easy e-Receipt 2.0 ลดหย่อนค่าซื้อสินค้า-ค่าบริการ ตามจำนวนจ่ายจริง สูงสุด 50,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 https://thestandard.co/easy-e-receipt-2-0/ Tue, 24 Dec 2024 11:10:31 +0000 https://thestandard.co/?p=1023294 Easy e-Receipt

วันนี้ (24 ธันวาคม 2567) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ […]

The post Easy e-Receipt 2.0 ลดหย่อนค่าซื้อสินค้า-ค่าบริการ ตามจำนวนจ่ายจริง สูงสุด 50,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Easy e-Receipt

วันนี้ (24 ธันวาคม 2567) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการมาตรการ 
Easy e-Receipt 2.0 ซึ่งเป็นการขยายผลจากมาตรการเดิม Easy e-Receipt เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศในปี 2568 โดยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล) หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 – วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น

 

ปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร เห็นผลตอบรับที่ดีเยี่ยมจากมาตรการ Easy e-Receipt ในช่วงต้นปี 2567 จึงเดินหน้าสานต่อความสำเร็จนี้ เพื่อเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจไทยทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเสนอร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ออกมาตรการ Easy e-Receipt 2.0 ซึ่งมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

 

  1. ให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 – วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท ดังนี้ 
  • 1.1 หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 
(e-Tax Invoice) แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน และ
  • 1.2 หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้ โดยต้องมี e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน
    • ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
    • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
    • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียน
ต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

 

ทั้งนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 1.1 จะเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 1.2 ก็ได้
 

 

  1. กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้
  • ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
  • ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
  • ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
  • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
  • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

 

เปิดลิสต์สินค้า ‘ไม่รวมมาตรการ’

 

โดยค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการนี้ไม่รวมถึง

 

  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  • ค่าซื้อยาสูบ
  • ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (รถจักรยานยนต์ รวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์) และค่าซื้อเรือ 
  • ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการ และผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาของมาตรการ
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าที่พัก
โรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย หรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม

 

ย้ำ e-Tax Invoice และ e-Receipt ต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย

 

ปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า ‘มาตรการ Easy e-Receipt 2.0’ จะช่วยสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2568 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้ตามเป้าหมาย โดยคาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท

 

 

ภาพ: seng kui Lim / 500px / Getty Images

The post Easy e-Receipt 2.0 ลดหย่อนค่าซื้อสินค้า-ค่าบริการ ตามจำนวนจ่ายจริง สูงสุด 50,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้า หวังรับมือนโยบาย ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ https://thestandard.co/china-economic-stimulus-trump-challenge/ Mon, 16 Dec 2024 06:59:26 +0000 https://thestandard.co/?p=1020023 จีน กระตุ้นเศรษฐกิจ

The post จีนคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้า หวังรับมือนโยบาย ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีน กระตุ้นเศรษฐกิจ

The post จีนคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้า หวังรับมือนโยบาย ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านหยวน https://thestandard.co/china-considering-10-trillion-yuan-economy-boost/ Wed, 30 Oct 2024 04:44:14 +0000 https://thestandard.co/?p=1001604 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน

สำนักข่าว Reuters รายงานเมื่อวันอังคาร (29 ตุลาคม) โดยอ […]

The post จีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านหยวน appeared first on THE STANDARD.

]]>
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน

สำนักข่าว Reuters รายงานเมื่อวันอังคาร (29 ตุลาคม) โดยอ้างจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า รัฐบาล จีน กำลังพิจารณา มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อนุมัติเงินกู้เพิ่มเติมมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็น 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปีข้างหน้า เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ไขความเสี่ยงด้านหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น

 

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจนี้อาจได้รับการอนุมัติในการประชุมของสภานิติบัญญัติระดับสูงของจีนที่จะจัดขึ้นในวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 

 

ทั้งนี้ คาดการณ์กันว่าแผน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังกล่าวจะประกอบด้วย

  • เงินกู้ 6 ล้านล้านหยวนที่จะระดมในระยะเวลา 3 ปี รวมถึงปี 2024 เพื่อช่วยให้หน่วยงานท้องถิ่นแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกงบดุล 
  • พันธบัตรมูลค่า 4 ล้านล้านหยวน เพื่อจัดหาเงินทุนให้กับรัฐบาลระดับภูมิภาคในการซื้อที่ดินและทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า

 

รายงานระบุว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจเพิ่มขึ้นหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในสัปดาห์หน้า เนื่องจากคาดว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะทำให้เศรษฐกิจจีนเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น

 

การประชุมสภานิติบัญญัติระดับสูงของจีนกำลังจะเกิดขึ้นในขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่ามาตรการสนับสนุนทางการเงินสำหรับเศรษฐกิจจีนในครั้งนี้จะเป็นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทรงพลังที่สุดของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่

 

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การประชุมครั้งนี้จะยืนยันถึงแผนการรีไฟแนนซ์หนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นและการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่ออัดฉีดเงินทุนเข้าสู่ธนาคาร นักลงทุนต่างจับตามองมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ในรูปแบบของการกู้ยืมและการใช้จ่ายของภาครัฐที่มากขึ้น แต่มีความเห็นที่แตกต่างกันว่ามาตรการดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงในปีนี้หรือไม่

 

รายงานของสำนักข่าว Reuters ระบุว่า เงิน 6 ล้านล้านหยวนที่จะนำมาใช้สำหรับแก้ปัญหาหนี้ในท้องถิ่นนั้น ส่วนหนึ่งจะระดมได้จากการขายพันธบัตรรัฐบาลพิเศษ (Sovereign Bonds)ในขณะที่เงิน 4 ล้านล้านหยวนสำหรับอสังหาริมทรัพย์จะได้รับเงินทุนจากพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นพิเศษ นอกจากนี้ จีนยังกำลังพิจารณาใช้มาตรการอื่นๆ ที่มีมูลค่าอย่างน้อย 1 ล้านล้านหยวน ซึ่งรวมถึงความพยายามในการกระตุ้นการบริโภคด้วย

 

นอกจากนี้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สหภาพยุโรปอนุมัติการเพิ่มภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีนอย่างเป็นทางการสูงถึง 35.3% นอกเหนือจากภาษีนำเข้ารถยนต์มาตรฐาน 10% ของสหภาพยุโรป

 

จีนมีกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 3 ล้านคันต่อปี ซึ่งมากกว่าตลาดสหภาพยุโรปถึง 2 เท่า ปักกิ่งมองว่าภาษีนำเข้าของสหภาพยุโรปเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าและสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและจีน รวมถึงห่วงโซ่อุปทานของยานยนต์ และในปีนี้ปักกิ่งเปิดการสอบสวนการนำเข้าบรั่นดี ผลิตภัณฑ์นม และเนื้อหมูของสหภาพยุโรป ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมาตรการตอบโต้ 

 

ท่าทีของสหภาพยุโรปที่มีต่อปักกิ่งแข็งกร้าวขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาโดยสหภาพยุโรปมองว่าจีนเป็นพันธมิตรที่มีศักยภาพในบางด้าน แต่ยังเป็นคู่แข่งในบางด้านด้วยเช่นกัน มาตรการภาษีนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คนงานในอุตสาหกรรมของเยอรมนีหลายพันคน รวมถึงบริษัทผลิตรถยนต์ต่างนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้น โดย Volkswagen อาจประกาศปิดโรงงานบางแห่งในประเทศเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 87 ปีของบริษัท

 

อ้างอิง:

The post จีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านหยวน appeared first on THE STANDARD.

]]>