มหาอำนาจ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 12 Jan 2024 07:47:16 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: บริษัทเทคโนโลยี มหาอำนาจโลกใหม่ที่มีข้อมูลของเราเป็นอาวุธ https://thestandard.co/technology-company-data-weapon/ Fri, 12 Jan 2024 07:47:16 +0000 https://thestandard.co/?p=886967

ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน เราวนเวียนอยู่กับการใช้แอปพลิเคชัน […]

The post ชมคลิป: บริษัทเทคโนโลยี มหาอำนาจโลกใหม่ที่มีข้อมูลของเราเป็นอาวุธ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน เราวนเวียนอยู่กับการใช้แอปพลิเคชันหรือเข้า-ออกโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งเสมอ โดยหารู้ไม่ว่าเบื้องหลังของชีวิตประจำวันธรรมดา บริษัทผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังสอดแนมพวกเราอยู่ 

 

พวกเขารู้ข้อมูลของเราแทบทุกซอกทุกมุม รู้มากกว่าที่คุณรู้เกี่ยวกับตัวเองเสียอีก 

 

นี่คืออาวุธทรงพลังที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีถูกมองว่าเป็นผู้ท้าชนกับรัฐในการช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจโลก พร้อมทั้งถูกหมายหัวว่าเป็นภัยคุกคามอันใหญ่หลวงต่อเสรีภาพของมนุษย์ เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น? THE STANDARD ชวนหาคำตอบไปพร้อมกัน

 

ตัดต่อ: ธนวัฒน์ กางกรณ์

The post ชมคลิป: บริษัทเทคโนโลยี มหาอำนาจโลกใหม่ที่มีข้อมูลของเราเป็นอาวุธ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สีจิ้นผิงจะเยือนสหรัฐฯ ในรอบ 6 ปี มีนัยอะไรในความสัมพันธ์สองมหาอำนาจ https://thestandard.co/implications-of-xi-jinping-visit-us/ Mon, 13 Nov 2023 08:12:14 +0000 https://thestandard.co/?p=865142 Xi Jinping-Joe Biden

วันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศขอ […]

The post สีจิ้นผิงจะเยือนสหรัฐฯ ในรอบ 6 ปี มีนัยอะไรในความสัมพันธ์สองมหาอำนาจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Xi Jinping-Joe Biden

วันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนออกมาแถลงอย่างเป็นทางการว่า ระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายนนี้ ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนจะเดินทางไปนครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา เพื่อพบกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ตามคำเชิญ พร้อมเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ครั้งที่ 30 โดยครั้งล่าสุดที่ผู้นำทั้งสองประเทศพบกันต้องย้อนกลับไปในการประชุม G20 ที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซียในช่วงเดียวกันนี้ของปีที่แล้ว 

 

การเดินทางไปสหรัฐฯ ในครั้งนี้ของสีจิ้นผิงยังถือเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี และเป็นครั้งแรกที่เขาจะเดินทางไปนครซานฟรานซิสโกตั้งแต่เป็นประธานาธิบดีของจีน 

 

การเดินทางในครั้งนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าจะเป็นไปในลักษณะ ‘หวานอมขมกลืน’ หรือไม่ ด้วยสถานะความจำยอมที่จำเป็นต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นของต่างชาติให้กลับเข้ามาลงทุนในจีน ซึ่งถือเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้าที่เร่งด่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจีน 

 

สาเหตุที่ตั้งข้อสังเกตเช่นนั้น เพราะเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสีจิ้นผิงเองเคยพูดว่า เขาคิดว่าสหรัฐฯ​ กำลังปิดล้อม กักกัน และปราบปรามจีน

 

การพบกัน 3 ชั่วโมงที่บาหลีเมื่อปีที่แล้วไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น

 

ย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้วภาพการจับมือกันระหว่างผู้นำสองประเทศที่อินโดนีเซีย และคำพูดของสีจิ้นผิงที่ว่า “โลกคาดหวังให้จีนและสหรัฐฯ จัดการกับความสัมพันธ์อย่างเหมาะสม” อาจไม่ได้หมายความว่า “เหมาะสม” เท่ากับการเริ่มต้นฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดี เพราะหลังจากที่ผู้นำทั้งสองพบปะและเจรจากันนานถึง 3 ชั่วโมง แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ที่สหรัฐฯ ยิงบอลลูนของจีนที่ล่วงล้ำเข้าไปในน่านฟ้าของสหรัฐฯ โดยระบุว่าเป็นบอลลูนสอดแนม แต่จีนกลับปฏิเสธว่าเป็นบอลลูนเพื่อการวิจัยและสำรวจเท่านั้น และหลังจากนั้นยังคงมีข่าวเรื่องของการเผชิญหน้าระหว่างกองทัพจีนและสหรัฐฯ มาโดยตลอด เช่นการที่เครื่องบินขับไล่ของจีนบินตัดหน้าเครื่องบินลาดตระเวนของสหรัฐฯ บริเวณทะเลจีนใต้ หรือเรื่องเรือรบของจีนที่ดูเหมือนจงใจปาดหน้าเรือรบสหรัฐฯ ที่บริเวณช่องแคบไต้หวันจนเกือบเกิดอุบัติเหตุ

 

แม้ไบเดนและสีจิ้นผิงจะเคยรู้จักกันมาก่อนเป็นเวลากว่า 10 ปี ตั้งแต่สมัยทั้งสองยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี และในตอนที่ไบเดนลงสมัครรับเลือกตั้งจนถึงเข้ารับตำแหน่ง คนจีนดูมีท่าทีต้อนรับประธานาธิบดีคนนี้ของสหรัฐฯ มากกว่าอดีตประธานาธิบดีอย่างโดนัลด์ ทรัมป์ จนถึงขั้นมีกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ของจีนภายหลังที่ไบเดนชนะการเลือกตั้งว่า เรามีความหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะดีขึ้น เพราะเรามี ‘For Biden City’ ซึ่งเป็นการล้อไปกับชื่อภาษาอังกฤษ (Forbidden City) ของพระราชวังต้องห้าม แลนด์มาร์กสำคัญในกรุงปักกิ่ง

 

ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมาในวาระของไบเดน ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสพบกันต่อหน้า 1 ครั้ง และมีการพูดคุยผ่านทางออนไลน์มาแล้วกว่า 6 ครั้ง แม้จะไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ตกต่ำลง แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ดีขึ้น 

 

การส่งสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่อย่าไปคาดหวัง

 

แต่ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคือทั้งสองฝ่ายเองก็พยายามส่งสัญญาณในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กันมากขึ้น โดยเริ่มจากสหรัฐฯ ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แอนโทนี บลิงเคน มาพบกับสีจิ้นผิงในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการเยือนจีนครั้งแรกในรอบ 5 ปีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แม้จะได้พบกันแค่เพียง 35 นาทีก็ตาม 

 

นอกจากนี้ยังมีการเยือนสหรัฐฯ ของหวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีนที่ได้พบกับไบเดนถึง 1 ชั่วโมงเมื่อสัปดาห์ก่อน แม้ภายหลังการพบกันหวังอี้จะบอกว่าเราไม่ควรคาดหวังว่าทุกอย่างจะราบรื่น รวมถึงไม่ควรคาดหวังว่าการประชุมจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ถือเป็นสัญญาณบวกที่เกิดขึ้น

 

และล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เจเน็ต เยลเลน ก็ได้ให้การต้อนรับการมาเยือนสหรัฐฯ ของเหอลี่เฟิง รองนายกรัฐมนตรีของจีน และหัวหน้าผู้แทนการเจรจาการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ซึ่งได้ฉายาว่าเป็นซาร์แห่งเศรษฐกิจจีน นอกจากนั้นในช่วงที่ผ่านมาสื่อต่างๆ ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีนก็ได้ลดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่โจมตีรัฐบาลสหรัฐฯ ให้กับประชาชนในประเทศลงอีกด้วย

 

จับตาการพบกันที่หลังบ้านทำงานอย่างหนักหน่วง

 

วิกเตอร์ ชา อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกิจการเอเชียในสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวของ Oregon Public Broadcasting (OPB) ว่า “ปกติแล้วถ้าคณะของจีนมาที่สหรัฐฯ พวกเขาจะมีข้อเรียกร้องจำนวนมาก พวกเขาต้องการความอลังการ ต้องการความเคารพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และโชคดีว่าการประชุมในครั้งนี้อยู่ที่ซานฟรานซิสโก ไม่ใช่ทำเนียบขาว ทำให้การเป็นเจ้าภาพการประชุมดูไม่ได้เป็นทางการนัก”

 

ในขณะที่บอนนี กลาเซอร์ กรรมการผู้จัดการโครงการอินโด-แปซิฟิกของกองทุน German Marshall ให้สัมภาษณ์กับ OPB เช่นกันว่า “ทีมงานของสีจิ้นผิงต้องการให้การเจรจานอกรอบระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศห่างจากพื้นที่การประชุม APEC และคาดว่าการเจรจาในครั้งนี้จะใช้เวลานานกว่าที่บาหลี”

 

OPB ยังวิเคราะห์ด้วยว่าอาจมีการตกลงล่วงหน้าบางอย่าง เช่น อาจไม่มีแถลงการณ์ร่วมขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนในการเจรจาล่วงหน้า และอาจมีการวางแผนเส้นทางและท่วงท่าของผู้นำก่อนจะเข้าประชุมและพบกันอย่างละเอียดมาก โดยอาจมีการถ่ายภาพหรือไม่ก็เป็นไปได้ทั้งหมด

 

ต้องยอมรับว่าปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ นอกจากจะเป็นปัญหาของทั้งสองประเทศแล้ว ยังเป็นปัญหาของคนทั่วโลก หลายปีที่ผ่านมาประเด็นความขัดแย้ง สงครามการค้าโดยเฉพาะเรื่องของเซมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยี ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคง รวมถึงประเด็นร้อนอย่างยาเฟนทานิล ยังคงเป็นประเด็นที่ต่างฝ่ายต่างงัดข้อกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสร้างผลกระทบให้กับทั้งสองประเทศ รวมถึงบรรดานักลงทุนและคนทั้งโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงไม่แปลกใจที่คนทั้งโลกจะจับตาดูกันว่าการพบกันในวันที่ 15 พฤศจิกายนของผู้นำทั้งสองประเทศในครั้งนี้ จีนกับสหรัฐฯ จะสามารถตกลงกันแบบ Win-Win Situation หรือในภาษาจีนที่ชอบพูดกันว่า 双赢 ได้หรือไม่ หากต่างฝ่ายต่างปากว่าตาขยิบเหมือนที่ผ่านมาก็คงเป็นการพบกันที่สูญเปล่าอีกครั้ง

 

ภาพ: Chip Somodevilla / Getty Images 

อ้างอิง:

The post สีจิ้นผิงจะเยือนสหรัฐฯ ในรอบ 6 ปี มีนัยอะไรในความสัมพันธ์สองมหาอำนาจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ปี 2024 มีอะไรบ้าง ไทยควรยืนตรงไหน ในยุคโลกหลายขั้วอำนาจ https://thestandard.co/geopolitical-risks-in-2024/ Thu, 05 Oct 2023 11:12:03 +0000 https://thestandard.co/?p=851078 เศรษฐา ทวีสิน

โลกที่เคยมีเพียงขั้วอำนาจเดียวกุมกติกานั้นได้แตกดับลงแล […]

The post ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ปี 2024 มีอะไรบ้าง ไทยควรยืนตรงไหน ในยุคโลกหลายขั้วอำนาจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐา ทวีสิน

โลกที่เคยมีเพียงขั้วอำนาจเดียวกุมกติกานั้นได้แตกดับลงแล้ว และกำลังเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ที่มีหลายขั้วมหาอำนาจมากยิ่งขึ้น 

 

แน่นอนว่าเมื่อผู้คุมเกม-ผู้วางกฎกติกานั้นไม่ได้มีแค่หนึ่งเดียวอีกต่อไป สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงมีความซับซ้อน เกิดเป็นการช่วงชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ที่กระจายตัวเป็นจุดวาบไฟขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก 

 

THE STANDARD พูดคุยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) เพื่อทำความเข้าใจถึงระเบียบโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับความเสี่ยงสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในปี 2024 รวมถึงคำถามสำคัญที่ชวนขบคิดว่า แล้วไทยจะต้องวางตัวอย่างไรในสมรภูมิอำนาจโลกที่พลิกผันไปจากอดีต เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติไว้ให้ได้มากที่สุด

ระเบียบโลกหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป

 

รศ.ดร.ปิติ กล่าวว่า ระเบียบโลกที่เราจะเห็นต่อจากนี้ไปคือ Multilateralism หรือมีหลายขั้วมหาอำนาจมากยิ่งขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ขั้วอำนาจเชิงเดี่ยวอย่างที่สหรัฐอเมริกาเคยเป็นตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

 

“แน่นอนว่าการตั้งกติกากฎระเบียบนั้นมันง่ายที่สุดก็ต่อเมื่อมันออกมาจากคนคนเดียว แต่การที่ออกมาจากคนคนเดียวแบบที่สหรัฐฯ เคยทำเมื่อสมัย 20-30 ปีก่อนนั้นเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ โลกของเราไม่ควรจะมีแค่ประเทศประเทศเดียวที่วางกฎกติกาเป็นกรรมการ แถมยังเป็นผู้เล่นด้วยตัวเอง 

 

“อย่างไรก็ตาม แต่ละมหาอำนาจดันมีพลังอำนาจไม่เท่ากัน ฉะนั้น ระเบียบโลกหลังจากนี้ไปจะเป็น Imbalance Multipolarity ซึ่งสถานการณ์ก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น”

ในสายตาของ รศ.ดร.ปิติ ปี 2024 มีอะไรน่าจับตาเป็นพิเศษสำหรับภูมิรัฐศาสตร์โลก

 

รศ.ดร.ปิติ กล่าวว่า “ผมคิดว่าอีเวนต์ใหญ่ที่สุดก็คงจะเป็นความขัดแย้งระหว่าง 2 มหาอำนาจ” 

 

มหาอำนาจใหม่ซึ่งเป็นดาวรุ่งที่มาท้าทายมหาอำนาจเก่าอย่างสหรัฐฯ ชัดเจนว่าก็คือจีน ที่ตอนนี้กำลังทะยานขึ้นเป็นผู้กุมอนาคตทางการค้าและเทคโนโลยี ขณะที่สหรัฐฯ ที่อำนาจอยู่ในช่วงถดถอย ก็พยายามที่จะปิดล้อมจำกัดเขตการขยายอิทธิพลของจีน เพื่อที่จะรักษาสถานะการเป็นมหาอำนาจเชิงเดี่ยวที่จัดระเบียบโลกเอาไว้ให้ได้

 

“สถานการณ์เช่นนี้เห็นค่อนข้างเด่นชัดมาตั้งแต่ปี 2017 แต่สำหรับปีต่อๆ ไป สิ่งที่จะแตกต่างคือเราจะเห็นการดึงสมัครพรรคพวกเข้ามาเพื่อเสริมทัพให้แต่ละฝ่ายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้โลกจะเผชิญสถานการณ์ ‘สามเส้า’ หรือ ‘สามขั้วมหาอำนาจ’ ซึ่งได้แก่ จีนกับพันธมิตรเก่าๆ อย่าง BRICS, Shanghai Cooperation Organisation ต่อมาคือสหรัฐฯ กับพันธมิตรเดิมอย่าง สหภาพยุโรป, อังกฤษ, ออสเตรเลีย, แคนาดา และนิวซีแลนด์

 

“ส่วนขั้วที่ 3 ซึ่งจะเห็นบทบาทโดดเด่นมากยิ่งขึ้น และเป็นกลุ่มที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างก็อยากจะดึงเข้ามาเป็นพวก ซึ่งก็คือกลุ่มประเทศในโลกมุสลิม ประเทศในแอฟริกา และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

 

“เพราะฉะนั้นเราก็จะได้เห็นความพยายามในการที่จะดึงกลุ่มประเทศนี้เข้ามาเป็นพรรคพวกของแต่ละฝ่าย และนั่นก็จะทำให้สมรภูมิของมหาอำนาจที่ขับเคี่ยวกันในมิติของภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น”

สถานการณ์อะไรมีความสุ่มเสี่ยงน่ากังวลมากที่สุด

 

รศ.ดร.ปิติกล่าวว่า “แน่นอนว่าคือสถานการณ์ที่หลายๆ คนมองว่ามันอาจกลายเป็น ‘สงครามตัวแทน’ เนื่องจากจีนกับสหรัฐฯ คงไม่มีการปะทะกันโดยตรง เพราะจะแย่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เห็นได้จากการปะทะกันในสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยี ซึ่งก็เจ็บตัวไปด้วยกันทั้งคู่” 

 

แต่นอกเหนือจากสงครามตัวแทนที่คนทั้งโลกให้ความสนใจแล้ว ก็ยังมีอีก 8 พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่อาจเป็นจุดวาบไฟ (Hot Spot) ซึ่งเราควรจับตาเฝ้าระวังไม่แพ้กัน อันได้แก่

 

  1. ความขัดแย้งดั้งเดิมระหว่าง NATO และรัสเซีย: รศ.ดร.ปิติกล่าวว่า ต้องจับตาต่อไปว่าสถานการณ์ในยูเครนนั้นจะพลิกออกไปอย่างไร โดยมองว่าสถานการณ์ NATO และรัสเซียคือสงครามเย็นที่ยังไม่สิ้นสุด

 

  1. ตะวันออกกลาง: ดินแดนแห่งนี้ในอดีตเคยถูกแบ่งแยกแล้วปกครอง (Divide and Rule) หรือการทำให้แตกความสามัคคีเพื่อที่จะเข้าไปครอบงำได้ แต่มาวันนี้จีนพยายามสร้างพันธมิตรในตะวันออกกลางให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน และมาทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งตรงนี้จะกลายเป็นจุดเปราะบางที่ถือว่าเป็นทางแยกสำคัญของแผนที่โลก เพราะว่ายุโรป เอเชีย แอฟริกา เชื่อมกันอยู่ด้วยตะวันออกกลาง

 

  1. แอฟริกา: ตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรประมาณ 1,200 ล้านคน อีกทั้งยังมีทรัพยากรทางธรรมชาติมหาศาล ซึ่งแต่ก่อนเป็นดินแดนที่ถูกมองข้าม แต่วันนี้ทั้งจีนและสหรัฐฯ ต่างก็พยายามที่จะดึงไปเป็นพันธมิตร

 

  1. เอเชียใต้: ที่น่าจับตาที่สุดคืออินเดีย จากแต่ก่อนเป็นประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement) มาวันนี้อินเดียผูกมิตรกับทุกฝ่ายกลายเป็นประเทศที่เน้นหลายแนวร่วม (Multi-Align Movement) โดยอินเดียเป็นเพื่อนได้กับทั้งสหรัฐฯ จีน รัสเซีย และยุโรป เพราะฉะนั้นเอเชียใต้จะเป็นตัวแปรสำคัญทางภูมิศาสตร์

 

  1. คาบสมุทรเกาหลี: ภูมิภาคนี้เป็นจุดที่มีความไม่แน่นอนสูงสุด เพราะสถานการณ์ของเกาหลีเหนือที่พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างต่อเนื่องนั้น ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมแค่คนเดียวนั่นก็คือ คิมจองอึน ซึ่งมีความไม่แน่นอนทั้งสภาวะจิตใจและวิธีคิดของผู้นำ

 

  1. ช่องแคบไต้หวัน: พื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่จีนและสหรัฐฯ ต่างพยายามช่วงชิงกัน และมีความเกี่ยวโยงพัวพันกับอีกหลายประเด็น เช่น เรื่องของเทคโนโลยี ความมั่นคงทางการทหาร และการดำเนินนโยบายความคลุมเครือเชิงยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯ ดำเนินต่อไต้หวัน 

 

  1. ทะเลจีนใต้: เขตอิทธิพลของจีนและประเด็นพิพาทของอาเซียน อีกหนึ่งจุดวาบไฟที่ชาติมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ เข้ามาเพราะต้องการทรัพยากร ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้ประเทศไทย และถ้าเกิดอะไรขึ้นเราอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย แม้จะไม่มีพื้นที่พิพาทเหมือนชาติอื่นๆ ก็ตาม

 

  1. Zomia: ดินแดนเทือกเขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ปัจจุบันกลายเป็นเส้นทางการค้า เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งรัฐอยากเข้าไปครอบงำ ทว่า ความต้องการของรัฐนั้นขัดแย้งกับความต้องการของคนในพื้นที่ที่อยากมีอิสระ โดยเฉพาะในเขตที่ยังไม่มีรัฐชาติอย่างชัดเจน เช่นในกรณีของเมียนมา เป็นต้น

ไทยควรยืนตรงไหน ในยุคโลกหลายขั้วอำนาจ

 

รศ.ดร.ปิติ เสนอมุมมองที่น่าสนใจว่า โลกปัจจุบันเปรียบเหมือน ‘สามก๊กในศตวรรษที่ 21’ โดยมีตัวละครสำคัญคือสหรัฐฯ ซึ่งเปรียบเสมือนโจโฉที่มีอำนาจอยู่ในมือ และต้องพยายามรักษาอำนาจนั้นไว้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม ส่วนจีนเหมือนเล่าปี่ และประเทศเกิดใหม่เหมือนซุนกวน 

 

แต่แท้ที่จริงแล้ว คนที่กุมชัยชนะตัวจริงในสงครามสามก๊กกลับไม่ใช่ตัวเอกทั้งสาม แต่เป็นสุมาอี้

 

“สุมาอี้คือนักปราชญ์ เป็นนักยุทธศาสตร์ที่รู้จักเร้นกายหลบซ่อนตัวเอง รอคอยจังหวะผูกมิตร สร้างคนดีๆ วางยุทธศาสตร์ดีๆ เพื่อในที่สามารถเอาชนะได้ทั้งหมด” รศ.ดร.ปิติกล่าว “เพราะฉะนั้นคำถามก็คือว่า ประเทศไทยเราจะทำอย่างไรที่จะให้สามารถวางตัวได้ในลักษณะเดียวกับสุมาอี้ และใช้ประโยชน์จากสถานการณ์แบบนี้เพื่อให้ประเทศไทยเราพัฒนาต่อไปได้”

ยุทธศาสตร์และนโยบายต่างประเทศของไทยในรัฐบาลชุดนี้ เหมาะสมกับระเบียบโลกใหม่มากน้อยแค่ไหน 

 

เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Bloomberg ระหว่างการเยือนสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับทิศทางของประเทศไทยที่จะมุ่งหน้าไปต่อจากนี้ โดยหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจระหว่างการให้สัมภาษณ์ คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมหาอำนาจโลกที่เป็นคู่แข่งขันกันมานมนานอย่างสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ทั้งสองขั้วอำนาจเปิดฉากการขับเคี่ยวกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเศรษฐากล่าวว่า “นี่เป็นหนึ่งในเรื่องที่ผมกลัวมากที่สุด นั่นคือประเทศเล็กๆ ต้องถูกบีบให้เลือกข้าง”  

 

คำกล่าวของเศรษฐานั้นสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ระเบียบโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอันเกิดจากแรงกระแทกหนักๆ ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี โรคระบาด ท่ามกลางการงัดข้อกันของชาติมหาอำนาจ ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายอันยิ่งใหญ่สำหรับรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจะต้องอ่านเกมโลกให้ออก วางแผนยุทธศาสตร์ให้ทัน เพื่อสิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนทุกคน

 

THE STANDARD ถามความคิดเห็นของ รศ.ดร.ปิติ ว่าในมุมมองของอาจารย์นั้น คิดเห็นอย่างไรกับนโยบายต่างประเทศของไทยในรัฐบาลชุดนี้ 

 

รศ.ดร.ปิติกล่าวว่า “ผมคิดว่าตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ แต่เราก็เห็นความตั้งใจดีของรัฐบาลที่พยายามจะสร้างนโยบายขึ้นมา และการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาดูแลแล้วด้วย นอกจากนี้เศรษฐาเองหลังจากที่เสร็จสิ้นการประชุม UN ก็ไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาเลย ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ก็มีอีกหลายเรื่องที่ประเทศไทยเราควรทำมากกว่านี้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้”

 

รศ.ดร.ปิติเสนอแนะเพิ่มเติมว่า สิ่งแรกที่รัฐบาลควรทำให้ได้นั้นคือ สร้างองค์ความรู้ให้คนไทยตระหนักว่าการต่างประเทศเป็นเรื่องใกล้ตัว

 

“การต่างประเทศไม่ใช่การเชียร์มวยเลือกข้างเอาแค่สะใจ ฝ่ายแดง-ฝ่ายน้ำเงิน เพราะฉะนั้นอันนี้อาจยังเป็นจุดอ่อนที่เรายังไม่เห็นทีมรัฐบาลชุดนี้จะสามารถสร้างจิตสำนึกหรือทัศนคติแบบนี้ให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงการเข้าใจได้”

 

รศ.ดร.ปิติเล่าต่อไปว่า เพราะในความเป็นจริงแล้วการต่างประเทศเป็นเรื่องใกล้ตัวคนไทยมาก เช่น สงครามยูเครนที่ทำให้เกิดปัญหาการส่งออกธัญพืชนั้นทำให้คนไทยกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแพงมากขึ้นในรอบหลายปี หรืออย่างฝุ่น PM2.5 ที่ทำร้ายสุขภาพของคนไทย ก็เป็นผลจากการที่เกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้านเผาวัสดุการเกษตรจนสร้างปัญหาฝุ่นละออง หมอกควัน ข้ามชายแดน เป็นต้น 

 

“จริงๆ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องจากต่างประเทศทั้งสิ้น ซึ่งตรงนี้หากรัฐบาลทำได้ก็จะมีกองหนุนที่เป็นประชาชนตัวจริง”

 

และเมื่อประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ ทุกคนก็จะเรียนรู้ว่าในบริบทของการต่างประเทศนั้น ‘ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูที่ถาวร’ และด้วยเหตุที่เชื่อมโยงกันนี้ รัฐบาลต้องมีการกำหนดเป้าหมายการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติอย่างชัดเจน 

เราต้องผลักดัน Soft Power แต่ควรเลิกใช้คำว่า Soft Power

 

นอกจากนี้ รศ.ดร.ปิติยังได้หยิบยกประเด็นที่น่าสนใจอย่างคำว่า Soft Power ซึ่งเป็นหนึ่งในวาระที่รัฐบาลผลักดันมาพูดคุยกับ THE STANDARD โดยกล่าวว่า “เราต้องผลักดัน Soft Power แต่ควรเลิกใช้คำว่า Soft Power”

 

เพราะในทางปฏิบัติไม่มีประเทศไหนหรือรัฐไหนบนโลกที่ต้องการตกอยู่ใต้อำนาจ ของชาติอื่น ไม่ว่าจะเป็น Hard Power (แสนยานุภาพ) หรือ Soft Power (กัลยานุภาพ) ก็ตาม

 

“สังเกตว่าประเทศที่ใช้ Soft Power ในการผลักดันวัฒนธรรมของตนเองนั้น ไม่มีใครที่พูดคำว่า Soft Power กันตรงๆ เช่น ญี่ปุ่นวางตำแหน่งแห่งที่ของตนในทาง Soft Power และเรียกการรณรงค์ของตนว่า Cool Japan ในขณะที่เกาหลีเรียกว่า Korean Wave ที่ใช้ตัวอักษร K นำหน้า เช่น K-Pop, K-Drama, K-Lifestyle ส่วนสหรัฐฯ ก็จะมีการสอดแทรกวัฒนธรรมอยู่ในหลายรูปแบบเช่น Hollywood หรือ MTV เป็นต้น”

 

ไทยมีจุดแข็งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมอาหาร ประเพณีงานเทศกาล ประวัติศาสตร์ สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม กีฬา งานศิลปะ ภาพยนตร์ หรือเพลง ฯลฯ แต่เราต้องเลิกเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า Soft Power เพราะอย่างที่กล่าวไปตอนต้น 

 

“เพราะฉะนั้นความปรารถนาดีของเรามันจะไปสร้างความหวาดระแวงและสร้าง Trust Crisis แทน เพราะฉะนั้นต้องเลิกใช้คำว่า Soft Power แล้วไปใช้คำอื่นๆ เช่น Amazing Thailand หรือ Thailand Only หรือ Thainess ก็ได้ และต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าเราจะไปทางไหน ทำเรื่องเหล่านี้เพื่ออะไร และมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะเราไม่สามารถตำน้ำพริกละลายแม่น้ำได้”

The post ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ปี 2024 มีอะไรบ้าง ไทยควรยืนตรงไหน ในยุคโลกหลายขั้วอำนาจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไขคำตอบ ‘อินเดีย’ จะก้าวเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกได้จริงหรือ? https://thestandard.co/india-world-economic-superpower/ Tue, 12 Sep 2023 00:56:31 +0000 https://thestandard.co/?p=840429 อินเดีย

The post ไขคำตอบ ‘อินเดีย’ จะก้าวเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกได้จริงหรือ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
อินเดีย

The post ไขคำตอบ ‘อินเดีย’ จะก้าวเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกได้จริงหรือ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำความรู้จักว่าที่มหาอำนาจใหม่ องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) https://thestandard.co/shanghai-cooperation-organisation-sco/ Wed, 28 Jun 2023 06:49:21 +0000 https://thestandard.co/?p=808752 SCO

ต้นเดือนกรกฎาคม 2023 สายตาทุกคู่ของบุคลากรสายความมั่นคง […]

The post ทำความรู้จักว่าที่มหาอำนาจใหม่ องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) appeared first on THE STANDARD.

]]>
SCO

ต้นเดือนกรกฎาคม 2023 สายตาทุกคู่ของบุคลากรสายความมั่นคงจะจับจ้องไปที่ประเทศอินเดีย เพราะการประชุมสุดยอดผู้นำองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) ในรูปแบบการประชุมทางไกลจะเกิดขึ้น และในการประชุมสุดยอดผู้นำรอบนี้อิหร่านจะได้รับสถานะสมาชิกอย่างเป็นทางการ ภูมิรัฐศาสตร์โลกกำลังจะเปลี่ยนไป SCO จะกลายเป็น International Platform ในระดับโลกทางด้านความมั่นคง และนี่คือสิ่งที่เราต้องรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการติดตามการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งนี้

 

องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organisation: SCO) คือการพัฒนาต่อยอดจากความห่วงกังวลของจีนในพื้นที่เปราะบางทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก็คือเขตปกครองตนเองซินเจียง-อุยกูร์ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ที่อิทธิพลของสหรัฐอเมริกากำลังแทรกเข้าในภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งเป็นปัญหาในลักษณะเดียวกันกับกรณีรัสเซีย ยุโรปตะวันออก และการขยายอิทธิพลขององค์การความร่วมมือแอตแลนติกเหนือ (NATO) 

 

ดังนั้นจีน ภายใต้การสนับสนุนของรัสเซีย ที่ไม่ต้องการเห็นสหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซงกิจการในพื้นที่ซึ่งเคยเป็นเสมือนสนามหลังบ้านของตน จึงสร้างเวทีในการเจรจาการปักปันเขตแดนและเขตปลอดทหาร (Border Demarcation and Demilitarization Talks) ขึ้นระหว่างจีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และทาจิกิสถานขึ้น โดยต่อมาในปี 1996 เวทีการเจรจานี้ได้ยกระดับขึ้นเป็นการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงระหว่างประเทศภาคีภายใต้ชื่อกลุ่ม Shanghai Five 

 

ความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในยุคปลายของทศวรรษ 1990 ได้ขยายขอบเขตออกไปเป็นความร่วมมือหลากมิติ เช่น ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ สังคมวัฒนธรรม และการทหารและความมั่นคง โดยในปี 2000 เมื่อมีการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม Shanghai Five ณ กรุงดูแชนเบอ ประเทศคีร์กีซสถาน ผู้นำทั้ง 5 ประเทศได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งสภาผู้ประสานงานแห่งชาติ (Council of National Coordinators) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นสถาบันหลักในการเป็นแกนกลางประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก 

 

ความพยายามของจีนและรัสเซียในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในการถ่วงดุลกับการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการเป็นผู้จัดระเบียบโลกแต่เพียงผู้เดียวในลักษณะ Hegemonic Unipolarity เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เมื่อจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน และประธานาธิบดีบอริส เยลซิน ผลักดันให้ที่ประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติยอมรับ Russian-Chinese Joint Declaration on a Multipolar World and the Establishment of a New International Order ที่กลุ่ม Shanghai Five ลงนามระหว่างกันในวันที่ 23 เมษายน 1997 ซึ่งแน่นอนว่า ณ ขณะนั้นหลายๆ ประเทศทั่วโลกยังไม่เชื่อว่าทั้งรัสเซียและจีนจะมีศักยภาพเพียงพอในการขึ้นมาเป็นมหาอำนาจระดับโลกได้

 

พัฒนาการสำคัญของกลุ่ม Shanghai Five เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2001-2002 เมื่อประเทศอุซเบกิสถานเข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 ซึ่งนี่ถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ เพราะต้องอย่าลืมว่าด้วยทำเลที่ตั้งของอุซเบกิสถานที่ถึงแม้จะเป็นประเทศ Double Landlocked Country นั่นคือประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลที่ถูกปิดล้อมด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลอีกชั้นหนึ่ง 

 

แต่อุซเบกิสถานก็เป็นดินแดนหัวใจของภูมิภาคเอเชียกลาง และในมิติสังคมวัฒนธรรม อุซเบกิสถานคือประเทศแกนหลักสำคัญของกลุ่มประชากรชาวเติร์กที่มีประชากรรวมกันในโลกกว่า 170 ล้านคน โดยมีตุรกี อุซเบกิสถาน และอิหร่าน เป็น 3 ประเทศหลักที่มีประชากรชาวเติร์กอาศัยอยู่มากที่สุด โดยชาวเติร์กและกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์ที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนต่างก็มีปูมหลังทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง รวมทั้งอุซเบกิสถานยังเป็นผู้เล่นสำคัญในกลุ่มความเชื่อลัทธิซุนนีของศาสนาอิสลาม 

 

ดังนั้นการสร้างพันธมิตรกับอุซเบกิสถาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และทาจิกิสถาน จึงเป็นหลักประกันที่สำคัญว่า ชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงจะไม่โดดเดี่ยว และจีนจะได้รับการสนับสนุนจากโลกมุสลิม

 

การเข้ามาของอุซเบกิสถานในปี 2001 ทำให้ทั้งกลุ่มมีการเปลี่ยนชื่อเป็น ‘องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้’ (Shanghai Cooperation Organisation: SCO) ภายใต้ Declaration of Shanghai Cooperation Organisation ที่เน้นการสร้างความร่วมมือที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นในมิติการเมืองและเศรษฐกิจ โดยทั้ง 6 ประเทศได้ออกกฎบัตร (SCO Charter) ในปี 2002 เพื่อเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักการ โครงสร้าง รูปแบบการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งทิศทางและแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม และทำให้ SCO มีสถานะทางกฎหมายบนเวทีระหว่างประเทศ 

 

มาถึงเวลานี้ SCO กลายเป็นความร่วมมือที่มีความเข้มแข็งอย่างยิ่งในมิติภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ เพราะต้องอย่าลืมว่ารัสเซียคือประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลที่สุดในโลก และมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่งในพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งไซบีเรียที่อุดมไปด้วยน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ทองคำ ทองแดง เงิน และสินแร่เหล็ก ในขณะที่อุซเบกิสถานคือประเทศที่ผลิตทองคำมากเป็นอันดับที่ 7 ของโลก มีปริมาณสำรองทองแดงอันดับ 10 และปริมาณสำรองยูเรเนียมอันดับที่ 7 และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับที่ 11 ของโลก เช่นเดียวกับที่คาซัคสถานก็เป็นทางออกให้จีนสามารถเดินทางเชื่อมโยงสู่ทะเลสาบแคสเปียน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก

 

อย่างไรก็ตาม วาระหลักที่ทุกประเทศทั่วโลกหวาดกลัวตลอดทั้งทศวรรษ 2000 จากภัยการก่อการร้ายโดยกลุ่มหัวรุนแรงที่ตีความทางศาสนาอย่างบิดเบี้ยว และสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) หลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้บทบาทของการรวมกลุ่มด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของ SCO ไม่ได้รับความสนใจหรือเป็นที่จับตาเฝ้าระวังมากนัก โดยเฉพาะจากฝั่งสหรัฐฯ หากแต่ SCO ก็มีพัฒนาการที่สำคัญๆ เกิดขึ้นตลอดทศวรรษดังกล่าว เช่น การเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์การประชุมของอินเดีย อิหร่าน มองโกเลีย และปากีสถาน ในปี 2005 การสร้างความร่วมมือในการพัฒนา 20 โครงการขนาดใหญ่ร่วมกันในมิติโลจิสติกส์ พลังงาน และโทรคมนาคม ในปี 2007 ซึ่งต่อมาจะถูกพัฒนาให้กลายเป็นโครงการนำในความริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2012-2013

 

SCO เริ่มถูกจับตาเฝ้าระวังจากสหรัฐอเมริกาอีกครั้งเมื่อมีการรับอินเดียและปากีสถานเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิกอย่างเป็นทางการในปี 2015 ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ SCO กลายเป็นกรอบความร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดกรอบหนึ่งของโลก ในมิติพื้นที่ SCO ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 60% ของมหาทวีปยูเรเชีย กินพื้นที่ตั้งแต่ดินแดนใจกลางทวีปสู่พื้นที่ขอบทวีป โดยมีรัสเซีย จีน อินเดีย และคาซัคสถาน เป็นประเทศที่มีอาณาเขตใหญ่เป็นอันดับที่ 1, 3, 7 และ 9 ของโลก

 

SCO คือกรอบความร่วมมือของประชากรมากกว่า 3.3 พันล้านคน หรือกว่า 40% ของประชากรของโลก และมีพลังอำนาจทางเศรษฐกิจขนาดมหาศาลที่คิดรวมเป็นกว่า 20% ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศของทั้งโลก (World GDP) โดยมีจีน อินเดีย และรัสเซีย ซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับที่ 1, 3 และ 6 ตามลำดับ (พิจารณาจากค่า GDP PPP) 

 

แต่ทั้งหมดนั้นยังไม่ใช่ประเด็นที่สร้างความสนใจเท่ากับการที่สมาชิกของกลุ่มมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอิหร่านที่เป็นผู้สังเกตการณ์การประชุมมาตั้งแต่ปี 2005-2006 กำลังจะได้เป็นสมาชิกทางการในการประชุมสุดยอดผู้นำในเดือนกรกฎาคม 2023 และ ณ ปี 2023 SCO ยังมีประเทศผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมอีก 3 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน เบลารุส และมองโกเลีย มีประเทศคู่เจรจาอีก 13 ประเทศ ได้แก่ ศรีลังกา, ตุรกี, กัมพูชา, อาเซอร์ไบจาน, เนปาล, อาร์มีเนีย, อียิปต์, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, คูเวต, มัลดีฟส์, เมียนมา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งยังมีอีก 1 ประเทศที่กำลังจะได้รับสถานะคู่เจรจานั่นคือ บาห์เรน และในรายชื่อประเทศที่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกสังเกตการณ์และคู่เจรจา อันได้แก่ บังกลาเทศ ซีเรีย อิสราเอล อิรัก และแอลจีเรีย

 

SCO

 

จากแผนที่ รายชื่อประเทศสมาชิก และพัฒนาการในอนาคตของการเพิ่มจำนวนประเทศสมาชิก นั่นทำให้เราเห็นว่า SCO ได้กลายเป็น International Platform หลักของโลกไปแล้วในการพัฒนาความร่วมมือในมิติความมั่นคง (และยังขยายต่อยอดไปยังมิติอื่นๆ) สำหรับพันธมิตร จีน โลกมุสลิม และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั่วโลกที่มีความสามารถทางการแข่งขัน ทั้งในมิติอำนาจซื้อ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทำเลที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์

 

ไม่ว่า SCO จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่ขณะนี้สหรัฐฯ เองก็ต้องติดตามเฝ้าระวังพัฒนาการของกรอบความร่วมมือนี้อย่างใกล้ชิด เพราะนี่คือความท้าทาย ภาวะคุกคามที่น่าจะยิ่งใหญ่ที่สุดต่อสถานะเจ้ามหาอำนาจโลกเชิงเดี่ยวทางด้านความมั่นคงที่สหรัฐฯ เคยกุมระเบียบเอาไว้แต่เพียงผู้เดียวมาตลอดตั้งแต่หลังสงครามเย็น

 

ภาพ: China Photos / Getty Images, ShutterStock

The post ทำความรู้จักว่าที่มหาอำนาจใหม่ องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ศึกชิงพันธมิตร ทำไมสหรัฐฯ และจีน ถึงแข่งกันดึงอินโดนีเซียมาเป็นพวก | KEY MESSAGES #73 https://thestandard.co/why-us-china-competing-for-indonesia/ Fri, 31 Mar 2023 11:25:29 +0000 https://thestandard.co/?p=771488 สหรัฐ จีน อินโด

ประเด็นการเลือกข้างเป็นสิ่งที่หลายชาติในอาเซียนพยายามหล […]

The post ชมคลิป: ศึกชิงพันธมิตร ทำไมสหรัฐฯ และจีน ถึงแข่งกันดึงอินโดนีเซียมาเป็นพวก | KEY MESSAGES #73 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สหรัฐ จีน อินโด

ประเด็นการเลือกข้างเป็นสิ่งที่หลายชาติในอาเซียนพยายามหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเลือกว่าจะอยู่ฝั่งจีนหรือสหรัฐฯ

 

แต่เวลานี้ ‘อินโดนีเซีย’ ดูจะเนื้อหอมกว่าชาติอื่นๆ ในอาเซียน เมื่อจีนและสหรัฐฯ ต่างพยายามหว่านล้อมอินโดนีเซียด้วยมาตรการด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง เพื่อดึงให้อินโดนีเซียเข้าข้างฝ่ายของตัวเอง ซึ่งก็สร้างความลำบากใจให้อินโดนีเซียไม่น้อยเช่นกัน

 

ทำไมมหาอำนาจทั้งสองประเทศจึงอยากได้อินโดนีเซียมาเป็นมิตร และอินโดนีเซียจะเลือกฝั่งจีน? สหรัฐฯ? หรือไม่เลือกใครเลย

 

เรื่อง: ตรีนุช อิงคุทานนท์
ตัดต่อ: จิรภัทร นาสารี

The post ชมคลิป: ศึกชิงพันธมิตร ทำไมสหรัฐฯ และจีน ถึงแข่งกันดึงอินโดนีเซียมาเป็นพวก | KEY MESSAGES #73 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประเด็นน่าจับตาในการเมืองโลก 2022 กับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข https://thestandard.co/now-and-next-2022-world-politics-2022-by-surachat-bamrungsuk/ Wed, 29 Dec 2021 09:42:53 +0000 https://thestandard.co/?p=577437 การเมืองโลก 2022

นี่คือภาพรวมประเด็นน่าจับตามองในการเมืองโลก 2022 ในทัศน […]

The post ประเด็นน่าจับตาในการเมืองโลก 2022 กับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข appeared first on THE STANDARD.

]]>
การเมืองโลก 2022

นี่คือภาพรวมประเด็นน่าจับตามองในการเมืองโลก 2022 ในทัศนะของ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข โดยแบ่งโจทย์ใหญ่เป็น 2 ส่วน โจทย์ส่วนหนึ่งจะยังคงเป็นโจทย์ของการแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่ (Great Power Competition) กับโจทย์อีกชุดหนึ่งที่เป็นโจทย์ชีวิตของผู้คนในสังคมโลกที่เกี่ยวพันกับโจทย์เรื่องโรคระบาดอย่างโควิด (COVID-19) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของโควิดในปี 2022 รวมถึงโจทย์โควิดที่ซ้อนทับกับโจทย์สำคัญในมิติต่างๆ

 

ดูเหมือนจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วที่พอช่วงปลายปีมาถึง THE STANDARD จะต้องมาร่วมพูดคุยถึงภาพรวมประเด็นร้อนในการเมืองโลกที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาและประเด็นน่าจับตามองในปีถัดๆ ไป กับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์พิเศษประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ศ.ดร.สุรชาติเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการฉายให้เห็นภาพใหญ่ของการเมืองโลก 2022 จะมีโจทย์ใหญ่ 2 ส่วน โจทย์ส่วนหนึ่งจะยังคงเป็นโจทย์เดิมคือ การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่ (Great Power Competition) กับโจทย์อีกชุดหนึ่งที่อาจไม่ใช่โจทย์การเมืองโดยตรง นั่นคือโจทย์เรื่องโรคระบาดอย่างโควิด (COVID-19) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของโควิดในปี 2022 รวมถึงโจทย์โควิดที่ซ้อนทับกับโจทย์สำคัญในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโจทย์วิกฤตเศรษฐกิจโลก โจทย์วิกฤตด้านอากาศ โจทย์วิกฤตด้านอาหาร เป็นต้น

 

“ถ้าคุณรู้สึกว่าคำว่า สงครามเย็น (Cold War) เซนสิทีฟเกินไป ภาษาที่นักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใช้วันนี้คือ เราถอยกลับไปใช้คำในต้นศตวรรษที่ 20 อย่าง Great Power Competition ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่มาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งปี 2022 ก็จะเห็นโจทย์นี้ต่อไปอีก กับโจทย์อีกชุดหนึ่งที่ไม่ได้เป็นโจทย์การเมืองแต่เป็นโจทย์ชีวิต มีวิกฤตของชีวิตคนหรือวิกฤตความมั่นคงของมนุษย์เป็นโจทย์ใหญ่”

 

หากเราแยกโจทย์ส่วนแรก Great Power Competition ออกเป็นรายละเอียด มิติที่เราจะเห็นคือ 

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: Khanthachai C / Shutterstock

 

1. การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition) หรือที่ผมเรียกจริงๆ คือสงครามการเมืองของรัฐมหาอำนาจใหญ่ เราจะเห็นการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย โดยเฉพาะในส่วนของสหรัฐฯ กับจีน คำถามที่น่าสนใจคือ การแข่งขันนี้จะนำไปสู่อะไรในปี 2022 ที่สำคัญเราตอบได้ว่า การแข่งขันนี้มีนัยยะของการสร้างอำนาจ เพื่อที่จะตอบว่าใครจะเป็นรัฐมหาอำนาจหมายเลขหนึ่งในเวทีโลก ผมเชื่อว่าปี 2022 จะเข้มข้นขึ้น

 

การเมืองโลก 2022sms

ภาพ: Pla2na / Shutterstock

 

2. การแข่งขันทางเศรษฐกิจ (Economic Competition) โดยเฉพาะสงครามเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ กับจีน สงครามเศรษฐกิจโดยตรงในรูปแบบของกำแพงภาษี ซึ่งในปัจจุบันแม้จะมีการเปลี่ยนผู้บริหารประเทศของสหรัฐฯ แต่ประเด็นเรื่องกำแพงภาษีเหล่านี้ไม่ได้ถูกยกเลิกทิ้งทั้งหมด รวมถึงเราจะเห็นการแข่งขันทางด้านการเงิน กล่าวคือ ปี 2022 ก็จะยังเป็นปีที่ดอลลาร์กับหยวนจะสู้กันในเวทีโลก และเราก็จะเห็นการแข่งขันเพื่อควบคุมตลาดการค้าและตลาดการลงทุนในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลก เราจะเห็นบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของจีนจากการขยายโครงสร้างพื้นฐานผ่านโครงการความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน (Belt and Road Initiative: BRI) คำตอบที่เราพอจะเห็นก็คือ ใครที่จะเป็นผู้กำหนดระเบียบเศรษฐกิจของโลกในอนาคต ปีหน้าเศรษฐกิจจีนจะโตขึ้นมาเทียบชั้นกับสหรัฐฯ ได้มากน้อยแค่ไหน

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: PopTika / Shutterstock

 

3. การแข่งขันทางเทคโนโลยี (Technology Competition) ทุกวันนี้การแข่งขันด้านนี้เป็นมิติใหญ่ ปี 2022 เราจะเห็นการแข่งขันทางเทคโนโลยีใน 2 ส่วนหลัก คือการแข่งขันของเทคโนโลยีในภาคพลเรือนกับภาคการทหาร บางคนอาจมองว่าทั้ง 2 ภาคอาจแยกไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากมีการนำมาใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นในปี 2022 เราจะเห็นการแข่งขันที่รวมศูนย์อยู่กับเรื่องของ 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเรื่องของหุ่นยนต์ บางคนอาจจะบอกว่าทั้งหมดนี้คือ Metaverse ซึ่งการแข่งขันในด้านนี้จะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นไปอีก รวมถึงการแข่งขันทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ โดยเฉพาะประเด็นวัคซีนโควิดว่า วัคซีนของใคร ชนิดไหนมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน ซึ่งเป็นโจทย์ที่จะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2022

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: Vchal / Shutterstock

 

4. อาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Weapon) การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจในมิตินี้อาจไม่ใช่การแข่งขันโดยตรง แต่เป็นบทบาทของรัฐมหาอำนาจที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาวุธนิวเคลียร์ หลายฝ่ายอาจมองว่าโจทย์ชุดนี้อาจจะไม่เป็นประเด็นสำหรับสังคมไทย รู้สึกห่างไกล เป็นเรื่องไกลตัว แต่สำหรับในเวทีโลกปี 2022 โจทย์นี้ยังคงเป็นโจทย์สำคัญ รวมถึงปัญหาของการเจรจาในการควบคุมอาวุธและลดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งในส่วนระดับของรัฐมหาอำนาจใหญ่เอง เช่น กรณีสหรัฐฯ-รัสเซีย กับปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ที่ยังอยู่กับรัฐในภูมิภาค อย่างกรณีของอิหร่านและเกาหลีเหนือ คำถามใหญ่คือเสถียรภาพของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐมหาอำนาจนิวเคลียร์และรัฐนิวเคลียร์ในระบบระหว่างประเทศจะต้องทำอย่างไร มีวิธีป้องกันอะไรที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ขยายตัวไปสู่การใช้อาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งอันที่จริงก็เป็นคำถามไม่ได้ต่างจากเดิม

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: Sasa Dzambic Photography / Shutterstock

 

5. บทบาทของรัสเซียในเวทีโลก รัสเซียกำลังฟื้นตัว ภาพปรากฏที่เห็นชัดถึงการขยายอิทธิพลของรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่เดิมของตัวเองอย่างในจอร์เจีย หรือปัจจุบันคือในกรณีของยูเครน รวมถึงการขยายบทบาทของรัสเซียในตะวันออกกลาง ต้องจับตาดูว่าหลังปีใหม่รัสเซียจะตัดสินใจใช้กำลังจัดการกับปัญหายูเครนหรือไม่ แล้วถ้ารัสเซียตัดสินใจใช้กำลังจัดการกับยูเครน จะมีนัยยะกับบรรดารัฐที่เคยอยู่กับรัสเซียในสมัยที่ยังคงเป็นสหภาพโซเวียตหรือเปล่า รวมถึงโจทย์ใหญ่ที่สุดก็คือปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับ NATO และความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับ EU ขณะที่ปัญหาเฉพาะหน้าอีกส่วนหนึ่งคือ ถ้ารัสเซียตัดสินใจบุกยูเครน สหรัฐฯ จะส่งกำลังเข้าไปแทรกแซงหรือไม่ โจทย์นี้คงต้องดูกันหลังปีใหม่ 

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: 360b / Shutterstock

 

6. บทบาทของสหภาพยุโรป (EU) ในช่วงที่ผ่านมาสหภาพยุโรปเผชิญปัญหาใหญ่ นอกจากการแยกตัวของสหราชอาณาจักร (Brexit) แล้ว โจทย์ใหญ่ของยุโรปกลายเป็นการระบาดของเชื้อโควิด อีกทั้งบทบาทของเยอรมนีในยุคหลัง อังเกลา แมร์เคิล เยอรมันจะวางบทบาทของตัวเองอย่างไร เป็นคำถามใหญ่ เพราะเยอรมนีวันนี้เป็นเสาหลักของสหภาพยุโรป คู่ขนานไปกับฝรั่งเศส 

 

การเมืองยุโรปตอบง่าย เพราะว่าการเมืองยุโรปไม่มีรัฐประหาร นั่นหมายความว่าการเมืองยุโรปในปีหน้าขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น

 

แต่เนื่องจากการเมืองยุโรปตอบง่าย เพราะว่าการเมืองยุโรปไม่มีรัฐประหาร นั่นหมายความว่าการเมืองยุโรปในปีหน้าขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น วันนี้เราเห็นแล้วว่า อังเกลา แมร์เคิล ตัดสินใจยุติบทบาททางการเมือง หลังจากอยู่ครบ 4 เทอม อยู่ในอำนาจนานถึง 16 ปี แล้วก็กลายเป็นเสาหลักของอียู ในขณะที่ เอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำของฝรั่งเศส ที่วันนี้ก็อยู่ในฐานะอีกหนึ่งเสาหลักของอียู การเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบหน้าในเดือนเมษายน 2022 มาครงจะสามารถชนะและประคับประคองบทบาทของตัวเองต่อได้ไหม กระแสประชานิยมปีกขวาในการเมืองยุโรปจะสามารถขับเคลื่อนการเมืองยุโรปในปี 2022 ได้มากน้อยเพียงไร คงต้องรอดูจากคำตอบที่ใหญ่ที่สุดคือผลการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2022

 

ขณะที่โจทย์อีกส่วนหนึ่งเป็นโจทย์ชีวิตของผู้คนในสังคมโลก มีมิติที่น่าสนใจ ดังนี้

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: Faboi / Shutterstock

 

– วิกฤตโควิด (COVID Crisis) ปี 2022 เชื้อไวรัสโคโรนาอันเป็นต้นเหตุของโรคโควิดยังคงอยู่กับเรา คำถามปี 2022 ก็คือเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์โอไมครอนจะลดการแพร่ระบาดและความรุนแรงลงพอที่เราจะอยู่ร่วมกันได้หรือไม่ จะมีเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่เกิดขึ้นอีกหรือไม่ รวมถึงคำถามใหญ่ก็คือ การพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อกลายพันธ์ุตัวใหม่จะสามารถทำได้รวดเร็วพอที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดในปี 2022 ได้หรือไม่ หลายฝ่ายอาจกำลังมองว่าเชื้อโอไมครอนไม่รุนแรงเท่าเชื้อเดลตาและพยายามที่จะใช้ชีวิตปกติ แต่เอาเข้าจริง แม้อาการของผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเชื้อเดลตา แต่เราก็เห็นการติดเชื้อขนาดใหญ่ดังเช่นที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรและหลายประเทศในแถบยุโรป โจทย์ใหญ่วันนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าปี 2022 โควิดจะชื่ออะไรก็แล้วแต่ จะเดลตาหรือจะโอไมครอน แต่โจทย์วิกฤตโควิดจะยังคงอยู่กับเรา หลังแพร่ระบาดมานานกว่า 2 ปี

 

สิ่งที่เป็นผลกระทบจากโควิดที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก ในสภาวะอย่างนี้ความหวังที่เศรษฐกิจปี 2022 จะสดใสก็ยังคงเป็นเครื่องหมายคำถามใหญ่ๆ ขณะที่วิกฤตด้านความมั่นคงของมนุษย์ อันเป็นผลพวงของวิกฤตโรคระบาดได้สร้างโจทย์ปัญหาด้านความยากจน (Global Poverty) และโจทย์เรื่องการตกงานและว่างงาน (Global Unemployment) ที่ขยายกลายเป็นโจทย์ใหญ่ระดับโลกและส่งผลกระทบกับชีวิตทางสังคมและชีวิตทางเศรษฐกิจของมนุษย์

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: TR STOK / Shutterstock

 

– วิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) ปัจจุบันไม่ใช่โจทย์เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) แต่เราจะเห็นภาษาใหม่ที่ใช้กันคือ Climate Crisis เราอาจต้องยกเครดิตให้กับน้องผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ชื่อ เกรตา ธันเบิร์ก ที่เธอมีส่วนสำคัญในการเปิดประเด็นนี้ จนทุกวันนี้ผู้นำโลกและผู้คนในโลกปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องของสภาพภูมิอากาศเป็นวิกฤตของโลกชุดหนึ่ง โดยถ้าเราย้อนกลับไปต้นปี 2021 จะเห็นวิกฤตไฟป่า ตัดภาพมาปลายปีเราเห็นพายุ สิ่งที่เกิดขึ้นตอบเราชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่มีเสถียรภาพ รวมถึงความแปรปรวนของฤดูกาล เพราะฉะนั้นโจทย์นี้จะยังคงเป็นโจทย์ของปี 2022 สภาพภูมิอากาศอาจจะแปรปรวนมากกว่าที่เราคิดก็เป็นได้

 

ใครที่ติดตามบทสัมภาษณ์ระหว่างผมกับทาง THE STANDARD ผมจะยกประเด็นหนึ่งไว้เสมอก็คือ ให้ดูไฟป่าในเวทีโลกในช่วงต้นปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประมาณปี 2018 เป็นต้นมา ไฟป่าเป็นภาพสะท้อนที่ใหญ่ที่สุดชุดหนึ่ง ส่วนในกรณีบริบทของไทยก็อาจจะเจอฝุ่นพิษ ฝุ่นที่มากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอีกแบบหนึ่ง โจทย์ Climate Crisis จะเป็นโจทย์ที่คู่ขนานอยู่กับการแพร่ระบาดของโควิด ถ้าเอาโรคระบาดบวกกับความผันแปรของสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤต ผลกระทบใหญ่คือขีดความสามารถในการผลิตอาหารของสังคม ตัวแบบหนึ่งที่เราเริ่มเห็นชัดขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาคือสิ่งที่เกิดขึ้นในแอฟริกา

 

กล่าวคือ Global Pandemic + Global Climate Crisis นำไปสู่ Global Food Crisis 

 

เป็นการหลอมรวมของโจทย์ด้านความมั่นคง โจทย์ชีวิตชุดใหญ่ก็คือวิกฤตโรคระบาด วิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ แล้วก็วิกฤตด้านอาหารให้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ชุดเดียวกัน 

 

ในขณะที่การแพร่ระบาดของโควิดในช่วงปี 2020-2021 ทำให้โจทย์ชุดหนึ่งเบาบางลง นั่นคือปัญหาการก่อการร้ายระหว่างประเทศ โดย ศ.ดร.สุรชาติหวังว่าในปี 2022 การก่อการร้ายจะไม่ขยายตัวมากนัก ถ้าดูจากปี 2021 ที่ผ่านมา โจทย์ชุดนี้ไม่ได้เป็นโจทย์ใหญ่เหมือนกับในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: JOKE_PHATRAPONG / Shutterstock

 

– วิกฤตเศรษฐกิจ (Economic Crisis) ถ้ามองผ่านมิติเศรษฐกิจการเมือง เศรษฐกิจโลกในปี 2022 ก็คงยังมีปัญหาความไม่แน่นอนจากทั้งปัจจัยการแข่งขันและจากปัจจัยการแพร่ระบาดของโควิด ศ.ดร.สุรชาติมองว่าเศรษฐกิจโลกปี 2022 มีปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองอยู่ 10 เรื่อง ได้แก่

 

1) การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และจะกระทบกับเศรษฐกิจโลกเหมือนช่วงที่เราเห็นการเปิดสงครามการค้าในยุค โดนัลด์ ทรัมป์ หรือไม่

 

2) วันนี้คงต้องยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับจีนตกต่ำลง ไม่ได้เป็นปัจจัยบวกเท่าไร

 

3) การถดถอยของเศรษฐกิจจีนเองก็มีสัญญาณเป็นระยะเหมือนกัน รวมทั้งโจทย์ใหญ่ที่จีนเผชิญคือปัญหาอสังหาริมทรัพย์ในจีน พูดง่ายๆ ก็คือฟองสบู่ จะมีฟองสบู่ในจีนไหม เพราะว่าปัญหาอสังหาฯ ในจีนก็ไม่ได้ต่างจากกรณีของวิกฤตต้มยํากุ้งในไทยหรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ เป็นโจทย์ที่แทบไม่ต่างกัน

 

4) การระบาดของโควิดในปี 2022 จะขยายตัวมากขึ้นจนควบคุมไม่ได้มากน้อยเพียงใด พูดง่ายๆ ก็คือในทางเศรษฐกิจการระบาดของเชื้อตัวนี้ก็ยังมีผลกระทบในปีหน้า คงต้องดูว่าจะกระทบหนักหรือกระทบเบา

 

5) หากจีนใช้กำลังกับปัญหาไต้หวัน จะส่งผลให้สหรัฐฯ ใช้กำลังเข้าแทรกแซงหรือไม่ อันนี้ก็เป็นโจทย์ที่ต้องตามดูหลังปีใหม่นี้

 

6) ถ้ารัสเซียตัดสินใจจัดการกับปัญหายูเครนด้วยกำลัง สหรัฐฯ จะเข้าปกป้องหรือไม่

 

7) ความรุนแรงของวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งและความอดอยากในเวทีโลกมากน้อยเพียงใดในปี 2022 ซึ่งก็จะกระทบกับเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

8) เราเริ่มเห็นการขยายตัวของการประท้วงทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าการประท้วงทางสังคมหรือการก่อความไม่สงบทางสังคมในปี 2022 จะยังเป็นโจทย์สำคัญ และก็มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

 

9) ความขัดแย้งของรัฐมหาอำนาจใหญ่จะทำให้โลกาภิวัตน์ (Globalization) ถดถอยลงกว่านี้อีกหรือไม่ พูดง่ายๆ ก็คือ สิ่งที่เราเห็นตั้งแต่สงครามการค้า หลายคนประเมินว่านี่คืออาการสโลว์ดาวน์ของ Globalization เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องตามดูก็คือ 2022 อาการสโลว์ดาวน์นี้จะยังคงเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการต่อสู้ของรัฐมหาอำนาจใหญ่หรือไม่ 

 

10) ปัญหาราคาพลังงานจะเกิดความผันผวนหรือไม่

 

เพราะฉะนั้น 10 โจทย์สำหรับมิติเศรษฐกิจโลกในปี 2021 คำตอบมีอย่างเดียวคือความไม่แน่นอนและความผันผวนยังคงมีอยู่ 

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: Anson_shutterstock / Shutterstock

 

ขยับกลับมาดูในส่วนของเอเชีย ถ้าถามว่าเรามองภาพในเวทีโลก มองโจทย์ต่างๆ ที่เป็นโจทย์ในระดับมหภาคของโลกแล้ว โจทย์ในเอเชียจะมีโจทย์ใหญ่ๆ ได้แก่

 

  1. ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตาดู เพราะว่าปัจจุบันปัญหา South China Sea ได้ขยายเป็นปัญหาระหว่างรัฐมหาอำนาจใหญ่ด้วยเช่นกัน

 

  1. ปัญหาสถานะของไต้หวัน

 

  1. ปัญหาการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง รวมถึงในเมียนมา และการเรียกร้องประชาธิปไตยในบางส่วนของสังคมจีน

 

  1. ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

 

  1. ปัญหาความขัดแย้งตามแนวพรมแดนจีน-อินเดีย

 

  1. ปัญหาความสัมพันธ์ที่เริ่มไม่ราบรื่นระหว่างจีนกับออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งออสเตรเลียเริ่มมีท่าทีที่ไม่ค่อยไว้วางใจจีน รู้สึกว่าจีนขยายอิทธิพลเข้ามามาก ส่วนหนึ่งมาจากการขยายอิทธิพลของจีนเข้าไปในพื้นที่แถบแปซิฟิกใต้ ซึ่งกระทบกับสถานะของออสเตรเลียโดยตรง

 

  1. ผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน โดยอาเซียนจะวางจุดยืนและจะกำหนดนโยบายอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2022 ต้องไม่ลืมว่าประธานอาเซียนคือ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่มีท่าทีคล้อยไปทางจีน

 

  1. จีนจะใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจในการสร้างอิทธิพลกับบรรดารัฐต่างๆ ในเอเชียอย่างไร พูดง่ายๆ ก็คือการส่งออกความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของจีน ในบางครั้งจบลงด้วยวิกฤตหนี้ ประเทศผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากจีนสุดท้ายไม่สามารถส่งดอกส่งต้นได้ สุดท้ายจีนก็จะยึดสัมปทานในโครงการเหล่านั้นแล้วเข้าไปทำเอง ทำให้จีนสามารถเข้าไปควบคุมพื้นที่ดังกล่าวได้ แทนที่จะเป็นพื้นที่การลงทุนร่วมระหว่างจีนกับรัฐผู้รับความช่วยเหลือ แต่กลับกลายเป็นพื้นที่การลงทุนของจีนโดยตรง เช่น กรณีของจิบูตี ศรีลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นต้น

 

  1. บทบาทของรัสเซียในเอเชีย

 

  1. ยุทธศาสตร์การเมืองและความมั่นคงของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต่อเอเชีย เพราะในยุคทรัมป์ เราเห็นการสร้างยุทธศาสตร์ชุดใหญ่ คือ อินโด-แปซิฟิก เป็นการรวมชาติพันธมิตร 4 ชาติหลัก อย่าง สหรัฐฯ อินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย รวมเป็น ‘จตุรภาคี’ (Quadrilateral) ในขณะที่ยุคของไบเดน เราเห็นการสร้างพันธมิตรใหญ่ 3 ส่วน คือ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย อย่าง AUKUS โดยการออกยุทธศาสตร์ชุดใหญ่จากยุคทรัมป์ถึงยุคไบเดน บ่งชี้ถึงสัญญาณการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นระหว่างสหรัฐฯ กับจีน

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: Sai Aung Main / AFP

 

ขณะที่สถานการณ์ที่น่าจับตามองในอาเซียน คงหนีไม่พ้นสถานการณ์ในเมียนมา หลังรัฐประหารผ่านมาแล้วเกือบ 1 ปี โดย ศ.ดร.สุรชาติ ระบุว่า กระแสเรียกร้องประชาธิปไตยไม่ตกลง เป็นแต่เพียงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยหรือการต่อสู้กับรัฐบาลทหารของเมียนมามักไม่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ กลายเป็นข่าวต่อเนื่องจนคนเริ่มรู้สึกว่าชาชินกับการสูญเสียที่เกิดขึ้น แต่ถ้าเรานั่งดูในรายละเอียด การต่อสู้เหมือนยกระดับขึ้นในแต่ละช่วงๆ ความน่าสนใจคือในปี 2022 การต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยจะยกระดับมากขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่ เมียนมาจะก้าวเข้าสู่สถานะของการเป็นสงครามกลางเมือง จนเกิด Civil War ได้จริงไหม

 

เพราะปัจจุบันการต่อต้านรัฐบาลขยายไปทั่ว แม้ว่ารัฐบาลทหารจะใช้มาตรการการปราบปรามอย่างรุนแรงก็ตาม แต่คำตอบชัดคือคนไม่กลัว เพราะฉะนั้นโจทย์ Democratization หรือโจทย์การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในเมียนมา วันนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทาย เพราะอีกส่วนหนึ่งยึดโยงกับการแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่ เนื่องจากรัฐบาลจีนยังจำเป็นต้องให้ความสนับสนุนกับรัฐบาลทหารของนายพล มิน อ่อง หล่าย ไม่มากก็น้อย

 

ในขณะที่โจทย์ที่เขาขอเวลา 1 ปีคงทิ้งไปได้เลย พูดกันตรงๆ ไม่เคยมีรัฐบาลทหารที่ไหนรักษาคำสัญญา รวมทั้งรัฐบาลที่กรุงเทพฯ โจทย์ใหญ่จึงเป็นโจทย์ของอาเซียน เพราะหลังจากอาเซียนออกมติ 5 ข้อแล้ว จนถึงขณะนี้เรายังไม่เห็นการเดินทางมาเยือนเมียนมาของผู้แทนพิเศษ 

 

ยิ่งในปี 2022 ที่กัมพูชาเป็นประธานอาเซียน เป็นโจทย์ที่สมาชิกในอาเซียนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารอึดอัดอยู่ เพราะทุกคนรู้ว่าวันนี้ส่วนหนึ่งรัฐบาลกัมพูชามีทิศทางที่สนับสนุนระบอบอำนาจนิยม เนื่องจากตัวเองก็อยู่ในสถานะอย่างนั้น รวมถึงรัฐบาลกัมพูชาเองก็มีนโยบายที่ไม่ค่อยแตกต่างจากทิศทางของนโยบายของจีนต่อเมียนมา 

 

เพราะฉะนั้นความน่ากังวลก็คือ ถ้าอาเซียนยังเปิดพื้นที่ให้กับกองทัพเมียนมาก็เสมือนถอยกลับไปสู่ปัญหาเดิมคือ อาเซียนยอมที่จะปิดตาแล้วไม่รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในชาติสมาชิก เป็นจุดยืนเดิมของอาเซียนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศสมาชิก ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะไม่ต่างกับการส่งสัญญาณว่าอาเซียนยอมรับการรัฐประหาร ซึ่งแตกต่างจากองค์กรในภูมิภาคแอฟริกาที่ไม่ยอมรับและไม่เปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร โดยในปี 2021 นี้เราจะเห็นการรัฐประหารเกิดขึ้นในเมียนมา มาลี กินี และซูดาน โดยจะเห็นได้ว่ารัฐประหารในแอฟริกาไม่ได้รับการตอบรับจากองค์กรในภูมิภาค เราเองก็อยากเห็นอาเซียนเล่นบทเดียวกับองค์กรเหล่านั้นในภูมิภาคแอฟริกา 

 

ศ.ดร.สุรชาติมองว่า โจทย์ปี 2022 เหมือนกลับมาเป็นโจทย์เดิมในปีที่กัมพูชาเป็นประธานอาเซียนครั้งก่อน ความน่าสนใจคือต้องไม่ลืมว่าจากครั้งก่อนสู่ครั้งปัจจุบัน ตัวผู้นำยังเป็นคนเดิม นโยบายในลักษณะที่หันไปทางจีนจะยิ่งเข้มข้นขึ้นหรือไม่ เพราะในวันนี้เป็นที่รู้กันว่าความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับสหรัฐฯ ถดถอยลงไปมาก ท่าทีระยะหลังที่ชัดเจนคือกัมพูชาให้ความสำคัญกับปักกิ่ง พูดง่ายๆ ก็คือน้ำหนักในเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาลกัมพูชาไปอยู่กับฝั่งจีน เพราะฉะนั้นจึงเป็นประเด็นว่า เมื่อกัมพูชาขึ้นมาเป็นประธานอาเซียนจะผลักดันอาเซียนไปในทิศทางใดในปี 2022 

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: Jack Taylor / AFP

 

ในส่วนของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ปัญหานี้จะยังคงไม่เปลี่ยนไปตราบใดที่เรายังมีระบอบการปกครองที่เป็นอำนาจนิยม โดยเฉพาะในจีน รัสเซีย หรือในยุโรปตะวันออกบางส่วน อย่างในกรณีของฮังการี ที่เป็นประเด็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในเรื่องของเพศสภาพ เรื่องของสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ก็ยังเป็นโจทย์สำคัญ น่าสนใจว่ากฎหมายการสมรสของเพศเดียวกัน ปี 2022 จะมีประเทศไหนประกาศใช้เพิ่มขึ้นอีก

 

โดย ศ.ดร.สุรชาติ ระบุว่า ประเด็น LGBTQ+ จะเกี่ยวโยงกับปัญหาเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) เป็นโจทย์ที่ซ้อนอยู่ด้วยกัน ผมพูดเสมอว่าวันนี้ช่องว่างทางสังคม (Social Gap) หรือความเหลื่อมล้ำ (Inequality) ไม่ได้เกิดจากมิติทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว ในวิชาสังคมวิทยาแต่เดิมเราเชื่อว่าช่องว่างทางสังคมหรือความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องของมิติเศรษฐกิจ (Economic Inequality) แต่จริงๆ แล้ว เราเห็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการศึกษา และอันสุดท้ายที่ต้องไม่ลืมคือความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากปัญหาเพศสภาพ ไม่ใช่กรณีของ LGBTQ+ อย่างเดียว แม้กระทั่งการเปรียบเทียบค่าตอบแทนระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายก็เป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นอีกหนึ่งโจทย์ประจำปี ปี 2022 เราจะเห็นกฎหมายสมรสเพศเดียวกันในประเทศไหนอีกบ้าง และประเทศที่ไม่ยอมรับจะต้านกระแสความหลากหลายทางเพศ หรือกระแส LGBTQ+ อย่างไร 

 

วันนี้โลกไม่ได้มีเพียงแค่ 2 เพศ คำถามคือกฎหมายที่ล้าหลังเกินชีวิตทางสังคมจะอยู่อย่างไร เมื่อสังคมก้าวหน้าไปแล้วมีความเปลี่ยนแปลง กฎหมายไม่ได้ออกมาเพื่อดำรงทุกสิ่งทุกอย่างไว้ให้เหมือนเดิม ถ้าจะบอกว่ากฎของโลกคือการมีมนุษย์ชายกับมนุษย์หญิง คำตอบนี้เราอาจจะบอกว่าไม่ใช่แล้วล่ะ พัฒนาการของโลกเผยให้เห็นเพศสภาพที่หลากหลายมากขึ้น กองทัพในหลายประเทศก็เปิดรับผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น 

 

กฎหมายต้องรับใช้สังคม ‘ไม่ใช่’ สังคมรับใช้กฎหมาย เมื่อไรก็ตามที่สังคมรับใช้กฎหมาย คำตอบคือ เราจะอยู่ในระบอบเผด็จการ

 

ระบบกฎหมายหนึ่ง ระบบความคิดแบบเดิมหนึ่ง ผมว่าเราต้องกล้าที่จะเปิดประตูให้กระแสความคิดใหม่ๆ ในสังคมเข้ามา ระบบกฎหมายไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อตรึงให้สังคมหยุดอยู่กับที่ แต่ระบบกฎหมายออกมาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้นกฎหมายต้องรับใช้สังคม ‘ไม่ใช่’ สังคมรับใช้กฎหมาย เมื่อไรก็ตามที่สังคมรับใช้กฎหมาย คำตอบคือ เราจะอยู่ในระบอบเผด็จการ เหมือนกับที่ผู้นำรัฐประหาร ตอนทำรัฐประหารเขาไม่เคยเรียกร้องให้คนเคารพกฎหมาย แต่พอทำรัฐประหารเสร็จ กลับเรียกร้องให้ทุกคนเคารพกฎหมายที่พวกเขาออก นับเป็นความตลกที่ย้อนแย้งสิ้นดี

 

การเมืองโลก 2022

ภาพ: Watsamon Tri-yasakda / THE STANDARD

 

ศ.ดร.สุรชาติกล่าวทิ้งท้ายถึงภาพรวมประเด็นน่าจับตามองในการเมืองโลก 2022 ว่า ข้อสรุปง่ายๆ สั้นๆ ปี 2022 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่น่าตื่นเต้น เพราะเราเห็นความตื่นเต้นแบบทรัมป์ผ่านไปแล้ว ปีหน้าเราจะเห็นความตื่นเต้นแบบที่ไบเดนเปิดโจทย์ ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าผู้นำจีนอย่างสีจิ้นผิงก็เข้มแข็งมากขึ้นกับการเมืองภายใน เพราะฉะนั้นการแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่จะเป็นโจทย์สำคัญที่หนีไม่พ้น น่าสนใจว่าปี 2022 โจทย์ใหญ่ชุดนี้จะทำให้เราเห็นอะไรในเวทีโลก ไม่ว่าจะเป็นในมิติทางการเมือง มิติเศรษฐกิจ มิติทางเทคโนโลยี รวมถึงมิติทางทหารและประเด็นเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ 

 

บทบาทของรัสเซีย โดยเฉพาะในวิกฤตยูเครน รวมถึงบทบาทของสหภาพยุโรปภายหลังยุคของอดีตนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล จะเป็นอย่างไร เป็นอะไรที่น่าสนใจไม่น้อย นอกจากนี้เรายังคงจะต้องอยู่กับโควิดต่อไป เดลตากับโอไมครอนจะจับมือกันเกิดเป็นเชื้อตัวใหม่หรือไม่ หวังว่าพันธมิตรโรคระบาดชุดนี้จะไม่ทรงพลังขึ้นในปี ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือวิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก รวมถึงวิกฤตด้านอาหารโลกที่ยึดโยงอยู่กับปัญหาความยากจนและปัญหาการตกงานที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ประกอบกับโจทย์ 10 โจทย์ของเอเชียที่เข้มข้นแน่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทย์ของไต้หวัน

 

อีกทั้งโจทย์ใกล้บ้านอย่างโจทย์สงครามประชาธิปไตยในเมียนมา รวมถึงสงครามการเมืองในไทยจะคลี่คลายไปอย่างไร ในปี 2022 กระแสประชาธิปไตยในไทยจะขับเคลื่อนอย่างไร เพราะฉะนั้นปี 2022 มีคำตอบอย่างเดียวคือ ปี 2022 อาจจะไม่สวยหรูทั้งหมด เพราะโรคระบาดยังอยู่กับเรา แต่อย่างไรก็ตาม ปี 2022 ยังเป็นปีที่มีความหวัง เพราะถ้าโรคระบาดเบาบางลง คำถามใหญ่ที่จะเกิดขึ้นก็คือ หนทางของการสร้างอนาคตทั้งสังคมโลกและสังคมไทยจะเป็นอย่างไร พูดแบบฟันธง ปี 2022 กระแสประชาธิปไตยไทยเข้มข้น ส่วนฤดูใบไม้ผลิจะมาที่กรุงเทพฯ หรือไม่ นั่นไม่ใช่ประเด็น แต่กระแสประชาธิปไตยในปี 2022 ที่กรุงเทพฯ เข้มข้นแน่ๆ

 

The post ประเด็นน่าจับตาในการเมืองโลก 2022 กับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข appeared first on THE STANDARD.

]]>
บทวิเคราะห์ CNN ชี้ การเผชิญหน้าของมหาอำนาจเข้าสู่ยุคอันตราย หลังจีนปล่อยตัวชาวแคนาดา แลกคืนอิสรภาพ ‘เมิ่งหว่านโจว’ https://thestandard.co/cnn-analysis-say-superpower-confront-heading-into-dangerous-era/ Tue, 28 Sep 2021 09:35:32 +0000 https://thestandard.co/?p=541591 Meng Wanzhou

การปล่อยตัวชาวแคนาดาสองคนในทันทีหลังจากที่ เมิ่งหว่านโจ […]

The post บทวิเคราะห์ CNN ชี้ การเผชิญหน้าของมหาอำนาจเข้าสู่ยุคอันตราย หลังจีนปล่อยตัวชาวแคนาดา แลกคืนอิสรภาพ ‘เมิ่งหว่านโจว’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Meng Wanzhou

การปล่อยตัวชาวแคนาดาสองคนในทันทีหลังจากที่ เมิ่งหว่านโจว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน และบุตรสาวผู้ก่อตั้งบริษัท Huawei ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระนั้น ถือเป็นสัญญาณที่น่าหนักใจว่าโลกกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจ

 

ชาวแคนาดาสองคนถูกทางการจีนควบคุมตัวในข้อหาจารกรรม ไม่นานหลังจากที่เมิ่งถูกจับกุมและกักตัวที่เมืองแวนคูเวอร์ของแคนาดาในเดือนธันวาคม 2018 ตามหมายจับของสหรัฐฯ ในข้อหาฉ้อโกงจากการลักลอบทำธุรกิจกับอิหร่าน

 

การคืนอิสรภาพดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่ซับซ้อนระหว่างจีนกับทางการสหรัฐฯ หลังการเจรจาทางการทูตอย่างเข้มข้น ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐฯ ได้ยินยอมชะลอการดำเนินคดีออกไป และจะไม่ดำเนินคดีต่อเมิ่งจนกว่าจะถึงเดือนธันวาคมปีหน้า หากเธอปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด และคดีจะถูกยกเลิกในท้ายที่สุด ในขณะที่เมิ่งไม่ได้รับสารภาพผิด แต่ยอมรับว่าตนรับรู้เรื่องการปลอมแปลงเอกสารงบการเงิน

 

โดยขณะที่เมิ่งบินข้ามมหาสมุทรเพื่อเดินทางกลับแผ่นดินเกิด ซึ่งมีเพื่อนร่วมชาติรอต้อนรับเธอเยี่ยงวีรสตรีนั้น ชาวแคนาดาสองคน ได้แก่ ไมเคิล คอร์วิก และ ไมเคิล สเปเวอร์ ก็บินข้ามมหาสมุทรเช่นกัน แต่ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งความเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการแลกเปลี่ยนตัวกันนั้น ถือเป็นการยุติมหากาพย์ความขัดแย้งที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างแคนาดากับจีน และวอชิงตันกับปักกิ่ง มายาวนานเกือบ 3 ปี

 

ตอนจบของเรื่องนี้ไม่ได้ช่วยลบล้างความเข้าใจที่ว่า จีนจับตัวชาวแคนาดาเพื่อใช้เป็นเครื่องต่อรอง แม้ว่าปักกิ่งจะปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าคดีนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยสื่อทางการของจีนรายงานว่า คอร์วิกและสเปเวอร์ได้รับการประกันตัวด้วยเหตุผลทางการแพทย์ หลังจากทั้งคู่ยอมรับผิดในคำสารภาพที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในขณะที่ไม่มีรายงานว่ารัฐบาลแคนาดาออกมาแถลงว่าชายทั้งสองรับสารภาพผิด

 

CNN วิเคราะห์ว่า ภาพชาวจีนจำนวนมากที่แห่มารอต้อนรับและให้กำลังใจเมิ่งที่สนามบินในเมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งนั้น คือฉากหน้าที่ซ่อนอยู่ภายใต้ลัทธิชาตินิยม และนับเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อเพื่อเชิดชูประธานาธิบดีสีจิ้นผิง พร้อมทั้งตอกย้ำว่า รัฐบาลชาตินิยมของสีพยายามแสดงให้พี่น้องร่วมชาติเห็นว่าการที่จีนมีข้อพิพาทกับประเทศอื่นๆ นั้น เป็นความพยายามของคู่แข่งที่จ้องจะสกัดการผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลกโดยชอบธรรมของจีน

 

แต่ถ้าจะให้พูดอย่างเป็นธรรม ก็ต้องยอมรับว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ความขัดแย้งดีขึ้นในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยหลายครั้งเป็นทรัมป์เองที่เพิ่มน้ำหนักให้กับข้อกล่าวอ้างของจีนที่ว่าการจับกุมเมิ่งเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง จากการที่ออกมาบอกเป็นนัยว่าเขาอาจใช้เมิ่งเป็นเครื่องมือในการต่อรองข้อตกลงการค้ากับปักกิ่ง

 

ขณะที่ข้อความจากฝั่งของปักกิ่งนั้นชัดเจนกว่า กล่าวคือ หากบริษัทจีนมีปัญหากับระบบกฎหมายของชาติตะวันตก รัฐบาลปักกิ่งก็พร้อมที่จะเข้ามาจัดการยื่นข้อเสนอให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจของตนพ้นโทษ แลกกับการที่คนของชาติตะวันตกจะไม่ต้องถูกลงโทษในจีน

 

สถานการณ์เช่นนี้ย่อมไม่ส่งผลดีต่อธุรกิจ วัฒนธรรม สื่อ และการแลกเปลี่ยนบุคคลระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเป็นแน่ และอาจทำให้กรอบความคิดของสงครามเย็นที่เป็นอันตรายนั้นเด่นชัดและรุนแรงยิ่งขึ้น

 

ภาพ: Ma Jun / VCG via Getty Images

อ้างอิง:

The post บทวิเคราะห์ CNN ชี้ การเผชิญหน้าของมหาอำนาจเข้าสู่ยุคอันตราย หลังจีนปล่อยตัวชาวแคนาดา แลกคืนอิสรภาพ ‘เมิ่งหว่านโจว’ appeared first on THE STANDARD.

]]>