ภาคประชาชน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 18 Jun 2024 11:10:03 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ภาคประชาชนมอบดอกไม้นักการเมือง ขอบคุณที่ร่วมผลักดัน #สมรสเท่าเทียม ผ่านสองสภา https://thestandard.co/equal-marriage-bill-passes-both-houses-thailand/ Tue, 18 Jun 2024 11:10:03 +0000 https://thestandard.co/?p=946715

วันนี้ (18 มิถุนายน) ภายหลังจากที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเ […]

The post ภาคประชาชนมอบดอกไม้นักการเมือง ขอบคุณที่ร่วมผลักดัน #สมรสเท่าเทียม ผ่านสองสภา appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (18 มิถุนายน) ภายหลังจากที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กลุ่มเครือข่าย LGBTQIAN+ และภาคประชาชน ที่เดินทางมาติดตามการพิจารณากฎหมายและการลงมติตั้งแต่ช่วงเช้า จะได้มารวมตัวกันเพื่อแถลงข่าวแสดงความยินดี พร้อมมอบดอกไม้แสดงความขอบคุณให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ที่ร่วมกันผลักดันร่างกฎหมายนี้

 

ในช่วงหนึ่ง วัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม วุฒิสภา ระบุว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องความเชื่อและความคิด ดังนั้นกว่าจะทำให้ทุกคนเข้าใจ ต้องเตรียมเหตุผลที่ยอมรับได้ 

 

“วันนี้ผิดคาดมาก เนื่องจากสมาชิกให้การยอมรับ ในนามกรรมาธิการฯ ต้องขอบคุณน้องๆ ภาคประชาชนเป็นอย่างมากที่เป็นหลักในการให้ข้อมูล ผมก็ถือเป็นคนแก่คนหนึ่งที่ได้เรียนรู้โลกใบนี้ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่เตรียมความพร้อม รวมถึงขอบคุณผู้แทนราษฎรที่แก้ไขกฎหมายมาได้ด้วยดี ผมชมว่าทำได้ดีมาก” วัลลภกล่าว

 

ขณะที่ อัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส. กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้อาจไม่ได้ถูกใจคนทุกคน แต่ก็ถือว่าเป็นกฎหมายแรกในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน ที่สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคม และเชื่อมั่นว่าจะมีกฎหมายที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ตามมาในรัฐบาลนี้

 

ด้าน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การผ่านร่างกฎหมายครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการเมืองมีความเป็นไปได้ แม้การเมืองจะย่ำแย่แค่ไหน แต่เราก็ทำได้สำเร็จจริงๆ พร้อมชื่นชมทุกคนที่ช่วยกันเป็นแรงผลักดัน หลังจากนี้ยังคงต้องร่วมกันเดินหน้าขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วันต่อไปนี้

 

บรรยากาศโดยรวมเป็นไปด้วยความชื่นมื่น มีนักกิจกรรม ผู้เรียกร้องสิทธิให้กลุ่มเพศหลากหลาย ตลอดจนคู่รักที่รอคอยการจดทะเบียนสมรสมากมาย ร่วมเฉลิมฉลอง หลังจากนี้ทางกลุ่มจะเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลต่อไป

 

The post ภาคประชาชนมอบดอกไม้นักการเมือง ขอบคุณที่ร่วมผลักดัน #สมรสเท่าเทียม ผ่านสองสภา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาคประชาชนเข้าสภาร่วมฟัง สว. พิจารณา-ลุ้นมติประวัติศาสตร์กฎหมายสมรสเท่าเทียม https://thestandard.co/thai-senators-consider-same-sex-marriage-legislation/ Tue, 18 Jun 2024 05:12:13 +0000 https://thestandard.co/?p=946418

วันนี้ (18 มิถุนายน) ที่รัฐสภา อรรณว์ ชุมาพร โฆษกคณะวิส […]

The post ภาคประชาชนเข้าสภาร่วมฟัง สว. พิจารณา-ลุ้นมติประวัติศาสตร์กฎหมายสมรสเท่าเทียม appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (18 มิถุนายน) ที่รัฐสภา อรรณว์ ชุมาพร โฆษกคณะวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม นำนักกิจกรรมและตัวแทนคู่รัก LGBTQIA+ เข้าร่วมการประชุมและติดตามการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมของวุฒิสภา พร้อมกล่าวว่า วันนี้เป็นวันประวัติศาสตร์ เพราะทุกคนต่างรอคอยมาเป็นระยะเวลานานเพื่อร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านการพิจารณาตามกฎหมาย วุฒิสภาจะพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3

 

หากได้รับมติเห็นชอบจาก สว. ร่างกฎหมายฉบับนี้จะถูกส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) และจะถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา และหลังจาก 120 วัน ทุกคนก็สามารถไปที่อำเภอหรือสำนักงานเขตเพื่อจดทะเบียนสมรสได้

 

ทั้งนี้ กมธ. ภาคประชาชนได้ประชุมร่วมกับ สว. ตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ค่อนข้างได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีมาก และคาดหวังว่าจะผ่านการพิจารณาในวันนี้ได้ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนคู่รักที่ต้องการกฎหมายฉบับนี้จริงๆ 6 คู่ นำโดยคู่ปู่ย่าที่ใช้ชีวิตร่วมกันมาถึง 30 ปี และไม่เคยคาดคิดว่าจะสามารถจดทะเบียนสมรสได้ มาร่วมรับฟังการพิจารณา 

 

โดยหากประเทศไทยได้รับมติเห็นชอบจากวุฒิสภาในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งจะยืนยันถึงการเป็นผู้นำในภูมิภาคด้านสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ หลังการพิจารณาของวุฒิสภาในช่วง 15.00 น. ทางคณะจะขอมอบดอกไม้และแสดงความขอบคุณในการผลักดันสมรสเท่าเทียมผ่านรัฐสภา จากนั้นบริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จะมีการจัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลองการเริ่มต้นของกฎหมายสมรสเท่าเทียมตั้งแต่เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป โดยมีการเดินขบวนจากรัฐสภาไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงสัญลักษณ์แห่งความเท่าเทียม ถนนสายรุ้งแห่งความเท่าเทียมนี้ เราพร้อมแล้วที่จะร่วมกันต่อสู้เป็นครั้งสุดท้ายและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมในประเทศไทย

 

The post ภาคประชาชนเข้าสภาร่วมฟัง สว. พิจารณา-ลุ้นมติประวัติศาสตร์กฎหมายสมรสเท่าเทียม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาคประชาชนยืนยันไม่สามารถ Vote Yes ให้คำถามประชามติของรัฐบาลที่ติดล็อก นำหมวด 1-2 มาเป็นประเด็นขัดแย้ง https://thestandard.co/public-sector-confirms-that-they-cannot-vote-yes/ Wed, 24 Apr 2024 09:55:20 +0000 https://thestandard.co/?p=926229

วันนี้ (24 เมษายน) เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญได้อ่า […]

The post ภาคประชาชนยืนยันไม่สามารถ Vote Yes ให้คำถามประชามติของรัฐบาลที่ติดล็อก นำหมวด 1-2 มาเป็นประเด็นขัดแย้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (24 เมษายน) เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญได้อ่านแถลงการณ์แสดงความคิดเห็นและจุดยืนต่อกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และคำถามประชามติของรัฐบาล โดยระบุว่า หลังจากวันที่ 23 เมษายน 2567 รัฐบาลมีมติให้ทำประชามติเพื่อไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งวางแผนจะทำประชามติ 3 ครั้ง และในครั้งแรกจะจัดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2567

 

โดยใช้คำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” พวกเราเครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญมีความเห็นดังนี้

 

  1. รัฐบาลกำลัง ‘พายเรืออยู่ในอ่าง’

 

หลังจากเสียเวลาไปกว่า 200 วัน ตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ และก็กลับมาเริ่มต้นที่จุดเดิม ทั้งที่พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน รวมถึงภาคประชาชน ต่างก็เคยเสนอแนวคำถามไว้แล้ว ถ้ารัฐบาลยืนยันจะทำประชามติ 3 ครั้ง ก็สามารถเปิดบทสนทนาพูดคุยเรื่อง ‘คำถาม’ ได้โดยตรง ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้เราใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ เข้าชื่อประชาชนกว่า 2 แสนคน เพื่อเสนอคำถาม รัฐบาลก็ไม่หยิบขึ้นมาพิจารณา ไม่แม้แต่แยแสคำถามที่ประชาชนต้องลงแรง ลงชื่อบนกระดาษ ถ่ายเอกสาร แปลงข้อมูลจากกระดาษมาเป็นไฟล์ดิจิทัล แม้เราเคยยื่นหนังสือเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อปรึกษาเรื่องคำถามประชามติ แต่ก็ไม่เคยได้รับการนัดหมายให้เข้าพบ

 

สิ่งที่หายไปจากจุดยืนของรัฐบาลในวันนี้ ทั้งที่เป็นหนึ่งในหัวใจของการร่างรัฐธรรมนูญใหม่คือที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ซึ่งเมื่อย้อนดูจากร่างรัฐธรรมนูญที่เคยถูกเสนอโดยพรรคเพื่อไทยเมื่อปี 2563 และ 2566 ก็ระบุอย่างชัดเจนให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่แนวทางที่รัฐบาลนำเสนอในวันนี้กลับมองข้ามประเด็นดังกล่าวโดยไม่มีคำอธิบาย

 

  1. คำถามประชามติที่รัฐบาลประกาศนั้นคือคำถามนี้มี 2 ประเด็นที่ซ้อนกันในคำถามเดียว

 

คือเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และเห็นด้วยหรือไม่กับการคงเนื้อหาหมวด 1 และหมวด 2 ทำให้ประชาชนเผชิญกับสภาวะไร้ทางเลือกในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากต้องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับก็ไม่มีทางเลือกว่าจะออกเสียงในการทำประชามติอย่างไร

 

นอกจากนี้เนื้อหาของรัฐธรรมนูญปี 2560 ในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ที่ถูกแก้ไขหลังการจัดทำประชามติเมื่อปี 2559 ยังคงอยู่ คำถามประชามตินี้จะไม่ทำให้เกิดการจัดทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และทำให้ประชาชนไม่ได้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

 

คำถามประชามติดังกล่าวยังตั้งเงื่อนไขในหมวดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับพระราชอำนาจในระหว่างการทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ

 

ในฐานะที่พวกเราเคยเสนอคำถามประชามติให้เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ‘ทั้งฉบับ’ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด โดยประชาชนมากกว่า 2 แสนคนลงชื่อเพื่อสนับสนุนการเสนอคำถามนี้ เมื่อรัฐบาลไม่รับคำถามของเราและตั้งคำถามที่มีหลักการแตกต่างจากคำถามของเราอย่างชัดเจน เราจึงไม่สามารถที่จะลงประชามติเห็นชอบ หรือ Vote Yes ให้กับคำถามที่รัฐบาลตั้งขึ้นได้ เราไม่สามารถ ‘รับๆ ไปก่อน’ และซ้ำรอยบทเรียนในอดีตได้อีกแล้ว

 

  1. พวกเราคาดหมายได้ว่าอาจมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไปลงคะแนนไม่เห็นด้วยกับคำถามประชามติที่รัฐบาลตั้ง

 

พวกเราให้ข้อสังเกตว่า ไม่ว่าจะมีคนกาช่อง ‘ไม่เห็นชอบ’ หรือ Vote No มากน้อยเพียงใด ก็ไม่ได้หมายความว่านั่นคือเสียงที่ต้องการอยู่กับรัฐธรรมนูญ 2560 หากแต่เสียง Vote No ยังเป็นเสียงของประชาชนที่ต้องการจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่มีเนื้อหาของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ถูกงดเว้นไม่ให้แตะต้อง

 

ถึงวันนี้คงเหลือโอกาสน้อยที่จะหลีกเลี่ยงการทำประชามติด้วยคำถามที่รัฐบาลตั้งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม พวกเรามีความเห็นว่าประชามติที่ถามสองประเด็นพร้อมกันนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่เพียงจำกัดในประเด็นของรัฐธรรมนูญ 2560 แต่ประชามติครั้งนี้ยังเป็นการถามประชาชนด้วยว่ามีประชาชนจำนวนมากน้อยเพียงใดที่ ‘ไม่เห็นชอบ’ กับเงื่อนไขที่ติดล็อก แต่ต้องการแก้ไขพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ

 

  1. เราพยายามเตือนรัฐบาลมาตลอดว่าการตั้งคำถามแบบใด ‘เสี่ยงที่จะไม่ผ่าน’

 

แต่รัฐบาลก็ยังดึงดันที่จะใช้คำถามสร้างเงื่อนไข สร้างความขัดแย้ง และมากไปกว่านั้นคือสร้างการถกเถียงให้กับหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ โดยไม่จำเป็น รัฐบาลได้จุดไฟให้สังคมเกิดคำถามว่า ‘หมวด 1 และหมวด 2’ คืออะไร มีปัญหาอย่างไร ทำไมถึงต้องห้ามแก้ไข และกำลังใช้ประเด็นนี้มาเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ดังนั้นคำถามที่ล็อกเงื่อนไขเช่นนี้จึงเป็นคำถามของรัฐบาล โดยรัฐบาล เพื่อรัฐบาล

 

เมื่อรัฐบาลเป็นเจ้าของคำถามนี้ จึงต้องเป็นเจ้าของผลลัพธ์ที่ตามมาด้วย หากผลลัพธ์จากการทำประชามติครั้งนี้ทำให้การเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนต้องหยุดชะงัก ก็คือความพ่ายแพ้ของรัฐบาลที่ไม่สามารถทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้ รัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เพราะถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอีกต่อไป

 

  1. เราขอยืนยันว่าพวกเราต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากประชาชน

 

พวกเราไม่ต้องการอยู่กับรัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อไป โดยกระบวนการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จำเป็นต้องมีความชอบธรรม เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่ต้นจนจบ หากมีเงื่อนไขปิดกั้นตั้งแต่ต้นก็สุ่มเสี่ยงที่กระบวนการข้างหน้าจะมีเงื่อนไขตลอดเส้นทาง และทำให้กลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับของผู้มีอำนาจในยุคสมัยนั้นๆ

 

ไม่ว่าผลการทำประชามติครั้งแรกจะเป็นอย่างไร หรือการทำประชามติครั้งแรกจะเกิดขึ้นหรือไม่ เส้นทางของการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้นยังเดินหน้าได้ โดยองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้คือวุฒิสภา หรือ สว. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งรวมถึง สว. อย่างน้อยหนึ่งในสามหรือ 67 จาก 200 คน ดังนั้นในการเลือก สว. ที่จะเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2567 หากประชาชนร่วมกันลงสมัคร สว. เพื่อส่งผู้สมัครที่เชื่อในหลักการประชาธิปไตยเข้าสู่สภา ‘เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%’ ก็จะได้รับแรงส่งสนับสนุนจาก สว. ชุดใหม่เหล่านั้นให้เดินหน้าไปได้

The post ภาคประชาชนยืนยันไม่สามารถ Vote Yes ให้คำถามประชามติของรัฐบาลที่ติดล็อก นำหมวด 1-2 มาเป็นประเด็นขัดแย้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เสียงสะท้อนภาคประชาชนต่อการลักลอบขนย้าย ‘กากแคดเมียม’ บทพิสูจน์การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ปัญญา https://thestandard.co/smuggling-cadmium-residue/ Wed, 10 Apr 2024 01:01:54 +0000 https://thestandard.co/?p=921321 กากแคดเมียม

จากการแถลงข่าวในประเด็น ‘กากแคดเมียม แค่ปิดโรงงาน / ปิด […]

The post เสียงสะท้อนภาคประชาชนต่อการลักลอบขนย้าย ‘กากแคดเมียม’ บทพิสูจน์การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ปัญญา appeared first on THE STANDARD.

]]>
กากแคดเมียม

จากการแถลงข่าวในประเด็น ‘กากแคดเมียม แค่ปิดโรงงาน / ปิดพื้นที่ / ขนย้าย เรื่องไม่จบ ถึงเวลาแก้ปัญหาแบบใช้ปัญญา’ ที่นำโดย เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) พร้อมด้วย ดาวัลย์ จันทรหัสดี ตัวแทนเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม วานนี้ (9 เมษายน)

 

มีหลายประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดเพื่อฉายภาพสะท้อนถึงเรื่องร้อนในสังคมตอนนี้คือ กากแคดเมียมหลายหมื่นตันถูกเคลื่อนย้ายกระจัดกระจายไปในหลายส่วนของ 2 จังหวัดคือ สมุทรสาครและชลบุรี โดยที่ของเสียอุตสาหกรรมเหล่านี้กำลังจะมีความเสี่ยงสูงต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

 

THE STANDARD สรุปข้อมูล ข้อสังเกต และข้อเสนอจากเสียงของภาคประชาชนไว้ดังนี้

 

เหตุใดต้องมีการขุดกากแคดเมียมออกจากบ่อที่ถูกฝังกลบแล้วที่จังหวัดตาก เพื่อย้ายไปจังหวัดสมุทรสาคร

 

เพ็ญโฉมเริ่มต้นจากการปูข้อมูลพื้นฐานว่า บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดตาก พื้นที่บริษัทรวมแล้วกว่า 2,500 ไร่ 

 

บริษัทดังกล่าวครอบคลุมการผลิตแร่สังกะสี แคดเมียม โลหะสังกะสีแท่ง สังกะสีอัลลอย และโลหะแคดเมียม ที่ผ่านมาของเสียจากการทำเหมืองหรือกากอันตรายได้ถูกฝังกลบใน 7 บ่อในพื้นที่ เป็นไปตามมาตรการการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งบ่อที่ 7 ถูกฝังปิดเรียบร้อยเมื่อปี 2561

 

เพ็ญโฉมตั้งข้อสังเกตว่า การขนย้ายกากของเสียจากบ่อที่ฝังกลบเรียบร้อยแล้วจากจังหวัดตากไปจังหวัดสมุทรสาคร อาจเป็นเรื่องของผลประโยชน์ 2 ข้อ

 

  1. เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ แต่ติดเงื่อนไขที่พื้นที่ดังกล่าวด้านล่างมีการฝังกลบของเสียอุตสาหกรรมไปแล้ว
  2. เพื่อตอบสนองนโยบายเหมืองแร่จากการนำกากของเสียอุตสาหกรรม เปลี่ยนคำนิยามเป็น ‘วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว’ ผ่านการรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG)

 

เพ็ญโฉมขยายความว่า กากแคดเมียมมีพิษที่ร้ายแรงจริง แต่ขณะเดียวกันก็มีค่ามหาศาลในการทำธุรกิจ หลังการหลอมแคดเมียม 1 ตัน กากจะมีมูลค่าอยู่ประมาณ 100,000 บาท

 

อีกประเด็นเสริมกันที่ทำให้การขนย้ายกากของเสียดังกล่าวทำได้ง่ายคือ ช่องลอด หรือทางรอดของกฎหมาย คือ EIA ไม่มีการติดตามลงโทษ, การอนุมัติการขนย้ายกากทำง่ายตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันเจ้าหน้าที่อนุมัติรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ที่สะดวกขึ้น, โรงหล่อหลอมไม่ต้องทำ EIA หรือมาตรการควบคุมมลพิษ และข้าราชการไทยเกรงอิทธิพลเอกชนและกลัวถูกฟ้องคดี

 

การเตรียมการขุด-ขน-ทิ้งกากแคดเมียม

 

เพ็ญโฉมเปิดเผยว่า บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตให้ทำการขุดและขนย้ายกากแคดเมียมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 โดยเริ่มขนย้ายจริงในเดือนกรกฎาคม 2566 มีการขนย้ายเที่ยวสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 รวมปริมาณกากที่ขนย้าย 13,832.10 ตัน รวมระยะเวลาขนย้ายประมาณ 8 เดือน

 

ส่วนบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ในที่นี้มีสถานะผู้บำบัด (รับกากแคดเมียม) ทำหน้าที่หล่อหลอมโลหะ มีที่ตั้งอยู่ที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ทางบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ประกอบกิจการประเภทดังกล่าวมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปี มีใบอนุญาต (ร.ง. 4) 3 ใบ คือ 

  • 26 เมษายน 2537 หล่อและหลอมโลหะ 
  • 26 ธันวาคม 2557 หลอมอะลูมิเนียมแท่ง อะลูมิเนียมจากเศษอะลูมิเนียมและตะกรันอะลูมิเนียม 
  • 21 เมษายน 2566 หลอมสังกะสีและแคดเมียม ผลิตโลหะสังกะสีแท่ง สังกะสีอัลลอย และโลหะแคดเมียม 

 

เพ็ญโฉมตั้งข้อสังเกตว่า ณ วันที่ 4 มีนาคม 2567 ไม่พบข้อมูลว่าบริษัทดังกล่าวมีการแจ้งประกอบกิจการต่ออุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งการไม่ได้แจ้งประกอบกิจการนั้น จะทำให้ไม่มีการตรวจสอบว่าบริษัทแห่งนี้มีความสามารถในการหล่อหลอมกากแคดเมียมหรือไม่ และในทางกฎหมายบริษัทนี้จะไม่สามารถดำเนินการได้

 

ลำดับการเคลื่อนย้ายกากแคดเมียม

 

สำหรับลำดับการขนย้ายกากแคดเมียมทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพ็ญศรีระบุว่า เริ่มจากการขนย้ายเที่ยวสุดท้ายออกจากจังหวัดตากเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 รวมปริมาณ 13,832.10 ตัน คาดว่ากากแคดเมียมส่งเข้าบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 

 

แต่เรื่องการขนย้ายกากปรากฏเป็นข่าวเมื่อเดือนเมษายน 2567 ผ่านการร้องเรียนของชาวบ้าน โดยเจ้าหน้าที่ตรวจพบกากแคดเมียมถูกทิ้งไว้ 2,400 ตันในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นพบที่ตำบลคลองกิ่ว จังหวัดชลบุรี 3,000-7,000 ตัน และพบที่ตำบลบางน้ำจืด จังหวัดสมุทรสาคร อีก 1,034 ตัน

 

เพ็ญโฉมกล่าวตั้งข้อสังเกตว่า บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) อาจถือเป็นผู้ก่อมลพิษที่ต้องรับผลกระทบทั้งหมด เนื่องจากได้รับอนุญาตให้นำสิ่งปฏิกูล-วัสดุไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ส่งไปยังบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ในนามผู้บำบัด เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ซึ่งช่วงเวลาการอนุญาตคือ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ถึง 9 กรกฎาคม 2567 

 

“ทางบริษัทต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากการขุดและการขนย้ายกากแคดเมียมจากต้นทางถึงปลายทางทุกจุดที่ได้รับความเสียหาย ตลอดจนค่าใช้จ่ายของทุกหน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการแก้ปัญหา” เพ็ญโฉมกล่าว

 

บทเรียนอันตรายที่ถูกถอด สะท้อนความล้มเหลวการบริหารงานของรัฐบาล

 

ในช่วงท้ายของการแถลง เพ็ญโฉมและดาวัลย์พูดถึงภาพสะท้อนความล้มเหลวของระบบการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมผ่านการตั้งคำถามว่า อุตสาหกรรมจังหวัดมีความสามารถและความเชี่ยวชาญในการกำกับดูแลเรื่องกากอันตรายหรือไม่ และเรื่องนี้จะสามารถขยายไปถึงเส้นทางการทุจริตต่อหรือไม่ รวมไปถึงระบบราชการไทยที่ปัจจุบันเน้นเพียงความรวดเร็วในขั้นตอน แต่ก่อให้เกิดความหละหลวมและทิ้งความสำคัญของสิ่งแวดล้อมหรือ

 

ข้อเสนอแนะภาคประชาชนมุ่งตรงทั้งสายพาน

 

เพ็ญโฉมฝากข้อเสนอถึงบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ว่า ขอให้ดำเนินการสนับสนุนการติดตามตรวจสอบให้ชัดเจนและครบถ้วนว่ากากแคดเมียมทั้งหมดกระจายไปพื้นที่ใดในสภาพใดบ้าง หากกากทั้งหมดยังคงอยู่ในถุงบิ๊กแบ็ก ขอให้ดำเนินการประกาศและวางมาตรการป้องกันการแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมติดตามเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าว

 

ตรวจสอบกระบวนการดำเนินการที่เกิดขึ้นทั้งในประเด็นด้านกฎหมายหลักวิชาการ และการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในกรณีนี้ และให้รายงานเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา

 

สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายและระบบ เพ็ญโฉมระบุว่า ขอให้รัฐบาลทบทวนและปรับโครงสร้างการบริหารจัดการอุตสาหกรรมทั้งระบบ ณ วันนี้ต้องยอมรับความล้มเหลวและช่องโหว่ของระบบในปัจจุบันที่เน้นอำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่ภาคเอกชนหรือโรงงานในการย้ายกำจัดกาก โดยไม่คำนึงถึงผลทางสิ่งแวดล้อม

 

ระงับการออกใบอนุญาตประกอบกิจการรีไซเคิลประเภทต่างๆ โดยเร่งทบทวนนโยบายและมาตรการส่งเสริมการทำเหมืองจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว โดยเฉพาะการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม

 

ปรับปรุงระบบการควบคุมมลพิษการรักษาสภาพแวดล้อม พร้อมยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมการควบคุมมลพิษ, สนับสนุนกฎหมายร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ. …. (PRTR) และสำรวจ-ขึ้นทะเบียนพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษที่เสียหายจากการฝังกลบ การหล่อหลอม และการรีไซเคิลของเสียอันตราย

 

เพ็ญโฉมกล่าวต่อว่า ในภาพรวมอื่นๆ ที่อยากเสนอแนะคือ ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 4/2559 ที่ทำให้ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองสำหรับอุตสาหกรรมอันตรายบางประเภท เช่น การรีไซเคิลของเสียโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ, การปรับปรุงโครงสร้างอำนาจหน้าที่ที่ทับซ้อนกันของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการอนุญาตการลงทุนอุตสาหกรรม ควรจะให้อำนาจกรมควบคุมมลพิษมากกว่านี้

 

เพ็ญโฉมกล่าวทิ้งท้ายว่า นายกรัฐมนตรีควรจะให้ความสำคัญและใส่ใจกับระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมให้เทียบเท่ากับการแก้ปัญหาในภาคเศรษฐกิจ เพราะเรื่องนี้จะกระทบต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

The post เสียงสะท้อนภาคประชาชนต่อการลักลอบขนย้าย ‘กากแคดเมียม’ บทพิสูจน์การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ปัญญา appeared first on THE STANDARD.

]]>
คุยม็อบค้านแลนด์บริดจ์-รับดอกไม้กลุ่มชาวประมง พร้อมรับข้อเสนอไปพิจารณา https://thestandard.co/mob-opposes-land-bridge/ Tue, 23 Jan 2024 07:54:36 +0000 https://thestandard.co/?p=891055 ม็อบค้านแลนด์บริดจ์

วันนี้ (23 มกราคม) ที่ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง มหาวิทย […]

The post คุยม็อบค้านแลนด์บริดจ์-รับดอกไม้กลุ่มชาวประมง พร้อมรับข้อเสนอไปพิจารณา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ม็อบค้านแลนด์บริดจ์

วันนี้ (23 มกราคม) ที่ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางมาพบกับกลุ่มภาคประชาชนประมาณ 100 กว่าคน ที่เดินทางมารวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งมีการชูป้ายข้อความต่างๆ เช่น มีการบิดเบือนข้อมูลและลิดรอนสิทธิของประชาชน, การศึกษาผลกระทบยังไม่เสร็จสิ้น, แบบพัฒนาโครงการไม่รอบคอบ, กระบวนการให้ข้อมูลไม่รอบด้าน เป็นต้น และมีการชูธงแสดงสัญลักษณ์ที่มีข้อความระบุว่า ‘หยุดแลนด์บริดจ์’

 

ด้านแกนนำกลุ่มผู้คัดค้านฯ กล่าวว่า ทราบดีถึงการมุ่งมั่นของนายกรัฐฯ ในการบริหารประเทศภายใต้การนำของนายกฯ ที่มุ่งมั่น และที่สำคัญเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ดีกว่านี้ในทุกมิติ 

 

หลายนโยบายพวกเราไม่ได้คัดค้าน พร้อมสนับสนุน แต่โครงการแลนด์บริดจ์เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จึงมีข้อแนะนำและเรียกร้องให้รัฐบาลจะต้องศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านและได้มาตรฐาน การศึกษาจะต้องไม่ลำเอียง กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจน โดยบูรณาการกับแผนงานอื่นๆ อย่างเป็นรูปธรรมในทุกด้าน รวมถึงประชาชนจะต้องมีส่วนร่วม โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนอย่างรอบด้าน และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 

 

เสนอตั้งคณะกรรมการร่วม นักการเมือง-ข้าราชการ-ท้องถิ่น-ประชาชน

 

ทั้งนี้กลุ่มผู้คัดค้านฯ ยังมีข้อเรียกร้องอีกว่า อยากให้รัฐบาลพัฒนาในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการประมงและการเกษตร และเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง ข้าราชการ ท้องถิ่น และภาคประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เป็นกลไกในการทำงานที่จะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

 

โดยนายกฯ กล่าวว่า ตนขอสรุปโดยสังเขป ท่านมีข้อสงสัยอยู่หลายข้อ หนึ่งเรื่องการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ครอบคลุมหรือไม่ มีอิสระหรือไม่ ดูแลทุกมิติหรือไม่ ไม่ใช่แค่แลนด์บริดจ์อย่างเดียว อุตสาหกรรมที่จะมาต่อเนื่องในอนาคตด้วย, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นด้วย ตรงนี้ตนรับฟังและจะนำไปพิจารณาเป็นข้อประกอบการทำเอกสารศึกษา เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีความกระจ่างในจุดประสงค์ของการทำแลนด์บริดจ์ 

 

ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคใต้นอกเหนือจากโครงการแลนด์บริดจ์ นายกฯ กล่าวว่า ตนมั่นใจว่ารัฐบาลนี้ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว มาตรการที่จะสร้างท่าอากาศยานนานาชาติอันดามันที่จังหวัดพังงา 

 

เตรียมพิจารณากฎหมายช่วยชาวประมงกลับมาประกอบอาชีพ 

 

ทั้งนี้สัปดาห์หน้าจะนำร่าง พ.ร.บ.ประมงฯ เข้าพิจารณา เพื่อให้ชาวประมงกลับมาประกอบอาชีพได้อีกครั้งตามกฎของการแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) รัฐบาลยืนยันทำอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เรื่องวัฒนธรรม กีฬา อาหารต่างๆ เหล่านี้ได้บรรจุไว้นโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ขอยืนยันทุกสิทธิทุกเสียงของพี่น้องประชาชนจะได้รับการรับฟัง ไตร่ตรองที่ดีจากรัฐบาล

 

นอกจากนี้ ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ศูนย์ราชการจังหวัดระนอง นายกฯ และคณะได้พบกับกลุ่มสมาคมชาวประมงในเขตจังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อรับฟังปัญหา รวมถึงรับมอบกระเช้าผลิตภัณฑ์ประมงและดอกไม้ โดยยืนยันว่าพร้อมช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านเช่นกัน

 

ม็อบค้านแลนด์บริดจ์

The post คุยม็อบค้านแลนด์บริดจ์-รับดอกไม้กลุ่มชาวประมง พร้อมรับข้อเสนอไปพิจารณา appeared first on THE STANDARD.

]]>