พิศาล วัฒนวงษ์คีรี – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 24 Jan 2025 07:59:48 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เปิดทรัพย์สิน พล.อ. พิศาล อดีต สส. เพื่อไทย หลังหมดอายุความคดีสลายชุมนุมตากใบ https://thestandard.co/pisarn-wealth-assets/ Fri, 24 Jan 2025 07:59:48 +0000 https://thestandard.co/?p=1034010 บัญชีทรัพย์สิน พิศาล

วันนี้ (24 มกราคม) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม […]

The post เปิดทรัพย์สิน พล.อ. พิศาล อดีต สส. เพื่อไทย หลังหมดอายุความคดีสลายชุมนุมตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บัญชีทรัพย์สิน พิศาล

วันนี้ (24 มกราคม) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีข้อมูลของ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี กรณีพ้นจากตำแหน่ง สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2567 

 

พล.อ. พิศาล และ มณีรัตน์ วัฒนวงษ์คีรี คู่สมรส แจ้งมีทรัพย์สินรวม 46,103,958 บาท แบ่งเป็นทรัพย์สินของ พล.อ. พิศาล รวม 10,675,196 บาท ประกอบด้วยเงินฝาก 12 บัญชี รวม 2,842,196 บาท ที่ดินในจังหวัดเพชรบุรี สงขลา ขอนแก่น รวม 5 แปลง มูลค่า 5,280,000 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง เป็นห้องชุดในเขตบางเขน กทม. มูลค่า 300,000 บาท ยานพาหนะ 4 คัน มูลค่า 1,010,000 บาท สิทธิและสัมปทาน มูลค่า 273,000 บาท ทรัพย์สินอื่น มูลค่า 970,000 บาท 

 

ขณะที่คู่สมรสแจ้งมีทรัพย์สินรวม 35,428,762 บาท และได้แจ้งหนี้สินรวมทั้งสิ้น 186,112 บาท เป็นเงินเบิกเกินบัญชี

 

นอกจากนี้ พล.อ. พิศาล แจ้งมีรายได้ต่อปีรวม 2,635,035 บาท แบ่งเป็นเงินเดือนและเงินเพิ่ม สส. รวม 860,858 บาทต่อปี เงินบำนาญ 933,744 บาทต่อปี ค่าตอบแทนบริษัท 840,433 บาทต่อปี และมีรายจ่ายต่อปีรวม 1,430,000 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว 1,200,000 บาทต่อปี ค่าอุปการะบิดามารดา 180,000 บาทต่อปี เงินบริจาค 50,000 บาทต่อปี

 

สำหรับทรัพย์สินอื่นที่น่าสนใจ ประกอบด้วย พระเครื่อง 28 องค์ พระบูชา 10 องค์ ไม่ระบุมูลค่า นาฬิกา 5 เรือน มูลค่ารวม 1,030,000 บาท เครื่องประดับ 20 รายการ รวมมูลค่า 1,275,000 บาท วัตถุโบราณ 4 รายการ ไม่ระบุมูลค่า

 

ทั้งนี้ พล.อ. พิศาล เป็นอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี 2547 ซึ่งหมดอายุความไปเมื่อ 25 ตุลาคม 2567 เนื่องจากไม่สามารถตามตัวจำเลยในคดีทุกคนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ 

 

โดย พล.อ. พิศาล ได้ยื่นหนังสือขอลาประชุมสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม ถึง 30 ตุลาคม 2567 ระบุว่ามีอาการป่วยและต้องไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ แม้จะมีหลายฝ่ายเรียกร้องให้กลับมามอบตัว และในเวลาต่อมา พล.อ. พิศาล ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจาก สส. พรรคเพื่อไทย จนกระทั่งคดีหมดอายุความ

The post เปิดทรัพย์สิน พล.อ. พิศาล อดีต สส. เพื่อไทย หลังหมดอายุความคดีสลายชุมนุมตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลจังหวัดนราธิวาสสั่งจำหน่ายคดีตากใบหลังขาดอายุความ-จับกุม 7 จำเลยมาดำเนินคดีไม่ได้ https://thestandard.co/tak-bai-case-dismissed/ Mon, 28 Oct 2024 08:37:19 +0000 https://thestandard.co/?p=1000978 ตากใบ

วันนี้ (28 ตุลาคม) เวลา 10.00 น. ศาลจังหวัดนราธิวาสอ่าน […]

The post ศาลจังหวัดนราธิวาสสั่งจำหน่ายคดีตากใบหลังขาดอายุความ-จับกุม 7 จำเลยมาดำเนินคดีไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตากใบ

วันนี้ (28 ตุลาคม) เวลา 10.00 น. ศาลจังหวัดนราธิวาสอ่านคำสั่งคดีหมายเลขแดงที่ อ1516/2567 ระหว่าง ฟาตีฮะห์ ปะจูกูเล็ง โจทก์ที่ 1 กับพวกรวม 48 คน กับ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 9 คน

 

กรณีที่โจทก์ทั้ง 48 คนฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 9 คนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 80, 83, 288, 289 (5), 309 และ 310 เนื่องจากเป็นคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ ศาลจึงนัดไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.อ.) มาตรา 162 (1) ในวันที่ 24 มิถุนายน 2567

 

ทั้งนี้ ในการไต่สวนมูลฟ้องที่ผ่านมาจำเลยทั้ง 9 คนไม่มาศาล แต่แต่งตั้งทนายความมาซักค้านพยานฝ่ายโจทก์ รวมทั้งยื่นคำแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165/2

 

วันที่ 23 สิงหาคม 2567 ศาลออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3-6 และจำเลยที่ 8-9 มาสอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานในวันที่ 12 กันยายน 2567 แต่เมื่อถึงวันนัด จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3-6 และจำเลยที่ 8-9 ไม่มา ศาลจึงออกหมายจับ

 

เว้นแต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศาลมีหนังสือขออนุญาตจับไปยังสภา และได้รับตอบกลับมาว่า ระหว่างสมัยประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มีความคุ้มกันใดๆ ต่อมาศาลจึงออกหมายจับจำเลยที่ 1

 

จนกระทั่งวันนี้ยังคงไม่สามารถจับกุมจำเลยที่ 1-3 จำเลยที่ 6 และจำเลยที่ 8-9 ได้ ศาลจังหวัดนราธิวาสจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี เนื่องจากคดีขาดอายุความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เหตุที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีแทนพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

 

เนื่องจากตามบทบัญญัติดังกล่าว เป็นกรณีปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความปรากฏต่อศาลในชั้นทำคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ศาลยกฟ้องโจทก์และปล่อยจำเลยไป แต่คดีนี้จำเลยที่ 1-3 จำเลยที่ 6 และจำเลยที่ 8-9 ไม่เคยเข้าสู่การพิจารณา และหลบหนีจนคดีขาดอายุความ เป็นเหตุให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ทั้ง 48 คนระงับ รวมทั้งไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

The post ศาลจังหวัดนราธิวาสสั่งจำหน่ายคดีตากใบหลังขาดอายุความ-จับกุม 7 จำเลยมาดำเนินคดีไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย https://thestandard.co/final-resolution-of-the-tak-bai-case/ Tue, 22 Oct 2024 13:42:53 +0000 https://thestandard.co/?p=999080

วันนี้ (22 ตุลาคม) 3 วันสุดท้ายก่อนคดีตากใบจะหมดอายุควา […]

The post จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (22 ตุลาคม) 3 วันสุดท้ายก่อนคดีตากใบจะหมดอายุความโดยยังไม่มีผู้ต้องหาคนใดมาปรากฏตัวต่อหน้าศาล ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีเอาผิดใครได้อีก ทั้งนี้ เป็นคดีที่สืบเนื่องจากเหตุสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส และการขนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

 

ล่าสุดคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มี อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นประธานกรรมาธิการ พิจารณาติดตามเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอยนวลพ้นผิด กรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณหน้า สภ.ตากใบ โดยมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง คือ

 

  1. สถานีตำรวจภูธรภาค 9
  2. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า
  3. สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
  4. สำนักงานอัยการภาค 9

 

รวมถึงตัวแทนนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน และภาคประชาชน ได้แก่ สุณัย ผาสุข ผู้แทน Human Rights Watch Asia, Katia Chirizzi ผู้แทนข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน สหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, ดอน ปาทาน, อาเต็ฟ โซ๊ะโก และ รศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ ทั้งนี้มี พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร สว. และ รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เข้าร่วมชี้แจงด้วย

 

อย่างไรก็ตาม มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและกองทัพบกไทยไม่ได้ร่วมเข้าชี้แจงเนื่องจากติดภารกิจ

 

ห้องประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา วาระติดตามการดำเนินคดีตากใบ

 

อัยการแจง ส่งฟ้องไม่ได้ เหตุไม่พบตัวผู้ต้องหา

 

ชัยชาญ ยมจินดา อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า จากกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 8 คนจากคดีตากใบ มีการส่งกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และส่งกลับมาที่อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 สำนักงานอัยการภาค 9 และส่งกลับมาที่หนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตน เมื่อรับสำนวนมาแล้วต้องแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเพื่อจัดการให้ได้ตัวผู้ต้องหา 8 คนมาดำเนินคดี โดยทำคู่ขนานไปกับพนักงานสอบสวน

 

ผมไม่มีสิทธิ์ทำอะไรทั้งสิ้นแม้กระทั่งการสอบสวน นอกจากร่างสำนวนฟ้องจนกว่าจะได้ผู้ต้องหาทั้ง 8 คน และรอว่าเมื่อถึงวันที่ 25 ตุลาคม เวลา 16.00 น. ตามเวลาราชการ หากพนักงานสอบสวนสามารถนำตัวผู้ต้องหา 8 คน หรือคนใดคนหนึ่งมา ก็สามารถส่งฟ้องต่อได้เลย แต่หากเกินเวลาหรือตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคมเป็นต้นไป คดีจะถือว่าขาดอายุความ ซึ่งหากคดีขาดอายุ พนักงานอัยการต้องสั่งยุติคดีเพราะไม่สามารถส่งต่อไปที่ศาลได้ และไม่ใช่อำนาจของอัยการปัตตานี แต่ต้องส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้สั่งยุติคดีอีกครั้ง จากนั้นจึงจะต้องส่งกลับมาที่อัยการปัตตานีเพื่อส่งแก้คดีแล้วแจ้งให้ญาติผู้เสียชีวิตทราบว่าคดีนี้ขาดอายุความแล้ว ไม่สามารถส่งฟ้องศาลได้” ชัยชาญกล่าว

 

อังคณา นีละไพจิตร สว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา

 

ด้านสุณัยกล่าวว่า คดีตากใบเป็นการตอกย้ำว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนานใหญ่โดยเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะเมื่อเกิดขึ้นกลับไม่มีการรับผิดชอบจากผู้กระทำ และนี่เป็นสาเหตุว่าทำไมองค์กรต่างชาติทั้งหลายจึงให้ความสนใจและติดตามเรื่องนี้มาตลอด อย่างไรก็ตาม คดีตากใบยังเป็นความหวังว่าวงจรของการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนานใหญ่โดยเจ้าหน้าที่รัฐจะสามารถถูกยับยั้งได้

 

สุณัยบอกด้วยว่าได้ไปคุยกับครอบครัวของผู้รอดชีวิต เขาบอกว่าการนำเท้าไปเหยียบกระบวนการยุติธรรม แม้เพียงครึ่งเท้าก็ยังดี ก็มีความหวัง การให้ความจริงกับเขาถือเป็นส่วนหนึ่งของความหวัง ตนจึงมีความหวังให้ทุกคนทำหน้าที่อย่างเต็มที่

 

นอกจากนี้ในเวลาที่เหลืออีก 3 วัน ตนเองเช็กกับองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (INTERPOL) พบว่าในฐานข้อมูลของ INTERPOL ไม่มีชื่อของ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และย้ำว่าผลที่ออกมาจะเป็นการตอกย้ำบรรทัดฐานว่าอย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐได้

 

“ผมมีความกังวลว่าการใช้กำลังของรัฐจะดำเนินต่อไป และรัฐสามารถกระทำกับประชาชนได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร คำว่า ‘ตาย จ่าย จบ’ ไม่ใช่การเยียวยา ส่วนคำพูดที่บอกว่ารับเงินไปแล้วจบ ยังไงก็ไม่จบ เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งทดแทนความยุติธรรม” สุณัยกล่าว

 

ขอหมายแดง INTERPOL แล้ว แต่ไม่ปรากฏบนเว็บไซต์?

 

ตำรวจภูธรภาค 9 นำโดย พล.ต.ต. นิตินัย หลังยาหน่าย รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พร้อมด้วยคณะ ร่วมกันชี้แจงว่า ตั้งแต่มีหมายจับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและทุกหน่วยงานติดตามจับกุม โดยออกหมายแดง INTERPOL ทั้ง 14 คนเป็นที่เรียบร้อย และล่าสุดเดินทางไปพบรองผู้ว่าจังหวัดนครพนมเพื่อติดตามตัวผู้ต้องหารายหนึ่งให้มามอบตัว แต่ได้รับรายงานว่าขาดราชการ ไม่สามารถติดต่อได้ และทราบว่าหลบหนีไปยังประเทศ สปป.ลาว โดยคาดว่าใช้ช่องทางธรรมชาติ

 

ด้านรอมฎอนถามว่า ที่ตำรวจภูธรภาค 9 อ้างว่าได้ขอหมายแดง (Red Notice) ไปยัง INTERPOL ให้ตามตัวผู้ต้องหาในคดีตากใบทั้ง 14 คนแล้ว แต่จากที่ตนเองตรวจสอบในเว็บไซต์ของ INTERPOL ข้อมูลหมายแดงทั้ง 6,681 คนจากทั่วโลกพบว่า รัฐบาลไทยร้องขอหมายจับไปเพียง 3 คนเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ผู้ต้องหาในคดีตากใบแต่อย่างใด จึงไม่แน่ใจว่าคำชี้แจงต่อกรรมาธิการตกหล่นอย่างไร จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบและชี้แจงต่อกรรมาธิการอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม ขอให้เปิดเผยมาว่าตอนนี้ผู้ต้องหาทั้ง 14 คนอยู่ที่ไหน โดยไม่ต้องกลัวว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี เพราะเวลานี้ประชาชนต้องการรับทราบข้อมูลของผู้ต้องหาทั้งหมด อยู่ต่างประเทศกี่คน ประเทศใดบ้าง อยู่ในประเทศไทยกี่คน อยู่ที่ไหนบ้าง และมีจำเลยหรือผู้ต้องหาบางคนอยู่ในค่ายทหารหรือไม่ ซึ่งส่งผลต่อการทำหน้าที่ของตำรวจ

 

พร้อมกันนี้ยังขอตั้งคำถามเผื่อว่าทั้ง 14 คนนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เพราะคดีนี้มีเดิมพันที่สูงมาก เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ รวมถึงมีมาตรการคุ้มครองญาติของผู้เสียหายที่ฟ้องคดีอย่างไรหลังจากคดีหมดอายุความ และมีแนวคิดจะฟ้องร้องประชาชนที่กล้าหาญจะฟ้องร้องคดีนี้หรือไม่ อย่างไร

 

รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

พ.ต.อ. รังษี มั่นจิตร หัวหน้างานซักถาม ศูนย์พิทักษ์สันติ ชี้แจงว่า วันที่ตนเองชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ตำรวจภูธรภาค 9 ทำหนังสือถึงกองการต่างประเทศ ซึ่งขึ้นตรงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองการต่างประเทศแจ้งว่าประสานกับ INTERPOL และออกหมายแดงแล้ว 14 คน ยืนยันว่ากองการต่างประเทศออกหมายเลขแล้วเรียบร้อย โดยบุคคล 2 คนที่ออกจากต่างประเทศอย่างถูกต้องคือสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น จึงได้ทำหนังสือถึงสถานทูตแล้ว

 

ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือ กองสืบของแต่ละภูมิภาคแจ้งกลับมาว่าไม่ปรากฏพบ คาดว่ามีการหลบหนีผ่านช่องทางธรรมชาติ จึงทำหนังสือถึงกรมศุลกากร ซึ่งระเบียบปฏิบัติต้องอาศัยการประสานกับตำรวจท้องที่นั้นๆ ไม่สามารถจับกุมได้ทันที ส่วนยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตนยังไม่ทราบ ขณะที่ผู้ต้องหาที่เป็นข้าราชการทหารนั้นได้ตรวจค้นในค่ายทหารจังหวัดลำปางและแสดงหมายจับแล้ว แต่ก็ไม่พบตัว

 

สุณัยจึงร้องขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกระตุ้น INTERPOL ให้ช่วยติดตามผู้ต้องหา ซึ่งเคยกระทำมาแล้วในหลายกรณีก่อนหน้านี้ จึงหวังว่าจะดำเนินการได้ และยังมีอีกช่องทางหนึ่งคือผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยใช้ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศที่ผู้ต้องหาหลบหนีไป ส่งตัวหรือเนรเทศบุคคลเหล่านั้นกลับมาในลักษณะของการต่างตอบแทน แต่น่าเสียดายที่วันนี้ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศมาชี้แจง

 

หลังหมดอายุความประชาชนผู้ฟ้องจะปลอดภัยหรือไม่?

 

จากนั้น รศ.เอกรินทร์ สอบถามว่าจะรับมือกับการแสดงออกของประชาชนอย่างไรหากคดีหมดอายุความ ซึ่งต้องไม่ไปละเมิดประชาชน มีการประสานไปยังประเทศปลายทางที่ผู้ต้องหาไปอยู่หรือไม่ หากประสานแล้วประสานอย่างไร ต่างจากมาตรฐานเดิมหรือแตกต่างอย่างไร

 

พ.ต.อ. จารุวิทย์ วงศ์ชัยกิตติพร รองผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กอ.รมน. ชี้แจงว่า พลเมืองไทยย่อมได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างเท่าเทียมกันตามหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ กอ.รมน. ต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย ขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องเคารพกฎหมายและสิทธิของผู้อื่น เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่ง และ กอ.รมน. พยายามบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยกระดับการป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ทุกรูปแบบ

 

ส่วนขั้นตอนหลังพ้นอายุความวันที่ 25 ตุลาคม อาจมีการแสดงออกของประชาชนในรูปแบบต่างๆ หน่วยงานรัฐจะมีการดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่ พ.ต.อ. จารุวิทย์ ระบุว่า ผู้ที่แสดงออกต้องพึงระมัดระวังข้อความหรือท่าทีที่สื่อความหมายออกไปและเกิดผลกระทบ สร้างความเสียหาย ต้องว่ากันไปเป็นรายกรณี แต่โดยพื้นฐานทุกคนสามารถแสดงออกในสิ่งที่มีความถูกต้องและมีดุลพินิจที่เหมาะสม

 

นักศึกษากลุ่มเดอะปาตานี จัดกิจกรรม ‘ตากใบต้องไม่เงียบ’ ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

 

ข้อสรุปที่ไม่มีข้อสรุป ฝากถามประธานสภาให้ พล.อ. พิศาล ลา

 

อังคณากล่าวว่า ตนเองก็เคยตกเป็นเหยื่อของการสลายการชุมนุมเช่นเดียวกัน ในการชุมนุมหน้ารัฐสภาเมื่อปี 2563 ซึ่งมีการฉีดน้ำผสมสารเคมี และศาลพิพากษาให้เยียวยา แต่ตนเองยังไม่เห็นพัฒนาการของเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุมมากนัก

 

ขณะที่ สุนทร พฤกษพิพัฒน์ สว. ในฐานะกรรมาธิการ ถามว่า ผู้ที่อนุญาตให้ พล.อ. พิศาล ลาหยุด มีส่วนรู้เห็นหรือส่วนผิดด้วยหรือไม่ที่ทำให้หลบหนีไปจนขาดอายุความ

 

อังคณาจึงกล่าวว่า ผู้ที่อนุญาตให้ พล.อ. พิศาล ลาประชุม คือประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ตนเองไม่มีหน้าที่ไปก้าวก่ายสภาผู้แทนราษฎร จึงขอฝาก สส. ไปถาม ทั้งนี้ ในการประชุมวันนี้มีข้อสรุปว่ายังไม่มีข้อสรุป เพราะยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากหน่วยงานเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการสร้างทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูญเสียด้วยว่าการออกมาเรียกร้องต่างๆ ในวันนี้เพราะมีคนหนุนหลัง จึงร้องขอให้เจ้าหน้าที่รัฐแก้ไขทัศนคติเชิงลบหรืออคติต่อผู้เรียกร้อง

The post จำเลยล่องหน คนฟ้องเสี่ยงภัย? สว. ล้วงความจริงหน่วยงานรัฐ สะสางคดี ‘ตากใบ’ ครั้งสุดท้าย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ต่ออายุความ ‘คดีตากใบ’ รัฐบาลจะกล้าหาญพอ หรือรอให้เกิดแผลเป็นที่ไม่มีวันหาย? https://thestandard.co/key-messages-tak-bai-case/ Tue, 22 Oct 2024 01:00:42 +0000 https://thestandard.co/?p=998692

จากเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุ […]

The post ต่ออายุความ ‘คดีตากใบ’ รัฐบาลจะกล้าหาญพอ หรือรอให้เกิดแผลเป็นที่ไม่มีวันหาย? appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย กำลังนับถอยหลังสู่การหมดอายุความ จะไม่สามารถเอาผิดใครได้อีก หากรัฐบาลไม่สามารถติดตามผู้ต้องหามาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้แม้แต่คนเดียวก่อนเวลา 23.00 น. ของวันที่ 25 ตุลาคม 2567

 

หลังจากระยะเวลายาวนานถึง 9 นายกรัฐมนตรี และการรัฐประหารอีก 2 ครั้ง จนถึงวันนี้ยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดได้รับการลงโทษจากกรณีดังกล่าวแม้แต่คนเดียว เสียงที่เคยเงียบจึงเริ่มดังกังวานขึ้นเรื่อยๆ แข่งขันกับทุกวินาทีที่กำลังผ่านไป

 

วันพรุ่งนี้ (22 ตุลาคม) บางคนเริ่มเรียกร้องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อแก้ไขให้คดีตากใบไม่มีอายุความ โดยถือว่าเข้าเกณฑ์เพื่อประโยชน์ต่อความปลอดภัยของประเทศ

 

“แต่จะมีรัฐมนตรีคนไหนกล้าพอจะเสนอหรือไม่” กัณวีร์ สืบแสง สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม บอกกับ THE STANDARD เกี่ยวกับข้อเสนอให้แก้ไขอายุความของคดีตากใบ ที่เขามองว่าเป็นการ ‘หักด้ามพร้าด้วยเข่า’

 

กัณวีร์ตั้งคำถามว่า รัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเคยมี พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี จำเลยที่ 1 ในคดีตากใบ เป็นสมาชิก แม้กระทั่ง พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเคยปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีใครกล้าพอที่จะเสนอและเห็นชอบกับวิธีนี้หรือไม่

 

THE STANDARD ชวนมองย้อนก่อนจะมองไปข้างหน้า ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่คดีตากใบกำลังจะหมดอายุความ แต่จะกลายเป็น ‘ประวัติศาสตร์บาดแผล’ ที่ไม่มีอายุความ ฝังสนิทแน่นในความทรงจำของสังคม

 


 

ภาพญาติผู้เสียชีวิตจากกรณีตากใบเมื่อปี 2547

 


 

ภาพรวมความสูญเสีย แผลเป็นที่ไม่มีวันหาย

 

ย้อนไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 กรณีตากใบเริ่มต้นจากการชุมนุมที่บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธร (สภ.) ตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จำนวน 6 คนที่ถูกจับกุมตัว

 

จากนั้นมีชาวบ้านในพื้นที่นั้นมามุงดูนับพันคน จนทหารต้องทำการปิดล้อมพื้นที่และสลายการชุมนุม มีผู้เสียชีวิตในพื้นที่ชุมนุม 7 คน ตามด้วยการจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวน 1,370 คน แล้วขนย้ายจาก สภ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ที่อยู่ไกลออกไป 150 กิโลเมตร จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขนส่ง 78 คน รวมเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งหมด 85 คน

 

หลังเหตุการณ์ผ่านไป ศาลจังหวัดสงขลาได้สรุปในการไต่สวนว่าผู้ชุมนุมทั้ง 78 คนที่เสียชีวิตระหว่างขนย้าย ‘ขาดอากาศหายใจ’ ซึ่งคดีจบลงด้วยการประนีประนอมยอมความ โดยกระทรวงกลาโหมต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนรวม 42 ล้านบาทให้กับญาติผู้เสียหาย และต่อมามีการจ่ายเงินเยียวยาผู้เสียชีวิตเพิ่มอีกรายละ 7.5 ล้านบาท และผู้บาดเจ็บรายละ 5 แสนบาท

 


 

ภาพรวมความสูญเสียของกรณีตากใบจากรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง

 


 

รัฐบาลที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ประกอบด้วยบุคคลภายนอกและไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐ ผลการสอบข้อเท็จจริงเห็นว่า

 

พล.ท. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีหน้าที่ติดตามดูแลภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติอย่างใกล้ชิด”

 

เวลาผ่านไปกระทั่งถึงช่วงเดือนสิงหาคม 2567 ศาลจังหวัดนราธิวาสรับฟ้องในคดี อ.578/2567 ที่ญาติของผู้เสียชีวิตและสูญเสียจากกรณีตากใบรวมตัวกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย 9 คน ข้อหาหรือฐานความผิดฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยทารุณโหดร้าย, พยายามฆ่า, หน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง, ข่มขืนใจ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ

 

หลังชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลยกฟ้องจำเลย 2 คน และรับคำร้องจำเลยอีก 7 คน ประกอบด้วย

 

  1. พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีต สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

 

  1. พล.อ. เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร (ยศในขณะนั้น) อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5

 

  1. พล.ต.อ. วงกต มณีรินทร์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า

 

  1. พล.ต.ท. มาโนช ไกรวงศ์ (ยศในขณะนั้น) อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9

 

  1. พล.ต.ต. ศักดิ์สมหมาย พุทธกุล อดีตผู้กำกับสถานีตำรวจอำเภอตากใบในขณะนั้น

 

  1. ศิวะ แสงมณี ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรองปลัดกระทรวงมหาดไทย

 

  1. วิชม ทองสงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสในขณะนั้น

 

ส่วนจำเลยที่ศาลยกฟ้องคือ พล.ท. สินชัย นุตสถิตย์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4 และ พ.ต.อ. ภักดี ปรีชาชน อดีตรองผู้กำกับสถานีตำรวจอำเภอตากใบ ปัจจุบันเป็นรอง ผบก.ภ.จว.ปัตตานี

 

ณ ปัจจุบัน ศาลได้นัดไต่สวน 2 ครั้ง แต่จำเลยทุกคนไม่ปรากฏตัวต่อศาล และบางคนมีรายงานว่าเดินทางไปต่างประเทศ ศาลจึงออกหมายจับ และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามตัว หรือให้เวลาผู้ต้องหามามอบตัวภายในเวลา 23.00 น. ของวันที่ 25 ตุลาคม 2567 และนัดฟังคำสั่งศาลในวันที่ 28 ตุลาคม

 

ทำไมเยียวยาแล้วแต่คดียังจบไม่ได้?

 

ก่อนหน้านี้ตัวแทนจากฝั่งรัฐบาล โดยเฉพาะจากพรรคเพื่อไทยที่ พล.อ. พิศาล เคยเป็น สส. อยู่ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในทิศทางที่สอดคล้องกันว่า กรณีตากใบได้ถึงที่สุดแล้ว เพราะมีการสอบข้อเท็จจริงและมอบเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบไปแล้ว

 

ย้อนไปเมื่อปี 2555 รัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยในขณะนั้น ได้มีการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบ 987 ราย วงเงินรวม 641 ล้านบาท ตามมติ ครม.

 


 

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

 


 

อย่างไรก็ตาม เมื่อ 17 ตุลาคม 2567 พรรณิการ์ วานิช ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคำถามกลับถึงคำชี้แจงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยระบุว่า ถ้ามีการจ่ายเงินเยียวยาไปแล้วจะไม่สามารถดำเนินคดีอาญาต่อได้ แล้วการที่มีการรับเงินเยียวยาของพี่น้องเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในปี 2553 และมีการเรียกร้องให้ต้องฟื้นคดีอาญาขึ้นมา พร้อมนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการให้ได้ นั่นเป็นเรื่องหลอกลวงหรือไม่ เพราะเป็นกรณีเดียวกัน

 

พรรณิการ์มองว่าการเยียวยาสมัยรัฐบาลของยิ่งลักษณ์เป็นสิ่งที่ดี เป็นการแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีของการสลายการชุมนุมเสื้อแดงหรือกรณีตากใบ แต่การรับเงินเยียวยานั้นไม่ได้เกี่ยวกับการทำให้กระบวนการทางอาญาสิ้นสุดลง

 

“การจ่ายเงินเยียวยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำมาซึ่งความปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริงได้ และไม่ได้หมายความว่ารับเงินแล้วจบ ถ้ารับเงินแล้วจบ ดิฉันมองว่าต้องตั้งคำถามกับคดีสลายการชุมนุมเสื้อแดงว่ารับเงินไปแล้วก็ต้องจบเหมือนกันหรือไม่” พรรณิการ์กล่าว

 

ในทำนองเดียวกัน อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้แสดงความเห็นว่า รัฐบาลปัจจุบันของ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่มีความชอบธรรมที่จะระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่ผ่านมา เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็รู้สึกผิด นำมาสู่กระบวนการเยียวยา

 

ทั้งนี้ อังคณาชี้ว่า ตามหลักสากลไม่ใช่แค่การให้เงินอย่างเดียว แต่คือการคืนกลับสู่สภาพเดิม คืนศักดิ์ศรี การหยุดตีตราว่าคนเหล่านี้เป็นโจร ซึ่งไม่เคยเห็นความพยายามของรัฐในช่วงปีที่ผ่านมา แม้แต่ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็พูดว่าลืมไปแล้ว จำไม่ได้ ทำให้ผู้เสียชีวิตทั้ง 85 คนจากเหตุการณ์ตากใบกลายเป็นคนที่ไม่มีค่า

 


 

ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

 


 

ภารกิจวัดใจรัฐบาล คดีไม่มีอายุความ ทำได้จริงไหม?

 

เมื่อ 20 ตุลาคม มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะจัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ ‘คดีอาญาตากใบขาดอายุความ: ความรับผิดชอบใคร จะดำเนินคดีต่อได้หรือไม่’ ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นต่ออายุความของคดีในมุมกฎหมาย

 

ปกป้องระบุว่า บางประเทศกำหนดให้คดีฆาตกรรมไม่มีอายุความ เนื่องจากเป็นคดีร้ายแรง แต่ในประเทศไทย คดีที่กำหนดอายุความจะเปิดช่องให้ผู้กระทำผิดหลบหนีไปต่างประเทศและกลับมาโดยรอดคดี

 

ด้านปริญญาเสนอให้รัฐบาลใช้แนวทางออก พ.ร.ก. เพื่อแก้ไขอายุความในคดีตากใบได้ โดยมีมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญรองรับ คือบุคคลจะรับผิดในทางอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติ และรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติขณะนั้น แม้อายุความขาดแล้ว ไม่ได้แปลว่าจำเลยตามหมายจับจะพ้นผิด เพียงแต่ลงโทษไม่ได้

 

กัณวีร์ สืบแสง สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ระบุกับ THE STANDARD ว่าเขาเห็นด้วยกับข้อเสนอของปริญญาเรื่องการออก พ.ร.ก. แก้ไขอายุความ แต่เท่ากับว่าเหลือเวลาจำกัดมาก เพราะรัฐบาลต้องพิจารณาข้อเสนอนี้ในการประชุม ครม. วันที่ 22 ตุลาคม และคำถามสำคัญคือจะมีใครกล้าเสนอและเห็นชอบกับการออก พ.ร.ก. หรือไม่ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี

 

อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกัน สรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวกับสื่อมวลชนว่า สำหรับข้อเสนอให้ พ.ร.ก. ดังกล่าว ในข้อเท็จจริงจากการประเมินเรื่องช่วงเวลาแล้วคงไม่น่าจะทัน ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมขอโทษอย่างจริงใจ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นคนละรัฐบาลกัน

 

“ในส่วนของพรรคเองมีมาตรการอย่างที่เรียนให้ทราบไป โดย พล.อ. พิศาล ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคและเป็นผู้ต้องหาในคดี เราพยายามพูดคุยให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อแสดงความรับผิดชอบ จนกระทั่ง พล.อ. พิศาล ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ และเป็นการลาออกจาก สส. ไปด้วย ส่วนเรื่องคดีความให้ท่านกลับเข้ามาต่อสู้คดีเอง” สรวงศ์กล่าว

 

ท้ายที่สุด แม้จะค่อนข้างชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลมีแนวโน้มที่จะไม่ต้องการ ‘หักด้ามพร้าด้วยเข่า’ ตามที่หลายฝ่ายเสนอมา และคดีตากใบจะหมดอายุความไปเอง แต่รัฐบาล โดยเฉพาะแกนนำพรรคเพื่อไทยล้วนต้องตระหนักอยู่แล้วว่าผลกระทบที่ตามมาหากปล่อยให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น อาจไม่หยุดอยู่แค่เพียงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่หนาหูในช่วงนี้

 

แต่อาจเป็นการสร้างแผลเป็นของวิกฤตศรัทธาที่หลายส่วนในสังคมรู้สึกต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันว่ายังไม่มีความจริงใจมากพอต่อการพยายามคืนความยุติธรรมที่ล่าช้ามาหลายทศวรรษ ซึ่งแผลเป็นดังกล่าวจะไม่เลือนหายไปโดยง่าย เช่นเดียวกับบาดแผลทางประวัติศาสตร์ในใจของผู้ได้รับผลกระทบที่จะไม่มีวันหมดอายุเหมือนกับคดีความ

The post ต่ออายุความ ‘คดีตากใบ’ รัฐบาลจะกล้าหาญพอ หรือรอให้เกิดแผลเป็นที่ไม่มีวันหาย? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตากใบ 2567: รัฐลอยนวลพ้นผิด https://thestandard.co/tak-bai-2567/ Mon, 21 Oct 2024 07:34:09 +0000 https://thestandard.co/?p=998435 ตากใบ

ก้าวที่พลาดของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลแพทองธาร ความล่าช้าแ […]

The post ตากใบ 2567: รัฐลอยนวลพ้นผิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตากใบ

ก้าวที่พลาดของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลแพทองธาร

ความล่าช้าและลักลั่นของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลในการตัดสินใจรับผิดชอบต่อกรณีผู้ต้องหาคดี ตากใบ โดยเฉพาะกรณี พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี ที่เป็น สส. ของพรรคเพื่อไทย และบทบาทของรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ซึ่งแน่นอนก็ย่อมถูกตั้งคำถามจากประชาชนว่าฐานคิดเรื่องนี้ไม่ได้วางหลักอยู่ที่ประเด็นสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรมและความรับผิดรับชอบทางการเมือง แต่กลับเป็นว่าความล่าช้าและไม่จริงจังของหัวหน้าฝ่ายบริหารถูกทำให้เหลือแต่เพียงมิติทางการเมือง น้ำหนักแห่งความรับผิดรับชอบทางการเมืองที่แสดงออกต่อกรณี ตากใบ เหลือแต่เพียงเป็นการกระทำของบุคคล วิธีลัดและง่ายที่สุดคือการให้ผู้ต้องหาลาออกจากสมาชิกพรรคการเมือง และพรรคก็บอกว่าไม่เกี่ยวข้องอีกต่อไป

 

ระบบแห่งความไม่รับผิดชอบทางการเมืองของพรรคการเมืองด้วยวิธีผ่านกฎ กติกา กฎหมาย ต่อความตายของพี่น้องพลเมืองร่วมสังคมไทยเรา เป็นการกระทำที่ตอกย้ำให้เห็นถึงหลักคิด หลักปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์ตากใบเมื่อ 20 ปีผ่านมา รวมทั้งเลือกจะหลีกเลี่ยงเผชิญหน้ากับความจริงผ่านกระบวนยุติธรรม อันเป็นวิธีการเดิมๆ ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ของรัฐไทยที่กระทำความรุนแรงต่อประชาชนแล้วลอยนวลพ้นผิด

 

ผีการก่อการร้ายสากลกับแนวคิดความมั่นคง

ความผิดพลาดของการวิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยมิติความมั่นคงแบบรัฐ โดยเชื่อมต่อกับการก่อการร้ายสากล นับตั้งแต่ขวบปีแรกจนถึงปัจจุบันของบรรดาอดีตแม่ทัพ นักวิชาการฝ่ายความมั่นคง นักสื่อสารมวลชน กรอบคิดเช่นนี้นำพาพวกเขาให้เชื่อว่าขบวนการติดอาวุธในพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการก่อการร้ายสากล และอาจจะมีกลุ่มสนับสนุนจากต่างชาติ มีนักรบต่างชาติเข้ามาร่วมขบวนการต่อสู้ที่ชายแดนใต้/ปาตานี หากทว่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมาก็ไม่พบหลักฐานใดๆ ในการเชื่อมโยงกับการก่อการร้ายสากล ไม่ว่าขบวนการเจมาห์ อิสลามิยาห์, อัลกออิดะห์, ไอซิส ฯลฯ

 

การมองปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ผูกโยงกับการก่อการร้ายสากล ทำให้การแก้ปัญหาติดกับมิติศาสนาหรือการก่อตั้งรัฐอิสลาม ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาก่อนเรื่องการก่อการร้ายสากล หรือการเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 (9/11) การสมาทานความคิดสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทำให้ข้ามมิติประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรม ฯลฯ ของผู้คนในพื้นที่ (ความเป็นมลายู) กับลักษณะเฉพาะของรัฐไทย (ความเป็นไทย) ที่มีปัญหามาอย่างยาวนาน ทำให้การแก้ปัญหาไม่ไปสู่ใจกลางความต้องการของพื้นที่และมองเหลือแต่เพียงมิติทางด้านศาสนาเท่านั้น ทำให้เกิดการขยายความคิดเป็นการปะทะกันระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลามกับศาสนาอื่นๆ มองไม่เห็นความหลากหลายในตัวคนมุสลิม/มลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม

 

ซ้ำร้ายวิธีคิดแบบความมั่นคงยังไม่สามารถแยกมิตรแยกศัตรู สับสนปนเป อย่างเช่นหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบางหน่วยงานที่เชื่อมโยงนักวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์แนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐว่าเป็นแนวร่วมของผู้ก่อการ และตีตราว่ามีพฤติกรรมต้องสงสัย โดยได้เพียงแค่ข้อมูลที่เปิดเผยในที่สาธารณะจากสำนักข่าวและสื่อออนไลน์ในอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

 

วิธีการที่มักง่ายและการทำงานแบบตื้นเขินอย่างยาวนานส่งผลให้ทางเลือกการแก้ปัญหาเป็นไปในลักษณะการกดปราบ ทั้งลดทอนการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการทางการเมืองที่ต้องมุ่งเน้นในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ผู้คนในพื้นที่ใช้กลไกรัฐสภาเป็นทางออก ไม่ใช่มองเห็นว่ากลไกรัฐสภากลายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ BRN ซึ่งเป็นความผิดพลาดมหาศาลของเหล่านักคิด นักวิชาการฝ่ายความมั่นคง ที่ใช้กรอบคิดความมั่นคงแบบสงครามเย็นมาอธิบายความรุนแรงที่มีพลวัตสูงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสมือนหนึ่งท่านหลับไปตลอดเวลา 20 ปี แล้วเพิ่งฟื้นตื่นมาในปีที่ 20 จึงหยิบฉวยความฝันค้าง เอากรอบคิดในอดีตมาอธิบายปัจจุบันอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้คนในพื้นที่โดยไร้หลักฐานใดๆ ที่เชื่อมโยงกับการก่อการร้ายสากล เป็นการปลุกผีที่มาหลอกคนในตอนกลางวันแสกๆ

 

หน้าตาของผู้ต่อสู้คดีตากใบกับรัฐ

ญาติมิตรและครอบครัวของผู้สูญเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (ภรรยา/แม่) และลูกของพวกเขา ด้วยสภาพความเป็นจริงพวกเขาแทบไม่คล่องแคล่วในการใช้ภาษาไทย และมิต้องพูดถึงความรู้ทางด้านกฎหมายก็ยิ่งห่างไกลนัก การนำพาตัวเองไปที่ศาลและตามหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาล คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฯลฯ เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทำตามกรอบภาระหน้าที่ของตัวเอง ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่พวกเขาไม่คิดมาก่อน ไม่นับรวมที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและสูญเสียเวลาหลายปีไปกับเรื่องทั้งหมดนี้

 

ทั้งหมดคือความพยายามของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งไม่เคยมีอำนาจเท่าเทียมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการเรียกร้องความยุติธรรม นี่คือสภาพความเป็นจริงของผู้คนที่ต้องสู้เพื่อให้ได้ความยุติธรรม

 

ความยุติธรรมในชั้นศาลถือว่าเป็นพื้นที่สุดท้ายของครอบครัวและญาติของผู้สูญเสียชีวิตในเหตุการณ์ ตากใบ การลุกขึ้นมาทวงถามหาความยุติธรรมอย่างตรงไปตรงมาสะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังต่อกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังสื่อความหมายว่าเขาเหล่านั้นยังคงเลือกใช้การแก้ปัญหาด้วยสิทธิพลเมืองของประเทศไทยตามกฎหมาย มิได้เลือกใช้ความรุนแรงที่ผิดกฎหมายในการเรียกคืนความยุติธรรมแต่อย่างใด

 

ความหวังและความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทยคือหนทางเดียวที่จะปกป้องไม่ให้คนที่ถูกกระทำเลือกใช้ความรุนแรงเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างไม่รู้จบ แต่หากฟากฝั่งรัฐด้อยค่าหนทางที่เขาเลือกโดยการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ที่ควรทำตามกฎหมายแล้วนั้น ความสงบในพื้นที่ก็ยังคงเป็นความหวังอีกยาวไกลอย่างแน่นอน คำถามคือเราจะเริ่มนับหนึ่งเพื่อความยุติธรรม หรือเราจะนับต่อปีที่ 21 เพื่อตามหาคนผิดที่ลอยนวล

 

การชุมนุมของชาวบ้านที่ตากใบคือสันติวิธี

การอธิบายที่เรียวแคบและลดทอนข้อเท็จจริงของผู้เข้าชุมนุมในเหตุการณ์ตากใบให้เหลือแต่มิติความมั่นคง โดยมองว่าเป็นการจัดตั้ง มีการระดมคน (Organize) และเข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้ติดอาวุธ หากทว่าข้อเท็จจริงของผู้เข้าชุมนุมมีหลายเหตุผลด้วยกัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม โศกนาฏกรรมตากใบถือว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐและต้องมีคนรับผิดชอบที่มีชาวบ้านเสียชีวิต การไม่แยกแยะ จำแนกวิธีการเรียกร้องสิทธิ ใช้สิทธิต่อสู้เรียกร้องอย่างสันติ กับการเคลื่อนไหวติดอาวุธ เป็นเนื้อเดียวกัน และมองแบบเหมารวมทั้งหมดว่าต้องเป็นขบวนการเดียวกัน วิธีการคิดและมองเช่นนี้ของหน่วยงานความมั่นคง บวกกับกระแสการก่อการร้ายสากล ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับผู้ชุมนุมอย่างไร้มนุษยธรรมราวกับเป็นอริศัตรูของชาติ ทั้งที่ข้อเท็จจริงผู้ชุมนุมพันกว่าคนไม่ได้มีอาวุธหนักและทำให้เจ้าหน้าที่ต้องได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

‘มุมมองใหม่’ ที่นักวิชาการเสนอต่อเหตุการณ์ตากใบนั้น นอกจากจะไม่มีอะไรใหม่ด้วยกรอบคิดความมั่นคงเดิมแล้ว ยังตอกลิ่มการด้อยค่าชีวิตพลเมืองภายใต้รัฐไทยในเหตุการณ์ประท้วงอย่างสันติเมื่อ 20 ปีก่อนด้วยการอธิบายว่าเหตุการณ์ตากใบต่างกับเหตุการณ์ประท้วงอื่นๆ ด้วย เพราะ ‘ไม่มีการกราดยิง’ การตายของคน 75 ชีวิตนั้นเป็น ‘ความผิดพลาด’ จากการขนย้าย (เท่านั้น?) คำอธิบายเช่นนี้เองที่ส่งเสริมรักษาให้ ‘วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด’ ยังคงอยู่ในสังคมไทยต่อเนื่องจนไม่เห็นหนทางสิ้นสุด

 

ความยุติธรรมคือหนทางสู่ความสมานฉันท์

การเปิดเผยความจริงและความยุติธรรมกรณีตากใบคือโอกาสสำคัญในการฟื้นฟูความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐ ย่อมส่งผลต่อแผนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่จะเริ่มต้นขึ้นใหม่ อีกทั้งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมที่ประเทศไทยภายใต้รัฐบาลของ แพทองธาร ชินวัตร ได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) วาระปี 2568-2570

 

แต่ทั้งหมดจะไม่มีประโยชน์ใดๆ หากรัฐบาลยังเลือกที่จะก้าวในกรอบความคิดความมั่นคงแบบเดิม ซึ่งเป็นรากฐานของรัฐลอยนวลพ้นผิด (Impunity State) ที่อนุญาตให้รัฐผลิตซ้ำด้วยการกระทำความรุนแรงต่อประชาชนอย่างโจ่งแจ้ง นำไปสู่การพ้นผิดลอยนวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

คำถามจึงมีอยู่ว่า การเปิดเผยความจริงและให้ความยุติธรรมในเหตุการณ์ตากใบ เราจะมองเป็นเรื่องการเมืองหรือความเป็นมนุษย์?

The post ตากใบ 2567: รัฐลอยนวลพ้นผิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
เส้นทางชีวิต ‘พล.อ. พิศาล’ สู่วันที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีตากใบ https://thestandard.co/pisarn-wattanawongkiri/ Wed, 16 Oct 2024 12:20:40 +0000 https://thestandard.co/?p=996779 พิศาล วัฒนวงษ์คีรี

ผ่านมาร่วม 20 ปี แต่บาดแผลในความทรงจำของผู้สูญเสียจากกร […]

The post เส้นทางชีวิต ‘พล.อ. พิศาล’ สู่วันที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิศาล วัฒนวงษ์คีรี

ผ่านมาร่วม 20 ปี แต่บาดแผลในความทรงจำของผู้สูญเสียจากกรณีสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี 2547 ยังคงไม่เสื่อมคลาย ไม่ต่างจากชื่อของ ‘พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี’ ในฐานะอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้รับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าว

 

ขณะที่คดีตากใบซึ่งครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมตัวกันฟ้องร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาส กำลังนับถอยหลังสู่วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่คดีจะหมดอายุความ จำเลยคนสำคัญอย่าง พล.อ. พิศาล ที่เวลานี้เป็นอดีต สส. พรรคเพื่อไทย มีกระแสข่าวว่าเดินทางไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ และไม่เคยปรากฏตัวต่อศาล

 

THE STANDARD ชวนย้อนดูประวัติของ พล.อ. พิศาล ที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาเกือบครึ่งชีวิตการทำงาน ก่อนจะเดินทางมาถึงกรณีตากใบซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขา ระหว่างที่สังคมกำลังจับตาว่ามีโอกาสที่เขาจะกลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และเปิดเผยข้อเท็จจริงอีกด้านของคดีประวัติศาสตร์นี้หรือไม่

 

The post เส้นทางชีวิต ‘พล.อ. พิศาล’ สู่วันที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จำเลยคดีตากใบไม่ปรากฏตัว ศาลให้ตำรวจตามจับกุมมาก่อนคดีหมดอายุความ นัดฟังคำสั่งวันที่ 28 ต.ค. https://thestandard.co/tak-bai-defendants-absent/ Tue, 15 Oct 2024 09:10:18 +0000 https://thestandard.co/?p=996113

วันนี้ (15 ตุลาคม) รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสิทธิมนุษยชน […]

The post จำเลยคดีตากใบไม่ปรากฏตัว ศาลให้ตำรวจตามจับกุมมาก่อนคดีหมดอายุความ นัดฟังคำสั่งวันที่ 28 ต.ค. appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (15 ตุลาคม) รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสิทธิมนุษยชน ในฐานะทนายความฝ่ายโจทก์ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 พร้อมทีมทนายความฝ่ายโจทก์ 48 คน เปิดเผยว่า หลังจากวันนี้ เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดนราธิวาสนัดสอบคำให้การจำเลย 7 คนในคดีดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2

 

แต่จำเลยทั้ง 7 คนที่ถูกออกหมายจับไม่ปรากฏตัวต่อศาล โดยศาลให้เวลาถึง 11.00 น. จึงเลื่อนพิจารณาคดี โดยจะประชุมคดีและนัดฟังคำสั่งคดีในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 แต่ในระหว่างนี้ให้ตำรวจติดตามจับกุมจำเลยมาส่งต่อศาลภายในเวลา 00.00 น. ของวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ก่อนที่คดีนี้จะหมดอายุความ

 

ทั้งนี้ระหว่างพิจารณาคดี ศาลอ่านหมายจับ พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลออกหมายจับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 และเปิดโอกาสให้โจทก์ซึ่งเป็นญาติผู้เสียชีวิตแถลงต่อศาล

 

มูฮำมะซาวาวี อุเซ็ง น้องชายผู้เสียชีวิตรายหนึ่งในเหตุการณ์ตากใบแถลงว่า ญาติไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย เพราะหลังออกหมายจับแล้วก็ยังไม่สามารถจับกุมจำเลยมาดำเนินคดีได้ ซึ่งถือว่าทั้ง 7 คนเป็นฆาตกร ขอให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการนำตัวจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

 

ด้านรัษฎากล่าวว่า จำเลยทั้ง 7 คนที่อยู่ระหว่างการหลบหนีและไม่ได้มาขึ้นศาลนั้น ถือเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วที่จะกลับมาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม

 

“คุณต้องกลับมาพิสูจน์เหตุการณ์ในวันที่เกิดเหตุว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำครบถ้วนตามหน้าที่แล้วหรือยัง แต่ถ้าคุณหลบหนีไม่มา ให้คดีพ้นอายุความค่อยกลับมา ถ้าคุณคิดแบบนั้น แม้อายุความทางกฎหมายจะหมดลง แต่อายุความแห่งความทรงจำและเรื่องราวของประชาชนไม่มีวันขาด ญาติผู้เสียชีวิตยังคงสงสัยเคลือบแคลง ทำไมวันนั้นถึงมีคนเสียชีวิต 85 คน แล้วใครรับผิดชอบบ้าง สิ่งเหล่านี้จะค้างคาอยู่ในใจของประชาชนไปอีกนาน”

 

ขณะที่ รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวขอบคุณญาติที่มีความกล้าหาญลุกขึ้นมาฟ้องจำเลยด้วยตนเองในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าวันนี้จะไม่มีจำเลยคนใดเดินทางมาศาล แต่ตนก็ยังคงมีความหวังว่าจะมีจำเลยมาขึ้นศาล

 

รอมฎอนมองว่าคดีตากใบได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย หากในอนาคตมีเจ้าหน้าที่หรือใครมาใช้อำนาจในการคร่าชีวิตประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อนจะต้องเป็นบทเรียนหลักของเรา ความกล้าหาญของพวกเขา ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบ ได้ทำให้คดีเดินทางมาถึงจุดนี้

The post จำเลยคดีตากใบไม่ปรากฏตัว ศาลให้ตำรวจตามจับกุมมาก่อนคดีหมดอายุความ นัดฟังคำสั่งวันที่ 28 ต.ค. appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณามองพิศาลลาออกเป็นเรื่องส่วนตัว แต่รัฐบาลยังมีหน้าที่คืนความยุติธรรมคดีตากใบ อยู่ที่จะทำหรือไม่ https://thestandard.co/angkhana-pisan-resignation-tak-bai-justice/ Tue, 15 Oct 2024 07:34:07 +0000 https://thestandard.co/?p=996036 อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (15 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สมา […]

The post อังคณามองพิศาลลาออกเป็นเรื่องส่วนตัว แต่รัฐบาลยังมีหน้าที่คืนความยุติธรรมคดีตากใบ อยู่ที่จะทำหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อังคณา นีละไพจิตร

วันนี้ (15 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึง พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะจำเลยคดีตากใบของศาลจังหวัดนราธิวาส ที่ยื่นลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย และพ้นสภาพ สส. โดยระบุว่า การลาออกเป็นเรื่องส่วนตัวของเขาที่จะลาออกเพื่อหนีความผิดหรือหนีการขึ้นศาล 

 

อย่างไรก็ตาม อังคณาย้ำว่า การลาออกดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้พรรคเพื่อไทย หรือพรรคไทยรักไทยในอดีต หรือรัฐบาลใดก็ตาม หมดภาระผูกพันในการให้ความยุติธรรมต่อประชาชนในคดีตากใบ รัฐบาลมีหน้าที่ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อนำตัวจำเลยทั้งหมดมาปรากฏต่อหน้าศาลก่อนคดีจะหมดอายุความ

 

อังคณากล่าวต่อไปว่า การลาออกของ พล.อ. พิศาล จะทำเมื่อไรก็ได้ แต่ว่าหน้าที่ของรัฐบาลยังอยู่ ขอความกรุณาให้รัฐบาลใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ทั้งหมด โดยยกตัวอย่างกรณีหลักการการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนที่วันนี้ประเทศไทยส่งไปให้หลายประเทศ หรือการออกหมายแดงโดยองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ INTERPOL

 

“วันนี้ศาลยังไม่ได้บอกว่าใครผิด ใครถูก แต่เป็นการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าผลการตัดสินของศาลจะเป็นอย่างไร ทุกฝ่ายก็เคารพ แต่ในวันนี้เรายังไม่เห็นความพยายามของรัฐบาลในการดำเนินการตามหลักสากลของการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน” อังคณากล่าว

 

อังคณาระบุว่า อย่างในกรณีของ พล.อ. พิศาล ซึ่งอ้างว่าป่วย รัฐบาลก็ต้องเคารพสิทธิของผู้ป่วย แต่การนำตัวจำเลยมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รัฐบาลสามารถทำได้อยู่แล้ว ขึ้นอยู่ว่าจะทำหรือไม่ทำเท่านั้น ส่วนตัวจึงอยากให้กำลังใจรัฐบาลไทยด้วย และมองว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษและตำรวจไทยมีความสามารถมากในการติดตามบุคคลต่างๆ รวมถึงสามารถดักฟังโทรศัพท์ได้ แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลมีความจริงใจ หรือมีเจตจำนงทางการเมืองในการนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือไม่ พร้อมย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และเป็นเรื่องที่บั่นทอนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทย 

 

“หากรัฐบาลไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย แต่พูดคำเดียวว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็ถือว่าน่าละอายมาก เท่ากับว่ารัฐบาลปฏิเสธความรับผิดชอบ และปล่อยให้เกิดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด” อังคณากล่าว

 

อังคณายังกล่าวถึงกรณีที่ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งออกมาให้สัมภาษณ์บางครั้ง ส่วนตัวมองว่าบางเรื่องไม่ต้องพูดออกมาก็น่าจะดีกว่า เพราะพูดแล้วจะเป็นเหมือนการผลักภาระหรือปฏิเสธความรับผิดชอบ ทั้งที่ความจริงรัฐบาลสามารถทำได้อยู่แล้ว และหากในนโยบายของรัฐบาลพูดถึงหลักนิติธรรม เรื่องนี้ก็จะเป็นบทพิสูจน์หนึ่งว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องหลักนิติธรรมเพียงใด

The post อังคณามองพิศาลลาออกเป็นเรื่องส่วนตัว แต่รัฐบาลยังมีหน้าที่คืนความยุติธรรมคดีตากใบ อยู่ที่จะทำหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฝ่ายค้านหวังเห็นความพยายามรัฐไทยนำตัวจำเลยคดีตากใบมาเข้ากระบวนการ ชี้ พิศาลลาออกไม่ส่งผลต่อการดำเนินคดี https://thestandard.co/tak-bai-case-15102024/ Tue, 15 Oct 2024 05:35:09 +0000 https://thestandard.co/?p=995957 คดีตากใบ

วันนี้ (15 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา ณัฐวุฒิ บัวประทุม สส. […]

The post ฝ่ายค้านหวังเห็นความพยายามรัฐไทยนำตัวจำเลยคดีตากใบมาเข้ากระบวนการ ชี้ พิศาลลาออกไม่ส่งผลต่อการดำเนินคดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
คดีตากใบ

วันนี้ (15 ตุลาคม) ที่อาคารรัฐสภา ณัฐวุฒิ บัวประทุม สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงกรณี พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ตกเป็นจำเลยคดีตากใบของศาลจังหวัดนราธิวาส และล่าสุดได้ยื่นลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยและพ้นสภาพ สส. นั้น

 

ณัฐวุฒิระบุว่า กรณีนี้แม้จะไม่ใช่เรื่องของสภาโดยตรง แต่เป็นเรื่องของ สส. และประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ เรื่องนี้เป็นการวัดความจริงใจของรัฐบาลสืบเนื่องกันมาตลอด 20 ปี ในการนำตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดี เพื่อคืนความยุติธรรมให้กับประชาชนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการลาออกไม่ได้ส่งผลต่อการดำเนินคดี และไม่ได้ส่งผลต่อการทำหน้าที่ของรัฐในการทำหน้าที่ประสานขอตัวมาลงโทษ

 

นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้ทราบว่าผู้ต้องหา 2 ใน 6 คน หนีออกนอกประเทศไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นและอังกฤษ ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับไทย และมีกฎหมายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน จึงอยากเห็นความพยายามมากที่สุดของรัฐไทยในการนำตัวผู้ถูกดำเนินคดีมาลงโทษ

 

ณัฐวุฒิมองว่าการลาออกของ พล.อ. พิศาล เป็นความรับผิดชอบเบื้องต้น ซึ่งไม่รู้ว่าเกิดขึ้นจากความจริงใจที่อยากจะแก้ไขปัญหานี้ หรือดำเนินการตามคำแนะนำของใคร ดังนั้นข้อเรียกร้องในฐานะวิปฝ่ายค้าน ขอให้รัฐบาลมีความจริงใจ เพราะคดีตากใบไม่ใช่เรื่องของผู้เสียหาย แต่คือความเชื่อมั่นของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ และความเชื่อมั่นของประเทศไทยทั้งหมด ว่าอาชญากรรมโดยรัฐที่รัฐต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่เพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง

 

ณัฐวุฒิยังมองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของตัวบุคคลหรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง จึงอยากเรียกร้องไปยังรัฐบาลไทย หวังจะเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจมากกว่านี้ในการนำตัวผู้ถูกดำเนินคดีมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อย่างน้อยเพื่อส่งสารถึงคนจังหวัดชายแดนใต้ว่าได้พยายามถึงที่สุด ส่วนพรรคประชาชนในฐานะวิปฝ่ายค้านจะใช้กลไกในการติดตามเรื่องนี้ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชน ทั้งการสนับสนุนการดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดนราธิวาส, กลไกผ่านคณะกรรมาธิการคณะต่างๆ ของสภา และการตั้งกระทู้ถามในที่ประชุมสภา

 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลนี้เพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียงไม่นาน ฝ่ายค้านจะไม่มีการยื่นขอเปิดอภิปรายทั่วไปและอภิปรายไม่ไว้วางใจในสมัยประชุมนี้ แต่จะยื่นขอเปิดอภิปรายในสมัยประชุมหน้า ซึ่งจะนำเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่จะอภิปรายรัฐบาล

 

นอกจากนี้ฝ่ายค้านยังประเมินว่าอาจมีกรณีที่คดีตากใบหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม โดยจำเลยทุกคนสามารถกลับมาได้โดยไม่ต้องดำเนินคดี แต่ขอส่งสารไปว่าอย่าปล่อยไปให้ถึงวันนั้น ขณะเดียวกันเราก็ไม่เห็นด้วยที่จะเสนอให้ขยายอายุความ เพราะในกระบวนการพิจารณาความอาญาไม่สามารถทำได้ และจะทำให้ประเด็นหลักเสียไป ซึ่งหากไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีได้ทันเวลาก็จะทำให้พ้นความรับผิดชอบในทางอาญา แต่ความรับผิดชอบทางการเมืองคงยังไม่จบลง

 

“แม้ว่า พล.อ. พิศาล จะลาออก แต่พรรคการเมืองต้นสังกัดก็ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ในสถานะพรรคการเมืองเองอาจมีข้อจำกัดในการแสดงความรับผิดชอบหรือเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องส่งไปยังนายกรัฐมนตรี และพรรคร่วมรัฐบาล ในนามของรัฐไทยในการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ เพราะเป็นเรื่องที่มากกว่าตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง” ณัฐวุฒิกล่าว

 

ณัฐวุฒิยังกล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่าคดีตากใบไม่ได้เริ่มต้นขึ้นโดยรัฐ แต่เป็นประชาชนที่ยื่นฟ้องต่อศาลเอง จึงต้องย้อนไปดูว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐหลายระดับที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพียงแต่ตอนนี้ต้องการความรับผิดชอบสูงสุดในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ ทั้งฝ่ายความมั่นคง, ฝ่ายทหาร, ฝ่ายตำรวจ, ฝ่ายปกครอง ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ส่วนความรับผิดชอบที่จะตามมาคงจะมีรายละเอียดของผู้ที่กระทำความผิดอีก แต่สิ่งสำคัญ เหตุการณ์นี้สะท้อนไปถึงความคิดของรัฐบาลในขณะนั้นและรัฐไทยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ที่ใหญ่ไปกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย

The post ฝ่ายค้านหวังเห็นความพยายามรัฐไทยนำตัวจำเลยคดีตากใบมาเข้ากระบวนการ ชี้ พิศาลลาออกไม่ส่งผลต่อการดำเนินคดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทวีเผย ต้องประสานอินเตอร์โพลในการออกหมายแดงจับกุมพิศาล จำเลยคดีตากใบ https://thestandard.co/tawee-interpol-tak-bai/ Tue, 15 Oct 2024 04:34:17 +0000 https://thestandard.co/?p=995927 ทวี สอดส่อง

วันนี้ (15 ตุลาคม) พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระ […]

The post ทวีเผย ต้องประสานอินเตอร์โพลในการออกหมายแดงจับกุมพิศาล จำเลยคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทวี สอดส่อง

วันนี้ (15 ตุลาคม) พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้ตำรวจออกหมายแดงจับกุมตัว พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในคดีตากใบ โดยระบุว่า การออกหมายแดงเป็นหน้าที่ขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือตำรวจสากล (อินเตอร์โพล) ซึ่งอยู่ในการดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยหลักการเข้าข่ายขอความร่วมมือซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งในการปฏิบัติได้

 

พ.ต.อ. ทวี ยังระบุว่า ได้ติดตามเรื่องคดีตากใบเช่นกัน และยืนยันว่ารัฐบาลเห็นใจประชาชน จึงพยายามทำให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ซึ่งทำงานเรื่องนี้ เพราะเหลืออายุความ 10 วัน ซึ่งคดีตากใบแยกเป็น 2 ส่วน คือ อัยการสั่งฟ้อง 7 คน และศาลรับฟ้อง 7 คน โดย 2 ส่วนมีรายชื่อซ้ำกัน 1 คน หน้าที่ของรัฐและตำรวจ เมื่อออกหมายจับต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีในชั้นศาล และเกิดไม่บ่อยที่ประชาชนจะใช้สิทธิฟ้องศาลด้วยตนเอง

 

พ.ต.อ. ทวี กล่าวว่า คดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ คดีด้านความมั่นคง และคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง นับตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน มีคดีด้านความมั่นคงที่ออกหมายจับ 7,878 คดี และจับกุมผู้ต้องหาได้กว่า 4,000 คดี ส่วนที่เหลือจับไม่ได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือการหลบหนี 1,678 คดี รัฐบาลจึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพการจับกุมให้มากกว่านี้

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า การประสานกับตำรวจสากลต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจเท่านั้นใช่หรือไม่ พ.ต.อ. ทวี กล่าวว่า มีช่องทาง พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา และการประสานตำรวจสากล ก็คล้ายกับกรณีที่จับกุม เชาวลิต ทองด้วง หรือ แป้ง นาโหนด

 

ทั้งนี้หมายแดง หรือ Red Notice เป็นการแจ้งเพื่อให้ประเทศในกลุ่มสมาชิกจับกุมบุคคลที่มีหมายจับหรือผู้ร้ายข้ามแดน

The post ทวีเผย ต้องประสานอินเตอร์โพลในการออกหมายแดงจับกุมพิศาล จำเลยคดีตากใบ appeared first on THE STANDARD.

]]>