พายุ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 01 Dec 2024 05:04:16 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เลขาฯ สทนช. เผย ภาคใต้ยังมีพายุอีก 1 ลูก ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสาร​ อย่าเพิ่งกลับบ้าน ให้​รักษาชีวิตก่อน​ 2 สัปดาห์​สถานการณ์​ดีขึ้น https://thestandard.co/southern-thailand-storm-safety-advisory/ Sun, 01 Dec 2024 05:04:16 +0000 https://thestandard.co/?p=1014761 ภาคใต้ น้ำท่วม

วันนี้ (1 ธันวาคม) สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานท […]

The post เลขาฯ สทนช. เผย ภาคใต้ยังมีพายุอีก 1 ลูก ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสาร​ อย่าเพิ่งกลับบ้าน ให้​รักษาชีวิตก่อน​ 2 สัปดาห์​สถานการณ์​ดีขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาคใต้ น้ำท่วม

วันนี้ (1 ธันวาคม) สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวถึงสถานการณ์ อุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ว่า ประชาชนในพื้นที่ต้องเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์อุทกภัยระลอกที่ 2 ในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ เนื่องจากจะมีพายุเข้าไทยอีก 1 ลูกประกอบกับลานีญา ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้สั่งการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะพื้นที่ใต้เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ต้องมีการระบายน้ำออกบ้าง แต่ไม่ให้สูงเกินพื้นที่ท้ายเขื่อนเกินกว่า 2 เมตร​ แต่หากไม่ระบายเลยก็ไม่ได้ 

 

ในวันที่ 6 ธันวาคมนี้ ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์ เนื่องจากเป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)

 

สุรสีห์ยังระบุอีกว่า​ เวลานี้ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการออกจากพื้นที่และยังไม่ต้องรีบกลับเข้ามา พร้อมขออย่าห่วงที่อยู่อาศัยและทรัพย์สิน​ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดูแลเป็นอย่างดี โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตไว้ก่อน เจ้าหน้าที่มีการจัดเตรียมสถานที่พักพิงไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งประชาชนต้องเข้าใจและเปิดรับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอด เพราะเดือนนี้ยังมีโอกาสที่น้ำจะท่วมอยู่อีก แต่คาดว่าในอีก 2 สัปดาห์สถานการณ์จะเบาลง​ และเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เจ้าหน้าที่จะมีการแจ้งให้ประชาชนกลับเข้าสู่บ้านเรือนอีกครั้ง

 

“ยอมรับว่าฝนตกหนักและเยอะจริงๆ เยอะกว่าปีที่แล้วที่ถล่มนราธิวาส​ และฝนในปีนี้ไม่ใช่กระทบเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่กระทบไล่ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไป คณะกรรมการลุ่มน้ำจึงต้องบูรณาการร่วมกัน” สุรสีห์​กล่าว

The post เลขาฯ สทนช. เผย ภาคใต้ยังมีพายุอีก 1 ลูก ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสาร​ อย่าเพิ่งกลับบ้าน ให้​รักษาชีวิตก่อน​ 2 สัปดาห์​สถานการณ์​ดีขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฟลอริดาเสียหายหนัก หลังเฮอริเคนมิลตันพัดถล่ม เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 17 คน https://thestandard.co/florida-was-badly-damaged/ Sat, 12 Oct 2024 08:19:27 +0000 https://thestandard.co/?p=995279

รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาได้รับความเสียหายอย่างหนัก หลั […]

The post ฟลอริดาเสียหายหนัก หลังเฮอริเคนมิลตันพัดถล่ม เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 17 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>

รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาได้รับความเสียหายอย่างหนัก หลังเฮอริเคนมิลตันพัดถล่มเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 17 คน มากกว่า 2 ล้านหลังคาเรือนไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ขณะที่หลายพื้นที่เกิดเหตุดินถล่ม ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พลเมืองในฟลอริดาบางส่วนต้องอพยพออกจากพื้นที่ประสบภัย 

 

ทำเนียบขาวระบุว่า โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมเดินทางเยือนฟลอริดาในวันอาทิตย์นี้ (13 ตุลาคม) เพื่อสำรวจความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเฮอริเคนมิลตัน พร้อมกล่าวชื่นชมพลเมืองอเมริกันจำนวนมากที่ช่วยเหลือกันในยามที่ประสบปัญหา

 

ภาพ: Octavio Jones / Reuters

 

ภาพ: Greg Lovett / The Palm Beach Post / USA Today Network via Reuters

 

ภาพ: Ricardo Arduengo / Reuters

 

ภาพ: Octavio Jones / Reuters

 

ภาพ: Maria Alejandra Cardona / Reuters

 

ภาพ: Marco Bello / Reuters

 

อ้างอิง:

The post ฟลอริดาเสียหายหนัก หลังเฮอริเคนมิลตันพัดถล่ม เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 17 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เฮอริเคนมิลตันพัดถล่มฟลอริดา เสียหายวงกว้าง มีผู้เสียชีวิต 16 คน https://thestandard.co/hurricane-milton-florida-damage/ Fri, 11 Oct 2024 05:51:06 +0000 https://thestandard.co/?p=994749

อิทธิพลเฮอริเคนมิลตันที่พัดถล่มชายฝั่งรัฐฟลอริดาในช่วง […]

The post เฮอริเคนมิลตันพัดถล่มฟลอริดา เสียหายวงกว้าง มีผู้เสียชีวิต 16 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>

อิทธิพลเฮอริเคนมิลตันที่พัดถล่มชายฝั่งรัฐฟลอริดาในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ก่อให้เกิดลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก และน้ำท่วม และเกิดทอร์นาโดหลายลูก ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยบ้านเรือนจำนวนมากได้รับความเสียหาย รวมถึงสนามแข่งขันเบสบอลเมเจอร์ ที่ถูกลมพายุพัดหลังคาจนฉีกขาด ต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น และมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 16 คน

 

ล่าสุดพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นเฮอริเคนระดับ 1 แล้ว และกำลังเคลื่อนตัวออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก

 

ขณะที่ยังมีประชาชนเกือบ 3 ล้านคนได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าดับ โดยทางการได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กู้ภัยและหน่วยค้นหากว่า 1,600 คน เร่งค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้แล้วเกือบ 1,000 คน

 

ทั้งนี้นักวิเคราะห์ประเมินผลกระทบความเสียหายจากเฮอริเคนมิลตัน ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทประกันภัยต้องสูญเสียเงินมากถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกายืนยันว่าจะสนับสนุนการช่วยเหลือ และขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจและประเมินความเสียหายทั้งหมด

 

 

ภาพ:  Jose Luis Gonzalez, Ricardo Arduengo, Marco Bello, Maria Alejandra Cardona / Reuters

อ้างอิง:

 

The post เฮอริเคนมิลตันพัดถล่มฟลอริดา เสียหายวงกว้าง มีผู้เสียชีวิต 16 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศปช. ยืนยัน ข่าวลือพายุขนาดใหญ่ถล่มไทยเหมือนปี 54 ไม่เป็นความจริง เผยสัปดาห์หน้าไทยหลายพื้นที่จะเข้าสู่ปลายฝนต้นหนาว https://thestandard.co/thailand-weather-update-storm-rumors-debunked/ Fri, 27 Sep 2024 02:56:02 +0000 https://thestandard.co/?p=988687 ข่าวลือพายุ

วันนี้ (27 กันยายน) จิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกร […]

The post ศปช. ยืนยัน ข่าวลือพายุขนาดใหญ่ถล่มไทยเหมือนปี 54 ไม่เป็นความจริง เผยสัปดาห์หน้าไทยหลายพื้นที่จะเข้าสู่ปลายฝนต้นหนาว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ข่าวลือพายุ

วันนี้ (27 กันยายน) จิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) กล่าวว่า ตามที่มีข่าวลือผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่า “อีก 5 วันจะเกิดไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ที่รุนแรงกว่ายางิ และจะเคลื่อนตัวเข้าเวียดนาม ผ่านลาว เข้าไทย และจะส่งผลให้กรุงเทพฯ เจอน้ำท่วมหนักกว่าปี 54 ถึงสองเท่า” นั้น 

 

ศปช. ตรวจสอบข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาและส่วนราชการอื่นๆ ใน ศปช. แล้ว ยืนยันว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีพายุขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย มีเพียงพายุโซนร้อนชื่อ ‘ซีมารอน’ (Cimaron) ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งคาดว่าจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นและอ่อนกำลังลง ไม่มาถึงประเทศไทยอย่างแน่นอน

 

จิรายุระบุอีกว่า ฝนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วงนี้ เกิดจากมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุม โดยจะมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะแรกๆ จากนั้นจะลดลง และเข้าสู่ปลายฝนต้นหนาวในประเทศไทย

 

ส่วนกรณีการแก้ไขปัญหาและเยียวยาพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยนั้น จิรายุกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยให้รวดเร็ว ลดขั้นตอน โดยได้รับรายงานจากกระทรวงมหาดไทยว่า จะสามารถจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดเชียงราย และจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยลำดับต้นๆ ได้ในช่วงสัปดาห์นี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนก่อน ซึ่งหากมีความเสียหายอื่นๆ ก็จะเร่งรัดจ่ายเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ เช่น กรณีบ้านพังเสียหายทั้งหลัง จะได้รับเงินช่วยเหลือ 230,000 บาทต่อหลัง และในกรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือ 50,000 บาท

 

“ที่ประชุม ศปช. ได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจ่ายเงินเยียวยา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ภายใต้ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความช่วยเหลือที่รวดเร็วเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุด” จิรายุกล่าว

The post ศปช. ยืนยัน ข่าวลือพายุขนาดใหญ่ถล่มไทยเหมือนปี 54 ไม่เป็นความจริง เผยสัปดาห์หน้าไทยหลายพื้นที่จะเข้าสู่ปลายฝนต้นหนาว appeared first on THE STANDARD.

]]>
พายุโซนร้อนซูลิกที่อ่อนกำลังเป็นดีเปรสชันเคลื่อนเข้าสู่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม มุ่งหน้าต่อ จ.สกลนคร https://thestandard.co/the-tropical-storm-is-moving-int-nakhon-phanom/ Fri, 20 Sep 2024 08:04:35 +0000 https://thestandard.co/?p=985919

วันนี้ (20 กันยายน) วันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัด […]

The post พายุโซนร้อนซูลิกที่อ่อนกำลังเป็นดีเปรสชันเคลื่อนเข้าสู่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม มุ่งหน้าต่อ จ.สกลนคร appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (20 กันยายน) วันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยานครพนมว่า พายุโซนร้อนซูลิกที่ได้อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่จังหวัดนครพนมแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอโพนสวรรค์ กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่จังหวัดสกลนครต่อไป และมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

 

วันชัยกล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดนครพนมยังคงมีฝนตกต่อเนื่องเป็นบริเวณกว้างครอบคลุมเกือบทั้งจังหวัด จึงขอให้พี่น้องประชาชนเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไปจนถึงวันที่ 23 กันยายน

 

หากพื้นที่ใดได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าว ให้รายงานสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครพนมทราบโดยเร็ว ทางสายด่วน 1784 หรือโทร. 0 4251 1025 และรายงานสถานการณ์การให้ความช่วยเหลือทุกระยะ

 

อ้างอิง:

  • เฟซบุ๊กสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม

The post พายุโซนร้อนซูลิกที่อ่อนกำลังเป็นดีเปรสชันเคลื่อนเข้าสู่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม มุ่งหน้าต่อ จ.สกลนคร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปภ. เตือน 70 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ช่วงวันที่ 19-25 กันยายนนี้ https://thestandard.co/warning-for-70-provinces-beware-of-flash-floods/ Fri, 20 Sep 2024 07:31:42 +0000 https://thestandard.co/?p=985875

วันนี้ (20 กันยายน) ไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องก […]

The post ปภ. เตือน 70 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ช่วงวันที่ 19-25 กันยายนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (20 กันยายน) ไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยามีประกาศฉบับที่ 12 (204/2567) ลงวันที่ 17 กันยายน เวลา 04.00 น. แจ้งว่า พายุโซนร้อน ‘ซูลิก’ บริเวณ สปป.ลาว ได้อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดนครพนมประมาณ 100 กิโลเมตร ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย 

 

ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ประกอบกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีประกาศฉบับที่ 16/2567 ลงวันที่ 17 กันยายน 2567 แจ้งว่า ได้วิเคราะห์สถานการณ์และคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ โดยมีพื้นที่แจ้งเตือนสถานการณ์ระหว่างวันที่ 19-25 กันยายน ดังนี้ 

 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม 

 

ภาคเหนือ 17 จังหวัด

 

จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ทุกอำเภอ), เชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย, ฝาง, เชียงดาว, จอมทอง และฮอด), เชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย, แม่สาย, เชียงของ, เชียงแสน, แม่จัน, แม่ฟ้าหลวง, เทิง, พญาเม็งราย, เวียงแก่น, ขุนตาล, เวียงชัย และแม่ลาว), ลำพูน (อำเภอเมืองลำพูนและลี้), ลำปาง (อำเภอวังเหนือและงาว), พะเยา (อำเภอเมืองพะเยา, แม่ใจ, ภูซาง, ปง, เชียงคำ, จุน, ภูกามยาว และเชียงม่วน), แพร่ (อำเภอเมืองแพร่, วังชิ้น, สูงเม่น, เด่นชัย, สอง และลอง), น่าน (อำเภอเมืองน่าน, ทุ่งช้าง, เฉลิมพระเกียรติ, ปัว, บ่อเกลือ, ท่าวังผา, เชียงกลาง, สองแคว, แม่จริม, ภูเพียง และเวียงสา), อุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์, ลับแล, พิชัย, ทองแสนขัน, ท่าปลา และน้ำปาด)

 

จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก, ท่าสองยาง, แม่ระมาด, แม่สอด, พบพระ และอุ้มผาง), สุโขทัย (อำเภอเมืองสุโขทัย, ศรีสัชนาลัย, ศรีสำโรง และกงไกรลาศ), กำแพงเพชร (อำเภอปางศิลาทอง, คลองลาน, โกสัมพีนคร และพรานกระต่าย), พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ, นครไทย, วัดโบสถ์, วังทอง และเนินมะปราง), พิจิตร (อำเภอโพธิ์ประทับช้าง), เพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์, หนองไผ่, หล่มเก่า และหล่มสัก), นครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์และแม่เปิน) และอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่)

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด

 

จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว, เชียงคาน, ด่านซ้าย และปากชม), หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย, สังคม, ศรีเชียงใหม่, ท่าบ่อ, โพนพิสัย และโพธิ์ตาก), บึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ, ปากคาด, บุ่งคล้า, โซ่พิสัย, เซกา และบึงโขงหลง), หนองบัวลำภู (อำเภอสุวรรณคูหา), อุดรธานี (อำเภอเพ็ญ, บ้านดุง, หนองหาน, นายูง และน้ำโสม), สกลนคร (อำเภอเมืองสกลนคร, อากาศอำนวย, คำตากล้า, พรรณานิคม, ภูพาน และสว่างแดนดิน), นครพนม (อำเภอเมืองนครพนม, บ้านแพง, ท่าอุเทน, นาหว้า, โพนสวรรค์, ปลาปาก, ธาตุพนม และศรีสงคราม)

 

จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเมืองชัยภูมิ, บ้านเขว้า, จัตุรัส, คอนสวรรค์, คอนสาร และหนองบัวแดง), ขอนแก่น (อำเภอเมืองขอนแก่น, ภูผาม่าน, ชุมแพ และบ้านไผ่), มหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคามและโกสุมพิสัย), กาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์, กมลาไสย, ยางตลาด และร่องคำ), มุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร, นิคมคำสร้อย, หว้านใหญ่ และดอนตาล), ร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด, เสลภูมิ, ทุ่งเขาหลวง และเกษตรวิสัย), ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร, ป่าติ้ว และคำเขื่อนแก้ว), อำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ, หัวตะพาน และชานุมาน)

 

จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา, เมืองยาง, ลำทะเมนชัย, พิมาย, ปากช่อง และวังน้ำเขียว), บุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์), สุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์, ชุมพลบุรี, ท่าตูม, รัตนบุรี, จอมพระ, สนม, โนนนารายณ์, ศีขรภูมิ และปราสาท), ศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ, ราษีไศล และยางชุมน้อย) และอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี, ตาลสุม, วารินชำราบ, น้ำยืน, พิบูลมังสาหาร และน้ำขุ่น)

 

ภาคกลาง 22 จังหวัด 

 

จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรีและทองผาภูมิ), ราชบุรี (อำเภอปากท่อและสวนผึ้ง), สุพรรณบุรี (อำเภอเมืองสุพรรณบุรีและด่านช้าง), ชัยนาท (อำเภอหันคา), สิงห์บุรี (อำเภออินทร์บุรีและพรหมบุรี), อ่างทอง (อำเภอป่าโมกและวิเศษชัยชาญ), พระนครศรีอยุธยา (อำเภอบางบาล, บางปะหัน, เสนา, ผักไห่, พระนครศรีอยุธยา, บางปะอิน และบางไทร), ลพบุรี (อำเภอชัยบาดาล, สระโบสถ์ และลำสนธิ), สระบุรี (อำเภอแก่งคอย), นครนายก (อำเภอเมืองนครนายก, ปากพลี และบ้านนา), ปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี, ประจันตคาม, กบินทร์บุรี และนาดี), สระแก้ว (อำเภอเมืองสระแก้วและอรัญประเทศ) 

 

จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขตและท่าตะเกียบ), ชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี, ศรีราชา และบางละมุง), ระยอง (อำเภอเมืองระยอง, ปลวกแดง, นิคมพัฒนา, แกลง และบ้านค่าย), จันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี, ท่าใหม่, เขาคิชฌกูฏ, สอยดาว, โป่งน้ำร้อน, มะขาม และขลุง), ตราด (ทุกอำเภอ), ประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอบางสะพาน, บางสะพานน้อย และปราณบุรี), ปทุมธานี (อำเภอธัญบุรีและคลองหลวง), นนทบุรี (อำเภอเมืองนนทบุรีและปากเกร็ด), นครปฐม (อำเภอเมืองนครปฐมและบางเลน) และจังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ, บางพลี และบางเสาธง) รวมถึงกรุงเทพมหานคร

 

ภาคใต้ 11 จังหวัด

 

จังหวัดชุมพร (อำเภอท่าแซะ, พะโต๊ะ และสวี), สุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี, คีรีรัฐนิคม, พุนพิน, พระแสง, เวียงสระ, พนม และบ้านตาขุน), นครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช, เชียรใหญ่, ถ้ำพรรณรา, ทุ่งใหญ่, พิปูน, ช้างกลาง และลานสกา), พัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง, ปากพะยูน, กงหรา, ศรีนครินทร์ และควนขนุน), สงขลา (อำเภอรัตภูมิ, หาดใหญ่, สะบ้าย้อย และนาหม่อม), ระนอง (ทุกอำเภอ), พังงา (อำเภอเมืองพังงา, คุระบุรี, ตะกั่วป่า, กะปง และท้ายเหมือง)

 

จังหวัดภูเก็ต (ทุกอำเภอ), กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่, เขาพนม, เหนือคลอง, อ่าวลึก, คลองท่อม, ปลายพระยา และเกาะลันตา), ตรัง (อำเภอเมืองตรัง, ปะเหลียน, นาโยง, กันตัง, สิเกา, ย่านตาขาว, ห้วยยอด, รัษฎา และวังวิเศษ) และสตูล (อำเภอเมืองสตูล, ควนโดน, ควนกาหลง, ทุ่งหว้า และมะนัง)

 

พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณจังหวัดเชียงใหม่, ลำปาง, พะเยา, แพร่, น่าน, สุโขทัย, ตาก, อุทัยธานี, เพชรบูรณ์, เลย, หนองคาย, บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, สกลนคร, นครพนม, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, ร้อยเอ็ด 

 

จังหวัดยโสธร, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, นครนายก, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, ตราด, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, ภูเก็ต และตรัง รวมทั้งอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกักที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ

 

พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่ง และท่วมขัง ในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย (อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย), แม่น้ำกก (อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่, อำเภอเมืองเชียงรายและเชียงแสน จังหวัดเชียงราย), แม่น้ำอิง (อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา), แม่น้ำยม (อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก), แม่น้ำป่าสัก (อำเภอหล่มสักและหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์), แม่น้ำเลย (อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย), ห้วยหลวง (จังหวัดอุดรธานี), แม่น้ำสงคราม (จังหวัดอุดรธานี, สกลนคร, บึงกาฬ และนครพนม), แม่น้ำจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรีและมะขาม จังหวัดจันทบุรี) และแม่น้ำตราด (อำเภอเมืองตราด, เขาสมิง และบ่อไร่ จังหวัดตราด)

 

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง

 

ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี, ศรีราชา, เกาะสีชัง, บางละมุง และสัตหีบ), ระยอง (อำเภอเมืองระยอง, บ้านฉาง และแกลง), จันทบุรี (อำเภอนายายอาม, ท่าใหม่, แหลมสิงห์ และขลุง) และจังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด, แหลมงอบ, คลองใหญ่, เกาะช้าง และเกาะกูด) 

 

ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง, สุขสำราญ และกะเปอร์), พังงา (อำเภอเกาะยาว, ตะกั่วทุ่ง, ท้ายเหมือง, ตะกั่วป่า และคุระบุรี), ภูเก็ต (ทุกอำเภอ), กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่, คลองท่อม, เกาะลันตา, เหนือคลอง และอ่าวลึก), ตรัง (อำเภอกันตัง, สิเกา, ปะเหลียน และหาดสำราญ) และจังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล, ละงู, ท่าแพ และทุ่งหว้า)

 

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้ง 70 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้ 

 

ทั้งนี้ ได้กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน พื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตกและถ้ำลอด 

 

หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีคลื่นลมแรงให้แจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเลและนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำโดยเด็ดขาด รวมถึงให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ และตำรวจน้ำ แจ้งเตือนการเดินเรือ โดยให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ และผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวัง หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ให้พิจารณาห้ามเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด 

 

นอกจากนี้ขอให้เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ให้พร้อมเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดสถานการณ์ขึ้น และขอให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการอย่างเคร่งครัด

The post ปภ. เตือน 70 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ช่วงวันที่ 19-25 กันยายนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดเส้นทางดีเปรสชัน กระทบจังหวัดไหน วันใดบ้าง https://thestandard.co/depression-storm-path-forecast/ Thu, 19 Sep 2024 02:36:19 +0000 https://thestandard.co/?p=985139

วันนี้ (19 กันยายน) กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยเส้นทางดีเป […]

The post เปิดเส้นทางดีเปรสชัน กระทบจังหวัดไหน วันใดบ้าง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 กันยายน) กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยเส้นทางดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง (ทางตะวันออกของประเทศเวียดนาม) ช่วงเวลา 04.00 น. ของวันนี้ว่า พายุยังไม่ยกระดับเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนตัวช้าลงเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กม./ชม. มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในวันนี้ (พัฒนาช้ากว่าที่คาด) และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงเช้าตรู่วันที่ 20 กันยายน 2567

 

หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ และเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ตามลำดับ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเริ่มทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนกลาง จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ในวัน 19-20 กันยายน

 

ส่วนภาคเหนือด้านตะวันออกและตอนล่าง จังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก ในลำดับวันถัดไป ระหว่างวันที่ 20-21 กันยายน

 

ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) มีกำลังแรงพัดเข้าหาดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด และภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล มีฝนตกหนักมากบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังแรง ในช่วงระหว่างวันที่ 20-23 กันยายน 2567 ยังต้องติดตามและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

The post เปิดเส้นทางดีเปรสชัน กระทบจังหวัดไหน วันใดบ้าง appeared first on THE STANDARD.

]]>
พายุบอริสพัดกระหน่ำยุโรปตอนกลาง ทำฝนตกหนักสุดในรอบหลายสิบปี เสียชีวิตแล้ว 17 คน https://thestandard.co/storm-boris-floods-europe/ Tue, 17 Sep 2024 07:43:51 +0000 https://thestandard.co/?p=984520

พายุบอริสพัดถล่มยุโรปตอนกลาง ส่งผลให้มีฝนตกหนักมากที่สุ […]

The post พายุบอริสพัดกระหน่ำยุโรปตอนกลาง ทำฝนตกหนักสุดในรอบหลายสิบปี เสียชีวิตแล้ว 17 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>

พายุบอริสพัดถล่มยุโรปตอนกลาง ส่งผลให้มีฝนตกหนักมากที่สุดในรอบหลายสิบปี ล่าสุดมีรายงานยอดผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 17 คนในประเทศต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งออสเตรีย, โปแลนด์, สาธารณรัฐเช็ก และฮังการี โดยฝนที่ตกหนักเกินกว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนส่งผลให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงหลายพื้นที่

 

รัฐบาลโปแลนด์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศหลังฝนตกหนักเป็นเวลาหลายวัน โดยนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสก์ ประกาศให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉินมูลค่า 1 พันล้านซวอตี หรือประมาณ 8.6 พันล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนัก

 

ส่วนที่สาธารณรัฐเช็ก ประชาชนจำนวนมากไม่มีน้ำร้อนและไฟฟ้าใช้ เนื่องจากโรงงานผลิตความร้อน Veolia ในเมืองออสตราวา ใกล้ชายแดนโปแลนด์ ต้องปิดทั้งหมด ทำให้ประชากร 2.8 แสนคนเดือดร้อนอย่างมาก ส่วนในเมืองลิโตฟ์ล นายกเทศมนตรีวิกเตอร์ โคฮัต ระบุว่า 80% ของอาคารในเมืองถูกน้ำท่วม

 

ในเมืองไนซาของโปแลนด์ ผู้ประสบภัยต้องดิ้นรนป้องกันบ้านของตนเองจากน้ำที่กำลังท่วมอีกครั้ง ขณะที่ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลท้องถิ่นรวมถึงหญิงตั้งครรภ์ได้รับคำสั่งให้อพยพไปแล้วเมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากโรงพยาบาลไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ด้านรัฐบาลโปแลนด์เตรียมขอความช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉินจากสหภาพยุโรป โดยโฆษกของหน่วยจัดการวิกฤตของสหภาพยุโรประบุว่า สหภาพจะเร่งให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วหากมีการร้องขอ

 

ในเวลานี้สถานการณ์น้ำท่วมยังคงตึงเครียดและวิกฤตอย่างมาก โดย โยฮันนา มิกล์-ไลต์เนอร์ ผู้ว่าการรัฐโลเวอร์ออสเตรีย ระบุว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต ส่วนที่ฮังการี นายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน พยายามสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในกรุงบูดาเปสต์ โดยกล่าวว่า นักจัดการน้ำมั่นใจว่าระดับน้ำจะไม่เกินระดับสูงสุดที่เคยเกิดขึ้น พร้อมยืนยันว่าทุกทรัพยากรที่จำเป็นถูกนำมาใช้ในการจัดการกับน้ำท่วม

 

ทั้งนี้ ยุโรปเป็นทวีปที่ร้อนเร็วที่สุดในโลก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ก่อให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วบ่อยขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ชั้นบรรยากาศสามารถเก็บความชื้นได้มากขึ้น จึงทำให้ฝนตกหนักขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูที่มีฝนตก และมหาสมุทรก็ร้อนขึ้น จึงก่อให้เกิดพายุที่รุนแรงยิ่งขึ้น

 

 

 

ภาพ: Reuters 

อ้างอิง:

The post พายุบอริสพัดกระหน่ำยุโรปตอนกลาง ทำฝนตกหนักสุดในรอบหลายสิบปี เสียชีวิตแล้ว 17 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือน พายุ ‘ยางิ’ ทวีกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่น เคลื่อนผ่านจีน ขึ้นเวียดนาม ‘ภาคเหนือ-อีสาน’ เตรียมรับมือฝนตกหนัก https://thestandard.co/meteorological-department-has-issued-a-warning-about-a-storm/ Wed, 04 Sep 2024 00:38:42 +0000 https://thestandard.co/?p=979189

วันนี้ (4 กันยายน) เวลา 04.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาออกประ […]

The post กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือน พายุ ‘ยางิ’ ทวีกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่น เคลื่อนผ่านจีน ขึ้นเวียดนาม ‘ภาคเหนือ-อีสาน’ เตรียมรับมือฝนตกหนัก appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (4 กันยายน) เวลา 04.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุยางิ ฉบับที่ 3 (162/2567) ระบุว่า พายุโซนร้อนกำลังแรง ‘ยางิ’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 117.7 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยอย่างช้าๆ โดยมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นต่อไป

 

ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงวันที่ 6-7 กันยายน จะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 7-8 กันยายน

 

นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 3-6 กันยายน ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก

 

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 กันยายนนี้ไว้ด้วย

The post กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือน พายุ ‘ยางิ’ ทวีกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่น เคลื่อนผ่านจีน ขึ้นเวียดนาม ‘ภาคเหนือ-อีสาน’ เตรียมรับมือฝนตกหนัก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เร่งเคลื่อนย้ายต้นไม้ล้มทับ ขวางการสัญจรชาว กทม. หลังลมพายุพัดแรง https://thestandard.co/bangkok-fallen-trees-13052567/ Mon, 13 May 2024 11:31:39 +0000 https://thestandard.co/?p=932909 ต้นไม้ล้มทับ กีดขวางการจราจร กรุงเทพมหานคร

(13 พฤษภาคม) ช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจจุดเกิด […]

The post เร่งเคลื่อนย้ายต้นไม้ล้มทับ ขวางการสัญจรชาว กทม. หลังลมพายุพัดแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ต้นไม้ล้มทับ กีดขวางการจราจร กรุงเทพมหานคร

(13 พฤษภาคม) ช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจจุดเกิดเหตุบริเวณถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนวิทยุ และย่านสยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา มีลมพายุพัดแรงทำให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ที่สัญจรภายนอกอาคารต้องใช้ความระมัดระวัง 

 

ขณะเดียวกันมีต้นไม้หักโค่นล้มทับรถยนต์ รถสามล้อ ได้รับความเสียหายในจุดอื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร เช่น ซอยพหลโยธิน 18 

 

โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ได้เร่งดำเนินการเคลื่อนย้ายต้นไม้และป้ายทั้งหมดที่หักโค่น เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เส้นทางโดยเร็วที่สุดแล้ว

 

ประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ฝนตกหนักและลมพายุว่า สสล. ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดผลกระทบจากพายุหรือลม โดยแจ้งเตือนสถานการณ์อิทธิพลพายุในช่วงต่างๆ ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบออกตรวจตราพื้นที่ ตรวจสอบความสมบูรณ์แข็งแรงของต้นไม้บนถนน ทางเท้า และที่สาธารณะ หากพบความเสี่ยงต่อการหักโค่นหรือพายุลมกระโชกแรงให้ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งผุ ตรวจสอบลำต้น หาร่องรอยการเข้าทำลายของแมลง และตัดแต่งต้นไม้ตามหลักวิชาการและงานรุกขกรรม

 

ขณะเดียวกันให้เร่งสำรวจประเมินความเสี่ยงของต้นไม้เพิ่มเติมกรณีอาจมีพายุลมแรง โดยตัดแต่งกิ่งต้นที่ทรงพุ่มหนาทึบต้านลม เพื่อแก้ไขทรงพุ่มต้นไม้ใหญ่โดยตัดแต่งสางโปร่งให้ลมพัดผ่านได้ ลดการฉีกหัก โค่นล้ม รวมทั้งจัดเตรียมหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (หน่วย BEST) พร้อมแก้ไขเหตุต้นไม้หักโค่นกีดขวางถนนสายสำคัญในความรับผิดชอบ

 

พร้อมกันนี้ให้แจ้งให้สำนักงานเขต 50 เขต จัดหน่วยเร่งด่วนและเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุต้นไม้หักโค่น 24 ชั่วโมง พร้อมเครื่องมือและยานพาหนะออกปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ต้นไม้หักโค่นกีดขวางถนนหรือหักโค่นทับบ้านเรือนประชาชนทันทีที่เกิดเหตุ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนได้เร็วที่สุด ตลอดจนซักซ้อมแผนการช่วยเหลือฉุกเฉินและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันปฏิบัติการ เช่น สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หากเกิดเหตุต้นไม้หักโค่นจากพายุลมแรงกีดขวางถนน ที่สาธารณะ หรือในย่านชุมชน 

 

ทั้งนี้ หากประชาชนพบต้นไม้อยู่ในสภาพเสี่ยงที่จะหัก โค่นล้ม สามารถแจ้งข้อมูลและพิกัดต้นไม้ได้ในระบบ Traffy Fondue ทาง https://citydata.traffy.in.th/ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตัดแต่งต้นไม้ กิ่งไม้ รวมถึงเก็บกวาดกิ่งไม้หรือต้นไม้ที่หักโค่นกีดขวางในที่สาธารณะ และหากมีความประสงค์ขอรับบริการตัดแต่งต้นไม้ในบ้าน สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตพื้นที่ที่บ้านเรือนตั้งอยู่ โดยมีอัตราค่าบริการตามระเบียบที่ กทม. กำหนด

 

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post เร่งเคลื่อนย้ายต้นไม้ล้มทับ ขวางการสัญจรชาว กทม. หลังลมพายุพัดแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>