พันธบัตรรัฐบาล – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 23 Aug 2024 10:02:53 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ทุนต่างชาติไหลเข้าพันธบัตรรัฐบาลอินเดีย หวังผลตอบแทน 7% ต่อปี ทางเลือกจากตลาดหุ้นที่กำลังร้อนแรง https://thestandard.co/foreign-capital-flows-into-indian-government-bonds/ Fri, 23 Aug 2024 10:02:53 +0000 https://thestandard.co/?p=974552

อินเดีย หนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย […]

The post ทุนต่างชาติไหลเข้าพันธบัตรรัฐบาลอินเดีย หวังผลตอบแทน 7% ต่อปี ทางเลือกจากตลาดหุ้นที่กำลังร้อนแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>

อินเดีย หนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นที่จับตามองจากทั่วโลกว่ามีโอกาสขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ของโลก

 

จากบทความ Inside India ของ CNBC ระบุว่า นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา ดัชนี NIFTY 50 ของหุ้นอินเดียให้ผลตอบแทน 14.2% สวนทางกับตลาดหุ้นเกิดใหม่หลายแห่งทั่วโลก

 

กำไรของบริษัทจดทะเบียนในอินเดียในกลุ่ม NIFTY 50 ปรับตัวขึ้น 3% สำหรับไตรมาสแรกที่ผ่านมา และหุ้นกลุ่มอื่นนอกเหนือจากบริษัทกลุ่มธนาคารและพลังงานสามารถทำกำไรต่อหุ้นเติบโตกว่า 19%

 

อย่างไรก็ตาม บรรดาหุ้นทั้ง 50 ตัวในกลุ่ม NIFTY 50 มีเพียง 21 ตัวที่สามารถทำกำไรได้ดี ส่วนที่เหลือไม่ได้ทำผลงานโดดเด่นนัก

 

Amish Shah นักวิเคราะห์ของ Bank of America ชี้ว่า ในอนาคตการทำผลตอบแทนที่โดดเด่นของหุ้นกลุ่มรถยนต์, อุตสาหกรรม, การแพทย์ และ IT อาจไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมการชะลอตัวของกลุ่มการเงิน, โลหะ และพลังงาน

 

และยังมีปัจจัยกดดันจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำลง และทำให้ประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์สะดุดตัวลงในระยะสั้นได้

 

นอกจากนี้ตลาดหุ้นของอินเดียยังไม่ได้สะท้อนเศรษฐกิจอินเดียโดยตรง จากการที่บริษัทพลังงานมีสัดส่วนเพียง 2% ของเศรษฐกิจอินเดีย แต่กลับมีสัดส่วนถึง 18% ในดัชนีหุ้น NIFTY 50 เพราะฉะนั้นหากมีปัจจัยมากระทบตัวเลขการเงินของกลุ่มพลังงานก็อาจทำให้ดัชนีปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว

 

นักวิเคราะห์จาก Citi ยังมองว่า ณ ราคาของดัชนีหุ้นอินเดียในปัจจุบันสะท้อนภาพความคาดหวังของนักลงทุนที่จะเติบโต 13% ต่อปีไปต่อเนื่อง 3 ปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง

 

แม้การประเมินว่าการเติบโตในอนาคตของตลาดหุ้นอินเดียยังสูงอยู่ แต่ ณ ระดับราคาในปัจจุบันก็ทำให้มีโอกาสปรับตัวลดลงมากกว่าปรับตัวขึ้นไปเช่นกัน

 

Shumita Deveshwar หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อินเดียของ TS Lombard กล่าวว่า “ในขณะที่กระแสเงินทุนจากนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นมีความผันผวน แต่ตราสารหนี้อินเดียกำลังดึงดูดเงินทุนมากขึ้น เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลอินเดียถูกรวมเข้าในดัชนีตราสารหนี้โลก”

 

นอกเหนือจากการรวมพันธบัตรรัฐบาลอินเดียไว้ในดัชนีตลาดเกิดใหม่ของ JPMorgan ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนที่ใหญ่ที่สุดของกระแสเงินทุน ความพร้อมใช้งานที่หลากหลายของกองทุนพันธบัตรเฉพาะของอินเดียก็มีส่วนช่วยเช่นกัน

 

กองทุนพันธบัตรอินเดียของ Abrdn และ Invesco เสนอผลตอบแทนที่สูงกว่า 7% ETFs อย่าง iShares, L&G และ Xtrackers ช่วยรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลอินเดีย

 

Kenneth Akintewe หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้เอเชียของ Abrdn กล่าวว่า “ตราสารหนี้อินเดียเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีเรตติ้งไม่กี่แห่งที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 7% ผลตอบแทนนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอินเดียที่ 6.5% และอัตราเงินเฟ้อล่าสุดที่ 5.1%”

 

Maximilian Macmillan ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุน U.K. Asset Manager Abrdn กล่าวกับสำนักข่าว CNBC ว่า หุ้นของอินเดียมีการปรับตัวขึ้นมาเยอะจนทำให้ความคาดหวังค่อนข้างสูงแล้วเมื่อเทียบกับการเติบโต และมีความพึ่งพิงและสัมพันธ์กับดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง การกระจายไปลงทุนในตลาดพันธบัตรของอินเดียก็นับว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ

 

จากข้อมูลของ National Securities Depository Limited ชี้ว่า ตัวเลขเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าพันธบัตรอินเดียแซงหน้าตัวเลขเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นอินเดียไปแล้วในช่วงปี 2024 และมีเงินทุนไหลเข้าพันธบัตรอินเดียสุทธิเป็นบวกมาตั้งแต่ปี 2023

 

อ้างอิง:

The post ทุนต่างชาติไหลเข้าพันธบัตรรัฐบาลอินเดีย หวังผลตอบแทน 7% ต่อปี ทางเลือกจากตลาดหุ้นที่กำลังร้อนแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนสั่งธนาคารท้องถิ่นห้ามชำระราคาการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ลดความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่ดิ่งลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ https://thestandard.co/china-local-banks-to-stop-paying-for-government-bond/ Tue, 13 Aug 2024 08:12:26 +0000 https://thestandard.co/?p=970443

ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา (9 สิงหาคม) รัฐบาลจีนเข้าแทรกแซงต […]

The post จีนสั่งธนาคารท้องถิ่นห้ามชำระราคาการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ลดความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่ดิ่งลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา (9 สิงหาคม) รัฐบาลจีนเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตรรัฐบาลในประเทศ โดยออกคำสั่งไม่ให้ธนาคารท้องถิ่นในเจียงซีชำระราคาสำหรับการเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลจีน ซึ่งเป็นการแทรกแซงทางการเงินที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

การดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาลจีนเป็นไปเพื่อลดความร้อนแรงของราคาพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นสูง จนส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรลดลงอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.12% ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารเหล่านี้

 

ทั้งนี้ ภายหลังจากการดำเนินการแทรกแซงดังกล่าว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ก็ปรับตัวขึ้นแตะ 2.22% 

 

อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่อตลาดทุนของจีนเอง ทำให้นักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่น และทำให้นักลงทุนต่างชาติหลีกเลี่ยงการลงทุนในจีนได้ โดยผลเสียได้สะท้อนออกมาผ่านตัวเลขเงินทุนไหลออกของจีนที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในช่วงสัปดาห์ก่อน 

 

Mark Cranfield นักวิเคราะห์จาก Bloomberg ชี้ว่า การแทรกแซงเหล่านี้จะลดความโปร่งใสของการลงทุนในจีน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อนักลงทุน และทำให้นักลงทุนเลือกที่จะไปลงทุนในพันธบัตรประเทศอื่นแทน

 

สถานการณ์ในปัจจุบันก็นับว่าเป็นความท้าทายของประเทศจีนเองที่ต้องพยายามลดต้นทุนทางการเงินให้ต่ำเข้าไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังไม่ให้เกิดฟองสบู่ในตลาดพันธบัตรเช่นกัน

 

แต่ทั้งนี้ Pictet Asset Management มองว่า นักลงทุนควรมีพันธบัตรของประเทศจีนติดพอร์ตการลงทุนไว้ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สัมพันธ์กับตลาดอื่นๆ และการแทรกแซงของรัฐบาลจีนก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะนโยบายการซื้อขายพันธบัตรอยู่ภายใต้ธนาคารกลางจีน (PBOC) อยู่แล้ว

 

นอกจากนี้ Cary Yeung และ Sabrina Jacobs จาก Pictet Asset Management ยังมองว่า ณ สภาวะตลาดในปัจจุบันที่หาโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ที่ผันผวนต่ำได้ยาก การลงทุนในพันธบัตรจีนยังเป็นอะไรที่น่าสนใจ โดยเฉพาะช่วงที่ตลาดหุ้นจีนยังโดนกดดัน และเศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ  

 

อ้างอิง: 

The post จีนสั่งธนาคารท้องถิ่นห้ามชำระราคาการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ลดความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่ดิ่งลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตรียมตัวให้ทัน! กระทรวงการคลังขายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งหน้า 19-21 สิงหาคมนี้ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคาร https://thestandard.co/ministry-of-finance-sells-savings-bonds/ Tue, 13 Aug 2024 08:05:39 +0000 https://thestandard.co/?p=970437

กระทรวงการคลังขอขอบคุณประชาชนที่ให้การตอบรับพันธบัตรออม […]

The post เตรียมตัวให้ทัน! กระทรวงการคลังขายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งหน้า 19-21 สิงหาคมนี้ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคาร appeared first on THE STANDARD.

]]>

กระทรวงการคลังขอขอบคุณประชาชนที่ให้การตอบรับพันธบัตรออมทรัพย์ที่ขายบนวอลเล็ต สบม. แอปเป๋าตัง วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ที่ขายหมดอย่างรวดเร็ว หลังเปิดขายในวันนี้เป็นวันแรก เตือนรอบต่อไปเปิดขาย 19-21 สิงหาคม 2567 อีก 2.5 หมื่นล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย

 

วันนี้ (13 สิงหาคม) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอแจ้งว่า กระทรวงการคลังได้จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 บนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นการจัดสรรแบบ First Come, First Served (มาก่อนได้รับสิทธิก่อน) และจำกัดวงเงินซื้อไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท

 

กระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอขอบคุณประชาชนทุกท่านที่ให้ความสนใจลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์บนวอลเล็ต สบม. ในครั้งนี้ 

 

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์อีกครั้ง วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง ได้แก่

  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

 

โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้

 

  • การจำหน่ายให้แก่ประชาชน จะเริ่มจองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 19-21 สิงหาคม 2567 วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.40 ต่อปี และไม่จำกัดวงเงินจองซื้อ โดยประชาชนสามารถมาจองซื้อได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ของวันที่ 19 สิงหาคม 2567 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 21 สิงหาคม 2567 และ สบน. จะจัดสรรแบบ Small Lot First ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ซึ่งผู้จองซื้อทุกท่านจะได้รับจัดสรรพันธบัตรออมทรัพย์อย่างทั่วถึง โดยขอให้จองซื้อภายในช่วงเวลาดังกล่าว

 

  • การจำหน่ายให้แก่นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรที่กระทรวงการคลังกำหนด จะเริ่มซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 26-27 สิงหาคม 2567 วงเงิน 5 พันล้านบาท รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี และไม่จำกัดวงเงินซื้อ โดย สบน. จะจัดสรรแบบ First Come, First Served 

 

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 สามารถสอบถามเงื่อนไขและวิธีการจัดจำหน่ายได้ที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง หรือติดตามข่าวสารได้ที่ช่องทาง Facebook สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

The post เตรียมตัวให้ทัน! กระทรวงการคลังขายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งหน้า 19-21 สิงหาคมนี้ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคาร appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะถดถอย และตลาดกำลังจะเข้าสู่ตลาดหมีหรือไม่ https://thestandard.co/us-economy-recession-bear-market/ Tue, 13 Aug 2024 02:10:47 +0000 https://thestandard.co/?p=970300 เศรษฐกิจสหรัฐ

เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะถดถอย และตลาดกำลังจะเข้าสู่ตลาดหม […]

The post เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะถดถอย และตลาดกำลังจะเข้าสู่ตลาดหมีหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจสหรัฐ

เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะถดถอย และตลาดกำลังจะเข้าสู่ตลาดหมีหรือไม่

 

สองคำถามนี้สำคัญที่สุดสำหรับครึ่งหลังปี 2024

 

ไม่ใช่แค่เพราะขนาดของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ถ้า US Recession เกิดขึ้น แนวโน้มนโยบายการเงินและการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ในตลาดทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

สำหรับผม ก่อนที่จะไปถึงการลงทุน ต้องรู้ก่อนว่าสหรัฐฯ มีโอกาสแค่ไหนที่จะถดถอยทันทีในปี 2024

 

ตัวชี้วัดที่เหมาะสมอาจไม่ใช่ตัวเลขใดเพียงตัวเลขเดียว แต่ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญใน 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาคการเงิน การบริโภค และภาคเอกชน

 

เริ่มด้วยกลุ่มตัวแปรที่ส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยมากที่สุดคือภาคการเงิน สัญญาณเตือนมีตั้งแต่

 

  1. ส่วนต่างระหว่างยีลด์พันธบัตรรัฐบาล 10 ปีกับ 2 ปี ติดลบ (Inverted Yield Curve) มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 เคยลงไปติดลบสูงสุดกว่า 1.0% ช่วงไตรมาสแรกของปี 2023

 

  1. ปริมาณเงินในระบบ (Money Supply) หดตัว จากที่ขยายตัวสูงช่วงโควิด แนวโน้มล่าสุดมีการขยายตัวติดลบต่อเนื่องติดต่อกันมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2023

 

ล่าสุด 3. ส่วนต่างยีลด์หุ้นกู้กับพันธบัตรเร่งตัวขึ้น เห็นได้จาก ICE BofA BBB US Corporate Spread ปรับตัวสูงขึ้นแตะ 1.3% สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อ

 

มองจากตัวแปรด้านการเงินข้างต้น ทั้งหมดส่งสัญญาณเตือนว่าเศรษฐกิจถดถอยกำลังจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี สัญญาณเหล่านี้อาจเกิดขึ้นแค่เพราะ Fed กำหนดดอกเบี้ยนโยบายสูงผิดปกติ ส่งผลให้ความคาดหวังของตลาดต่อการลดดอกเบี้ยในอนาคตสูงผิดปกติไปด้วย

 

การบริโภค เป็นกลุ่มตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยนโยบายต่ำกว่า ประกอบด้วย

 

  1. คำขออนุญาตสร้างบ้านไม่ขึ้นไม่ลง (Housing Permits) ช่วงปีที่ผ่านมาแกว่งตัวในกรอบแคบ +/-4% ไม่ได้ส่งสัญญาณชะลอหรือเร่งตัว

 

  1. ยอดค้าปลีกเติบโตดี (Retail Sales) แม้ล่าสุดจะชะลอตัวลงบ้าง แต่โดยรวมขยายตัวจากปีก่อนไม่ต่ำกว่า 2%

 

มีเพียง 3. การว่างงาน หรือ Unemployment Rate ที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น มาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ล่าสุดการว่างงานแตะระดับ 4.3% เร่งตัวเร็วจนตลาดกังวล

 

ในมุมมองของผม แม้ตลาดแรงงานจะมีความสำคัญแต่ก็ไม่ใช่ทุกอย่าง สัญญาณจากกลุ่มการบริโภคโดยรวมถือว่าเป็นแค่ ‘กลางถึงลบ’ ในอดีตช่วงที่การบริโภคมีส่วนผสมรูปแบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน แต่เศรษฐกิจเกิด Recession มีเพียงช่วงเดียวคือปี 1973-1975 จากวิกฤตราคาน้ำมันจากสงคราม Yom Kippur

 

เมื่อสองกลุ่มตัวแปรหลักตัดสินยาก ก็ต้องประเมินกลุ่มตัวแปรด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย

 

  1. ยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่อ่อนแอ (ISM New Orders) แม้คำสั่งซื้อภาคบริการจะอยู่ในโซนขยายตัว แต่ยอดคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แล้ว

 

  1. แนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน มีทั้งราคาทองแดงปรับตัวลง 22% จากสูงสุดช่วงเดือนพฤษภาคม เพราะเศรษฐกิจชะลอ ราคาน้ำมันแกว่งตัวกรอบกว้างบนความกังวลปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ขณะที่ทองคำซื้อขายใกล้เคียงจุดสูงสุดตลอดกาล

 

แต่สุดท้าย 3. อัตราการทำกำไรของภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง ประเมินจาก Profit Margin ของบริษัทใน S&P 500 ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 11% ใกล้เคียงระดับสูงที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บสถิติในปี 2000

 

โดยสรุป กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีสัญญาณ ‘กลางถึงบวก’ ใกล้เคียงกับช่วงปี 2020 ที่เศรษฐกิจถดถอยเพราะมีวิกฤติโควิด

 

ดังนั้น ตอบคำถามว่ามีโอกาสแค่ไหนที่ US Recession จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ผมมองว่ามีโอกาสมากที่สุดเพียง 20-30% หรือจนกว่าจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้ Profit Margin ของบริษัทจดทะเบียน หรือยอดค้าปลีกลดลงอย่างมีนัย หรือ Fed ไม่ลดดอกเบี้ยเลยสักครั้ง

 

ด้านผลกระทบกับตลาด ผมมองเป็น 3 กรณี

 

Base Case คือ Fed ลดดอกเบี้ย 0.50-0.75% เศรษฐกิจไม่ถดถอย แต่ความกังวลยังคงอยู่

 

ในกรณีนี้การลดดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นก่อน ทำให้ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยลดลงทันที อย่างไรก็ดี การปรับนโยบายการเงินเพียงเล็กน้อย อาจไม่สามารถทำให้ตลาดแรงงานเร่งตัวกลับได้ ความกลัวไม่จางหายไปจากตลาด การลงทุนจะแค่ย้ายจาก Cyclical ไปเป็นกลุ่ม Quality Growth ที่เสี่ยงน้อยลง

 

Bull Case Fed ลดดอกเบี้ยเกิน 1.00% แก้ทั้งความกังวลและเศรษฐกิจ

 

ตามคำกล่าวว่า “ตลาดจะเลิกกังวล เมื่อธนาคารเริ่มกังวล”

 

ถ้าตัวเลขเศรษฐกิจข้างต้นชะลอตัวต่อเนื่อง จนทำให้ Fed เริ่มกังวลว่าจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต จะตามมาด้วยการลดดอกเบี้ยทันทีอย่างรวดเร็ว การลงทุนที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนมากที่สุดคือ High Beta และ Small Cap

 

สุดท้ายต้องระวัง Bear Case ถ้า Fed มัวแต่รอตัวเลขเศรษฐกิจหรือรอการเมืองชัดเจนก่อน จนไม่ทันได้ลดดอกเบี้ยในปีนี้

 

แม้จะเป็น Base Case เก่าของผม แต่ปัจจุบันกลายเป็นกรณีที่น่ากังวลที่สุด เพราะความมั่นใจของตลาดหายไปหมดแล้ว

 

กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นถ้าตัวเลขเศรษฐกิจฟื้นตัว จนตลาดกลัวว่า Fed จะไม่ลดดอกเบี้ยจึงขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงที่ทำผลงานได้ดีช่วงก่อนหน้า ธีมการลงทุนจะสลับขั้วไปเป็น Low Volatility และ Defensive ที่ Underperform ครึ่งแรกของปี

 

อย่าลืมว่า “ตลาดหมีเกิดขึ้นได้แค่เพราะตลาดกลัวเศรษฐกิจจะถดถอย” ครับ

 

ธีมการลงทุนตามสภาวะตลาดการเงิน ครึ่งหลังของปี 2024

 

 

อ้างอิง: 

  • Finansia Syrus Securities

The post เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะถดถอย และตลาดกำลังจะเข้าสู่ตลาดหมีหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คลังออก ‘บอนด์สกุลเงินต่างประเทศ’ ไม่ทันปีนี้ จับตาอัตราแลกเปลี่ยน-ทิศทางดอกเบี้ย Fed https://thestandard.co/foreign-currency-bonds-not-in-time-this-year/ Thu, 09 May 2024 12:52:45 +0000 https://thestandard.co/?p=931665

วันนี้ (9 พฤษภาคม) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบร […]

The post คลังออก ‘บอนด์สกุลเงินต่างประเทศ’ ไม่ทันปีนี้ จับตาอัตราแลกเปลี่ยน-ทิศทางดอกเบี้ย Fed appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (9 พฤษภาคม) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน. เตรียมเสนอหลักการออกพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Bond) ต่อกระทรวงการคลังแล้ว โดยวงเงินที่ศึกษาอยู่ที่ประมาณ 500-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ขณะที่ จินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ กล่าวว่า พันธบัตรดังกล่าวไม่น่าออกทันในปีนี้ แต่ยังย้ำว่าข้อดีของการออกพันธบัตรสกุลต่างประเทศคือทำให้มีเครื่องมือในการกู้เงินที่หลากหลายมากขึ้น (Diversify Instrument) ช่วยลดการแย่งเงินทุนในประเทศของภาคเอกชน (Crowding Out Effect) เป็นตัวช่วยหากเกิดปัญหาสภาพคล่องในประเทศก็ยังมีทางเลือกในการกู้ต่างประเทศได้ นอกจากนี้ยังเป็นอัตราอ้างอิง (Benchmark) ให้กับภาคเอกชนที่ต้องการออกไปกู้ต่างประเทศด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดคือความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าสหรัฐฯ ซึ่ง สบน. ต้องศึกษาเรื่องนี้ให้รอบคอบ

 

“จากการสำรวจพบว่านักลงทุนต่างชาติสนใจเรื่องพันธบัตรสกุลต่างประเทศของเรามาก เพราะเรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ตอนนี้การลงทุนในภูมิภาคของเราเป็นที่สนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ทุกคนที่เข้ามาก็พูดตรงกันหมด เราก็มองว่าทำแล้วออกไปอย่างสง่าผ่าเผยในตอนนี้ดีกว่ารอให้มีปัญหาแล้วค่อยทำ” พชรกล่าว

 

“ตอนนี้เรามีข้อมูลบ้างแล้ว ก็อยู่ระหว่างเสนอทางกระทรวงให้เห็นชอบในหลักการ แต่ในปีนี้คาดว่าจะยังไม่มีการออกพันธบัตรดังกล่าว โดยเบื้องต้นคาดว่าออกจะอยู่ประมาณ 500-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศ, World Bank หรือ Asian Development Bank (ADB) ก็บอกว่าไซส์ควรอยู่ที่ 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ”

 

พชรเปิดเผยอีกว่า แม้แต่ประเทศที่แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจก็ยังสนใจหรือได้ออกบอนด์สกุลเงินต่างประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ที่ได้ออกบอนด์เงินสกุลต่างประเทศราว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อออกแล้วก็ทำให้มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศทันที ดังนั้นจึงเชื่อว่าการออกพันธบัตรครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)

The post คลังออก ‘บอนด์สกุลเงินต่างประเทศ’ ไม่ทันปีนี้ จับตาอัตราแลกเปลี่ยน-ทิศทางดอกเบี้ย Fed appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลเล็งออก ‘พันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ’ ครั้งแรกในรอบ 20 ปี มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? https://thestandard.co/gov-prepare-foreign-currency-bonds/ Wed, 21 Feb 2024 02:11:48 +0000 https://thestandard.co/?p=902427

กระทรวงการคลังเล็งออก ‘พันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ’ ครั้ […]

The post รัฐบาลเล็งออก ‘พันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ’ ครั้งแรกในรอบ 20 ปี มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>

กระทรวงการคลังเล็งออก ‘พันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ’ ครั้งแรกในรอบ 20 ปี วงเงิน 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งเป้าเผยผลการศึกษาภายในมีนาคมนี้

 

จินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะในฐานะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สบน. อยู่ระหว่างศึกษาการออกพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Bond: FCY) โดยคาดว่าจะเห็นผลการศึกษาที่ชัดเจนในช่วงเดือนมีนาคมปี 2567

 

นอกจากนี้ ในเบื้องต้น วงเงินการออกพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศดังกล่าวจะอยู่ที่ 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท)

 

ในแถลงการณ์ยังระบุอีกว่า กรณีที่ตลาดตราสารหนี้และตลาดการเงินในประเทศอยู่ในสภาวะตึงตัว ซึ่ง สบน. สามารถพิจารณากู้เงินจากต่างประเทศภายใต้ พ.ร.บ.หนี้สาธารณะฯ มาตรา 22 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ตามความจำเป็น

 

ประกอบกับประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคงค้างที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2566 อยู่ในระดับต่ำ หรือคิดเป็นเพียง 1.4% เท่านั้นของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด

 

ทั้งนี้ ไทยไม่ได้ออกพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศมานานราว 20 ปีแล้ว สำหรับพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์ (ดอลลาร์บอนด์) โดยครั้งสุดท้ายที่ออกพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศคือซามูไรบอนด์เมื่อ 16 ปีที่แล้ว

 

จินดารัตน์ยังเปิดเผย ‘ข้อดี’ ของการออกพันธบัตรสกุลต่างประเทศ ได้แก่

  1. สามารถช่วยให้รัฐบาลไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่กว้างขึ้น
  2. ลดโอกาสของการแย่งชิงเม็ดเงินจากภาคเอกชน (Crowding Out Effect) 
  3. ทำหน้าที่เป็นต้นทุนอ้างอิง (Reference) ให้กับภาคเอกชนของไทยที่จะออก FCY Bond ได้

 

อย่างไรก็ดี การออกพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศก็มีความเสี่ยง โดย ‘ข้อเสีย’ หลักคือ ต้นทุนดอกเบี้ยในต่างประเทศยังสูงกว่าในประเทศ ทำให้ภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลอาจเพิ่มขึ้น ดังนั้น สบน. จึงต้องศึกษาและประเมินความคุ้มค่าก่อน โดยความคุ้มค่าในที่นี้รวมไปถึงโครงการรองรับต่างๆ ที่จะนำเงินที่กู้มาไปใช้

 

“ตอนนี้เราอยู่ระหว่างศึกษา ยังไม่รู้ว่าจะออกเป็นสกุลเงินอะไร โดยเงื่อนไขคือต้องมีความคุ้มค่า ทำให้ต้นทุนของเอกชนที่ไปกู้ต่างประเทศมีความเป็นธรรมมากขึ้น ตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านของเราออกหมดแล้ว มีแค่เราที่ยังไม่ได้ออก โดยปัจจุบัน สนบ. ได้เริ่มหารือในเรื่องนี้กับ ก.ล.ต. แล้ว”

 

จินดารัตน์เปิดเผยต่อว่า ส่วนกรณีที่มีข่าวบิดเบือนที่ว่า การออกพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศจะทำให้เกิดการโจมตีค่าเงินนั้น ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทำให้ สบน. ได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่าเข้าข่ายข่าวปลอม (Fake News) ผ่านระบบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center Thailand) ไปแล้ว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567)

The post รัฐบาลเล็งออก ‘พันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ’ ครั้งแรกในรอบ 20 ปี มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
เพิ่มซัพพลายรับดีมานด์! ธปท. ปรับแผนออกบอนด์ปี 2567 ประกาศเพิ่มวงเงินประมูลขั้นต่ำพันธบัตรอายุ 3 เดือน และ 1 ปี ยันอุปทานบอนด์ภาครัฐ ‘อยู่ในระดับที่เหมาะสม’ https://thestandard.co/bot-adjusts-bond-issuance-plan-in-2024/ Fri, 12 Jan 2024 09:29:41 +0000 https://thestandard.co/?p=887037

แบงก์ชาติเผยแผนออกพันธบัตรประจำปี 2567 ประกาศเพิ่มกรอบว […]

The post เพิ่มซัพพลายรับดีมานด์! ธปท. ปรับแผนออกบอนด์ปี 2567 ประกาศเพิ่มวงเงินประมูลขั้นต่ำพันธบัตรอายุ 3 เดือน และ 1 ปี ยันอุปทานบอนด์ภาครัฐ ‘อยู่ในระดับที่เหมาะสม’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

แบงก์ชาติเผยแผนออกพันธบัตรประจำปี 2567 ประกาศเพิ่มกรอบวงเงินประมูลขั้นต่ำบอนด์อายุ 3 เดือน และ 1 ปี เหตุเห็นความต้องการถือครองพันธบัตรระยะสั้นที่กลับมาอยู่ในระดับปกติต่อเนื่อง ยืนยันทำงานร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ต่อเนื่อง เพื่อให้อุปทานรวมของพันธบัตรภาครัฐอยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแผนออกพันธบัตร ประจำปี 2567 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงคือ ธปท. ได้ปรับเพิ่มกรอบวงเงินประมูลขั้นต่ำของพันธบัตรประเภทจำหน่ายเป็นส่วนลด อายุ 3 เดือน และอายุ 1 ปี เป็น 3 หมื่นล้านบาท และ 2 หมื่นล้านบาทต่อครั้ง ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับกรอบวงเงินประมูลช่วงก่อนการระบาดของโควิด

 

โดย ธปท. ยังอธิบายว่า การปรับเพิ่มดังกล่าวเป็นเพราะเห็นว่าความต้องการถือครองพันธบัตรระยะสั้นที่กลับมาอยู่ในระดับปกติต่อเนื่อง

 

ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมา ธปท. ได้ปรับลดกรอบวงเงินประมูลขั้นต่ำของพันธบัตรประเภทดังกล่าวลงหลังการระบาดของโควิด เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพคล่องระยะสั้นและแผนการกู้เงินของภาครัฐ

 

สำหรับการประมูลพันธบัตรรายเดือน ธปท. จะพิจารณาวงเงินให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเงินและตลาดพันธบัตร รวมถึงแผนการออกพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจในแต่ละช่วงเวลา โดย ธปท. จะประสานงานกับ สบน. อย่างใกล้ชิด และจะประกาศตารางประมูลพันธบัตร ธปท. ให้ตลาดทราบล่วงหน้าทุกเดือนผ่านทางเว็บไซต์ของ ธปท. เช่นที่เคยปฏิบัติมา

 

ทั้งนี้ การออกพันธบัตรรัฐบาลของ ธปท. ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือการดำเนินนโยบายของ ธปท. เพื่อบริหาร (เสริมหรือดึง) สภาพคล่องในระบบ

 

ข้อมูลจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ระบุว่า มูลค่าคงค้างพันธบัตร ธปท. ลดลงต่อเนื่อง 4 ปีติดต่อกันแล้ว (ตั้งแต่ปี 2563-2566) โดย ณ สิ้นปี 2566 พันธบัตร ธปท. มีมูลค่าคงค้างลดลง 172,656 ล้านบาท เหลือ 2.3 ล้านล้านบาท โดยมีอายุเฉลี่ย 5.7 เดือน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 5.2 เดือนเมื่อปี 2565

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุอีกว่า ในปี 2567 ธปท. วางแผนการออกพันธบัตร ธปท. โดยพิจารณาจากสภาพคล่องในตลาดการเงินและแนวโน้มความต้องการถือครองพันธบัตรภาครัฐ รวมถึงแผนการออกพันธบัตรภาครัฐในภาพรวม

 

โดย ธปท. และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการออกพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. เพื่อให้อุปทานรวมของพันธบัตรภาครัฐอยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

นอกจากนี้ ธปท. วางแผนที่จะออกพันธบัตร ธปท. ที่อิงกับอัตราดอกเบี้ย THOR (Thai Overnight Repurchase Rate) อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา

The post เพิ่มซัพพลายรับดีมานด์! ธปท. ปรับแผนออกบอนด์ปี 2567 ประกาศเพิ่มวงเงินประมูลขั้นต่ำพันธบัตรอายุ 3 เดือน และ 1 ปี ยันอุปทานบอนด์ภาครัฐ ‘อยู่ในระดับที่เหมาะสม’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักลงทุนเตือนรัฐบาลทั่วโลกระวังการก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ที่มีหนี้พุ่งแตะ 68.2% ต่อ GDP https://thestandard.co/investors-warn-governments-around-the-world/ Wed, 10 Jan 2024 11:03:00 +0000 https://thestandard.co/?p=886158

นักลงทุนส่งเสียงเตือนรัฐบาลทั่วโลกถึงระดับหนี้สาธารณะที […]

The post นักลงทุนเตือนรัฐบาลทั่วโลกระวังการก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ที่มีหนี้พุ่งแตะ 68.2% ต่อ GDP appeared first on THE STANDARD.

]]>

นักลงทุนส่งเสียงเตือนรัฐบาลทั่วโลกถึงระดับหนี้สาธารณะที่ไร้การควบคุม เนื่องจากการกู้ยืมเงินก่อนช่วงการเลือกตั้งที่มากเกินไปอาจสร้างความเสี่ยงต่อตลาดพันธบัตร 

 

การออกพันธบัตรจากรัฐบาลสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร คาดว่าจะพุ่งสูงสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ ขณะที่ตลาดเกิดใหม่มีแนวโน้มที่จะออกพันธบัตรใหม่ต่อไป โดยข้อมูลจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) พบว่าหนี้สาธารณะพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 68.2% ของ GDP เมื่อปีที่แล้ว

 

Jim Cielinski หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้ระดับโลกของ Janus Henderson กล่าวว่า ภาวะขาดดุลของรัฐบาลทั่วโลกอยู่ในระดับที่เกินควบคุมไปแล้วและเป็นเรื่องจริงที่ว่าไม่มีกลไกใดที่สามารถควบคุมให้ลดลงได้ และปัญหานี้จะกลายเป็นเรื่องที่ร้ายแรงต่อตลาดในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า

 

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ จะออกพันธบัตรมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ โดยมีอายุตั้งแต่ 2-30 ปี ตามการประมาณการจาก Apollo Global Management เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว และ 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2018

 

ยอดการออกพันธบัตรสุทธิที่หักตามการซื้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนจะอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ ภายใน 12 เดือน จนถึงสิ้นเดือนกันยายน ตามการคำนวณของ RBC Capital Markets ซึ่งเป็นมูลค่ารายปีที่สูงที่สุดอันดับ 2 นอกจากนี้ธนาคารกลางแคนาดาคาดว่าตัวเลขการออกพันธบัตรสุทธิในปี 2024-2025 จะสูงกว่าระดับในยุคการแพร่ระบาดของโควิด

 

Robert Tipp หัวหน้าฝ่ายพันธบัตรระดับโลกของ PGIM Fixed Income ระบุว่า เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อหนี้ของรัฐบาลโดยแท้จริง ปริมาณการกู้ยืมของรัฐบาลที่สูงลิ่วอาจเบี่ยงเบนความสนใจของตลาดไปจากการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย และในตอนนี้เริ่มมีสัญญาณที่ทำให้นักลงทุนและหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือกำลังกลับมาคิดถึงเรื่องนี้อีกครั้ง

 

สหราชอาณาจักร ซึ่งคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในปีนี้กำลังอยู่ในเส้นทางของปีที่ออกจำหน่ายพันธบัตรสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2020 เท่านั้น เมื่อธนาคารกลางอังกฤษเข้าแทรกแซงเพื่อดูดซับควบคุมปริมาณเงินในช่วงแรกของการระบาดของโควิด Keir Starmer หัวหน้าพรรคแรงงาน ซึ่งมีคะแนนนำโด่งในโพลการสำรวจได้ให้ถ้อยคำมั่นที่จะกู้ยืมเงิน 2.8 หมื่นล้านปอนด์ต่อปีสำหรับ ‘แผนความมั่งคั่งสีเขียว’ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับระดับหนี้สาธารณะของประเทศ

 

ตามการประมาณการของ NatWest 10 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซนจะออกพันธบัตรมูลค่ารวมกว่า 1.2 ล้านล้านยูโรในปีนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่แล้ว แต่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่ายอดการออกพันธบัตรสุทธิซึ่งรวมถึงผลกระทบจากนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวและไม่รวมการรีไฟแนนซ์ของพันธบัตรที่มีอยู่จะเพิ่มขึ้นกว่า 18% ในปีนี้เป็น 6.4 แสนล้านยูโร

 

การตรวจสอบระดับหนี้ที่สูงเป็นประวัติการณ์เกิดขึ้นในปีที่วุ่นวายจากกระแสการเลือกตั้งทั่วโลก ซึ่งกระตุ้นแรงจูงใจให้นักการเมืองเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้น เช่นสหรัฐฯ ที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 5 พฤศจิกายน นักลงทุนเชื่อว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่พรรคการเมืองแต่ละฝ่ายจะขัดขวางนโยบายทางการคลังของแต่ละฝ่าย

 

David Zahn หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้ยุโรปที่ Franklin Templeton เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาจากตัวเต็งหลัก 2 คน ได้แก่ ประธานาธิบดีปัจจุบัน Joe Biden และอดีตประธานาธิบดี Donald Trump ดูเหมือนว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายการคลังมากนัก เมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง มีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ จะยังคงใช้จ่ายต่อไป

 

การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ โดยสัดส่วนเมื่อเทียบกับ GDP ในประเทศ ถูกกำหนดให้อยู่ระหว่าง 6.5-8% ในช่วง 4 ปีข้างหน้า ตามการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากประมาณ 4% ในปี 2022 ขณะที่อัตราการจ่ายดอกเบี้ยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 3% ของ GDP ในปี 2022 เป็น 4.5% ภายในปี 2028

 

ขณะที่ IIF เตือนว่าการเลือกตั้งและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดเกิดใหม่อาจกระตุ้นให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของรัฐบาลและวินัยทางการคลัง ซึ่งรวมถึงอินเดีย แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และสหรัฐฯ

 

อ้างอิง:

The post นักลงทุนเตือนรัฐบาลทั่วโลกระวังการก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ที่มีหนี้พุ่งแตะ 68.2% ต่อ GDP appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนออกพันธบัตรรัฐบาลครั้งใหญ่! เพิ่มอีก 237.9 ล้านหยวน เพื่อฟื้นฟู-ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน หวังหนุน GDP เติบโตในปีหน้า https://thestandard.co/china-allocates-from-additional-treasury-bonds/ Tue, 19 Dec 2023 03:17:45 +0000 https://thestandard.co/?p=878332 พันธบัตรรัฐบาลจีน

จีนออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มอีก 237.9 ล้านหยวน ส่งท้ายปี เ […]

The post จีนออกพันธบัตรรัฐบาลครั้งใหญ่! เพิ่มอีก 237.9 ล้านหยวน เพื่อฟื้นฟู-ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน หวังหนุน GDP เติบโตในปีหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
พันธบัตรรัฐบาลจีน

จีนออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มอีก 237.9 ล้านหยวน ส่งท้ายปี เพื่อฟื้นฟูและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมรับโอกาสทางเศรษฐกิจในปี 2024 มากกว่าความท้าทาย

 

Global Times สื่อท้องถิ่นของทางการจีน รายงานว่า กระทรวงการคลังได้จัดสรรเงินชุดแรกจำนวน 237.9 พันล้านหยวน ซึ่งเป็นรายได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาล ให้กับภาคส่วนต่างๆ เช่น การฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ การก่อสร้างพื้นที่เกษตรกรรมที่มีมาตรฐานสูง และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตุนิยมวิทยา โดยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับการเติบโตของประเทศในปี 2024 ที่จีนมองว่าจะเต็มไปด้วยโอกาสมากกว่าความท้าทาย 

 

รายงานระบุว่า การจัดสรรเงินดังกล่าวเป็นการจัดสรรจากพันธบัตรรัฐบาลพิเศษมูลค่า 1 ล้านล้านหยวน ซึ่งการจัดสรรในครั้งนี้จะให้การสนับสนุนครอบคลุมโครงการมากกว่า 2,900 โครงการ โดยกองทุนชุดแรกจะถูกใช้โดยตรงในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและโครงการดำรงชีวิต (Livelihood Programs) ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวในการดำเนินการตามลำดับความสำคัญที่กล่าวถึงในการประชุม Central Economic Work Conference ที่เพิ่งสรุปเสร็จเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 

 

Hu Qimu รองเลขาธิการ Digital-Real Economies Integration Forum 50 กล่าวว่า ในการเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจขั้นสุดท้ายในปีนี้ และการวางรากฐานสำหรับปีหน้า การจัดสรรเงินทุนเหล่านี้ให้กับภาคโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยลดความเสี่ยงด้านหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวได้อย่างมั่นคง

 

ทั้งนี้ แถลงการณ์จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการการเงินและเศรษฐกิจกลางของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีนหลัง Central Economic Work Conference ระบุว่า เศรษฐกิจจีนเผชิญกับโอกาสและเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยมากกว่าความท้าทายในปี 2024 โดยจะมีการออกนโยบายมหภาคเพิ่มเติมในปีหน้าเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว พร้อมย้ำว่า ทางการจีนมีเครื่องมือทางนโยบายเพียงพอที่จะใช้ในปีหน้า เนื่องจากราคาผู้บริโภคที่ต่ำและระดับหนี้ของรัฐบาลกลางที่ต่ำจะทำให้มีช่องว่างในการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจและการคลัง 

 

ขณะเดียวกันทางการจีนก็ให้คำมั่นที่จะพยายามส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงการบริโภคจากการฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิด-19 ไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน รวมถึงเรียกร้องให้มีความพยายามเพิ่มเติมในการประสานอุปสงค์ภายในประเทศและปรับปรุงอุปทาน เพื่อใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบในตลาดขนาดใหญ่พิเศษของจีนอย่างเต็มที่

 

นอกจากนี้ ที่ประชุม Central Economic Work Conference ยังชี้ว่า นโยบายการคลังเชิงรุกควรได้รับการเสริมสร้างอย่างเหมาะสมและปรับปรุงประสิทธิผล ในขณะที่นโยบายการเงินที่รอบคอบควรมีความยืดหยุ่น ปานกลาง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ

 

ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หลายสำนัก ซึ่งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะเติบโตประมาณ 5% ในปีหน้า ทรงตัวจากการเติบโตในปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.2% โดยปีหน้าหลายฝ่ายเชื่อว่าการจ้างงานและอัตรารายได้ของจีนจะฟื้นกลับมาดีขึ้นกว่าปีนี้ 

 

นอกจากนี้ ในส่วนของค่าเงินหยวนหลายฝ่ายมองว่า เนื่องจากความแตกต่างที่แคบลงระหว่างนโยบายการเงินของจีนกับสหรัฐอเมริกา และการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน ทำให้คาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิดระบาดที่ประมาณ 6.5 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในระยะสั้นและระยะกลาง

 

อ้างอิง: 

The post จีนออกพันธบัตรรัฐบาลครั้งใหญ่! เพิ่มอีก 237.9 ล้านหยวน เพื่อฟื้นฟู-ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน หวังหนุน GDP เติบโตในปีหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีน ‘เท’ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อเนื่อง ถือครองต่ำสุดในรอบ 14 ปี หมายความถึงอะไร? https://thestandard.co/china-dump-us-government-bonds/ Mon, 06 Nov 2023 03:04:18 +0000 https://thestandard.co/?p=862778 พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

จีนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 40% สู่ระดับต่ำสุดใ […]

The post จีน ‘เท’ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อเนื่อง ถือครองต่ำสุดในรอบ 14 ปี หมายความถึงอะไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

จีนลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 40% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า หากจีนยังคงลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อไปอาจเป็นปัจจัยกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ได้

 

โดยตามข้อมูลจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม จีนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ที่ 8.05 แสนล้านดอลลาร์ ลดลงถึง 40% จากทศวรรษก่อนหน้า

 

ทำไมจีนเทบอนด์สหรัฐฯ?

 

Nikkei Asia รายงานว่า นักวิเคราะห์บางคนมองว่าปรากฏการณ์นี้เป็นผลมาจากความพยายามของทางการจีนที่จะหนุนเงินหยวนที่ตั้งแต่ต้นปี (YTD) อ่อนค่าไปราว 5.6% (ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน) ขณะที่นักวิเคราะห์ก็มองว่าเป็นเพราะราคาของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ตกต่ำลง หรืออัตราผลตอบแทน (Yield) ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

 

Torsten Slok นักเศรษฐศาสตร์จาก Apollo Global Management กล่าวเมื่อต้นเดือนตุลาคมว่า บางทีจีนอาจอยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของ Bond Yield ระยะยาวของสหรัฐฯ ท่ามกลางการลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องของจีน หลังจากเข้าถือครองแตะจุดสูงสุดเมื่อปี 2013

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับมุมมองของ Slok โดยโต้แย้งว่าจีนอาจโอนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ถือครองไปยังผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian) ในต่างประเทศโดยไม่ต้องขาย

 

จีนประสบภาวะเงินทุนไหลออก

 

ปัจจุบันจีนกำลังเผชิญกับภาวะเงินทุนไหลออก (Capital Flight) ครั้งร้ายแรง เนื่องจากนักลงทุนต่างกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้ทุกภาคส่วนของจีน 

 

ในเดือนกันยายน จีนประสบกับเงินทุนไหลออกสูงถึง 7.5 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นการไหลออกรายเดือนที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016

 

โดยตามคาดการณ์ของ Goldman Sachs ภาวะนี้จะทำให้เกิดแรงกดดันต่อค่าเงินหยวน

 

ตั้งแต่ปี 2015 ปักกิ่งได้ใช้เงินหลายแสนล้านดอลลาร์จากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพื่อแทรกแซงตลาดเมื่อเงินหยวนอ่อนค่า

 

การสะสมเงินทุนสำรองจีนถูกกดดันจากการตัดสัมพันธ์ของตะวันตก

 

โดยนักวิเคราะห์ยังประเมินต่อว่า ด้วยความต้องการรักษาระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศในปัจจุบันไว้ รัฐบาลจีนอาจกดดันให้ธนาคารภายใต้การกำกับดูแลของรัฐออกหน้าสนับสนุนเงินหยวนเอง

 

ทั้งนี้ เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นเหมือนในอดีต เนื่องจากการเติบโตของการส่งออกชะลอตัว และปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศลดลง ท่ามกลางความพยายามของประเทศตะวันตกในการลดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนที่เพิ่งจะเริ่มมีผลเท่านั้น

The post จีน ‘เท’ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อเนื่อง ถือครองต่ำสุดในรอบ 14 ปี หมายความถึงอะไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>