พะยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 11 Jan 2021 10:05:38 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 นิทรรศการ Venus of the Shell โดย ยูน ปัณพัท เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์ https://thestandard.co/venus-of-the-shell/ Mon, 11 Jan 2021 00:31:37 +0000 https://thestandard.co/?p=441395 นิทรรศการ Venus of the Shell โดย ยูน ปัณพัท เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์

ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นับเป็นศิลปินชาวไทยที่มีชื่อเสียง […]

The post นิทรรศการ Venus of the Shell โดย ยูน ปัณพัท เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นิทรรศการ Venus of the Shell โดย ยูน ปัณพัท เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์

ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นับเป็นศิลปินชาวไทยที่มีชื่อเสียงด้านการวาดภาพและออกแบบที่โด่งดังถึงต่างประเทศ ด้วยฝีมือวาดภาพและสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ของเธอที่ผสมผสานเข้ากับกลิ่นอายของศิลปะแบบจีน ส่งให้เธอได้ร่วมงานกับแบรนด์แฟชั่นระดับโลกอย่าง Gucci หลายต่อหลายครั้ง และล่าสุดเธอก็ได้ฤกษ์แสดงผลงานส่วนตัวในชื่อ Venus of the Shell

 

ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล 

 

แรงบันดาลใจหลักของงานนี้ ได้แก่ เทพวีนัส เทพีแห่งความรัก ความงาม เพศ และความรุ่งเรือง เมื่อเทพวีนัสนั้นเต็มไปด้วยความสมบูรณ์แบบในสายตาของทุกคนตามความเชื่อของเทพปกรณัมของกรีก-โรมัน แต่ในความเป็นจริงอาจมีด้านอื่นที่แตกหัก ผิดหวัง โดดเดี่ยว โกรธแค้น และมืดมนไม่ต่างกับมนุษย์ 

 

ยูนได้ถ่ายทอดความคิดเหล่านี้ลงบนจิตรกรรมฝาผนังและกระเบื้องโมเสกที่เต็มไปด้วยสีสันตระการตา นำเสนอบนพื้นที่ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน อันประกอบไปด้วย Forbidden Flower, Moonlight Dive, Mandragora in the Vase และ The Wanderer ให้ความรู้สึกราวกับกำลังเดินเข้าไปในเปลือกหอย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของเทพวีนัส ทั้งยังเปรียบให้เห็นถึงความลึกล้ำซับซ้อนของจิตใจมนุษย์ที่ยากจะหยั่งถึง

 

 

นิทรรศการ Venus in the Shell จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เข้าชมได้ฟรีที่ River City Bangkok Galleria ชั้น 2 โดยสามารถติดตามผลงานของยูน ปัณพัท ได้ทาง www.phannapast.com 

 

ภาพ: River City Bangkok Galleria 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post นิทรรศการ Venus of the Shell โดย ยูน ปัณพัท เปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบเลือดไทย โชว์ฝีมืออีกครั้งสู่งานระดับอินเตอร์ Sulwhasoo Holiday Collection 2020 https://thestandard.co/sulwhasoo-holiday-collection-2020/ Wed, 04 Nov 2020 06:31:15 +0000 https://thestandard.co/?p=416894 ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบเลือดไทย โชว์ฝีมืออีกครั้งสู่งานระดับอินเตอร์ Sulwhasoo Holiday Collection 2020

ชื่อของ ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบชาวไทยที่เ […]

The post ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบเลือดไทย โชว์ฝีมืออีกครั้งสู่งานระดับอินเตอร์ Sulwhasoo Holiday Collection 2020 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบเลือดไทย โชว์ฝีมืออีกครั้งสู่งานระดับอินเตอร์ Sulwhasoo Holiday Collection 2020

ชื่อของ ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบชาวไทยที่เคยร่วมงานกับแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Gucci มาแล้ว ล่าสุดได้อวดฝีมือสู่งานระดับอินเตอร์อีกครั้ง กับการออกแบบลวดลายในธีมเทพนิยายแฟนตาซี ประดับลงบนกล่องสุดหรูหราของผลิตภัณฑ์ขายดีที่สุดแห่งปีของ Sulwhasoo Holiday Collection 2020  

 

 

สำหรับการร่วมงานกันครั้งนี้ ผลงานอันแสนวิจิตรสวยงามของ ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล ถูกเผยโฉมออกมาด้วยลวดลายที่ละเอียดประณีต มีองค์ประกอบต่างๆ ตามธีมเทพนิยายแฟนตาซีที่ประกอบไปด้วยตัวละครเล็กๆ อันชาญฉลาด ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากสัตว์ในจินตนาการ ผสานวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นเทศกาลคริสต์มาสแสนน่ารัก ที่เหมาะสำหรับเทศกาลแห่งความสุขที่กำลังจะมาถึง 

 

สำหรับแพ็กเกจต่างๆ ในคอลเล็กชันใหม่นี้ จะมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุดของแบรนด์ Sulwhasoo อย่าง First Care Activating Serum Holiday Set (3,900 บาท), Concentrated Ginseng Renewing Serum Holiday Set (6,500 บาท), Perfecting Cushion EX (2,100 บาท), Clarifying & Overnight Vitalizing Mask Duo Set (3,200 บาท) 

 

 

ซึ่งในแต่ละแพ็กเกจจะมีตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายในการเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นนั่นเอง ใครที่ชื่นชอบและเป็นแฟนของแบรนด์ Sulwhasoo อยู่แล้วคงไม่อยากพลาดคอลเล็กชันเด็ดประจำปีนี้ ส่วนใครที่อยากเป็นกำลังใจให้กับนักวาดเลือดไทย ก็สะสมผลงานของเธอผ่านคอลเล็กชันความงามเหล่านี้ได้เช่นกัน โดย Sulwhasoo Holiday Collection 2020 พร้อมจำหน่ายพร้อมกันในประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป 

 

ภาพ: Courtesy of Sulwhasoo

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

The post ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบเลือดไทย โชว์ฝีมืออีกครั้งสู่งานระดับอินเตอร์ Sulwhasoo Holiday Collection 2020 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ขนมไหว้พระจันทร์เพนนินฯ อร่อย เก๋ ได้บุญ https://thestandard.co/mooncake-the-peninsula-bangkok/ https://thestandard.co/mooncake-the-peninsula-bangkok/#respond Mon, 27 Aug 2018 03:12:54 +0000 https://thestandard.co/?p=116422

ขนมไหว้พระจันทร์ยุคนี้นอกจากจะแข่งกันที่รสชาติแล้ว แพ็ก […]

The post ขนมไหว้พระจันทร์เพนนินฯ อร่อย เก๋ ได้บุญ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ขนมไหว้พระจันทร์ยุคนี้นอกจากจะแข่งกันที่รสชาติแล้ว แพ็กเกจจิ้งหรือกล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แต่ละเจ้าให้ความสำคัญ แต่หลังจากที่เห็นมาหลายแห่ง เจ้าที่มีความโดดเด่นที่สุดของปีนี้ต้องยกให้ขนมไหว้พระจันทร์ของโรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพฯ ที่ฉลองครบรอบ 20 ปี ด้วยการปล่อยชุดขนมไหว้พระจันทร์ที่ร่วมมือกับศิลปินรุ่นใหม่อย่าง ‘ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล’ ในการออกแบบกล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์เก๋ไก๋ที่สุดแห่งปี 2018 เพราะสามารถประยุกต์เป็นกระเป๋าคลัตช์หรือกล่องใส่เครื่องประดับได้ด้วย!   

 

ความพิเศษของกล่องใบนี้อยู่ที่ตัวกล่องหุ้มด้วยผ้าสีเขียวและสีทอง ปักลวดลายโดดเด่นทั้งด้านหน้า ด้านใน และด้านหลัง มองปราดเดียวก็รู้ทันทีว่าเป็นฝีมือของยูนแน่นอน โดยเธอนำแรงบันดาลใจที่ได้จากเพลงกล่อมเด็กอย่าง ‘จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า’ ผสมตำนานเทศกาลไหว้พระจันทร์ของชาวจีนอย่างดวงจันทร์และกระต่าย เมื่อเปิดมาด้านในจะพบกับขนมไหว้พระจันทร์ไส้คัสตาร์ดไข่แดงทั้ง 8 ชิ้น วางรายล้อมกล่องดนตรีที่กำลังบรรเลงดนตรีเพลงจีนสุดแสนคลาสสิกอย่าง The Moon Represents My Heart ของเติ้ง ลี่ จวิน ที่ใครได้ยินเป็นต้องร้องอ๋อ

 

ปัณพัท เตชเมธากุล

 

ยูนเล่าว่าสาเหตุที่นำเพลงกล่อมเด็ก ‘จันทร์เอ๋ยจันทร์’ มาเป็นแรงบันดาลใจหลัก เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักระหว่างพี่-น้อง ซึ่งสอดคล้องกับความตั้งใจของทางโรงแรมที่ปีนี้อยากมอบทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนที่ใฝ่ฝันอยากเป็นศิลปิน แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ดังนั้นรายได้จากการจำหน่ายชุดขนมไหว้พระจันทร์รุ่นนี้จึงมอบเป็นทุนการศึกษาให้เด็กที่อยากเรียนต่อปริญญาตรีด้านศิลปะ ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ยูนเป็นศิษย์เก่า ราคาจำหน่ายต่อชุดอยู่ที่ 4,980 บาท ผลิตออกมาเพียง 200 กล่องเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ที่โรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพฯ และป๊อปอัปบูธ บริเวณชั้น G สยามพารากอน หรือโทร. 0 2020 2888

 

Photo: Courtesy of brand  

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ขนมไหว้พระจันทร์เพนนินฯ อร่อย เก๋ ได้บุญ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/mooncake-the-peninsula-bangkok/feed/ 0
Gucci ชวน พะยูน ปัณพัท นักวาดภาพประกอบไทย ร่วมงานอีกครั้งในแคมเปญน้ำหอมคอลเล็กชันใหม่ พร้อม 14 สาวนักวาดภาพประกอบดังในโลกอินสตาแกรม https://thestandard.co/gucci-bloom-acqua-di-fiori/ https://thestandard.co/gucci-bloom-acqua-di-fiori/#respond Mon, 07 May 2018 10:08:02 +0000 https://thestandard.co/?p=88914

แรงบันดาลใจสามารถพบเจอได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นแรงบันดาลใจ […]

The post Gucci ชวน พะยูน ปัณพัท นักวาดภาพประกอบไทย ร่วมงานอีกครั้งในแคมเปญน้ำหอมคอลเล็กชันใหม่ พร้อม 14 สาวนักวาดภาพประกอบดังในโลกอินสตาแกรม appeared first on THE STANDARD.

]]>

แรงบันดาลใจสามารถพบเจอได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นแรงบันดาลใจจากหนุ่มสาวบนท้องถนน ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม รวมถึงแฟชั่นในยุคต่างๆ ที่อาจเป็นเหตุผลให้ 15 สาวนักวาดภาพประกอบที่อาศัยอยู่ตามมุมเมืองต่างๆ ทั่วโลกถูกแบรนด์ Gucci ส่องผ่านอินสตาแกรมจนเกิดแรงบันดาลใจและดึงไปร่วมวาดภาพที่สื่อถึงพลังของผู้หญิงในแง่มุมต่างๆ กับน้ำหอมคอลเล็กชันล่าสุด Gucci Bloom Acqua Di Fiori ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่านั้นคือโปรเจกต์นี้มีผลงานของ พะยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบชาวไทยรวมอยู่ด้วย

 

 

นับเป็นการพลิกโฉมการโปรโมตน้ำหอมรูปแบบใหม่ที่สวยงามและตรึงตาตรึงใจ เมื่อ Gucci คัดเลือกศิลปินนักวาดภาพจากอินสตาแกรมทั่วโลกจนได้นักวาดฝีมือดีทั้ง 15 คนมาอวดฝีไม้ลายมือผ่านสีสันและลายเส้นที่เกี่ยวกับน้ำหอมคอลเล็กชันใหม่ของ Gucci ซึ่งโปรเจกต์นี้มีผลงานของ พะยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล นักวาดภาพประกอบชาวไทยที่เคยให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD เมื่อครั้งที่ได้ร่วมโปรเจกต์กับ Gucci เมื่อปีที่แล้วรวมอยู่ด้วย ตอนนั้นเธอสร้างผลงานวาดหนังสือนิทาน The Wonder Factory เพื่อใช้โปรโมตคอลเล็กชันเครื่องประดับของ Gucci ครั้งนี้เธอนำเสนอผลงานวาดที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวได้อย่างน่าประทับใจกับไอเดียของดอกไม้แสนประหลาดที่ได้เรียนรู้และค้นพบความหมายบางอย่างผ่านสายฝนห่าใหญ่ที่พัดผ่านมา มันแสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว หากรู้จักเปิดใจให้ซาบซึ้งกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว

 

 

ต่อไปนี้คือผลงานบางส่วนของศิลปินสาวที่น่าสนใจ เริ่มต้นกันด้วยภาพลายเส้นของ ฟี กรีนนิง (Fee Greening) สาวนักวาดภาพประกอบจากกรุงลอนดอน เธอถนัดลายเส้นที่วาดด้วยปากกาและหมึกเป็นพิเศษ ผลงานการวาดภาพเพื่อโปรโมตน้ำหอม Gucci ในคอลเล็กชันนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปะในยุค Gothic และ Flemish Art

 

 

นอกจาก ฟี กรีนนิง แล้วยังมีนักวาดภาพประกอบสาวชาวอเมริกันอย่าง แลงลีย์ ฟ็อกซ์ (Langley Fox) เธอคนนี้โปรไฟล์ไม่ธรรมดา เพราะนอกจากจะวาดรูปเก่งแล้วยังเป็นนางแบบอีกด้วย ผลงานครั้งนี้เธอนำเสนอภาพของหญิงสาวที่สะท้อนถึงความเป็นตัวของตัวเอง

 

 

ส่วน ฟรานเซส แคนนอน (Frances Cannon) ศิลปินสาวจากเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดดเด่นด้วยลายเส้นเรียบง่ายสไตล์มินิมัล รูปวาดส่วนใหญ่ของเธอสื่อสารผ่านรูปร่างของผู้หญิงอวบ (เดาว่าเธอมีแรงบันดาลใจมาจากตัวเอง) ในภาพเป็นจินตนาการที่สื่อถึงการค้นพบความงามของตัวเอง

 

 

เอ็มมา อัลเลเกรตติ (Emma Allegretti) ศิลปินชาวอิตาเลียน เป็นนักวาดภาพประกอบฟรีแลนซ์ที่กรุงโรม สไตล์ที่เป็นจุดเด่นของเธอคือลายเส้นการ์ตูนที่เต็มไปด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างสาวตาโต รูปวาดส่วนใหญ่สื่อถึงตัวตนและไลฟ์สไตล์ของเธอได้อย่างชัดเจน การวาดให้ Gucci ครั้งนี้เธอมาในคอนเซปต์ที่นำเสนอการเรียนรู้ที่จะเป็นดอกไม้ที่เบ่งบานอย่างสวยงาม

 

เหล่านี้เป็นเพียงภาพบางส่วนของศิลปินสาวทั้งหมด 15 คนที่มาร่วมกันวาดภาพและตีความผ่านคาแรกเตอร์และลายเส้นที่แตกต่าง คุณสามารถไปชมผลงานแบบเต็มๆ ของทุกคนได้ที่อินสตาแกรมของ Gucci งานนี้นอกจากแบรนด์จะได้ภาพที่สวยงามแล้วยังเป็นการเชื่อมโลกความงามกับโลกของศิลปะเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัวทีเดียว

 

 

อ้างอิง:

The post Gucci ชวน พะยูน ปัณพัท นักวาดภาพประกอบไทย ร่วมงานอีกครั้งในแคมเปญน้ำหอมคอลเล็กชันใหม่ พร้อม 14 สาวนักวาดภาพประกอบดังในโลกอินสตาแกรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/gucci-bloom-acqua-di-fiori/feed/ 0
Style Wrap-Up ความเคลื่อนไหวในวงการแฟชั่น กับโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่น่าจับตามอง https://thestandard.co/style-wrap-up-28-january-2018/ https://thestandard.co/style-wrap-up-28-january-2018/#respond Sat, 27 Jan 2018 17:01:49 +0000 https://thestandard.co/?p=64701

    Hedi Replaces Phoebe ยังคงเป็นประเด็นร้อน […]

The post Style Wrap-Up ความเคลื่อนไหวในวงการแฟชั่น กับโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่น่าจับตามอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

 

Hedi Replaces Phoebe

ยังคงเป็นประเด็นร้อนที่คนในวงการแฟชั่นต่างต้องถกเถียงและพูดคุยเกี่ยวกับการที่ เอดี สลีมาน หนึ่งในดีไซเนอร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดของยุค ถูกเลือกให้มารับตำแหน่งผู้กุมบังเหียนของแบรนด์ Céline แทนฟีบี ไฟโล ที่อยู่กับแบรนด์มาตั้งแต่ 2008 โดยชื่อเต็มของตำแหน่งเอดีคือ Artistic, Creative and Image Director และจะแสดงผลงานแรกในเดือนกันยายนนี้สำหรับคอลเล็กชัน Spring/Summer 2019

 

การกลับมาครั้งนี้ของเอดีถือว่าเป็นที่จับตามอง หลังเขาสร้างยอดขายถล่มทลายที่ Saint Laurent ตั้งแต่ปี 2012 ก่อนที่เขาจะลาออกในปี 2016 และเคยอยู่ที่ Dior Homme ช่วงปี 2000-2007 พร้อมสร้างกระแสกางเกงยีนส์ทรงสลิมฟิตที่กลายเป็นไอเท็มไอคอนิก ซึ่งนักสะสมยอมทุ่มเงินซื้อเป็นหลายเท่าตัว

 

 

 

Celebrate Being A Woman

คอนเซปต์การเฉลิมฉลองและยกย่องบทบาทของผู้หญิงกำลังมาแรงในวงการแฟชั่น โดยเฉพาะช่วงนี้กับกระแส #MeToo และ #TimesUp ซึ่งแคมเปญของแบรนด์ Brandon Maxwell อาจเป็นที่โปรดปรานที่สุดในขณะนี้ แคมเปญนี้ได้นางแบบสาวและซิงเกิลมัม จอร์แดน ดัน มาแสดงคู่กับลูกตัวเอง ไรลีย์ ดัน โดยเล่าเรื่องราวชีวิตคืนหนึ่งในนิวยอร์ก

 

จอร์แดนมีลูกชายตอนเธออายุ 18 ปี ช่วงเวลาที่กำลังเป็นหนึ่งในนางแบบที่ประสบความสำเร็จมากสุดในตอนนั้นคู่กับคาร์ลี คลอส เพื่อนรักของเธอ ส่วนผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ก็คือ แบรนดอน แม็กซ์เวลล์ ดีไซเนอร์หนุ่มจากรัฐเท็กซัส ที่ทุกวันนี้ยังควบตำแหน่ง Fashion Director ให้กับเลดี้ กาก้า เพื่อนสนิทของเขา และเคยชนะรางวัล CFDA สำหรับดีไซเนอร์ผู้หญิงหน้าใหม่ยอดเยี่ยมอีกด้วย

 

 

Keeping Up With Calvin Klein

กลายเป็นแคมเปญที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในสังคมออนไลน์เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยออกมา สำหรับ #MyCalvin ของแบรนด์ Calvin Klein ที่ครั้งนี้ได้สาวๆ ครอบครัวคาร์ดาเชียนและเจนเนอร์มาเป็นพรีเซนเตอร์ด้วยกันแบบครบทีม (ขาดแค่คุณแม่คริส เจนเนอร์) ซึ่งได้ช่างภาพชาวเบลเยียม วิลลี่ วองแดแปร์ เพื่อนสนิทของราฟ ซิมงส์ Chief Creative Officer ของแบรนด์มาถ่ายภาพให้ สำหรับโปรเจกต์ #MyCalvin ในซีซันนี้ยังมีคายา เกอร์เบอร์, เพรสตัน เกอร์เบอร์, โซแลง โนว์ลส์ และ A$AP Rocky มาร่วมอยู่ด้วย

 

 

 

Master Class

แบรนด์นาฬิกา Longines ที่ก่อตั้งที่เมืองแซงต์ อิมิเยร์ เมื่อปี 1832 สานต่อความสำเร็จของนาฬิกา รุ่น Master Collection ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2005 กับเฉดสีใหม่ที่เอาสีน้ำเงินมาเติมแต่งบนหน้าปัด พร้อมสายหนังจระเข้สีเดียวกันที่ยังคงความคลาสสิกและเรียบหรูได้อย่างดี โดยยังมีเวอร์ชันสายสเตนเลสให้เลือกกันอีกด้วย

 

 

New Dimensions of Disaya

แบรนด์ Disaya เปิดตัวคอลเล็กชัน Spring/Summer 2018 เล่าเรื่องราวการเดินทางสำรวจวัฒนธรรมอินเดียในยุควิกตอเรียน ผสมผสานกับผลงานศิลปะยุคจินตนิยม (Romanticism) ที่เต็มไปด้วยความงดงามหรูหราของยุโรป ซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก Sezincote House คฤหาสน์ที่สร้างขึ้นในประเทศอังกฤษ โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมนีโอ-โมกุลช่วงกลางศตวรรษที่ 19

 

อีกหนึ่งความพิเศษของซีซันนี้คือแคปซูลคอลเล็กชัน Disaya Vacationist ที่ทำสินค้าผู้ชายเป็นครั้งแรก โดยได้ ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล ที่เคยทำงานกับแบรนด์ระดับโลกอย่าง Gucci มาออกแบบลวดลายให้ ซึ่งได้นำไปปรินต์ลงไอเท็ม เช่น เสื้อเชิ้ต กางเกงว่ายน้ำของแบรนด์ Timo และกระเป๋า Herschel

The post Style Wrap-Up ความเคลื่อนไหวในวงการแฟชั่น กับโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่น่าจับตามอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/style-wrap-up-28-january-2018/feed/ 0
‘กว่าจะมีวันนี้’ พะยูน และ ออสซี่ นักวาดภาพไทยที่มีผลงานทั่วโลกกับ Gucci https://thestandard.co/gucci-fairytales-by-thai-artist/ https://thestandard.co/gucci-fairytales-by-thai-artist/#respond Thu, 17 Aug 2017 11:32:03 +0000 https://thestandard.co/?p=20922

     ไม่นานมานี้ เรามีโอกาสได้เห็นลายเส้ […]

The post ‘กว่าจะมีวันนี้’ พะยูน และ ออสซี่ นักวาดภาพไทยที่มีผลงานทั่วโลกกับ Gucci appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ไม่นานมานี้ เรามีโอกาสได้เห็นลายเส้นรูปสัตว์หลากหลายชนิดของ พะยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล และเพื่อนคู่หูอย่าง ออสซี่-อรช โชลิตกุล ที่สร้างสรรค์ผลงานหนังสือนิทานให้กับคอลเล็กชันใหม่ของแบรนด์แฟชั่นระดับโลกอย่าง Gucci 

     เพราะเชื่อว่าความงามย่อมมีที่มาและที่ไป เราจึงไปทำความรู้จักกับชีวิตที่สร้างตัวตนและผลงานของ ‘นักวาดภาพประกอบ’ ในแง่มุมที่ลึกซึ้งขึ้นว่า พวกเขาผ่านการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกความรักและความฝันด้านงานศิลปะมาอย่างไร กว่าจะก้าวเป็นศิลปินนักวาดภาพประกอบที่ได้รับการยอมรับด้วยผลงานระดับสากลอย่างทุกวันนี้ ที่สำคัญ ทั้งสองคนไม่ได้มีผลงานที่ทำร่วมกับ Gucci เท่านั้น แต่กำลังมีผลงานใหม่ที่น่าสนใจไม่แพ้กันออกมาในเร็วๆ นี้

 

 

     “จะว่าไป เมื่อก่อนดูการ์ตูนทุกวันเลย

     “ตอนเด็กๆ เอ็นจอยกับสมุดระบายสีลายเซเลอร์มูน แล้วก็ระบายสีแต่หน้าเซเลอร์มาร์ส (ตัวละครจากเซเลอร์มูน)”  

     ‘พะยูน’ เจ้าของลายเส้นที่เราเห็นในผลงานนิทาน The Wonder Factory ภายใต้แฟชั่นเฮาส์ระดับโลกอย่าง Gucci พาย้อนถึงที่มาของความชอบในศิลปะตั้งแต่เด็กๆ ในขณะที่ ‘ออสซี่’ เพื่อนสาวที่มาแต่งเติมลายเส้นคอยช่วยเสริม ทั้งคู่รู้จักกันที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นที่ปรึกษาเรื่องการทำงานมาโดยตลอด

 

ค้นพบศิลปะ ค้นพบเส้นทางที่ใช่

     พะยูน: ความจริงที่บ้านทำธุรกิจเสื้อผ้าอยู่แล้ว ทุกๆ ปิดเทอมจะมีช่างเย็บผ้าจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงานกัน มีอยู่ปีหนึ่งเราได้เจอกับ ‘พี่ใจ’ หน้าที่ของพี่ใจคือติดกระดุมเสื้อเชิ้ตให้แม่ แต่พี่ใจชอบอู้ ไม่ทำงาน ชอบวาดรูปอยู่หน้าจอทีวี และสอนเราวาดรูปด้วย เราเลยเริ่มต้นวาดรูปตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งที่บ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร พอวาดรูปแล้วได้รับคำชม เราก็วาดต่อ พอไปโรงเรียน การวาดรูปเลยกลายเป็นความสามารถพิเศษของเรามาโดยตลอด

     พอใกล้จบมัธยมปลาย จะเข้ามหาวิทยาลัย ตอนนั้นเริ่มไม่รู้แล้ว ที่โรงเรียนก็ไม่มีสอนแนะแนว ไม่มีการแนะนำให้รู้จักกับคณะที่สอนด้านศิลปะเหมือนปัจจุบัน คณะศิลปะอย่างเดียวที่เรารู้จักคือ ‘สถาปัตยกรรม’ แต่พอไปเรียนปุ๊บ เรารู้ตัวเองว่าไม่ชอบการต้องอยู่ในกรอบ จนกระทั่งเพื่อนแนะนำให้รู้จัก ‘นฤมิตศิลป์’ เลยได้ลองติว ในปีแรกทุกคนจะได้เรียนทุกอย่างของศาสตร์นฤมิตศิลป์ ความคิดเริ่มต้นของเราในตอนนั้นคืออยากจะลองเรียนกราฟิก แต่พอได้ทดลองจริงๆ เราพบว่ากราฟิกมันมีเรื่องของ grid มีกรอบทางด้านศิลปะของมันอยู่ ในขณะที่ตอนเรียนแฟชั่น เราได้ประดิษฐ์หมวก เราทำอะไรก็ได้ตามใจ เป็นอินสไปเรชันที่เป็นตัวเราจริงๆ เลยคิดว่านี่แหละที่ตรงและเหมาะกับเรา

     ออสซี่: ออสซี่ชอบศิลปะตั้งแต่เด็กๆ เคยอ่านสารานุกรมที่บอกประวัติบุคคลสำคัญของโลก ตอนนั้นเปิดไปเจอเรื่องราวของ ‘ปิกัสโซ’ แล้วรู้สึกว่า โอ้โห เท่มาก ยิ่งทำให้อินศิลปะเข้าไปอีก

     แต่ช่วงเด็กๆ ถึงช่วงมัธยมต้น ความสนใจเราก็เปลี่ยนไปมาหลายอย่างนะ ทั้งวิทยาศาสตร์ พฤกศาสตร์ ดาราศาสตร์ ตอนเข้า ม.4 เลยเลือกเรียนสายวิทย์ไปก่อน เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ช่วงนั้นอยู่ๆ ก็มีโอกาสไปเรียน School of Arts ที่อเมริกา เลยค้นพบว่าความจริงเราคงชอบแนวนี้ หลังจากกลับมาเลยเลือกติวเข้าสถาปัตย์ฯ แต่สุดท้ายเราเองก็เหมือนพะยูนนะ คือไม่ชอบเส้นตรง เลยเปลี่ยนมาติวเข้านฤมิตศิลป์ ตอนแรกลังเลระหว่าง ‘กราฟิก’ กับ ‘เซรามิก’ แต่ที่ผ่านมาเราวาดรูปที่เป็น ‘สองมิติ’ มาตลอด เลยคิดว่าอยากฝึกสกิล ‘สามมิติ’ ให้ตัวเองด้วย สุดท้ายเลยเลือกเรียนเซรามิก

 

‘อาร์ตแอนด์คราฟต์’ ความแตกต่างที่ได้พื้นฐานจากครอบครัว

     พะยูน: อย่างที่เล่าว่าที่บ้านทำธุรกิจเสื้อผ้า เราเลยมีสกิลที่ได้จากแม่มาตั้งแต่เด็ก เห็นแม่ทำ เราก็อยากทำ อยากเย็บผ้า สนเข็ม หรืออย่างสกิลการใช้กรรไกร พ่อก็เป็นคนสอน ซึ่งเรารู้สึกว่า ‘มันพิเศษ’ ที่เราได้สกิลเหล่านี้มาจากการสอนของพ่อแม่ ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเทรนด์พิมพ์ผ้ามันฮิตมาก แต่เราเลือกที่จะแตกต่างจากคนอื่น เพราะเรามีสกิลเหล่านี้นี่แหละ จะไปจ้างใครทำก็ไม่ได้เหมือนที่ทำเอง เราเลยยึดงานคราฟต์เป็นหลัก

     ออสซี่: แล้วพะยูนเป็นคนขยันด้วย เป็นคนที่มีพลังงานเยอะมากตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว บ้านก็อยู่ไกลมาก ยังจะเย็บปักถักร้อยและวาดรูปอีก ไม่รู้เอาพลังงานมาจากไหน

     พะยูน: คือเรามองว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นงานอดิเรก เพราะเวลาพักของเราคือวาดรูป นั่งปักผ้า มันเลยไม่เหนื่อย ยูนรู้สึกว่างานอะไรที่มันจบด้วยตัวเองได้ อันนั้นแหละคือการพัก แต่งานที่ต้องอาศัยทีม อาศัยการสื่อสาร นั่นคือการทำงานจริงๆ

 

โลกการทำงานจริง ชีวิตจริงที่ต้องเรียนรู้ต่อ

     พะยูน: เราเริ่มทำงานด้านแฟชั่นที่แบรนด์ Kloset ตั้งแต่เรียนจบเลย คือเริ่มจากไปฝึกงาน พอเรียนจบเขาก็ติดต่อให้เข้าไปทำงาน เริ่มจากตำแหน่งดีไซเนอร์ ใช้เวลาประมาณ 7 ปีจนขยับขึ้นเป็นครีเอทีฟไดเรกเตอร์ ซึ่งข้อดีคือเราได้เห็นการทำงานทุกขั้นตอน

     ความฝันของเราในตอนนั้นคืออยากมีแบรนด์เสื้อผ้า ฉะนั้นสิ่งที่อยากรู้คือแบรนด์เสื้อผ้าจริงๆ เขาทำกันยังไง บ้านกับที่ทำงานก็ไกลกันมาก แต่เราก็ไปกลับทุกวัน มีคนถามว่าทำไมเราต้องยอมเดินทางไกลขนาดนั้น คำตอบคือนี่คือสถานที่ทำงานที่เราต้องเข้าไปเรียน ฉะนั้นเราต้องอดทนและเรียนรู้จากที่นั่น

     ช่วงแรกเรายังไม่ได้ออกแบบอะไรมาก แต่พอรับตำแหน่งครีเอทีฟไดเรกเตอร์ เราได้เห็นรูปแบบการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ได้เรียนรู้เรื่องการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และระหว่างนั้นเราก็วาดรูปไปด้วย เพราะอย่างที่บอกว่าการวาดรูปมันคือการพัก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังได้วาดลายผ้าให้กับแบรนด์ ซึ่งความสนุกของมันอยู่ตรงที่เราได้เริ่มต้นสเก็ตช์แบบ วาดแบบ และได้เห็นลายผ้าของจริงในตอนจบ

     ออสซี่: ส่วนเราเรียนจบมาตอนแรกก็มีช่วงที่อยากลองเป็นศิลปินเต็มตัวและรับงานฟรีแลนซ์ด้วย ช่วงนั้นยังไม่เข้าใจระบบว่าถ้าจะเป็นนักวาดรูปเต็มตัวต้องทำยังไง เราเรียนจบด้านดีไซน์มาก็ไม่เหมือน ‘fine art’ (วิจิตรศิลป์) ช่วงนั้นเลยค้นหาตัวเอง กระทั่งช่วงหนึ่งเราไปทำตำแหน่งผู้จัดการที่ Artist Residency ของคนฝรั่งเศสที่อยากสนับสนุนศิลปินไทย ซึ่งเรามองว่ามันเป็นช่องทางให้ได้รู้จักเรื่อง fine art มากขึ้น หลังจากลองทำอยู่สองปีครึ่ง จนกระทั่งรู้สึกว่าตัวเองพร้อมแล้ว เรากล้ามากขึ้น และพอมีประสบการณ์ที่จะออกมาเป็นศิลปินอิสระ ทำงานศิลปะ และจัดนิทรรศการของตัวเอง ตอนนี้เลยกำลังเริ่มทำหนังสือภาพที่เราได้ทั้งวาดรูปและเขียนเรื่องด้วย ซึ่งเราชอบอยู่แล้ว

 

‘โซเชียลมีเดีย’ ก้าวสำคัญของการพิสูจน์ตัวเอง

     พะยูน: ก่อนหน้านี้เราขี้เขิน ขี้อาย ไม่กล้าโพสต์งานของตัวเองลงเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรม เพราะเราไม่กล้ายอมรับว่าอยากให้คนอื่นรู้จักงานของตัวเอง

     ตอนทำงานที่ Kloset ก็เหมือนกัน เราเคยมีความคิดว่าทำไมแบรนด์ถึงไม่โปรโมตเราสักทีนะ ทำงานมาสักพักแล้ว แต่ทำไมถึงยังไม่มีคนรู้จักว่าเราเป็นคนวาด เราเลยไปคุยกับรุ่นพี่ซึ่งเป็นคนติวเราตั้งแต่ ม.ปลาย เราคุยกันถึงเรื่องการทำงาน วิธีคิดของตัวเอง จนได้เรียนรู้ตัวเองจริงๆ ว่าต้องการอะไร

     เราถามรุ่นพี่ว่า ทำงานมาตั้งหลายปี แต่ทำไมถึงไม่มีคนรู้ว่าเราเป็นคนทำงาน รุ่นพี่เลยถามกลับมาว่า จริงๆ แล้วงานที่ทำเนี่ย เราอยากเก็บไว้ดูคนเดียวหรืออยากจะให้คนอื่นเห็น ต้องตอบตัวเองให้ได้ เมื่อตอบได้แล้วก็ต้องทำให้ได้ด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้คำตอบนั้นหายไป  

     ตอนนั้นเราตอบตัวเองว่า โอเค เราอยากให้คนอื่นเห็น และสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดคือ ‘โซเชียลมีเดีย’ เราเลยเริ่มเรียนรู้วิธีเล่นอินสตาแกรม เรียนรู้เรื่องการพิมพ์แฮชแท็กเมื่อปี 2015 นี่เอง

     ประกอบกับเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ตอนนั้นแบรนด์ Gucci เปลี่ยนครีเอทีฟไดเรกเตอร์มาเป็น อเลสซานโดร มิเคเล (Alessandro Michele) เราเองเป็นคนติดตามแฟชั่นอยู่แล้ว พอเห็นคอลเล็กชัน Fall/Winter ของ Gucci ก็ชอบ ทำไมดูโรแมนติก ดูแปลกตาจัง พอมาถึงคอลเล็กชันที่สองคือ Resort ที่ชอบมาก จนรู้สึกอยากวาดรูปเสื้อผ้าในคอลเล็กชันนั้น ซึ่งในวิดีโอแฟชั่นโชว์ตอนจบมันมีแฮชแท็ก #GucciCruiseNYC เราก็เลยวาดรูปและโพสต์ผลงานของตัวเอง พร้อมกับใส่แฮชแท็กนั้นลงไปจนคนของ Gucci มาเจอ เขาเลยส่งข้อความมาหาในอินสตาแกรม เราก็รีบโทรหาออสซี่เลย

     ออสซี่: ตอนนั้นพะยูนกรี๊ดกร๊าด “แก มีคนจาก Gucci ทักมา!” เราก็ถามว่าตัวจริงหรือเปล่า เลยช่วยหาข้อมูลให้ กลัวเพื่อนโดนหลอกเหมือนกัน

 

 

จากโปรเจกต์ที่ได้ร่วมงานกันครั้งแรก Gucci Tian มาถึงงานใหม่ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่ากับ The Wonder Factory หนังสือนิทานในการโปรโมตคอลเล็กชันเครื่องประดับของ Gucci

     ออสซี่: เริ่มต้นจากเราสองคนนัดประชุมกันก่อน เราคุยกันฟุ้งๆ ว่านิทานเล่มนี้เป็นแบบไหนได้บ้าง โจทย์ของเราคืออะไร จากนั้นกำหนดคร่าวๆ ว่าเรื่องจะเกี่ยวกับโรงงานเครื่องประดับนะ แต่เรื่องระหว่างทางเราค่อยๆ ปรับกันไป แล้วเติมรายละเอียดทีหลัง อย่างพะยูนอยากให้ฉากนี้แฟนซีขึ้น เพิ่มความบ้า เพิ่มตัวละครเป็ดแมนดารินได้ไหม จากนั้นก็วาดสตอรีบอร์ดส่งกลับไป หลังจากที่แบรนด์โอเคแล้ว เราก็ทำทั้งภาพและเรื่องไปพร้อมๆ กัน

     ออสซี่: Gucci เลือกพะยูนเพราะชอบงานพะยูนอยู่แล้ว ชอบในฐานะศิลปิน เขาเลยไม่แก้อะไรมาก แล้วเขากำหนดโจทย์มาให้ เราก็คิดเรื่องให้ตอบโจทย์โดยไม่ได้ขายของมากนัก พอส่งกลับไปก็แทบไม่ได้แก้ แค่วาดเพิ่มตามที่เขารีเควสต์สัตว์ 2 ตัว คือเสือดาว และปลาโลมา เพราะเป็นหนึ่งในสินค้าเครื่องประดับของแบรนด์ แล้วก็มีในส่วนที่ต้องวาดเพิ่ม เพราะเขาจะเอาไปทำ window display ให้กับร้านสาขาต่างๆ  

 

 

‘โซเชียลมีเดีย’ ช่องทางสำคัญที่ผลักดันศิลปินหน้าใหม่ให้มีที่ยืนในวงการศิลปะได้ง่ายขึ้น

     พะยูน: ความจริงมันดีนะ โซเชียลมีเดียเป็นโอกาสที่ดีของทุกคน การทำงานเมื่อก่อนเรารู้สึกว่าต้องมีคนช่วย หรือต้องรู้จักกับใคร ถึงจะมีที่ให้เราแสดงงาน แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนมีพื้นที่แสดงงานของตัวเองแล้ว แค่เพียงเราเปิดใจจะใช้ และเรียนรู้ไปกับมัน

     ออสซี่: เป็นโอกาสอันดีนะ คนไทยจะได้สนใจเรื่องศิลปะมากขึ้น ด้วยความที่โซเชียลมีเดียมันกระจายวงกว้างขึ้น มีคนเห็นผลงานหลายกลุ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะกลุ่มเหมือนเมื่อก่อน ถ้ามีคนเริ่มตั้งแต่ในยุคพวกเรา เด็กๆ จะสนใจวงการศิลปะมากขึ้น ผู้ใหญ่หรือหน่วยงานรัฐบาลก็จะสนใจมันมากขึ้น แล้วถ้าเขาจะช่วยสนับสนุน ในวันหนึ่งเราอาจได้รับโอกาสดีๆ และทำให้ประเทศมีจุดขายมากขึ้นไปด้วย อย่างตอนนี้ออสซี่ทำเว็บไซต์อยู่ ส่วนอินสตาแกรมก็เพิ่งทำ @arachacholitgul เมื่อไม่กี่วันนี้เอง ล้าหลังมาก ต้องเรียนรู้ตามพะยูนเหมือนกัน

     พะยูน: ทุกวันนี้เราก็มีฟอลโลเวอร์เยอะขึ้น แล้วก็ได้เจอคนที่ชอบงานเรา ซึ่งมันดีนะคะ มันเป็นกำลังใจให้เราทำงานต่อไปได้อย่างมีความสุข เพราะเรารู้ว่ามีคนที่คอยดูงานเราอยู่นะ แล้วงานของเราบางทีอาจจะช่วยอินสไปร์คนอื่นได้มากขึ้น

 

Photo: @phannapast/Instagram

 

การเป็นที่รู้จัก = ประสบความสำเร็จ?

     พะยูน: เมื่อก่อนไม่กล้าพูดว่า ‘เราอยากเป็นที่รู้จัก’ แต่ด้วยความที่มันเป็นหลักฐานว่างานที่เราทำมันดี มีคนชอบ เราก็เห็นด้วยกับคำพูดนี้นะ ตั้งแต่ตอนที่เราทำอยู่แบรนด์แฟชั่น แล้ววันที่มีสื่อมาสนใจ มีคนเข้ามาหา นั่นแหละคือหลักฐานว่าฉันทำได้ ฉันพร้อมจะก้าวต่อไป ไม่อย่างนั้นเราก็จะกล้าๆ กลัวๆ อย่างที่ผ่านมา

 

ความสำเร็จที่ต้องเดินหน้าต่อ

     พะยูน: เราอาจทำสำเร็จในโปรเจกต์นี้ แต่เรายังอยากจะเดินต่อ ยังมีอีกหลายอย่างที่เราอยากจะทำ มันเป็นนิสัยของเราที่จะมีภาพในหัวคร่าวๆ เอาไว้ก่อนว่า ‘ฉันจะทำแบบนี้นะ แล้วจะจบแบบนี้’ แต่ถ้าระหว่างทางมีอะไร เราก็ทำนะ ถ้าโอกาสเข้ามา เราก็พร้อม

     ตอนนี้เราอยากทำสตูดิโอที่ให้คนเข้ามาดูและเรียนรู้ผลงานเราได้จริงๆ โดยที่ไม่ต้องออกไปไหน อย่างในอินสตาแกรม บางรูปเราตั้งใจเลือกทาตากากเพชร แต่พอสแกนลงคอมพิวเตอร์แล้วมันมองไม่เห็น สุดท้ายถ้าได้ทำสตูดิโอ คนที่เข้ามาดูจะได้เห็นตัวงานจริงของเราชัดๆ

     ออสซี่: ตอนนี้เราก็แอบมีโปรเจกต์ด้วยกันคือทำหนังสือภาพ โดยทั้งออสซี่ และพะยูนจะวาดรูปด้วยกัน แต่ยังเพิ่งเริ่มคุย เป็นแค่ไอเดียคร่าวๆ ซึ่งถ้าเป็นรูปเป็นร่าง เราตั้งใจว่าจะไปเสนอบริษัทต่างๆ หาสปอนเซอร์อีกที เหมือนตอนทำ Gucci ที่เราสนุกกันมาก ฉะนั้นถ้าได้ทำอะไรที่เราสร้างโจทย์เองได้ด้วยก็น่าจะบ้าคลั่งได้มากกว่านี้อีก  

     พะยูน: ที่อยากทำเพราะเราชอบหนังสือ มันสร้างความคิดนะ เล่มแรกๆ ที่เราอ่านคือ ปังปอนด์, มหาสนุก แล้วแม่ก็เริ่มซื้อวรรณกรรมเยาวชนของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ อะไรแบบนี้มาให้อ่าน ทุกวันนี้ก็ยังเก็บไว้อยู่ เราว่าความเป็นหนังสือมันไม่หายไปไหน

 

 

 

การค้นพบลายเส้นของตัวเอง

     พะยูน: ต้องวาดไปเรื่อยๆ เราวาดรูปมาตลอด และการวาดรูปในแต่ละช่วงวัยมันไม่เหมือนกันอยู่แล้ว มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เราก็จะเก็บเล็กผสมน้อย อย่าไปตั้งความหวังว่ากี่ปีมันจะได้ลายเส้นของเรา เมื่อก่อนเราก็เคยสงสัย แต่สุดท้ายมันต้องใช้เวลาจริงๆ เราต้องวาดไปเรื่อยๆ จนถึงวันหนึ่งมันจะรู้จุดเอง

     ออสซี่: ออสซี่ไม่เคยมีปัญหาเรื่องนี้นะ เรามีสไตล์เป็นของตัวเองอยู่แล้ว เหมือนในชีวิตประจำวันเราจะแยกได้เลยว่าอันนี้ชอบ อันนี้ไม่ชอบเพราะอะไร มันเป็นการสะสมสไตล์ของตัวเองไปเรื่อยๆ อันไหนไม่ใช่ก็โยนทิ้งไป

     พะยูน: ใช่ สิ่งนี้เหมือนของสะสม แต่สุดท้ายสำคัญที่สุดคือการทำงาน ต้องทำไปเรื่อยๆ จะได้รู้ว่าเราชอบสไตล์แบบนี้ ไม่ชอบแบบนี้ อินสไปเรชันทั้งหมดเกิดจากการทำงานนี่แหละ เหมือนเป็นการขีดเส้นของเราให้ชัดขึ้นเรื่อยๆ

     

     เชื่อว่าหลายๆ คนที่เปิดอ่านบทสัมภาษณ์นี้ อาจจะเป็นทั้งนักเรียนดีไซน์ นักศึกษาจบใหม่ กราฟิกดีไซเนอร์วัย 30 หรือแม้กระทั่งบุคคลในวงการอื่นๆ ที่สนใจในงานของพวกเธอ น่าดีใจที่คำตอบและเรื่องเล่าของพวกเธอทั้งสองน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่กำลังพยายามเขียนคำจำกัดความของคำว่า ‘ประสบความสำเร็จ’ ในรูปแบบของตัวเองอยู่

     หลังจากพูดคุยกัน เราพบว่าทั้งคู่ไม่ได้มีแค่ความสามารถหรือจังหวะเวลาที่ดีเท่านั้น แต่เบื้องหลังผลงานภาพวาดสัตว์ต่างๆ และเรื่องราวแฟนตาซีที่ถ่ายทอดจินตนาการได้อย่าง ‘เหนือจริง’ แต่ทั้งคู่มีความคิดที่ ‘สมจริง’ มากทีเดียว

     แม้เราจะได้รู้จักกับทั้งคู่ผ่านผลงาน The Wonder Factory และได้พูดคุยกับพวกเธอเพราะผลงานดังกล่าว แต่สิ่งที่พะยูนและออสซี่ถ่ายทอดให้ทั้งเราและผู้อ่าน กลับไม่ใช่ความโชคดีที่ได้ทำงานโปรเจกต์ระดับโลก หรือการเป็นที่ยอมรับจากโลกออนไลน์ แต่มันคือข้อเท็จจริงของชีวิตการทำงาน การเดินทางจากจุดเริ่มต้นที่ไม่ได้ง่ายดายเสมอไป ซึ่งทั้งหมดอยู่ที่การรู้จักจัดการ ‘ชีวิต’ และ ‘ความฝัน’ ให้เดินทางไปด้วยกัน

The post ‘กว่าจะมีวันนี้’ พะยูน และ ออสซี่ นักวาดภาพไทยที่มีผลงานทั่วโลกกับ Gucci appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/gucci-fairytales-by-thai-artist/feed/ 0