พลังงานแสงอาทิตย์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 24 Nov 2024 09:18:19 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 พีระพันธุ์นำกระทรวงพลังงานหาอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ตั้งเป้าจำหน่ายให้ประชาชนในราคาถูกปีหน้า https://thestandard.co/solar-power-equipment-cheap-price-2024/ Sun, 24 Nov 2024 09:18:19 +0000 https://thestandard.co/?p=1012256

วันนี้ (24 พฤศจิกายน) ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำ […]

The post พีระพันธุ์นำกระทรวงพลังงานหาอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ตั้งเป้าจำหน่ายให้ประชาชนในราคาถูกปีหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (24 พฤศจิกายน) ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับการลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน โดยกระทรวงพลังงานภายใต้การนำของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ขับเคลื่อนนโยบายเดินหน้าปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หรือโซลาร์รูฟให้สะดวกรวดเร็วขึ้น และจัดหาอุปกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่ประชาชนในราคาถูก

 

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานพยายามตรึงค่าไฟไว้ที่ระดับ 4.18 บาท แต่ปัญหาค่าไฟยังเป็นภาระของพี่น้องประชาชนอยู่ จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คือการปรับปรุงกฎหมายและการจัดหาอุปกรณ์ระบบโซลาร์ราคาถูก ซึ่งเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่สามารถประหยัดค่าไฟของประชาชนได้

 

ขณะนี้คณะทำงานของกระทรวงพลังงาน ภายใต้การนำของของพีระพันธุ์ ได้ผลิตต้นแบบของเครื่องอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำเร็จแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพ ความเสถียร และความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวครบชุดเพื่อจำหน่ายให้กับพี่น้องประชาชนได้ในปี 2568

 

“อุปกรณ์ต้นแบบเครื่องอินเวอร์เตอร์สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายในราคาต่ำกว่าท้องตลาด เป็นนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชน รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน ภายใต้การนำของพีระพันธุ์ มีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และมีแผนที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับประชาชนในราคาถูก เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากปัญหาค่าไฟแพง” ศศิกานต์กล่าว

The post พีระพันธุ์นำกระทรวงพลังงานหาอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ตั้งเป้าจำหน่ายให้ประชาชนในราคาถูกปีหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไมการผลิตไฟฟ้า ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ ของชาวบ้านจึงไม่ไปถึงไหน https://thestandard.co/thai-solar-energy-production-obstacles/ Tue, 19 Nov 2024 02:53:08 +0000 https://thestandard.co/?p=1010205 พลังงานแสงอาทิตย์

​ลองจินตนาการดูว่าหากรัฐบาลส่งเสริมอย่างจริงจังให้อาคาร […]

The post ทำไมการผลิตไฟฟ้า ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ ของชาวบ้านจึงไม่ไปถึงไหน appeared first on THE STANDARD.

]]>
พลังงานแสงอาทิตย์

​ลองจินตนาการดูว่าหากรัฐบาลส่งเสริมอย่างจริงจังให้อาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ติด Solar Rooftop หรือผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาไว้ใช้เอง และหากผลิตไฟฟ้าเหลือช่วงกลางวันก็สามารถขายคืนให้การไฟฟ้าได้ อะไรจะเกิดขึ้น

 

  1. เราจะมีไฟฟ้าใช้จากแหล่งพลังงานที่สะอาด ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน ไม่ต้องลงทุนหลายพันล้านบาทสร้างโรงผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง รวมถึงการไปซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนของประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงมหาศาล

 

  1. ค่า Ft (Fuel Adjustment Charge (at the given time)) ลดลง ค่า Ft ซึ่งเป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนหรือประเทศเพื่อนบ้านที่แต่ละบ้านต้องจ่ายเพิ่มขึ้นตลอด อาจจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

  1. ทุกวันนี้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ต่ำลงเรื่อยๆ ตามเทคโนโลยีใหม่ๆ และกำลังต่ำกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลและพลังน้ำจากเขื่อน

 

  1. เป็นการลดการผูกขาดพลังงานไฟฟ้าของรายใหญ่ให้ลดลงและกระจายไปสู่ประชาชนให้มีส่วนในการผลิตไฟฟ้า

 

ในต่างประเทศ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตอย่างรวดเร็ว จีนแซงหน้าประเทศอื่นๆ มากในด้านการขยายพลังงานแสงอาทิตย์ โดยขณะนี้มีกำลังการผลิตติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์รวม 609,921 เมกะวัตต์ ในจำนวนนี้ผลิตมาจาก Solar Rooftop 225,000 เมกะวัตต์ ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา 139,205 เมกะวัตต์ ญี่ปุ่น 87,068 เมกะวัตต์ เยอรมนี 81,739 เมกะวัตต์ และอินเดีย 73,109 เมกะวัตต์

 

ที่น่าประหลาดใจคือประเทศเวียดนามกลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แบบก้าวกระโดดขึ้นมาอันดับ 13 ของโลก ด้วยกำลังการผลิต 17,077 เมกะวัตต์ ในจำนวนนี้ผลิตมาจาก Solar Rooftop เป็นประวัติการณ์ที่ 9,000 เมกะวัตต์

 

หันกลับมาที่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2565 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 53,336 เมกะวัตต์ ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นโซลาร์เซลล์ 3,135 เมกะวัตต์ เกือบทั้งหมดเป็นโรงผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ และมาจากโครงการโซลาร์บนหลังคาชาวบ้าน Solar Rooftop แค่ 11 เมกะวัตต์

 

​ทำไมการผลิตไฟฟ้า Solar Rooftop ในประเทศไทยถึงต่ำเตี้ยได้ขนาดนี้ อาจจะด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ

 

​1. รัฐบาลยังไม่ยอมใช้ระบบ NET METERING คือระบบหักลบกลบหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ตามจริงจากการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์หักลบกับไฟที่ใช้จากการไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ไฟจะจ่ายค่าไฟตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่หักลบกันแล้ว อาทิ บ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้า 5,000 หน่วย แต่ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้ 2,000 หน่วย ใช้ไฟฟ้าจากข้างนอก 3,000 หน่วย พอหักลบกันแล้วเจ้าของบ้านจะจ่ายค่าไฟเดือนละ 3,000 หน่วย

 

​ปัจจุบันการคิดค่าไฟของประเทศไทยยังเป็นแบบ Bill Metering คือการคิดแยกระหว่างค่าซื้อไฟจากการไฟฟ้ากับค่าขายไฟคืนการไฟฟ้า แล้วจึงนำเงินค่าขายไฟคืนมาหักลบกัน เช่น ปกติใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 5,000 หน่วย ผลิตไฟจากโซลาร์เซลล์ได้ 2,000 หน่วย นำมาใช้ในบ้านเพียง 1,500 หน่วย อีก 500 หน่วยขายคืนการไฟฟ้าในเรต 2.20 บาทต่อหน่วย เป็นเงิน 1,100 บาท และในเวลาที่โซลาร์เซลล์ผลิตไฟไม่ได้ เช่น เวลากลางคืน เราก็ใช้ไฟจากการไฟฟ้า 3,500 หน่วย คิดเป็นเงิน 13,965 บาท ลบจากที่ขายไฟคืนการไฟฟ้า 1,100 บาท เป็นเงิน 12,865 บาท ซึ่งเป็นวิธีที่จ่ายเงินค่าไฟมากกว่าแบบ NET METERING

 

​หลายภาคส่วนจึงสนับสนุนให้ประเทศไทยใช้ระบบการคิดค่าไฟแบบ NET METERING เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และอีกหลายประเทศ แม้แต่พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลก็พูดหาเสียงไว้ว่าจะสนับสนุน NET METERING แต่ปัจจุบันก็ยังเหมือนเดิม

 

  1. ราคารับซื้อไฟฟ้าคืนจากทางการราคาต่ำ คือรับซื้อจากชาวบ้านหน่วยละ 2.20 บาท ขณะที่คิดราคาค่าไฟฟ้าจากชาวบ้านหน่วยละ 4 บาท และระยะเวลารับซื้อคืนก็สั้นเพียง 10 ปี แต่ถ้าเป็นโรงผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มให้เวลาถึง 25 ปี

 

  1. มีกฎระเบียบยุ่งยากมากในการขออนุญาตติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคา

 

  1. ไม่มีมาตรการทางการเงินสนับสนุน อาทิ แหล่งเงินกู้ เพราะแม้ว่าราคาของแผงโซลาร์จะลดลงมาก แต่ก็ยังสูงอยู่ในสายตาของคนทั่วไป

 

แต่ในขณะเดียวกัน ที่เมืองนอกประสบความสำเร็จในการให้ประชาชนผลิต Solar Rooftop เพราะรัฐบาลมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวและสนใจในเรื่องนี้ ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนด้านนโยบายและกฎระเบียบ กลไกทางการเงินที่หลากหลายและตรงเป้าหมาย โมเดลธุรกิจที่เป็นนวัตกรรม และการสนับสนุนจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่นำไปสู่การลดต้นทุนของแผงเซลล์แสงอาทิตย์

 

ตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ เปิดให้ประชาชนร่วมผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองภายในครัวเรือนหรือกิจการต่างๆ โดยให้เจ้าของบ้านติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เพื่อให้ประชาชนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าเอง

 

​ประเทศเกาหลีใต้ ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองและสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่นได้

 

ประเทศเบลเยียม เจ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าสามารถทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ใกล้เคียงโดยตรง แม้ว่าจะเป็นลูกค้าของการไฟฟ้าแล้วก็ตาม

 

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP) ตั้งเป้าว่าในปี พ.ศ. 2580 จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ 16% หรือประมาณ 8,000 เมกะวัตต์ ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะมาจากการประมูลของบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเดิมๆ มากกว่าการกระจายการผลิตไฟฟ้าไปสู่ครัวเรือน

 

ตราบใดก็ตามที่รัฐบาลไม่เห็นประโยชน์ของประชาชนมาก่อนเรื่องอื่น เราจะไม่มีทางเห็นรัฐบาลผลักดันส่งเสริมการผลิต Solar Rooftop ในระดับครัวเรือนนอกจากลมปากคำสัญญาก่อนหาเสียงเลือกตั้ง

 

อ้างอิง:

The post ทำไมการผลิตไฟฟ้า ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ ของชาวบ้านจึงไม่ไปถึงไหน appeared first on THE STANDARD.

]]>
แผน PDP 2024 ยังไม่สะเด็ดน้ำ! ราคาค่าไฟไม่ใช่ 3.80 บาท/หน่วย รัฐบาลยังแบกหนี้ กฟผ. อยู่กว่าแสนล้าน https://thestandard.co/pdp-2024-plan-is-still-being-revised/ Mon, 17 Jun 2024 11:47:38 +0000 https://thestandard.co/?p=946199

พลังงานเผยแผน PDP 2024 ยังไม่นิ่ง! ปลัดพลังงานย้ำ รับฟั […]

The post แผน PDP 2024 ยังไม่สะเด็ดน้ำ! ราคาค่าไฟไม่ใช่ 3.80 บาท/หน่วย รัฐบาลยังแบกหนี้ กฟผ. อยู่กว่าแสนล้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>

พลังงานเผยแผน PDP 2024 ยังไม่นิ่ง! ปลัดพลังงานย้ำ รับฟังทุกภาคส่วน หวังเพิ่มพลังงานหมุนเวียนลดคาร์บอน ปรับแผนเพิ่มโซลาร์ใหม่เป็น 10,000 เมกะวัตต์แรกให้เร็วขึ้นเป็นภายในปี 2573 ยืนยันก๊าซธรรมชาติยังเป็นเชื้อเพลิงหลัก ยังไม่เคาะราคาค่าไฟที่ 3.80 บาทต่อหน่วย เหตุต้องคืนหนี้ กฟผ. อีก30 สตางค์ต่อหน่วย ยังแบกหนี้ กฟผ. อยู่กว่าแสนล้านบาท

 

พร้อมย้ำว่าเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานไปแล้ว ส่วนในระยะต่อไปจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน ก่อนที่จะนำความเห็นทั้งหมดมาพิจารณา โดยคาดว่าจะประกาศใช้เดือนกันยายน 2567

 

วันนี้ (17 มิถุนายน) ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (PDP 2024) ว่าขณะนี้กระทรวงพลังงานยังอยู่ในระหว่างจัดทำแผน ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้รับฟังความคิดเห็นต่อแผนจากภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจพลังงาน

 

ในระยะต่อไปจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนก่อนที่จะนำความเห็นทั้งหมดมาพิจารณาปรับปรุงเป็นแผน PDP 2024 ฉบับสมบูรณ์ และเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาต่อไป

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ประเสริฐระบุว่า การจัดทำแผน PDP 2024 จะมุ่งเน้นตอบโจทย์ในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ไทยประกาศเป้าหมายในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) โดยมีเป้าหมายในการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2608 รวมทั้งพิจารณาถึงเป้าหมาย 40% ของแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573 (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021- 2030: NDC)

 

เร่งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์

 

ดังนั้นแผน PDP 2024 ที่จะประกาศใช้จะกำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น เช่น เร่งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่จากเดิมที่กำหนดให้เข้าระบบรวม 24,000 เมกะวัตต์หลังปี 2573 ให้เร็วขึ้น

 

ปรับเป็นให้มีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่เข้าระบบ 10,000 เมกะวัตต์แรกก่อนปี 2573 ส่วนที่เหลืออีก 14,000 เมกะวัตต์จะเข้าระบบหลังปี 2573 เป็นต้นไป เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้

 

นอกจากลดการปล่อยคาร์บอนได้ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นยังช่วยให้ค่าไฟฟ้าของไทยมีราคาคงที่ไม่ผันผวน เนื่องจากไม่มีปัจจัยความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงตามตลาดโลก การเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงไม่ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าในอนาคต

 

ประเสริฐย้ำว่า จะพิจารณาปัจจัยเรื่องของการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แผน PDP 2024 จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญอื่นๆ ได้แก่ โอกาสการเกิดไฟฟ้าดับ โดยพิจารณาจากเกณฑ์ ‘LOLE’ โดยมีมาตรฐานว่าไฟฟ้าจะดับได้ไม่เกิน 0.7 วันต่อปี

 

หมายความว่า “แม้จะส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น แต่กระทรวงพลังงานก็ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าด้วย โดยการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติยังถือว่าเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ”

 

ลุ้นผลิตก๊าซจากแหล่งเอราวัณเพิ่ม 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ช่วยลดค่าไฟและลดการนำเข้า

 

ส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่ใช้แหล่งเชื้อเพลิงภายในประเทศจะกลับมาเป็นปกติ หลังจากแหล่งก๊าซเอราวัณสามารถเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติจนกลับมาอยู่ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันได้ จะช่วยทำให้ค่าไฟฟ้าในประเทศคงที่ ไม่ผันผวนไปตามราคาต้นทุนเชื้อเพลิงที่มาจากการนำเข้าก๊าซ LNG เหมือนที่ผ่านมา

 

ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นก็จริงแต่ ยึดใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก

 

แม้แผน PDP 2024 จะมุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น แต่ก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากในช่วงที่พลังงานหมุนเวียนต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เนื่องจากธรรมชาติไม่เอื้ออำนวย

 

“เชื้อเพลิงที่ดีที่สุดก็ยังคงเป็นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่สร้างความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้า ซึ่งในต่างประเทศก็ใช้แนวทางนี้เช่นกัน เพราะเป็นการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากฟอสซิลไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนเต็มที่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าทั้งจากก๊าซธรรมชาติและการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงหมุนเวียนควบคู่กันไป”

 

ยังไม่เคาะราคาค่าไฟ หวั่นหนี้คงค้าง กฟผ. แสนล้านบาทอ่วม

 

ปลัดกระทรวงพลังงานระบุอีกว่า จากกระแสข่าวที่ว่าค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดแผน PDP 2024 จะอยู่ที่ 3.80 บาทต่อหน่วยนั้น ในเรื่องนี้ยังไม่สามารถที่จะสรุปอัตราค่าไฟฟ้าเช่นนั้นได้ เนื่องจากในส่วนของการคำนวณค่าไฟฟ้านั้นยังจะต้องมีการรวมหนี้ภาระค่าไฟคงค้างประมาณ 1 แสนล้านบาท ที่จะทยอยคืนให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประมาณ 30 สตางค์ต่อหน่วยผ่าน Ft ด้วย จึงขอให้รอการประกาศค่าไฟฟ้าในแต่ละงวดที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นผู้ประกาศให้ทราบเป็นระยะๆ

 

ย้อนฟังเสียงสะท้อนภาคเอกชนและประชาชน

 

รายงานข่าวระบุว่า สัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานเปิดรับฟังความเห็นภาคเอกชน ที่มีทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และตัวแทนจากบริษัทด้านพลังงาน

 

โดยเวทีเสวนามีความคิดเห็นในหลายประเด็น โดยเฉพาะมุมมองกรณีการกำหนดสัดส่วนการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และภาคเอกชนที่ยังไม่มีความชัดเจน รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่อาจสูงเกินไป ซึ่งควรอยู่ที่ 3.50 บาทต่อหน่วย

 

อีกทั้งร่างแผน PDP 2024 นั้นหากจะใช้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงเกินไปหรือไม่ ซึ่งส่งผลต่อการคำนวณจำนวนโรงไฟฟ้าที่มากขึ้น และทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น รวมถึงกังวลว่าได้จัดทำแผน PDP 2024 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้พิจารณาสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของภาครัฐและเอกชนอย่างเหมาะสมหรือไม่

 

รวมไปถึงรายละเอียดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) ก็ยังไม่ชัดเจน

 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แผนยังไม่นิ่ง ต้องทำประชาพิจารณ์ให้ครบทุกมิติก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.), คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตามลำดับต่อไป คาดว่าจะประกาศใช้แผน PDP 2024 ได้ภายในเดือนกันยายน 2567

The post แผน PDP 2024 ยังไม่สะเด็ดน้ำ! ราคาค่าไฟไม่ใช่ 3.80 บาท/หน่วย รัฐบาลยังแบกหนี้ กฟผ. อยู่กว่าแสนล้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปีแห่งพลังงานสะอาด: ลม พลังงานแสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่มีการเติบโต แม้จะพบเจอความท้าทายทางเศรษฐกิจ https://thestandard.co/clean-energy-in-2023/ Thu, 28 Dec 2023 05:22:30 +0000 https://thestandard.co/?p=882089 พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และ แบตเตอรี่

ในปี 2566 โลกได้เห็นการเติบโตอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการใช […]

The post ปีแห่งพลังงานสะอาด: ลม พลังงานแสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่มีการเติบโต แม้จะพบเจอความท้าทายทางเศรษฐกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และ แบตเตอรี่

ในปี 2566 โลกได้เห็นการเติบโตอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการใช้พลังงานหมุนเวียน นำโดยพลังงานแสงอาทิตย์ การเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ หากสามารถรักษาไว้ได้จะช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และบรรเทาผลกระทบที่รุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

 

หนึ่งในปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการขยายตัวนี้คือความคุ้มค่าของพลังงานสะอาด ซึ่งตอนนี้มักเป็นทางเลือกที่ถูกที่สุด นโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะในการตอบสนองต่อความกังวลด้านความมั่นคงทางพลังงาน ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน 

 

ตามรายงานโดย International Energy Agency (IEA) แม้จะมีอุปสรรคเช่นอัตราดอกเบี้ยที่สูง และปัญหาการจัดหาวัสดุและส่วนประกอบในหลายพื้นที่ แต่ IEA คาดการณ์ว่าจะมีพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นมากกว่า 440 กิกะวัตต์ในปี 2566 ซึ่งมากกว่ากำลังการผลิตพลังงานที่ติดตั้งทั้งหมดของเยอรมนีและสเปนรวมกัน

 

ปีที่น่าทึ่งของพลังงานแสงอาทิตย์

 

จีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา แต่ละแห่งได้บันทึกสถิติการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่สูงที่สุดในหนึ่งปี ตามที่ International Renewable Energy Agency (IRENA) รายงาน การเพิ่มขึ้นของจีนมีมากที่สุด โดยมีการประเมินว่าระหว่าง 180 ถึง 230 กิกะวัตต์ ยุโรปเพิ่มขึ้น 58 กิกะวัตต์ น่าทึ่งที่พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดในหลายประเทศ โดยราคาแผงโซลาร์เซลล์ในยุโรปลดลง 40-53% ภายในหนึ่งปี

 

ไมเคิล เทย์เลอร์ นักวิเคราะห์อาวุโสที่ IRENA ได้เน้นถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของพลังงานแสงอาทิตย์ในยุโรป จนถึงสิ้นปี 2566 คาดว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะแซงหน้าพลังงานน้ำในด้านกำลังการผลิตทั่วโลก แม้ว่าพลังงานน้ำจะยังคงผลิตไฟฟ้าสะอาดได้มากกว่าเป็นเวลานาน เนื่องจากสามารถผลิตได้ตลอดเวลา

 

ในสหรัฐอเมริกา แคลิฟอร์เนียยังคงเป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ตามด้วยเท็กซัส, ฟลอริดา, นอร์ทแคโรไลนา และแอริโซนา ทั้งแรงจูงใจของรัฐและรัฐบาลกลางมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเติบโตของพลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐอเมริกา ตามที่แดเนียล เบรสเซตต์ จาก Environmental and Energy Study Institute กล่าว ความท้าทายเช่นการขาดแคลนหม้อแปลงและอัตราดอกเบี้ยที่สูงได้สร้างอุปสรรคขึ้น

 

ผลลัพธ์ที่หลากหลายของพลังงานลม

 

พลังงานลมก็มีปีที่ทำสถิติเช่นกัน โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นทั่วโลกเพียงพอที่จะจ่ายไฟให้กับบ้านเกือบ 80 ล้านหลัง จีนครองการเติบโตนี้ โดยตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตแผงโซลาร์เซลล์และพลังงานลมขนาดใหญ่ 1,200 กิกะวัตต์ เพื่อให้เสร็จสิ้นก่อนกำหนด 5 ปี หากโครงการที่วางแผนไว้ทั้งหมดได้รับการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ยุโรปเห็นการลดลงของการติดตั้ง 6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

 

ความท้าทายในระยะสั้น เช่น อัตราเงินเฟ้อและต้นทุนวัสดุ ส่งผลกระทบต่อโครงการลมบางโครงการ โดยเฉพาะการพัฒนานอกชายฝั่งในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม American Clean Power คาดว่าจะเห็นการเพิ่มพลังงานลมบนบกจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาภายในสิ้นปีนี้

 

ความรุ่งเรืองในเทคโนโลยีแบตเตอรี่

 

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้าเร่งตัวขึ้นในปี 2566 โดยคาดว่ารถยนต์ 1 ใน 5 ที่ขายได้จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้นำไปสู่การลงทุนจำนวนมากในการผลิตและการรีไซเคิลแบตเตอรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับแรงหนุนจากพระราชบัญญัติลดเงินเฟ้อ

 

สหรัฐฯ และยุโรปกำลังเร่งก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ แต่จีนเป็นผู้นำด้วยโครงการ 295 โครงการ และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่กำลังสำรวจวิธีการผลิตและการรีไซเคิลที่ยั่งยืนอีกด้วย ต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง รวมถึงลิเธียม แสดงให้เห็นว่ารถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่แพงจะมีมากขึ้น

 

แม้จะมีความก้าวหน้า แต่อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนและแบตเตอรี่ก็เผชิญกับความท้าทาย เช่น การจัดหาพลังงาน การได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความสามารถ การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัย และความต้องการห่วงโซ่อุปทานที่รับผิดชอบและโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังคงมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการเติบโตในอนาคตของภาคส่วนเหล่านี้ทั่วโลก

 

โดยสรุป ปี 2566 ถือเป็นปีสำคัญของพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม รวมถึงเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น

 

อ้างอิง:

The post ปีแห่งพลังงานสะอาด: ลม พลังงานแสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่มีการเติบโต แม้จะพบเจอความท้าทายทางเศรษฐกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
GULF เซ็นสัญญาระยะยาว 25 ปี ขายไฟฟ้าโซลาร์ให้ กฟผ. เพิ่มอีก 12 โครงการ กำลังผลิตรวม 644.8 เมกะวัตต์ https://thestandard.co/gulf-solar-farms-2/ Thu, 21 Dec 2023 03:52:58 +0000 https://thestandard.co/?p=879322

ยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเ […]

The post GULF เซ็นสัญญาระยะยาว 25 ปี ขายไฟฟ้าโซลาร์ให้ กฟผ. เพิ่มอีก 12 โครงการ กำลังผลิตรวม 644.8 เมกะวัตต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farms) และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar Farms with Battery Energy Storage Systems) จำนวนรวม 12 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 649.3 เมกะวัตต์ และมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ระหว่างปี 2567-2568 นั้น

 

บริษัทฯ ขอแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 กลุ่มบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท กัลฟ์ รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์จี จำกัด ในสัดส่วน 100% ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติมกับ กฟผ. เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 5 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 259.6 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน จำนวน 7 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 385.2 เมกะวัตต์ รวมทั้งสิ้น 12 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวมทั้งสิ้น 644.8 เมกะวัตต์ โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. มีระยะเวลา 25 ปี และโครงการดังกล่าวมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่างปี 2569-2572 โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

 

ทั้งนี้ ในปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยที่ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. ไปแล้วทั้งสิ้น 24 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 1,294.1 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 13 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 652.9 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน จำนวน 11โครงการ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 641.2 เมกะวัตต์ ซึ่งมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่างปี 2567-2572 โดยโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน มีอัตราจำหน่ายไฟฟ้าในรูปแบบ FiT ที่ 2.1679 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง และ 2.8331 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ตามลำดับ

 

ขณะที่ตลอดอายุสัญญาซึ่งการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ จะช่วยลดความผันผวนจากราคาเชื้อเพลิง และเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมให้ได้ใช้ไฟฟ้าในราคาที่ต่ำตลอดอายุสัญญา เนื่องจากโครงการฯ มีต้นทุนผลิตไฟฟ้าที่ต่ำกว่าราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในปัจจุบัน

 

โดยการพัฒนาโครงการดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามแผนของบริษัทฯ ที่จะมุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้ไม่ต่ำกว่า 40% ภายในปี 2578 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประเทศที่มุ่งผลักดันการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดเพื่อเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยบริษัทฯ มีแผนการขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมในการพัฒนาโครงการดังกล่าว บริษัทฯ จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป

The post GULF เซ็นสัญญาระยะยาว 25 ปี ขายไฟฟ้าโซลาร์ให้ กฟผ. เพิ่มอีก 12 โครงการ กำลังผลิตรวม 644.8 เมกะวัตต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บีซีพีจี ลุยขายโรงไฟฟ้าโซลาร์ในญี่ปุ่น 9 โครงการ ขนาดรวม 117 เมกะวัตต์ มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดปิดดีลต้นปี 67 https://thestandard.co/bcpg-sell-solar-power-plants-in-japan/ Mon, 04 Dec 2023 07:17:48 +0000 https://thestandard.co/?p=873173

บมจ.บีซีพีจี เซ็นสัญญาขายโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มในปร […]

The post บีซีพีจี ลุยขายโรงไฟฟ้าโซลาร์ในญี่ปุ่น 9 โครงการ ขนาดรวม 117 เมกะวัตต์ มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดปิดดีลต้นปี 67 appeared first on THE STANDARD.

]]>

บมจ.บีซีพีจี เซ็นสัญญาขายโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มในประเทศญี่ปุ่นทั้ง 9 โครงการ มูลค่าการซื้อ-ขายรวม 10,377 ล้านบาท หวังรีไซเคิลเงินลงทุน นำเงินสดที่ได้ไปต่อยอดพัฒนาโครงการอื่นๆ ในอนาคต

 

นิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บีซีพีจี หรือ BCPG แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทได้ขายเงินลงทุนทั้งหมดในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์) ในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด 9 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 117 เมกะวัตต์ รวมถึงบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่นซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการบริหารจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) และให้บริการเดินเครื่องและบำรุงรักษา (Operation & Maintenance) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัท โดยการจำหน่ายไปซึ่งหุ้นสามัญในบริษัทย่อยและเงินลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมดรวมมูลค่าซื้อ-ขาย 42,970 ล้านเยน หรือ 10,377 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยส่วนของมูลค่าหุ้น 6,935 ล้านบาท และส่วนของหนี้สินเงินกู้โครงการสุทธิ 3,442 ล้านบาท 

 

เบื้องต้นบริษัทได้ลงนามสัญญาซื้อ-ขายหุ้นกับกลุ่ม Obton ซึ่งเป็นบริษัทไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่จากยุโรป เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา และมั่นใจว่าธุรกรรมการซื้อ-ขายหุ้นดังกล่าวจะสำเร็จลุล่วงภายในไตรมาส 1/2567

 

การจำหน่ายสินทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่นเป็นไปตามแผนการดำเนินธุรกิจระยะยาวของบริษัทในการเข้าพัฒนาโรงไฟฟ้าตั้งแต่ก่อนการก่อสร้างจนกระทั่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ แล้วทำการจำหน่ายให้แก่นักลงทุนที่ต้องการกระแสเงินสดที่มั่นคง เพื่อสร้างโอกาสทำกำไรสูงสุด 

 

โดยบริษัทได้เริ่มลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วเพียง 13 เมกะวัตต์ ณ ขณะนั้น และต่อมาบริษัทได้พัฒนาและก่อสร้างโครงการเพิ่มเติมอีก 132 เมกะวัตต์ รวมถึงได้ขายโครงการ 2 โครงการ รวมจำนวน 28 เมกะวัตต์ ไปในปี 2561 ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 117 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วจำนวน 104 เมกะวัตต์ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 13 เมกะวัตต์

 

โครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโครงการโรงไฟฟ้าที่มีคุณภาพ สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกหลายรายที่ต้องการลงทุน

 

สำหรับการจำหน่ายโครงการทั้งหมดในญี่ปุ่น รวมถึงบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบราคาขายกับต้นทุนทางบัญชีคาดว่าจะทำให้มีส่วนต่างกว่า 2,300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนที่จะนำกระแสเงินสดจากการจำหน่ายโครงการดังกล่าวกลับมาใช้รองรับโครงการลงทุนใหม่ๆ เป็นการเพิ่มศักยภาพในการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

“โครงการของบีซีพีจีและแพลตฟอร์มการบริหารจัดการโครงการในญี่ปุ่นได้รับความสนใจจากนักลงทุนระดับโลกหลายรายในการเสนอซื้อสินทรัพย์ เป็นการตอกย้ำว่าโครงการต่างๆ ของบริษัทได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการในมาตรฐาน World Class รวมถึงยังสามารถสรรหาและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ มีระบบการบริหารจัดการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล” นิวัติกล่าว

The post บีซีพีจี ลุยขายโรงไฟฟ้าโซลาร์ในญี่ปุ่น 9 โครงการ ขนาดรวม 117 เมกะวัตต์ มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดปิดดีลต้นปี 67 appeared first on THE STANDARD.

]]>
กกพ. พร้อมส่งเสริมการใช้โซลาร์เซลล์ ปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวก https://thestandard.co/erc-support-solar-cell/ Thu, 30 Nov 2023 02:00:21 +0000 https://thestandard.co/?p=870865 กกพ.

กระแสความนิยมของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านอยู […]

The post กกพ. พร้อมส่งเสริมการใช้โซลาร์เซลล์ ปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวก appeared first on THE STANDARD.

]]>
กกพ.

กระแสความนิยมของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านอยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม สถานศึกษา โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ และสถานที่อื่นๆ มีมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งปัญหาค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น ทำให้บ้านอยู่อาศัยและภาคธุรกิจต้องจ่ายเงินค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้กลุ่มธุรกิจโรงงานและประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าเห็นถึงความสำคัญของการลดค่าไฟ มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่าแผงโซลาร์เซลล์ที่ราคาถูกลงกว่าในอดีต จากราคากว่า 100 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ เหลือเพียง 20-25 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ และภาคอุตสาหกรรมยังเผชิญปัญหากระแสโลกร้อนที่หลายประเทศเริ่มใช้มาตรการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าที่ผลิตจากกระบวนการผลิตที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันที่มากขึ้นอาจมาจากสังคมผู้สูงวัยที่มีคนอยู่บ้านในช่วงเวลากลางวันมากขึ้น รวมถึงกลุ่มคนที่ทำงานที่บ้านมากขึ้น และในปัจจุบันรัฐบาลก็ได้มีการส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างธุรกิจสีเขียว การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของประชาชน ตลอดจนการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อนตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี 2573 และเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2611 ตามความตกลง COP26 ปัจจุบันมีผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์บนหลังคา ซึ่งมีกฎ ระเบียบ และกติกาที่จะต้องดำเนินการ โดยเฉพาะจะต้องมีการขอใบอนุญาตต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งมีทั้งส่วนที่ติดตั้งไว้ใช้เอง และติดตั้งไว้เพื่อจำหน่าย

 

ที่ผ่านมาขั้นตอนการขอใบอนุญาตสำหรับการขอติดตั้งโซลาร์เซลล์มักจะใช้ระยะเวลานาน เนื่องจากต้องยื่นขอผ่านหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า กกพ. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานอนุญาตที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาและขั้นตอนการอนุญาตให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น 

 

โดยจะนำระบบดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพ และได้มีการสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกติกาและหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจการพลังงานต่อผู้ประกอบกิจการพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง และได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริการ เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการพลังงานเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการให้บริการ การสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ตลอดจนการติดตามตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

 

“ที่ผ่านมาการขอติดตั้งโซลาร์รูฟอาจใช้ระยะเวลาที่ยืดเยื้อด้วยปัจจัยหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม การขอติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เองสำหรับบ้านอยู่อาศัยเข้าข่ายเป็นการแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ซึ่งสำนักงาน กกพ. มีการปรับปรุงขั้นตอนให้รวดเร็วขึ้น โดยมีการทำระบบออนไลน์มาใช้มากขึ้นเพื่อลดขั้นตอนที่เคยประกาศ จากเดิมการขอติดตั้งขนาดเล็กสำหรับประชาชนทั่วไปจะต้องแล้วเสร็จใน 1 เดือน และหากเกิน 200 กิโลวัตต์จะต้องเร็วขึ้นกว่า 2 เดือน แต่อาจจะล่าช้าตรงที่ต้องให้การไฟฟ้าฯ จัดคิวตรวจระบบไฟฟ้า ส่วนกลุ่มโรงงาน หรือธุรกิจที่มีจำนวนกิโลวัตต์มากกว่า 1,000 กิโลโวลท์แอมป์ (kVA) จะต้องใช้เวลาในการเริ่มต้นขอใบอนุญาต ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงปรับปรุง” คมกฤชกล่าว

 

กกพ.

 

ก่อนหน้านี้ สำนักงาน กกพ. ได้เปิดเวทีสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การอนุญาตสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในขั้นตอนการขออนุญาต การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบครบวงจร ครั้งที่ 1 สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานและสมาคมธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 

 

และครั้งที่ 2 สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ผู้ให้บริการ หรือผู้สนใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ครั้งละกว่า 350 คน พร้อมเปิดคลินิกไขทุกปัญหา และให้คำปรึกษาการขอติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบกิจการพลังงานในการปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหมาะสม เพื่อให้การประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าของทุกภาคส่วนดำเนินไปได้อย่างราบรื่น มีเสถียรภาพ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศโดยรวมต่อไป

 

ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันระหว่างสำนักงาน กกพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการกำกับดูแล กับผู้ประกอบกิจการพลังงาน หน่วยงานภาครัฐ สมาคมธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนที่สนใจโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากปัจจุบันมีภาคประชาชนและผู้ประกอบกิจการพลังงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีรูปแบบการพัฒนาธุรกิจที่ซับซ้อน 

 

ดังนั้น สำนักงาน กกพ. จึงได้รวบรวมข้อกฎหมาย แนวปฏิบัติที่ใช้ประกอบในการขอรับใบอนุญาตที่สำคัญ เช่น กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย หลักเกณฑ์การอนุญาตที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม การขอต่ออายุใบอนุญาต การขอเปลี่ยนแปลงรายการภายหลังที่ได้รับอนุญาต รวมทั้งการจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยมาให้ความรู้ในการสัมมนาในครั้งนี้ นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัดให้มีบริการคลินิกไขปัญหา และให้คำปรึกษา ตลอดจนข้อแนะนำในการขอติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาอีกด้วย ถือเป็นการสร้างความเข้าใจในการขอใบอนุญาตในการติดตั้งโซลาร์ทั้งกลุ่มประชาชนและกลุ่มอุตสาหกรรม

 

อย่างไรก็ตาม การที่ กกพ. เน้นในเรื่องของโซลาร์รูฟเพราะประชาชนสนใจและเริ่มติดตั้งเยอะขึ้น ซึ่งขนาดต่ำกว่า 1,000 kVA ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาต ส่วนกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ขอติดตั้งเกิน 1,000 kVA ขึ้นไป จะมีขั้นตอนที่มากกว่าโดยเฉพาะการขอใบอนุญาต จึงต้องอธิบายตามกระบวนการว่าแต่ละขนาดควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อความรวดเร็วในการติดตั้ง

 

กกพ.

The post กกพ. พร้อมส่งเสริมการใช้โซลาร์เซลล์ ปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไมไทยพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และลมช้าที่สุดในภูมิภาค สวนทางเวียดนาม ทั้งที่มีศักยภาพ แต่กลับผลิตไม่ถึง 5% และต้องรับมือค่าไฟที่แพงขึ้น https://thestandard.co/thai-slow-solar-and-wind-energy-transition/ Fri, 27 Oct 2023 07:27:30 +0000 https://thestandard.co/?p=859351 พลังงานแสงอาทิตย์

สื่อนอกเผย ไทยพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และลมล่าช้าที่สุดใน […]

The post ทำไมไทยพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และลมช้าที่สุดในภูมิภาค สวนทางเวียดนาม ทั้งที่มีศักยภาพ แต่กลับผลิตไม่ถึง 5% และต้องรับมือค่าไฟที่แพงขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
พลังงานแสงอาทิตย์

สื่อนอกเผย ไทยพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และลมล่าช้าที่สุดในภูมิภาค สวนทางเวียดนาม โดยผลิตไม่ถึง 5% แถมติด 1 ใน 10 ผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติ LNG ของโลก หากนำเข้ามากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงหรือไม่ หลังพบตัวเลข 10 เดือนการนำเข้าพุ่งขึ้นถึง 25% ขณะที่ กกพ. ระบุว่า ต้นทุนค่าไฟงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2567 มีแนวโน้มสูงกว่างวดปัจจุบัน โดยมีปัจจัยที่ต้องจับตาคือปัญหาภูมิรัฐศาสตร์กดดันดีมานด์และซัพพลาย เพราะไทยพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก หากรัฐไม่อุ้ม ค่าไฟส่อทะลุเกิน 4 บาทในปีหน้า

 

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ขณะนี้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติ LNG โดยมีปริมาณการนำเข้า 22.9 ล้านลูกบาศก์เมตรในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 19.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ไทยขยับขึ้นมาเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติ LNG จากอันดับ 11 เป็นอันดับ 8 ของโลกเป็นครั้งแรก 

 

รายงานข่าวยังระบุอีกว่า การนำเข้าก๊าซธรรมชาติ LNG  ของไทยกำลังสวนทางกับการหลายประเทศที่พยายามลดการนำเข้าลงอย่างมาก ซึ่งในส่วนนี้อาจส่งผลดีต่อผู้ส่งออกก๊าซ LNG รายใหญ่อย่างกาตาร์ ออสเตรเลีย และมาเลเซีย

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า การที่ไทยนำเข้าก๊าซธรรมชาติมากเกินไปนั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจและสร้างความกังวลในกลุ่มผู้สนับสนุนสิ่งแวดล้อมภูมิภาคหรือไม่ เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้นำและใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซีย อีกทั้งยังมุ่งมั่นและมีกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด แต่ข้อมูลย้อนหลังกลับพบว่า ไทยนำเข้าก๊าซ LNG เพิ่มมากขึ้นถึง 127% นับตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน สาเหตุสำคัญเนื่องด้วยระบบที่เน้นนำเข้ามาเพื่อผลิตไฟฟ้า 

 

พลังงานแสงอาทิตย์

 

ข้อมูลของสถาบันคลังสมอง Ember ระบุอีกว่า ปีนี้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติของไทยมีสัดส่วนคิดเป็นราว 67% ของการผลิตไฟฟ้า เมื่อเทียบกับภูมิภาคอยู่ที่ 30% และ 10% ในเอเชีย 

 

ไทยพัฒนาพลังงานหมุนเวียนช้าที่สุดในภูมิภาค

 

น่าสนใจว่าทรัพยากรแสงแดดและแนวชายฝั่งที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการผลิตพลังงานลมซึ่งมีศักยภาพอย่างมาก แต่ไทยกลับเป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมช้าที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีสัดส่วนไม่ถึง 5% ของการผลิตพลังงานทั้งหมดในประเทศ 

 

สวนทางกับเวียดนามที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมคิดเป็นสัดส่วน 13% ในขณะที่เอเชียโดยรวมมีสัดส่วนคิดเป็นประมาณ 11% และไทยมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์

 

กกพ. รับไทยนำเข้าก๊าซ LNG เป็นหลักเพื่อผลิตไฟฟ้า จำเป็นต้องอิงราคาตลาดโลก

 

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า อยากที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติ (LNG) เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้นจากปัญหาวิกฤตโควิดและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่านมา ล้วนมีผลต่อราคานำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีราคาสูงและอ้างอิงตลาดโลก 

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเชื้อเพลิงส่วนหนึ่งจะมาจากอ่าวไทยก็ตาม แต่ราคาก็มีการปรับตามปัจจัยต่างๆ อาทิ อัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลถึงทั้งค่าน้ำมันที่แพงขึ้น ขึ้นอยู่กับตรงนี้อาจจะไม่มาก แต่ก็มีผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้นระดับ 5-10 สตางค์ 

 

อีกทั้งไทยมีปัญหาในเรื่องของปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยของแหล่งเอราวัณ ที่ยังต้องลุ้นกำลังการผลิตจะกลับมาตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ยังคงต้องอิงกำลังการผลิตที่ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันไปก่อน

 

รวมไปถึงขณะนี้หากสงครามอิสราเอลกับฮามาสบานปลายก็จะยิ่งกระทบกับราคา และถ้าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่หายไป จะต้องดูว่าช่วงต้นปี 2567 ต้องเติมที่เท่าไหร่อีกด้วย

 

“กกพ. จึงอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อทำตัวเลขค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดเดือนมกราคม-เมษายน 2567) ซึ่งจากคาดการณ์แนวโน้มต้นทุนอาจจะแพงกว่างวดปัจจุบัน (เดือนกันยายน-ธันวาคม 2566) ถือเป็นการมองไปข้างหน้า” 

 

โดยขณะนี้ (26 ตุลาคม) ราคานำเข้าก๊าซธรรมชาติ (LNG) ตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 17-18 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ซึ่งอยู่ระหว่างทยอยซื้อเข้ามาเสริม และต้องบริหารจัดการพื้นที่คลังก๊าซให้รองรับได้เพียงพอ

 

ปีหน้าปัญหาภูมิรัฐศาสตร์มีผลต่อค่าไฟคนไทยที่แพงขึ้น

 

“ดังนั้นจึงบอกได้เพียงแค่ว่า แนวโน้มต้นทุนแพงกว่างวดปัจจุบันแน่นอนจากปัจจัยราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจมาจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์” คมกฤชกล่าวย้ำ

 

เขากล่าวอีกว่า แม้มีปัจจัยบวกคือโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจาก สปป.ลาว รวมถึงเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะมาช่วยเสริมก็มีส่วนช่วยต้นทุนถูกลงเล็กน้อยหากเทียบกับก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย

 

“แต่ปัจจัยภายนอกมีเยอะมาก โดยเฉพาะสงคราม ทางการเมืองระหว่างประเทศที่มีการปิดท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งราคา LNG จะขึ้นอยู่กับดีมานด์และซัพพลาย และอีกปัจจัยสำคัญคือ ประเทศเศรษฐกิจอย่างจีนจะเติบโตมากน้อยแค่ไหน และอินเดียจะมีการใช้มากหรือไม่ด้วย”

 

กฟผ. แบกหนี้ 1.3 แสนล้านบาท

 

หากรัฐบาลไม่มีนโยบายมาดูแลต่อต้นทุนที่แท้จริงก็จะอยู่ที่กว่า 4 บาทต่อหน่วย โดยเฉพาะหนี้ที่ กฟผ. แบกรับไว้อีกกว่า 1.3 แสนล้านบาทว่าจะไหวหรือไม่ และจะช่วยได้อีกเท่าไร และเมื่อ กฟผ. ช่วยเหลือต่อไปก็จะต้องดูว่าจะช่วย กฟผ. กลับไปอย่างไร ซึ่งรวมถึงการที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยืดหนี้ราคาค่าก๊าซธรรมชาติ 

 

ดังนั้นจากหลายเงื่อนไข จึงต้องอยู่ที่นโยบายภาครัฐ ซึ่งในอดีตไม่เคยมีนโยบายมาดู เพราะต้นทุนเมื่อบวกลบแล้วไม่เคยเกิน 3-4 สตางค์ต่อหน่วย แต่ปัจจุบันมีปัญหาปริมาณก๊าซธรรมชาติที่หายไปจากอ่าวไทยและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์อีก ทำให้ราคาวิ่งไปสูงกว่าที่ กกพ. วางไว้ 

 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐบาลมีการส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างธุรกิจสีเขียว การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนทั่วไป ให้ความสนใจอย่างมาก กกพ. อยู่ระหว่างปรับขั้นตอนการขออนุญาต การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน ปลดล็อกให้เข้าถึงง่ายขึ้นต่อไป

 

อ้างอิง: 

The post ทำไมไทยพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และลมช้าที่สุดในภูมิภาค สวนทางเวียดนาม ทั้งที่มีศักยภาพ แต่กลับผลิตไม่ถึง 5% และต้องรับมือค่าไฟที่แพงขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
พลิกโฉมหน้าคมนาคมไทย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สายสีม่วงเซ็นดีลประวัติศาสตร์ร่วม CKP ใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เดินรถไฟฟ้าระบบรางครั้งแรก https://thestandard.co/ckp-blue-purple-train-line/ Tue, 29 Aug 2023 04:42:47 +0000 https://thestandard.co/?p=834699 CKP

ถือเป็นความก้าวหน้าในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมพลังงานและก […]

The post พลิกโฉมหน้าคมนาคมไทย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สายสีม่วงเซ็นดีลประวัติศาสตร์ร่วม CKP ใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เดินรถไฟฟ้าระบบรางครั้งแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
CKP

ถือเป็นความก้าวหน้าในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมพลังงานและการคมนาคมในประเทศไทยอย่างแท้จริง เมื่อบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของอาเซียน ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการทางด่วนและขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ามหานครสองสายในกรุงเทพฯ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการเดินรถขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าระบบรางครั้งแรกในประเทศไทย

 

ข้อตกลงที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล: หลักสอง-ท่าพระ) และสายสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม: เตาปูน-คลองบางไผ่) สามารถนำกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้จาก CKPower มาร่วมใช้ในการเดินรถในสัดส่วนราวๆ 12% เลยทีเดียว 

 

CKP

 

ผลลัพธ์จากความร่วมมือระหว่าง CKPower กับ BEM ในครั้งนี้ ยังช่วยให้การเดินรถของรถไฟฟ้าทั้งสองสายเริ่มหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน ลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งยังมีการคาดการณ์อีกด้วยว่า พวกเขาจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 300,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดยพื้นที่ที่จะใช้รับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าจะประกอบไปด้วย 6 จุด ครอบคลุมพื้นที่กว่า 106,000 ตารางเมตร เช่น หลังคาของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า อาคารที่จอดรถ และอาคารสำนักงานของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง

 

 

CKP

(จากซ้ายไปขวา) ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) และ ดร.สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

 

ครั้งแรกของหน้าประวัติศาสตร์ประเทศไทย กับการนำไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มาร่วมใช้ในการเดินรถไฟฟ้า และดีลยั่งยืนครอบคลุม 25 ปี

สำหรับความร่วมมือระหว่าง CKPower กับ BEM จะโฟกัสไปที่การเดินรถให้บริการประชาชนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ซึ่งจะครอบคลุมระยะทางในการให้บริการขนส่งมวลชนมากถึง 71 กิโลเมตร ในกว่า 54 สถานีทั่วกรุงเทพฯ 

 

เริ่มต้นจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนสิงหาคม 2567 ให้กับรถไฟฟ้าทั้งสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง และจะทยอยส่งมอบจนเต็มระบบภายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 

 

สัญญาความร่วมมือในครั้งนี้ยังถือเป็น ‘สัญญาประวัติศาสตร์’ อีกด้วย เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้กับการเดินรถไฟฟ้าในระบบราง ในสัดส่วนถึง 12% ครอบคลุมเป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้น 25 ปี ซึ่งจะมีการผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนระบบรถไฟฟ้าใต้ดินในปริมาณมหาศาลถึง 452 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ซีเค พาวเวอร์ คือผู้บุกเบิกการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค ด้วยองค์ความรู้เฉพาะทางที่ครบวงจร เราพร้อมนำความเชี่ยวชาญในการออกแบบด้านวิศวกรรม ติดตั้งและก่อสร้างระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดจนดูแลเรื่องความพร้อมในการจ่ายไฟและการบำรุงรักษาหลังการติดตั้งอย่างครบวงจร เราคาดว่างานออกแบบจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2567 และจะเริ่มงานก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน

 

“นี่ยังเป็นครั้งแรกที่มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางรางของประเทศไทย ในขอบเขตการทำงานขนาดใหญ่ เรารู้สึกภูมิใจที่เป็นรายแรกในประเทศไทยที่บุกเบิกนำไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน การร่วมมือกับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยใช้งานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น”

 

ด้าน ดร.สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่สำคัญ ซึ่งทั้งสององค์กรกำลังศึกษาแผนงานและความเป็นไปได้อีกมากมายในอนาคต กับการต่อยอดจากความร่วมมือประวัติศาสตร์นี้ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการนำพลังงานจากแหล่งหมุนเวียนมาใช้กับระบบขนส่งที่กำลังเติบโตขยายตัว และมีความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

CKP

 

ผลักดันประเทศไทยสู่สังคมพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืนและจับต้องได้จริง

ธนวัฒน์ ในฐานะหัวเรือใหญ่ของ CKPower กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า โครงการเหล่านี้เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะ 3 ปีที่ CKPower ตั้งเป้าไว้เมื่อต้นปี 2565 ที่จะขยายขนาดธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นมากกว่าเท่าตัวภายในปี 2567 โดยเพิ่มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าจาก 2,000 เมกะวัตต์ เป็น 4,800 เมกะวัตต์ ซึ่งกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจะมาจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังแสงอาทิตย์ พลังลม และพลังน้ำ 

 

“ปัจจุบัน CKPower คือบริษัทที่มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ 93% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการผลิตที่สูงที่สุดในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ของประเทศไทย”

 

มูฟเมนต์ในครั้งนี้ของ CKPower และ BEM ไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตในด้านธุรกิจ รายได้ และกำไรของกันและกัน หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่านั้น

 

เพราะความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างสองหน่วยงานใหญ่ในครั้งนี้ ยังมีส่วนร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมที่เริ่มใช้พลังงานจากแหล่งหมุนเวียนมาเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของภาคอุตสาหกรรมประเทศไปในตัวอีกด้วย

 

หมายความว่านี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้น หรือกรณีศึกษาที่ทำให้ผู้ให้บริการด้านขนส่งมวลชนรายอื่นๆ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่นๆ ตื่นตัวและเล็งเห็นถึงความสำคัญของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการนำพลังงานหมุนเวียนมาช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานของตัวเอง 

 

เหมือนที่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเยอรมนีประสบความสำเร็จในการใช้พลังงานหมุนเวียนในการเดินรถ จนปัจจุบันกลายเป็น ‘ผู้ใช้พลังงานหมุนเวียน’ รายใหญ่ที่สุดของประเทศไปเป็นที่เรียบร้อย

The post พลิกโฉมหน้าคมนาคมไทย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สายสีม่วงเซ็นดีลประวัติศาสตร์ร่วม CKP ใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เดินรถไฟฟ้าระบบรางครั้งแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Google จ่อขายข้อมูลแผนที่ให้กับบริษัทโซลาร์ หวังสร้างรายได้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีแรก https://thestandard.co/google-to-sell-maps-data-to-companies-building-solar-products/ Tue, 29 Aug 2023 03:36:31 +0000 https://thestandard.co/?p=834974 Google

Google เสิร์ชเอ็นจินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กำลังวางแผ […]

The post Google จ่อขายข้อมูลแผนที่ให้กับบริษัทโซลาร์ หวังสร้างรายได้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Google

Google เสิร์ชเอ็นจินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กำลังวางแผนอนุญาตให้มีการขายข้อมูลแผนที่ชุดใหม่แก่บริษัทต่างๆ เพื่อใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน โดยหวังว่าจะสร้างรายได้สูงถึง 100 ล้านดอลลาร์ในปีแรก 

 

ขณะเดียวกัน บริษัทวางแผนที่จะขายการเข้าถึง API ใหม่ (อินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน) พร้อมข้อมูลพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงาน รวมถึงคุณภาพอากาศ ขณะที่ข้อเสนอใหม่ยังครอบคลุมถึง Solar API ซึ่งสามารถใช้งานได้โดยผู้ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น Sunrun และ Tesla Energy และบริษัทออกแบบพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น Aurora Solar 

 

นอกจากนี้ Google ยังมองเห็นโอกาสของลูกค้าในกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เช่น Zillow, Redfin, บริษัทด้านการบริการ เช่น Marriott Bonvoy และบริษัทสาธารณูปโภค เช่น PG&E

 

ทั้งนี้ ข้อมูลบางส่วนจาก Solar API จะมาจากโครงการนำร่องที่มุ่งเน้นผู้บริโภคเป็นหลัก อย่าง Project Sunroof ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณการประหยัดพลังงานแสงอาทิตย์ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 โปรแกรมนี้ช่วยให้ผู้ใช้ป้อนที่อยู่ของตนและรับค่าพลังงานแสงอาทิตย์โดยประมาณ เช่น การประหยัดค่าไฟฟ้า และขนาดของการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีการสร้างแบบจำลอง 3 มิติของหลังคาอาคารและต้นไม้ใกล้เคียงตามข้อมูลของ Google Maps

 

Google ยังวางแผนที่จะขายการเข้าถึง API ของข้อมูลอาคารแต่ละหลัง รวมถึงข้อมูลที่รวบรวมสำหรับอาคารทั้งหมดในเมืองใดเมืองหนึ่ง ตามเอกสารระบุ บริษัทกล่าวว่ามีข้อมูลอาคารมากกว่า 350 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากอาคาร 60 ล้านหลังที่อ้างถึงในโครงการซันรูฟปี 2017 โดยเอกสารภายในฉบับหนึ่งประมาณการว่า Solar API ของบริษัทจะสร้างรายได้ระหว่าง 90-100 ล้านดอลลาร์ในปีแรกหลังการเปิดตัว นอกจากนี้ยังมีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ Google Cloud อีกด้วย

 

ยิ่งไปกว่านั้น Google ยังวางแผนที่จะเปิดตัว Air Quality API ที่จะให้ลูกค้าขอข้อมูลคุณภาพอากาศได้ เช่น สารมลพิษ และคำแนะนำด้านสุขภาพสำหรับสถานที่เฉพาะ นอกจากนี้ยังจะรวมข้อมูลแผนที่ความร้อนแบบดิจิทัล และข้อมูลคุณภาพอากาศรายชั่วโมง รวมถึงประวัติคุณภาพอากาศสูงสุด 30 วัน

 

แนวโน้มช่องทางรายได้ใหม่ของ Google เกิดขึ้นเมื่อบริษัทพยายามสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์แผนที่ เนื่องจากเผชิญกับแรงกดดันในการสร้างรายได้ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจในวงกว้าง แม้ว่าบริษัทจะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ก็ยังลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Generative AI และความยั่งยืน ซึ่งเป็นตลาดที่หวังว่าจะใช้ประโยชน์จาก Solar API

 

ปัจจุบัน Google ออกใบอนุญาต Mapping API สำหรับการนำทางให้บริษัทต่างๆ เช่น Uber ซึ่งกล่าวในปี 2019 ว่าได้จ่ายเงินให้ Google 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รายได้จาก Maps API ไปสู่กลุ่มระบบคลาวด์ของบริษัท ซึ่งในที่สุดก็กลับมาทำกำไรได้ในไตรมาสแรก แต่ก็มีเส้นทางที่ยากลำบากในการพยายามแข่งขันกับผู้นำตลาดอย่าง Amazon และ Microsoft

 

ทั้งนี้ Google ไม่ได้แจกแจงรายได้ของธุรกิจแผนที่ (Maps) ซึ่งในอดีตเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้น้อยที่สุดของ Google 

 

ด้าน Brian Nowak นักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley กล่าวกับ CNBC ในปี 2021 ว่า Google Maps จะได้รับรายได้ 1.11 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2023 เนื่องจากผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวใหม่และบริการปักหมุดโปรโมตเริ่มเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจโฆษณา

 

การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามของ Google ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์การทำแผนที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ CNBC พบว่า Google กำลังเลิกจ้างพนักงานใน Waze แอปรายงานสภาพการจราจร ซึ่ง Google เข้าซื้อกิจการในปี 2013 และรวมเข้ากับทีมงาน Google Maps

 

อ้างอิง: 

The post Google จ่อขายข้อมูลแผนที่ให้กับบริษัทโซลาร์ หวังสร้างรายได้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>