พยาธิ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 12 Aug 2022 03:35:00 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 แพทย์เตือน กินไข่พยาธิตัวตืดไม่ช่วยลดหุ่น อาจเสี่ยงตาย หลังเกิดกรณีสาวจีนสั่งไข่พยาธิตืดวัวมากินหวังลดหุ่น https://thestandard.co/tapeworm-eggs-doesnt-help-reduce-body-shape/ Fri, 12 Aug 2022 03:35:00 +0000 https://thestandard.co/?p=666337 ไข่พยาธิตัวตืด

วานนี้ (11 สิงหาคม) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบ […]

The post แพทย์เตือน กินไข่พยาธิตัวตืดไม่ช่วยลดหุ่น อาจเสี่ยงตาย หลังเกิดกรณีสาวจีนสั่งไข่พยาธิตืดวัวมากินหวังลดหุ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไข่พยาธิตัวตืด

วานนี้ (11 สิงหาคม) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากกรณีเพจ ‘หมอแล็บแพนด้า’ โพสต์เกี่ยวกับผู้ป่วยสาวชาวจีนรายหนึ่งที่อยากผอม จึงสั่งไข่พยาธิตืดวัวมากินนั้น ถือเป็นการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่ควรเลียนแบบหรือทำตาม เนื่องจากพยาธิตัวตืดที่เรียกว่า ซิสติเซอร์โคซิส (Cysticercosis) เป็นพยาธิที่พบได้ในเนื้อหมู เนื้อวัว ซึ่งมีตัวอ่อนพยาธิอยู่ข้างใน คนทั่วไปเรียกเม็ดสาคู โดยกรณีสาวชาวจีนตามข่าวที่นำเสนอนั้น เลือกใช้วิธีกินไข่พยาธิเพื่อลดน้ำหนัก เพราะเชื่อว่าพยาธิจะไปฟักตัวในกระเพาะอาหารแล้วแย่งอาหารในลำไส้ ช่วยให้ร่างกายซูบซีด น้ำหนักลดลง จนมีรูปร่างผอมเพรียวได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องอดอาหารหรือออกกำลังกาย ซึ่งการกินไข่พยาธิเพื่อลดน้ำหนัก ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมารองรับว่าวิธีนี้จะช่วยลดหุ่นได้จริง แต่หากร่างกายมีการติดเชื้อพยาธิตัวตืดในลำไส้ จะมีอาการคลื่นไส้, เหนื่อยล้า, อ่อนแอ, เบื่ออาหาร, น้ำหนักลด, ท้องเสีย และผอมลง 

 

ส่วนอันตรายที่เกิดจากพยาธิตัวตืดระยะตัวเต็มวัย ได้แก่ การขาดสารอาหาร เนื่องจากพยาธิแย่งอาหาร เกิดลำไส้อุดตัน เมื่อพยาธิไชทะลุลำไส้ทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ถ้ามีตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดหมูอยู่ในกล้ามเนื้อ จะทำให้ปวดเมื่อย พยาธิตัวอ่อนที่เข้าไปในตาหรือสมอง อาจทำให้ตาบอดหรือเกิดอาการทางสมอง เช่น ปวดศีรษะ ชัก เป็นอัมพาต และเสียชีวิตได้

 

​“ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักจึงควรเลือกวิธีการที่เหมาะสมด้วยการปรับ 4 พฤติกรรม คือ การกิน กิจกรรมทางกาย การนอน และการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยประเมินตนเองก่อนว่าขณะนี้มีภาวะโภชนาการหรือรูปร่างเป็นอย่างไร ด้วยการวัดเส้นรอบเอว และหาค่าดัชนีมวลกาย ส่วนการกินอาหารแต่ละมื้อ เริ่มจากมื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญ ควรได้อาหารที่มีคุณภาพและหลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะตามหลักธงโภชนาการ เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานไปใช้ ส่วนมื้อเที่ยง ไม่ควรรวบมื้อเช้ากับเที่ยงเข้าด้วยกันจนทำให้กินปริมาณมาก อาหารแต่ละมื้อควรมีสัดส่วน คุณภาพ และหลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะเช่นกัน สำหรับมื้อเย็น เป็นมื้อที่เราใช้พลังงานน้อย จึงควรหลีกเลี่ยงกินหนัก ให้จัดเป็นจานอาหารเพื่อสุขภาพ 2:1:1 คือ ผัก 2 ส่วน (2 ทัพพี) เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน (2-3 ช้อนกินข้าว) และข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน (2-3 ทัพพี) ให้เลือกอาหารที่ใช้วิธีการนึ่ง ต้ม อบ ย่าง แทนการผัดหรือทอด พร้อมผลไม้รสไม่หวานจัด 1 จานเล็ก ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้มีรูปร่างดี สุขภาพดี และไม่เสี่ยงอันตรายด้วย” นพ.สุวรรณชัยกล่าว

The post แพทย์เตือน กินไข่พยาธิตัวตืดไม่ช่วยลดหุ่น อาจเสี่ยงตาย หลังเกิดกรณีสาวจีนสั่งไข่พยาธิตืดวัวมากินหวังลดหุ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตือนประชาชนกินซอยจุ๊-เนื้อดิบ เสี่ยงพยาธิตัวตืด และอีกหลายโรค สธ. แนะปรุงสุกก่อนบริโภค https://thestandard.co/raw-meat-eating-warned-on-tapeworms/ Thu, 04 Aug 2022 03:54:56 +0000 https://thestandard.co/?p=662632 ซอยจุ๊-เนื้อดิบ

วันนี้ (4 สิงหาคม) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบค […]

The post เตือนประชาชนกินซอยจุ๊-เนื้อดิบ เสี่ยงพยาธิตัวตืด และอีกหลายโรค สธ. แนะปรุงสุกก่อนบริโภค appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซอยจุ๊-เนื้อดิบ

วันนี้ (4 สิงหาคม) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากกระแสสังคมบนโลกโซเชียลมีเดียได้รีวิวการกินและวิธีการทำที่ชวนให้น่าลิ้มลองเมนูนิยม ในการกินอาหารประเภทเนื้อวัว-ควายสดๆ เช่น เนื้อวัวดิบ, จิ้มแจ่ว, ซอยจุ๊, ลาบดิบ, ก้อย, ซอยห่าง, แหนมดิบ (อาหารอีสาน), ลาบดิบ, ส้า และจิ๊นส้ม (อาหารเหนือ) เป็นต้น มีการกล่าวอ้างว่าเป็นมรดกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินอันยิ่งใหญ่ระดับโลก 

 

อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรคขอให้ข้อมูลเพื่อการเตือนภัยโรค สำหรับคนที่คิดอยากลอง หรือคนที่ชอบความหวานของการกินลาบวัว-ควายดิบ ข้อมูลเตือนภัยโรคพยาธิที่พบบ่อย โรคพยาธิตัวตืดวัว-ควาย เกิดจากการกินตัวอ่อนพยาธิ เรียกว่า เม็ดสาคูในเนื้อ ตัวอ่อนเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ รูปร่างคล้ายก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ ยาว 5-10 เมตร อาจยาว 25 เมตร มี 1,000-2,000 ปล้อง ปล้องสุกจะหลุดออกมา 3-4 ปล้องกับอุจจาระ หรือคืบคลานออกจากทวารหนักในแต่ละวัน อายุอยู่ในลำไส้คน 10-25 ปี พยาธิจะแย่งอาหารในลำไส้ คนติดโรคจะมีอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ 

 

ด้าน นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคซาร์โคซิสติส มีลักษณะคล้ายเม็ดข้าวสาร ในวัว-ควายมีอัตราการเป็นโรคสูงมาก สำหรับในคนมีรายงานโดยพบซีสต์ในกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อกล่องเสียง และกล้ามเนื้ออื่นๆ ผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากมีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย บวมใต้ผิวหนัง ข้ออักเสบ และเม็ดโลหิตขาวอีโอซิโนฟิลสูง  

 

สำหรับเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เช่น โรคแอนแทรกซ์ เกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร คือ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายท้องอย่างรุนแรง อาจพัฒนาไปถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด ก็ย่อมรุนแรงจนถึงแก่ความตายได้, เชื้อซาลโมเนลลา เป็นแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนมากับอาหาร เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมักจะมีอาการอาเจียน ท้องร่วง, เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เป็นเชื้อที่สามารถพบได้ในทางเดินอาหารของวัวและสัตว์อื่นๆ เชื้อนี้อาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง มีไข้ บางครั้งอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย, เชื้ออีโคไล เป็นเชื้อที่สร้างสารพิษ ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้ไปประมาณ 1-2 วัน จะมีอาการปวดท้อง เป็นตะคริว และมีอาการท้องร่วง บางครั้งอาจมีเลือดปน 

 

และไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า หากนำเนื้อวัว-ควายที่ตายแบบไม่ทราบสาเหตุมากิน แล้วไปเจอวัว-ควายที่ตายจากโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งคนแล่เนื้อ คนทำอาหาร ไปจนถึงคนกินดิบๆ เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้ ซึ่งถ้าเป็นและมีอาการ ตายอย่างเดียว ไม่มียารักษา 

 

ข้อแนะนำประชาชน ให้ใช้หลักมาตรฐานอาหารปลอดภัย ควรจะเลือกซื้อเนื้อวัว-ควายที่ผ่านการตรวจจากโรงฆ่าสัตว์แล้วเท่านั้น รับประทานอาหารต้ม ปิ้ง ย่าง เนื้อสัตว์ให้สุกอย่างทั่วถึง โดยยึดหลัก ‘สุก ร้อน สะอาด’ สุกด้วยความร้อน หรือผ่านการทำลายตัวอ่อนพยาธิ เช่น ฉายรังสี หรือเก็บเนื้อไว้ในตู้เย็น -20 องศาเซลเซียส นานเกิน 12 ชั่วโมง สำหรับผู้ปรุง-ประกอบอาหาร ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงและรับประทานอาหาร และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง

The post เตือนประชาชนกินซอยจุ๊-เนื้อดิบ เสี่ยงพยาธิตัวตืด และอีกหลายโรค สธ. แนะปรุงสุกก่อนบริโภค appeared first on THE STANDARD.

]]>
แพทย์เตือน กิน ‘ปลาหมึกช็อต’ เสี่ยงแบคทีเรีย-พยาธิ แนะปรุงสุกทุกครั้งปลอดภัยกว่า https://thestandard.co/eating-shot-squid-is-a-risk-of-bacteria-and-parasites/ Fri, 11 Feb 2022 05:25:22 +0000 https://thestandard.co/?p=593043 ปลาหมึกช็อต

วันนี้ (11 กุมภาพันธ์) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อ […]

The post แพทย์เตือน กิน ‘ปลาหมึกช็อต’ เสี่ยงแบคทีเรีย-พยาธิ แนะปรุงสุกทุกครั้งปลอดภัยกว่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปลาหมึกช็อต

วันนี้ (11 กุมภาพันธ์) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หลังจากมีกระแสการกิน ‘ปลาหมึกช็อต’ คือการนำปลาหมึกตัวเล็ก สดๆ เอาหัวจุ่มลงไปในแก้วที่บรรจุน้ำจิ้ม เพื่อให้ปลาหมึกดูดเอาน้ำจิ้มซีฟู้ดเข้าตัว จากนั้นกินปลาหมึกโดยกัดส่วนหัว แล้วค่อยกัดหรือหั่นส่วนลำตัวกินต่อ หรือหากปลาหมึกตัวเล็กพอ ก็อาจจะเอาเข้าปากกินทั้งตัวนั้น 

 

พฤติกรรมการกินดังกล่าวอาจจะเสี่ยงได้รับเชื้ออหิวาต์เทียม หรือ Vibrio parahaemolyticus ที่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ตามโคลนตมในทะเลหรือตามชายฝั่งต่างๆ เมื่อกินสัตว์ทะเลที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย มีอาการอาหารเป็นพิษ หากรุนแรงมากๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้อีกด้วย 

 

นอกจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว ปลาหมึกหรือสัตว์ทะเลอื่นๆ เช่น กุ้ง หรือหอย ก็อาจจะมีพยาธิอาศัยอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวกลม ในกลุ่มพยาธิอะนิซาคิส (Anisakis spp.) พยาธิตัวตืดในกลุ่มพยาธิตืดปลา (Diphyllobothrium) เป็นพยาธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อน ซึ่งในประเทศไทยตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ในปลามากกว่า 20 ชนิด ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับพยาธิมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด คล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหาร บางรายอาจมีอาการท้องเสีย หรือถ้ามีแผลในกระเพาะขนาดใหญ่ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด รวมถึงอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายอื่นๆ เช่น เข้าไปอาศัยตามกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดผื่นคัน ปวดบวมบริเวณผิวหนัง หรือเข้าไปชอนไชทำลายอวัยวะภายใน ทำให้เลือดออกในช่องท้องหรือเนื้อเยื่อ หรือในกรณีที่รุนแรงกว่านั้นคือ การไชเข้าสมอง ก่อให้เกิดอาการเลือดออกในสมอง สมองอักเสบ และส่งผลเสียกับร่างกายในระยะยาวได้

 

​“ทั้งนี้ การป้องกันพยาธิหรือไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ หากประกอบอาหารเอง ก่อนนำวัตถุดิบมาปรุง ต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมีตกค้าง และต้องปรุงให้สุกโดยใช้ความร้อนอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส นาน 2 นาที เพื่อให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง รวมทั้งควรเลือกซื้ออาหารจากร้านอาหาร ควรสังเกตป้ายสัญลักษณ์ ‘อาหารสะอาด รสชาติอร่อย’ หรือ Clean Food Good Taste ที่กรมอนามัยรับรอง เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความสะอาดปลอดภัยของอาหารให้กับผู้บริโภค ที่สำคัญยึดหลักกินร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว ล้างมือ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ” นพ.สุวรรณชัยกล่าว

 

The post แพทย์เตือน กิน ‘ปลาหมึกช็อต’ เสี่ยงแบคทีเรีย-พยาธิ แนะปรุงสุกทุกครั้งปลอดภัยกว่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมอนามัยเตือน ซาชิมิอกไก่ดิบอันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงติดเชื้อในลำไส้ https://thestandard.co/department-of-health-warns-eating-raw-chicken-sashimi/ Wed, 10 Mar 2021 05:49:05 +0000 https://thestandard.co/?p=463400 กรมอนามัยเตือน ซาชิมิอกไก่ดิบอันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงติดเชื้อในลำไส้

วันนี้ (10 มีนาคม) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบด […]

The post กรมอนามัยเตือน ซาชิมิอกไก่ดิบอันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงติดเชื้อในลำไส้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมอนามัยเตือน ซาชิมิอกไก่ดิบอันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงติดเชื้อในลำไส้

วันนี้ (10 มีนาคม) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากกรณีในโลกโซเซียลมีการเผยแพร่เมนูซาชิมิอกไก่ดิบสไตล์ญี่ปุ่น ที่มีการจำหน่ายในร้านอาหารไทยในขณะนี้ กรมอนามัยขอความร่วมมือประชาชนเลือกร้านอาหารที่ผ่านการปรุงสุกดีกว่า เนื่องจากในเนื้อไก่ดิบหรือไก่ดิบแช่แข็งมักมีเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ปนเปื้อนมาด้วย เป็นต้นเหตุของการท้องร่วง อาหารเป็นพิษ หรือการติดเชื้อในลำไส้ และมักมีตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ด เมื่อกินเข้าไปจะกลายเป็นตัวแก่ในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้มีอาการคัน บวมแดง หรือบวมๆ ยุบๆ และเคลื่อนที่ได้ สำหรับบางรายอาจจะร้ายแรงถึงขั้นตาบอด หรือสมองอักเสบได้ และในส่วนของสถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่สามารถป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค Salmonella ได้ด้วยการตรวจสุขภาพของไก่และอาหารไก่ รวมถึงการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน และสุขาภิบาลของโรงงาน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่เกิดจาก Salmonella ไปสู่ผู้บริโภคอีกด้วย

 

นพ.สุวรรณชัยกล่าวอีกว่า ประชาชนควรเลือกซื้อไก่จากแหล่งที่เชื่อถือได้ และก่อนนำไก่ดิบมาปรุงประกอบอาหารต้องล้างให้สะอาดก่อน โดยเฉพาะสิ่งสกปรกที่ติดมากับไขมัน ถ้ามีมากควรล้างด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาด แล้วจึงนำมาชำแหละเอาส่วนต่างๆ และกระดูกที่ไม่ต้องการออก เพื่อนำมาปรุงสุกโดยใช้ความร้อนสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส ในเวลาไม่น้อยกว่า 5 นาที เป็นการทำลายเชื้อโรคที่ติดมากับเนื้อไก่ดิบ หากซื้อเนื้อไก่แช่แข็งผ่านทางออนไลน์ ต้องสังเกตบรรจุภาชนะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแช่เย็น ป้ายที่บอกวันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่ควรบริโภค สำหรับการเก็บเนื้อไก่ดิบนั้น หากซื้อมาประกอบอาหารแล้วแต่ใช้ไม่หมด ควรเก็บในอุณหภูมิ 0-5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเก็บได้นาน 3-5 วัน หรือเก็บในช่องแช่เย็นที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 12 เดือน ส่วนอาหารปรุงสุกที่เก็บไว้นานกว่า 4 ชั่วโมง ควรนำมาอุ่นร้อนก่อนทุกครั้งในมื้อต่อไป และอย่าลืมล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งก่อนกินอาหารและหยิบจับอาหารสด เพื่อสุขอนามัยที่ดี 

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

The post กรมอนามัยเตือน ซาชิมิอกไก่ดิบอันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงติดเชื้อในลำไส้ appeared first on THE STANDARD.

]]>