พชร อนันตศิลป์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 27 Nov 2024 07:40:05 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สบน. เผย นักลงทุนสนใจ ‘บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน’ ล้นหลาม ดึงดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.7% ต่อปี https://thestandard.co/high-demand-slb-2-7-percent/ Wed, 27 Nov 2024 07:40:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1013429

สบน. ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน […]

The post สบน. เผย นักลงทุนสนใจ ‘บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน’ ล้นหลาม ดึงดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.7% ต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

สบน. ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond: SLB) เผยยอดการเสนอซื้อเกินเป้าหมายกว่า 2.76 เท่า ทำให้รัฐบาลสามารถออกบอนด์ดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยที่ 2.7% ต่อปี นับว่ามีต้นทุนต่ำกว่าบอนด์อายุใกล้เคียงกันในตลาด

 

พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า การสำรวจความต้องการลงทุน (Book Build) ในพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมาได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากนักลงทุน

 

โดยนักลงทุนเสนอวงเงินซื้อพันธบัตรรวมทั้งสิ้น 55,285 ล้านบาท คิดเป็น 2.76 เท่าของวงเงินการออก 20,000 ล้านบาทที่ประกาศไว้ และทำให้ สบน. สามารถออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนได้ในวงเงิน 30,000 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 2.7% ต่อปี นับว่ามีต้นทุนต่ำกว่าบอนด์อายุใกล้เคียงกันในตลาดที่มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ราว 2.74%

 

โดยมีนักลงทุนหลากหลายกลุ่มเข้าร่วมแสดงความสนใจ เช่น กลุ่มบริษัทประกันชีวิต, กลุ่มกองทุน, กลุ่มสถาบันการเงิน, กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์, กลุ่มบริษัทจัดการสินทรัพย์ และกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ

 

การออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนในครั้งนี้ทำให้รัฐบาลไทยเป็นรัฐบาลประเทศแรกในเอเชีย และรัฐบาลที่ 3 ของโลก ที่ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนต่อจากรัฐบาลประเทศชิลีและอุรุกวัย

 

ในลำดับถัดไป สบน. จะดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานและตรวจสอบความคืบหน้าของเป้าหมายด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในกระบวนการดำเนินงานและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน รวมถึงจะดำเนินการออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนให้เป็น Benchmark Bond รุ่นอายุ 15 ปี เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดราคาและเพิ่มสภาพคล่องของพันธบัตรในตลาดรอง อันจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนอย่างยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

 

สบน. ยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับภาครัฐและภาคเอกชนในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจให้นานาประเทศถึงความมุ่งมั่นของไทยในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว

 

ทั้งนี้ สบน. จะดำเนินการทางด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของรัฐบาลไทย โดยในช่วงปลายปีนี้ สบน. มีแผนที่จะดำเนินการออก Sustainability Loan เพื่อระดมทุนในการสนับสนุนโครงการขนส่งพลังงานสะอาด และจะดำเนินหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ด้านความยั่งยืนของไทยให้เติบโตยิ่งขึ้นไป

 

ภาพ: JittiNarksompong / Shutterstock

The post สบน. เผย นักลงทุนสนใจ ‘บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน’ ล้นหลาม ดึงดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.7% ต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
สบน. มอง การลดเงินนำส่งกองทุน FIDF ลงครึ่งหนึ่งไม่กระทบหนี้สาธารณะ https://thestandard.co/fidf-fee-reduction-public-debt-impact/ Wed, 27 Nov 2024 07:00:00 +0000 https://thestandard.co/?p=1013394

ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการค […]

The post สบน. มอง การลดเงินนำส่งกองทุน FIDF ลงครึ่งหนึ่งไม่กระทบหนี้สาธารณะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ชี้ แม้การลดเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ลงครึ่งหนึ่งจะสร้างภาระดอกเบี้ยเพิ่ม 100-500 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่ถือว่าเพิ่มภาระงบประมาณให้รัฐบาล เหตุธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้รับภาระจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยเอง

 

วันนี้ (27 พฤศจิกายน) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการ สบน. กล่าวถึงกรณีการลดเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF ทั้งระบบเหลือ 0.23% เพื่อเป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนสำหรับ ‘มาตรการแก้หนี้ครัวเรือน’ ที่สมาคมธนาคารไทย กระทรวงการคลัง และ ธปท. เตรียมออกมาเร็วๆ นี้ โดยระบุว่า การลดเงินนำส่งกองทุน FIDF ลงครึ่งหนึ่งทุก 1 ปี จะสร้างภาระดอกเบี้ยปีละ 100-500 ล้านบาท และจะทำให้ระยะเวลาปิดจบหนี้กองทุน FIDF ยืดออกไปครึ่งปี

 

โดยปัจจุบัน สบน. คาดว่า หนี้กองทุน FIDF จะชำระครบหมดภายในปี 2575 ดังนั้นหากมีการลดเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF ทั้งระบบเหลือ 0.23% เป็นเวลา 3 ปี ก็จะทำให้การปิดหนี้กองทุนดังกล่าวยืดออกไปราว 1 ปีครึ่ง

 

ทั้งนี้ ตามข้อมูลของ สบน. ระบุว่า ปัจจุบันหนี้กองทุน FIDF เหลืออยู่ที่ 552,627 ล้านบาท

 

พชรยืนยันอีกว่า แม้ปัจจุบันสถานะและยอดคงค้างของหนี้กองทุน FIDF แสดงอยู่ในบัญชีหนี้สาธารณะ แต่ ธปท. เป็นผู้จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย ไม่ใช่ภาระงบประมาณของรัฐบาล และกระทบหนี้สาธารณะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

พร้อมทั้งมองว่า ธปท. คงมีการประเมินแล้วว่าแนวทางดังกล่าวคุ้มค่าถึงตัดสินใจทำ ถ้าทำแล้วไม่คุ้มคงไม่ทำ โดยลูกหนี้และสถาบันการเงินเองก็จะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้

The post สบน. มอง การลดเงินนำส่งกองทุน FIDF ลงครึ่งหนึ่งไม่กระทบหนี้สาธารณะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลไทยออก ‘บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน’ เป็นประเทศที่ 3 ของโลก วงเงิน 1.3 แสนล้านบาท https://thestandard.co/sustainability-linked-bond-3rd-country-in-the-world/ Mon, 04 Nov 2024 11:45:49 +0000 https://thestandard.co/?p=1004219 บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน

รัฐบาลไทยประกาศออก ‘บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน’ หรือ Sust […]

The post รัฐบาลไทยออก ‘บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน’ เป็นประเทศที่ 3 ของโลก วงเงิน 1.3 แสนล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน

รัฐบาลไทยประกาศออก ‘บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน’ หรือ Sustainability-Linked Bond เป็นประเทศที่ 3 ของโลก วงเงิน 1.3 แสนล้านบาท ต่อจากชิลีและอุรุกวัย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 

วันนี้ (4 พฤศจิกายน) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน. ออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond หรือ SLB) ครั้งแรกของรัฐบาลไทย อายุ 15 ปี วงเงิน 1.3 แสนล้านบาททั้งปีงบประมาณ แบ่งเป็นรอบละ 2-3 หมื่นล้านบาท โดยจะออกรอบแรกในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 

 

ขณะที่ จินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ โฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยถือเป็นประเทศที่ 3 ของโลกที่ออก Sustainability-Linked Bond ต่อจากชิลีและอุรุกวัย

 

สำหรับอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) พชรคาดว่าจะไม่ต่างจากพันธบัตรระยะยาวที่มีอายุใกล้เคียงกัน โดย สบน. จะดำเนินการสำรวจความต้องการซื้อตราสารหนี้ (Book Building) หรือจัดเสนออัตราดอกเบี้ยโดยนักลงทุนในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567

 

พชรกล่าวต่ออีกว่า จาก Roadshow วันนี้พบว่ามีสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทประกันชีวิตและสหกรณ์ให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากดอกเบี้ยอยู่ในแนวโน้มขาลง ทำให้พันธบัตรลักษณะนี้มีความน่าสนใจในระยะยาวอย่างมาก นอกจากนี้ สบน. ยังเตรียมไป Roadshow ที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ด้วยในสัปดาห์หน้า

 

สำหรับความน่าสนใจของ SLB ของรัฐบาลไทยคือ การกำหนดตัวชี้วัด (KPIs) และเป้าหมายการดำเนินงาน (SPTs) ไว้ โดยหากรัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ก็จะมีการจ่ายดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มเติม

 

สำหรับตัวชี้วัด (KPIs) และเป้าหมายการดำเนินงาน (SPTs) มี 2 ประการ ดังนี้

 

  1. ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ไม่รวมการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้) ลง 30% จากค่า Business As Usual (BAU) หรือไม่เกิน 388,500 ktCO2e ในปี 2573 

 

  1. เพิ่มปริมาณการจดทะเบียนใหม่ของรถที่ปลดปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicles: ZEVs) ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ (Passenger Car and Pickup Trucks) ไม่ต่ำกว่า 440,000 คันในปี 2573

 

โดยในกรณีที่แต่ละตัวชี้วัดไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ พันธบัตรจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.025% หรือในกรณีที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ พันธบัตรจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง 0.025% กล่าวคือมีอัตราปรับขึ้นและปรับลดสูงสุด (Maximum) อยู่ที่ 0.5% อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) จากทั้งสองตัวชี้วัด

 

พชรยืนยันว่า “เพื่อให้คุณสมบัติของพันธบัตรดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานสากล สบน. ได้จัดทำกรอบการระดมทุนส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond Financing Framework) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่กำหนดโดย International Capital Market Association (ICMA) และ ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) โดยได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก DNV ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้ความเห็นอิสระระดับสากล (Second Party Opinion) ซึ่งจะเป็นการยืนยันถึงความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือของกรอบการดำเนินงานของ สบน.”

The post รัฐบาลไทยออก ‘บอนด์ส่งเสริมความยั่งยืน’ เป็นประเทศที่ 3 ของโลก วงเงิน 1.3 แสนล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตรียมตัวให้ทัน! กระทรวงการคลังขายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งหน้า 19-21 สิงหาคมนี้ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคาร https://thestandard.co/ministry-of-finance-sells-savings-bonds/ Tue, 13 Aug 2024 08:05:39 +0000 https://thestandard.co/?p=970437

กระทรวงการคลังขอขอบคุณประชาชนที่ให้การตอบรับพันธบัตรออม […]

The post เตรียมตัวให้ทัน! กระทรวงการคลังขายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งหน้า 19-21 สิงหาคมนี้ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคาร appeared first on THE STANDARD.

]]>

กระทรวงการคลังขอขอบคุณประชาชนที่ให้การตอบรับพันธบัตรออมทรัพย์ที่ขายบนวอลเล็ต สบม. แอปเป๋าตัง วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ที่ขายหมดอย่างรวดเร็ว หลังเปิดขายในวันนี้เป็นวันแรก เตือนรอบต่อไปเปิดขาย 19-21 สิงหาคม 2567 อีก 2.5 หมื่นล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย

 

วันนี้ (13 สิงหาคม) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอแจ้งว่า กระทรวงการคลังได้จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 บนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นการจัดสรรแบบ First Come, First Served (มาก่อนได้รับสิทธิก่อน) และจำกัดวงเงินซื้อไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท

 

กระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอขอบคุณประชาชนทุกท่านที่ให้ความสนใจลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์บนวอลเล็ต สบม. ในครั้งนี้ 

 

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์อีกครั้ง วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง ได้แก่

  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

 

โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้

 

  • การจำหน่ายให้แก่ประชาชน จะเริ่มจองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 19-21 สิงหาคม 2567 วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.40 ต่อปี และไม่จำกัดวงเงินจองซื้อ โดยประชาชนสามารถมาจองซื้อได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ของวันที่ 19 สิงหาคม 2567 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 21 สิงหาคม 2567 และ สบน. จะจัดสรรแบบ Small Lot First ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ซึ่งผู้จองซื้อทุกท่านจะได้รับจัดสรรพันธบัตรออมทรัพย์อย่างทั่วถึง โดยขอให้จองซื้อภายในช่วงเวลาดังกล่าว

 

  • การจำหน่ายให้แก่นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรที่กระทรวงการคลังกำหนด จะเริ่มซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 26-27 สิงหาคม 2567 วงเงิน 5 พันล้านบาท รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี และไม่จำกัดวงเงินซื้อ โดย สบน. จะจัดสรรแบบ First Come, First Served 

 

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 สามารถสอบถามเงื่อนไขและวิธีการจัดจำหน่ายได้ที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง หรือติดตามข่าวสารได้ที่ช่องทาง Facebook สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

The post เตรียมตัวให้ทัน! กระทรวงการคลังขายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งหน้า 19-21 สิงหาคมนี้ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคาร appeared first on THE STANDARD.

]]>
คลังออกพันธบัตรออมทรัพย์ชุดใหม่! วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท เริ่มหน่วยละ 100 บาท อายุ 5-10 ปี ดอกเบี้ยสูงสุด 3.4% เริ่มขาย 13 สิงหาคมนี้ https://thestandard.co/ministry-of-finance-new-savings-bonds/ Tue, 30 Jul 2024 10:13:51 +0000 https://thestandard.co/?p=964991

วันนี้ (30 กรกฎาคม) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบ […]

The post คลังออกพันธบัตรออมทรัพย์ชุดใหม่! วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท เริ่มหน่วยละ 100 บาท อายุ 5-10 ปี ดอกเบี้ยสูงสุด 3.4% เริ่มขาย 13 สิงหาคมนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (30 กรกฎาคม) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แจ้งว่า สบน. จะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

 

  • การจำหน่ายให้กับประชาชน วงเงิน 35,000 ล้านบาท ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ วอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง) บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง วงเงิน 10,000 ล้านบาท และช่องทางต่างๆ ของธนาคารตัวแทนจำหน่าย วงเงิน 25,000 ล้านบาท และ
  • การจำหน่ายให้กับนิติบุคคลไม่แสวงหากำไรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดช่องทางการจำหน่ายดังนี้

 

เปิดจำหน่ายผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ ‘เป๋าตัง-ธนาคาร’

 

1. การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง

พันธบัตรออมทรัพย์บนวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 วงเงิน 10,000 ล้านบาท

  • รุ่นอายุ 5 ปี ให้ผลตอบแทนคงที่ 3% ต่อปี
  • รุ่นอายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทนคงที่ 3.40% ต่อปี

 

โดยจะเริ่มจำหน่ายวันที่ 13-30 สิงหาคม 2567 (เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป)

 

สำหรับผู้มีสิทธิ์ซื้อต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

 

สำหรับวงเงินขั้นต่ำอยู่ที่ 100 บาท สูงสุด 50 ล้านบาท (หน่วยละ 100 บาท) โดยวิธีการจัดสรรจะอยู่ในรูปแบบ First-Come, First-Served หรือมาก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน

 

2. การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 ราย แบ่งเป็น 2 ช่วง

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

 

ช่วงที่ 1 จองซื้อได้วันที่ 19-21 สิงหาคม 2567

วงเงิน 25,000 ล้านบาท สำหรับบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

  • รุ่นอายุ 5 ปี ให้ผลตอบแทนคงที่ 3% ต่อปี
  • รุ่นอายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทนคงที่ 3.40% ต่อปี

 

สำหรับวงเงินขั้นต่ำอยู่ที่ 1,000 บาท และไม่จำกัดวงเงินขั้นสูง (หน่วยละ 1,000 บาท) โดยมีช่องทางการจำหน่ายผ่าน Internet Banking, Mobile Banking และเคาน์เตอร์ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง

 

ส่วนวิธีการจัดสรรอยู่ในรูปแบบ Small Lot First (การทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย)

 

ช่วงที่ 2  จำหน่ายวันที่ 26-27 สิงหาคม 2567

วงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับสภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และนิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย และไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร

 

โดยจะเปิดขายเพียงรุ่นอายุ 10 ปี ผลตอบแทน 3.00% ต่อปี (จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน)

 

ส่วนวงเงินขั้นต่ำอยู่ที่ 1,000 บาท และไม่จำกัดวงเงินขั้นสูง (หน่วยละ 1,000 บาท) สำหรับช่องทางการจำหน่าย ได้แก่ เคาน์เตอร์ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง

 

ขณะที่วิธีการจัดสรรเป็นแบบ First-Come, First-Served

 

 

ทั้งนี้ การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชนในช่วงที่ 1 (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2567) จะใช้วิธีการจัดสรรพันธบัตรแบบ Small Lot First (การทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย) โดยทวีคูณรอบละ 1,000 บาท ซึ่งลำดับในการจองซื้อก่อน-หลัง ไม่มีผลต่อการจัดสรร และในกรณีที่วงเงินพันธบัตรที่จะจัดสรรในรอบสุดท้ายไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ผู้ซื้อทุกราย ระบบคอมพิวเตอร์จะจัดสรรพันธบัตรในรอบสุดท้ายด้วยวิธีการสุ่ม (Random) จนครบวงเงินจำหน่าย

 

โดยผู้จองซื้อจะทราบผลการจัดสรรพันธบัตรและได้รับเงินคืนกรณีที่ไม่ได้รับจัดสรรพันธบัตร หรือได้รับจัดสรรไม่ครบตามวงเงินจองซื้อ ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567

 

ทั้งนี้ วงเงินที่จำหน่ายบนวอลเล็ต สบม. และผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายจะแยกจากกัน โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ทั้ง 2 ช่องทาง โดยประชาชนที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนและเอกสารสรุปเงื่อนไขการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ หรือสอบถามได้กับธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง

The post คลังออกพันธบัตรออมทรัพย์ชุดใหม่! วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท เริ่มหน่วยละ 100 บาท อายุ 5-10 ปี ดอกเบี้ยสูงสุด 3.4% เริ่มขาย 13 สิงหาคมนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คลังออก ‘บอนด์สกุลเงินต่างประเทศ’ ไม่ทันปีนี้ จับตาอัตราแลกเปลี่ยน-ทิศทางดอกเบี้ย Fed https://thestandard.co/foreign-currency-bonds-not-in-time-this-year/ Thu, 09 May 2024 12:52:45 +0000 https://thestandard.co/?p=931665

วันนี้ (9 พฤษภาคม) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบร […]

The post คลังออก ‘บอนด์สกุลเงินต่างประเทศ’ ไม่ทันปีนี้ จับตาอัตราแลกเปลี่ยน-ทิศทางดอกเบี้ย Fed appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (9 พฤษภาคม) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน. เตรียมเสนอหลักการออกพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Bond) ต่อกระทรวงการคลังแล้ว โดยวงเงินที่ศึกษาอยู่ที่ประมาณ 500-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ขณะที่ จินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ กล่าวว่า พันธบัตรดังกล่าวไม่น่าออกทันในปีนี้ แต่ยังย้ำว่าข้อดีของการออกพันธบัตรสกุลต่างประเทศคือทำให้มีเครื่องมือในการกู้เงินที่หลากหลายมากขึ้น (Diversify Instrument) ช่วยลดการแย่งเงินทุนในประเทศของภาคเอกชน (Crowding Out Effect) เป็นตัวช่วยหากเกิดปัญหาสภาพคล่องในประเทศก็ยังมีทางเลือกในการกู้ต่างประเทศได้ นอกจากนี้ยังเป็นอัตราอ้างอิง (Benchmark) ให้กับภาคเอกชนที่ต้องการออกไปกู้ต่างประเทศด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดคือความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าสหรัฐฯ ซึ่ง สบน. ต้องศึกษาเรื่องนี้ให้รอบคอบ

 

“จากการสำรวจพบว่านักลงทุนต่างชาติสนใจเรื่องพันธบัตรสกุลต่างประเทศของเรามาก เพราะเรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ตอนนี้การลงทุนในภูมิภาคของเราเป็นที่สนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ทุกคนที่เข้ามาก็พูดตรงกันหมด เราก็มองว่าทำแล้วออกไปอย่างสง่าผ่าเผยในตอนนี้ดีกว่ารอให้มีปัญหาแล้วค่อยทำ” พชรกล่าว

 

“ตอนนี้เรามีข้อมูลบ้างแล้ว ก็อยู่ระหว่างเสนอทางกระทรวงให้เห็นชอบในหลักการ แต่ในปีนี้คาดว่าจะยังไม่มีการออกพันธบัตรดังกล่าว โดยเบื้องต้นคาดว่าออกจะอยู่ประมาณ 500-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศ, World Bank หรือ Asian Development Bank (ADB) ก็บอกว่าไซส์ควรอยู่ที่ 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ”

 

พชรเปิดเผยอีกว่า แม้แต่ประเทศที่แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจก็ยังสนใจหรือได้ออกบอนด์สกุลเงินต่างประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ที่ได้ออกบอนด์เงินสกุลต่างประเทศราว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อออกแล้วก็ทำให้มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศทันที ดังนั้นจึงเชื่อว่าการออกพันธบัตรครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)

The post คลังออก ‘บอนด์สกุลเงินต่างประเทศ’ ไม่ทันปีนี้ จับตาอัตราแลกเปลี่ยน-ทิศทางดอกเบี้ย Fed appeared first on THE STANDARD.

]]>
กระทรวงการคลังเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ ดอกเบี้ยสูงสุด 3.40% ต่อปี ผ่านเป๋าตัง-ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ตั้งแต่ 6-19 มีนาคมนี้ https://thestandard.co/mof-selling-savings-bonds/ Thu, 22 Feb 2024 08:33:35 +0000 https://thestandard.co/?p=903035 กระทรวงการคลัง

วันนี้ (22 กุมภาพันธ์) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักง […]

The post กระทรวงการคลังเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ ดอกเบี้ยสูงสุด 3.40% ต่อปี ผ่านเป๋าตัง-ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ตั้งแต่ 6-19 มีนาคมนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กระทรวงการคลัง

วันนี้ (22 กุมภาพันธ์) พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แจ้งว่า สบน. จะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1 วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็น

 

  1. การจำหน่ายให้กับประชาชน วงเงิน 35,000 ล้านบาท ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ วอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง) บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง วงเงิน 10,000 ล้านบาท และช่องทางต่างๆ ของธนาคารตัวแทนจำหน่าย วงเงิน 25,000 ล้านบาท
  2. การจำหน่ายให้กับนิติบุคคลไม่แสวงหากำไรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด วงเงิน 5,000 ล้านบาท

 

(หมายเหตุ: ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อลงทะเบียน ยืนยันตัวตน และเติมเงินเข้าวอลเล็ต สบม. 
ผ่าน Mobile Banking หรือผูกบัญชีธนาคารกรุงไทย รวมถึงเติมเงินด้วย Wallet ID ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา)

 

สำหรับรายละเอียดช่องทางการจำหน่ายมีดังนี้

 

  1. การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง 

 

 

  1. การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

 

 

การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชนในช่วงที่ 1 (วันที่ 11-13 มีนาคม 2567) จะใช้วิธีการจัดสรรพันธบัตรแบบ Small Lot First (ทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย) โดยทวีคูณรอบละ 1,000 บาท ซึ่งลำดับในการจองซื้อก่อน-หลัง ไม่มีผลต่อการจัดสรร 

 

ในกรณีที่วงเงินพันธบัตรที่จะจัดสรรในรอบสุดท้ายไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ผู้ซื้อทุกราย ระบบคอมพิวเตอร์จะจัดสรรพันธบัตรในรอบสุดท้ายด้วยวิธีการสุ่ม (Random) จนครบวงเงินจำหน่าย

 

ทั้งนี้ ผู้จองซื้อจะทราบผลการจัดสรรพันธบัตรและได้รับเงินคืน กรณีที่ไม่ได้รับจัดสรรพันธบัตร หรือได้รับจัดสรรไม่ครบตามวงเงินจองซื้อ ในวันที่ 14 มีนาคม 2567 (รายละเอียดและเงื่อนไขการจำหน่ายเป็นไปตามเอกสารการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง)

The post กระทรวงการคลังเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ ดอกเบี้ยสูงสุด 3.40% ต่อปี ผ่านเป๋าตัง-ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ตั้งแต่ 6-19 มีนาคมนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดรายชื่อ ผู้บริหารกระทรวงการคลัง ‘ชุดใหม่’ หลัง ครม. อนุมัติการโยกย้ายครั้งใหญ่! https://thestandard.co/mof-new-executives-info/ Tue, 03 Oct 2023 12:40:36 +0000 https://thestandard.co/?p=850175

เปิดรายชื่อผู้บริหารกระทรวงการคลังชุดใหม่ หลังวันนี้ (3 […]

The post เปิดรายชื่อ ผู้บริหารกระทรวงการคลัง ‘ชุดใหม่’ หลัง ครม. อนุมัติการโยกย้ายครั้งใหญ่! appeared first on THE STANDARD.

]]>

เปิดรายชื่อผู้บริหารกระทรวงการคลังชุดใหม่ หลังวันนี้ (3 ตุลาคม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้โอน/ย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 13 ราย ดังนี้

 

 

  1. ​โอน กุลยา ตันติเตมิท ตำแหน่งอธิบดี (ผู้บริหารสูง) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง

  1. โอน แพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการ (นักบริหารสูง) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

  1. โอน พชร อนันตศิลป์ อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (นักบริหารสูง) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

  1. โอน ธีรัชย์ อัตนวานิช รองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง

  1. ย้าย ชาญวิทย์ นาคบุรี ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

  1. โอน เกียรติณรงค์ วงศ์น้อย ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง (นักวิชาการคลังทรงคุณวุฒิ) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

  1. โอน ปิ่นสาย สุรัสวดี ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกรรมทางการเงินการธนาคาร) (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

  1. โอน อัครุตม์ สนธยานนท์ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

  1. โอน ธิบดี วัฒนกุล ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (นักบริหารสูง) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง

  1. โอน ขนิษฐา สหเมธาพัฒน์ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

  1. โอน วุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

  1. โอน ธีรลักษ์ แสงสนิท ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

  1. โอน ศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

 

​ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

The post เปิดรายชื่อ ผู้บริหารกระทรวงการคลัง ‘ชุดใหม่’ หลัง ครม. อนุมัติการโยกย้ายครั้งใหญ่! appeared first on THE STANDARD.

]]>
พีระพันธุ์ถกกรมศุลกากรศึกษาต้นทุนนำเข้าน้ำมัน เร่งหาวิธีปรับโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ เตรียมแจงแนวทางพยุงหนี้ กฟผ. ส่วนลดราคาเบนซินเร็วๆ นี้ https://thestandard.co/peeraphan-discusses-with-the-customs-department/ Tue, 19 Sep 2023 10:53:14 +0000 https://thestandard.co/?p=843514 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

พีระพันธุ์หารืออธิบดีกรมศุลกากร ขอข้อมูลต้นทุนการนำเข้า […]

The post พีระพันธุ์ถกกรมศุลกากรศึกษาต้นทุนนำเข้าน้ำมัน เร่งหาวิธีปรับโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ เตรียมแจงแนวทางพยุงหนี้ กฟผ. ส่วนลดราคาเบนซินเร็วๆ นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

พีระพันธุ์หารืออธิบดีกรมศุลกากร ขอข้อมูลต้นทุนการนำเข้าน้ำมันที่แท้จริง เพื่อปรับโครงสร้างราคาน้ำมันให้ประชาชนใช้ราคาที่เหมาะสม และควบคุมบริษัทน้ำมันไม่ค้ากำไรสูงเกินไป ชี้แนวทางลดค่าไฟมีหน่วยงานดูแลการใช้หนี้ให้กับ กฟผ. โดยไม่ให้กระทบกับประชาชนอยู่แล้ว ส่วนลดราคาน้ำมันเบนซินขอเวลาไม่นานจะได้ข้อสรุป ย้ำหวังปรับปรุงโครงสร้างพลังงานทั้งหมดเพื่อความยั่งยืน

 

รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (19 กันยายน) พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการหารือกับพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปว่า ได้มาขอพบอธิบดีกรมศุลกากรเพื่อสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลการนำเข้าน้ำมันจากผู้ค้าน้ำมันในต่างประเทศของผู้ประกอบการในประเทศไทย 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

โดยต้องการทราบรายละเอียดทั้งต้นทุนราคา แหล่งที่มา รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ของน้ำมันที่ถูกนำเข้ามาเพื่อขายในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ประกอบในการพิจารณาหาแนวทางปรับโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทยให้เหมาะสมและเป็นธรรม บริษัทผู้ประกอบการไม่มีกำไรสูงเกินไป จนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน จากการพูดคุยในวันนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากอธิบดีกรมศุลกากร โดยรับปากจะดำเนินการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าน้ำมันย้อนหลังให้นำกลับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

 

พีระพันธุ์กล่าวต่อว่า เนื่องจากพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต และเป็นต้นทุนในการทำมาหากินของประชาชน ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรจะให้ประชาชนสามารถซื้อน้ำมันได้ในราคาที่เป็นธรรม โดยบริษัทค้าน้ำมันจะต้องไม่ค้ากำไรที่สูงเกินไป แต่ควรดำเนินธุรกิจอย่างพอเหมาะพอดี และในการทำงานมีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลรายละเอียดและหาความกระจ่าง โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างราคา ถ้าหากทำถูกต้องอยู่แล้วก็ดำเนินการต่อไป แต่หากพบว่าผิดก็ต้องรีบหาทางแก้ไข เพราะหากกระทำผิดจนทำให้ราคาน้ำมันแพงและเป็นการค้ากำไรเกินควรก็เหมือนกับการปล้นประชาชน

 

ชี้เศรษฐามอบหมายนโยบายการจัดหาพลังงาน

 

ทั้งนี้ เรื่องของนโยบายการจัดหาพลังงานในราคาที่เหมาะสมให้กับประชาชนเป็นเรื่องที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบให้ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานดำเนินการ เป็นนโยบายที่ตรงกับนโยบายด้านพลังงานของพรรครวมไทยสร้างชาติอยู่แล้ว ที่ผ่านมาก็ได้ลดราคาน้ำมันให้กับประชาชนไปแล้วส่วนหนึ่ง เพราะเป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องเร่งคลายความเดือดร้อนให้กับประชาชน

 

“การเดินทางมาหารือกับอธิบดีกรมศุลกากรครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นในการหาความจริงเกี่ยวกับต้นทุนพลังงาน หลังจากนี้จะได้ดำเนินการเช่นเดียวกันนี้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น กรมสรรพสามิต ที่ดูแลเรื่องภาษีน้ำมัน เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน เนื่องจากที่ผ่านมาตนเห็นว่าแต่ละกระทรวงหรือหน่วยงานทำงานแบบต่างคนต่างทำ จึงอยากให้มีการทำงานประสานกันให้มากกว่านี้ โดยมีเป้าหมายที่ประชาชนเป็นหลัก”

 

แจงเปิดนำเข้าน้ำมันเสรี

 

พีระพันธุ์กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายการเปิดนำเข้าน้ำมันเสรีที่ได้มีการพูดถึงกันนั้น ในความหมายคือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถจัดหาน้ำมันได้ในราคาถูกกว่าในประเทศมาเพื่อใช้ในกิจการของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลาง อาจจะเป็นกลุ่มขนส่ง กลุ่มแท็กซี่ ที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันในกิจการของตนเอง หากได้ใช้น้ำมันในราคาถูกกว่าการซื้อจากคนกลางก็จะทำให้สามารถลดต้นทุนลงได้ โดยการเปิดโอกาสดังกล่าวรัฐจะต้องอำนวยความสะดวกไม่ให้เกิดอุปสรรคในการนำเข้าเสรี เพราะตามที่ตนได้พูดไปแล้วคือ พลังงานเป็นเรื่องของชีวิตมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่ควรมีการผูกขาด จึงจะต้องกลับไปดูกฎหมายต่างๆ ของกระทรวงพลังงานว่าเป็นอย่างไร หากมีกฎหมายห้ามไว้ก็ต้องแก้ เพื่อให้สามารถนำเข้าได้อย่างเสรี

 

มีหน่วยงานดูแลหนี้ กฟผ. เพื่อลดค่าไฟอยู่แล้ว

 

กรณีการลดราคาค่าไฟอาจจะต้องเกี่ยวข้องกับการยืดหนี้ กฟผ. ออกไป พีระพันธุ์เผยว่า ในส่วนนี้เป็นการดำเนินการตามระยะเวลาที่เป็นขั้นตอน จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีวิธีดำเนินการใช้หนี้ให้กับ กฟผ. โดยไม่ให้กระทบกับประชาชนอยู่แล้ว ตอนนี้ตนกำลังศึกษากฎหมายต่างๆ อย่างละเอียดว่าจะทำได้แค่ไหน เพราะตั้งเป้าว่าจะปรับปรุงโครงสร้างพลังงานทั้งหมด ให้เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

 

สำหรับแนวทางการศึกษาลดราคาเบนซินช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มนั้น มุ่งเน้นดูแลกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันแพง มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานศึกษาว่ากลุ่มไหนควรได้รับการช่วยเหลือ ได้รับผลกระทบในช่วงนี้อย่างไรบ้าง อีกไม่นานคงได้ข้อสรุป

The post พีระพันธุ์ถกกรมศุลกากรศึกษาต้นทุนนำเข้าน้ำมัน เร่งหาวิธีปรับโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ เตรียมแจงแนวทางพยุงหนี้ กฟผ. ส่วนลดราคาเบนซินเร็วๆ นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมศุลฯ ออกนโยบายใหม่อำนวยความสะดวกรับเปิดประเทศ ไม่ค้นตัวนักท่องเที่ยวใช้ของแบรนด์เนม https://thestandard.co/thai-customs-new-policy-060266/ Mon, 06 Feb 2023 01:58:33 +0000 https://thestandard.co/?p=746356

วันนี้ (6 กุมภาพันธ์) พันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรม […]

The post กรมศุลฯ ออกนโยบายใหม่อำนวยความสะดวกรับเปิดประเทศ ไม่ค้นตัวนักท่องเที่ยวใช้ของแบรนด์เนม appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (6 กุมภาพันธ์) พันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมศุลกากรได้ออกนโยบายอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวรับการเปิดประเทศ โดยจะไม่ค้นตัวนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ แม้ว่าจะมีของติดตัวมาที่มีมูลค่าสูงก็ตาม

 

นโยบายการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเป็นนโยบายของ พชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร ที่ต้องการอำนวยความสะดวก ไม่สร้างภาระให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย ดังนั้นเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะไม่มีการค้นตัวนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย

 

แม้ว่านักท่องเที่ยวรายนั้นจะสะพายกระเป๋าหรูราคาแพงมูลค่าหลายแสนบาท หรือสวมนาฬิกาหรูที่มูลค่าสูงหลายล้านบาทก็ตาม หากเป็นการสวมใส่เพื่อใช้เป็นส่วนตัว ไม่ได้นำเข้าเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ เช่น ไม่ได้ใส่กล่องมา เป็นต้น

 

ทั้งนี้ การที่เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะดำเนินการขอค้นตัวนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ คือกรณีที่มีข้อมูลทางลับซึ่งแจ้งให้ทราบว่ามีการลักลอบนำเข้า หรือกรณีที่มีการแสดงอย่างชัดเจนว่าไม่ใช่เป็นของติดตัว เช่น สวมนาฬิกาหลายเรือนบนข้อมือ เป็นต้น

 

สำหรับระเบียบปฏิบัติของกรมศุลกากรในเรื่องการนำของติดตัวเข้ามาทางท่าอากาศยานนั้น ในกรณีผู้โดยสารเดินเข้าช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดงหรือช่องเขียว หมายถึงผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งไม่มีของต้องชำระภาษีอากร ไม่มีของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดเข้ามาพร้อมกับตน ให้เดินผ่านช่องตรวจเขียวหรือช่องไม่มีของต้องสำแดง

 

ของที่ได้รับการยกเว้นอากร เช่น ของใช้ส่วนตัวที่มีปริมาณพอสมควรสำหรับใช้ส่วนตัวและมีมูลค่ารวมทั้งหมดไม่เกิน 2 หมื่นบาท ซึ่งมิใช่ของต้องห้าม ต้องกำกัด หรือเสบียงอาหาร บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือยาสูบไม่เกิน 250 กรัม หรือน้ำหนักรวมทั้งหมดทุกประเภทไม่เกิน 250 กรัม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตรไม่เกิน 1 ลิตร และหากนำบุหรี่ ยาสูบ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้ามาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด โปรดหย่อนใส่กล่องที่กรมศุลกากรจัดไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดี

 

อย่างไรก็ตาม กรมศุลกากรเน้นอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยระบบบริหารความเสี่ยงที่นำมาใช้ในการคัดเลือกตรวจสอบกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารกรณีการตรวจสัมภาระผู้โดยสารขาเข้า ณ ช่องมีสิ่งของต้องสำแดงหรือช่องแดง กรณีที่ 1 เป็นของติดตัวผู้โดยสาร ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นเชิงการค้าและมีมูลค่าไม่เกิน 2 แสนบาท เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะคำนวณค่าภาษีอากรปากระวาง ส่วนกรณีที่ 2 เป็นของต้องห้ามและ/หรือต้องกำกัดที่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำเข้าจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

 

ภาพ: Shutterstock

The post กรมศุลฯ ออกนโยบายใหม่อำนวยความสะดวกรับเปิดประเทศ ไม่ค้นตัวนักท่องเที่ยวใช้ของแบรนด์เนม appeared first on THE STANDARD.

]]>