ผู้ว่าฯ กทม. – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 07 Jun 2024 00:53:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ผู้ว่าฯ กทม. นำแถลงปมทุจริตจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ชี้ว่าปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ พร้อมให้ตรวจสอบเต็มที่ ไม่มีฮั้วเลือกบริษัท-ปั่นราคา https://thestandard.co/chadchart-announcement-topic-purchasing-exercise-equipment/ Thu, 06 Jun 2024 05:10:44 +0000 https://thestandard.co/?p=941888

วันนี้ (5 มิถุนายน) ที่หน้าห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการก […]

The post ผู้ว่าฯ กทม. นำแถลงปมทุจริตจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ชี้ว่าปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ พร้อมให้ตรวจสอบเต็มที่ ไม่มีฮั้วเลือกบริษัท-ปั่นราคา appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (5 มิถุนายน) ที่หน้าห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) (เสาชิงช้า) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยตัวแทนจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT) ร่วมแถลงข่าวข้อสงสัยในการซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายของศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ และศูนย์กีฬาวารีภิรมย์

 

ชัชชาติกล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญที่เราเน้นย้ำเรื่องความโปร่งใสซึ่งเป็นนโยบายของเรา โดย กทม. มี 3 ส่วน มีฝ่ายบริหาร ฝ่ายประจำ และฝ่ายนิติบัญญัติ ทำงานร่วมกัน ซึ่งตาข่ายที่ช่วยเรื่องการป้องกันคอร์รัปชันมี 4 ขั้นตอน +1 ที่ต้องทำงานกันอย่างสอดคล้อง คือ 1. งบประมาณที่จะต้องดูให้รอบคอบ 2. กระบวนการเข้าสภานิติบัญญัติที่จะต้องช่วยกันตรวจสอบ ซึ่งเราเป็นอิสระ ไม่มีทีมในสภา 3. พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เป็นฝ่ายประจำที่ดูแล ตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง และ 4. การตรวจรับงาน และสุดท้ายคือกระบวนการทางภาคเอกชนที่มีส่วนอย่างมาก เช่น เว็บไซต์ ACT AI

 

อย่างไรก็ตามในส่วนของข้อบัญญัติที่เข้าสภาจะต้องเพิ่มความละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้น ขณะที่ฝ่ายประจำจะต้องชี้แจงได้ การตรวจรับงานต้องเข้มข้นขึ้น การปรับปรุงต้องเป็นไปทั้ง 4 กระบวนการ ซึ่งกระบวนการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ต้องขอบคุณ ACT ที่มีข้อสังเกตขึ้นมา และทั้ง 3 ฝ่ายของ กทม. ต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ต้องยอมรับว่าปัญหานี้ไม่ได้หมดไป แต่มีอยู่ เราต้องเดินหน้าตรวจสอบและปรับปรุง ซึ่งเรามีคณะกรรมการป้องกันเรื่องการทุจริตอยู่แล้ว และสั่งให้ตรวจสอบทันทีที่ทราบเรื่องเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันในการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมา เราเอาจริงจังและไม่ยอมรับการทุจริต ซึ่งประชาชนก็รับไม่ได้ ถ้าราคาสูงเกินไปต้องมีผู้รับผิดชอบ

 

ชัชชาติกล่าวอีกว่า เราต้องยอมรับว่าเรื่องความไม่โปร่งใสเป็นเรื่องใหญ่ของทุกองค์กร หากพบต้องขยายต่อ ซึ่ง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง จะต้องมีการปรับปรุงในอนาคต ยืนยันว่าผิดก็คือผิด ไม่ใช่ถูก ไม่ใช่บอกว่าเคยทำมาแล้วจะสามารถทำได้ ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบราคากลางต้องเข้มข้นและตอบสังคมได้ พร้อมยืนยันว่าฝ่ายบริหารไม่มีกรอบในการกำหนดให้เอาเจ้าไหน จะไปปั่นราคาแบบใดทั้งสิ้น ต้องทำตามระเบียบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราชการและประชาชน หากมีคนทำผิดต้องไม่เอาไว้และดำเนินการให้เต็มที่ ซึ่ง สตง. ก็ทำหน้าที่ไป และคณะกรรมการตรวจสอบของเราก็จะทำหน้าที่คู่ขนานกันไป

 

ผิดคือผิด ผู้ว่าฯ ต้องรับผิดชอบ

 

เมื่อถามว่า กทม. ทราบว่ามีการทุจริตในช่วงใด ชัชชาติกล่าวว่า ตนเพิ่งทราบข่าว เพราะไปร่วมการประชุมผู้ว่าฯ โลก และเมื่อทราบก็ไม่สบายใจ ยังไม่รู้รายละเอียด ไม่อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหาร แต่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ต้องปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น เข้าใจว่าในการจัดซื้อจัดจ้างจะนำราคาที่เคยซื้อเป็นฐาน แต่ต้องมีการปรับปรุงระบบ ไม่ใช่แค่ กทม. แต่เป็นทั้งประเทศ และไม่ใช่เฉพาะเคสนี้ ซึ่งในแง่ของความไม่ดีก็มีข้อดีที่ทำให้เราเห็นปัญหาและขยายผลในเชิงโครงสร้าง

 

“ยอมรับว่ายังมีเรื่องไม่โปร่งใสอยู่ ถ้าเราไม่ยอมรับปัญหา เราแก้ปัญหาไม่ได้ มีก็ต้องมี ปรับปรุงได้แน่นอน ทางผมไม่เคยกลัว เพราะเราไม่เคยสั่งอะไรผิด ไม่เคยบอกว่าทำอะไรไม่ดี เรายินดีให้ตรวจสอบ ยืนแก้ผ้าให้ดูได้เลย เราไม่เคยกลัว ผิดก็ต้องผิด เพราะเราไม่เคยสั่งให้ทำผิด เราไม่กลัวที่จะไปตอบทุกคน ฝ่ายบริหารยืนยันไม่เคยไปสั่งให้ทำไม่ดี เรามีแต่สั่งให้โปร่งใส แต่ผมเป็นผู้ว่าฯ ผมต้องรับผิดชอบ ปฏิเสธไม่ได้ ถ้าบอกว่า กทม. โปร่งใส คือโกหก” ชัชชาติกล่าว

 

ส่วนโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ผู้ว่าฯ คนเก่าหรือไม่ ชัชชาติกล่าวว่า ไม่ใช่ผู้ว่าฯ คนเก่า แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่เราใส่เพิ่มจากโครงการอื่นที่โดนตัดเพื่อให้ผ่าน เพราะไม่อยากให้งบหายไป เพื่อให้สภากรุงเทพมหานครอนุมัติ ทำให้ไม่มีเวลาดูอย่างละเอียดเหมือนโครงการชุดแรก และจำนวนงบประมาณยังอยู่ในกรอบของโครงการ ฉะนั้นเราโทษคนอื่นไม่ได้ ยอมรับว่าทุกอย่างไม่ได้เพอร์เฟกต์ 100% การจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายมีมาหลายสมัย ในกรณีนี้พูดว่าแพง-ไม่แพงไม่ได้ แต่มีข้อสงสัย ประชาชนเอ๊ะ ถ้าเราไม่เอ๊ะก็บ้าแล้ว พร้อมย้ำว่าไม่เห็นโครงการนี้มาก่อน แต่เมื่อเห็นแล้วจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ซึ่งดีที่ประชาชนร่วมตรวจสอบ แต่จะหวังพึ่งประชาชนทั้งหมดไม่ได้ และเชื่อว่าปัญหานี้ไม่ได้เพิ่งเกิด แต่หยั่งรากลึกมา 10-20 ปี ไม่ใช่แค่ กทม. แต่เป็นทั้งประเทศ เป็นข้อมูลจุดพลังที่ฉายไปในที่มืด

 

ชัชชาติกล่าวด้วยว่า ตามหลักอุปกรณ์ในศูนย์ต้องใช้ได้ ส่วนกรณีที่หม้อแปลงระเบิดทำให้ไม่สามารถใช้ได้นั้น ตนไม่ทราบ ยืนยันว่าจะตรวจสอบทุกโครงการของ กทม.

 

“หากพบว่ามีการทุจริตจริงจะต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา เราเชื่อมั่นว่าไม่ได้สั่งการ ดำเนินการตามกฎหมาย ถ้ามีการฮั้วเกิดขึ้น เชื่อว่ามีกฎหมายรุนแรงอยู่แล้ว” ชัชชาติกล่าว

 

พร้อมให้ความร่วมมือ สตง.

 

ด้านวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ได้ให้ข้อมูลทั้งหมดกับ สตง. ไปแล้ว และพร้อมให้ความร่วมมือ และผลการตรวจสอบเป็นอย่างไรก็พร้อมเปิดเผยให้ทราบ

 

กทม. ไม่ได้ตั้งราคาขึ้นเอง

 

ด้านสมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กล่าวว่า เครื่องออกกำลังกายทุกศูนย์ขณะนี้ยังสามารถใช้งานได้และให้บริการอยู่ ยืนยันว่าประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ทุกศูนย์ และตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ระบุว่า ให้คณะกรรมการต้องไปสืบราคาจากท้องตลาดไม่น้อยกว่า 3 ราย และนำราคาต่ำสุดมาเป็นราคากลาง และต้องเป็นบริษัทที่ขายเครื่องออกกำลังกาย ซึ่ง กทม. ไม่ได้ตั้งราคาขึ้นเอง โดยดำเนินการตาม e-bidding ของกรมบัญชีกลาง ซึ่งหน่วยงานจะไม่ทราบคนประมูล จะทราบภายหลังการประมูลจบ ซึ่งราคาที่ได้มาหากไม่เกินราคากลางจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จึงอยากเชิญชวนให้เข้าร่วมประมูล

 

“กรุงเทพมหานครไม่ตั้งใจซื้อ 300,000-400,000 บาทแบบในโซเชียล ถ้าซื้อ 30,000 บาทได้ก็ดี 100,000-200,000 บาทได้ก็ยิ่งดี ถ้าเขายอมรับในความเสี่ยงและเงื่อนไข เครื่องออกกำลังกายของสำนักฯ ใช้ต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง เพราะบริษัทจะต้องมาเปลี่ยนอุปกรณ์ทันที ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ต้องยกเครื่องออก บริษัทต้องยอมรับความเสี่ยงในเรื่องนี้ด้วย เพราะเราเปิดให้บริการประชาชนทุกวัน” สมบูรณ์กล่าว

 

สมบูรณ์กล่าวอีกว่า ซึ่งการสืบราคาจากบริษัทที่มั่นคง มีมาตรฐานว่าจะไม่ทิ้งงาน ไม่ทิ้งบริการหลังการขาย ของต้องมีคุณภาพ ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคากลางแต่ละโครงการจะไม่ตรงกัน ทั้งนี้ขอให้รอการตรวจสอบ หากคณะกรรมการกำหนดราคากลางทำผิด ทุจริต ก็ต้องถูกลงโทษอยู่แล้ว
ส่วนคนที่จะประมูลได้ต้องมีหนังสือผลงานในการประมูลหรือไม่นั้น สมบูรณ์กล่าวว่า ถ้าไม่ใช้ก็จะเป็นประเด็นที่น่าห่วงที่จะนำของมาให้บริการประชาชน ซึ่งหากมีความจำเป็น คณะกรรมการกำหนดราคากลางสามารถกำหนดผลงานได้ไม่เกิน 50% ซึ่งเป็นระเบียบของกรมบัญชีกลาง กทม. ไม่ได้ตั้งขึ้นเอง

 

มีระบบตรวจสอบย้อนหลังจากเอกชน

 

ศานนท์กล่าวว่า ในรายละเอียดของโครงการมีจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ครบถ้วน จึงต้องมีผ่านประชาชนเข้ามาตรวจสอบ สิ่งที่เราพยายามทำมาตลอด ให้ประชาชนสามารถเข้ามาดูทุกสัญญาและข้อบัญญัติงบประมาณได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างข้อบัญญัติปี 2568 ซึ่งหากแล้วเสร็จจะเปิดให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบได้ และทุกโครงการจะเข้าไปในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ e-GP ที่กรมบัญชีกลางให้กรอกทุกโครงการที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง

 

ศานนท์กล่าวอีกว่า อยากให้มีระบบ AI เข้าไปตรวจสอบว่าหากการจัดซื้อใกล้กับราคากลางมากเกินไป หรือการ e-bidding ที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลงานน้อยกว่าปกติ หรือราคาที่ต่ำกว่า 40% จะมีธงขึ้นเตือน อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเว็บไซต์ ACT AI พบว่าบริษัทที่ชนะประมูลเข้ามาตั้งแต่ปี 2565 เป็นปีที่เริ่มก่อนที่ทีมจะเข้ามาทำหน้าที่ และเป็นเจ้าเดิมที่ทำงานกับ กทม. มาก่อนแล้ว มีราคาลู่วิ่งที่เสนอมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ประมาณ 600,000 บาท และมีการจัดซื้อในปี 2566 และ 2567 ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนหลังไปได้

 

ขณะที่ตัวแทน ACT ระบุว่า ประชาชนต้องมีข้อมูลเพื่อสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ซึ่งในเว็บไซต์ ACT AI เป็นข้อมูลที่ดึงมาจาก e-GP ของกรมบัญชีกลาง มีความน่าเชื่อถือได้ มีทั้งหมด 36 ล้านโครงการ งบประมาณทั้งหมด 1 ล้านล้านบาท ซึ่งในกรณีของเครื่องออกกำลังกายตรวจเช็กได้ว่ามีผู้เสนอโครงการเพียงแค่ 2 ราย มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต นอกจากนี้ในระบบยังสามารถตรวจสอบผู้ชนะประมูล รวมถึงชื่อกรรมการบริหารบริษัทว่าเป็นใคร ทำให้สามารถตรวจสอบการรับงานของบริษัทดังกล่าวได้

 

เพจดังพบความผิดปกติ 9 โครงการ กทม.

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก ‘ชมรมSTRONGต้านทุจริตประเทศไทย’ เผยแพร่ข้อมูลระบุว่า กทม. จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ศูนย์กีฬา กทม. จำนวน 9 โครงการ ประกอบด้วย

 

  • ศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ 4,999,990 บาท
  • ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ 4,998,800 บาท
  • ศูนย์กีฬามิตรไมตรี 11 ล้านบาท
  • ศูนย์กีฬาอ่อนนุช 15.6 ล้านบาท
  • ศูนย์นันทนาการวัดดอกไม้ 11.5 ล้านบาท
  • ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 12.1 ล้านบาท
  • ส่วนนันทนาการ สำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ 17.9 ล้านบาท
  • ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 11.1 ล้านบาท
  • ครุภัณฑ์เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ 24 ล้านบาท

The post ผู้ว่าฯ กทม. นำแถลงปมทุจริตจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ชี้ว่าปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ พร้อมให้ตรวจสอบเต็มที่ ไม่มีฮั้วเลือกบริษัท-ปั่นราคา appeared first on THE STANDARD.

]]>
โพลนิด้าชี้ ประชาชนเกินครึ่งพอใจผลงาน 2 ปีของผู้ว่าฯ ชัชชาติ หากเลือกตั้ง 40.75% ยังเลือกเป็นผู้ว่าฯ ต่อ https://thestandard.co/nida-poll-2-years-chadchart/ Sun, 02 Jun 2024 05:00:21 +0000 https://thestandard.co/?p=940415

วันนี้ (2 มิถุนายน) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถ […]

The post โพลนิด้าชี้ ประชาชนเกินครึ่งพอใจผลงาน 2 ปีของผู้ว่าฯ ชัชชาติ หากเลือกตั้ง 40.75% ยังเลือกเป็นผู้ว่าฯ ต่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (2 มิถุนายน) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘2 ปี ผู้ว่าฯ ชัชชาติ’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-27 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานในรอบ 2 ปีของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครต่อการทำงานในรอบ 2 ปีของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

 

  1. การส่งเสริมการท่องเที่ยวใน กทม. ตัวอย่างร้อยละ 43.05 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.30 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 20.15 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 8.20 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 7.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ตัวอย่างร้อยละ 45.75 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.65 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 19.60 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 10.30 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การปรับปรุงและจัดระเบียบทางเท้า เช่น หาบเร่แผงลอย การจอดยานพาหนะหรือตั้งร้านบนทางเท้า ตัวอย่างร้อยละ 46.60 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.30 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 19.35 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.60 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การสนับสนุนการกีฬา ตัวอย่างร้อยละ 41.80 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 23.25 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 17.45 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 9.50 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 8.00 ระบุว่า ไม่ดีเลย

 

  1. การแก้ไขปัญหาความสะอาด ขยะ ฝุ่นละออง น้ำเสีย ตัวอย่างร้อยละ 44.30 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 25.40 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 17.15 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 12.25 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 0.90 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การปรับปรุงทัศนียภาพ ถนน ตรอก ซอย ตัวอย่างร้อยละ 46.90 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 23.60 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.85 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.45 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 1.20 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การปรับปรุงการให้บริการในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่างร้อยละ 43.15 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 22.10 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.05 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 12.40 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 6.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การป้องกันอาชญากรรมและสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การติดไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบรักษาความปลอดภัย ตัวอย่างร้อยละ 43.35 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 28.15 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 15.10 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.15 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.25 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ตัวอย่างร้อยละ 37.00 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 29.05 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.00 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 13.95 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 4.00 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การจัดระเบียบการชุมนุม ตัวอย่างร้อยละ 50 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 24.90 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 13.70 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 9.75 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า เรือ ตัวอย่างร้อยละ 10 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 29.35 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 13.35 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 8.80 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 7.40 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การแก้ไขปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข ตัวอย่างร้อยละ 41.25 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 28.65 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.65 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 6.45 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การพัฒนาการศึกษา แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ตัวอย่างร้อยละ 00 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 28.10 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.40 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 11.80 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 11.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่างร้อยละ 30.95 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 27.35 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 18.35 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 12.85 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 10.50 ระบุว่า ดีมาก

 

  1. การจัดระเบียบคนเร่ร่อน คนจรจัด ขอทาน ตัวอย่างร้อยละ 70 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 33.25 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 15.40 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 10.35 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 5.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การแก้ไขปัญหาจราจรและรถติด ตัวอย่างร้อยละ 30 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 34.40 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 17.60 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 9.00 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 1.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

 

  1. การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ตัวอย่างร้อยละ 38.70 ระบุว่า ไม่ค่อยดี รองลงมา ร้อยละ 24.70 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 24.55 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 7.15 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 4.90 ระบุว่า ดีมาก

 

ด้านความพึงพอใจของคนกรุงเทพมหานครต่อการทำงานในรอบ 2 ปีของผู้ว่าฯ ชัชชาติ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.25 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 20.35 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 18.45 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 10.60 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 0.35 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเลือก ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.75 ระบุว่า เลือก รองลงมา ร้อยละ 34.50 ระบุว่า ไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.35 ระบุว่า ไม่เลือก และร้อยละ 0.40 ระบุว่า ไม่ตอบ

The post โพลนิด้าชี้ ประชาชนเกินครึ่งพอใจผลงาน 2 ปีของผู้ว่าฯ ชัชชาติ หากเลือกตั้ง 40.75% ยังเลือกเป็นผู้ว่าฯ ต่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ชัชชาติ’ นำแถลงผลงาน 2 ปี ใช้หนี้ BTS 2 หมื่นล้าน เอาผิดข้าราชการทุจริต ให้คะแนนตัวเอง 5 เต็ม 10 https://thestandard.co/chadchart-2-year-performance/ Tue, 28 May 2024 08:11:35 +0000 https://thestandard.co/?p=938398

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร […]

The post ‘ชัชชาติ’ นำแถลงผลงาน 2 ปี ใช้หนี้ BTS 2 หมื่นล้าน เอาผิดข้าราชการทุจริต ให้คะแนนตัวเอง 5 เต็ม 10 appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครแถลงผลงาน 2 ปี ในหัวข้อ ‘2 ปี ทำงาน เปลี่ยน ปรับ ยกระดับกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่’

 

ชัชชาติกล่าวว่า วันนี้เป็นการมารายงานผลงาน 2  ปีให้กับประชาชน ถือเป็น 2 ปีของความท้าทาย และสิ่งที่ตกผลึกคือกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าเที่ยวแต่ประสิทธิภาพยังไม่สูงมาก ทั้งความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีคุณภาพ และที่ผ่านมาเชื่อว่าทางผู้บริหารได้พยายามเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพของเมืองเพื่อให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น ซึ่งได้ทำในหลายมิติ หลายนโยบายกว่า 200โครงการ

 

2 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน ซึ่ง 6 ด้านที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างถาวรคือ

 

  1. การเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง เจ้าหน้าที่ กทม. ‘หันหลังให้ผู้ว่าฯ หันหน้าให้ประชาชน’ โดยใช้ Traffy Fondue ในการแก้ไขปัญหา จนถึงปัจจุบันมีเรื่องที่ประชาชนแจ้งมาแล้วกว่า 590,000 เรื่อง และแก้ไปแล้วประมาณ 500,000 เรื่อง โดยที่ผู้ว่าฯ กทม. ไม่ต้องสั่งการ

 

  1. การกระจายอำนาจสู่ประชาชน โดยเอางบประมาณลงไปในชุมชน ลงไปในเขต ให้มากขึ้น

 

  1. เรื่องความโปร่งใส ยืนยันว่ารับเรื่องทุจริตคอร์รัปชันไม่ได้ หากเมืองไม่โปร่งใสไม่มีทางมีประสิทธิภาพได้ และจะเสียทรัพยากรไป เพราะจะทำให้คนมีเส้นถึงจะมีสิทธิ์ ดังนั้นที่ผ่านมามีการสั่งเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตออกไปแล้วประมาณ 30 คน

 

  1. การใช้เทคโนโลยีเพื่อมาปรับปรุงการให้บริการ

 

  1. การมีส่วนร่วมกับประชาชนในการทำกิจกรรมต่างๆ ใน กทม. มีคนรุ่นใหม่มามีส่วนร่วม เพราะเชื่อว่าเมืองนี้จะเปลี่ยนได้ถ้าทุกคนร่วมกัน

 

  1. กล้าทำปัญหาที่ท้าทาย โดยเฉพาะปัญหาสำคัญ คือเรื่องหนี้รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ที่ต่อเนื่องมานาน กทม. จึงได้มีการจ่ายหนี้ชุดแรกไปแล้ว ในงานระบบส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จำนวน 23,000 ล้านบาท รวมถึงโอนกรรมสิทธิ์โครงการส่วนต่อขยายมาเป็นของ กทม.

 

ชัชชาติกล่าวต่อว่า สิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือการลดการผูกขาด โดยจะเสนอรัฐบาลยกเลิกคำสั่งมาตรา 44 นำระบบรถไฟฟ้ากลับสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ร่วมทุนตามกฎหมายให้โปร่งใส และมีประโยชน์มากที่สุดกับประชาชน

 

รวมถึงความท้าทายเรื่องระบบการศึกษา การพัฒนาระบบสาธารณสุข เพราะเป็นตัวช่วยเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ

 

ทั้งนี้ เชื่อว่านโยบายและโครงการต่างๆ มากมาย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของเมืองจะเป็นผลในระยะยาว และอีก 2 ปี แม้ตนเองไม่อยู่แล้ว แต่โครงสร้างนี้จะยังอยู่ น่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลง และถ้ามีประโยชน์จะขยายผลไปที่จังหวัดอื่นและระดับประเทศไทย

 

“ผมเชื่อว่าสิ่งที่ได้ทำมานั้นหากผ่าน 4 ปีไปแล้ว ผมไม่อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยังอยู่คือโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว คือให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเสียงของประชาชนมีพลังมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ” ชัชชาติกล่าว

 

ชัชชาติกล่าวว่า สิ่งที่ยังต้องปรับปรุง เนื่องจากปัจจุบันยังมีพฤติกรรมผักชีโรยหน้าอยู่ ซึ่งยังไม่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมถึงการทุจริตคอร์รัปชันที่ยังมีกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอิทธิพล แต่เราก็ไม่กลัวและเดินหน้าต่อ รวมถึงฝาท่อที่ กทม. ต้องไปควบคุมคุณภาพ รถที่จอดริมถนน รวมถึงหาบเร่ที่ลงอยู่บนถนน ซึ่งเมื่ออยู่บนถนนจะเป็นอำนาจของตำรวจ ดังนั้นจึงต้องเป็นการบูรณาการ

 

ดังนั้นจึงต้องทำ 3 ส่วน คือปรับปรุงพนักงานของ กทม. ให้จริงจังขึ้น บูรณาการหน่วยงานให้เข้มข้นและให้ดีขึ้น และแก้ระเบียบที่ล้าหลัง

 

ชัชชาติยืนยันว่า กทม. ก็จะทำงานเต็มที่ เพื่อให้คนเหนื่อยน้อยลงและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เพื่อให้คนอยู่ในครอบครัวและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

 

หากให้คะแนนเต็ม 10 ชัชชาติกล่าวว่าขอให้คะแนนที่ 5 คะแนน เพราะจริงๆ เป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องให้คะแนน และ กทม. ยังต้องปรับปรุงพัฒนาต่อไป โดยน้อมรับคำติทุกข้อมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

 

ชัชชาติกล่าวต่อว่า หลังจากนี้คนจะใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น เพราะต้นทุนชีวิตคือคนจะใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องไปเสียเวลาการเดินทาง ไม่ต้องเอาคุณภาพชีวิตไปเสี่ยงกับมลพิษต่างๆ เชื่อว่า กทม. ไม่ได้มีนโยบายที่เป็นแชมเปียนเรื่องเดียว ต้องมีนโยบายเป็นร้อย เพราะไปผูกพันกับชีวิตคนหลายเรื่อง ดังนั้นจึงต้องเดินหน้าพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ในหลากหลายมิติ

 

The post ‘ชัชชาติ’ นำแถลงผลงาน 2 ปี ใช้หนี้ BTS 2 หมื่นล้าน เอาผิดข้าราชการทุจริต ให้คะแนนตัวเอง 5 เต็ม 10 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ความยุติธรรม’ ของข้าราชการ กทม. ที่ต่างเฝ้ารอให้ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ทำให้ปรากฏ https://thestandard.co/justice-for-government-officer/ Tue, 01 Nov 2022 04:50:10 +0000 https://thestandard.co/?p=702755 ข้าราชการ กทม

‘ชัชชาติ ลงชื่อคำสั่ง แต่งตั้ง-โยกย้ายข้าราชการ กทม. ตั […]

The post ‘ความยุติธรรม’ ของข้าราชการ กทม. ที่ต่างเฝ้ารอให้ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ทำให้ปรากฏ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ข้าราชการ กทม

‘ชัชชาติ ลงชื่อคำสั่ง แต่งตั้ง-โยกย้ายข้าราชการ กทม. ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการเขต’ คือหัวข้อข่าวที่ THE STANDARD ใช้พาดหัวไว้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ในเนื้อหาเป็นเพียงการอ้างอิงถึงคำสั่งของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ลงชื่อแต่งตั้ง-โยกย้าย ข้าราชการในสังกัด กทม. รวมไปถึงผู้อำนวยการเขต 12 รายชื่อ

 

จัดทัพใหม่? ล้างขั้วอำนาจเก่า? ช่วยคนที่ถูกดอง? เป็นคำถามที่เกิดขึ้นหลังจากเราได้ติดตามประเด็นนี้ และจนในที่สุดได้มีโอกาสพูดคุยอย่างลึกซึ้งกับทีมบริหาร (ทีมหลังบ้าน) ที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงเพื่อไขข้อข้องใจ และตอบคำถามที่เกิดขึ้น

 

วันนี้ THE STANDARD ชวนทุกคนมาร่วมวิเคราะห์ และหาคำตอบของปมคำถามเหล่านี้ไปด้วยกัน

 

ชมคลิปสัมภาษณ์: 

 

 

 

เสียงร้องขอที่ลอยมาตั้งแต่…วันที่ยังไม่เป็นผู้ว่าฯ

 

“ย้อนกลับไปตอนที่ทีมอาจารย์ชัชชาติเข้าไปหาเสียงเลือกตั้งที่ศาลาฯ กทม. มีคนเข้ามาพูดว่าขอให้คืนความยุติธรรมให้กับ กทม. ตั้งแต่วันนั้นเราก็ฝังหัวไว้ถ้าได้เข้าไปบริหาร ต้องตามหาว่าความยุติธรรมนั้นคืออะไร”

 

ต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ทีมของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. (ขณะนั้น) เข้าไปหาเสียงที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ในระหว่างการพูดคุย แจกแผ่นพับ ร่วมถ่ายรูป มีหนึ่งในข้าราชการที่ทำงานอยู่เข้ามาพูดกับชัชชาติว่า “ขอให้คืนความยุติธรรมให้กับ กทม.” 

 

ตั้งแต่วันนั้นมาการตามหาความยุติธรรมเป็นหนึ่งในโจทย์ของทีมผู้บริหาร จนกระทั่งการประชุมหารือกันเพื่อเตรียมรับการเกษียณอายุราชการของข้าราชการที่จะมีถึงในวันที่ 30 กันยายน

 

ต่อศักดิ์กล่าวว่า ในกระบวนการข้าราชการจะตัดกันในวันที่ 30 กันยายน ฉะนั้นจะเกิดการปรับโครงสร้างตัวใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของผู้ว่าฯ ชัชชาติ ครั้งนี้จะเป็นการเริ่มเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงองคาพยพที่ระบบราชการมี ที่สำคัญคือรอบนี้มีระดับผู้อำนวยการเขตเกษียณทั้งหมด 12 คน เพราะฉะนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

 

ทีมบริหารได้ค้นพบความผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับข้าราชการ กทม. คือคนที่อายุไม่มาก มีอายุห่างกับคนที่จะเกษียณ 15 ปี แต่มีตำแหน่งขึ้นแซงผู้ที่อาวุโสกว่าเป็น 10 ปี ส่วนนี้ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า ต้องมีระบบโครงสร้างอะไรผิดปกติ เพราะหากเป็นไปตามหลักที่พึงเป็นแล้ว องคาพยพต้องขยับแบบไม่ทิ้งห่างกันแบบนี้

 

“ผมยังคิดว่าระบบอุปถัมภ์บ้านเราเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่จากนี้เราต้องมีอะไรที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีหลักการที่สามารถตอบคนอื่นได้ว่าหลักการเป็นอย่างไร”

 

ต่อศักดิ์กล่าวต่อไปว่า ในช่วงที่ทีมบริหารของผู้ว่าฯ ชัชชาติเข้ามาทำงานแรกๆ มีหลายคนมาพูดเรื่องการวิ่งเต้น ซึ่งผู้ว่าฯ พูดชัดเจน และย้ำเสมอว่าไม่ได้เลย ห้าม

เพราะถ้าเราเริ่มต้นด้วยการซื้อตำแหน่ง รับเงิน การบริหารงานเราทั้งหมดจะถือว่าจบเลย ถ้าเริ่มต้นผิดมันจะผิดไปหมด

 

สิ่งที่ท่านผู้ว่าฯ ไม่ยอมเลยคือการทุจริต ถ้ามีการร้องเรียนเรื่องนี้ท่านเอาเป็นเรื่องเป็นราว และจะต้องตั้งคณะกรรมการหลายชุด ตรวจสอบอย่างจริงจัง และถ้ามีคนที่สงสัยขึ้นมาและอยากสอบถามก็จะรู้ว่ากระบวนการคัดเลือกของทีมนี้มีขั้นตอน และเราตอบได้แน่นอน

 

คงปฏิเสธไม่ได้เรื่องเด็กคนเก่า เด็กคนใหม่ ต่อศักดิ์กล่าวว่า ในเรื่องนี้ผู้ว่าฯ บอกว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กคนเก่า เด็กคนใหม่ให้มาวัดกันที่งาน เอางานเป็นหลัก

แม้ระบบโครงสร้างไม่สามารถเปลี่ยนได้ในวันเดียว และถ้าเราคุมคนแสนคนด้วยระบบโครงสร้างไม่ดี การจัดการไม่ดี ท้ายสุดองคาพยพก็เดินไม่ได้ สิ่งที่สำคัญคือความยุติธรรมต้องอยู่ในกรอบที่เรากำหนด มีระบบระเบียบจัดการอย่างถูกต้อง

 

แต่ทั้งนี้ระบบต่างๆ จะเดินต่อได้ผู้บริหารต้องยินยอม เพราะว่ามันคือการทำลายอำนาจผู้บริหารอย่างแท้จริง ในวันนี้ข้าราชการจำนวนมากต่างรอการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราสามารถทำให้เขามั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงสร้างความไว้วางใจได้ ตัวเขาเมื่ออยู่ในระบบหน้าที่การงานก็จะสร้างความไว้วางใจให้ประชาชนได้เช่นกัน

 

“เราต้องใช้ของภาษีประชาชนให้เกิดประโยชน์จริงๆ และอย่ามีการทุจริตเด็ดขาด ท่านผู้ว่าฯ ไม่เลี้ยงเลย เอาตาย” ต่อศักดิ์กล่าว

 

หมดเวลาของการวิ่งเต้น ถึงเวลาทำงานให้ปรากฏ

 

 

พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัด กทม. ในฐานะที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าฯ กทม. ให้เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเพื่อเลื่อน และแต่งตั้งข้าราชการ กทม. ในส่วนของระดับอำนวยการสูง กล่าวว่าได้รับโจทย์สำคัญจากทางผู้ว่าฯ คือต้องทำให้ตรงไปตรงมา สิ่งที่เน้นคือเรื่องของคนต้องเลือกอย่างมีคุณธรรม เลือกให้ได้คนที่มีศักยภาพ มีคุณภาพมาทำงานในตำแหน่งที่สมกัน

 

ในส่วนของผู้ที่จะสมัครระดับอำนวยการสูง จะต้องนำเสนอผลงานออกมาเป็นรูปเล่มตามแนวทางที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (กก.) กำหนด เนื้อหาภายในที่เสนอต้องสามารถตรวจสอบได้ถึงคุณสมบัติของผู้สมัคร และต้องนำเสนอแนวคิดพัฒนางานในตำแหน่งที่จะสมัครประกอบด้วย

 

พญ.วันทนีย์กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการฯ จะต้องตรวจสอบถึงเรื่องประวัติการทำงาน ประวัติการรับราชการ ว่าเคยโดนสอบวินัยหรือไม่ มีปัญหาสุขภาพ ปัญหาอย่างอื่นไหม เมื่อกรรมการอ่านผลงานในรูปเล่มจะมีเค้าโครงที่จะให้คะแนนระดับหนึ่ง แต่การสัมภาษณ์เจอตัวเป็นๆ ผู้สมัครจะต้องตอบคำถามตามที่วางแผนไว้ให้ได้

 

“ถ้าใครรู้จักหมอก็คงจะรู้ว่าหมอเป็นคนตรงๆ หมอให้ความเป็นธรรมกับทุกคน ไม่ต้องวิ่งค่ะ ทำงานให้ปรากฏ” พญ.วันทนีย์กล่าว

 

 

ถ้าวันเวลาไม่อาจพิสูจน์คุณค่าของคน แล้วอะไรกันที่จะพิสูจน์?

 

“ที่ผ่านมาความรู้สึกเราที่ไม่เคยถูกรับเลือกเป็นอย่างไร” เป็นคำถามที่เราตั้งใจถามกับ วาสนา บูรณกิตติโสภณ ผู้อำนวยการเขตบางคอแหลม หลังจากที่ได้เล่าให้ฟังว่า เธอรับราชการในสังกัด กทม. มานานกว่า 31 ปี ผ่านการสอบเลื่อนระดับเป็นผู้อำนวยการเขตมานับครั้งไม่ถ้วน จนเคยถอดใจและยอมแพ้ต่อคำตัดสินที่ได้รับว่าไม่ถูกรับเลือก

 

“บรรยายยากเหมือนกันนะน้อง เราเหมือนคนล้มเหลวในชีวิต คนที่ต้องเข้าห้องสัมภาษณ์หลายๆ หน พี่สมัครมาเป็นสิบครั้งเลยได้มั้ง เรารู้สึกว่าเหมือนคนล้มเหลว แล้วก็เราไม่ได้รับการพิจารณาสักทีหนึ่ง ทั้งๆ ที่เราทำงานในพื้นที่เราก็ตั้งใจเต็มที่ มีทั้งประชาชนส่งแรงใจเชียร์ เวลาเราจะไปสอบทุกคนก็เชียร์ แต่ที่นี่เราก็ไม่ได้รับการพิจารณาจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่เราก็ไม่พูดถึงตรงนั้น”

 

วันที่ถอดใจว่าคงจะไม่ได้เลื่อนระดับเธอมีความคิดหนึ่งฉายเข้ามาในการรับรู้ว่า “กทม. ไม่ได้ให้อะไรเรา เหมือนที่เราให้ กทม.”

 

วาสนาเป็นตัวแทนของข้าราชการอีกหลายๆ คน ที่ต้องการสะท้อนไปถึงผู้บริหารระดับสูงว่าจากนี้ ขอให้เห็นคุณค่าของคนที่ตั้งใจทำงานจริงๆ และควรจะมีการดูแลคนที่เขาตั้งใจทำจริงๆ ไม่ใช่ดูกันแบบฉาบฉวยหรือคนที่พรีเซนต์เก่งอีกต่อไป

 

“ประชาชนทุกคนเป็นพี่น้องของพี่ พี่กับประชาชนเราคือครอบครัวเดียวกัน เราจะดูแลเขาเหมือนเขาคือน้อง คือพี่ คือพ่อแม่ของเรา ทุกข์สุขของเขาคือทุกข์สุขของเรา ความเดือดร้อนของเขาคือความเดือดร้อนของเรา แต่ความสุขของเขาไม่ต้องแชร์ให้เราก็ได้ นั่นคือสิ่งที่พี่จะทำให้เขา” วาสนากล่าว

 

27 ปี คืออายุราชการที่ โครงการ เจียมจีรกุล ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง ปฏิบัติงานมา โดยเริ่มต้นจากเจ้าพนักงานการเกษตร ที่สำนักงานสวนสาธารณะสวนธนบุรีรมย์ ที่ผ่านมาโครงการมีความคิดเสมอว่า โอกาสในการเติบโตเป็นไปตามโอกาสที่ผู้บังคับบัญชาจะพิจารณา ในเมื่อผู้บังคับบัญชายังคิดว่าโอกาสต้องรอต่อไป ก็ให้คิดว่าเราได้ทำงาน อย่าคิดว่านี่คือการรอ

 

“ถ้ามองในหลักรัฐศาสตร์ ระบบอุปถัมภ์จะต้องมีไว้บ้าง แต่สัดส่วนเปอร์เซ็นต์จะต้องน้อยกว่าระบบคุณธรรม เพราะระบบคุณธรรมใช้คัดเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรของเราก้าวไปให้สู้องค์กรอื่นได้” สมฤดีกล่าว

 

ด้าน สมฤดี ลันสุชีพ ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ ยอมรับว่าในสมัยก่อนส่วนตัวคิดว่าการเลื่อน การแต่งตั้งระดับสูงจะมีสองระบบรวมกันคืออุปถัมภ์กับคุณธรรม สัดส่วนจะแตกต่างกันตามนโยบายผู้บริหาร

 

แม้จะผ่านการสอบเลื่อนระดับเป็นผู้อำนวยการเขต ระดับอำนวยการต้นถึง 7 ครั้งถึงจะประสบความสำเร็จ สมฤดีรู้สึกว่าความรู้ความสามารถที่สั่งสมคงควรค่าแก่ตำแหน่ง ที่ในที่สุดครั้งนี้เธอก็ได้รับจากความสามารถของตัวเอง

The post ‘ความยุติธรรม’ ของข้าราชการ กทม. ที่ต่างเฝ้ารอให้ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ทำให้ปรากฏ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประวิตรควงชัชชาติลงเรือตรวจคลองโอ่งอ่าง รับมือน้ำทะเลหนุนสูง น้ำท่วมขังกรุงเทพฯ https://thestandard.co/prawit-chadchart-ong-ang/ Fri, 28 Oct 2022 08:56:05 +0000 https://thestandard.co/?p=701448 ประวิตร ชัชชาติ

วันนี้ (28 ตุลาคม) พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐม […]

The post ประวิตรควงชัชชาติลงเรือตรวจคลองโอ่งอ่าง รับมือน้ำทะเลหนุนสูง น้ำท่วมขังกรุงเทพฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประวิตร ชัชชาติ

วันนี้ (28 ตุลาคม) พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมด้วย ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงที่คลองโอ่งอ่าง 

 

โดยมี ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) พร้อมด้วย ขจิต ชัชวานิชย์ ปลัด กทม. รายงานการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง และ กานต์กนิษฐ์  แห้วสันตติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กทม. เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ให้การต้อนรับ 

 

พล.อ. ประวิตรได้พบปะประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังในห้วงที่ผ่านมา ก่อนลงเรือตรวจเยี่ยมการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ 

 

พล.อ. ประวิตรระบุว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และได้สั่งการให้เร่งระบายน้ำเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน ควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ 

 

ทั้งนี้ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการวางแผนช่วงเวลาในการระบายน้ำให้สอดคล้องกับช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุนสูง เพื่อลดผลกระทบไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง และให้สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้โดยเร็ว

 

ขณะที่ สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอนช. เปิดเผยว่า กอนช. ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง ข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ พบว่าช่วงวันที่ 28-31 ตุลาคม จะเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดของเดือน ส่วนช่วงเวลาที่จะเกิดน้ำทะเลหนุนสูงจะเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า เวลา 06.00-10.00 น. และช่วงเย็นถึงค่ำ เวลา 16.00-20.00 น. โดยสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงจะยังคงมีอยู่ต่อไปจนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 

 

ทั้งนี้ สทนช. ได้ประสาน กทม. ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ที่อาจส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายกตัวขึ้นสูงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนต่างๆ  ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยาอาจได้รับผลกระทบในช่วงน้ำหนุนในบางช่วงเวลาได้ จึงขอให้ประชาชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำติดตามและเฝ้าระวังการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเลอย่างใกล้ชิด

 

สำหรับชุมชนนอกคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง มี 16 ชุมชน ในพื้นที่ 7 เขต ได้แก่ เขตดุสิต, เขตพระนคร, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางคอแหลม, เขตยานนาวา, เขตบางกอกน้อย และเขตคลองสาน 

 

ทั้งนี้ กทม. ได้มีมาตรการเตรียมความพร้อมรับมือในการตรวจสอบความแข็งแรงและจุดรั่วซึมของแนวป้องกันน้ำท่วม และเสริมกระสอบทรายจุดเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และตรวจสอบความพร้อมของเครื่องสูบน้ำตามแนวริมแม่น้ำให้พร้อมใช้งาน รวมทั้งติดตามสถานการณ์น้ำเหนือและการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานเป็นประจำทุกวันด้วย

The post ประวิตรควงชัชชาติลงเรือตรวจคลองโอ่งอ่าง รับมือน้ำทะเลหนุนสูง น้ำท่วมขังกรุงเทพฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ ยกเหตุการณ์หนองบัวลำภูเป็นสิ่งย้ำเตือนกระตุ้น ตั้งเป้า กทม. เป็นเมืองปลอดยาบ้า โรงเรียนและชุมชนต้องปลอดภัย https://thestandard.co/bkk-narcotics-free/ Sat, 08 Oct 2022 07:53:24 +0000 https://thestandard.co/?p=693149 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วันนี้ (8 ตุลาคม) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเ […]

The post ชัชชาติ ยกเหตุการณ์หนองบัวลำภูเป็นสิ่งย้ำเตือนกระตุ้น ตั้งเป้า กทม. เป็นเมืองปลอดยาบ้า โรงเรียนและชุมชนต้องปลอดภัย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วันนี้ (8 ตุลาคม) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีเหตุการณ์ที่หนองบัวลำภูว่า ขอให้คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีตัวอย่างที่อย่าคิดว่าจะไม่เกิดอีก กทม. เองต้องเตรียมพร้อมในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และต้องกำหนดมาตรการในโรงเรียนให้มากขึ้น ต้องไม่ให้คนอื่นเข้าในพื้นที่ และจัดให้มีระบบแจ้งเตือนป้องกันภัย

 

ทั้งหมดนี้อาจเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ต้นเหตุคือปัญหายาบ้าและอาวุธปืนที่ต้องเคร่งครัดมากขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีสัญญาณเตือนล่วงหน้ามาแล้ว มีความไม่ปกติของสภาพจิตใจของคน แต่หากคนในชุมชนเข้มแข็ง อาจจะทำให้เราเห็นได้ว่าคนในชุมชนเป็นอย่างไรและต้องแก้ไขอย่างไร

 

พล.ต.อ. อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า หากแยกประเภทปัญหาจะพบว่าปัญหาคืออาวุธปืน ยาเสพติด และพฤติกรรมของคน เรื่องยาเสพติดในช่วงหนึ่งก็มีนโยบายจับกุมและดำเนินคดี จากนั้นมีนโยบายผู้เสพคือผู้ป่วย ซึ่งทำให้ต้องมีการดูแลเชิงลึกขึ้น แต่หากสถานที่และคนดูแลไม่เพียงพอ รวมถึงผู้เสพไม่ให้ความร่วมมือ ก็จะเป็นการแก้ปัญหาแบบผิวเผิน ส่วนเรื่องของอาวุธปืนในประเทศเราทำได้ลำบาก เนื่องจากในประเทศเรามีจำนวนอาวุธปืนหลักล้าน แต่นโยบายในการควบคุมอาวุธปืนก็มีความเข้มแข็งและชัดเจน คนที่จะซื้ออาวุธปืนเป็นใครบ้าง มีการพิจารณาว่าใครจะสามารถมีแล้วเก็บไว้ที่บ้านหรือมีแล้วสามารถพกพาได้ ในส่วนของ กทม. เป็นอำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้อนุญาตให้พกพาอาวุธปืนได้ ซึ่งในแต่ละปีมีการพิจารณาอนุญาตเพียงหลักร้อยเท่านั้น โดยเป็นผู้ที่มีความจำเป็นจริงๆ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ราชทัณฑ์ ส่วนของตำรวจก็มีข้อยกเว้นหากเป็นการใส่เครื่องแบบเพื่อปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ กทม. ได้ให้นโยบายกวดขันในสถานที่ที่ไม่จำเป็นต้องพกพาอาวุธมากขึ้น เช่น โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องพก และจะกำหนดมาตรการเพิ่มเติมในสถานที่อื่นด้วย ซึ่งต้องดูว่าในส่วนของ กทม. มีอำนาจอย่างไรบ้าง

 

“เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจังที่ กทม. ต้องเข้าไปดู ต้องเพิ่มมาตรการในชุมชน เสริมกำลังในชุมชน ให้ชุมชนได้ดูแลผู้ติดยาและทำการบำบัด ซึ่ง กทม. มีศูนย์บำบัดของเรา และมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่จะร่วมดูแล แต่ กทม. จะรับไปทำให้เข้มข้นขึ้น โดยต้องตั้งเป้าให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ปลอดยาบ้า ถึงแม้จะยากหรืออยู่นอกการควบคุมของเราในหลายๆ เรื่อง และชุมชน โรงเรียนต้องเป็นเขตปลอดยาบ้า ต้องตั้งเป็นเป้าหมายเพื่อให้มีมาตรการดำเนินการ ทั้งนี้ ในชุมชนน่าจะมีข้อมูลและรู้กันอยู่แล้ว ประธานชุมชนรู้อยู่แล้วว่าคนไหนมีความน่ากลัวหรือจะเป็นอันตราย ต้องทำข้อมูลและทำในเชิงรุกให้เข้มแข็งขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก กทม. ไม่ได้มีอำนาจทั้งหมด อย่างน้อยโรงเรียนของ กทม. ที่เรารับผิดชอบต้องปลอดภัย แต่โรงเรียนมีทั้ง รปภ. และเทศกิจ ที่เป็นห่วงคือศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มี รปภ. ครูอาสาก็เป็นครูผู้หญิงหรือผู้สูงอายุ ที่ผ่านมาก็ได้หารือกับ ผบ.ตร. และคุยกันต่อเนื่องผ่านคณะกรรมการ Smart Safety Zone ซึ่งเรื่องยาเสพติดก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ได้คุยกับทางตำรวจตลอด ที่ผ่านมาอาจไม่ได้เน้น แต่ตอนนี้ต้องร่วมมือกับตำรวจให้จริงจังและมากขึ้น” ชัชชาติกล่าว

The post ชัชชาติ ยกเหตุการณ์หนองบัวลำภูเป็นสิ่งย้ำเตือนกระตุ้น ตั้งเป้า กทม. เป็นเมืองปลอดยาบ้า โรงเรียนและชุมชนต้องปลอดภัย appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ชัชชาติ’ ชู Traffy Fondue คือเครื่องสะท้อนความไว้วางใจจากประชาชน ต่อให้มีงบฯ มากก็ซื้อไม่ได้ https://thestandard.co/traffy-fondue-trust/ Thu, 06 Oct 2022 06:49:14 +0000 https://thestandard.co/?p=691952 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วันนี้ (6 ตุลาคม) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า […]

The post ‘ชัชชาติ’ ชู Traffy Fondue คือเครื่องสะท้อนความไว้วางใจจากประชาชน ต่อให้มีงบฯ มากก็ซื้อไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วันนี้ (6 ตุลาคม) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 10/2565 ว่าแอปพลิเคชัน Traffy Fondue สะท้อนสิ่งสำคัญที่สุดที่เปลี่ยนแปลงได้ใน 4 เดือนที่ผ่านมาคือ สามารถสร้างความไว้วางใจให้ประชาชนได้มากขึ้น เรื่องนี้ถึงแม้มีงบประมาณมากเท่าไรก็ไม่สามารถนำไปซื้อความไว้วางใจให้ประชาชนได้

 

ดังนั้น ถ้าสามารถสร้างความไว้วางใจให้ประชาชนได้ กทม. ก็จะมีแนวร่วมจำนวนมากที่มาช่วยทำเมืองให้ดีขึ้น 3-4 เดือนที่ผ่านมาต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ช่วยกันสร้างความไว้วางใจให้ประชาชนกลับคืนมาได้

 

ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า การใช้แอปพลิเคชัน Traffy Fondue เป็นตัวอย่างหนึ่งของการไว้วางใจ จะเห็นได้จากที่ประชาชนแจ้งเหตุเข้ามามากกว่า 160,000 คน เรื่องปัญหาต่างๆ เพราะว่าเขาไว้ใจว่า กทม. จะสามารถแก้ปัญหาให้พวกเขาได้ เพราะถ้าเขาไม่ไว้ใจเขาคงไม่เสียเวลาไปนั่งถ่ายรูป แล้วส่งเรื่องเข้าระบบ ซึ่ง Traffy Fondue มีใช้มานานแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จเท่าที่เราใช้ทุกวันนี้

 

“กทม. จัดการแก้ปัญหาจากการร้องเรียนไปแล้ว 96,000 เรื่อง นี่เป็นสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถสร้างความไว้ใจได้ และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีค่ามาก ฉะนั้น จึงย้ำเตือนกับเจ้าหน้าที่ว่า ให้ดูแลเรื่องเหล่านี้ให้ดี คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง หัวใจคือสร้างความไว้ใจระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่” ชัชชาติกล่าว

 

ชัชชาติกล่าวด้วยว่า ในส่วนของเรื่อง E-Service ปรับรูปแบบการให้บริการของ กทม. ให้อยู่ในระบบออนไลน์มากขึ้น ผ่านการใช้ระยะแรกไปแล้ว ซึ่งยังพบว่า ประชาชนยังใช้ไม่เยอะ เพราะยังมีบริการไม่มาก ซึ่งระยะต่อไปคาดว่าจะเสร็จในปลายปีนี้ ที่จะทำให้ระบบต่างๆ อยู่ในรูปแบบออนไลน์

The post ‘ชัชชาติ’ ชู Traffy Fondue คือเครื่องสะท้อนความไว้วางใจจากประชาชน ต่อให้มีงบฯ มากก็ซื้อไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: สด ‘ชัชชาติ’ ประชุมผู้บริหาร กทม. ถอดบทเรียนน้ำท่วมในอนาคต | THE STANDARD https://thestandard.co/chadchart-flood-meeting/ Thu, 06 Oct 2022 06:16:46 +0000 https://thestandard.co/?p=691916 ชัชชาติ

สด ‘ชัชชาติ’ ประชุมผู้บริหาร กทม. ถอดบทเรีย […]

The post ชมคลิป: สด ‘ชัชชาติ’ ประชุมผู้บริหาร กทม. ถอดบทเรียนน้ำท่วมในอนาคต | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ

สด ‘ชัชชาติ’ ประชุมผู้บริหาร กทม. ถอดบทเรียนน้ำท่วมในอนาคต

 

ชมคลิปอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://thestandard.co/video/

The post ชมคลิป: สด ‘ชัชชาติ’ ประชุมผู้บริหาร กทม. ถอดบทเรียนน้ำท่วมในอนาคต | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติเผย กทม. จะไม่ยื่นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความปมภาษีที่ดิน หลังขอปรับเกณฑ์เก็บใหม่ แต่เจอคลังเบรก เดินหน้าหาวิธีอื่น https://thestandard.co/bkk-land-tax/ Thu, 06 Oct 2022 00:57:31 +0000 https://thestandard.co/?p=691742 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วานนี้ (5 ตุลาคม) ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอ […]

The post ชัชชาติเผย กทม. จะไม่ยื่นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความปมภาษีที่ดิน หลังขอปรับเกณฑ์เก็บใหม่ แต่เจอคลังเบรก เดินหน้าหาวิธีอื่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วานนี้ (5 ตุลาคม) ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังเข้าร่วมการประชุมสภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 4 (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2565 หลังจากสภา กทม. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

ชัชชาติกล่าวว่า เดิมที กทม. มีการเก็บภาษีโรงเรือน อัตรา 12.5% ของรายได้ แต่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะเก็บตามราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ไม่ว่าใครจะทำอะไรต้องเสียภาษีในอัตราเท่ากัน สำหรับข้อกังวลคือ ปีงบประมาณ 2564 กทม. อาจเก็บภาษีได้ไม่มาก ประมาณการไว้ประมาณ 7.5 พันล้านบาท แต่เมื่อสิ้นปีงบประมาณ (เดือนกันยายน 2565) เก็บได้เกินเป้าคือ 1.4 หมื่นล้านบาท 

 

ปัญหาที่พบคือข้อมูลพื้นที่ไม่ครบถ้วน เนื่องจากไม่ได้มีการอัปเดต ปัจจุบัน กทม. เก็บข้อมูลได้เพียง 3,000,000 กว่าแปลง จากทั้งหมด 5,500,000 แปลง คาดว่าปีงบประมาณ 2565 ประมาณการจัดเก็บภาษีไว้ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท 

 

สำหรับการจัดเก็บภาษีของ กทม. จัดเก็บเอง 30% หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดย 70% เป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เหลือรัฐบาลกลางส่งมาให้เป็นภาษีล้อเลื่อน หรือ VAT ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ส่วนปัญหาการนำที่ดินขนาดใหญ่ไปใช้เป็นที่ดินเกษตรเพื่อให้เสียภาษีอัตราต่ำ ที่ 0.01% กทม. จึงเสนอปรับอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่ดินเกษตรกรรมตามสีของผังเมือง

 

ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า ทางกระทรวงการคลังสั่งหยุด และเสนอว่าหากจะดำเนินการต้องไปถามความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น ทั้งนี้ กทม. คงไม่ยื่นเรื่องไป เพราะไม่ใช่เรื่องที่ต้องตีความ แต่เป็นเรื่องเจตนารมณ์ หากกระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยก็คงต้องหาวิธีอื่นต่อไป

 

นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัญหาการแบ่งที่ดินเป็นแปลงแยกย่อย ทำให้ราคาประเมินถูกลง เก็บภาษีได้น้อยลงด้วย การตั้งคณะกรรมการวิสามัญฯ จึงต้องพิจารณาทุกมิติ ปัญหาต่างๆ ต้องแจ้งรัฐบาลต่อไป เพราะ กทม. ไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บังคับใช้ อัตราต่างๆ กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำหนดร่วมกัน 

The post ชัชชาติเผย กทม. จะไม่ยื่นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความปมภาษีที่ดิน หลังขอปรับเกณฑ์เก็บใหม่ แต่เจอคลังเบรก เดินหน้าหาวิธีอื่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรุงเทพธนาคม-กทม. เปิดตัวรถรับส่งผู้พิการ-ผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์ เตรียมเปิดบริการผ่านแอป มี.ค. 66 https://thestandard.co/handicapped-elderly-shuttle-bus/ Wed, 05 Oct 2022 03:29:41 +0000 https://thestandard.co/?p=691130 รถรับส่งผู้พิการ-ผู้สูงอายุ

วานนี้ (4 ตุลาคม) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพ […]

The post กรุงเทพธนาคม-กทม. เปิดตัวรถรับส่งผู้พิการ-ผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์ เตรียมเปิดบริการผ่านแอป มี.ค. 66 appeared first on THE STANDARD.

]]>
รถรับส่งผู้พิการ-ผู้สูงอายุ

วานนี้ (4 ตุลาคม) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด, กฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล, ดวงพรรณ กริชชาญชัย หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเปิดตัวโครงการรถบริการสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น หนึ่งในบริการเพื่อสังคมโดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด 

 

สืบเนื่องจากนโยบาย ‘กรุงเทพฯ 9 ดี 215 นโยบาย’ มีโครงการรถรับส่งคนพิการเป็นหนึ่งในนโยบายที่ตั้งใจเดินหน้าโครงการต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ โดยเฉพาะผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ ซึ่งไม่สามารถเดินทางไปยังที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก กทม. จึงมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิสาหกิจของ กทม. จัดรถรับส่งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ 

 

ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาแอปพลิเคชันภายใต้แนวคิด ‘เรียก รับ จัด จ่าย’ 

 

  • เรียก คือการเรียกบริการผ่านแอป 
  • รับ คือการรับข้อมูลผ่านแอป 
  • จัด คือการจัดรถ
  • จ่าย คือการจ่ายรถไปยังผู้ขอใช้บริการ 

 

โดยจะทดลองใช้งานแอปพลิเคชันประมาณเดือนมีนาคม 2566 

 

ทั้งนี้ ในอนาคตจะใช้การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบดิจิทัล เพื่อช่วยให้การเรียกใช้บริการสะดวกขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการรถเพื่อเพิ่มเที่ยววิ่งได้มากขึ้น และจะขยายโครงการและเพิ่มจุดบริการรถรับส่งผู้พิการให้ครอบคลุมสถานพยาบาลของ กทม. ต่อไป 

 

ชัชชาติกล่าวว่า นโยบายนี้ถือว่าสำคัญ เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน พี่น้องที่มีข้อจำกัดในการเดินทางก็เป็นส่วนหนึ่งกรุงเทพฯ เชื่อว่าเราจะทำให้พี่น้องทุกคนเดินทางได้สะดวก แม้มีข้อเสนอหลายอันที่จะให้ปรับปรุง เช่น เรื่องการเชื่อมต่อรถสาธารณะ เรื่องป้ายรถเมล์ต่างๆ ต้องดำเนินการปรับปรุงให้ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างเท่าเทียมกัน 

 

“คงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คงทำไม่เสร็จในเดือนเดียว กรุงเทพฯ มีพื้นที่กว้างขวาง ค่อยๆ จัดความสำคัญ ค่อยๆ ไล่ทำไป ได้คุยกับเครือข่ายและมีที่ปรึกษาที่เข้าใจพี่น้องที่ใช้วีลแชร์ ทำให้เราสามารถผลักดันนโยบายสำหรับประชาชนที่ใช้วีลแชร์ได้จริงๆ มีเครือข่ายที่เข้มแข็งและทำงานมาหลายปี เราเอาจริงเอาจัง และจะทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน” ชัชชาติกล่าว

 

ด้าน วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า กทม. ได้เปิดตัวโครงการรถให้บริการวีลแชร์แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยมอบหมายให้กรุงเทพธนาคมเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งโครงการนี้ กทม. ได้ทำมาก่อนแล้ว แต่รื้อฟื้นและปรับปรุงให้ดีขึ้น

 

เริ่มต้นขั้นแรกมีรถให้บริการ 10 คัน แต่จะมีการปรับปรุงเพิ่มจำนวนรถบริการ โดยร่วมกับพันธมิตรในการให้บริการเพิ่มเติมขึ้นมา ทั้งหมดนี้ กทม. ได้ฟังเสียงตอบรับความต้องการจากพันธมิตรทั้งหลายในเครือข่าย เพื่อปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการจริงๆ

 

ทั้งนี้ รถที่ให้บริการดัดแปลงจากรถตู้ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้รถวีลแชร์และผู้ติดตามด้วยความปลอดภัย ประกอบด้วยลิฟต์ไฮดรอลิกสำหรับขึ้น-ลง พร้อมที่จับ หมุดยึดตัวรถพร้อมสายรัดความปลอดภัยและเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ และเบาะเสริม 2 ที่นั่งสำหรับผู้ติดตาม สามารถรองรับรถวีลแชร์สูงสุด 3 คัน เบื้องต้นเปิดให้บริการจำนวน 10 คัน และจะเพิ่มเป็น 20 คัน รวมเป็น 30 คันภายในเดือนตุลาคมนี้ เบื้องต้นสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่สายด่วนสำหรับคนพิการ โทร. 1479 หรือสายด่วน 1555 ของ กทม.

The post กรุงเทพธนาคม-กทม. เปิดตัวรถรับส่งผู้พิการ-ผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์ เตรียมเปิดบริการผ่านแอป มี.ค. 66 appeared first on THE STANDARD.

]]>