ป่าแก่งกระจาน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 27 Oct 2022 03:12:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ไทยเชิญผู้เชี่ยวชาญ IUCN ให้คำปรึกษาเพื่ออนุรักษ์แหล่งมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน พ.ย. นี้ https://thestandard.co/iucn-kaeng-krachan-forest/ Thu, 27 Oct 2022 03:12:13 +0000 https://thestandard.co/?p=700699 มรดกโลก

วันนี้ (27ตุลาคม) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนา […]

The post ไทยเชิญผู้เชี่ยวชาญ IUCN ให้คำปรึกษาเพื่ออนุรักษ์แหล่งมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน พ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
มรดกโลก

วันนี้ (27ตุลาคม) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากที่กลุ่มป่าแก่งกระจานของประเทศไทย ได้รับการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 

 

รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด ที่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ป่า จึงได้เห็นควรให้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ให้เข้ามาช่วยเหลือในการเตรียมการทบทวนสภาพทั่วไปในการอนุรักษ์กลุ่มป่าแก่งกระจาน ให้เป็นไปตามแนวทางการอนุรักษ์มรดกโลกทางธรรมชาติ

 

ไตรศุลีกล่าวต่ออีกว่า การเข้ามาดำเนินการเพื่อให้คำปรึกษาจะอยู่ภายใต้สัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage Property: Kaeng Krachan Forest Complex (Thailand) ซึ่งผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา จากนั้นอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะลงนามร่วมกับผู้ประสานงานกับ IUCN ต่อไป

 

ไตรศุลีกล่าวด้วยว่า ผู้เชี่ยวชาญจาก IUCN จะเข้ามาปฏิบัติภารกิจให้คำปรึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยใช้เวลาลงพื้นที่ 8 วัน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเขตพื้นที่มรดกโลกเพื่อเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อของพื้นที่ ผนวกพื้นที่อนุรักษ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น การจัดการเขตกันชนของพื้นที่ป่ามรดกโลก การประเมินการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อุทยานแห่งชาติ 2562, พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ป่า การใช้ประโยชน์ที่ดิน การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

 

นอกจากนี้ จะมีการประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ ในการจัดการพื้นที่มรดกโลกเพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน การหาทางเลือกสำหรับดำเนินการในอนาคตในการรักษาความเชื่อมโยงทางชีววิทยาในพื้นที่ข้ามพรมแดนที่ติดกับพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน การประเมินสถานะประชากรชนิดพันธุ์ที่สำคัญของพืชป่าและสัตว์ป่า ตลอดจนประเมินผลกระทบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่และที่วางแผนไว้รวมถึงเขื่อนและถนน

 

“หลังจากลงพื้นที่แล้วผู้เชี่ยวชาญของ IUCN จะต้องทำรายงานเสนอต่อประเทศไทย ภายใน 6 สัปดาห์หลังจากลงพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลแนวทางการอนุรักษ์กลุ่มป่าแก่งกระจานให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติที่ยั่งยืนต่อไป” ไตรศุลีกล่าว

The post ไทยเชิญผู้เชี่ยวชาญ IUCN ให้คำปรึกษาเพื่ออนุรักษ์แหล่งมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน พ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จากใจแผ่นดิน สู่มรดกโลก สรุปประเด็นการคัดค้านขึ้นทะเบียนมรดกโลกป่าแก่งกระจาน https://thestandard.co/key-messages-bang-kloi-fight-and-kaeng-krachan-world-heritage/ Thu, 29 Jul 2021 00:05:55 +0000 https://thestandard.co/?p=518592 Bang Kloi

เป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้วที่กระแส #saveบางกลอย ถูกจุดขึ้ […]

The post จากใจแผ่นดิน สู่มรดกโลก สรุปประเด็นการคัดค้านขึ้นทะเบียนมรดกโลกป่าแก่งกระจาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Bang Kloi

เป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้วที่กระแส #saveบางกลอย ถูกจุดขึ้นมาบ่นโซเชียลมีเดีย ก่อนที่จะเคลื่อนจากออนไลน์สู่ออนกราวด์จนกลายเป็นกระแสเรียกร้องให้มีการจัดชุมนุมในประเด็นนี้หลายครั้ง

 

ทำให้คนไทยสามารถมองเห็นชาวกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ ณ ใจกลางป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มาเป็นเวลากว่า 100 ปี ได้ชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก

 

‘ใจแผ่นดิน’ คือสถานที่ที่เป็นถิ่นฐานของชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ พวกเขาอาศัยอยู่ร่วมกับป่าและทำไร่หมุนเวียน จนกระทั่งป่าแก่งกระจานได้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และได้ผันเปลี่ยนให้ชาวบางกลอยกลายเป็นผู้บุกรุกป่าในที่อยู่อาศัยของตนเอง เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติได้บุกเข้ารื้อสิ่งปลูกสร้าง ไล่ให้ชาวบ้านต้องย้ายลงมายังที่ดินจัดสรรที่แห้งแล้ง ไม่สามารถเพาะปลูกสิ่งใดได้ จนกระทั่งพวกเขาตัดสินใจที่จะย้ายกลับไปยังใจแผ่นดินอีกครั้ง 

 

การต่อสู้ของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงหลายครั้งในช่วงของการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญอย่าง ‘บิลลี่’ พอละจี รักจงเจริญ แกนนำชาวกะเหรี่ยงที่ถูกอุ้มฆ่า และเรื่องราวที่ซับซ้อนมากไปกว่ามิติด้านการอนุรักษ์ผืนป่าแต่เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

 

แต่ทว่าในปัจจุบัน การเรียกร้องสิทธิในการกลับบ้านให้แก่ชาวบ้านบางกลอยยังไม่ได้รับการมองเห็นจากภาครัฐ จนกระทั่งวานนี้ (26 กรกฎาคม) วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดเผยว่า พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้ป่าแห่งนี้ถูกควบคุมโดยมาตรการทางกฎหมายจากรัฐไทย ทั้งที่ปัญหาสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยยังไม่ได้รับการแก้ไข

 

ในวันเดียวกัน กลุ่มภาคีเครือข่าย SAVE บางกลอย ได้รวมตัวกันจัดกิจกรรม ‘มรดกโลก มรดกเลือด’ ขึ้น เพื่อแสดงออกถึงการคัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน ทวงความเป็นธรรมให้แก่ 3 ชีวิตที่ต้องสูญเสียจากการต่อสู้ พร้อมกับกระแส #saveบางกลอย ที่ได้กลับมาปรากฏบนโลกออนไลน์อีกครั้ง

 

THE STANDARD ได้สรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ใจแผ่นดิน บ้านของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยที่กำลังจะกลายเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ของประเทศไทยไว้ดังนี้

 

KEY MESSAGES:

 

การต่อสู้ของชาวบ้านบางกลอย

  • ชาวบ้านบางกลอยคือกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในใจกลางป่าแก่งกระจาน ในบริเวณที่เรียกว่า ‘ใจแผ่นดิน’ หาเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่หมุนเวียน และอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติมาเป็นระยะเวลามากกว่า 100 ปี
  • ในปี 2524 ได้มีการประกาศตั้งอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานขึ้น ห้ามไม่ให้ผู้ใดตั้งรกรากและอยู่อาศัยในผืนป่า จึงทำให้ชาวกะเหรี่ยงบางกลอยกลายเป็นผู้บุกรุกป่า และถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานมายังบริเวณด้านล่างที่รัฐจัดที่ดินทำการเกษตรไว้ให้
  • ทว่าชาวบ้านพบว่าที่ดินทำกินที่ได้รับมามีไม่เพียงพอและหลายส่วนไม่สามารถทำการเกษตรได้ จึงย้ายกลับไปอยู่ยังใจแผ่นดินที่เดิม ทำให้ในปี 2553-2554 เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ได้ใช้ปฏิบัติการ ‘ยุทธการตะนาวศรี’ ร่วมมือกับทหาร ไล่ชาวกะเหรี่ยงออกจากป่า
  • ปี 2554 ชาวบ้านนำโดยปู่คออี้ หรือ โคอิ มีมิ ชาวกะเหรี่ยงอาวุโส รวมตัวกันฟ้องกรมอุทยานฯ โดยแจงว่าชาวบ้านถูกเผาบ้านและยุ้งข้าว รื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างจากปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง รวมถึงขอให้ชาวกะเหรี่ยงสามารถกลับไปอยู่ในเขตอุทยานได้ตามเดิม
  • จนนำไปสู่การเสียชีวิตของ ‘บิลลี่’ พอละจี รักจงเจริญ แกนนำชาวกะเหรี่ยงและพยานคนสำคัญ ถูกลักพาตัวและพบเป็นกระดูกในเขตป่าแก่งกระจาน และ ‘อาจารย์ป๊อด’ ทัศน์กมล โอบอ้อม ผู้ประสานงานของกลุ่ม ถูกยิงเสียชีวิตขณะขับรถ โดยทั้งสองคดีไม่สามารถหาคนกระทำผิดได้จนถึงทุกวันนี้
  • ชาวบ้านที่ถูกไล่ลงมาในที่ดินที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปรับจ้างในเมือง จนกระทั่งเกิดวิกฤตโควิด ทำให้ไม่สามารถหางานทำได้ จึงตัดสินใจย้ายกลับเข้าไปอยู่ในอุทยานอีกครั้งเมื่อต้นปี 2564 และถูกเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจบุกจับตัวในข้อหายึดครองที่ดินภายในอุทยานแห่งชาติในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

การคัดค้านไม่ให้ ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

  • ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนให้กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในปี 2558, 2559 และ 2562 แต่ถูกคณะกรรมการทุกคนปัดตกทั้งหมด เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกเห็นว่าไทยยังไม่ได้แก้ไขเรื่องปัญหาสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
  • ในปี 2562 ยูเนสโกมีมติไม่รับรองให้อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นมรดกโลก และอยู่ในสถานะส่งเรื่องกลับ พร้อมยื่น 3 ข้อเสนอให้ไทยปรับปรุงภายในระยะเวลา 3 ปี ได้แก่
  1. แก้ไขข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
  2. ปรับปรุงแนวขอบเขตที่อาจจะกระทบเส้นเขตแดนไทย-เมียนมา และ
  3. ทำเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
  • วันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ระบุว่า กสม. ขอให้รัฐบาลชะลอการเสนอขึ้นทะเบียนป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกจนกว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลาย เนื่องจากในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคม ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ รัฐบาลไทยจะเสนอให้พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอีกครั้ง 
  • ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม เว็บไซต์ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเผยแพร่คำเตือนจากคณะผู้เชี่ยวชาญของ UN ที่ส่งถึงคณะกรรมการมรดกโลก ให้มีมติยกเลิกการขอขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจากเหตุผลเดียวกัน
  • วันที่ 26 กรกฎาคม วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดเผยว่า พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ทำให้พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของไทย ทั้งที่ปัญหาของกลุ่มกะเหรี่ยงบางกลอยยังไม่ได้รับการแก้ไข

 

กลุ่มป่าแก่งกระจานถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ส่งผลอย่างไรต่อชาวบ้านบางกลอย

  • วันที่ 26 กรกฎาคม เวลา 10.00 น. ก่อนการประกาศผลพิจารณาให้กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ได้มีกลุ่มมวลชนจัดกิจกรรมคัดค้านการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกบริเวณหน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยภาคีกลุ่ม SAVE บางกลอย ระบุว่า พี่น้องบางกลอยถูกไล่ออกจากบ้านเกิด การเดินทางกลับบ้าน 25 ปี แลกมาด้วยการถูกจับและดำเนินคดี แต่กระทรวงทรัพยากรฯ กลับเร่งผลักดันการขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยไม่สนใจวิถีชีวิตของชนเผ่าพื้นเมือง และเรียกร้องให้เลื่อนการพิจารณาออกไปจนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม
  • ผู้แทนจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดรัฐบาลต้องเร่งรัดในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจานในครั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ยื่นไปตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำรัฐประหารขึ้นมาเป็นรัฐบาลในระบอบเผด็จการ หลังจากนั้นมีการปัดตกมาทุกครั้งทั้ง 3 ครั้ง เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกทั้งหมด 21 ประเทศ มีมติไม่รับรองการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางธรรมชาติ 
  • “พื้นที่แห่งนี้มีกฎหมายทับซ้อนกันมากมาย พื้นที่นี้ไม่ได้ต่างอะไรกับอุทยานแห่งชาติ เพราะเป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับชาวบ้านได้ แม้ว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายอะไรก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการบัญญัติไว้ในกระดาษ แต่ในทางปฏิบัติไม่เคยเกิดขึ้นจริง การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแก้ไขปัญหาก็ตั้งในนาม ไม่มีการประชุมหรือมีมติให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมสักที” 
  • ด้านกระแส #saveบางกลอย โซเชียลมีเดียได้แสดงความกังวลว่า หากพื้นที่ป่าแก่งกระจานกลายเป็นมรดกโลก จะต้องถูกควบคุมด้วยมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองมรดกโลกโดยที่รัฐไทยจะมีส่วนเป็นผู้ควบคุม ซึ่งชาวบ้านบางกลอยจะยิ่งถูกบีบให้ออกจากบ้านของตนเอง

 

การล็อบบี้ครั้งยิ่งใหญ่ของรัฐบาลไทย

  • ผู้แทนจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้กล่าวเพิ่มเติมในกิจกรรมหน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า ผลการชี้ชะตากลุ่มป่าแก่งกระจานจะถูกรับรองเป็นมรดกโลกหรือไม่นั้นจะปรากฏในวันที่ 26 กรกฎาคม เวลา 16.30 น. แต่ทว่าเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 25 กรกฎาคม เว็บไซต์ของ UNESCO ได้เผยแพร่ร่างคำพิจารณาว่าจะมีมติให้กลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นเป็นมรดกโลก โดยมีประเทศรัสเซีย จีน โอมาน ซาอุดีอาระเบีย สเปน เอธิโอเปีย เซนต์คิตส์และเนวิส มาลี และไทย รับรองให้กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ นั่นหมายความว่านี่คือการล็อบบี้ครั้งยิ่งใหญ่ที่รัฐบาลไทยทำกับรัฐบาล 9 ประเทศ เพื่อให้รัฐบาลไทยได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

 

ป่ากับคน อยู่ร่วมกันได้หรือไม่

  • “ทำไมป่าแอมะซอนที่มีชนเผ่าเต็มไปหมด ทำไมยังเป็นมรดกโลกได้ ไม่เห็นเขาต้องไล่คนออกจากป่าเลย และถือเป็นจุดขาย เป็นสิ่งดีด้วยซ้ำไปที่มีคนดั้งเดิมอยู่” หนึ่ง-สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา อดีตผู้สื่อข่าวที่เป็นผู้จุดประเด็นกรณีพิพาทในพื้นที่แก่งกระจานเมื่อราว 10 ปีก่อนหน้า ได้ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา
  • สถาพรได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่าระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐและชาวบ้านควรจะพูดคุยกันเรื่องไร่หมุนเวียนและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ ให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ และถ้าศึกษาประวัติศาสตร์และบทเรียนที่ผ่านมาจะเห็นว่ากะเหรี่ยงอยู่ในป่า ป่าไม่ได้หายไปไหน แต่พอมันมีคนมาทำสัมปทานป่าไม้ ปีเดียวป่าหายเป็นพันเป็นหมื่นไร่ เราตั้งกรมอะไรขึ้นมาสักกรม จำนวนป่าก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • “อย่างน้อยคำว่าสิทธิมนุษยชน การมองว่าคนเหล่านี้ก็เป็นคนที่ควรจะได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ดูแล และสวัสดิการเหมือนกับเรา ไม่ใช่จะไปเผาบ้านเขาเมื่อไรก็ได้ ไม่ใช่จะไปอุ้มเขาขึ้นเฮลิคอปเตอร์หรือจับเขาโกนหัวเมื่อไรก็ได้”

 

อ้างอิง: 

The post จากใจแผ่นดิน สู่มรดกโลก สรุปประเด็นการคัดค้านขึ้นทะเบียนมรดกโลกป่าแก่งกระจาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
UNESCO ประกาศรับรอง ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ https://thestandard.co/unesco-announced-kaeng-krachan-forest-is-natural-world-heritage/ Tue, 27 Jul 2021 09:22:28 +0000 https://thestandard.co/?p=518091 กลุ่มป่าแก่งกระจาน

แม้การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ประจ […]

The post UNESCO ประกาศรับรอง ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลุ่มป่าแก่งกระจาน

แม้การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2564 จะยังไม่เสร็จสิ้น แต่รายชื่อมรดกโลกแห่งใหม่ที่ถูกขึ้นทะเบียนในปีนี้ก็ทยอยเผยออกมาบ้างแล้ว ซึ่ง ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ ที่ประเทศไทยยื่นขอขึ้นทะเบียนถูกพิจารณานั้น ได้รับการบรรจุเข้าเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของโลกเป็นที่เรียบร้อย 

 

ยูเนสโกให้เหตุผลว่า กลุ่มป่าแก่งกระจานเข้าหลักเกณฑ์ข้อที่ 10 คือ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และมีพันธุ์พืชและสัตว์ป่ามีคุณค่าควรการแก่การอนุรักษ์และเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ุ

 

ปัจจุบันกลุ่มป่าแก่งกระจานมีสัตว์ป่าทั้งหมดจำนวน 459 ชนิด โดยเป็นสัตว์ที่อยู่ในขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ 4 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ 8 ชนิด เกือบอยู่ในข่ายสูญพันธุ์ 23 ชนิด อยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 25 ชนิด และมีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ 378 ชนิด

 

สำหรับการได้รับขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มป่าแก่งกระจานกลายเป็นแหล่งมรดกโลกอันดับที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของประเทศ

 

อ้างอิง:

The post UNESCO ประกาศรับรอง ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแล้ว ท่ามกลางคำถามถึงสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย https://thestandard.co/kaeng-krachan-group-signed-as-natural-world-heritage/ Mon, 26 Jul 2021 13:09:31 +0000 https://thestandard.co/?p=517732 กลุ่มป่าแก่งกระจาน

วันนี้ (26 กรกฎาคม) วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทร […]

The post ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแล้ว ท่ามกลางคำถามถึงสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลุ่มป่าแก่งกระจาน

วันนี้ (26 กรกฎาคม) วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า หลายปีที่ประเทศไทยมุ่งมั่นผลักดันพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานและเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก โดยมีการนำเสนอมาแล้วถึง 3 ครั้ง ใน พ.ศ. 2558, 2559 และ 2562 จนเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 44 ใน พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นการจัดประชุมผ่านระบบทางไกลระหว่างวันที่ 16 -31 กรกฎาคม 2564 โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพ และในปีนี้พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้เกณฑ์ข้อที่ 10 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 

 

วราวุธกล่าวต่อว่า พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานนั้นเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของไทย นับตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งใน พ.ศ. 2534 และกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ใน พ.ศ. 2548 ซึ่งพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เนื่องจากเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ และมีคุณค่าโดดเด่นระดับโลก รวมไปถึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำภาชี เป็นป่าผืนใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ล้านไร่ (4,089 ตารางกิโลเมตร) มีความยาวตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดของพื้นที่มากกว่า 200 กิโลเมตร ประเทศไทยในฐานะเจ้าของแหล่ง จะต้องปกป้องรักษาแหล่งที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกให้คงคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลไว้ให้ลูกหลานต่อไป ซึ่งการที่พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนี้

 

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เผยแพร่เอกสารข่าวซึ่งระบุว่า กสม. ขอให้รัฐบาลชะลอการเสนอขึ้นทะเบียนป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก เนื่องจากห่วงปัญหาสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ ตามที่รัฐบาลจะนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเพื่อรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2564 นั้น กสม. โดย พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เสนอให้รัฐบาลชะลอการเสนอขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติออกไปก่อน จนกว่าปัญหาสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยจะคลี่คลาย

 

ขณะที่เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเผยแพร่คำเตือนจากคณะผู้เชี่ยวชาญของ UN ที่ส่งถึงคณะกรรมการมรดกโลกให้มีมติยกเลิกการขอขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เหตุมีชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงถูกละเมิดสิทธิในเขตอุทยานดังกล่าว 

 

ผู้เชี่ยวชาญยังเห็นว่าที่ผ่านมา (รัฐ) ยังไม่มีความจริงใจที่จะเปิดพื้นที่ให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก หากคณะกรรมการมีมติรับรอง อาจส่งผลให้เกิดการปฏิเสธสิทธิของชาวกะเหรี่ยงที่จะดำรงวิถีชีวิตดั้งเดิม โดยเฉพาะการทำไร่หมุนเวียน และอาจละเลยบทบาทของชุมชนในการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในป่าด้วย รวมทั้งแสดงความกังวลถึงนโยบายด้านสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองของ UNESCO ถูกรับรองแค่ถ้อยคำไว้บนกระดาษ แต่ไม่นำมาปฏิบัติจริง

 

ขณะที่เช้าวันนี้กลุ่มภาคีเครือข่าย SAVE บางกลอย จัดกิจกรรม ‘มรดกโลก มรดกเลือด’ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ คัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน

 

เนื่องจากวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญโลก ครั้งที่ 44 ที่ประเทศจีน จะมีการพิจารณาวาระกลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หลังจากเลื่อนการพิจารณามาแล้ว 2 ปี

 

โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีการขว้างถุงสีแดงใส่ป้ายหน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่า มรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจานคือ ‘มรดกเลือด’ เพราะมีอย่างน้อย 3 ชีวิตที่ต้องสูญเสียจากการต่อสู้เพื่อสิทธิและศักดิ์ศรีของกลุ่มชาติพันธุ์บนผืนป่าแก่งกระจาน

The post ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแล้ว ท่ามกลางคำถามถึงสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสม. ขอรัฐบาลชะลอเสนอขึ้นทะเบียน ‘ป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลก ห่วงปัญหาสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยยังไม่ได้รับการแก้ไข https://thestandard.co/nhrc-ask-gov-to-delay-proposal-to-register-kaeng-krachan-forest-world-heritage-site/ Tue, 13 Jul 2021 10:34:31 +0000 https://thestandard.co/?p=512129 กะเหรี่ยงบางกลอย

วันนี้ (13 กรกฎาคม) พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิ […]

The post กสม. ขอรัฐบาลชะลอเสนอขึ้นทะเบียน ‘ป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลก ห่วงปัญหาสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยยังไม่ได้รับการแก้ไข appeared first on THE STANDARD.

]]>
กะเหรี่ยงบางกลอย

วันนี้ (13 กรกฎาคม) พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่รัฐบาลจะนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเพื่อรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2564 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เสนอให้รัฐบาลชะลอการเสนอขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติออกไปก่อน จนกว่าปัญหาสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยจะคลี่คลาย

 

หนังสือดังกล่าวระบุว่า กสม. เห็นถึงคุณค่าของการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม จากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน รวมทั้งที่ได้เคยตรวจสอบกรณีดังกล่าว กสม. มีข้อเสนอเพื่อพิจารณาในประเด็นดังนี้

 

  1. คณะกรรมการมรดกโลกขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้มีข้อกังวลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ซึ่งในปัจจุบันยังปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหากรณีดังกล่าว อาทิ การโต้แย้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในพื้นที่ดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย

 

  1. แม้ภาครัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาโดยการจัดสรรพื้นที่ให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยที่ถูกย้ายออกจากพื้นที่ดั้งเดิมแล้ว แต่ในทางปฏิบัติกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยยังประสบปัญหาในการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ได้รับการจัดสรรอย่างจำกัด ไม่ครบถ้วน และสภาพดินไม่สามารถทำกินได้อย่างเพียงพอ ต่อมาเมื่อประมาณต้นปี 2564 กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบางส่วนได้กลับเข้าไปทำกินและอยู่อาศัยในพื้นที่ดั้งเดิม ทำให้ถูกจับกุมและเกิดข้อขัดแย้ง กระทั่งได้มีการแก้ไขปัญหาตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 67/2564 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2564 และมีการตั้งคณะอนุกรรมการ 5 ด้านขึ้นมา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผลการดำเนินการและข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงซึ่งถูกจับกุมกำลังถูกดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย

 

  1. กสม. ขอเสนอให้รัฐบาลชะลอการเสนอขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติออกไปก่อน จนกว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายและได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้เมื่อปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแล้ว กสม. พร้อมที่จะสนับสนุนการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติต่อไป

 

“กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยมีลักษณะเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งควรได้รับการคุ้มครองสิทธิในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของตน รวมทั้งมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และหนังสือสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี และมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามได้ให้การรับรองไว้” ประธาน กสม. กล่าว

The post กสม. ขอรัฐบาลชะลอเสนอขึ้นทะเบียน ‘ป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลก ห่วงปัญหาสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยยังไม่ได้รับการแก้ไข appeared first on THE STANDARD.

]]>