ป่าสงวน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 14 Jan 2025 06:11:22 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ความเสียหายจากไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์ตลอด 10 ปี https://thestandard.co/forest-fire-damage-thailand/ Tue, 14 Jan 2025 06:11:22 +0000 https://thestandard.co/?p=1030237 ไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์

ไฟป่าเป็นสาเหตุสำคัญที่นำมาสู่ความสูญเสียทั้งพืชพรรณ สั […]

The post ความเสียหายจากไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์ตลอด 10 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์

ไฟป่าเป็นสาเหตุสำคัญที่นำมาสู่ความสูญเสียทั้งพืชพรรณ สัตว์ป่า ระบบนิเวศ ตลอดจนปล่อยฝุ่นควันมลพิษ และเจ้าหน้าที่ที่ต้องเสี่ยงภัยเข้าไปควบคุมเพลิง โดยเฉพาะเหตุการณ์ล่าสุดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่เพลิงลุกไหม้ต่อเนื่องยาวนานถึง 9 วัน

 

สาเหตุของไฟป่าเกิดขึ้นได้ทั้งด้วยฝีมือมนุษย์หรือตามธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็ทำให้ป่าแห้งแล้ง เสี่ยงติดไฟง่ายขึ้น รวมถึงควบคุมเพลิงได้ยากขึ้นด้วย THE STANDARD นำเสนอข้อมูลเชิงสถิติจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน ไฟป่าสร้างความเสียหายเพียงใดต่อพื้นที่อนุรักษ์ในไทยตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

 

ไฟป่า

The post ความเสียหายจากไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์ตลอด 10 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ป่าทับลาน ปัญหาที่มีทางออก https://thestandard.co/thap-lan-a-problem-with-a-solution/ Wed, 10 Jul 2024 04:00:23 +0000 https://thestandard.co/?p=955788

เมื่อมีข่าวว่า ทางการมีนโยบายจะกันพื้นที่อุทยานแห่งชาติ […]

The post ป่าทับลาน ปัญหาที่มีทางออก appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อมีข่าวว่า ทางการมีนโยบายจะกันพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน 265,286 ไร่ออกไปจากอุทยานเพื่อไปจัดสรรที่ดิน ก็กลายเป็นข่าวใหญ่และมีกระแส ‘#Saveทับลาน’ กระหึ่มบนโลกออนไลน์

 

ประเด็นนี้มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

 

คนที่เห็นด้วยบอกว่า จะได้คืนความเป็นธรรมให้กับชาวบ้านที่ถูกราชการยึดที่ดินไปทำอุทยานมานานแล้ว

 

คนที่ไม่เห็นด้วยก็บอกว่า ป่าจะถูกทำลาย สุดท้ายนายทุนจะฮุบผืนป่าแทน

 

ความเห็นของผู้เขียนคือ ทั้งสองฝ่ายพูดถูกทั้งคู่ เพียงแต่ว่าพูดไม่หมด

 

อุทยานแห่งชาติทับลานมีพื้นที่ 1,398,000 ไร่ ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย, อำเภอวังน้ำเขียว, อำเภอครบุรี, อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

 

แต่อุทยานที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของประเทศ รองจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้สร้างปัญหาและความขัดแย้งในพื้นที่มาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา

 

เมื่อ 50-60 ปีก่อน ผืนป่าบริเวณนั้นรัฐบาลได้เปิดเป็นสัมปทานป่า มีการตัดไม้มหาศาล ชักลากไม้ออกมา พอยกเลิกสัมปทานป่า บรรดาคนงานลูกจ้างที่มาตั้งแคมป์ทำงานกลางป่าก็ไม่ได้ออกไปด้วย พากันตั้งรกรากในป่าสงวน จับจองพื้นที่ มีการเพาะปลูก จนขยายกลายเป็นหมู่บ้านในเวลาต่อมา

 

อีกด้านหนึ่งเป็นปัญหาความมั่นคง ในเวลานั้นป่าทับลานเป็นเขตอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่สู้รบกับรัฐบาล ยุทธศาสตร์หนึ่งของกองทัพคือ ชักชวนชาวบ้านเข้าไปอยู่เพื่อยึดพื้นที่ป่าไม่ให้ตกเป็นของฝ่ายคอมมิวนิสต์ อาทิ ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว เดิมทีนั้นเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงที่ทางกองทัพภาคที่ 2 ไปตั้งชุมชนไทยสามัคคีขึ้นมา และมีกระบวนการตั้งหมู่บ้านตั้งแต่ปี 2521 

 

ปี 2521 มีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน ให้สิทธิ์ที่ดินทำกินกับชาวบ้าน ซึ่งมีบางส่วนทับซ้อนกับเขตป่าสงวนและป่าไม้ถาวร  

 

ต่อมาทางการมีความพยายามจะอนุรักษ์ป่าทั่วประเทศ จึงมีการประกาศพื้นที่ป่าสงวนบางแห่งให้เป็นอุทยาน ซึ่งขอบเขตของพื้นที่ กรมป่าไม้ก็เอาแผนที่ 1:50,000 มากางแล้ววงพื้นที่ เจ้าหน้าที่แทบจะไม่ได้มาสำรวจดูว่าบริเวณนั้นมีคนอยู่ในป่าหรือทับที่ดินของชาวบ้านที่อาศัยมาก่อนหรือไม่

 

จนเมื่อปี 2524 มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งทับซ้อนพื้นที่ทั้ง 3 เขตที่ได้แบ่งไว้ในตอนแรก ได้แก่ เขตป่าสงวน เขตป่าไม้ถาวร และเขตปฏิรูปที่ดิน จึงได้เกิดปัญหาอุทยานทับที่ดินทำกินของชาวบ้านที่อยู่อาศัยมาก่อน

 

เมื่อชาวบ้านทวงถามก็ได้รับคำตอบว่า ประกาศไปก่อน แล้วค่อยกันพื้นที่ออกให้ตอนหลัง แต่ในความเป็นจริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ค่อยได้ทำอะไร จนสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านมานาน

 

ในปี 2541 ชาวบ้านชุมนุมประท้วงใหญ่ ครม. สมัยนั้นจึงมีมติให้กันพื้นที่อุทยานออก โดยการพิสูจน์สิทธิ์ว่าชาวบ้านอยู่มาก่อนหรือหลังประกาศอุทยาน ซึ่งรวมถึงอุทยานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอื่นๆ ทั่วประเทศที่มีปัญหาคล้ายคลึงกันด้วย

 

แต่หน่วยงานราชการก็ไม่กล้าทำอะไร ขยับอะไรแบบช้าๆ เพราะกลัวว่าจะเป็นบรรทัดฐานให้กับป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ

 

ปัญหาจึงคาราคาซังมาหลายสิบปี แนวเขตอุทยานก็ไม่มีการปรับปรุงให้ชัดเจน เพราะต้องรอพิสูจน์สิทธิ์ก่อน และเจ้าหน้าที่ก็ปล่อยปละละเลย ทำให้เกิดการขยายพื้นที่บุกรุกอุทยานเพิ่มขึ้นตั้งแต่การเกษตรและสิ่งก่อสร้างมากมาย โดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของผู้บุกรุกก็ตาม 

 

ในขณะเดียวกัน พื้นที่หลายแห่งในอุทยานก็ได้รับความนิยม อากาศสดชื่น ภูมิประเทศงดงาม จึงมีการบุกรุกจับจองทำเป็นรีสอร์ตจำนวนมาก

 

คนที่บุกรุกป่าไม่ใช่ชาวบ้านเท่านั้น แต่มีทั้งนักการเมือง คนในเครื่องแบบ และผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นจำนวนมาก พื้นที่ในอุทยานที่ถูกบุกรุกก็เปลี่ยนมือจากชาวบ้านมาเป็นคนกลุ่มนี้ที่ไปกว้านซื้อที่ดินจำนวนมากจากชาวบ้านในราคาถูกๆ เพื่อรอเวลาให้มีการกันพื้นที่เหล่านี้ออกจากอุทยาน เปลี่ยนสภาพเป็น ส.ป.ก. ซึ่งสามารถเปลี่ยนมือซื้อ-ขาย ออกเอกสารสิทธิ์ได้ ซึ่งถึงเวลานั้นราคาที่ดินคงขยับตัวขึ้นหลายเท่า

 

น่าสังเกตว่า การเพิกถอนอุทยาน 2 แสนกว่าไร่เกิดขึ้นในสมัยที่พรรคร่วมรัฐบาลพรรคหนึ่งได้คุม 2 กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และมีนักการเมืองอยู่ในพื้นที่

 

ตลอดเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ทางการได้ละเลยในการจัดการปัญหานี้อย่างจริงจัง ใช้วิธีซื้อเวลาไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของชาวบ้าน จนก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย

 

ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน มีแนวทางในการแก้ปัญหานี้ คือ

 

สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นก่อน โดยการเพิกถอนพื้นที่อุทยานที่ประกาศทับที่ดินของชาวบ้านที่อยู่อาศัยมาก่อนประมาณแสนไร่

 

ส่วนอีกแสนกว่าไร่ที่เกิดจากการบุกรุกป่าหลังประกาศเขตอุทยาน ไม่น่าจะได้รับการเพิกถอน จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์และมีหลักฐานชัดเจน

 

ความขัดแย้งครั้งนี้มีแนวทางแก้ปัญหาไม่ได้ซับซ้อนมาก อยู่ที่ว่าทุกฝ่ายจะจริงใจในการแก้ปัญหาหรือไม่

 

หากการแก้ไขปัญหาครั้งนี้สำเร็จ ก็น่าจะเป็นบรรทัดฐานในการแก้ปัญหาการประกาศพื้นที่อุทยานทับที่ดินทำกินชาวบ้านที่อยู่มาก่อนอีกหลายแห่งทั่วประเทศ

 

ต้องยอมรับความจริงว่า การคืนความยุติธรรมให้กับชาวบ้านจากเรื่องที่ดินทำกินเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างเร่งด่วน

 

ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า การรักษาผืนป่าอย่างจริงจังก็เป็นความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคสมัยที่โลกกำลังเดือดขึ้นเรื่อยๆ

The post ป่าทับลาน ปัญหาที่มีทางออก appeared first on THE STANDARD.

]]>
พัชรวาทชี้ เพิกถอนพื้นที่ทับลานคืนประชาชนแค่ 50,000 ไร่ ด้านอธิบดีกรมอุทยานฯ ย้ำคนไม่มีคุณสมบัติ-รุกที่ไม่มีสิทธิ https://thestandard.co/patcharawat-returned-people-50000-rai/ Tue, 09 Jul 2024 04:27:21 +0000 https://thestandard.co/?p=955295

วันนี้ (9 กรกฎาคม) พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรั […]

The post พัชรวาทชี้ เพิกถอนพื้นที่ทับลานคืนประชาชนแค่ 50,000 ไร่ ด้านอธิบดีกรมอุทยานฯ ย้ำคนไม่มีคุณสมบัติ-รุกที่ไม่มีสิทธิ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (9 กรกฎาคม) พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการล่ารายชื่อคัดค้านการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่ทับซ้อนกับที่ดินประชาชนกว่า 265,000 ไร่ว่า ขณะนี้กำลังทำประชาพิจารณ์โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินของชาวบ้านประมาณ 50,000 ไร่ ส่วนนี้จะดูแลชาวบ้านเป็นหลัก ส่วนตัวเลข 265,000 ไร่เป็นพื้นที่เขตอุทยานทับลานทั้งหมด ไม่ใช่ที่ดินทำกินทั้งหมด 

 

ทั้งนี้คณะกรรมการอุทยานฯ จะเป็นผู้พิจารณา พร้อมย้ำว่าจะเร่งรัดให้พิจารณาภายใน 30 วัน ส่วนกระแสที่ประชาชนทั้งประเทศไม่เห็นด้วยเราก็พร้อมรับฟังแล้วนำมาพิจารณาภายหลัง โดยขั้นตอนกระบวนการทำประชาพิจารณ์​จะแล้วเสร็จในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 โดยรายละเอียดขอให้ถามอธิบดีกรมอุทยานฯ

 

คนไม่มีคุณสมบัติ-รุกที่ ไม่ได้รับการยกเว้น 

 

ด้าน อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวถึงกรณีการรับฟังความคิดเห็นประชาชน เพื่อดำเนินการแบ่งพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา-ปราจีนบุรี จำนวนกว่า 265,000 ไร่ ไปให้ ส.ป.ก. ดูแลว่า ปัญหาพื้นที่พิพาทในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานมีมานานกว่า 40 ปีแล้ว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวก่อนเป็นอุทยานแห่งชาติเป็นป่าสงวนมาก่อน และจัดพื้นที่ให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยได้เข้าไปทำกิน เนื้อที่ประมาณ 58,000 ไร่ แต่หลังจากนั้นได้มีการประกาศอุทยานแห่งชาติไปทับพื้นที่ในส่วนนี้ซึ่งถือเป็นความบกพร่องของกรมป่าไม้ในอดีต จึงมีการเรียกร้องให้กันพื้นที่ออกจากอุทยาน และมีการสำรวจพื้นที่ใหม่อีกครั้งในปี 2543 แต่กระบวนการดังกล่าวไปไม่ถึงจุดหมาย 

 

อรรถพลระบุว่า หลายรัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน และมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และมีมติให้กันพื้นที่ชุมชนจำนวนกว่า 265,000 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ของ ส.ป.ก. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบในวันที่ 14 มีนาคม 2566 แต่บุคคลใดที่ถูกดำเนินคดีในพื้นที่ดังกล่าวจะไม่ได้รับการยกเว้น

 

สรุปรับฟังความเห็นประชาชน-ออนไลน์ ภายใน 30 วัน 

 

อรรถพลยังเปิดเผยว่า จากมติดังกล่าวทำให้กรมอุทยานฯ ต้องมาดำเนินการปรับปรุงแนวเขต แต่จะทำได้ต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั้งจากในพื้นที่และประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ และจะสิ้นสุดในวันที่ 12 กรกฎาคม ก่อนจะรวบรวมเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณาภายใน 30 วัน เพื่อมีมติเสนอต่อ ครม. ต่อไป โดยสิ่งสำคัญจะต้องยึดหลักข้อเท็จจริง ทั้งเรื่องการอยู่อาศัยทำกินและการดูแลรักษาผืนป่า เนื่องจากในจำนวน 265,000 ไร่ มีทั้งคนที่อยู่อาศัยอยู่เดิมจากการจัดสรรพื้นที่ และคนที่มาซื้อต่อเป็นมือที่ 2 มือที่ 3 รวมถึงกลุ่มรีสอร์ตที่ถูกดำเนินคดีกว่า 12,000 ไร่ 

 

ส่วนที่หลายคนมองว่า มติ ครม. เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นการเอื้อนายทุน อรรถพลชี้แจงว่า รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินให้กับชาวบ้าน จึงเห็นว่าควรทำให้เป็นที่ดินของรัฐ และ ส.ป.ก. ก็ถือเป็นที่ดินของรัฐ ดังนั้น ส.ป.ก. จึงต้องเข้ามาพิจารณาตรวจสอบว่าใครมีสิทธิ ในส่วนของกรมอุทยานเองก็จะต้องไปพิจารณาร่วมกันในชั้นของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเพื่อเสนอต่อ ครม. พร้อมย้ำว่าบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมายก็จะไม่มีคุณสมบัติถือครองที่ดินอยู่อย่างนั้น เพราะกังวลว่าหากมีการจัดสรรที่ไปแล้วจะเกิดผลกระทบให้นายทุนกลุ่มรีสอร์ตเข้าไปดำเนินการถือครองได้ 

 

ส่วนประชาชนจะต้องได้รับการจัดสรรพื้นที่จำนวนเท่าไรและใครจะได้บ้างนั้น อรรถพลระบุว่า ต้องไปหารือในชั้นคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพราะคุณสมบัติแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนอยู่มาแต่เดิม บางคนมาซื้อขายเปลี่ยนมือ บางคนเข้ามากว้านซื้อ จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติผู้ครอบครองที่ดินของรัฐ 

 

เมื่อถามว่า มติ ครม. ให้ดำเนินการตามแผนที่ที่มีการรังวัดใหม่ในปี 2543 เสียงของประชาชนจะสามารถเปลี่ยนแปลงมติดังกล่าวได้หรือไม่ อรรถพลระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา และเป็นข้อเสนอของคณะกรรมการอุทยานฯ ซึ่งตอนนี้มีการรับฟังความเห็นทั้งชาวบ้านในพื้นที่และในโลกออนไลน์ แต่ทุกอย่างต้องไปยุติที่คณะกรรมการอุทยานฯ เพื่อเสนอต่อ สคทช. หรือ ครม. หากมีมติให้ดำเนินการตามแผนที่ปี 2543 กรมอุทยานก็ต้องมาดำเนินการรังวัดเพื่อปรับแผนที่ท้ายกฎหมายใหม่

The post พัชรวาทชี้ เพิกถอนพื้นที่ทับลานคืนประชาชนแค่ 50,000 ไร่ ด้านอธิบดีกรมอุทยานฯ ย้ำคนไม่มีคุณสมบัติ-รุกที่ไม่มีสิทธิ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุทิน รับปากทบทวนแบ่งที่ดินสร้างศูนย์ต่อสู้อากาศยาน จ.ภูเก็ต ให้ชาวบ้าน หลังพบรุกที่ดินป่าสงวน ยืนยันหน่วยงานพิจารณาแล้วต้องใช้ 3,000 ไร่ https://thestandard.co/land-to-build-an-anti-aircraft-center-phuket/ Thu, 26 Oct 2023 08:15:31 +0000 https://thestandard.co/?p=858945 สุทิน คลังแสง

วันนี้ (26 ตุลาคม) ที่รัฐสภา ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส. […]

The post สุทิน รับปากทบทวนแบ่งที่ดินสร้างศูนย์ต่อสู้อากาศยาน จ.ภูเก็ต ให้ชาวบ้าน หลังพบรุกที่ดินป่าสงวน ยืนยันหน่วยงานพิจารณาแล้วต้องใช้ 3,000 ไร่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุทิน คลังแสง

วันนี้ (26 ตุลาคม) ที่รัฐสภา ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส. ภูเก็ต พรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้สดถาม สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถึงเหตุผลการใช้ประโยชน์ที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางขนุน จังหวัดภูเก็ต เพื่อใช้เป็นศูนย์ต่อสู้อากาศยานของกองทัพเรือจำนวน 3,000 กว่าไร่ สอดคล้องกับนโยบายการลดกำลังทหารและภัยความมั่นคงใหม่หรือไม่ 

 

ด้านสุทินกล่าวว่า กรมป่าไม้ได้อนุญาตให้กองทัพเรือใช้ป่าสงวนแห่งชาติป่าบางขนุน จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจุดสำคัญในด้านทะเลอันดามันที่เราจะต้องคุ้มครองเป็นพิเศษ และมีสนามบินภูเก็ตเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ติดชายฝั่งทะเล โดยกองทัพไทยได้มอบให้กองทัพเรือรับผิดชอบจุดยุทธศาสตร์ดังกล่าว และทางกองทัพเรือได้สำรวจในช่วงก่อนที่ตนจะเข้ามารับตำแหน่ง พบว่าจุดดังกล่าวสามารถเคลื่อนกำลังหรือวางกำลังมาปกป้องได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และเป็นพื้นที่ต่อสู้อากาศยานได้ดีที่สุด เนื่องจากห่างจากสนามบินเพียง 12 กิโลเมตร

 

ส่วนการใช้ที่ดินดังกล่าวจำนวน 3,000 ไร่นั้น สุทินกล่าวว่า เชื่อว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาอย่างถูกต้องแล้ว สำหรับการนำที่ทหารมาช่วยเหลือประโยชน์ให้กับประชาชนตามนโยบายของพรรคเพื่อไทยนั้น ตนจะไปติดตามและรับไปตรวจสอบ ทบทวน หากเกินความจำเป็นหรือไม่ได้ใช้งาน จะแบ่งมาให้กับพี่น้องในชุมชน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรับปากว่าจะนำมาคืนให้กับชาวบ้าน

 

สำหรับนโยบายการแบ่งที่ดินของกระทรวงกลาโหมให้ประชาชนได้ใช้งานนั้น มีเกณฑ์การแบ่ง เช่น พื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้ทางยุทธศาสตร์การซ้อมรบต้องกันไว้ให้ทหาร ส่วนที่ที่ไม่ได้ใช้ส่วนใหญ่ หากเป็นที่ของกรมธนารักษ์จะต้องเข้าสู่กระบวนการใช้ตามกฎหมายของกรมธนารักษ์ เช่น การให้เช่า เป็นต้น และบางส่วนอาจเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ แม้ทางทหารจะคืนที่ดินนั้นไป กรมป่าไม้ก็จะต้องเป็นผู้พิจารณา ทหารไม่สามารถใช้ตามใจหรือละเลยสิ่งแวดล้อมทำให้สภาพป่าเสื่อมโทรมได้ 

 

ส่วนคำถามที่ว่า กระทรวงกลาโหมจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างศูนย์ฝึกแห่งนี้จำนวนเท่าไร ได้ศึกษาผลกระทบต่อประชาชน และมีหน่วยงานที่เยียวยาประชาชนแล้วหรือไม่ สุทินยืนยันว่า ได้ศึกษาผลกระทบแล้ว พบว่ามีประชาชนใช้สิ่งปลูกสร้างถาวรอาศัยอยู่ 25 ครอบครัว มีสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่มีคนอาศัยอยู่ 23 ครอบครัว และสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว 22 ครอบครัว ซึ่งจะต้องรับผิดชอบไม่ให้ครอบครัวเหล่านี้ได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิต 

 

สุทินกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการพิสูจน์สิทธิ หากพบประชาชนอาศัยอยู่ก่อนกฎหมายออกมา จะได้สิทธิที่อยู่อาศัยนั้นไป แต่จากการตรวจสอบพบว่า ประชาชนส่วนนี้ไม่อยู่ในเกณฑ์เงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิที่อยู่อาศัย และอยู่ในช่วงพิพาทกับกรมป่าไม้ ชาวบ้านจะไม่มีสิทธิอยู่ แม้ไม่มีกองทัพเรือเข้าไปก็จะยังมีปัญหากับกรมป่าไม้ แต่ทางกองทัพเรือยืนยันว่า เมื่อเข้าไปดำเนินการแล้วจะมีการเยียวยาและรับผิดชอบผลกระทบของราษฎร โดยจะเปิดศูนย์รวบรวมสิทธิ ซึ่งในระยะสั้นพืชผลและสิ่งปลูกสร้างที่ราษฎรได้ทำไว้ กองทัพเรือจะไม่เข้าไปทำลายและปล่อยให้มีการเก็บเกี่ยวพืชผล ส่วนในระยะยาวจะหาที่ดินแห่งใหม่ให้พี่น้องประชาชนได้อาศัย แต่เนื่องจากในจังหวัดภูเก็ตมีที่ดินจำนวนน้อย จึงได้หาที่ดินในจังหวัดอื่นเพื่อมารองรับแทน

 

ขณะที่การศึกษาด้านผลกระทบ สุทินระบุว่า มีการศึกษาแต่ยังไม่ถึงขั้นทำ EIA ส่วนงบประมาณในปี 2567 ใช้งบประมาณ 1,550 ล้านบาท เป็นการก่อสร้างโครงสร้างและถนนหนทาง ในปี 2568 ใช้งบประมาณ 380 ล้านบาท เป็นการก่อสร้างกองบังคับการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และเป็นที่อยู่อาศัยของกำลังพล 

 

สำหรับการก่อสร้างศูนย์ต่อสู้อากาศยานของกองทัพเรือที่จังหวัดภูเก็ต สุทินยืนยันว่า จำเป็นต้องเป็นที่นี่เนื่องจากจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด และกองทัพเรืออยากใช้ที่นี่ แม้จะมีค่ายทหารในจังหวัดพังงา แต่มีระยะทาง 60 กิโลเมตร

The post สุทิน รับปากทบทวนแบ่งที่ดินสร้างศูนย์ต่อสู้อากาศยาน จ.ภูเก็ต ให้ชาวบ้าน หลังพบรุกที่ดินป่าสงวน ยืนยันหน่วยงานพิจารณาแล้วต้องใช้ 3,000 ไร่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลให้ประกัน ‘สุนทร วิลาวัลย์’ หลังถูกออกหมายจับแต่มามอบตัว วงเงิน 6 แสนบาท อัยการไม่ค้านประกัน https://thestandard.co/court-granted-bail-to-sunthorn-wilawan/ Tue, 21 Jun 2022 11:39:41 +0000 https://thestandard.co/?p=644683 สุนทร วิลาวัลย์

วันนี้ (21 มิถุนายน) พนักงานอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามก […]

The post ศาลให้ประกัน ‘สุนทร วิลาวัลย์’ หลังถูกออกหมายจับแต่มามอบตัว วงเงิน 6 แสนบาท อัยการไม่ค้านประกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุนทร วิลาวัลย์

วันนี้ (21 มิถุนายน) พนักงานอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง สุนทร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปราจีนบุรี เป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำ อท.69/2565 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86, 151 และประมวลกฎหมายที่ดิน ในคดีร่วมกับพวกรวม 10 คน มีส่วนร่วมบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อช่วงปี 2545 

 

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 มีคำสั่งประทับฟ้อง และกำหนดนัดคุ้มครองสิทธิ พร้อมสอบคำให้การจำเลย ในวันที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 น. 

 

ทั้งนี้ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างพิจารณา โดยใช้หลักประกันเป็นเงินสด 600,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร 

 

ด้านประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ตอบข้อซักถามในประเด็นที่ว่า พนักงานอัยการได้ยื่นคัดค้านประกันตัวสุนทร จากเดิมที่เคยหนีคดีจนศาลต้องออกหมายจับฉบับที่ 2 จากการส่งตัวฟ้องในวันนี้หรือไม่ว่า ข้อเท็จจริงในส่วนนี้พบว่า วันนี้สุนทรเดินทางมามอบตัวกับอัยการเอง ทางอัยการจึงให้เป็นดุลพินิจของศาลว่าจะให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาหรือไม่ ซึ่งทางอัยการก็ไม่ได้ยื่นคัดค้านไป

 

“วันนี้ผู้ต้องหามามอบตัวที่สำนักงานอัยการ แต่ทางพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เขารู้ข้อมูลนี้ว่าจะมีการมอบตัว ก็เดินทางมาแสดงหมายจับและรับตัวสุนทรไปลงบันทึกจับกุมตามกระบวนการก่อนส่งตัวให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาล”

The post ศาลให้ประกัน ‘สุนทร วิลาวัลย์’ หลังถูกออกหมายจับแต่มามอบตัว วงเงิน 6 แสนบาท อัยการไม่ค้านประกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับตาประชุม ครม. นัดแรกปี 2565 ผ่านออนไลน์ คลังชงมาตรการหนุนนำเข้ารถ EV ประกันสังคมชงลดเงินสมทบมาตรา 40 ยาว 6 เดือน https://thestandard.co/cabinet-meeting-040165/ Tue, 04 Jan 2022 03:13:29 +0000 https://thestandard.co/?p=578628 ประชุม ครม.

วันนี้ (4 มกราคม) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตร […]

The post จับตาประชุม ครม. นัดแรกปี 2565 ผ่านออนไลน์ คลังชงมาตรการหนุนนำเข้ารถ EV ประกันสังคมชงลดเงินสมทบมาตรา 40 ยาว 6 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประชุม ครม.

วันนี้ (4 มกราคม) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรกของปีผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หลังจากที่ทำเนียบรัฐบาลออกคำสั่งให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน โดยงดการประชุมและพบปะนัดหมายต่างๆในทำเนียบรัฐบาลอย่างน้อย 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-14 มกราคม 2565 

 

สำหรับการประชุม ครม. ในวันนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทุกคนจะหารือถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หลังจากที่ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วมาอยู่ที่ 1,780 ราย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นหลังจากสิ้นสุดช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ประชาชนมีการเดินทางและรวมตัวกันในกิจกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องเน้นย้ำมาตรการเฝ้าระวัง และการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง 

 

สำหรับวาระเพื่อพิจารณาที่น่าสนใจ ได้แก่

 

1. กระทรวงแรงงานเสนอร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน ในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เหลือ 60% เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

โดยลดอัตราเงินสมทบเหลือ 180 บาทต่อเดือน จากเดิม 300 บาทต่อเดือน ได้สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

 

มีผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับประโยชน์จากการลดอัตราเงินสมทบ จำนวน 10.57 ล้านคน รวมวงเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จำนวน 1,408.56 ล้านบาท

 

2. กระทรวงการคลังเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) โดยรายละเอียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีที่เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า (รถ EV) ในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) ที่นําเข้ามาเพื่อทดลองตลาด ตามมาตรการสนับสนุนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย

 

กระทรวงการคลังเสนอการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1

 

3. กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,125.56 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย (จำนวน 17 จังหวัด)

 

4. กระทรวงกลาโหมเสนอขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์รักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่

 

5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอการป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 4

 

6. สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอขอก่อหนี้ผูกพันรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ในโครงการ ‘อาคารที่ทำการพร้อมอาคารที่จอดรถยนต์และอาคารที่พักข้าราชการตำรวจฯ’ จำนวน 6 อาคาร

 

7. สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า

 

8. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ….

 

9. กระทรวงคมนาคมรายงานผลการพิจารณาเจรจาการบินระหว่างไทย-แคนาดา

The post จับตาประชุม ครม. นัดแรกปี 2565 ผ่านออนไลน์ คลังชงมาตรการหนุนนำเข้ารถ EV ประกันสังคมชงลดเงินสมทบมาตรา 40 ยาว 6 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ป.ป.ช. ยื่นศาลฎีกาวินิจฉัยปารีณา ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายเเรง รุกที่ป่าสงวน ขอสั่งพ้น ส.ส. ถอนสิทธิ์เลือกตั้ง https://thestandard.co/parena-supreme-court-violate-bad-ethics-invasion-at-the-reserved-forest/ Tue, 16 Mar 2021 12:23:13 +0000 https://thestandard.co/?p=465669

วันนี้ (16 มีนาคม) ที่ศาลฎีกา สนามหลวง คณะกรรมการป้องกั […]

The post ป.ป.ช. ยื่นศาลฎีกาวินิจฉัยปารีณา ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายเเรง รุกที่ป่าสงวน ขอสั่งพ้น ส.ส. ถอนสิทธิ์เลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (16 มีนาคม) ที่ศาลฎีกา สนามหลวง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของ ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ กรณีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในจังหวัดราชบุรี อันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม

 

ภายหลังจาก ป.ป.ช. มีมติชี้มูลเรื่องดังกล่าว 9 เสียง เห็นชอบตามความเห็นชอบของคณะกรรมการไต่สวนว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยกระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันถือว่ามีลักษณะร้ายแรงและกระทำการที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอันถือว่ามีลักษณะร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 11 และข้อ 17 ประกอบข้อ 3 และข้อ 27 วรรคสอง ให้เสนอเรื่อง ปารีณา ไกรคุปต์ (ผู้คัดค้าน), สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงดังกล่าวต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 87 

 

คำร้องระบุว่า สืบเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นใช้บังคับแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ซึ่งมีผลใช้บังคับกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 219 ด้วย โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561

 

ป.ป.ช. ผู้ร้องมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 324 (1) ที่กำหนดให้ผู้ร้องมีหน้าที่และอำนาจไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญหรือตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

 

ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 235 (1) ได้กำหนดให้ ถ้าเป็นกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ผู้ร้องจึงมีหน้าที่และอำนาจดำเนินคดี กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย โดยมีอำนาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการในศาลแทนได้ ซึ่งในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2561 ข้อ 6 กำหนดให้นำสำนวนการไต่สวนของผู้ร้องเป็นหลักในการพิจารณา

 

ปารีณา ไกรคุปต์ ผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดราชบุรี รวม 4 สมัย โดยผู้คัดค้านยังคงเป็น ส.ส. อยู่ในวันที่มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ฯ พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับและมีผลใช้บังคับกับผู้คัดค้านซึ่งดำรงตำแหน่ง ส.ส. ด้วย

 

ผู้คัดค้านซึ่งดำรงตำแหน่ง ส.ส. มีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอและพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ร่วง พ.ร.บ. ต่างๆ การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การตั้งกรรมาธิการ การเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ การให้ความเห็นขอบแต่งตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและต้องดำรงตนมิให้มีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัดว่าประชาชนโดยทั่วไป เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีงามให้กันประชาชนตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานทางจริยธรรม

 

คดีนี้ปรากฏว่า ป.ป.ช. ผู้ร้องได้รับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาว่าผู้คัดค้านยึดถือครอบครองที่ดิน ภ.บ.ท.5 และหรือ ส.ป.ก. โดยไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด อันส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่และหรือขัดต่อมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ประกอบกับผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้อง กรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562 ว่ามีทรัพย์สินเป็นที่ดินประเภท ภ.ท.บ. จำนวน 29 แปลง อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ซึ่งผู้ร้องได้มีมติการประชุมครั้งที่ 35/2563 วันที่ 12 มีนาคม 2563 พิจารณาเรื่องรายงานผลการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้คัดค้าน กรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. และกรณีมีเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบที่ดิน ภ.บ.ท 5 โดยเห็นว่าการที่ผู้คัดด้านได้รับโอนสิทธิ์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน เพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ จำนวน 29 แปลง เนื้อที่ 853 ไร่ 75 ตารางวา ในขณะดำรงตำแหน่ง ส.ส. โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและเป็นพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ. 2561 หมวด 1 ข้อ 7 และข้อ 8 หมวด 2 ข้อ 12 และข้อ 17 

 

จึงมีมติให้ดำเนินการไต่สวนเรื่อง ซึ่งจากการไต่สวนข้อเท็จจริงมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนว่าข้อกล่าวหามีมูล ผู้ร้องโดยคณะกรรมการไต่สวน จึงแจ้งให้ผู้คัดค้านไปรับทราบข้อกล่าวหาและให้โอกาสขี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและนำสืบพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งผู้คัดค้านได้รับทราบข้อกล่าวหาพร้อมทั้งสิทธิ์ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตามกฎหมายแล้วโดยชอบ และได้มีหนังสือขี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อคณะกรรมการไต่สวนแล้ว 

 

คณะกรรมการไต่สวนได้รวบรวมพยานหลักฐาน ตามที่มีการ กล่าวหาและนำเสนอผู้ร้องพิจารณาข้อเท็จจริงพร้อมพยานหลักฐานแล้วมีมติว่าการกระทำของผู้คัดค้าน เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

 

ผู้ร้องจึงมีอำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวและมีอำนาจเสนอเรื่องต่อศาลฎีกา เพื่อวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ. 2561 และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 234 (1) และมาตรา 235 (1) ประกอบ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 28 (1) และมาตรา 87 

 

ทั้งนี้ระหว่างที่ผู้คัดค้านดำรงตำแหน่ง ส.ส. สมัยที่ 4 ผู้คัดค้านได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและใช้ประโยชน์ เพื่อประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่ในชื่อ เขาสนฟาร์มและเขาสนฟาร์ม 2 ต่อเนื่องตลอดมาก่อนที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ส. สมัยที่ 4 ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรทำกิน ปรากฏตามบันทึกการตรวจยึดของกรมป่าไม้ ซึ่งผู้คัดด้านได้ยึดถือครอบครองปลูกสร้างอาคารและเข้าทำประโยชน์ประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่ เมื่อที่ดินดังกล่าวยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน และยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรือออกเอกสารสิทธิ์ให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) จึงยังคงมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2527 และยังเป็นที่ดินที่ยังไม่มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน จึงถือว่าเป็นที่ป่า ตามความในมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484

 

นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงจากการไต่สวนของผู้ร้องว่าการถือครองที่ดินดังกล่าวได้มีการกระจายการถือครองที่ดินโดยอาศัยชื่อบุคคลอื่นมาถือครองที่ดินในเอกสารการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) แทนและมีหลักฐานชัดเจนว่าภายหลัง เมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้มีการโอนกลับไปเป็นชื่อของผู้คัดค้านทั้งหมดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 และผู้คัดด้านได้เป็นผู้ยื่นชำระภาษีบำรุงท้องที่ทั้ง 29 แปลงดังกล่าวมาตั้งแต่ที่ได้รันโอนสิทธิกลับคืนมา 

 

ทั้งนี้ยังปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการดำเนินการของผู้คัดด้านในเรื่องการขอใช้ไฟฟ้า การชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน การขออนุญาตประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เขาสนฟาร์มและขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้คัดค้านที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์จากที่ดินและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว 

 

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2561 ผู้คัดค้านได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ปารีณา ไกรคุปต์ จำกัด เพื่อประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ยึดถือครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2546 โดยการอาศัยชื่อคนงานและบุคคลอื่นในการครอบครองหรือถือครองที่ดินตนเอง ทั้งที่ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ. 2562 สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดราชบุรี ได้ปิดประกาศคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินราชบุรีให้เกษตรกรที่มีคุณสมบัติยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งผู้ครอบครองพื้นที่บริเวณใกล้เคียงได้ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีการประกาศให้เข้าทำประโยชน์ แต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านหรือบุคคล ซึ่งมีชื่อเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินของผู้คัดค้าน ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งการที่ผู้คัดค้านยังคงใช้ประโยชน์ในที่ดิน แต่กลับไม่ดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน โดยการไม่ขอเข้าทำประโยชนให้ถูกต้อง ย่อมส่อให้เห็นถึงเจตนาของผู้คัดค้านที่จะหลีกเลี่ยงมิให้ที่ดินบริเวณที่ยึดถือครอบครองและใช้ประโยชน์ดังกล่าว เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินตามเจตนารมณ์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดิน และเพื่อเป็นการปิดโอกาสหรือหวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้าใช้ประโยชนในที่ดินที่ตนยืดถือครอบครอง โดยมีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นของตนมาโดย หากมีการดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ผู้คัดค้านจะไม่มีสิทธิ์ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เพราะขาดคุณสมบัติในการเป็นเกษตรกร และไม่อาจถือครองที่ดินเกิน 50 ไร่ ซึ่งปรากฏว่าผู้คัดค้านได้ใช้ประโยชน์ที่ดินและมีรายได้จากการใช้ประโยชน์ในที่ดินจากประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนประมาณ 109,962,076.14 บาท ซึ่งปรากฏตามบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้คัดค้านมีมูลค่ารวมกว่า 136 ล้านบาทเศษ จึงไม่มีคุณสมบัติ หรืออยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะมีสิทธิได้รับการอนุญาตและออกเอกสารสิทธิ์ให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  

 

ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐดังกล่าว จึงเป็นการยึดถือครอบครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและยังถูกหน่วยงานของรัฐ ร้องทุกข์กล่าวโทษในความผิดทางอาญาฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินคดีในฐานความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2498 ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และตาม พ.ร.บ. น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน สิ่งแวดล้อม หรือประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ ที่มีลักษณะขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะและมีลักษณะเป็นความผิดร้ายแรงก่อให้เกิดความร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

 

The post ป.ป.ช. ยื่นศาลฎีกาวินิจฉัยปารีณา ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายเเรง รุกที่ป่าสงวน ขอสั่งพ้น ส.ส. ถอนสิทธิ์เลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เอาที่ป่าสงวนฯ มาหลอกขายทหารชั้นผู้น้อย กินเงินทอนส่วนต่างล้านบาท https://thestandard.co/forest-reserve-crook/ Wed, 19 Feb 2020 06:52:21 +0000 https://thestandard.co/?p=332699

เมื่อเหตุการณ์จ่าทหารก่อเหตุกราดยิงที่ห้างดังในจังหวัดน […]

The post เอาที่ป่าสงวนฯ มาหลอกขายทหารชั้นผู้น้อย กินเงินทอนส่วนต่างล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อเหตุการณ์จ่าทหารก่อเหตุกราดยิงที่ห้างดังในจังหวัดนครราชสีมาจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากผ่านไป สังคมได้เริ่มถอดปมปัญหาของสิ่งที่เกิดขึ้นจนพบว่าสาเหตุมาจากขบวนการทุจริตในกระบวนการกู้เงินสวัสดิการทหารบก 

 

‘ขบวนการเงินทอน’ ผ่านการกู้เงินสวัสดิการทหารบกมีรูปแบบคล้ายกันทั่วประเทศ คือมีนายหน้าจัดสรรบ้านและที่ดินในราคาต่ำ และให้ทหารชั้นผู้น้อยไปกู้เงินสวัสดิการทหารบกโดยได้รับการอนุมัติวงเงินสูงกว่าราคาทรัพย์สิน ส่วนต่างที่เหลือจะมีการตกลงกับผู้กู้ไว้ล่วงหน้าว่าจะได้เท่าไร 

 

“ในแวดวงทหาร ทุกคนรู้กันหมดว่าการกู้เงินสวัสดิการจะได้รับเงินทอน หลายคนก็กู้เงินเพื่อหวังเงินทอน” ทหารชั้นประทวนนายหนึ่งบอกกับเรา

 

 

 

เงินกู้ 1.5 ล้าน – บ้าน + เงินทอน 5 แสน อีก 1 ล้านบาทหายไปไหน 

กรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นคือมีทหารชั้นผู้น้อย 2 นายมาร้องขอความช่วยเหลือกับ อัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม

 

อัจฉริยะกล่าวว่าบ้านหลังที่ทหาร 2 นายไปทำสัญญาซื้อมานี้กู้เงินกรมสวัสดิการทหารบก 1.5 ล้านบาท แต่ราคาประเมินของบ้านหลังนี้ราคาเพียง 3 แสนบาท บวกกับเงินทอนที่ทหารชั้นผู้น้อยได้คืนมาอีก 2 แสนบาท เท่ากับว่าจะมีเงินส่วนต่างจำนวน 1 ล้านบาทที่หายไป ซึ่งไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหน แต่กล้าพูดว่าเจ้ากรมสวัสดิการทหารบกรู้เรื่องนี้ดี นอกจากนี้ทหาร 2 รายนี้ยังเคยสอบถามไปยังกรมสวัสดิการทหารบกแล้ว แต่ได้รับคำตอบว่าไม่สามารถช่วยเหลือแก้ไขใดๆ ได้

 

“ถามว่าเจ้าหน้าที่ส่วนกลางกรมสวัสดิการทหารบกรู้ไหมว่าที่ดินนี้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผมบอกเลยว่าเขาไม่ใช่คนโง่ ผู้เสียหายก็ไปร้องเรียนกับเจ้ากรมสวัสดิการทหารบกคนปัจจุบัน แต่เขาก็ไม่ช่วย” อัจฉริยะกล่าว

 

‘นายเจี๊ยบ’ ขาใหญ่จัดหาบ้านให้ทหารชั้นผู้น้อยกู้เงิน

อัจฉริยะกล่าวกับ THE STANDARD ว่า “ขบวนการนี้จะมีนายหน้าชื่อนายเจี๊ยบ เป็นขาใหญ่ที่ดังมากอยู่ในกรมสวัสดิการทหารบก ถือเป็นเบอร์หนึ่งของประเทศเรื่องการกว้านซื้อที่ดิน การจัดหานายหน้า เอาทหารชั้นผู้น้อยมาซื้อ 

 

“นายเจี๊ยบจะหลอกทหารชั้นผู้น้อยให้มาดูที่ดิน แล้วกำหนดเงินทอนที่จะได้รับได้ด้วยว่าจะเอาเท่าไร ทหารชั้นผู้น้อยมีหน้าที่เซ็นชื่ออย่างเดียว จากนั้นนายเจี๊ยบก็จะมีส่วนต่างหรือเงินทอนกลับมาให้ทหารชั้นผู้น้อยที่กู้เงิน 

 

“หลังจากนั้นเมื่อทางนี้หลงเชื่อเซ็นชื่อและได้เงินทอนแล้ว แต่กรณีนี้ปรากฏว่าที่ดินที่ซื้อไปเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ตรวจสอบยืนยันแล้วและมีคำสั่งให้ระงับการซื้อขายทั้งหมด

 

“เวลาส่งเงินคืนต้องจ่ายเงินรวมดอกเบี้ยประมาณ 3.4 ล้านบาทตามสัญญา แต่สุดท้ายเขาไม่ได้บ้านและที่ดิน แถมยังโดนข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติด้วย

 

“รูปแบบมันเป็นแบบนี้ทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดินปกติ วงเงินกู้สูงกว่าราคาบ้านและที่ดิน เงินส่วนต่างหรือเงินทอนก็ได้รับทั้งผู้กู้และคนในขบวนการที่เกี่ยวข้อง” อัจฉริยะกล่าว

 

 

 

ทหารไม่ต่ำกว่า 100 นายเป็นเหยื่อซื้อบ้านในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

สำหรับโครงการนี้ตั้งอยู่ที่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร มีประมาณ 209 แปลง บ้านแต่ละหลังพื้นที่ 30-40 ตารางวา มีผู้เสียหายเยอะมาก มูลค่าไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท มีชาวบ้านทั่วไปซื้อไว้เยอะมาก ส่วนทหารที่ซื้อโครงการนี้มีมากกว่า 100 นาย

 

หนึ่งในทหารชั้นผู้น้อยเล่าให้ฟังว่า เดือนมิถุนายน ปี 2559 มีนายหน้าชักชวนให้ไปดูบ้านที่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ตนก็สนใจ เพราะอยากจะมีบ้านสักหลังไว้หลังเกษียณ จึงทำเรื่องผ่านนายหน้า โดยแค่นั่งรถไปและเซ็นชื่ออย่างเดียว ที่เหลือเขาจัดการให้ทุกอย่าง

 

เงินทอนที่ได้จำนวน 2 แสนบาท ให้ผ่านรูปแบบการทำสัญญาเช่า 100 เดือน 

 

ต่อมาปี 2562 ตนเดินทางไปรับราชการที่จังหวัดพิษณุโลก ก็เลยเดินทางไปดูบ้านที่เคยทำสัญญาไว้ เพราะตั้งใจจะรีไฟแนนซ์เอาบ้านไปเข้ากับ ธกส. แต่พอไปดูบ้านจึงพบว่าบ้านที่ทำสัญญาซื้อขายจริงกลับเป็นบ้านคนละหลังกับที่พาไปดู สภาพบ้านก็ผุพัง ไม่สามารถเข้าไปอยู่ได้

 

ตนจึงไปแจ้งความกับ สภ.พรานกระต่าย ร้อยเวรก็แจ้งว่าที่ดินแปลงนี้เป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขาตั้งกรรมการตรวจสอบกันตั้งแต่ปี 2558 แล้ว โดยที่ดินแปลงนี้กองทัพบกก็ไปซื้อไว้จำนวนหนึ่ง ไม่ทราบว่ากี่แปลง เพื่อทำเรื่องกู้เงินให้กำลังพลผ่อน

 

เขาบอกว่าจะมีเงินทอนให้ 2 แสนบาท ตนกู้เงิน 1.5 ล้านบาท ส่วนราคาบ้านจริงรวมที่ดินประมาณ 3 แสนบาท 

 

“ที่ผมออกมาเรียกร้องไม่ได้ต้องการทำให้ผู้บังคับบัญชาเสื่อมเสีย แต่มาเรียกร้องตามสิทธิของผมในที่แปลงนี้ ถ้าผมผ่อนส่งหมดก็จะถูกดำเนินคดีฐานบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ 

 

“ผมยินดีที่จะผ่อนส่งรวมดอกเบี้ยประมาณ 3 ล้านบาท แต่ปรากฏว่ามันกลายเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กลายเป็นว่าถ้าผมผ่อนส่งจนครบแล้วไม่เพียงจะไม่ได้บ้านและที่ดิน ซ้ำยังถูกดำเนินคดีด้วย” ทหารชั้นประทวนผู้เสียหายกล่าว

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post เอาที่ป่าสงวนฯ มาหลอกขายทหารชั้นผู้น้อย กินเงินทอนส่วนต่างล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปารีณาไม่ขอพูดอะไร หลังกฤษฎีกาตีความที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน https://thestandard.co/parina-the-land-is-in-forest-reserves/ Wed, 12 Feb 2020 10:37:24 +0000 https://thestandard.co/?p=330487

วันนี้ (12 กุมภาพันธ์) ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. จังหวัดราชบ […]

The post ปารีณาไม่ขอพูดอะไร หลังกฤษฎีกาตีความที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (12 กุมภาพันธ์) ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. จังหวัดราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ กล่าวภายหลังกฤษฎีกาตีความการถือครองที่ดินว่าขอรอทนายความออกมาชี้แจง ขณะนี้อยู่ในขั้นการศึกษารายละเอียด แล้วจะออกมาแถลงข่าวพร้อมกันทีเดียว ส่วนที่ ส.ป.ก. ลงพื้นที่ตรวจสอบที่ดินวันนี้ ปารีณายังยืนยันว่าไม่ขอชี้แจงอะไร เพราะต้องรอทนาย ถ้ามีข้อสงสัยให้สอบถาม ทศพล เพ็งส้ม ทีมกฎหมายพรรคพลังประชารัฐ ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้อยู่ ยืนยันจะต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้บุกรุกที่ 

 

ส่วนรู้สึกเครียดหรือไม่นั้น ปารีณาไม่ตอบเรื่องนี้ โดยย้ำว่าเรื่องนี้เป็นข้อกฎหมาย ใครทำอะไรไปต้องรับผิดชอบ หลังจากนี้จะตอบคำถามอะไรกับสื่อก็ต้องระมัดระวัง ใครพูดอะไรที่ผิดก็จะฟ้อง ส่วนตนเองก็จะระมัดระวัง ที่ทำไปทั้งหมดก็เพื่อปกป้องตัวเอง

 

ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าปล่อยสุนัขมาไล่ระหว่าง ส.ป.ก. ลงพื้นที่ตรวจสอบ ปารีณาบอกว่าไม่ทราบว่าเป็นสุนัขของใคร ยืนยันว่าไม่ใช่ของตนเอง และไม่รู้ว่าจะปล่อยไปทำไม ที่ดินของตนเองไม่เคยเลี้ยงสุนัขไว้ ถ้าใครพบเห็นให้ไปถ่ายรูปมาว่าเป็นสุนัขพันธุ์ใด

 

นอกจากนี้ปารีณายังกล่าวด้วยว่าตั้งแต่เกิดเรื่อง ของในไร่หายไปเยอะ และได้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจแล้ว อยากเรียกร้องให้ตำรวจเร่งติดตามคดีให้ด้วย

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ปารีณาไม่ขอพูดอะไร หลังกฤษฎีกาตีความที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน appeared first on THE STANDARD.

]]>
กฤษฎีกาชี้ ที่ดินปารีณายังเป็น ‘ป่าสงวน’ https://thestandard.co/ordinance-say-parinas-land-is-still-forest-reserve/ Wed, 12 Feb 2020 05:28:55 +0000 https://thestandard.co/?p=330262

ความคืบหน้ากรณีการครอบครองที่ดินเขาสนฟาร์มของ ปารีณา ไก […]

The post กฤษฎีกาชี้ ที่ดินปารีณายังเป็น ‘ป่าสงวน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ความคืบหน้ากรณีการครอบครองที่ดินเขาสนฟาร์มของ ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ 

 

ล่าสุด ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ทำหนังสือตอบข้อหารือของอธิบดีกรมป่าไม้เกี่ยวกับการดำเนินการในที่ดิน ส.ป.ก. จำนวน 682 ไร่ ที่ปารีณาครอบครองและได้ส่งคืน ส.ป.ก. แล้วจำนวน 6 ประเด็น สาระสำคัญมีการยกคำพิพากษาศาลฎีกาหลายคดี ตีความชัดว่าที่ ส.ป.ก. ของปารีณาที่เขาสนฟาร์มมีสถานะเป็น ‘ป่า’ มีการระบุว่ายังไม่เพิกถอนสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติจนกว่าจัดสรรกระจายสิทธิ ส.ป.ก. แล้วเสร็จ และมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

ขณะที่ อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่าในวันนี้ (12 กุมภาพันธ์) ธวัชชัย ลัดกรูด ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) กรมป่าไม้ ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบที่ดินปารีณา จะเดินทางไปยังพื้นที่เกิดเหตุเพื่อชี้จุดเกิดเหตุที่บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี หมู่ 6 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 46 ไร่เศษ พร้อมกับตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจะไปตรวจสอบพื้นที่ ส.ป.ก. อีก 682 ไร่ที่อยู่ใกล้เคียงกันด้วย

 

ด้าน วีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่าจะลงพื้นที่ชี้แนวเขตที่ตนเคยกล่าวหาปารีณาไว้ว่าครอบครองที่ดิน 1,700 ไร่ ว่าทั้งหมดก็ยังอยู่ครบ ไม่ได้หายไปไหน โดยจะพาไปรังวัดว่าจริงอย่างที่ตนพูดหรือไม่ 

 

“ถ้าคุณปารีณามั่นใจในความบริสุทธิ์ ก็ขอให้มานำชี้แนวเขตกับเจ้าหน้าที่เลยว่ามีการบุกรุกที่ป่าไม้หรือไม่” วีระกล่าว 

 

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post กฤษฎีกาชี้ ที่ดินปารีณายังเป็น ‘ป่าสงวน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>