ปิติ ดิษยทัต – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 31 Oct 2024 03:37:48 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 แบงก์ชาติคาด การลงทุนภาคเอกชนปี 67 พลิกติดลบ 2.8% ตามการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์หดตัว ขณะที่ดีมานด์ลดลง รวมทั้งแบงก์ระมัดระวังปล่อยสินเชื่อ https://thestandard.co/monetary-policy-forum-3-67/ Thu, 31 Oct 2024 03:37:20 +0000 https://thestandard.co/?p=1002000 อุตสาหกรรมยานยนต์

เมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดง […]

The post แบงก์ชาติคาด การลงทุนภาคเอกชนปี 67 พลิกติดลบ 2.8% ตามการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์หดตัว ขณะที่ดีมานด์ลดลง รวมทั้งแบงก์ระมัดระวังปล่อยสินเชื่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุตสาหกรรมยานยนต์

เมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 3/2567 เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงข้อมูลประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อล่าสุดของ ธปท. รวมทั้งประเด็นสำคัญอย่างการดำเนินนโยบายการเงินโดยผู้บริหารระดับสูงของ ธปท.

 

ปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนของไทยในปี 2567 จะติดลบ 2.8% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่ขยายตัว 3.2% ซึ่งปัจจัยหลักที่ฉุดการลงทุนภาคเอกชนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยเฉพาะไตรมาส 2/67 เป็นการลงทุนในหมวดยานพาหนะหรืออุตสาหกรรมที่หดตัว ประกอบไปด้วยรถบรรทุก, รถกระบะ, รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเชิงพาณิชย์ (แท็กซี่) โดยมีอุปสงค์ที่ปรับตัวลดลงตามการส่งออกและการผลิตของประเทศไทยที่ฟื้นตัวช้า รวมทั้งผลกระทบจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของภาครัฐ ที่มีผลกระทบทำให้ดีมานด์การลงทุนด้านยานพาหนะลดลงตามไปด้วย อีกทั้งสถาบันการเงินยังมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อจากความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้ที่เพิ่มสูงขึ้น

 

“มองไปข้างหน้าอีก 3-4 ไตรมาส การลงทุนในหมวดยานพาหนะน่าจะยังหดตัวอยู่ ซึ่งเป็นไปตามภาวะการเงินที่ยังตึงตัวอยู่ใน Sector ยานยนต์ที่มีหลายปัจจัยกระทบ”

 

ซึ่งหากดูข้อมูลการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังขยายตัวเป็นบวกได้ โดยการลงทุนที่ลดลงในไตรมาส 2/67 มีส่วนทำให้การลงทุนภาคเอกชนทั้งปีนี้ติดลบ

 

อย่างไรก็ดี ประเมินว่าการลงทุนภาคเอกชนในปี 2568 จะสามารถกลับมาขยายตัวได้ในระดับ 2.9% โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการผลิตและการส่งออกสินค้าที่มีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้น รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่กลับมาปกติ ไม่ได้ล่าช้าเหมือนในปีที่ผ่านมา

 

อีกทั้งยังมีโอกาสเห็นการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ จากข้อมูลมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่มีหลายอุตสาหกรรมเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโดยปกติสัดส่วนการลงทุนจริงจะเกิดขึ้นประมาณ 50% ของสัดส่วนที่ส่งเสริมในช่วง 3-4 ไตรมาสถัดไปหลังจากออกบัตรส่งเสริมการลงทุน อีกทั้งสัดส่วนการลงทุนจะเกิดขึ้นประมาณ 90% ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่มาช่วยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนในปี 2568 ให้กลับมาเติบโตได้

 

นอกจากนี้จะมีการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ซึ่งบางส่วนมีการเลื่อนการลงทุนไปในปีหน้า รวมถึงการลงทุนก่อสร้างภาคนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จะยังขยายตัวได้ดี ประกอบกับมีฐานตัวเลขที่ต่ำจากการลงทุนภาคเอกชนปีนี้ที่ติดลบ

 

“ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ใกล้เคียงตามที่ประเมินไว้ โดยความเสี่ยงของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามองว่าจะสมดุล ซึ่งปัจจัยเสี่ยงด้านสูงมาจากผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายภาครัฐที่อาจจะมากกว่าที่คาดไว้ ส่วนความเสี่ยงในด้านต่ำคืออุปสงค์ในประเทศกับต่างประเทศที่อาจชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด จากความเสี่ยงของผลกระทบการส่งออก นโยบายการค้า และการฟื้นตัวของรายได้ที่แตกต่างกันในประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง แต่โดยรวมความเสี่ยงด้านสูงยังใกล้เคียงกับความเสี่ยงด้านต่ำ”

 

ธปท. จัดงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 3/2567

 

ภาพรวมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทยเป็นไปตามคาด

 

ด้าน สักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า จากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา มุมมองต่อภาพรวมเศรษฐกิจกับเงินเฟ้อยังเป็นไปตามที่เคยคาดไว้ในการประชุมครั้งก่อนหน้า โดยมองไปในระยะข้างหน้าว่าภาพรวมของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยในระยะกลางจะเริ่มกลับมาเติบโตได้ใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ และมีแนวโน้มที่จะเข้าศักยภาพในระยะยาวเพิ่มมากขึ้นในอนาคต แต่อาจเห็นแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วนบ้าง โดยคาดว่า GDP ของไทยในปีนี้จะขยายตัว 2.7% และในปี 2568 ขยายตัว 2.9%

 

สักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. ให้ข้อมูลในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 3/2567

 

อย่างไรก็ดี มีประเด็นเปลี่ยนแปลงไปจากการประชุมครั้งก่อนของ กนง. คือความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของระบบการเงินที่มีแนวโน้มปรับลดลงจากภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้น รวมถึงภาพรวมของสินเชื่อที่มีแนวโน้มเติบโตชะลอลง

 

ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินที่เป็นกลางและสอดคล้องกับทั้ง 3 เป้าหมายของ กนง. คือเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน ในการประชุมของ กนง. รอบที่ผ่านมาจึงมีการปรับลดดอกเบี้ย 0.25% สู่ 2.25%

 

ขณะที่หากมองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 การเติบโตจะมีความสมดุลมากขึ้น หลังจากเริ่มเห็นการส่งออกมีการทยอยฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนการบริโภคภาคเอกชนเริ่มแผ่วลงต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ แต่ยังเป็นเครื่องยนต์ที่สำคัญของเศรษฐกิจ ด้านภาคการท่องเที่ยวเริ่มมีแนวโน้มอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวที่ชะลอลง แต่ยังเห็นการปรับตัวที่เพิ่มขึ้นอยู่

 

ธปท.-คลัง เห็นพ้องกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ 1-3% เหมาะสมกับไทย

 

ปิติ ดิษยทัต รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 3/2567 ว่า จากการหารือร่วมกันในประเด็นกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2568 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่าง ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าฯ ธปท. กับ พิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ในปัจจุบันเป็นระดับที่เหมาะสม และมีเป้าหมายตรงกันที่จะให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามศักยภาพและทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น

 

โดยกระบวนการกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อร่วมกันของกระทรวงการคลังและ ธปท. นั้นยังคงเดินไปตามกระบวนการปกติที่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายนโยบายการเงินในปี 2568 ต่อไป

 

ปิติ ดิษยทัต รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. ให้ข้อมูลในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 3/2567

 

“กรอบเงินเฟ้อใหญ่ที่ 1-3% เป็นแนวทางต่อไปที่เห็นด้วยร่วมกัน เพราะไม่ว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.5%, 2% หรือ 1.5% ก็ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ซึ่งเงินเฟ้อมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดี เศรษฐกิจขยายตัวไปได้ตามศักยภาพ” ปิติกล่าว

 

สำหรับการดำเนินการเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายร่วมกันนั้น หน้าที่ของ กนง. คือการดูแลภาวะเศรษฐกิจการเงินให้เหมาะสม และเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ โดยการใช้เครื่องมือแบบผสมผสานตามที่ได้ใช้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งอัตราดอกเบี้ยและการดูแลค่าเงินไม่ให้ผันผวนเกินไป อีกทั้งมาตรการทางการเงินในการแก้หนี้ ซึ่งเป็น Policy Package ที่สร้างสภาวะแวดล้อมและบรรยากาศทางการเงินที่เอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เต็มศักยภาพ

 

นอกจากนี้กระทรวงการคลัง และ ธปท. ยังเห็นพ้องกันว่าไม่ต้องการเห็นภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งในกรณีที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำที่ไม่พึงประสงค์นั้นยังไม่ได้เกิดขึ้นในปัจจุบันและยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

 

ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและเงินเฟ้อสูงขึ้นอยู่ภายในกรอบ 1-3% ก็ควรจะเป็นได้ โดยเป็นธรรมชาติของเศรษฐกิจที่อุปสงค์เพิ่ม หากเงินเฟ้อเพิ่มเพราะเศรษฐกิจเติบโตขึ้นก็มองว่าไม่ได้เป็นปัญหา

 

ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังเสนอให้ ธปท. เพิ่มการดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมารวมอยู่ในการพิจารณาการดำเนินนโยบายการเงินด้วยนั้น ประเด็นการดูแลค่าเงินบาทไม่ได้เป็นเป้าหมายสูงสุดของ ธปท. แต่เป็นเพียงตัวแปรหรือองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาวะการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดในเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในกรอบเป้าหมาย โดย ธปท. ดูแลและมอนิเตอร์เรื่องค่าเงินอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องความผันผวนที่หากมีมากเกินไปจากปัจจัยพื้นฐาน

The post แบงก์ชาติคาด การลงทุนภาคเอกชนปี 67 พลิกติดลบ 2.8% ตามการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์หดตัว ขณะที่ดีมานด์ลดลง รวมทั้งแบงก์ระมัดระวังปล่อยสินเชื่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับสัญญาณลดดอกเบี้ย! กนง. เปิด 3 ความเสี่ยงกดดันเศรษฐกิจไทย https://thestandard.co/bot-signals-rate-cut-plans/ Wed, 21 Aug 2024 11:57:57 +0000 https://thestandard.co/?p=973679 ดอกเบี้ย

หลังจาก กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตรา ดอกเบี้ย นโ […]

The post จับสัญญาณลดดอกเบี้ย! กนง. เปิด 3 ความเสี่ยงกดดันเศรษฐกิจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดอกเบี้ย

หลังจาก กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตรา ดอกเบี้ย นโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวตามที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมี 3 ความเสี่ยงขาลงที่อาจกดดันเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า

 

วันนี้ (21 สิงหาคม) ปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวในงานแถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 4/2567 โดยระบุว่า แม้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะยังขยายตัวตามที่ กนง. เคยประเมินไว้ แต่ความเสี่ยงขาลง (Downside Risk) อาจมีมากขึ้นจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ และความเสี่ยงที่ภาวะสินเชื่ออาจกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงอย่างมีนัยสำคัญ

 

โดยปิติอธิบายว่า กนง. กำลังรอดูว่าการลงทุนภาคเอกชนที่ติดลบหนักขนาดนี้ หรือลดลงมากกว่าช่วงวิกฤตโรคโควิด เป็นปัจจัยชั่วคราวหรือไม่ ขณะที่การลงทุนภาครัฐที่ออกมาแย่ต่ำกว่าคาดก็ต้องรอดูความชัดเจนอีก 2-3 เดือนเช่นกัน

 

ส่วนภาวะสินเชื่อ ปิติกล่าวว่า กนง. ยังต้องรอดูความชัดเจนว่าพัฒนาการด้านคุณภาพสินเชื่อ โดยเฉพาะภาคครัวเรือนจะเป็นอย่างไร แม้ที่ผ่านมามีการปล่อยสินเชื่อน้อยลงและคุณภาพแย่ลงบ้าง แต่ในภาพรวมคุณภาพสินเชื่อยังไม่แย่เกินกว่าที่ กนง. คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 การลงทุนภาคเอกชนหดตัวครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส โดยติดลบถึง 6.8%

 

ปิติระบุอีกว่า กนง. ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน “โดยหากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดไว้ กนง. ก็จะพิจารณาจุดยืนความเหมาะสมของนโยบายอีกครั้ง แต่หากสภาพเศรษฐกิจต่างๆ ยังเป็นไปตามที่ประเมินไว้ ก็ถือว่าจุดยืนปัจจุบันเป็นกลาง (Neutral)”

 

ท่ามกลางการคาดการณ์ของตลาดที่ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายนนี้ ปิติยืนยันว่า การตัดสินใจของ กนง. ไม่ได้อิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed มากขนาดนั้น แต่เป็นหนึ่งในปัจจัยพิจารณาเท่านั้น เห็นได้จากรอบก่อนหน้านี้ที่ ธปท. ก็ปรับขึ้นดอกเบี้ยช้าและน้อยกว่า Fed มาก

 

พร้อมย้ำว่า ปัจจัยหลักที่ กนง. พิจารณา ได้แก่ ปัจจัยในประเทศ ภาวะการเงิน ที่เชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจ เป็นต้น

 

กรุงศรีมองว่าท่าที กนง. ระมัดระวังมากขึ้น

 

ขณะที่ รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวางแผนโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ระบุว่า สำหรับการประชุม กนง. ในครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นวันที่ 16 ตุลาคมนี้ แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมในรอบนี้จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันมีความเหมาะสม เอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน แต่เราประเมินท่าทีของ กนง. ในวันนี้ว่าบ่งชี้ถึงสัญญาณที่ระมัดระวังมากขึ้น โดยระบุว่า ในอนาคตจำเป็นต้องติดตามความเสี่ยงด้านขาลงของการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงคุณภาพสินเชื่อที่ลดลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้กรุงศรียังคงเห็นว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป แต่ยอมรับว่ามีปัจจัยเสี่ยงเรื่องความไม่แน่นอนด้านนโยบายของรัฐบาลใหม่เพิ่มเข้ามาเช่นกัน

The post จับสัญญาณลดดอกเบี้ย! กนง. เปิด 3 ความเสี่ยงกดดันเศรษฐกิจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติมอง เปลี่ยนนายกฯ ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม ย้ำดิจิทัลวอลเล็ตแจกกลุ่มเปราะบางได้ผลดีกว่า https://thestandard.co/changing-prime-minister-will-not-affect-the-overall-economy/ Wed, 21 Aug 2024 10:50:13 +0000 https://thestandard.co/?p=973638

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองสถานการณ์การเมืองไทยล่าสุ […]

The post แบงก์ชาติมอง เปลี่ยนนายกฯ ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม ย้ำดิจิทัลวอลเล็ตแจกกลุ่มเปราะบางได้ผลดีกว่า appeared first on THE STANDARD.

]]>

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองสถานการณ์การเมืองไทยล่าสุด หลังมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่และอยู่ในช่วงจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม เหตุไม่กระทบกระบวนการงบประมาณมากนัก ย้ำ แนวคิดแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตแบบเฉพาะเจาะจง (Targeted) ไปยังกลุ่มเปราะบางส่งผลต่อเศรษฐกิจสูงกว่า

 

วันนี้ (21 สิงหาคม) ปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตอบคำถามผู้สื่อข่าวระหว่างงานแถลงข่าวผลการประชุมนโยบายการเงิน ครั้งที่ 4/2567 เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยล่าสุด หลังมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่และอยู่ในช่วงจัดตั้ง ครม. ชุดใหม่

 

โดยระบุว่า ในภาพใหญ่ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการงบประมาณ ‘มากนัก’ เว้นแต่จะเกิดปัญหาอื่นๆ ทำให้การจัดตั้ง ครม. ล่าช้า เนื่องจากงบประมาณปี 2567 ส่วนใหญ่ผ่านกระบวนการต่างๆ ไปหมดแล้ว

 

ย้ำดิจิทัลวอลเล็ตแจกกลุ่มเปราะบางได้ผลดีกว่า

 

ปิติกล่าวอีกว่า ในการประชุม กนง. ทุกรอบก็จะมีการพูดคุยถึงมาตรการภาครัฐและมาตรการทางการคลังต่างๆ อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นปัจจัยที่สำคัญ รวมถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่ง กนง. ก็พยายามอัปเดตตลอด

 

“ถ้าตามการประเมินโครงการดิจิทัลวอลเล็ตรูปแบบเดิมก่อนหน้านี้ ธปท. ประเมินว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะอยู่ที่ปีหน้า และมีผลต่อเศรษฐกิจไม่เยอะมาก โดยเฉพาะหากงบทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ตต้องไปเบียดงบจากการใช้จ่ายภาครัฐประเภทอื่นๆ ก็จะทำให้ผลสุทธิต่อเศรษฐกิจไม่ได้เยอะ”

 

พร้อมระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ก็ต้องมีการประเมินใหม่ โดยย้ำว่า ตามการประมาณการปัจจุบัน ธปท. คาดการณ์ว่า GDP ไทยปีนี้จะโต 2.6% และ 3% ในปีหน้า ยังไม่รวมผลจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

 

ถ้าเปลี่ยนรูปแบบไปให้กลุ่มเฉพาะเจาะจงมากขึ้นจะเกิดผลต่อเศรษฐกิจมากกว่า เนื่องจากกลุ่มเปราะบางมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

 

อย่างไรก็ตาม การแจกเงินแบบเฉพาะเจาะจงย่อมมาพร้อมกับเม็ดเงินที่ลดลงด้วย ถ้ามีการลดสเกลลงมามาก ผลกระทบสุทธิก็อาจน้อยกว่าด้วย

 

ปิติยังกล่าวว่า อีกประเด็นสำคัญคือรูปแบบการแจก โดยถ้าเป็นเงินโอนให้กับประชาชน ผลทวีคูณทางเศรษฐกิจ (Multipier) ‘จะจำกัด’ หรือ ‘ไม่สูงนัก’ เมื่อเทียบกับรัฐบาลใช้จ่ายหรือบริโภคเอง เนื่องจากเงินอาจถูกทอนไปกับเรื่องอื่นๆ เช่น การออม เป็นต้น ทำให้แรงกระตุ้นมีน้อยกว่า

 

ดังนั้นจึงต้องจับตารอดูความชัดเจนของรูปแบบโครงการดิจิทัลวอลเล็ตอีกที

The post แบงก์ชาติมอง เปลี่ยนนายกฯ ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม ย้ำดิจิทัลวอลเล็ตแจกกลุ่มเปราะบางได้ผลดีกว่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติย้ำ ‘กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ’ เหมาะสม เอื้อให้เศรษฐกิจโตตามศักยภาพ ห่วงเงินเฟ้อสูง-ผันผวนกระทบต่อการวางแผนของประชาชน https://thestandard.co/bot-reaffirms-inflation-framework/ Wed, 26 Jun 2024 08:52:03 +0000 https://thestandard.co/?p=950013

แบงก์ชาติยืนยัน กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% เหมาะสม ทำ […]

The post แบงก์ชาติย้ำ ‘กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ’ เหมาะสม เอื้อให้เศรษฐกิจโตตามศักยภาพ ห่วงเงินเฟ้อสูง-ผันผวนกระทบต่อการวางแผนของประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>

แบงก์ชาติยืนยัน กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% เหมาะสม ทำหน้าที่ได้ดี สอดคล้องกับเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโต พร้อมทั้งยังเอื้อให้เศรษฐกิจโตตามศักยภาพ ห่วงเงินเฟ้อสูง-ผันผวนกระทบต่อการวางแผนของประชาชน

 

วันนี้ (26 มิถุนายน) ด้าน ปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันว่า กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% เหมาะสม เนื่องจากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ราว 2% นอกจากนี้ กรอบดังกล่าวยังไม่ค้านกับสถานการณ์ในบริบทโลกช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หลังจากจีนเข้ามาในระบบการค้าโลกจนทำให้เกิดแรงกดดันต่อสินค้าในบางหมวดหมู่ให้อยู่ในระดับต่ำ

 

“เงินเฟ้อของไทยที่ต่ำในอดีตไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาด ในบริบทโลกช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สาเหตุที่เงินเฟ้อโลกและไทยต่ำ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจีนเข้ามาในระบบการค้าโลก จะเห็นชัดเจนว่ามีแรงกดดันสินค้าบางหมวดหมู่ให้อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น ถ้า ธปท. กำหนดอัตราเงินเฟ้อโดยไม่คำนึงปัจจัยพื้นฐานที่กำลังผลักดันราคาในบางประเทศ ก็อาจเป็นการกำหนดนโยบายที่ค้านกับปัจจัยพื้นฐาน” ปิติกล่าวในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 2/2567

 

ปิติอธิบายอีกว่า อัตราเงินเฟ้อในดุลยภาพไม่ค่อยเกี่ยวโยงกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่าไร กล่าวคือเงินเฟ้อไม่ได้เป็นตัวกำหนดหรือเป็นปัจจัยพื้นฐานของศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 

 

พร้อมทั้งกล่าวอีกว่า กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่แต่ละธนาคารกลางกำหนดไว้มองว่า เป็นระดับเงินเฟ้อที่เอื้อให้เศรษฐกิจขยายตัวไปตามศักยภาพ ไม่ได้เป็นอุปสรรค 

 

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไปอาจมาพร้อมกับความผันผวนที่ค่อนข้างเยอะตามธรรมชาติ โดยหากเกิดความผันผวนก็อาจทำให้การวางแผนของประชาชนทุกคนยากขึ้น นี่จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ ธปท. ไม่อยากให้เงินเฟ้อสูงเกินไป

 

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจาก พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนกรอบเงินเฟ้อ เนื่องจากห่วงว่ากรอบดังกล่าวจะยังเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจหรือไม่ หลังใช้มาราว 3-4 ปีแล้ว

 

ทั้งนี้ การทบทวนเป้าหมายของนโยบายการเงินรวมถึงเป้าหมายเงินเฟ้อจะมีการหารือและทบทวนร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว

 

ขณะที่ สุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า กรอบเงินเฟ้อปัจจุบันที่ 1-3% ‘ทำหน้าที่ได้ดี’ และมีส่วนช่วยยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในช่วงเงินเฟ้อสูงเมื่อปี 2565

 

“แม้ในช่วงที่เงินเฟ้อสูงในช่วงเดือนสิงหาคมปี 2565 ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไปแตะระดับเกือบ 8% แต่หลังจากนั้น เงินเฟ้อก็กลับเข้ามาสู่กรอบเป้าหมายได้ในระยะเวลาไม่ถึง 7 เดือน สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปัจจุบัน ‘ทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี’ โดยจะเห็นว่าคาดการณ์เงินเฟ้อระยะกลาง (Medium-Term Inflation Expectation) ในช่วงที่ผ่านมา ค่อนข้างมีเสถียรภาพอยู่ที่ราว 2% มาโดยตลอด” สุรัชกล่าว

 

พร้อมทั้งเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยรายไตรมาสมีแนวโน้มจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ โดยน่าจะอยู่ระดับสูงกว่า 1% ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป

 

ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือนพฤษภาคม 2567 สูงขึ้น 1.54%YoY สะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อไทยรายเดือนที่ผ่านมาเข้าสู่กรอบเป้าหมายเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน

 

The post แบงก์ชาติย้ำ ‘กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ’ เหมาะสม เอื้อให้เศรษฐกิจโตตามศักยภาพ ห่วงเงินเฟ้อสูง-ผันผวนกระทบต่อการวางแผนของประชาชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติมอง ‘เปิด-ปิดโรงงาน’ ไม่เป็นปัญหาในภาพใหญ่ ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นต่อเนื่อง อาจเข้าเป้ารัฐที่ 3% ถ้าเร่งเบิกจ่าย-มีดิจิทัลวอลเล็ต https://thestandard.co/bot-on-factory-shutdowns/ Wed, 12 Jun 2024 11:54:27 +0000 https://thestandard.co/?p=944481

แบงก์ชาติเผย เศรษฐกิจไทยมีโอกาสโตตามเป้ารัฐบาลที่ 3% หา […]

The post แบงก์ชาติมอง ‘เปิด-ปิดโรงงาน’ ไม่เป็นปัญหาในภาพใหญ่ ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นต่อเนื่อง อาจเข้าเป้ารัฐที่ 3% ถ้าเร่งเบิกจ่าย-มีดิจิทัลวอลเล็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>

แบงก์ชาติเผย เศรษฐกิจไทยมีโอกาสโตตามเป้ารัฐบาลที่ 3% หากมีการเร่งเบิกจ่ายจากภาครัฐ หรือมีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ชี้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันเหมาะสม รองรับความเสี่ยงได้ทั้งด้านบวกและลบ มองการปิดตัวของโรงงานยังไม่เป็นปัญหา

 

วันนี้ (12 มิถุนายน) ปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตอบประเด็นกระแสข่าวการปิดโรงงาน โดยระบุว่า สถานการณ์ดังกล่าวต้องมองให้ครบทุกมุม ทั้งยอดการเปิดและปิด โดยพบว่า แท้จริงแล้วยอดการปิดโรงงานลดลงในช่วงที่ผ่านมา และอัตราการเปิดกิจการสูงกว่า หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ประมาณ 8%

 

นอกจากนี้จำนวนธุรกิจในภาพรวมที่ปิดตัวลงก็มีน้อยกว่าปีก่อน และมีธุรกิจที่เปิดกิจการมากกว่าปีก่อน

 

“ในทุกเดือนจะพบว่า มีจำนวนการเปิดธุรกิจราว 4,000-5,000 รายต่อเดือน และปิดราว 1,000 รายต่อเดือน”

 

เมื่อพิจารณาเฉพาะโรงงานพบว่า จำนวนโรงงานที่เปิดมีสูงกว่าโรงงานที่ปิดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

 

“กลไกการเปิดและปิดโรงงานเป็นหนึ่งในกลไกเศรษฐกิจ ในการโยกย้ายทรัพยากรที่อาจใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ไปสู่การใช้ทรัพยากรให้มีศักยภาพมากกว่า” ปิติกล่าว

 

พร้อมทั้งระบุอีกว่า ต้องดูเหตุผลที่ปิดโรงงาน และจะสร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น จำนวนแรงงานที่ถูกปลดจากโรงงานที่ปิด และที่ถูกจ้างเข้าไปใหม่ สุทธิแล้วพบว่า จำนวนที่จ้างสูงกว่าจำนวนที่ปลดหลายหมื่นคนต่อเดือน

 

เศรษฐกิจไทยฟื้นต่อเนื่อง อาจเข้าเป้า 3% ถ้าเร่งเบิกจ่าย-มีดิจิทัลวอลเล็ต

 

ปิติกล่าวอีกว่า มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3% ในปีนี้ หากมีการเร่งการเบิกจ่ายจากภาครัฐ หรือมีโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเข้ามา

 

อย่างไรก็ดี ปิติยืนยันว่า ในคาดการณ์ GDP พื้นฐาน (Baseline) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รวมมาตรการภาครัฐต่างๆ ที่ชัดเจนเข้าไปแล้ว ตัวอย่างเช่น งบลงทุน และงบเบิกจ่ายการบริโภคภาครัฐ

 

ส่วนมาตรการเสริมต่างๆ จากภาครัฐที่ประกาศออกมาทั้งหมด กนง. ก็นำไปร่วมพิจารณาแล้วว่าจะมีผลกระทบมากแค่ไหน โดยมองว่า จุดยืนนโยบายการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันสามารถรองรับความเสี่ยงด้านสูงได้ (มาตรการภาครัฐ) รวมไปถึงความเสี่ยงด้านต่ำที่มาจากภาคส่งออก

 

ทั้งนี้ในการประชุม กนง. วันนี้ ธปท. ได้คงประมาณการ GDP ไทยปีนี้ไว้ที่ 2.6% แต่ปรับลดคาดการณ์การส่งออกลงเหลือ 1.8% จาก 2.0%

 

มองกรอบเงินเฟ้อปัจจุบันเหมาะสม-ชี้ปรับบ่อยมีผลกระทบ

 

ปิติยังมองว่า กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% เป็นระดับที่สอดคล้องกับพื้นฐานของเศรษฐกิจ นอกจากนี้เมื่อเทียบกับต่างประเทศ 1-3% ก็เป็นระดับปกติ

 

โดยแม้จะทบทวนทุกปี แต่คงไม่ได้ปรับเปลี่ยนทุกปี เนื่องจากหากปรับเปลี่ยนทุกปีอาจกระทบกับคาดการณ์เงินเฟ้อ และอาจเป็นการสร้างความผันผวนและความไม่แน่นอนให้กับระบบ

 

ทั้งนี้ย้อนกลับไปเมื่อเดือนพฤษภาคม พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้พูดคุยกับ เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในหลายประเด็น โดยหนึ่งในนั้นคือเรื่องเป้าหมายกรอบเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เนื่องจากกรอบเงินเฟ้อปัจจุบันที่ 1-3% ใช้มาราว 3-4 ปีแล้ว

 

ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต

 

ปิติยืนยันว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันเป็นอัตราที่เหมาะสม และเป็นกลาง (Neutral Rate) ไม่ได้ฉุดรั้งหรือเป็นอุปสรรคของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และไม่ได้ทำให้ภาวะการเงินหรือการขยายตัวของสินเชื่อหดตัวสะดุดจนฉุดรั้งเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี กนง. ไม่ได้ยึดมั่นว่าอัตราดอกเบี้ยจะต้องอยู่ในระดับนี้ไปตลอดกาล

 

“อัตราดอกเบี้ยไทยไม่ได้สูงเกินไป เห็นได้จากบางประเทศมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4-5% เช่น ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และเพื่อนบ้านหลายประเทศ

 

“อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ย (ที่เหมาะสม) ควรเทียบกับสถานการณ์และโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ กนง. ถกและสอบทานทุกครั้งที่มีการประชุมว่า อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดสอดคล้องกับการเติบโตตามศักยภาพและแนวโน้มเงินเฟ้อ”

The post แบงก์ชาติมอง ‘เปิด-ปิดโรงงาน’ ไม่เป็นปัญหาในภาพใหญ่ ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นต่อเนื่อง อาจเข้าเป้ารัฐที่ 3% ถ้าเร่งเบิกจ่าย-มีดิจิทัลวอลเล็ต appeared first on THE STANDARD.

]]>
กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% และคงประมาณการ GDP ปี 2567 ไว้ที่ 2.6% https://thestandard.co/monetary-policy-committee-interest-2567/ Wed, 12 Jun 2024 08:29:48 +0000 https://thestandard.co/?p=944365

กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้ ‘คง’ ดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50 […]

The post กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% และคงประมาณการ GDP ปี 2567 ไว้ที่ 2.6% appeared first on THE STANDARD.

]]>

กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้ ‘คง’ ดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี (1 เสียง เห็นควรให้ลด 0.25%) นับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน พร้อมคงประมาณการ GDP ปีนี้ไว้ที่ 2.6% แม้ไม่กี่วันก่อนรัฐบาลตั้งเป้า GDP โต 3% ชี้เศรษฐกิจยังได้แรงส่งจากอุปสงค์ในประเทศ ท่องเที่ยว และการเบิกจ่ายภาครัฐ

 

วันนี้ (12 มิถุนายน) ปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการฯ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี โดย 1 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกขยายตัวในระดับต่ำ โดยสินค้าส่งออกบางกลุ่มมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับขึ้น และประเมินว่าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2567

 

“กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ที่โน้มเข้าสู่ศักยภาพและการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้”

 

ขณะที่กรรมการ 1 ท่านเห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนขึ้น และจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้บ้าง

 

คงประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อไทย

 

แถลงการณ์ยังระบุว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ 2.6% และ 3.0% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยเศรษฐกิจในปีนี้ได้รับแรงส่งจากอุปสงค์ในประเทศที่สูงกว่าคาดในไตรมาสที่ 1 ภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งการเบิกจ่ายภาครัฐที่กลับมาเร่งขึ้นในไตรมาสที่ 2

 

ขณะที่ภาคการส่งออกในปีนี้จะยังขยายตัวในระดับต่ำ ส่วนหนึ่งสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง และความท้าทายจากความสามารถในการแข่งขันที่ปรับลดลง อีกทั้งสินค้าบางกลุ่มโดยเฉพาะหมวดยานยนต์เผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลง ทั้งนี้ ต้องติดตามการฟื้นตัวของการส่งออกและภาคการผลิต รวมทั้งแรงกระตุ้นจากนโยบายภาครัฐในช่วงครึ่งหลังของปี

 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มใกล้เคียงเดิมอยู่ที่ 0.6% และ 1.3% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และ 0.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ

 

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดกลับมาเป็นบวก และมีแนวโน้มปรับขึ้นตามราคาพลังงานในประเทศจากการทยอยลดการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล ขณะที่แรงกดดันด้านอุปทานที่ทำให้ราคาหมวดอาหารสดอยู่ในระดับต่ำมีแนวโน้มคลี่คลาย

 

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2567 โดยอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย

 

มุมมองต่อภาวะการเงินโดยรวมทรงตัว

 

สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าตามทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับปัจจัยในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับสูงขึ้นบ้างหลังตลาดปรับคาดการณ์นโยบายการเงินของไทย ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์ใกล้เคียงเดิม สินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวมขยายตัว ขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิตตามคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง

 

ยังกังวลกับหนี้ครัวเรือน

 

คณะกรรมการฯ มีความกังวลต่อหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และเห็นว่าการให้สินเชื่อควรสอดคล้องกับกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (Debt Deleveraging) เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว จึงสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อตามความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้

 

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ตระหนักถึงปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จึงสนับสนุนการใช้มาตรการที่ตรงจุด เช่น มาตรการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs ที่มีศักยภาพ ซึ่งจำเป็นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

“ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กรรมการส่วนใหญ่ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ปรับดีขึ้น รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจโดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคการส่งออกและมาตรการภาครัฐ โดยคณะกรรมการฯ จะพิจารณานโยบายการเงินให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า”

The post กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% และคงประมาณการ GDP ปี 2567 ไว้ที่ 2.6% appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับสัญญาณแบงก์ชาติ ‘ปิดประตู’ ลดดอกเบี้ยนโยบายแล้วในปีนี้? https://thestandard.co/catch-bot-signals-about-interest-rates/ Wed, 24 Apr 2024 11:59:56 +0000 https://thestandard.co/?p=926386

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินท่าที กนง. อาจปิดประตูสำหรับการปรั […]

The post จับสัญญาณแบงก์ชาติ ‘ปิดประตู’ ลดดอกเบี้ยนโยบายแล้วในปีนี้? appeared first on THE STANDARD.

]]>

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินท่าที กนง. อาจปิดประตูสำหรับการปรับดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วในปีนี้ ขณะที่ ธปท. ยืนยันยึดหลัก Data Dependent และไม่ได้ยึดติดว่าอัตราดอกเบี้ยจะต้องอยู่ในระดับปัจจุบันไปตลอด

 

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า จากการแถลงในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 1/2024 ว่า ท่าทีแบงก์ชาติแทบจะปิดประตูสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว เนื่องจากมองเศรษฐกิจไทยค่อยๆ ฟื้น และการเบิกจ่ายจากภาครัฐกำลังจะกลับมา ดังนั้นความจำเป็นในการใช้อัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแทบไม่มีแล้ว

 

นอกจากนี้ ดร.พิพัฒน์ยังมองว่า สิ่งที่แบงก์ชาติกังวลมากที่สุดคือ ‘หนี้ครัวเรือน’ ดังนั้นถ้าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อกับการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้มีปัญหา ก็ไม่ควรทำให้เสถียรภาพระบบการเงินมีปัญหาในระยะยาว

 

“ผมมองว่า ธปท. ส่งสัญญาณชัดมากว่า ถ้าเศรษฐกิจไม่ได้แย่กว่าที่ประเมินไว้อย่างมีนัยสำคัญ ก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องลดอัตราดอกเบี้ย” ดร.พิพัฒน์กล่าว นอกจากนี้ ธปท. ยังกล่าว (Defend) อีกว่า Potential GDP Growth และ Neutral Rate อาจไม่ได้เปลี่ยนไปเยอะ และความไม่แน่นอนมีสูง เท่ากับเป็นการปิดประตูแล้ว

 

ดร.พิพัฒน์ยังมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ไว้ถึงไตรมาสแรกของปี 2568 เนื่องจากหากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตดำเนินไปได้ น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และไตรมาสแรกของปีหน้า ดังนั้นหากเศรษฐกิจชะลอก็อาจเกิดขึ้นหลังจากนั้น ถ้าจะมี Room ให้ลดดอกเบี้ยก็น่าจะเกิดในไตรมาส 2 ปีหน้า

 

ส่วนความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในมุมมองของ ดร.พิพัฒน์เป็น 0% เนื่องจากตอนนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ได้ดีมาก เงินเฟ้อไม่ได้สูง ต่างจากสถานการณ์ในสหรัฐฯ ที่มีแรงกดดันจากอุปสงค์ (Demand Pull) เยอะ ต่างจากประเทศไทยที่ผู้คนยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังไม่ดีอยู่

 

อย่างไรก็ดี ดร.พิพัฒน์ยังแนะให้จับตาสัญญาณจากการประชุม กนง. นัดต่อไป โดยระบุว่า หากการประชุมในวันที่ 12 มิถุนายนไม่มีการลดดอกเบี้ย ในปีนี้ก็ไม่น่าจะมีแล้ว

 

ด้าน ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ก็มองว่า กนง. น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับปัจจุบันไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปีนี้ เนื่องจากแบงก์ชาติมองว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัว การเบิกจ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยวที่น่าจะมาต่อเนื่อง 

 

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังจากนั้น (สิ้นปี) อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า มีโอกาสทั้ง 2 ทางคือ ขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ย “หากเศรษฐกิจดีขึ้น และเงินเฟ้อมีแนวโน้มร้อนแรงมาก ก็มีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย” ดร.ปิยศักดิ์กล่าว 

 

“มุมมองของแบงก์ชาติ ต้องการให้ดูแลหนี้ครัวเรือนเป็นหลัก ทางหนึ่งยังมองว่า เศรษฐกิจไม่ได้มีความเสี่ยง เงินเฟ้อไม่ได้สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้นจึงใช้นโยบายการเงินช่วยดูแลหนี้ครัวเรือน”

 

ขณะที่ ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและตลาดเงิน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) มองว่า โอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ย ‘มีน้อยลง’ จากเดิมที่ EIC คาดว่าจะเห็นการลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้

 

อย่างไรก็ตาม ดร.ฐิติมายังขอรอดูผลประชุม กนง. ในรอบเดือนมิถุนายนก่อน ว่าเสียงโหวตและการสื่อสารจะมีการปรับโทนอย่างไร ก่อน EIC จะมีการปรับ Outlook ในรอบเดือนมิถุนายน 

 

ธปท. ยืนยัน Data Dependent มองเศรษฐกิจไทยกำลังกลับสู่ระดับศักยภาพ

 

ขณะที่ ปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 1/2024 ว่า กนง. พร้อมที่จะทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ย หากมีข้อมูลใหม่เข้ามาเพิ่มเติม และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อมุมมองเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมทั้งยืนยันว่า กนง. ไม่ได้ยึดติดว่าอัตราดอกเบี้ยจะต้องอยู่ในระดับนี้ไปตลอด 

 

“หนึ่งในสิ่งที่ กนง. มุ่งเน้นในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายคือ อัตราดอกเบี้ยจะต้องไม่อยู่ในจุดที่ฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไปสู่จุดศักยภาพ” ปิติกล่าว

 

โดย ธปท. ยังมองว่าในปี 2567 และ 2568 เป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวกลับไปสู่ระดับศักยภาพ ดังนั้นภาวะการเงินและอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันก็น่าจะสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยแล้ว

 

นอกจากนี้ ในการแถลงข่าว ธปท. ยังยืนว่า อัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินระยะยาว อีกทั้งเป็น Robust Policy (สามารถรองรับความเสี่ยงต่างๆ ในระยะข้างหน้า)

The post จับสัญญาณแบงก์ชาติ ‘ปิดประตู’ ลดดอกเบี้ยนโยบายแล้วในปีนี้? appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติจับตาการประชุมสมาคมธนาคารไทย ชี้ ธปท. มีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางมาโดยตลอด https://thestandard.co/thai-bankers-association-meeting-24042024/ Wed, 24 Apr 2024 09:15:36 +0000 https://thestandard.co/?p=926215

แบงก์ชาติจับตาการประชุมสมาคมธนาคารไทยเย็นนี้ หลังนายกรั […]

The post แบงก์ชาติจับตาการประชุมสมาคมธนาคารไทย ชี้ ธปท. มีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางมาโดยตลอด appeared first on THE STANDARD.

]]>

แบงก์ชาติจับตาการประชุมสมาคมธนาคารไทยเย็นนี้ หลังนายกรัฐมนตรีเรียกผู้บริหาร 4 ธนาคารใหญ่เข้าพบเมื่อวานนี้ (23 เมษายน) พร้อมระบุ ธปท. เองก็มีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางมาโดยตลอดอยู่แล้ว

 

วันนี้ (24 เมษายน) ปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เท่าที่ทราบ สมาคมธนาคารไทยจะมีการประชุมกันในวันนี้ เพื่อพิจารณาเรื่องกฎเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะมุ่งเน้นดูแลกลุ่มเปราะบางนั้น ‘เป็นสิ่งที่ดี’ และสอดคล้องกับแนวทางที่แบงก์ชาติดำเนินมาโดยตลอด

 

ยกตัวอย่างเช่นในช่วงการปรับนโยบายให้เข้าสู่ระดับปกติ (Normalization) หรือการขึ้นดอกเบี้ยในปีก่อน ธปท. ได้ดูแลการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ย (Transmission) ให้เป็นไปอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้รายย่อย (MRR) โดยพยายามทำให้การส่งผ่านดอกเบี้ย MRR อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยตัวอื่นๆ เช่น MLR และ MOR

 

นอกจากนี้ ตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ธปท. ก็ยังได้พยายามดูแลลูกค้ากลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงจะเป็นหนี้เสีย (NPL) และหลังเป็นหนี้เสียด้วย

 

โดยย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยชี้แจงว่า หลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีก่อน การส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้รายย่อย MRR อยู่ที่ 49% เท่านั้น (หมายความได้ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1% อัตราดอกเบี้ย MRR จะขึ้นราว 0.49%) โดยการส่งผ่านดังกล่าวนับว่าต่ำเมื่อเทียบกับในอดีตที่ 58% และต่ำกว่าการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยประเภท MLR และ MOR ซึ่งอยู่ที่ 69% และ 64% ตามลำดับ

 

“การทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือกลุ่มคนที่เดือดร้อนได้มากขึ้นเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ที่ ธปท. พยายามทำมาโดยตลอด” ปิติกล่าว

 

ปิติยังมองว่า การที่ธนาคารพาณิชย์จะออกมาตรการดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างไรขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจ (Business Model) ของธนาคารพาณิชย์นั้นๆ และเป็นเรื่องกลไกของตลาด 

 

The post แบงก์ชาติจับตาการประชุมสมาคมธนาคารไทย ชี้ ธปท. มีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางมาโดยตลอด appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิเคราะห์ท่าที กนง. จับตาทิศทางดอกเบี้ยไทยในระยะต่อไป https://thestandard.co/analyzing-mpc-stance-on-interest-rates/ Wed, 10 Apr 2024 11:48:50 +0000 https://thestandard.co/?p=921597 วิเคราะห์ท่าที กนง. จับตาทิศทาง ดอกเบี้ยไทย ในระยะต่อไป

ไขคำตอบ กนง. ให้ความสำคัญกับปัจจัยใดมากที่สุดในการพิจาร […]

The post วิเคราะห์ท่าที กนง. จับตาทิศทางดอกเบี้ยไทยในระยะต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิเคราะห์ท่าที กนง. จับตาทิศทาง ดอกเบี้ยไทย ในระยะต่อไป

ไขคำตอบ กนง. ให้ความสำคัญกับปัจจัยใดมากที่สุดในการพิจารณาดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า หลัง กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี พร้อมคาดเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.6% ลดลงจากค่ากลางในการประมาณการครั้งก่อนที่ 2.75%

 

ปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุในแถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 10 เมษายน 2567 ว่าปัจจัยสำคัญในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายคือ ‘เศรษฐกิจภาพรวม’ พร้อมทั้งระบุว่า “ถ้าเศรษฐกิจภาพรวมเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ อัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้มีความชัดเจนว่าจะต้องปรับ”

 

อย่างไรก็ดี ปิติระบุว่า การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้องมองไปถึงเศรษฐกิจปีหน้าด้วย เนื่องจากไทยอยู่ในเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในประเทศเศรษฐกิจหลัก

 

พร้อมทั้งยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยขณะนี้มีทั้งความเสี่ยงด้านสูงและความเสี่ยงด้านต่ำ โดย ‘ความเสี่ยงด้านสูง’ ได้แก่ อุปสงค์ในประเทศขยายตัวสูงกว่าคาด และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จำนวนและรายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงกว่าคาด

 

ขณะที่ ‘ความเสี่ยงด้านต่ำ’ ได้แก่ การเบิกจ่ายภาครัฐหลัง พ.ร.บ.งบประมาณฯ มีผลบังคับใช้อาจเร่งได้น้อยกว่าคาด และผลดีจากการฟื้นตัวของการค้าโลกต่อภาคการส่งออกอาจน้อยกว่าคาดจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

 

สำหรับการประเมิน Neutral Rate เพื่อพิจารณาจุดยืนทางนโยบายการเงิน ปัจจุบันคณะกรรมการฯ ใช้เพียงคร่าวๆ เท่านั้น เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีสูง

 

นอกจากนี้ “จากการประเมินศักยภาพเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เป็นไปได้ว่า Potential GDP Growth ของไทยลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด แต่ไม่ได้ลดในอัตราที่เยอะมาก ราว 0.1-0.2% ต่อปีเท่านั้น ทำให้กระทบกับ Neutral Rate ในระยะปานกลางไม่เยอะ” ปิติระบุ

 

เงินเฟ้อระยะปานกลางยังมีแนวโน้มเข้ากรอบ

 

สำหรับปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อ ปิติยืนยันต่อว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่ติดลบมาหลายเดือนส่วนใหญ่เป็นปัจจัยมาจากฝั่งอุปทานและมาตรการภาครัฐ ซึ่งไม่ได้สะท้อนมาจากอัตราดอกเบี้ยหรืออุปสงค์โดยรวม

 

โดยคณะกรรมการฯ จะพิจารณาแนวโน้มเงินเฟ้อระยะปานกลางมากกว่า เนื่องจากเป้าหมายของนโยบายการเงินคือการยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อระยะปานกลาง ซึ่งยังมีแนวโน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% อยู่

 

นอกจากนี้ปิติยังมองว่าอัตราเงินเฟ้อที่ไม่ได้สูงมากยังเป็นผลดีต่อประชาชนในด้านค่าครองชีพอีกด้วย

 

Fed ไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะทำให้ลดอัตราดอกเบี้ย

 

ปิติกล่าวอีกว่า แม้การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะส่งผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายทั่วโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยมีจุดแข็งคือความเปราะบางต่ออัตราแลกเปลี่ยนมีไม่เยอะ และยังมีกันชน (Buffer) อยู่ในระดับดี มีทุนสำรองต่างประเทศอยู่ในระดับสูง

 

ประเมินผลมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และดิจิทัลวอลเล็ต

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น อยู่ที่ 2.6% และ 3.0% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ

 

อัตราดังกล่าวนับว่าต่ำกว่าการประมาณการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ประเมินว่ามาตรการกระตุ้นภาคอสังหาอาจกระตุ้น GDP ได้ถึง 1.7-1.8% และโครงการดิจิทัลวอลเล็ตอาจกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 1.2-1.6% จากประมาณการ GDP ล่าสุดของ สศค. (เมื่อไตรมาส 1) อยู่ที่ 2.8% (ค่ากลาง) ไม่รวม 2 โครงการด้านบน

 

โดยปิติระบุว่า ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวได้ลองนำมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลใส่เข้ามาแล้วคำนวณเป็นฉากทัศน์แล้ว

 

“ภาคอสังหาคาดว่าจะมีแรงกระตุ้นบ้างแต่ไม่ได้เยอะ ส่วนมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในปลายปี 2567 ผลต่อเศรษฐกิจจึงคาดว่าจะเกิดในปี 2568 มากกว่า นอกจากนี้ผลทางเศรษฐกิจจากการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ตก็อาจถูกลดทอนจากการซื้อของต่างประเทศ ดังนั้นผลโดยรวมไม่ได้กระทบต่อการกำหนดนโยบาย และ ธปท. ยังต้องดูรายละเอียดที่เพิ่งแถลงอีกครั้ง” ปิติระบุ

 

ปิติยังระบุอีกว่า ในการพิจารณานโยบายการเงินได้คำนึงถึงแรงกระตุ้นและแรงฉุดจากภาครัฐเสมอ พร้อมเห็นด้วยว่านโยบายการเงินและการคลังควรสอดประสานกัน อย่างไรก็ดี กนง. มองว่าจุดยืนทางนโยบายปัจจุบันเอื้อต่อการฟื้นตัวระยะยาว ไม่ได้ฉุดรั้งกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไปสู่ระดับศักยภาพ (Potential GDP)

 

“หากภาคการคลังจะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจก็ถือว่าสอดคล้องกับระดับดอกเบี้ยปัจจุบัน แต่ไม่คิดว่านโยบายการเงินและการคลังต้องมาเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นเดียวกับช่วงที่เกิดโควิด” ปิติกล่าว

 

กรุงศรียังเชื่อ กนง. อาจลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้

 

รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวางแผนโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ระบุว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นวันที่ 12 มิถุนายน 2567 จากท่าทีของ กนง. ในการประชุมรอบนี้มีแนวโน้มที่จะ ‘ตรึงดอกเบี้ยนานกว่าที่คาดไว้’

 

“คณะกรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันเอื้อต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน และมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาโครงสร้าง แม้ว่ายังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวของการส่งออก การเบิกจ่ายงบประมาณ และมาตรการกระตุ้นทางการคลัง”

 

อย่างไรก็ตาม กรุงศรี โกลบอลมาร์เก็ตส์ ยังคงมองว่ามีความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายราว 2 ครั้งภายในปีนี้ โดยประเมินว่าอัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปีอาจอยู่ที่ 2.00% ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่กระทบแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

The post วิเคราะห์ท่าที กนง. จับตาทิศทางดอกเบี้ยไทยในระยะต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
กนง. ไม่ยอมลดดอกเบี้ย เหตุมองเศรษฐกิจปี 2567 มีแนวโน้มโตสูงขึ้น เงินเฟ้อจ่อเข้ากรอบปลายปี https://thestandard.co/mpc-refuses-to-cut-rates/ Wed, 10 Apr 2024 07:46:42 +0000 https://thestandard.co/?p=921490 กนง. ไม่ยอมลดดอกเบี้ย เศรษฐกิจ ปี 2567

กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ […]

The post กนง. ไม่ยอมลดดอกเบี้ย เหตุมองเศรษฐกิจปี 2567 มีแนวโน้มโตสูงขึ้น เงินเฟ้อจ่อเข้ากรอบปลายปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
กนง. ไม่ยอมลดดอกเบี้ย เศรษฐกิจ ปี 2567

กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี เหตุมองเศรษฐกิจปี 2567 มีแนวโน้มโตสูงขึ้น เงินเฟ้อจ่อเข้ากรอบปลายปี ยืนยันดอกเบี้ยปัจจุบันสอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน ขณะที่อีก 2 ท่าน ห่วงศักยภาพเศรษฐกิจ หวังช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้บ้าง

 

วันนี้ (10 เมษายน) ปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. โดยระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี โดย 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี

 

ในแถลงการณ์ระบุถึงเหตุผลว่า กนง. มองว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมทั้งมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ภาคการส่งออกยังมีแรงกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง”

 

ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่า อยู่ในระดับต่ำจากปัจจัยด้านอุปทานและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ โดยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567

 

นอกจากนี้ กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน รวมถึงเห็นว่านโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ แต่ยังต้องติดตามความไม่แน่นอนของปัจจัยที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า 

 

ทำไมกรรมการอีก 2 ท่านอยากให้ลดดอกเบี้ย?

 

ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนขึ้น และจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้บ้าง

 

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ขยายตัวชะลอลงจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกที่ล่าช้า การใช้จ่ายภาครัฐที่ลดลงมาก และแรงกดดันจากสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูงกว่าปกติ

 

สำหรับปี 2567 ปัจจัยลบดังกล่าวจะทยอยลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น อยู่ที่ 2.6% และ 3.0% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นทั้งในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายต่อคน การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่องแม้จะชะลอลงจากปีก่อนที่ขยายตัวสูง และการใช้จ่ายภาครัฐที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งหลังของปี

 

ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่โน้มต่ำลงหลังวิกฤตโควิด สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดดันศักยภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกและการผลิตที่เผชิญความท้าทายจากความสามารถในการแข่งขันที่ปรับลดลงและภาวะสินค้าล้นตลาด ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจำกัด

 

มองเงินเฟ้อยังเป็นบวก หากหักมาตรการอุดหนุนภาครัฐ

 

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่า จะอยู่ที่ 0.6% และ 1.3% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ที่ 0.6% และ 0.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ ตามการปรับลดลงของราคาอาหารสดบางกลุ่ม เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งจากราคากลุ่มพลังงานที่ได้รับการสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ

 

โดยหากหักผลของมาตรการดังกล่าว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปตลอดช่วงที่ผ่านมายังคงเป็นบวก ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นกลับเข้ากรอบเป้าหมายได้ภายในปลายปีนี้ โดยต้องติดตามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และมาตรการภาครัฐที่ส่งผลต่อราคาพลังงาน

 

กนง. ยังกังวลหนี้ครัวเรือน

 

ภาวะการเงินโดยรวมทรงตัว ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ใกล้เคียงเดิม สินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือนขยายตัวชะลอลงจากการชำระคืนหนี้

 

ขณะที่ปริมาณสินเชื่อปล่อยใหม่ในภาพรวมยังขยายตัว อย่างไรก็ดี ธุรกิจขนาดเล็กบางกลุ่มและครัวเรือนรายได้น้อยเผชิญภาวะการเงินที่ตึงตัว เนื่องจากมีปัญหาเชิงโครงสร้างในการเข้าถึงสินเชื่อมาต่อเนื่อง ประกอบกับความสามารถในการชำระหนี้ปรับลดลงจากรายได้ที่ฟื้นตัวช้า ซึ่งสอดคล้องกับยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพที่คาดว่าจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นแต่ไม่เร่งตัวแบบก้าวกระโดด

 

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ มีความกังวลเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และเห็นความสำคัญของกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (Debt Deleveraging) ที่ควรมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความเปราะบางของเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงพิจารณาว่านโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อ จึงสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ในการดำเนินมาตรการเฉพาะจุดผ่านสถาบันการเงิน โดยเฉพาะมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)

 

ห่วงบาทอ่อนนำเพื่อนบ้าน?

 

ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวผันผวน โดยอ่อนค่านำสกุลเงินภูมิภาค ตามการคาดการณ์ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกอบกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจการเงินในประเทศในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามความผันผวนของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด

 

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคาควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

 

กรรมการส่วนใหญ่ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว 

 

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนโดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคการส่งออก รวมทั้งผลของการเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการดังกล่าวและพิจารณานโยบายการเงินให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า

The post กนง. ไม่ยอมลดดอกเบี้ย เหตุมองเศรษฐกิจปี 2567 มีแนวโน้มโตสูงขึ้น เงินเฟ้อจ่อเข้ากรอบปลายปี appeared first on THE STANDARD.

]]>